การเก็บหน่อไม้จึงแทบจะเป็นอาชีพหลักเลี้ยง คนในชุมชน

หากไม่มีวิธีจัดการ วันหนึ่งหน่อไม้อาจจะค่อยๆ หมดไป กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และป่าชุมชนบ้านยางโทน จึงตั้งกติการ่วมกันในการกำหนดวันปิดป่าทุกปีในช่วงปลายฝน เพื่อพักให้หน่อไม้โตขึ้นเป็นไผ่กอใหม่เพื่อเพิ่มปริมาณไผ่ให้มีมากขึ้นๆ

“ปีนี้เพิ่งประกาศปิดป่าไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พอปิดป่าแล้ว ชาวบ้านก็จะหยุดเก็บหน่อไม้ แต่ยังสามารถเก็บผลไม้หรือพืชผักอื่นๆ ได้อยู่ค่ะ แต่ว่าถึงไม่ได้เก็บหน่อไม้แต่บ้านเราก็ยังมีหน่อไม้ให้กินอยู่นะคะ” น้องปอ เล่าต่อ

หน่อไม้ไผ่รวกถูกนำมาแปรรูปเพื่อถนอมอาหาร ทั้งดอง ทั้งนึ่ง หลายๆ คนบอกว่าหน่อไม้ที่นี่รสชาติอร่อย หวานกรอบและไม่ขม นำมาทำอาหารได้หลายอย่าง “อย่างวันนี้ ที่บ้านหนูก็ทำแกงหน่อไม้ใบย่านางค่ะ ถึงจะได้กินแกงหน่อไม้บ่อยๆ แต่หนูก็ยังชอบ เพราะว่ามันอร่อยค่ะ” น้องปอ เล่าถึงเมนูหน่อไม้สุดโปรด

หน่อไม้ป่าบ้านยางโทน – หน่อไม้ที่นำมานึ่งเพื่อถนอมอาหารมีวิธีการ เก็บรักษา ที่ต้องละเอียดอ่อน คือห้ามเขย่าถุง ห้ามสัมผัสที่ปลายหน่อไม้ หากเขย่ามันจะมีอายุการเก็บรักษาสั้นลง ซึ่งเป็นวิธีถนอมที่ทำกันมาหลายสิบปีแล้ว

แม้ช่วงที่เปิดป่า ชาวบ้านจะสามารถเก็บหน่อไม้ได้เต็มที่ แต่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และป่าชุมชนบ้านยางโทนก็มีการขอความร่วมมือ ชาวบ้านในการไม่ให้ขุดหน่อเจดีย์ หรือก็คือหน่อไม้ขนาดเล็กที่เพิ่งพ้นดิน เพราะขุดหน่อเจดีย์เป็นการถอนรากถอนโคนหน่อไม้ ทำให้หน่อไม้ไม่แตกหน่อเป็นต้นใหม่ และอาจกลายเป็นปัญหาระยะยาวในอนาคต

“การขุดหน่อเจดีย์ก็ยังมีคนแอบขุดเหมือนกันค่ะ เพราะว่าหน่อเจดีย์จะอร่อยกว่าและมีราคาสูงกว่าหน่อปกติค่ะ” น้องปอ เล่า ป่าไม้จะสมบูรณ์ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้ คนในชุมชนจำเป็นต้องร่วมมือกัน รักษากฎกติกา และช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลป่าชุมชน อย่างเช่นที่กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และป่าชุมชนบ้านยางโทนร่วมกับคนใน ชุมชนดูแลป่ายางโทนให้อุดมสมบูรณ์เช่นทุกวันนี้

น้องปอติดตามเรื่องราวการดูแลป่าชุมชนบ้านยางโทน และช่วงปิดป่า น้องปอและเพื่อนๆ จะพาไปดู ในรายการทุ่งแสงตะวัน ตอน ปิดป่า เปิดใจ วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 เวลา 06.25 น. ทางช่อง 3 ช่อง 33

“มะกรูด” พืชผักสวนครัว จำพวกเดียวกับขิง ข่า ตะไคร้ หอมแดง ล้วนแล้วแต่ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องต้มยำ ส่วนใบของมะกรูด ก็มีน้ำมันหอมระเหยกลิ่นหอมมากๆ เป็นได้ทั้งพืชผักที่นำมาประกอบอาหาร และสมุนไพร บำรุงหัวใจ แถมปลูกที่ไหนขายได้ตลอด ทุกฤดูกาล ราคาขึ้นลงตามภาวะของตลาด มะกรูดตัดใบขายส่งแต่ละสวนแม้นจะขายได้ราคาไม่แพงตั้งแต่ 10 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงราคาแพงแบบสุดๆหลังฝนไปแล้ว 35 บาทต่อกิโลกรัม ขายลูกก็ได้ราคาดี 50 ส.ต.ต่อผล หรือจะจำหน่ายขายกิ่งพันธุ์ก็โกยรายได้เป็นกอบเป็นกำ

ในฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชมสวนมะกรูดทำเงิน ของคุณสันติ คงคา อาศัยอยู่บ้านเลขที่176/2 หมู่1 ตำบลจระเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โทร.087-161-2074 และ 093-682-1067

การทำสวนมะกรูดครอบครัว “คงคา” เรียกได้ว่า เป็นอาชีพมรดกจากรุ่นแม่สู่รุ่นลูก สร้างฐานะและรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างรายนี้มานานหลายสิบปีแล้ว ปัจจุบัน คุณสันติ นับเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะกรูดรายใหญ่ในท้องถิ่นแห่งนี้ โดยปลูกมะกรูดบนที่ดินของตัวเอง และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรลูกไร่ ประมาณ 200 ไร่

คุณสันติเล่าให้ฟังว่า สวนแห่งนี้แต่เดิมเคยใช้ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง มาก่อน เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ ขาดแคลนแหล่งน้ำชลประทาน ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ระยะหลังพื้นที่ปลูกพืชไร่ เจอปัญหาภัยแล้งคุกคาม และเจอการแพร่ระบาดของหนอนด้วง กัดกินอ้อยตั้งแต่ราก กอ กระทั่งต้นอ้อย สร้างความเสียหายต่อพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก

“มะกรูด” พืชทางเลือกที่มีอนาคตสดใส
ต่อมาปี 2540 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอด่านมะขามเตี้ย เข้ามาดูพื้นที่ทำกินของเกษตรกรในพื้นที่ และมอบกิ่งพันธุ์ต้นมะกรูด จำนวน 20 ต้น ให้คุณแม่ของคุณสันตินำไปปลูกเพื่อเสริมรายได้ โดยปลูกในระยะห่างประมาณ 4 X 4 เมตร ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 50 ซ.ม. โดยปลูกต้นมะกรูดติดบริเวณชายป่าชุมชน พบว่า ต้นมะกรูดเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตงาม ปลอดโรคและแมลงรบกวน

คุณแม่ของคุณสันติ ปลูกมะกรูดไปได้ประมาณ 5 ปี จนต้นมะกรูดเติบโตสูงประมาณ 5 เมตร มีขนาดลำต้นใหญ่มาก ต่อมา เจอปัญหาภัยแล้งคุกคามอีกครั้ง ทำให้ต้นมะกรูดขาดน้ำ ลำต้นแห้งตายไปมาก เหลือรอดอยู่เพียงไม่กี่ต้น คุณแม่ของคุณสันติขยายพันธุ์ต้นมะกรูดอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผลผลิตมากขึ้น พ่อค้าแม่ค้าที่วิ่งรถผ่านบริเวณหน้าบ้าน สังเกตเห็นว่า บ้านแห่งนี้ ปลูกต้นมะกรูดไว้เป็นจำนวนมาก จึงติดต่อขอซื้อผลผลิตเพื่อนำไปขายในท้องถิ่นอื่น

ด้านตลาด
คุณแม่ของคุณสันติ นำมะกรูดตัดใบออกขายในราคาไม่แพง โดยขายส่งในราคากิโลกรัมละ 15 บาท นอกจากนี้ยัง นำมะกรูดตัดใบออกขายในลักษณะเป็นกำ โดยมีราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ต่อมาคุณแม่ได้มอบหมายให้คุณสันติ ดูแลรับผิดชอบสวนมะกรูดแห่งนี้ ปัจจุบัน มะกรูดที่ปลูกรุ่นแรก มีอายุมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่ยังให้ผลผลิตที่ดี โดยมะกรูดหนึ่งต้น สามารถตัดใบออกขายได้ครั้งละ 20-30 กิโลกรัมขึ้นไป

ส่วนต้นมะกรูด ที่ปลูกรุ่นหลังๆ มีอายุโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 3-5 ปีขึ้นไป สามารถเก็บเกี่ยวผลมะกรูดออกขายได้ครั้งละประมาณ 2,000 ลูก สมัยก่อน แม่ค้ามารับซื้อผลมะกรูดในราคาหน้าสวน เฉลี่ย100 ลูกต่อราคา 20 บาท แต่ตอนนี้ เกษตรกรสามารถขายผลมะกรูดในราคาที่สูงขึ้น เฉลี่ยผลละ 50 สตางค์

คุณสันติเชื่อว่า ราคามะกรูดจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคต เพราะเป็นสินค้าขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออก ไม่ว่าจะเป็นใบมะกรูด และลูกมะกรูด เพราะมะกรูดเป็นพืชสมุนไพรคู่ครัวอาหารไทย ในเมนูอาหารต้มยำ เป็นส่วนผสมในเมนูเครื่องแกง อุตสาหกรรมน้ำพริกเผา ฯลฯ แล้ว มะกรูดยังเป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและธุรกิจน้ำมันหอมระเหย จึงนับได้ว่า มะกรูดเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะปลูกดูแลง่ายกว่าการทำสวนมะนาว แถมราคาซื้อขายคงที่ไม่หวือหวาเหมือนกับราคาผลมะนาว

ตลาดมะกรูดกว้างมาก
ในอดีต คุณแม่ของคุณสันติ มุ่งเก็บลูกมะกรูดและตัดใบมะกรูดออกขายเท่านั้น ระยะหลังได้ผลิต “กิ่งมะกรูดตอน” ออกขายเพิ่มขึ้น เพื่อขยายช่องทางการขายให้กว้างขวางมากขึ้น

คุณสันติบอกว่า คุณแม่ของผมเชี่ยวชาญในเรื่องการผลิตกิ่งตอนมาก ประกอบกับ มะกรูดที่ปลูกเป็นพันธุ์เกษตรใบใหญ่ ที่ให้ผลดก เติบโตแข็งแรง ปลูกดูแลง่าย ทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงมาติดต่อขอซื้อกิ่งมะกรูดตอนจากสวนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง

ทุกวันนี้ คุณสันติผลิตกิ่งมะกรูดพันธุ์เกษตร ที่มีลักษณะเด่น ในเรื่อง ลูกดกใบใหญ่ จำหน่ายให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป โดยกิ่งมะกรูดชำ บรรจุในถุงดำ จำหน่ายในราคา กิ่งละ 25-35 บาท ส่วนกิ่งตอนตุ้ม ขนาด 30-40 ซม. จำหน่ายในราคากิ่งละ 10 บาท กิ่งตอนตุ้ม 50 ซม. ราคา 15 บาท กิ่งตอนตุ้ม 70 ซม. ขึ้นไปขายในราคากิ่งละ 20 บาท

ต้นมะกรูด ปลูกดูแลง่าย
คุณสันติ บอกว่า สมัยก่อน พ่อแม่จับจองพื้นที่เอาไว้ ประมาณ 100 กว่าไร่ แบ่งสรรเป็นที่ดินมรดกให้ลูกๆ จำนวน 5 คน ทำสวนมะกรูดเป็นรายได้เลี้ยงดูครอบครัวละ 50 ไร่ นอกจากนี้ ผมยังมีลูกไร่ปลูกมะกรูดส่งขายให้อีกเพราะอาชีพการทำสวนมะกรูดสร้างรายได้ที่ดีมากกว่าการทำนา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง

เนื่องจากต้นมะกรูด ปลูกดูแลง่าย ไม่ต้องค่อยไถค่อยพรวนดินบ่อยๆ เสมือนเสือนอนกินระยะยาว ไม่เหนื่อยมาก แต่มีรายได้เข้าตลอด เกษตรกรที่ปลูกมะกรูด จะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 200-300 บาทต่อต้น

ต้นมะกรูด ยิ่งอายุมาก ต้นยิ่งโตใหญ่ ยิ่งมีโอกาสขายทำเงินได้มากขึ้น ทั้งขายใบทั้งขายลูก หากขายเป็นกิ่งพันธุ์ ราคาขายไม่ต่ำกว่า 10 บาท หากเป็นกิ่งสวยๆ ขนาด ประมาณ 10-15 ซ.ม. จะขายได้กิ่งละ 15 บาท

ส่วนใบมะกรูดขายได้ที่ กิโลกรัมละ 15 บาท ราคาก็ปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นกิโลกรัมละ 20 บาทจนถึง กิโลกรัมละ 35 บาทก็เคยขายได้มากแล้ว โดยทั่วไป เกษตรกรสามารถขายใบมะกรูดได้ในราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนกรกฎาคม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ราคาซื้อขายใบมะกรูดจะยืนราคาสูงที่กิโลกรัมละ 25-35 บาททีเดียว ส่วนผลมะกรูดในช่วงฤดูฝนจะขายได้ในราคาประมาณ ร้อยละ 80-90 บาท

ทั้งนี้ การปลูกมะกรูดไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลง ดูแลรักษาง่าย ที่นี่ ปลูกต้นยูคาลิปตัสบริเวณสวนมะกรูด เพื่ออาศัยกลิ่นเหม็นของต้นยูคาลิปตัสไล่แมลงอีกทางหนึ่ง หากใครคิดจะปลูกมะกรูดระยะชิด ควรปลูกไร่ละ 800 ต้น หากจะให้เหมาะสม ควรปลูกระยะ 2×2 จะได้ต้นมะกรูดจำนวน 400 ต้นพอดี และควรให้น้ำในระบบมินิสปริงเกอร์ โดยฉีดพ่นน้ำให้ชุ่มเพียงวันละครั้ง ก็เพียงพอแล้ว

จากการพูดคุยกับคุณสันติ ทำให้เห็นว่า อาชีพการทำสวนมะกรูด ง่ายไม่ยุ่งยากอะไรเลย เพียงแต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ในระยะแรกๆ ที่ต้นมะกรูดยังเล็กอยู่เท่านั้น ด้านตลาดก็หายห่วง มีแต่คนอยากซื้อมะกรูด ปลูกเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย เรียกว่า ซื้อง่ายขายคล่อง หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถที่ต่อสอบถามได้ที่คุณสันติ โดยตรง ที่โทร.087-1612074 และ 093-682-1067 รับรองไม่ผิดหวังได้กิ่งพันธุ์คุณภาพดี ราคาไม่แพง.

อ่างเก็บน้ำคลองลำกง จังหวัดเพชรบูรณ์ ถือเป็นแผ่นดินทองของการเพาะปลูกพืชและประมง ดินดี น้ำดี อากาศก็ดีอีกต่างหาก เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชและทำนาได้ตลอดทั้งปี ทำเลทองหายากแห่งนี้ เดินทางไปมาได้อย่างสะดวกมากแถมอยู่ไม่ไกลจาก กทม. มากนัก

อ่างเก็บน้ำคลองลำกง เป็นโครงการที่กรมชลประทานจัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูฝน และเป็นต้นทุนน้ำสำรองสำหรับใช้ในช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรในตำบลท่าแดง ตำบลวังท่าดี ตำบลวังโบสถ์ และตำบลบ่อไทย อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่รวมประมาณ 50,000 ไร่

ปลูกอะไร ก็ได้ผลผลิตดี

คุณพรชัย จันทร์กูล เกษตรกรรายหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำคลองลำกง ครอบครัวพรชัยมีที่ดินทำกินจำนวน 40 ไร่ สามารถเพาะปลูกพืชหลากหลายชนิดได้ตลอดทั้งปี ทั้งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกหอมแดง แตงกวา และทำนาข้าว

สำหรับเกษตรกร ที่มีที่ดินทำกินอยู่ช่วงต้นปากน้ำ มักจะปลูกข้าวทำนาเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีพื้นที่ปลูกข้าวโดยรวมประมาณ 6,000 ไร่ ในแต่ละปี เกษตรกรนิยมปลูกข้าวนาปีและนาปรัง โดยจะเน้นปลูกข้าวเจ้า กข. ชัยนาท ข้าวพิษณุโลก2 ข้าวหอมมะลิ และแบ่งที่นาบางส่วนปลูกข้าวเหนียวสำหรับใช้บริโภคในครัวเรือน เมื่อหมดฤดูทำนา ก็หันมาปลูกพืชผักอายุสั้น ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว ถึงช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ก็เริ่มปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว หอมแดง แตงกวา เป็นต้น

ปลูกหอมแดง..ง่ายนิดเดียว

หลังสิ้นสุดฤดูทำนา พรชัยปลูกหอมแดง เพื่อสร้างรายได้เพิ่มในแปลงนา การปลูกหอมแดงเริ่มจากขั้นตอนการเตรียมดิน เนื่องจากหอมแดงเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ชอบดินร่วน ที่มีการระบายน้ำดี จึงต้องไถพรวนดินและตากแดดไว้ก่อน 2-3 วัน แล้วย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก อย่าให้ละเอียดมาก เพราะจะทำให้ดินแน่น หอมลงหัวยากควรใส่ปุ๋ยคอก , ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เก็บเศษวัชพืช หรือรากหญ้าอื่น ๆ ออกให้หมดแล้วรองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 ในปริมาณ 20-50 กิโลกรัม/ไร่

หัวหอมพันธุ์ที่ใช้ปลูก จะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อให้หัวหอมมีระยะพักตัวอยู่สักระยะหนึ่ง แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน เพราะระยะนี้หอมจะเริ่มแดงยอดอ่อนสีเขียวพ้นหัวเก่ามาแล้ว ให้นำหัวหอมพันธุ์มาตัดแต่งทำความสะอาด ตัดเล็มรากเก่า และใบแห้งทิ้งให้หมด หากเห็นว่ายอดอ่อนยาว อาจตัดทิ้งเสียสัก 1 ใน 10 เพื่อเร่งให้งอกไวเมื่อปลูกแล้ว

โดยทั่วไป พื้นที่ปลูก 1 ไร่จะใช้หัวหอมพันธุ์ประมาณ 200 กิโลกรัม ก่อนปลูกหากเห็นว่าหัวหอมพันธุ์เป็นโรคราดำ หรือมีเน่าปะปนมา ต้องฉีดพ่นหรือจุ่มน้ำสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อรา และผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปปลูก

พรชัย ปลูกหอมแดงเป็นแปลงกว้างขนาด 1-1.5 เมตร โดยกำหนดระยะปลูก 15-20 ซม. หรือประมาณ 20-20 ซม. ก่อนปลูกจะรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นเสียก่อน หลังจากนั้นจะนำหัวหอมพันธุ์มาปลูกลงในแปลง โดยเอาส่วนโคนหรือที่เคยเป็นที่ออกรากเก่าจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว

การปลูกหอมแดง ระวังอย่ากดแรงนักจะทำให้ลำต้นหรือหัวชอกช้ำจะทำให้ไม่งอก หรืองอกรากช้า เมื่อปลูกทั่วทั้งแปลงให้คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหรือแกลบหนาพอสมควรเป็นการ รักษาความชุ่มชื้นและคุมวัชพืช จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ๆ ต้นหอมจะงอกออกมาภายใน 7-10 วัน หากหัวใดไม่ลอกให้ทำการปลูกซ่อมทันที แปลงปลูกหอมแดง ดูแลรักษาไม่ยาก ในระยะเจริญเติบโตและแตกกอ ต้องดูแลให้น้ำ หอมแดง ในปริมาณน้ำมากและสม่ำเสมอ

เมื่อต้นหอมแดงอายุ 14 วัน หลังจากปลูก ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ เมื่ออายุ 35-40 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 20-50 กิโลกรัม/ไร่ การใส่ปุ๋ยใช้วิธีโรยห่าง ๆ ต้นห่างจากต้นราว 7 ซม. หรือใช้วิธีโรยให้ทั่วแปลงก็ได้ หลังจากให้ปุ๋ยให้เอาน้ำรดหรือเอาน้ำเข้าแปลงให้ชุ่ม

แปลงปลูกหอมแดง ควรใส่ใจกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้ต้นวัชพืชโต เพราะจะกำจัดยากและจะกระทบกระเทือนรากหอมแดงได้มาก หอมแดง มี โรคสำคัญที่ต้องคอยระวังคือ โรคเน่าเละ โรคใบจุดสีม่วง โรคราน้ำค้าง และ โรคแอนแทรคโนส

ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกระทู้หอมและเพลี้ยไฟ ดังนั้น ผู้ปลูกจึงควรฉีดยาฆ่าแมลงและยากันรา ที่ราคาไม่แพงนักทุก 7 วัน เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า หอมแดงที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจะงอกงามและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

เสน่ห์ของสุโขทัย นอกจากเป็นเมืองสงบ เต็มไปด้วยโบราณสถานแล้ว อาหารการกิน โดยเฉพาะอาหารจากปลา อุดมสมบูรณ์มาก ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวจริงๆ ใครที่แวะเวียนไปจังหวัดนี้ สามารถหาร้านอาหารเล็กๆ แต่มีปลาแม่น้ำแท้ๆ ให้ได้อร่อยกัน

ทางด้านการเกษตร สุโขทัยขึ้นชื่อหลายอย่าง ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย มีอากาศแบบเดียวกับอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากปลูกลองกอง ทุเรียนหลงลับแล คุณภาพดีแล้ว ตำบลนี้เป็นถิ่นเกิดของทุเรียนพันธุ์จระเข้ ต้นเดิมอายุ 200 ปี เป็นทุเรียนรสชาติดีมาก

ขยับมา อำเภอสวรรคโลก มีพืชไร่หลายอย่าง ริมน้ำยมมีละมุด มะยงชิด ปลูกแบบอาศัยธรรมชาติ อำเภอเมือง มีปลูกยาสูบ อำเภอคีรีมาศและทุ่งเสลี่ยม มีนมดี หมายถึงกิจการเลี้ยงโคนมเจริญรุ่งเรือง อำเภอกงไกรลาศ นอกจากนาข้าว อำเภอนี้เป็นแหล่งผลิตปลาร้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

นักส่งเสริมอาชีพการเกษตรรุ่นใหม่

เมื่อ 15 ปีที่แล้ว คุณยศวัฒน์ ศิริอธิพันธ์ หรือ คุณต๊อก เจ้าของสุโขทัยการเกษตร ซึ่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช รวมทั้งปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทุกชนิด ลงพื้นที่ส่งเสริมเกษตรกรในจังหวัดสุโขทัย ปลูกแตงโม ปลูกพริกซอส เพื่อส่งโรงงาน

พื้นที่ปลูกพริกซึ่งทำหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในนา มีพื้นที่ 20 ไร่ ต่อปี จากนั้นพื้นที่ขยายเพิ่มขึ้นทุกปี จนกระทั่งปัจจุบัน พื้นที่ปลูกพริกปีหนึ่งมีราว 4,000-5,000 ไร่ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะผู้ส่งเสริมคือคุณต๊อก ดูแลเกษตรกรดี เกษตรกรผู้ปลูกมีรายได้ดี ผลผลิตมีคุณภาพ ผู้รับซื้อคือโรงงานมีความมั่นใจ จึงขยายงานกันทุกส่วน นั่นหมายถึงปีหนึ่งๆ เงินสะพัดหลังนามากมายมหาศาล

“สุโขทัยการเกษตร ตั้งอยู่ เลขที่ 9-11 ถนนตัดใหม่สายเอ ตำบลธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ที่ร้านจำหน่ายปัจจัยทุกอย่าง ช่วงนี้พันธุ์ผักจำหน่ายดี อย่าง เมล็ดแตงกวา มะระ บวบ ฟักทอง กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว โหระพา…เป็นพืชอายุสั้น สร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้เร็ว…งานส่งเสริมปลูกพริก เราดูแลผู้ปลูกอย่างดี มีองค์ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุน” คุณต๊อก เล่า

ปลูกแคนตาลูปไร้ดินในโรงเรือนหวังสร้างงานทำเงินอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีชาวบ้าน เคยนำเสนอ งานปลูกพริกซอส ที่ส่งเสริมโดยคุณต๊อกไปไม่นานนัก ก็ได้รับโทรศัพท์จากนักส่งเสริมการเกษตรคุณธรรมสูง ว่าตอนนี้มีงานใหม่ที่น่าสนใจยิ่ง นั่นก็คือ งานปลูกแคนตาลูปโดยไม่ใช้ดินในโรงเรือน แรกสุดนัดหมายกันเดือนเมษายน แต่โอกาสที่ได้ไปเยี่ยมชมเป็นเดือนกรกฎาคม

จุดนัดหมายไม่ได้เป็นแปลงของเกษตรกรอย่างเก่าก่อน แต่เป็นที่ดินของคุณต๊อกเอง ที่ตั้งแปลงของคุณต๊อก ไปจากจังหวัดพิษณุโลก ก่อนถึงตัวเมืองไม่มากนัก ตรงนั้นเป็นสี่แยก “กระชงค์” เลี้ยวซ้ายไปราว 1.5 กิโลเมตร ขวามือเป็นบ้านทรงไทย เสาบ้านใหญ่มาก รู้จักกันดีในนาม “บ้านช้างใหญ่” ซ้ายมือมีโรงเรือนปลูกพืชผุดขึ้นหลายโรง แปลงปลูกนี้ ตั้งอยู่เลขที่ 60/2 หมู่ที่ 12 ตำบลยางซ้าย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

เหตุที่คุณต๊อกปลูกแตงแคนตาลูปในโรงเรือน และทำอย่างจริงจังนั้น เพราะเขาเป็นคนหัวก้าวหน้า คิดทำโน่นทำนี่อยู่เสมอ ครั้นเมื่อมีโอกาสได้พูดคุย เจ้าตัวอธิบายเพิ่มเติมว่า ตนเองได้ส่งเสริมเกษตรกรปลูกพริก ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ดี ลืมตาอ้าปากได้

แต่เกษตรกรเหล่านั้นวัยได้ร่วงโรยตามกาลเวลา sananegerek.com งานปลูกแคนตาลูปในโรงเรือน เป็นงานไม่หนักมาก อาจจะลงทุนมากในระยะแรก แต่ต่อมา งานจะเบาลง คนสูงอายุขึ้น สามารถทำได้ เพราะขั้นตอนการดูแลไม่ยาก สิ่งที่เขาทำขึ้น เพื่อรองรับเกษตรกรผู้ปลูกพริกที่ต้องการเปลี่ยนการผลิตนั่นเอง ส่วนผู้สนใจทั่วไปที่อ่านพบข้อเขียนนี้ คุณต๊อกก็ยินดีที่จะพูดคุยและแนะนำได้

หลังดื่มน้ำขิงชื่นใจแล้ว คุณต๊อกพาเดินออกจากบ้าน ข้ามไปยังโรงเรือนปลูกแคนตาลูป ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านหลังใหญ่นั่นเอง คุณต๊อกเริ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอน เกี่ยวกับการปลูกแคนตาลูปไร้ดินในโรงเรือน อย่างแรกสุด เป็นปัจจัยสำคัญ คือโรงเรือน

โรงเรือนที่สร้างขึ้นมีขนาดความกว้าง 5 เมตร ยาว 30 เมตร หลังคาโรงเรือน เป็นพลาสติกกันน้ำฝน ข้างๆ เป็นตาข่าย พื้นปูด้วยวัสดุกันไม่ให้วัชพืชขึ้น รวมระบบน้ำในโรงเรือน เชือกแขวน ถุงปลูก และอื่นๆ โรงเรือนมีมูลค่า 1.5 แสนบาท อายุการใช้งาน 10 ปี

ระยะเวลา 1 ปี เจ้าของสามารถปลูกแคนตาลูปได้ 5 ครั้ง จากการศึกษาแล้วพบว่า ระยะเวลา 1 ปี สามารถคืนทุนได้ จะคืนได้อย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป

ปลูกอย่างไร

โรงเรือน ขนาด 5 คูณ 30 เมตร ปลูกแคนตาลูปได้ 500 ต้น การวางถุงปลูกวาง 5 แถว จำนวนแถวละ 100 ถุงหรือ 500 ต้น ขณะเดียวกัน ด้านบนของถุงก็มีราวสำหรับมัดเชือกโยง เพื่อให้เถาของแตงไต่ขึ้นเชือกตามอายุของเขา

วัสดุปลูก เขาใช้แกลบเผา 100 เปอร์เซ็นต์ บรรจุในถุงสีขาว 2 ถุง ซ้อนทับกัน โดยสลับกันปลูก อย่างชุดนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยถุงใบบน ก็ยกถุงใบล่างขึ้นมาปลูกแทน เป็นการพักวัสดุ ถามคุณต๊อกว่า ทำไมไม่ใช้ถุงดำ เขาบอกว่า ถุงดำน่าจะดูดความร้อนมากกว่า จึงใช้ถุงสีขาว
เรื่องของวัสดุปลูก คุณต๊อกบอกว่า ปลูกด้วยแกลบเผา มีปัญหาเรื่องโรคน้อยหรือแทบไม่มีเลย โอกาสต่อไป อาจจะศึกษาโดยผสมอย่างอื่นเข้าไป เช่น ขุยมะพร้าว