การเก็บเกี่ยวใบมันสำปะหลังเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์

เมื่อต้นมันสำปะหลังมีอายุได้ 4 เดือนขึ้นไปจะสามารถเก็บใบมันสำปะหลังได้ เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวใบมันสำปะหลังและนำมาขายให้กับพ่อค้าคนกลางในราคาประมาณ 0.8 ถึง 2 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับใบมันสำปะหลังสด (หากเกษตรกรทำการตากใบมันสำปะหลังแห้ง และนำใบมันสำปะหลังแห้งมาขาย จะขายได้ในราคา 4 ถึง 6 บาทต่อกิโลกรัม) โดยราคารับซื้อจะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ หลังจากนั้นพ่อค้าคนกลางจะรวบรวมใบมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรมาขาย ส่งต่อให้กับโรงงานที่แปรรูปเป็นใบมันสำปะหลังบดอัดเม็ด

ทางโรงงานอาหารสัตว์จะนำใบมันสำปะหลังสดที่รับซื้อมาตากแดดบนลานตากประมาณ 2-3 แดด เพื่อให้ได้ใบมันสำปะหลังแห้ง หลังจากนั้นทำการบดย่อยโดยการตีป่นและขึ้นรูปเป็นใบมันสำปะหลังอัดเม็ด ซึ่งโรงงานฯก็จะขายผลิตภัณฑ์ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดให้กับฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งมีทั้งที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ในประเทศสำหรับฟาร์มหมู สหกรณ์โคเนื้อ สหกรณ์โคนม เป็นต้น และมีการส่งออกใบมันสำปะหลังบดอัดเม็ดไปขายที่ต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยก็มีผู้ประกอบการผลิตและส่งออกใบมันสำปะหลังบดอัดเม็ดไปขายให้กับประเทศเกาหลีใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

ใบมันสำปะหลัง ถือว่ามีคุณประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อเสริมสุขภาพสัตว์ได้ สามารถนำไปใช้ในงานปศุสัตว์และนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่เป็นสินค้าอินทรีย์ (Organic) หรือเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Natural Product) ได้

ปัจจุบันประเทศไทยนำใบมันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์ในปริมาณที่น้อยอยู่ คือประมาณไม่เกิน 1% ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย ชาวไร่มันสำปะหลังส่วนใหญ่มักจะทิ้งใบมันสำปะหลังไว้เพื่อรอให้ย่อยสลายและเป็นปุ๋ยในไร่ หรือนำไปเผาเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นอ่อนที่ไม่ต้องการขึ้นในพื้นที่เพาะปลูก หากมีการเก็บเกี่ยวใบมันสำปะหลังเพียง 10% จากปริมาณมันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใบมันสำปะหลังบดอัดเม็ดเพื่อใช้ในประเทศและส่งออก ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นจำนวนเงินประมาณ 420 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกัน สามารถใช้ใบมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบโปรตีนทดแทนการนำเข้าโปรตีนจากกากถั่วเหลืองได้อีกทางหนึ่ง

บุกเนื้อทราย หรือ บุกไข่ (Amorphophallus Muelleri) นับเป็นสายพันธุ์บุกที่มีคุณสมบัติดีของประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่ขายดี เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อหลายประเทศทั่วโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น และยุโรป เพราะบุกมีสารสำคัญ คือ กลูโคแมนแนน (Glucomannan) ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ระดับไขมันในเส้นเลือด บำบัดอาการท้องผูก ใช้เป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก โดยไม่มีผลข้างเคียงต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย

ด้วยคุณสมบัติเด่นด้านพืชสมุนไพรของ “บุก” จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่เรียกได้ว่า เป็นสินค้าดาวรุ่งพุ่งแรง ยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกนิยมใช้ผงบุกกลูโคแมนแนนเป็นสารให้ความข้นหนืด และทำให้เกิดเจลในผลิตภัณฑ์แยมและเจลลี่ รวมทั้งใช้เป็นสารให้ความข้นหนืด และความคงตัวในผลิตภัณฑ์ประเภทอิมัลชั่น ใช้เพื่อทดแทนไขมันและเพิ่มเส้นใยอาหารในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์

เนื่องจาก บุก เป็นอาหารประจำชาติอย่างหนึ่งของประเทศจีนและญี่ปุ่น รู้จักกันในชื่อ คอนนิยากุ (Konniyaku) โดยประเทศญี่ปุ่นและจีนตอนใต้มีการปลูกต้นบุกเชิงพาณิชย์ โดยมุ่งปรับปรุงสายพันธุ์บุก รวมทั้งพัฒนาวิธีการผลิตผงบุก ผลิตภัณฑ์จากผงบุก รวมทั้งการใช้ประโยชน์และชนิดของแป้งบุกอย่างจริงจัง มานานกว่า 40 ปี

เมืองไทยโชคดีกว่า เพราะมีพันธุกรรมบุกสายพันธุ์ดีตามธรรมชาติอยู่แล้ว ปัจจุบันในประเทศไทย พบว่า มีบุกอยู่ 3 พันธุ์ ที่มีสารกลูโคแมนแนนในปริมาณที่สูงกว่าบุกที่เจริญเติบโตในประเทศญี่ปุ่นและจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ต้องการทางการค้า คือ

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) ระบุว่า ปัจจุบัน จีนและญี่ปุ่น เป็นผู้ผลิตและบริโภคบุกรายใหญ่ของโลก ปริมาณการใช้ผงบุกในตลาดโลก อยู่ที่ 30,000-40,000 ตัน ต่อปี โดยจีนเป็นผู้ส่งออกผงบุกรายใหญ่

ทั้งนี้ ปริมาณความต้องการใช้สารเพิ่มความข้นหนืด สารก่อเจลและสารให้ความคงตัวในตลาดทั่วโลก มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผลักดันให้ตลาดบุกขยายตัวและเติบโตต่อเนื่องจนถึงปี 2022 ขณะที่ประเทศไทยมีการผลิตหัวบุกสดได้ปีละ 5,000 ตัน ในขณะที่ปริมาณความต้องการหัวบุกสดในประเทศสูงกว่า 12,000 ตัน ต่อปี เพื่อผลิตผงบุก ส่งผลให้ต้องนำเข้าหัวบุกสดจากจีน

ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ส่งออกหัวบุกสดไปยังประเทศจีน เพื่อแปรรูปเป็นผงบุกและส่งกลับมาขายให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทยอีกครั้งในราคาแพง เนื่องจากการลงทุนเทคโนโลยีในการผลิตผงบุกในประเทศไทยมีจำกัดและขาดมาตรฐานและความรู้ในการใช้ผงบุกในการแปรรูปอาหาร จึงทำให้อุตสาหกรรมการแปรรูปบุกของไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำ

บุก นอกจากใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแล้ว ยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมด้านเคมีภัณฑ์ โดยนำผงบุกมาผลิตเป็นสารเคลือบผลไม้ เพื่อชะลอการสูญเสียน้ำหนัก ยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้ได้ ขณะเดียวกันยังนำผงบุกมาใช้ผลิตแผ่นฟิลม์บริโภคได้ มีความใส ยืดหยุ่น และแข็งแรง เมื่อนำมาใช้ร่วมกับสารสกัดจากสมุนไพรไทยประเภท กระชาย ขิง ข่า พบว่าสามารถยืดอายุการเก็บรักษาและยับยั้งการเจริญของเชื้อราบางชนิดในมะม่วงน้ำดอกไม้ได้

ด้านเภสัชกรรม มีการใช้ผงบุกเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตยา โดยทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องตัวยาให้ไปถึงอวัยวะเป้าหมายได้ เนื่องจากบุกมีคุณสมบัติเป็นเจลที่ทนความร้อนและสภาวะต่างๆ ได้ดีนั่นเอง ส่วนด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มีการใช้บุกในการตรึงและห่อหุ้มเซลล์จุลินทรีย์ เอนไซม์ และสารชีวโมเลกุล ที่ไม่ทนความร้อน เนื่องจากสมบัติการทนความร้อนของเจลบุก นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์บุกในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ใช้ผงบุกในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมกระดาษ ใช้บุกช่วยปรับปรุงดิน การขุดเจาะน้ำมัน และการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลายของบุก ทำให้บุกกลายเป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย มีโอกาสเติบโตทางการตลาดได้อีกมหาศาลในอนาคต

แหล่งข่าวในวงการค้าบุก เล่าให้ฟังว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบธุรกิจยางพาราครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย แสดงความสนใจที่จะหันมาลงทุนปลูกบุกแซมในสวนยางพาราต้นเล็ก อายุไม่เกิน 5 ปี ในพื้นที่ภาคเหนือ เนื้อที่หลายหมื่นไร่ เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับบริษัท ภายหลังจากประสบปัญหาราคายางตกต่ำมานานหลายปี เนื่องจากเล็งเห็นว่า บุก เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ ที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดสูง ขณะเดียวกัน บุกเป็นพืชที่ปลูกง่าย ให้ผลตอบแทนสูง สามารถปลูกแซมในสวนยางพารา สวนป่าเศรษฐกิจ ไร่กาแฟ หรือสวนผลไม้ที่มีแสงแดดส่องถึงพื้นดิน ประมาณ 40-60% ต้นบุกก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้น หากใครยังมีที่ดินว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ขอแนะนำให้ลงทุนปลูกต้นบุกเพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

“บุก” พืชเศรษฐกิจปลูกง่าย ขายดี

คุณศิริพร พณิชย์สานนท์ หรือ คุณพร เกษตรกรผู้ปลูกบุกและรับซื้อผลบุกจากเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อส่งขายโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์บุก เล่าให้ฟังว่า บุก เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่เติบโตได้ดี ในโซนพื้นที่ที่มีความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรีได้เปรียบด้านสภาพภูมิศาสตร์ และมีความชื้นที่เหมาะสม ทำให้ต้นบุกเติบโตได้ดี ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นทำเลทองของการปลูกต้นบุกคุณภาพดี เช่นเดียวกับหลายจังหวัดในแถบเทือกเขาตะนาวศรี เช่น อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ฯลฯ

เกษตรกรนิยมปลูกต้นบุกไข่ หรือบุกเนื้อทราย เชิงการค้ากันอย่างแพร่หลาย เนื้อบุกไข่มีหลายสี เช่น เหลือง ขาวอมเหลือง ชมพู ขาวอมชมพู ต้นบุกเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย แถมให้ผลตอบแทนสูง คุ้มค่ากับการลงทุน โดยทั่วไปเกษตรกรจะปลูกต้นบุกในช่วงเดือนเมษายน พอปลูกเสร็จเข้าสู่ช่วงฤดูฝนพอดี ก็ไม่ต้องดูแลอะไรมาก ปล่อยให้ต้นบุกเจริญเติบโตตามธรรมชาติ แค่ดูแลถากวัชพืชไม่ให้รบกวนแปลงปลูกต้นบุกก็เพียงพอแล้ว

การปลูกบุกไข่ ใช้เงินลงทุนไม่มาก แค่ลงทุนเรื่องต้นพันธุ์บุกในครั้งแรก ฤดูการเพาะปลูกปีถัดไป เกษตรกรสามารถเก็บพันธุ์จากดอก และไข่บนใบมาใช้ปลูกขยายพันธุ์ในการเพาะปลูกรุ่นต่อไปได้เลย เนื่องจากกระแสความนิยมบริโภคบุกขยายตัวมากขึ้นในตลาดโลก ประกอบกับจีนประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้มีผลผลิตบุกภายในประเทศลดลง จึงนำเข้าบุกจากไทยเพิ่มมากขึ้น

กระแสความต้องการบุกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรไทยสามารถจำหน่ายหัวบุกสดได้ในราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 25-30 บาท ในปีที่ผ่านมา จากเดิมที่มีราคาซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 9-10 บาท สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรทั่วประเทศหันมาลงทุนปลูกขยายพื้นที่ปลูกต้นบุกไข่กันอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ราคาขายหัวพันธุ์บุกปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิม

โดยทั่วไป พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกต้นบุกได้ 1,700 ต้น โดยปลูกในระยะห่าง 30×30 เซนติเมตร จะใช้เงินลงทุนประมาณไร่ละพันกว่าบาท หากปลูกต้นบุกโดยใช้หัวพันธุ์ น้ำหนัก 500 กรัม ในช่วงเดือนเมษายน จะสามารถเก็บหัวบุกสดออกขายได้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมปีเดียวกัน โดยหัวบุกสดที่ขุดได้จะมีปริมาณน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว จากที่ใช้ปลูกไปในครั้งแรก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกต้นบุกโดยใช้ไข่บนใบมาปลูกขยายพันธุ์ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาปลูกนานกว่าประมาณ 3 ปี จึงสามารถเก็บหัวบุกสดออกขายได้ เพราะใช้พันธุ์บุกที่มีขนาดเล็กในการปลูกนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว ถือว่าอาชีพการปลูกต้นบุกสร้างผลกำไรที่สูงคุ้มค่ากับการลงทุน ผู้สนใจที่สนใจเรื่องการปลูกต้นบุกเชิงการค้า สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก คุณศิริพร พณิชย์สานนท์ อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 28/3 หมู่ที่ 1 ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เบอร์โทร 062-562-9423, 096-864-3645

กลางวันมีแดดแรง กลางคืนจะมีอากาศเย็นในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงให้เฝ้าระวังหนอนกระทู้หอม ที่สามารถพบได้ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตหอมแดง มักพบตัวหนอนกระทู้หอมจะเจาะเข้าไปอาศัยและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอม ทำให้ใบหอมแดงมีสีขาว จากนั้น หนอนกระทู้หอมจะกัดกินจากใบหอมลงไปถึงหัวหอมแดง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บผลผลิตหอมแดงได้

เกษตรกรควรหมั่นตรวจเก็บกลุ่มไข่และตัวหนอนกระทู้หอมในแปลงมาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อช่วยลดการระบาด สำหรับในระยะที่ตัวหนอนมีขนาดเล็กและพบการระบาดน้อย ให้เกษตรกรพ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กรณีพบการระบาดรุนแรง ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด อาทิ สารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลเฟนไพแร็ด 16% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

“อุตสาหกรรมเกษตร” มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะช่วยสร้างงาน อาชีพ และรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ใครๆ ก็รู้ว่า อุตสาหกรรมเกษตร เป็นภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นสูง (high labor intensive) เป็นอาชีพที่ทำงานหนัก แต่ได้ผลตอบแทนต่ำ

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตร เพราะกำลังการผลิตสินค้าเกษตรจะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเกษตรกรเข้าสู่ช่วงสูงวัย ขณะเดียวกัน แรงงานอายุน้อยในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เพราะหนุ่มสาววัยทำงานส่วนใหญ่เลือกทำงานในเมืองเพราะได้ผลตอบแทนที่สูงและทำงานสบายกว่า นอกจากไทยแล้ว หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียก็กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรอย่างหนักเช่นเดียวกัน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเกษตรกรไทย เล็งเห็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น จึงสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มภายใต้แนวคิด “เกษตรแปลงใหญ่” ในการจ้างแรงงาน ในการใช้เครื่องจักรกลสมัยใหม่ รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับแรงงานที่อายุน้อยเพื่อดึงดูดให้แรงงานเหล่านี้สนใจและหันมาทำการเกษตรมากขึ้น

เครื่องจักรกลการเกษตรอัจฉริยะ
แก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานญี่ปุ่น

ทุกวันนี้ ประเทศญี่ปุ่น เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรเช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก เพราะประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2017 พบว่า แรงงานสูงอายุในประเทศญี่ปุ่นมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63.5 ทีเดียว

คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ในเครือคูโบต้ากรุ๊ป ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต “แทรกเตอร์ ขนาด 60 แรงม้า ไร้คนขับ รุ่นแรกของโลก” เริ่มวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2560 ในประเทศญี่ปุ่น ผลงานนวัตกรรมดังกล่าว ได้รางวัลระดับนานาชาติมากมาย อาทิ Best 10 New Products Awards จาก Japanese Brand Award of 60th ในปี 2560 Award for Technological Achievement จาก The Japanese Society of Agricultural Machinery & Food Engineer และ FIMA Technical Novelty Award จากประเทศสเปน ในปี 2561

โชว์สมรรถนะแทรกเตอร์อัจฉริยะ
ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบไร้คนขับในไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับ คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ GISTDA ได้นำ “KUBOTA Agri Robo Tractor” รุ่น SL60A แทรกเตอร์อัจฉริยะ ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบไร้คนขับ มาจัดแสดงสาธิตเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ คูโบต้า ฟาร์ม จังหวัดชลบุรี

นายฮิโรโตะ คิมุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า จากความสำเร็จในโครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ในการทดสอบใช้เครื่องปลูกมันสำปะหลัง โดยใช้เทคโนโลยี Auto Steering ตั้งแต่ ปี 2560 คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ได้พัฒนาต่อยอดการร่วมทำวิจัย ภายใต้ชื่อ โครงการ “Social experiment using high-precision positioning data in Thailand” สาขาเครื่องจักรกลการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ร่วมกับองค์กร JICA ของญี่ปุ่น และ องค์กร GISTDA ของไทย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความแม่นยำขั้นสูงของระบบเครือข่ายเสารับสัญญาณมาตรฐาน (Base Station)

โดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทาง GNSS ในเครื่องจักรกลการเกษตรของไทย เพื่อผลักดันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้บริหารจัดการฟาร์ม หวังเพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรแม่นยำ Precision Farming ในยุคเกษตร 4.0 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคการเกษตรในระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร

KUBOTA Agri Robo Tractor รุ่น SL60A

แทรกเตอร์อัจฉริยะไร้คนขับ รุ่น SL60A มีคุณสมบัติการทำงานแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Auto self-driving) เกษตรกรสามารถเลือกรูปแบบการทำงาน ทั้งโหมดอัตโนมัติ (Auto Mode) เดินหน้า ถอยหลัง หยุด และเลี้ยวได้แบบอัตโนมัติ และโหมดเดินหน้า (Linear Mode) เฉพาะเดินหน้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเกษตรกรสามารถสับเปลี่ยนการทำงานระหว่าง 2 โหมด ได้ตามลักษณะงานที่ทำ

สมรรถนะที่โดดเด่นของ SL60A คือ ระบบการทำงานเก็บหัวงานแปลงนาแบบอัตโนมัติ ที่เหลือระยะเว้นห่างขอบคันนาเพียง 4.4 เมตร รวมทั้งระบบขับเคลื่อนไปยังจุดเริ่มต้นการทำงานแบบอัตโนมัติ (Auto Start Standby) และขับไปยังจุดเริ่มต้นเมื่อเสร็จงาน (Auto Return Starting Position) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรใช้ทำงานได้ง่ายขึ้น

แทรกเตอร์อัจฉริยะไร้คนขับ มาพร้อมกับระบบสนับสนุนการทำเกษตรของคูโบต้า หรือ KUBOTA Smart Agri System (KSAS) โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร ร่วมกับระบบสารสนเทศ (ICT) ในการบริหารจัดการในทุกขั้นตอน

แทรกเตอร์อัจฉริยะไร้คนขับ รุ่น SL60A สามารถควบคุมการทำงานระบบนำทางความแม่นยำสูง และตั้งค่าการทำงานผ่านแท็บเล็ต หน้าจอ 10 นิ้ว ที่ทันสมัย โดยแสดงข้อมูลบนหน้าจอเป็นสัญลักษณ์และคำอธิบาย เช่น การตั้งขอบเขตพื้นที่ทำงาน การกำหนดเส้นทาง และการติดตามดูแทรกเตอร์ในระหว่างทำงาน สามารถควบคุมแทรกเตอร์จากแท็บเล็ตได้ง่ายแล้ว ยังสามารถใช้แทรกเตอร์ไร้คนขับ 1 คัน และแทรกเตอร์ที่มีคนขับ 1 คัน ทำงานคู่กันไป

แทรกเตอร์อัจฉริยะไร้คนขับ รุ่น SL60A ติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยรอบด้าน ด้วยเซ็นเซอร์สัญญาณไฟความปลอดภัยรอบคัน แทรกเตอร์อัจฉริยะไร้คนขับ มีฟังก์ชั่นหยุดรถอัตโนมัติเมื่อเข้าใกล้คนหรือสิ่งกีดกวาง ตลอดจนสั่งหยุดการทำงานฉุกเฉินได้จากแท็บเล็ตที่ใช้ควบคุม

นอกจากนี้ คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ยังได้พัฒนาระบบ Auto self-driving ในรถเกี่ยวนวดข้าว และรถดำนาอัจฉริยะขับเคลื่อนอัตโนมัติ วางจำหน่ายที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่ ปี 2561 เพื่อรองรับแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรม จากปัญหาอายุเฉลี่ยของเกษตรกรญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการขยายขนาดพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งในอนาคตคูโบต้ามีแผนพัฒนาระบบอัตโนมัติ แบบไร้คนขับ ร่วมกับเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอื่นของคูโบต้าแบบครบวงจร

จากความร่วมมือขององค์กรภาครัฐของไทยและญี่ปุ่น ในการพัฒนาระบบดาวเทียมนำทางเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง สยามคูโบต้า พร้อมจัดตั้งฐานการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร มูลค่ากว่า 600 ล้านบาท ในชื่อ “ศูนย์วิจัยและพัฒนาคูโบต้าเอเชีย” KUBOTA Research & Development ASIA (KRDA) ตั้งแต่ ปี 2559 รองรับมูลค่าการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เติบโตเพิ่มสูงขึ้น สอดรับกับทิศทางการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคน ด้วย Smart Agriculture ที่มุ่งสร้างการพัฒนาสินค้า KUBOTA Group สู่การเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก (Global Major Brand)

ลำไย เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดหนึ่ง เนื่องจากลำไยสามารถชักนำการออกดอกได้ ลำไยเป็นไม้ผลที่ไม่จำเป็นต้องห่อผล เพียงแต่ต้องมีการตัดแต่งช่อผลบ้าง เมื่อลำไยติดผลต่อช่อมากจนเกินไปเพื่อให้ผลลำไยมีขนาดผลใหญ่และผลมีขนาดสม่ำเสมอ ลำไยนอกจากจำหน่ายในรูปผลสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง ลำไยกระป๋อง เป็นต้น

ลำไย จัดเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถทำรายได้จากการส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท แหล่งผลิตลำไยที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา เป็นต้น และทางภาคตะวันออก เช่น จังหวัดจันทบุรี ระยอง เป็นต้น การผลิตลำไยในอดีตเกษตรกรต้องรับภาระความเสี่ยงเกี่ยวกับการให้ผลผลิตของลำไย เนื่องจากการออกดอกติดผลขึ้นอยู่กับความหนาวเย็น หากปีใดที่มีอุณหภูมิต่ำและหนาวเย็นยาวนาน ลำไยจะออกดอกติดผลมาก

ในขณะที่บางปีอากาศไม่หนาวเย็นพอ เว็บคาสิโนออนไลน์ ต้นลำไยจะออกดอกติดผลน้อย ทำให้ลำไยถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม้ผลที่มีนิสัยการออกดอกติดผลเว้นปี นับตั้งแต่มีการค้นพบ สารโพแทสเซียมคลอเรต ด้วยความบังเอิญของคนทำดอกไม้ไฟว่ามีคุณสมบัติสามารถชักนำการออกดอกของลำไย โดยไม่ต้องพึ่งพาความหนาวเย็น ทำให้ปัญหาการออกดอกเว้นปีลดความสำคัญลง และหมดไป

การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อเร่งลำไยให้ออกนอกฤดู นิยมทำก่อนหน้าฤดูลำไยจะออกดอกในทุกปี โดยนำสารโพแทสเซียมคลอเรตละลายน้ำรดหรือฉีดพ่นบริเวณโคนหรือรอบทรงพุ่มต้นลำไย หลังจากนั้นประมาณ 20-30 วัน ลำไยจะแทงช่อดอกออกมา

เหตุผลด้านราคา เกษตรกรชาวสวนลำไยทราบดีว่าเป้าหมายการผลิตลำไยนอกฤดู คือราคาผลผลิต ซึ่งถ้าจะเทียบไปแล้ว ช่วงเวลาจำหน่ายผลผลิตที่ราคาดีที่สุดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากตรงกับเทศกาล เช่น วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ และวันตรุษจีน ช่วงที่ผลผลิตมีราคาถูกที่สุดคือ ลำไยในฤดูช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมากเข้าสู่ตลาดพร้อมกัน ดังนั้น เกษตรกรจึงพยายามบังคับให้ลำไยออกดอกใน 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้เก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนถึงต้นกุมภาพันธ์ และช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพื่อเก็บเกี่ยวก่อนฤดูคือ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

การบังคับให้ออกดอกในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เกิดปัญหาค่อนข้างมาก เพราะตรงกับฤดูฝน ต้นลำไยจะตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตไม่ดีเหมือนการให้สารนี้ในฤดูหนาว ในขณะที่ลำไยที่ออกดอกในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนจะกระทบอากาศหนาวทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ผลอ่อนมักร่วงเสียหายได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมต้นให้สมบูรณ์ การกำหนดอัตราสารให้เหมาะสมและศึกษาถึงเทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดูในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการเลือกช่วงเวลาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและให้เหมาะสมกับพื้นที่จึงจะประสบผลสำเร็จ