การเดินทางสู่ ดอยม่อนจองออกเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่

ใช้เส้นทางหลวง หมายเลข 108 ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด เลี้ยวขวาที่อำเภอฮอด เพื่อเดินทางไปทางอำเภอแม่สะเรียง ผ่านสวนสน พบทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1099 เพื่อเดินทางเข้าสู่อำเภออมก๋อย ถึงสี่แยกหอมด่วนใกล้ตลาดอมก๋อย เลี้ยวซ้ายจะเห็นป้ายบอกไปตำบลแม่ตื่น ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร จะพบจุดท่องเที่ยวแห่งแรกที่ดอยมูเซอ เป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม ยามเช้าจะพบทะเลหมอกท่ามกลางสวนสนทั้งสองด้านของยอดดอยมูเซอ เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปจตุรทิศ มิ่งมุ่งเมืองนันทมุนี พุทธสถานดอยหลวงก๊องคำ และน้ำเต้าทองคำ เอกลักษณ์ของชนเผ่าลาหู่

จุดนี้ยามเช้าจะเห็นทะเลหมอกกว้างใหญ่ 360 องศา จากนั้นเดินทางต่อไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะพบป้ายบอกทางเข้าบ้านมูเซอปากทางอยู่ทางด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าไปผ่านหมู่บ้านตลอดสองข้างทาง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบที่ทำการศูนย์ท่องเที่ยวดอยม่อนจอง ติดต่อประสานงานที่จุดนี้ มีค่าใช้จ่ายคือ ค่าเช่ารถยนต์รับจ้างขับเคลื่อน 4 ล้อ 2,500-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนนักท่องเที่ยว หรือจะให้นำท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆ ตามแต่ตกลงแบบเช่าเหมาก็ได้ สำหรับค่าบริการแบกสัมภาระ ลูกหาบ 1 คน จะแบกสัมภาระไม่เกิน 20 กิโลกรัม ค่าบริการ วันละ 300 บาท

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว จึงเริ่มต้นเดินทางด้วยรถยนต์รับจ้างของกลุ่มมัคคุเทศก์ของชุมชนบ้านมูเซอปากทาง ถึงหน่วยพิทักษ์ป่าอุ้มหลวง ขออนุญาตผ่าน ตรวจนับจำนวนนักท่องเที่ยว รับแจกถุงดำเพื่อใช้แล้วนำขยะกลับลงมาพื้นราบ เดินทางต่อจนถึงจุดจอดรถยนต์ตีนดอยที่รถยนต์ไม่สามารถเดินทางขึ้นไปได้

จากจุดนี้นักท่องเที่ยวและลูกหาบจะต้องเดินเท้าขึ้นไป ประมาณ 6-7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง เป็นเส้นทางเดินป่าทั้งขึ้นเนินและลงเขาสลับกันไป จุดพักการเดินทางจุดแรกคือที่ ลานหินช่อ เป็นลักษณะทางธรณีวิทยาที่หินถูกกัดเซาะจากลมและน้ำมาเป็นเวลาหลายล้านปี จนเกิดเป็นปฏิมากรรมทางธรรมชาติที่แปลกตา จุดนี้สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์เพื่อชมควายป่า ชะนี กวางผา ออกมากินอาหารที่มีอย่างสมบูรณ์อยู่เบื้องล่าง

จุดพักที่สองคือ ก่อนขึ้นดอยหมาหอบหรือเนินสไลเดอร์ ลักษณะเป็นป่าโล่งแจ้ง ส่วนใหญ่จะเป็นหินสลับกับดินเหนียว ต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้ จึงมีต้นหญ้าธรรมชาติที่มีกลุ่มรากหญ้าเหนียวยึดก้อนหิน จึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวฝ่าเท้าของนักท่องเที่ยวที่จะต้องเดินตามโคนกอหญ้าเหล่านี้ ลาดชันมาก ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ เมื่อเดินพ้นจากจุดดอยหมาหอบอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงที่พักตามธรรมชาติใกล้ธารน้ำ เป็นพื้นที่ราบอยู่ด้านล่างของยอดดอย เพื่อเป็นการหลบกระแสลมที่พัดแรงมาก เมื่อนักท่องเที่ยวจัดการกางเต็นท์ เตรียมอาหารเรียบร้อยแล้ว อาจจะเดินขึ้นไปท่องเที่ยวบนยอดดอย ถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่สวยงามมาก

หลังจากนอนหลับพักผ่อนยามค่ำคืนที่มีอากาศหนาวเย็นแล้ว รุ่งเช้า ประมาณ 04.00-05.00 น. เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการมาท่องเที่ยวครั้งนี้คือ การเดินขึ้นไปบนยอดดอยถ่ายภาพดอยหัวสิงโต เดินต่อขึ้นไปจนถึงยอดดอย ถ่ายภาพทะเลหมอกที่มองเห็นรอบทิศทาง ที่เรียกว่ามองเห็นทะเลหมอก 360 องศา เลยทีเดียว

บริเวณนี้จะพบต้นดอกขาวม่อนจอง เป็นพืชสมุนไพรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ชาวบ้านแถบนี้จะเก็บไปต้มกินใบสดและทำเป็นใบชา ป้องกันและรักษาโรคความดันสูง เบาหวาน และอื่นๆ ได้ดีมาก ท่องเที่ยวถ่ายภาพความประทับใจได้เวลาอันเหมาะสม จึงเดินทางกลับลงมาพื้นราบ จะใช้เวลาน้อยกว่าการเดินขึ้น แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่บ้านมูเซอปากทาง

นอกจากจะได้ชมและท่องเที่ยวดอยม่อนจองแล้ว สามารถไปเที่ยวได้อีกหลายแห่ง เช่น วิถีชีวิตชาวไทยภูเขาบ้านอมแพม บ้านมูเซอหลังเมือง เขานางนั่ง สนามกอล์ฟช้าง ป่าดิบเขา ป่าสวนสน ดอยหัวสิงห์ สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาหลายวัน อาจจะเดินทางมาพักผ่อนในหมู่บ้านมูเซอปากทาง ชมการแสดงการละเล่นเต้นจะคึ รับประทานอาหารพื้นบ้าน ผ้าฝ้ายทอมือของชนเผ่า ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่วิถีชนเผ่ามูเซอ เดินชมสวนกาแฟอินทรีย์ที่ใช้เครื่องหมาย “กาแฟอินทรีย์ดอยม่อนจอง” ได้รับการรับรองคุณภาพจากสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่พักแบบสบายๆ ที่บ้านพักนะปีรีสอร์ท

เมื่อวันที่ 2 ม.ค. ที่จังหวัดนครพนม บรรยากาศการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ยังคงคึกคัก มีประชาชนและนักท่องเที่ยว ออกเดินทางไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงการจับจ่ายซื้อหาของใช้และอาหารรับประทาน ทำให้พ่อค้าแม่ค้าพลอยมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้าที่ตั้งร้านค้าอยู่ตามริมทาง เส้นทางที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต้องเดินทางผ่าน เพื่อไปกราบไหว้องค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ประชาชนสองฝั่งโขงให้ความเคารพศรัทธามานานนับหลายพันปี

นางสาวศรินญา วงศ์อุดดี แม่ค้าขายปลาเผาริมทาง เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ และมักแวะซื้อติดมือกลับไปทานที่บ้านหรือตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ไป โดยปกติตนเองจะเตรียมปลานิล ขนาดประมาณกิโลครึ่งมาย่างขายให้ลูกค้าที่ผ่านไปมาพร้อมกับน้ำจิ้ม 3 อย่าง รวมกับขนมจีนและผักที่เป็นเครื่องเคียง ประมาณวันละ 50 – 100 กิโลกรัม แต่ช่วงนี้ขายดีขึ้นจนต้องเพิ่มปริมาณปลานิลอีกเป็นวันละเกือบ 300 กิโลกรัมเลยทีเดียว ส่วนเพื่อนพ่อค้า แม่ค้าที่นำเอาสินค้าเกษตรอย่างมันแกวหวานมาจำหน่าย ก็ขายดีไม่แพ้กัน ขนมาทีเต็มคันรถก็ขายหมดด้วยเวลาไม่นานนัก ด้วยความหวานกรอบฉ่ำน้ำนิดๆ จิ้มกับพริกเกลือจะอร่อยเป็นพิเศษ ที่สำคัญคือเป็นผลไม้สดที่สามารถปอกทานได้เลยทันที ทั้งยังช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ช่วยลดความอ้วนและบำรุงเลือด จึงทำให้เป็นที่นิยมของลูกค้า ที่เมื่อพบเจอต้องซื้อรับประทาน และนำไปเป็นของฝาก

ขณะเดียวกันที่บริเวณตลาดจุดผ่อนปรนชายแดน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พบว่าในช่วงนี้ก็คึกคักไม่แพ้ตลาดริมทาง มีประชาชนจากแขวงคำม่วน ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เดินทางมาซื้อหาเครื่องอุปโภค บริโภค อาหารและเครื่องดื่ม เพื่อนำกลับไปจำหน่ายในประเทศของตนเอง เป็นการฉลองวันขึ้นปีใหม่เช่นเดียวกับประเทศไทย ส่งให้ผู้ประกอบการชาวไทยมีรายได้เพิ่มอีกหลายเท่าตัว คาดช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 มีเงินสะพัดในพื้นที่หลายล้านบาท

นักท่องเที่ยวแห่ซื้อกล้วยตากอบน้ำผึ้ง ของฝากขึ้นชื่อเมืองพิษณุโลก

วันที่ 2 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารจำหน่ายของฝากจากเมืองพิษณุโลก ภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก หลังจากที่นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศได้เดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อพระพุทธชินราชสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เพื่อขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัวในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2561 ต่างพากันแวะมาซื้อของฝากติดไม้ติดมือไปฝากญาติพี่น้องและเพื่อนที่ทำงาน แต่ที่นิยมซื้อมากที่สุด คือ กล้วยตากอบน้ำผึ้งที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในบรรดากล้วยตากในประเทศไทย

จากการสอบถามร้านค้าต่างๆ บอกว่าปีนี้ได้เตรียมกล้วยตากกว่า 1 ตันต่อร้าน ต่างปรับกลยุทธ์การจำหน่าย ซื้อ 3 แถม 1 บ้าง เปลี่ยนรูปแบบแพ็คเกจให้น่าซื้อมากขึ้น แปรรูปเป็นกล้วยประเภทต่างๆ บ้าง ซึ่งเป็นของฝากที่ผู้รับจะประทับใจในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อย่างแน่นอน เพราะกินได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย

สถานการณ์ยางพาราช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ยังไม่รู้ว่าราคายางจะไปทางไหน เห็นได้จากช่วงกลางเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ราคายางแผ่นดิบที่ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่นอยู่ในระดับ กก.ละ 40 บาท และเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 ก็ยังอยู่ในระดับ กก.ละ 41 บาท หากภาครัฐไม่เข็นมาตรการออกมาสู้ อาจได้เห็น กก.ละ 33 บาทอีกครั้งก็ได้ โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอมาตรการผลักดันราคายางต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 6 มาตรการ ที่เสนอเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2560 ประกอบด้วย

(1) มาตรการให้สินเชื่อผู้ประกอบกิจการยาง วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ซื้อยางได้ประมาณ 3.5 แสนตัน ซึ่งรัฐจะชดเชยดอกเบี้ยตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 3% ต่อปี

(2) มาตรการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ เป้าหมาย 2 แสนตัน ซึ่งนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมจะเสนอ ครม. ขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ให้ กยท.นำไปซื้อน้ำยางสด ยางก้อนถ้วยจากเกษตรกรที่กำลังหารือวิธีการซื้ออยู่ประมาณ 1.8 แสนตัน คิดเป็นยางแห้งประมาณ 9 หมื่นตัน ตามวงเงินที่หน่วยงานรัฐแต่ละแห่งมีวงเงินจัดซื้อยางปี 2561 อยู่แล้ว พร้อมทั้งให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และหน่วยงานต่าง ๆ ออกทีโออาร์ในการประมูลงานว่าเอกชนผู้ชนะการประมูลต้องไปซื้อยางจาก กยท.

(3) มาตรการควบคุมปริมาณผลผลิต โดยมีเป้าหมายลดปริมาณผลผลิตทั้งจากภาคเกษตรกรและหน่วยงานรัฐ โดยในส่วนของเกษตรกรกำหนดให้มีแรงจูงใจช่วงเวลาเร่งด่วนไตรมาสแรกปี 2561 ด้วยการสนับสนุนเงินรายละ 4,000 บาท เพื่อโค่นยางและปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้น เช่น ไม้ผล ไม้เพื่อการแปรรูปและอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 2 แสนไร่ที่ยางออกสู่ตลาด เป็นการลดปลูกยางแบบถาวร

สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีสวนยางประมาณ 1 แสนไร่ จะร่วมกันหยุดกรีดยาง เพื่อลดปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดได้ไม่น้อยกว่า 6,780 ตัน ในระยะเวลาช่วงไตรมาสแรกปี 2561

(4) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเห็นชอบแนวทางปฏิบัติการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ในอัตรา 0.49% ต่อปี

(5) มาตรการชดเชยดอกเบี้ย 3% เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โดยรัฐจะสนับสนุนเงินชดเชยและค่าเบี้ยประกัน ค่าบริหารโครงการแก่สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

(6) มาตรการชดเชยดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปัจจุบันมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 29 ราย และได้รับอนุมัติสินเชื่อเข้าร่วมโครงการ 16 ราย วงเงิน 8,887 ล้านบาท ปริมาณการใช้ยางเพิ่มขึ้น 35,500 ตันต่อปี ขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอีกหลายราย ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น

นอกเหนือจาก 6 มาตรการแล้ว ไทยยังได้ร่วมกับ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งมีปริมาณผลผลิตยางกว่า 70% ของผลผลิตทั่วโลก ลดปริมาณการส่งออกยาง โดยที่ประชุมสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) มีมติลดปริมาณการส่งออกยางลง 3.5 แสนตัน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 2560-31 มี.ค. 2561 เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคา

แยกเป็นไทยลดส่งออก 2.3 แสนตันเศษ อินโดนีเซีย 9.5 หมื่นตันเศษ และมาเลเซีย 2 หมื่นตันเศษ เพราะผลผลิตทั่วโลกมีมากกว่าความต้องการถึง 3.5 แสนตันต่อปี ซึ่ง นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า การลดการส่งออกจะผลักดันราคายางจาก กก.ละ 40 บาท ให้เพิ่มขึ้นเป็น 60 บาท/กก.

อย่างไรก็ตาม มีคำถามตามมาว่า6 มาตรการและการลดปริมาณการส่งออกจะผลักดันราคาขึ้นสู่เป้าหมาย กก.ละ 60 บาทได้จริงหรือไม่ ในเมื่อพื้นที่ปลูกยางพาราที่ผลิตในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นถึง 11.9 ล้านไร่ เฉพาะพื้นที่ปลูกในไทยที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานในปี 2556 มีพื้นที่ปลูก 17.39 ล้านไร่ เพิ่มเป็น 19.22 ล้านไร่ ในปี 2560 แต่ตัวเลข กยท.ที่เกษตรกรทั้งในพื้นที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิมาแจ้งสูงถึง 22 ล้านไร่ ในขณะที่ดาวเทียมจิสด้า ของสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) ตรวจสอบว่ามีถึง 30 ล้านไร่ กยท.จึงได้ให้จิสด้าสำรวจใหม่ เนื่องจาก กยท.ยังจำกัดสิทธิให้เกษตรกรผู้ปลูกยางในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิแจ้งได้ไม่เกินรายละ 25 ไร่

“นอกจากนี้ กลุ่ม 5 เสือผู้ส่งออกยางรายใหญ่ของไทย ล้วนมีจีนที่เข้ามาร่วมทุ่นแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยอีกมาก เช่น บริษัท ไทยก๋วงเขิ่น รับเบอร์ บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจจีนยางรายใหญ่ เข้ามาถือหุ้นถึง 59% ในบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กลุ่มเต็กบี้ห้างที่มี “ซิโนเค็ม” รัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของจีนเข้ามาฮุบ และผู้ถือหุ้นจากบริษัทจีน สิงคโปร์ เข้ามาถือหุ้นในกลุ่ม 5 เสือ แบบไม่เปิดเผยหรือนอมินีอีกมาก แน่นอนว่าการดึงราคายางขึ้นสูง ย่อมไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทแม่ในจีน” แหล่งข่าวระดับสูงใน กยท.กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ”

ถึงแม้ทั่วโลกหรือไทยจะมีพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น stsebastianschool.org แต่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2554 ที่ราคายางขึ้นไปสูงเกือบ กก.ละ 200 บาท หลังจากนั้นราคาก็ตกต่ำมาตลอด ยกเว้นช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2560 ที่ราคายางพุ่งขึ้น กก.ละ 100 บาท จากภาวะน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ การกรีดยางในภาคใต้ก็ระส่ำระสาย เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกยางเกือบ 7 ล้านไร่ ที่จ้างคนกรีดยางแล้วแบ่งรายได้กัน ขณะที่ตัวเองรับราชการ เป็นพ่อค้าหรือทำอาชีพอื่น สวนยางเป็นแค่อาชีพเสริม เมื่อราคายางตกต่ำเช่นปัจจุบัน 2 สามีภรรยาที่รับจ้างกรีดจะมีรายได้รวมกันเพียงวันละ 500 บาท ต่ำกว่าค่าแรงวันละ 300 บาท/คน จึงมีการละทิ้งไปทำอาชีพอื่นค่อนข้างมาก ผลผลิตที่ออกมาจึงน้อย ไม่สัมพันธ์กับพื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ในขณะที่แผนการโค่นยางเพื่อลดพื้นที่ปลูกยางปีละ 4 แสนไร่ เป็นเวลา 7 ปี จนถึงปี 2564 ที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จตามแผนทุกปี และเกษตรกรจะขอโค่นมากกว่านี้ด้วย

“มั่นใจว่า 6 มาตรการที่ออกมา และการลดปริมาณส่งออกของ3 ประเทศครั้งนี้ จะช่วยดันราคายางในเดือน ม.ค. 2561 นี้ 50 บาท/กก.ขึ้นไปแน่ เพราะคราวนี้รัฐเอาจริง สร้างเสือตัวที่ 6 มารับซื้อแข่งกับกลุ่ม 5 เสือเดิม รวมทั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ปลดล็อกการจัดซื้อยางระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

ผลการตรวจวัดสารพิษกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ประจำปี พ.ศ. 2560 ของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai – PAN) ซึ่งได้แถลงข่าวที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค กรุงเทพฯ ไปเมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ยืนยันตัวเลขน่ากลัวกว่าที่เคยคิดกันไว้มาก

ปลายเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่ Thai – PAN เก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ ทั้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ต 4 แห่ง ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ 3 แห่ง รวมทั้งตลาดสดค้าปลีก – ค้าส่งในเชียงใหม่ ขอนแก่น ปทุมธานี สงขลา และราชบุรี แหล่งละ 15 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้นถึง 150 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผักตลาดยอดนิยม คือ กะเพรา พริกแดง คะน้า ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักพื้นบ้านยอดนิยม คือใบบัวบก ชะอม ตำลึง สายบัว และผลไม้ คือองุ่น แก้วมังกร มะละกอ กล้วย มะพร้าว สับปะรด

การ “เก็บตัวอย่าง” นี้ หมายถึงบันทึกรายละเอียดบนฉลาก สอบถามที่มาของสินค้า เพื่อสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับที่อ้างอิงได้ จากนั้นส่งวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการในประเทศอังกฤษ และปีนี้ Thai – PAN ยังได้ส่งตัวอย่างเหล่านี้เพิ่มไปยังห้องปฏิบัติการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อตรวจหาสารกำจัดวัชพืชอีกทางหนึ่งด้วย

ผลตรวจซึ่งมีรายละเอียดมากมายจะถูกส่งกลับมาเปรียบเทียบกับค่าสารตกค้างระดับสูงสุด ที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ซึ่งปีนี้ Thai – PAN พบว่ามีสารพิษปนเปื้อนในผักตลาดสูงเกินมาตรฐานที่ว่าถึง 64% ในผักพื้นบ้านยอดนิยม 43% และในผลไม้ 33% ตามลำดับ เฉพาะที่มีความเสี่ยงสูงมาก คือ ถั่วฝักยาว คะน้า กะเพรา ใบบัวบก พริกแดง องุ่น และแก้วมังกร

หากพิจารณาในรายละเอียด ก็อาจเจาะจงให้น่ากลัวขึ้นไปอีกได้ว่า ในพริกแดง 10 ตัวอย่าง ได้พบสารพิษถึง 31 ชนิด, ในตัวอย่างผักคะน้าจากสงขลา ถึงกับพบสารอันตรายต้องห้าม ซึ่งตามหลักจะต้อง “ไม่พบ” เลย, ในใบบัวบก ผักบ้านๆ ซึ่งน่าจะปลอดภัยที่สุด กลับพบว่านี่คือผักน่ากลัวที่สุดของปีนี้เลยก็ว่าได้ คือพบการตกค้างถึง 9 ใน 10 ตัวอย่าง แถมมีสารพิษตั้งแต่ 5-18 ชนิดทีเดียว

ข่าวดีเล็กน้อยก็คือ ไม่พบสารตกค้างในสายบัวและกระชายนะครับ

ส่วนหายนะของผลไม้ปีนี้ตกอยู่ที่องุ่น ทั้งที่นำเข้าจากอเมริกาและจีน พบสารพิษตกค้างถึง 18 ชนิด แก้วมังกรดีกว่าองุ่นเล็กน้อย พบเพียง 8-10 ชนิด ส่วนกล้วยหอมพบน้อยมาก

แต่ความวิตกกังวลใหม่สำหรับปีนี้ ก็คือผลตรวจจากห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เน้นทดสอบการตกค้างของสารกำจัดวัชพืช หรือ “ยาฆ่าหญ้า” นั่นเองครับ

76 ตัวอย่างของผัก ผลไม้ ที่ส่งไปยังมหาวิทยาลัยชั้นนำของเมืองพิษณุโลกแห่งนี้ พบว่า มียาฆ่าหญ้าตกค้างอยู่สูงถึง 55% และไม่ว่าจะเป็นพริกแดง กะเพรา คะน้า ถั่วฝักยาว ใบบัวบก ล้วนแต่พบเกินค่ามาตรฐานทั้งสิ้น โดยเฉพาะชะอมที่พบสูงเกินไปกว่าหนึ่งพันเท่า ส่วนพืชผักที่ไม่พบสารตกค้าง ก็มีสายบัว ผักหวานป่า กระชาย และใบเหลียง

สารตัวอย่างที่พบมาก คือ พาราควอต พบถึง 38 ตัวอย่าง เรียกว่าครึ่งต่อครึ่ง รองลงมาคือ ไกลโฟเซต พบ 6 ตัวอย่าง และ อะทราซีน พบ 4 ตัวอย่าง ด้วยข้อมูลชุดนี้ ภาพคนเดินสะพายถังฉีดยาฆ่าหญ้าที่เรามักพบเห็นตามริมทางหลวง จึงน่าจะกระตุ้นเตือนอะไรเราได้มากกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผนวกรวมกับข่าวที่กรมวิชาการเกษตรอนุญาตให้ต่อทะเบียนการนำเข้าพาราควอตไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งสวนทางกับข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายฯ ที่ต้องการให้ยุติการต่อทะเบียนสารเคมีอันตรายชนิดดังกล่าวในทันที

ยังมีเรื่องที่เหนือความคาดหมายอีกเรื่องหนึ่งนะครับ นั่นก็คือ ผัก ผลไม้ ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐาน ทั้ง GAP, GMP และ Organic ซึ่งจะต้องไม่พบสารตกค้างใดๆ เลย ก็ยังคงพบในระดับเกินค่ามาตรฐานมากจนชวนตระหนก