การเตรียมพันธุ์หอมแดงเลือกหัวหอมแดงพันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ

ได้คัดเลือกพันธุ์หอมแดงหัวขนาดใหญ่ คอเล็ก สีแดงจัด ผิวเปลือกเป็นมันเงา จากนั้นนำน้ำสะอาด 50 ลิตร และไตรโคเดอร์ม่า 500 กรัม ใส่ลงไปในถังสะอาดกวนผสมให้เข้าเนื้อกัน นำพันธุ์หัวหอมแดงที่คัดไว้ใส่ลงไปแช่ 15 นาที แล้วนำไปแขวนบนราวไม้ไผ่ตากผึ่งลม 10-15 นาที ให้พอแห้งหมาดแล้วนำไปปลูกในแปลง โดยเฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้พันธุ์หัวหอมแดง 200-300 กิโลกรัม

การปลูก ได้นำลูกกลิ้งกลิ้งบนแปลงเพื่อให้เป็นหลุมปลูก แต่ละหลุมปลูกจะมีระยะห่างกันระหว่างต้นและแถว 14-15 เซนติเมตร มีขนาดความกว้างพอเหมาะ ก่อนปลูกต้องฉีดพ่นน้ำลงบนแปลงให้พอชุ่มหมาด แล้วนำพันธุ์หัวหอมแดงลงไปปลูก 1 หัว ต่อหลุม เสร็จแล้วนำฟางข้าวแห้งโรยปิดคลุมให้ทั่วแปลงปลูก เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้น และป้องกันไม่ให้วัชพืชงอกขึ้นมาแย่งอาหาร แล้วให้น้ำแต่พอชุ่ม

การใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกหอมแดง 10 วัน ได้นำน้ำหมักชีวภาพและไตรโคเดอร์ม่า อัตราส่วน 20 ลิตร ต่อ 50 ซีซี ใส่ลงไปในถังแล้วกวนผสมให้เข้าเนื้อกัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลง และอีก 7-15 วัน ได้จัดการผสมแล้วนำไปฉีดพ่นอีกครั้ง หลังจากปลูกผ่านไป 20 วัน ได้หว่านปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอัดเม็ดให้กระจายทั่วแปลง 50 กิโลกรัม ต่อไร่

หลังจากปลูก 40-45 วัน ได้นำปุ๋ยอินทรีย์และไตรโคเดอร์ม่า ในอัตราส่วน 20 ลิตร ต่อ 20 ซีซี ใส่ในถังกวนผสมให้เข้าเนื้อกันนำไปฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ จะช่วยให้หัวหอมแดงมีขนาดใหญ่ คอเล็ก ผิวเปลือกสีแดงเป็นมัน

การให้น้ำ ในช่วงแรกหลังจากปลูกเสร็จแล้วได้จัดการให้น้ำทุกวันเช้าและเย็นนาน 7 วัน จากนั้นปรับเปลี่ยนเป็นให้น้ำวันละครั้งเฉพาะช่วงเช้า เมื่อให้น้ำไปนาน 65 วัน การให้น้ำก็จะลดลง

การเก็บเกี่ยว เมื่อต้นหอมเจริญเติบโตอายุ 50-60 วัน เป็นช่วงต้นหอมเริ่มออกดอก ได้ตัดเก็บดอกนำไปขายเป็นรายได้ เมื่อต้นหอมแดงเจริญเติบโตมีอายุ 80 วันขึ้นไป ก็เริ่มแก่ ได้เริ่มทยอยเก็บเกี่ยว

คุณวิลาวัลย์ เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงอินทรีย์ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ก่อนเก็บเกี่ยวในตอนเช้าได้ให้น้ำทั่วแปลงหอมแดงแต่พอชุ่ม เพื่อปรับให้ดินนุ่ม พอถึงช่วงบ่ายเย็นเข้าไปเก็บเกี่ยวจะช่วยทำให้การถอนดึงเก็บได้ง่าย วิธีเก็บเกี่ยวจับลำต้นแล้วดึงถอนขึ้นมา เคาะให้ดินและเศษวัสดุหลุดออก จับที่กลางปลายใบต้นหอมรวบมัดให้เป็นจุก แล้วจับทั้ง 2 จุก มัดรวมกันนำไปแขวนบนราวไม้ไผ่ในโรงเรือนที่โปร่ง ผึ่งตากลม 15 วัน หอมแดงอินทรีย์ก็จะแห้ง

ตลาดซื้อขายกับการมีรายได้ ถ้าดูแลบำรุงรักษาดี พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตหอมแดงอินทรีย์ 2-2.5 ตัน ขายให้พ่อค้าที่เข้ามาซื้อ 11-14 บาท ต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ ก็จะมีรายได้จากการขายต้นหอมสด 20,000-30,000 บาท ต่อไร่

การได้เข้าร่วมปลูกหอมแดงอินทรีย์ในโครงการแปลงใหญ่ รวมทั้งการทำนา การปลูกกระเทียม ปลูกพริก หรือปลูกพืชอายุสั้นอื่นแบบผสมผสานได้ช่วยทำให้มีผลผลิตส่วนหนึ่งนำมาเป็นอาหารในครัวเรือน และนำผลผลิตอีกส่วนหนึ่งออกขาย ทำให้มีรายได้พอเพียงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและยั่งยืน

สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณวิลาวัลย์ แก้วคำ 34/1 หมู่ที่ 6 บ้านเมืองแสน (บ้านจิ) ตำบลดอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 087-786-0541 หรือ คุณศราวุธ ชนะชัย สำนักงานเกษตรอำเภอยางชุมน้อย โทร. 089-280-3429 หรือ คุณอนุวัฒน์ คำล้าน สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โทร. 086-361-1804 ก็ได้ครับ

เรื่องราวของเห็ดถั่งเช่า เมื่อก่อนถือเป็นเรื่องไกลตัว หายาก มีความเข้าใจกันว่า กว่าจะได้มาต้องฟันฝ่าอุปสรรค รอนแรมเสาะหาในถิ่นทุรกันดาร บนแผ่นดินสูงของเมืองจีน ดังนั้นมูลค่าและคุณค่าจึงสูง ด้วยเหตุนี้ คนทั่วไปจึงมิอาจเข้าถึงได้

โลกหมุนเวียนเปลี่ยนไป มีการสื่อสารที่ทันสมัย เทคโนโลยีก้าวล้ำ การศึกษารุดหน้า เห็ดถั่งเช่าเพาะได้เพาะดีในบ้านเรา ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมากคือ งานเพาะของฟาร์มเห็ดถั่งเช่าเขาคิชฌกูฏ ตั้งอยู่เลขที่ 9/22 หมู่ที่ 10 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

บริษัท เมอริทไพรม์ จำกัด (ฟาร์มเห็ดถั่งเช่าเขาคิชฌกูฏ) เกิดจากกรอบแนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ถั่งเช่า” ด้วยเจตนารมณ์ของ ดร. อรวดี อานามวัฒน์ ที่จะพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพเชิงนวัตกรรม ควบคู่คุณธรรม เพื่อนำธุรกิจสู่ความสุข สำเร็จก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

โดยเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 ในงาน “ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ 16” ฟาร์มเห็ดถั่งเช่าเขาคิชฌกูฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ โครงการส่งเสริมต่อยอดนวัตกรรมการผลิตและการจัดการฟาร์มเห็ดสมุนไพรสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ด้วยเหตุที่บริษัทได้ส่งเสริมงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดถั่งเช่าสีทองและเห็ดทางการแพทย์หลายชนิด อาทิ เห็ดภู่มาลา เห็ดถั่งเช่าหิมะ เห็ดการบูร ซึ่งได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงมาจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มทร.ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี อย่างต่อเนื่อง

ผลของการวิจัยและพัฒนา ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในปี 2557 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา 3 ปี ทำให้สามารถเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองที่มีคุณภาพ มีสารออกฤทธิ์สำคัญ “คอร์ไดเซปิน” (Cordycepin) ซึ่งได้รับการรับรองตรวจสอบจากสถาบันวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ว่ามีสารดังกล่าวในเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบกับที่ฟาร์มเห็ดได้รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีการผลิตระดับสูง เช่น กรรมวิธี Dynamic Freeze-dry การควบคุมความปลอดภัยจากเชื้อปนเปื้อนด้วยการฉายรังสีแกมมา ฯลฯ

เมื่อเพาะเลี้ยงได้ผลดีแล้ว จึงมีการใช้วัตถุดิบเห็ดสมุนไพรที่มีคุณภาพ มาผลิตเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพผู้บริโภคหลากหลายชนิด เช่น ผงเห็ดสำหรับชงดื่ม น้ำเห็ดผสมถั่งเช่า กาแฟปรุงสำเร็จผสมถั่งเช่าชนิดผง น้ำหมักหรือไวเนการ์เห็ดสมุนไพร และอื่นๆ

“เนื่องจากเรามีความสนใจเห็ดทางการแพทย์ กลุ่มของเห็ดที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายชนิด ถ้าเราสามารถเพาะได้ทั้งปริมาณและคุณภาพสูง เมื่อนำมาแปรรูปสำหรับผู้บริโภค จะช่วยให้สุขภาพของผู้บริโภคดีขึ้น เราได้รับความร่วมมือด้วยดีจาก มทร.ตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี โดย ผศ.ดร. สาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านไบโอ-เทคโนโลยี ในถั่งเช่าที่เราเพาะได้มีความโดดเด่น เพราะมีสารคอร์ไดเซปินสูงเป็นพิเศษ เฉลี่ย 7,000 พีพีเอ็ม” ดร. อรวดี อานามวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอริทไพรม์ จำกัด กล่าว

สรรพคุณโดดเด่น

ถั่งเช่า เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่เฉพาะ เช่น ที่ราบสูงในทิเบตและเนปาล เป็นสมุนไพรที่ถือว่าหาได้ยากจึงมีราคาแพงมาก เมื่อครั้งอดีตถั่งเช่าถูกจำกัดการใช้เฉพาะจักรพรรดิและเครือญาติในราชวงศ์ชั้นสูงของจีนเท่านั้น จากมูลค่าทางการค้าที่เพิ่มขึ้น การรอเก็บแต่เห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของการเพาะเลี้ยงสู่เชิงธุรกิจ

การเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทองนั้น สามารถดำเนินการได้โดยใช้ตัวหนอนเพาะ หรือใช้อาหารสังเคราะห์ ต่อมาสามารถพัฒนานำเอาเมล็ดธัญพืชมาใช้เพาะแทนตัวแมลงได้ มีรายงานหลายฉบับยืนยันว่า เห็ดถั่งเช่าสีทองมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์เป็นยา อันได้แก่ สารคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) และ อะดีโนซีน (Adenosine) ในปริมาณที่สูงกว่าถั่งเช่าทิเบตจากธรรมชาติ

สรรพคุณที่พบ เช่น เสริมสมรรถภาพทางเพศ ยับยั้งอนุมูลอิสระ/ชะลอความชรา ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่ผิดปกติ เสริมระบบภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ทำลายและยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ริกเกตเซีย เชื้อรา เชื้อปรสิต และโปรโตซัว ต้านการเกิดเส้นใยพังผืด ลดน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือด ป้องกันหรือบรรเทาอาการโรคเบาหวาน ต้านโรคมาลาเรีย ลดอาการเหนื่อยล้า ปกป้องระบบประสาท ป้องกันการเสื่อมสภาพของตับ ไต และปอด

“เห็ดแต่ละชนิดมีสารออกฤทธิ์ทางยาแตกต่างกัน ถั่งเช่าสีทองมีฤทธิ์บำรุงไต บำรุงปอด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีทั่วร่างกาย และอื่นๆ” ดร. อรวดี กล่าว

ประสบความสำเร็จ ใช้ในโคนม

ดร. อรวดี อานามวัฒน์ กล่าวว่า จากความร่วมมือของภาครัฐ-เอกชน ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี กับฟาร์มเห็ด (ถั่งเช่า) เขาคิชฌกูฏ ในงานวิจัยเห็ดทางการแพทย์ (Medicinal Mush room) หลากหลายชนิด อาทิ เห็ดถั่งเช่าสีทอง เห็ดถั่งเช่าหิมะ เห็ดหัวลิง เห็ดแอนโทรเดีย เพื่อใช้ในการแพทย์ทางเลือก โดยมี ผศ.ดร. สาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์ อดีตคณบดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นผู้คิดค้นวิจัยการเพาะเห็ดโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างสรรค์ผลผลิตจนได้วัตถุดิบเห็ดถั่งเช่าสีทองคุณภาพสูง มีสารออกฤทธิ์สำคัญ “คอร์ไดเซปิน” ในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation and Technology Assistance Program : ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จำนวน 2 โครงการ คือ

1. โครงการวิจัยและพัฒนาโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองต่อสมรรถภาพผลผลิตนมของโครีดนม
โครงการวิจัยและพัฒนาโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของโคนมหลังคลอด

ทั้งสองโครงการมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกชนิดผงคุณภาพสูง ที่มีส่วนประกอบของเห็ดถั่งเช่าร่วมกับสมุนไพรไทย เพื่อช่วยลดการสั่งซื้อโปรไบโอติกจากต่างประเทศ ลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาการดื้อยา ซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของวงการสาธารณสุขโลกในปัจจุบัน โดยตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีครึ่ง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โครงการทั้ง 2 เรื่อง ได้รับความร่วมมือรับผิดชอบดำเนินการจาก ผศ.ดร. นันทิยา สุวรรณปัญญา อดีตคณบดี

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร ม.กาฬสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฟาร์มโคนมและการทำน้ำหมักชีวภาพด้วยสมุนไพรและผลไม้ ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโปรไบโอติกถั่งเช่าต้นแบบ จำนวน 3 สูตร คือ โปรไบโอติกถั่งเช่าสีทอง โปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองผสมสมุนไพรต่อสมรรถภาพผลผลิตนม และโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองผสมสมุนไพรต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์ ที่ได้มีการทดลองใช้เลี้ยงโคนมในฟาร์มสหกรณ์โคนมพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และประสบผลความสำเร็จด้วยดี

สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. การเสริมโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทอง และโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองผสมสมุนไพรต่อสมรรถภาพผลผลิตนม ให้ผลดีต่อสมรรถภาพโคนมโดยสามารถช่วยลดปริมาณ SCC ที่เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเต้านมอักเสบได้เป็นอย่างดี โปรไบโอติกทั้ง 2 สูตรดังกล่าว ให้ผลดีต่อองค์ประกอบน้ำนม และระบบภูมิคุ้มกัน WBC และ Neutrophil ซึ่งมีความสำคัญต่อการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายของระบบภูมิคุ้มกัน Immunity โดยเก็บกินเชื้อ (phagocytosis) และการฆ่าเชื้อโรค
การเสริมโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองและโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทองผสมสมุนไพรต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์ ให้ผลดีต่อโคนมทำให้รังไข่สมบูรณ์ขึ้น มดลูกเข้าอู่เร็ว โคนมผสมติดง่าย ลดเวลาท้องว่าง ลดปริมาณ SCC ที่เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเต้านมอักเสบได้เป็นอย่างดี

“โคนมที่ทดลอง มีน้ำนมเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ…โคนมที่ทดลอง เดิมมีปัญหาการท้องว่างหรือไม่ตั้งครรภ์นานกว่าปกติ บางตัวเกือบ 4 เดือน (ปกติท้องว่างไม่เกิน 60 วัน) เมื่อมารับถั่งเช่าปรากฏว่า ตั้งท้องได้ตามปกติ คือไม่เกิน 2 เดือน หรือ 60 วัน” ดร. อรวดี กล่าว

นอกจากนี้ ยังพบว่า…โคนมที่ได้รับโปรไบโอติกถั่งเช่าสีทอง มีขนนุ่มสวยเป็นมัน มีความอยากอาหาร…กินเก่ง มูลละเอียด มีสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากสภาพภายนอก ทำให้เกษตรกรพึงพอใจมาก จึงเชื่อว่าผลลัพธ์จากการวิจัยจะสร้างคุณค่าให้แก่เกษตรกรในการเลี้ยงโคนมด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแนวนโยบายของรัฐ สู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมอริทไพรม์ จำกัด อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 309-109, (091) 882-2919, (086) 539-5899 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่

ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว หากพูดถึงมะละกอ คนไทยจะคุ้นเคยกับคำว่า “มะละกอแขกดำ” กันดี มะละกอแขกดำ มีจุดเริ่มต้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จากนั้นก็กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ มะละกอเป็นพืชที่กลายพันธุ์ง่าย เมื่อนำไปปลูกถิ่นอื่นนานๆ ลักษณะก็จะเปลี่ยนไป เมื่อพบสิ่งที่ดี ผู้ปลูกก็จะเก็บสิ่งนั้นไว้

สถานีวิจัยพืชสวนท่าพระ จังหวัดขอนแก่น นำมะละกอแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ ได้ชื่อว่า “แขกดำท่าพระ” ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ นำแขกดำไปปรับปรุงพันธุ์ได้ชื่อว่า “แขกดำศรีสะเกษ”

เกษตรกรที่จังหวัดจันทบุรี ปลูกมะละกอแขกดำกันมาก จนเกิดการกลายพันธุ์ รู้จักกันดีในนาม “แขกดำหนองแหวน”

คุณปรุง ป้อมเกิด เกษตรกรที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ปลูกมะละกอมานาน เขาเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ จนเรียกได้ว่า “แขกดำนายปรุง” แขกดำสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อหวังดัง หรือหวังเป็นการค้า แต่พบลักษณะที่แปลกและแตกต่างอย่างชัดเจน อาจจะเป็นรูปร่าง รวมทั้งคุณสมบัติภายใน อย่างสี รสชาติ ความต้านทานโรค ผลผลิตต่อต้น

พยายามถามหาที่มาของชื่อมะละกอ….ทำไมจึงชื่อแขกดำ

รองศาสตราจารย์วิจิตร วังใน อดีตอาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า ท่านพยายามเสาะหาที่มาของชื่อ แต่ยังไม่ทราบ เข้าใจว่า น่าจะเป็นผิวผลที่ยังดิบ มีสีเขียวเข้มออกดำ คนไทยเรียกคนที่ผิวดำมากๆ ว่าเขียว อย่างทางอีสาน ดำมากๆ เรียก “อีเขียว” หรือ “เจเนทเขียว”

อาจารย์ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพืชสวน กรมวิชาการเกษตร วัย 78 ปี บอกว่า ไม่ทราบว่าแขกดำมีที่มาอย่างไร

“บ้านเราก็เป็นอย่างนี้แหละ ไม่มีการบันทึก หากสืบค้นได้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก หลังๆ ผมไม่ค่อยได้เขียนหนังสือแล้ว ความจำไม่ดี” อาจารย์ไพโรจน์ กล่าว

ที่มาของ คำว่า แขกดำ ยังเป็นปริศนาอยู่

มะละกอที่ปลูกมากในบ้านเรา มีบรรพบุรุษนามว่า “แขกดำ” สายพันธุ์มะละกอเข้ามาใหม่จากต่างแดน และนิยมปลูกกันก็มี ฮอลแลนด์ สายพันธุ์นี้มีชื่ออื่นๆ อีก แต่สังเกตง่าย ตรงปลายผลจะทู่ๆ

ในแง่ของงานพัฒนาสายพันธุ์มะละกอในบ้านเรา มีความก้าวหน้าไม่น้อย แต่ก็มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ทั้งภาคราชการและเอกชน

สายพันธุ์มะละกอที่นำมาเสนอต่อไปนี้ ถือเป็นพืชพรรณที่มีคุณค่า ถึงแม้บางสายพันธุ์มีปลูกอยู่ไม่มากนัก พันธุ์แขกดำ
มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ความสูงประมาณ 2-4 เมตร ก้านใบสีเขียวอ่อน ลักษณะสั้นและแข็งแรง ก้านใบตั้งตรง ยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใบหนากว่าพันธุ์อื่นๆ มีเส้นใบ 9-11 แฉก มีการออกดอกติดผลเร็ว ผลมีขนาดปานกลาง ส่วนหัวและปลายผลมีขนาดเท่ากัน ผลยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ผลในขณะที่ยังดิบเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนา เนื้อหนาประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผลสุกมีสีส้มอมแดง เนื้อสีแดงเข้ม ช่องว่างภายในผลแคบ มีเปอร์เซ็นต์ความหวามประมาณ 9-13 องศาบริกซ์ น้ำหนักผลประมาณ 0.60-1.70 กิโลกรัม เหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ ความหวาน 13.25 องศาบริกซ์

มะละกอแขกดำศรีสะเกษ
เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตดกและติดผลไว สมัครฮอลิเดย์พาเลซ ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดีพอประมาณจะให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นประมาณ 50 กิโลกรัม ต่อปี และให้ผลผลิตสูงกว่ามะละกอแขกดำที่มีปลูกอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ ยังพบว่ามะละกอแขกดำศรีสะเกษมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่า

จะเริ่มออกดอกเฉลี่ย 130 วัน หลังจากลงหลุมปลูก เมื่อมะละกอเริ่มติดผลแรก ต้นจะมีความสูงประมาณ 1.50 เมตร และเก็บเกี่ยวผลดิบเมื่อผลมีอายุประมาณ 3-4 เดือน หลังจากดอกบานและเก็บเกี่ยวผลสุกเมื่อผลมีอายุได้ 5-6 เดือน น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.28 กิโลกรัม เมื่อผ่าดูลักษณะภายในผลสุกจะมีเนื้อสีแดงอมส้ม ความหนาของเนื้อ 2.5 เซนติเมตร มีความหวานเฉลี่ย 10-13 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งของมะละกอแขกดำศรีสะเกษคือ สามารถนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก นอกจากนั้น ยังปลูกเพื่อส่งขายโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋องรวม ตลาดยุโรปมีความต้องการมากในขณะนี้

พันธุ์ท่าพระ 1, 2 และ 3
สถานีวัจยพืชสวนขอนแก่น ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นผู้ผสมขึ้น เป็นลูกผสมระหว่างมะละกอพันธุ์แขกดำ กับพันธุ์ฟลอริดา โทเลอแรนต์ เป็นพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างให้ผลผลิตดี

มะละกอพันธุ์แขกดำท่าพระ มีลักษณะดีเด่นคือ มีลักษณะประจำพันธุ์ และมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนมะละกอดี ให้ผลเร็ว โดยมีอายุถึงวันดอกแรกบาน เฉลี่ย 85 วัน อายุถึงวันติดผลแรก 92 วัน และเริ่มเก็บเกี่ยวผลสุกได้ภายใน 6-7 เดือน หลังปลูก ต้นเตี้ยสูงเฉลี่ย 1.3 เมตร ผลมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม รูปทรงผลกะเทยยาวตรงเฉลี่ย 28.4 เซนติเมตร เนื้อหนา 2.7 เซนติเมตร ผลดิบกรอบ ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม ความหวานเฉลี่ย 11.2% เมล็ดแห้ง 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ด จำนวน 40,000-50,000 เมล็ด

สีเนื้อ -เมื่อสุกรสชาติและขนาดเมล็ดแตกต่างกัน ดังนี้

สายพันธุ์ท่าพระ 1 เนื้อสีเหลืองส้ม หรือแดง รสชาติหวานหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

สายพันธุ์ท่าพระ 2 เนื้อสีเหลือง รสชาติหวานหอม เมล็ดอ้วนป้อมโตกว่าสายพันธุ์ท่าพระ 1 และท่าพระ 3

สายพันธุ์ท่าพระ 3 เนื้อสีแดงอมส้ม รสชาติหวานหอมกว่าท่าพระ 1 และ 2 เมล็ดโตกว่าสายพันธุ์ท่าพระ 1 และค่อนข้างเรียว