การเดินทางไปยังพื้นที่อำเภอโพนนาแก้ว เลือกไปได้สองทาง

ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมทาง “บ้านท่าแร่” แล้วเลี้ยวขวา เลียบเลาะหนองหาร เส้นทาง บ้านท่าแร่-อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอีกเส้นทาง ไปตามถนนสายสกลนคร-นาแก เมื่อถึงบ้านโพนยางคำ จะเลี้ยวซ้าย ไปราว 20 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านด่านม่วงคำ-โคกศรีสุพรรณ แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก ก็จะไปพบกับอำเภอโพนนาแก้ว ซึ่งเป็นอำเภอที่มีเขตติดต่อกับอำเภอปลาปาก และวังยาง จังหวัดนครพนม

เป้าหมายการเดินทางคือ บ้านโนนกุง หมู่ที่ 8 ตำบลเชียงสือ อำเภอโพนนาแก้ว เมื่อออกจากตัวเมืองสกลนคร จึงเลือกเส้นทางสายถนนสกลนคร-นครพนม มุ่งหน้าสู่บ้านท่าแร่ ราว 25 กิโลเมตร ผ่านบ้านท่าแร่ 3 กิโลเมตร จะพบทางสามแยก แล้วเลี้ยวขวา-ถนนสายท่าแร่-โพนนาแก้ว ผ่านที่ว่าการอำเภอโพนนาแก้ว ไปอีกราว 10 กิโลเมตร ก็จะพบกับบ้านโนนกุง

พบกับ คุณนิพนธ์ มุลเมืองแสน วัย 49 ปี และ คุณนันทิยา มุลเมืองแสน ภรรยา หลังทักทาย ดื่มน้ำเย็นเพื่อคลายร้อนแล้ว แต่ไม่ลืมที่จะสวม “แมส” หน้ากากอนามัย แม้จะรู้ว่าปลอดภัย เพราะเป็นทุ่งนาป่าไม้ ธรรมชาติ ก็ต้องป้องกันตัวไว้ก่อน

คุณนิพนธ์ เล่าว่า หลังเรียนจบก็อยากจะหางานทำ เพราะมองว่าอาชีพทางราชการหรือมีเงินเดือนน่าจะสบาย แต่กว่าจะรู้ความจริงว่าการเป็นเกษตรกร คือการเป็นตัวของตัวเอง จะดีกว่า ทำมากได้มาก ไม่ทำก็ไม่ได้ ประกอบกับที่เป็นคนรักธรรมชาติ ชีวิตคนชนบท และบ้านก็อยู่ติดกับหนองหาร มีลำน้ำก่ำไหลผ่าน จากหนองหารลงสู่แม่น้ำโขงทางจังหวัดนครพนม ชีวิตจึงมีความผูกพันกับสายน้ำและป่าไม้มาโดยตลอด โดยเฉพาะลำน้ำก่ำ เรียกว่าโตมากับน้ำ จึงมีความเข้าใจดี

หลังจากนั้น เมื่อแต่งงานกับคุณนันทิยา มีครอบครัวแล้วก็ขยับมาอยู่ที่บ้านตนเอง บนเนื้อที่ 6 ไร่เศษ ที่อยู่ติดกับลำน้ำก่ำ อาศัยที่ดินดังกล่าวทำการเกษตร เลี้ยงไก่ เป็ด และห่าน ดำเนินชีวิตตามวิถีแบบชาวบ้าน และจากที่เคยอยู่กับพืชผัก ป่าไม้ และรุ่นพ่อ แม่ นอกจากทำนาแล้วยังมีการเพาะกล้า ไม้ป่า ไม้พื้นเมือง ออกจำหน่าย จนเป็นที่รู้จักทั่วไป ไม้ที่เพาะกล้า มีทั้งประเภท อายุยาว และอายุสั้น เช่น มะละกอ ขนุน มะนาว ฯลฯ ผักสวนครัว ไม้ประดับ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังใช้พื้นที่ขุดบ่อเลี้ยงปลา บ่อใหญ่ 1 บ่อ และบ่อแบบธรรมชาติอีก 1 บ่อ ซึ่งจะมีปลาจากธรรมซาติด้วย

คุณนิพนธ์ เล่าว่าจากการที่ชาวบ้านเห็นว่าเป็นผู้ที่เพาะกล้าไม้ พืชต่างๆ และสามารถนำเสนอได้ บอกเล่าได้ จึงได้รับเลือกให้เป็นเกษตรอาสาประจำหมู่บ้านและตำบล ตลอดจนประมงอาสาด้วย นอกจากนั้น จากการที่เป็นนักอนุรักษ์ (เอ็นจีโอ) ร่วมต่อสู้และคัดค้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เกิดประโยชน์ ในเรื่องของน้ำ จึงได้รับการเลือกเป็นประธานองค์กรผู้ใช้น้ำภาคเกษตรกรรมลำน้ำโขง แวะเวียนไปศึกษาดูงานในประเทศเพื่อนบ้านมาแล้ว เพื่อพัฒนาในพื้นที่

คุณนิพนธ์ บอกว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังมีปัญหาเรื่องของโรคที่ระบาด การประชุมหรือกิจกรรมใดๆ ต้องหยุดก่อน ก็มีเวลามาเพาะต้นไม้ กล้าไม้ ช่วยภรรยาและลูกๆ อีกแรงหนึ่ง รายได้หลักมาจากการขายเพาะกล้าไม้ ทุกชนิดที่ มีออเดอร์แ ละเพาะไว้ขายที่บ้าน

รายได้ปัจจุบัน เฉลี่ยอยู่ที่ วันละ 700-1,000 บาท ซึ่งมีต้นทุน ประเภท ปุ๋ยคอก ถุง และแรงงาน ต้นไม้หรือพืชที่จำหน่ายดีมากจะเป็นพวก มะละกอ ทุกประเภท รับจัดเพาะให้ ในราคามิตรภาพ มีทั้งนำส่งและจำหน่ายปลีก ไม่ว่าจะเป็นมะนาว มะละกอ ขนุน และอีกมากมาย สามารถสั่งได้ การนำส่งขึ้นอยู่กับปริมาณ ท่านที่ต้องการสามารถติดต่อได้

คุณนิพนธ์ บอกว่า การเพาะต้นไม้ กล้าไม้ เรียนรู้มาจากที่เคยทำมากับเพื่อนบ้านและในครอบครัวทำมาก่อน โดยครั้งแรกก็ลองผิดลองถูก แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหา ภรรยาและลูกก็เพาะกล้าขายได้เช่นกัน ดังนั้น วันนี้บอกได้ว่า อาชีพเกษตรกรรมหากเรารู้จักพัฒนา แสวงหา ใฝ่รู้ จดจำ อ่านหนังสือตำรามาเพิ่มเติม ทุกคนก็สามารถทำได้ เพราะพื้นฐานเดิมเรามาจากอาชีพการเกษตร ความจริงการทำเกษตรไม่มีใครรู้จริงเท่าเกษตรกร เพราะว่าเขามีประสบการณ์ด้วยตนเอง ส่วนหน่วยงานอื่นก็เข้ามาแนะนำ ในที่สุดก็มีการนำไปสู่การใช้ประเภทสารเคมี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พืชโตไว แต่ผู้บริโภคหรือคนตายเร็ว

คุณนิพนธ์ ทำกิจกรรมเกษตร โดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะเน้นไปที่เกษตรอินทรีย์ธรรมชาติ นาข้าวทำเพียง 2 ไร่เศษ พื้นที่เหลือ ปลูกพืชทุกอย่างที่กินได้ ขายได้ และเหมาะสม ที่นี่เป็นแหล่งจำหน่ายพันธุ์กล้าไม้ทุกชนิด สำหรับท่านที่ต้องการนำไปปลูกหรือจำหน่าย ติดต่อได้ที่ คุณนิพนธ์ มุลเมืองแสน โทร. 089-574-3522 ทุกวัน

“กล้วยน้ำว้า” เป็นหนึ่งในไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัย มีเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยน้ำว้าประมาณ 1,721 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกรวม 7,047 ไร่ มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอำเภอศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดถึง 668 ราย เนื้อที่ปลูก 2,905 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอกงไกรลาศ เกษตรกรจำนวน 457 ราย เนื้อที่ปลูก 2,115 ไร่

กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน แต่ชอบดินร่วน มีอินทรียวัตถุและความชื้นสูง ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง หลังจากการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้วจะให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่อปลูกได้ 8-10 เดือน ซึ่งในจังหวัดสุโขทัย แหล่งปลูกกล้วยน้ำว้าสามารถแตกหน่อเติบโตให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดตลอดปี โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 32 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมแปลง ควรไถพรวนดินและตากดินนาน 1-2 สัปดาห์ และกำจัดวัชพืชก่อนปลูก วางแนวและขุดหลุมปลูกในระยะ 4×4 เมตร หรือมากกว่า หากที่ระยะถี่กว่านี้จะทำให้ต้นที่แตกใหม่เบียดกันแน่นในปีที่ 2 ขุดหลุมปลูกกว้างxยาวxลึก ที่ 50x50x50 เซนติเมตร กลบหรือโรยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อหลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัมต่อหลุม พร้อมปรับดิน ผสมดินให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของหลุม คลุกผสมดินกับปุ๋ยให้เข้ากัน การปลูกกล้วยน้ำว้านำต้นพันธุ์ลงหลุมปลูกและกลบดินต่ำกว่าผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร สำหรับให้น้ำขังและสำหรับการใส่ปุ๋ยในครั้งต่อไป

โดยทั่วไปเกษตรกรมักให้ต้นกล้วยได้รับน้ำจากน้ำฝน แต่หากพื้นที่ปลูกมีสภาพแห้งแล้งจัด และมีระบบชลประทานเข้าถึง ก็สามารถสูบน้ำเข้าแปลงเป็นระยะได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การใส่ปุ๋ยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมหลุมปลูก ด้วยการรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อหลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัมต่อหลุม หรือประมาณ 1-2 กำมือ

ปุ๋ยคอก หลังการปลูกประมาณ 1-3 เดือนแรก ควรให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อหลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัมต่อหลุม ปุ๋ยเคมี ระยะหลังปลูกเดือนที่ 5 และ 7 หรือระยะก่อนออกปลี ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-24 อัตรา 100-200 กรัมต่อหลุม โดยการหว่านรอบๆ กอ

เกษตรกรนิยมไว้หน่อเพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้น โดยต้นกล้วย 1 กอ หรือ 1 หลุม ให้ไว้หน่อ หรือต้น 4 ต้นเท่านั้น ด้วยวิธีดังนี้ หน่อแรกที่ขึ้นหลังจากการปลูกต้นแรกให้ปล่อยไว้ไม่ตัด หน่อที่ขึ้นต่อมาในระยะ 1-2 เดือน หลังจากการปล่อยหน่อแรกแล้วให้ตัดทิ้ง เมื่อหน่อแรกอายุครบ 3 เดือน ให้ปล่อยหน่อที่ 2 ขึ้น ส่วนหน่ออื่นๆ ตัดทิ้ง ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจะได้หน่อและต้นทั้งหมดใน 1 กอ ประมาณ 4 ต้นต่อปี จนถึงการตัดเครือกล้วยจากต้นแรก ซึ่งจะทำให้มีหน่อหรือต้นเหลือ 3 ต้นต่อกอ

กล้วยน้ำว้าที่ปลูกจากหน่อจะเริ่มออกปลีหรือดอกเมื่อมีอายุหลังการปลูกประมาณ 8 เดือน หลังจากแทงปลีจนสุดแล้วจะเหลือส่วนปลายของดอกที่เรียกว่า ปลีกล้วย และมีระยะหลังการแทงดอก (ปลีกล้วย) จนถึงดอกกล้วยบานจนหมดจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน ช่วงแทงปลีถึงระยะเก็บเกี่ยว 4 เดือน ถ้าช่วงหน้าหนาวที่มีอากาศเย็นจะใช้เวลาถึงช่วงแทงปลีนานขึ้นกว่าหน้าร้อน

การเก็บผลดิบ จะเก็บในขณะที่ยังเห็นเหลี่ยมของผลชัดเจน ซึ่งระยะนี้กล้วยจะแก่ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ระยะนี้เหมาะสำหรับการนำกล้วยดิบไปแปรรูปหรือส่งออกต่างประเทศ หลังการตัดปลีแล้วกล้วยจะเริ่มแก่เต็มที่และเริ่มสุกภายในเวลาประมาณ 70-80 วัน หลังจากออกดอก (ปลี)

การเก็บกล้วยก่อนระยะสุก จะเก็บเมื่อผลอวบ ไม่มีเหลี่ยม เป็นระยะสำหรับเก็บจำหน่ายในประเทศเพื่อรับประทานผลสุก ซึ่งผลจะสุกเหลืองภายใน 3-7 วัน การตัดเครือกล้วยจะใช้วิธีตัดต้นกล้วย ให้ค่อยๆ ล้มลง แล้วจึงตัดเครือออก การตัดเครือควรตัดที่ต้นเครือ หรือให้เครือยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปกติแล้วกล้วยจะแก่โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน หลังจากเริ่มออกดอก การเก็บเกี่ยวจะเก็บเกี่ยวความแก่ 80-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ แล้วแต่ความต้องการของตลาด

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัยระบุว่า การลงทุนปลูกกล้วยครั้งแรกเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องการเตรียมดินก่อนปลูก ค่าระบบน้ำ ค่าปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตร เช่น จอบ เสียม กรรไกร ฯลฯ การปลูกกล้วยน้ำว้าครั้งแรกใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี ก็เริ่มมีรายได้ให้กับเกษตรกร ลงทุนปลูกกล้วยน้ำว้า 1 ครั้ง สร้างรายได้เฉลี่ย 7-10 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลของเกษตรกรเป็นหลัก

แปลงปลูกกล้วยน้ำว้าโดยทั่วไปมีค่าใช้จ่ายดูแลระบบน้ำ ให้ต้นกล้วยมีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมให้น้ำแบบปล่อยร่อง โดยทั่วไปต้นกล้วยไม่ต้องให้น้ำบ่อย แค่เดือนละ 1-2 ครั้งก็พอแล้ว รายได้จากการจำหน่ายขึ้นอยู่กับราคากลางในตลาดซึ่งไม่คงที่

ปู่ ย่า ตา ยาย มักสอนลูกหลานว่า ห้ามปลูกกล้วยในช่วงเข้าพรรษา เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมักเจอฝนตกชุก หากปลูกกล้วยในที่ลุ่ม หน่อกล้วยที่เพิ่งปลูกใหม่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน มีโอกาสถูกน้ำท่วมขังทำให้เกิดปัญหารากเน่าได้ง่าย หากปลูกในพื้นที่ที่ลาดชัน เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

อีกประการหนึ่ง หากปลูกกล้วยช่วงหน้าฝน เสี่ยงเจอปัญหาเชื้อโรคที่มาในหน้าฝน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมักมีฝนตกบ่อย ท้องฟ้าปิดติดต่อกันหลายวัน ไม่ค่อยมีแสงแดด เชื้อโรคในดินกระจายตัวได้มากกว่าปกติ แถมเสี่ยงเจอปัญหาฝนทิ้งช่วง หลังจากนำกล้วยน้ำว้าลงปลูกในดินเสร็จแล้ว ต้นกล้วยมักใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการเดินรากเพื่อดูดสารอาหาร หลังจากนั้นเข้าสู่ช่วงเจริญเติบโต ซึ่งอาจจะหมดหน้าฝนพอดี

หากปลูกไปแล้วเจอปัญหาฝนทิ้งช่วง อาจทำให้การเติบโตของต้นกล้วยหยุดชะงัก ความสมบูรณ์ของผลกล้วย โดยปกติกล้วยจะเริ่มแทงปลีต้องใช้เวลาประมาณ 8 เดือน นับตั้งแต่เริ่มเอาหน่อลงปลูก นั่นคือหากปลูกช่วงเข้าพรรษาก็จะครบกำหนดออกหวีออกเครือพอดีในช่วงหน้าแล้ง ส่งผลให้กล้วยมีลูกเล็กหรือลูกไม่สมบูรณ์ได้ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงเจอปัญหาดินเป็นกรดช่วงหน้าฝน ทำให้ต้นกล้วยน้ำว้าเกิดปัญหาตายพราย ซึ่งจะแสดงอาการตอนตกเครือ หากสามารถแก้ปัญหาเรื่องความเป็นกรดของดินได้ก็จะไม่มีปัญหา โดยใส่ปูนขาวปรับสภาพกรดด่างของดินก่อนปลูกกล้วยน้ำว้า

แหล่งแปรรูปกล้วยใหญ่สุดในไทย

ตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นแหล่งแปรรูปกล้วยใหญ่สุดในประเทศไทย มีปริมาณการผลิต 11,322 ตันต่อปี คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1,132 ล้านบาท เดิมชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้มีอาชีพทำนาและรับจ้างก่อสร้างเป็นหลัก ในปี 2539 ชาวบ้านเริ่มหันมาทำอาชีพแปรรูปกล้วยน้ำว้าในรูปแบบกล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยอบเนย ฯลฯ

ปี 2550 ชาวบ้านได้รวมกลุ่มก่อตั้งสหกรณ์แปรรูปกล้วยตำบลหนองตูม จำกัด มีสมาชิก 40 คน มีโรงเรือนแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตร (กล้วยน้ำว้า มันเทศ ฟักทอง และเผือก) 30 ห้อง 240 กระทะ ใช้ก๊าซในการผลิตสินค้าเดือนละ 6-8 แสนบาท ซึ่งจำเป็นต้องใช้ก๊าซหุงต้มปริมาณมากในการประกอบอาชีพ

บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นปัญหาของชุมชน จึงก่อสร้างโรงเรือนแปรรูปผลิตภัณฑ์ ติดตั้งระบบการส่งก๊าซและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบ (Associated Gas) ที่ฐานผลิตน้ำมันหนองตูม-เอ ให้สหกรณ์ในราคาถูก ทำให้ประหยัดค่าก๊าซได้กว่า 10 ล้านบาท

สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัดสุโขทัย

คุณพิมพร แจ่มโพธิ์ เป็นเกษตรกรปลูกกล้วยน้ำว้า ในพื้นที่ตำบลหนองตูม ปี 2538-2539 ประสบปัญหากล้วยน้ำว้าล้นตลาด ขายสินค้าได้ราคาถูก คุณพิมพรจึงนำกล้วยมาแปรรูปสร้างมูลค่าในรูปแบบต่างๆ ขายในยี่ห้อ Chips & Chill ขายทั้งในประเทศและส่งออก สินค้ามีคุณภาพดีเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง ปี 2564 ทางบริษัทได้รับรางวัลสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัดสุโขทัย (SME Provincial Champions) จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

คุณพิมพร ประธานบริษัท พิมพร บานาน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น กล้วย มัน เผือก ฟักทอง ขนุน นำมาแปรรูปได้วันละ 3,000 กิโลกรัม ส่งขายในประเทศ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 50 เปอร์เซ็นต์ บริษัทให้ความสำคัญกับการยกระดับการผลิตสินค้า และใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อขยายตลาดส่งออกไปจีน เนื่องจากจีนไม่เก็บภาษีศุลกากรกับกล้วยแปรรูปที่ส่งออกจากไทย ภายใต้ FTA อาเซียน-จีน

ทุกวันนี้ บริษัท พิมพร บานาน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปิดร้านไทยพาวิลเลี่ยน จำกัด จำหน่ายสินค้าในสนามบินต้าชิง กรุงปักกิ่ง และขายสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ “เถาเป่า” และ “พินตัวตัว” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ขนาดใหญ่ของจีน มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีรายได้กว่า 1.64 ล้านบาทต่อเดือน

คุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมให้คำแนะนำบริษัท พิมพร บานาน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด สมาชิกสหกรณ์กล้วยแปรรูปตำบลหนองตูม จำกัด ใช้ประโยชน์จาก FTA เจาะตลาดส่งออก การพัฒนาช่องทางการตลาด การสร้างแบรนด์ และพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ช่วยให้บริษัท พิมพรฯ ประสบความสำเร็จทางการตลาด สามารถขยายการส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน 16 ประเทศคู่ FTA ได้แก่ อาเซียน จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรู ไม่เก็บภาษีนำเข้าสินค้ากล้วยแปรรูปจากไทย เหลือเพียงอินเดียที่เก็บภาษีกล้วยแปรรูปที่อัตราร้อยละ 30 และเกาหลีใต้ที่เก็บภาษีในอัตรา 36 เปอร์เซ็นต์ สำหรับภายใต้ความตกลง RCEP เกาหลีใต้ ลดภาษีนำเข้ากล้วยแปรรูปเพิ่มเติมให้ไทย โดยกล้วยที่ทำไว้ไม่ให้เสียโดยน้ำตาลจะทยอยลดลงจนเป็นศูนย์ในปีที่ 15 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้ ส่วนกล้วยบรรจุในภาชนะที่อากาศเข้าออกไม่ได้ จะทยอยลดลงจนเป็นศูนย์ในปีที่ 20 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้

การทำเกษตรหากตั้งใจจริงและพร้อมที่จะสร้างเป็นอาชีพไม่ใช่เรื่องยากหรือไกลตัว เพราะงานเกษตรเป็นสิ่งที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เกิดในประเทศนี้ย่อมผ่านหูผ่านตาในเรื่องของความรู้การทำเกษตรไม่ช่องทางใดก็ช่องทางหนึ่ง จึงทำให้หลายๆ คนที่ไม่ได้เคยอยู่ในสายอาชีพทางการเกษตรอยู่เดิม เมื่อเกษียณจากงานและต้องการที่จะกลับมาอยู่บ้าน ก็มักจะมองงานด้านการเกษตรเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ให้กับตัวเอง หรืออย่างน้อยก็เป็นอาหารสำหรับบริโภคภายในครัวเรือน

คุณโสพี ทองทุม อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 9 ตำบลโพธิ์ไทรงาม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ได้เกษียณจากงานประจำกลับมาทำเกษตรผสมผสานยังบ้านเกิดของตัวเอง โดยยึดการทำเกษตรเน้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ในพื้นที่ของเขามีการทำเกษตรชนิดที่ว่าครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงปลาภายในบ่อน้ำสำหรับใช้ภายในสวน

คุณโสพี เล่าให้ฟังว่า เริ่มมาทำเกษตรผสมผสานตั้งแต่ปี 2560 คือเกษียณจากงานประจำแล้วมาทำทันที จากนั้นแบ่งพื้นที่ที่มีอยู่จำนวน 19 ไร่ มาทำเกษตรผสมผสานอยู่ที่ 3 ไร่ โดยในพื้นที่สำหรับแบ่งมาทำการเกษตรจะดำเนินการขุดบ่อน้ำไว้เพื่อให้ใช้รดพืชผักและไม้ผลต่างๆ และเลี้ยงปลาเข้ามาเสริมด้วย จึงทำให้ภายในบ่อน้ำนอกจากมีน้ำใช้ทำการเกษตรแล้ว ปลาภายในบ่อยังสามารถสร้างรายได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ในเรื่องของการปลูกพืชจะเน้นปลูกพืชที่มีความหลากหลาย ไม้ผลที่สร้างรายได้ประจำปีก็จะเน้นการปลูกไม้ผลจำพวกมะม่วง มะขามเทศ มะขาม สะเดา ส่วนพืชผักสวนครัวเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นอกจากจะบริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย เช่น คะน้า กะเพรา ถั่วฝักยาว ฯลฯ เรียกได้ว่ากินอะไรก็ปลูกพืชชนิดนั้น

“นอกจากผมจะปลูกพืชแล้ว ผมยังมีการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ด้วย ทำให้สวนผสมผสานของผม เรียกได้ว่าค่อนข้างครบวงจร เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าเรามีของครบอยู่ทุกด้าน ก็จะช่วยให้เรามีผลผลิตทางการเกษตรที่ครบวงจร ซึ่งตอนนี้ผลผลิตทางการเกษตรของผมค่อนข้างที่จะมีครบทุกอย่าง ทำให้ในแต่ละวันเรามีอาหารที่เราผลิตเองกินอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทำหมุนเวียนแบบนี้ไปตลอดทั้งปี” คุณโสพี บอก

การทำเกษตรผสมผสานนั้น Login UFABET น้ำถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมาก คุณโสพี บอกว่า ต้องมีในเรื่องของการจัดการน้ำให้ดีก็จะช่วยให้พืชที่ปลูกไม่เกิดความเสียหาย ส่วนในเรื่องของปุ๋ยและสารป้องกันแมลงศัตรูพืช จะเน้นทำปุ๋ยหมักใช้เองและน้ำหมักต่างๆ ไว้ใช้สำหรับป้องกันแมลงศัตรูพืช จึงทำให้การทำเกษตรผสมผสานภายในสวนของเขานั้นปลอดสารพิษทุกขั้นตอน

สำหรับในเรื่องของการทำตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรนั้น คุณโสพี บอกว่า ส่วนใหญ่นำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดชุมชน สินค้าหลักๆ ทีทำการจำหน่ายจะเน้นทำการแปรรูปเอง อย่างเช่นปลาที่เลี้ยงในบ่อจะไม่เน้นจำหน่ายเป็นปลาสด แต่จะเน้นทำการแปรรูปเองจึงทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าทางการผลิตได้เป็นอย่างดี ส่วนพืชผักสวนครัวอื่นๆ ก็จะเน้นขายตามความเหมาะสม ราคากำอยู่ที่ 10-20 บาท

เมื่อเขาได้มาทำเกษตรผสมผสานในช่วงที่เกษียณออกมา ทำให้เขาค้นพบว่าชีวิตเขาค่อนข้างมีความสุขเป็นอย่างมาก ยิ่งช่วงสถานการณ์โควิด-19 ช่วงที่ต้องหยุดเชื้อเพื่อชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่ภายในสวน ช่วยให้เขามีอาหารใช้บริโภคภายในครัวเรือนได้อย่างสบาย พร้อมทั้งส่วนที่มีมากเกินไปยังสามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับเขาได้อีกด้วย

“การทำเกษตรสิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ก็คือ ปลาที่เราเลี้ยงอย่าเน้นขายเป็นปลาสดอย่างเดียว ให้เรียนรู้ในเรื่องของการแปรรูปด้วย จะเพิ่มมูลค่าได้มาก ส่วนพืชผักลูกค้าเขาก็จะบอกเราอยู่เสมอว่า ผักของเรามีความปลอดภัย เพราะเราใช้หลักที่ว่า เรากินยังไงเราก็ปลูกอย่างนั้น จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าสิ่งที่ผมทำ ผมทำด้วยความใส่ใจ เพราะฉะนั้น คนที่สนใจอยากทำเกษตร ก็อยากให้สนใจในเรื่องของน้ำเป็นสำคัญ ต้องมีเรื่องน้ำในพื้นที่ ก็จะช่วยให้การทำเกษตรของเราประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน” คุณโสพี บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตรผสมผสาน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโสพี ทองทุม ที่หมายเลขโทรศัพท์ ผักพายน้อย เป็นผักพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพืชน้ำล้มลุกขนาดเล็ก ขึ้นเองได้ง่ายตามธรรมชาติในช่วงหน้าฝน มีรสหวานออกขมเล็กน้อย ช่วยเจริญอาหาร เป็นผักกินสด นิยมนำมากินคู่กับส้มตำ ลาบ ก้อย หรือลวกจิ้มน้ำพริกก็ได้ ซึ่งคนอีสานนิยมบริโภคอย่างมาก แต่ปริมาณในธรรมชาติก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงได้มีการนำมาปลูกเพื่อการค้า และเพิ่มมูลค่าโดยการผลิตนอกฤดู

คุณทวี อุปมา เกษตรกรผู้ปลูกผักพายน้อยนอกฤดูสร้างรายได้ อยู่บ้านเลขที่ 127 บ้านโคกเซบูรณ์ หมู่ที่ 11 ตำบลสระเมิง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เล่าว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกร ตนมีโอกาสได้ทำงานเป็นช่างอิเล็กทรอนิก อยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ทำอยู่นาน 5 ปี เริ่มรู้สึกเบื่อกับงานประจำ อยากกลับมาหาปลูกผักทำการเกษตรที่บ้านเกิดมากกว่า เนื่องจากตนเคยคลุกคลีอยู่กับอาชีพเกษตรกรรมมาก่อน เห็นพ่อกับแม่ทำนาทำไร่ตั้งแต่เด็ก ดังนั้น เมื่องานประจำอิ่มตัว จึงตัดสินใจลาออกแล้วกลับมาลุยงานเกษตรที่บ้านอย่างเต็มตัว