การเตรียมเชื้อเห็ดเผาะจากเห็ดดอกสดล้างทำความสะอาดภาย

นอกเห็ดเผาะผ่าเห็ดเผาะคัดเอาแต่เห็ดเผาะดอกแก่ นำดอกเห็ดแก่ 1 ส่วน ใส่น้ำเปล่าสะอาดปราศจากคลอรีน 2 ส่วน ปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด หรือสับให้ละเอียดการเตรียมเชื้อเห็ดป่าจากเห็ดดอกสด
3.1 การเตรียมเชื้อเห็ดป่าแก่ที่กินได้ของแต่ละชนิด เช่น เห็ดระโงก เห็ดตะไคล เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดน้ำแป้ง เห็ดถ่านไฟ เป็นต้น

3.2 เลือกเห็ดแต่ละชนิดที่บาน นำมาตัดก้านออกเลือกเอาเฉพาะดอกเห็ด โดยไม่ต้องล้างทำความสะอาด

3.3 นำดอกเห็ดแก่แต่ละชนิด 1 ส่วน ใส่น้ำเปล่าสะอาดปราศจากคลอรีน 2 ส่วน ปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด หรือสับให้ละเอียด จะได้หัวเชื้อเห็ดป่าจากดอกสด การใส่เชื้อเห็ดป่าในกล้าไม้
4.1 เตรียมกล้าไม้ เช่น ตะเคียนทอง เต็ง รัง ยางนา ยางเหียง ยางพลวง พะยอม และมะค่าโมง เพาะในถุง กระถาง อายุ 1-2 เดือน แนะนำใส่ตอนดินในถุงกล้าไม้มีความชื้นเล็กน้อย จะทำให้กล้าไม้ดูดเชื้อเห็ดได้ดีขึ้น

4.2 ใส่เชื้อเห็ดป่าปริมาณตามขนาดความสูงของกล้าไม้ เช่น กล้าไม้สูง 10 เซนติเมตร ใส่เชื้อเห็ด จำนวน 10 มิลลิลิตร บริเวณโคนต้นและรอบทรงพุ่ม โดยบีบดินภายในถุงให้แตกออกเพื่อให้เชื้อเห็ดซึมเข้าไปในดินบริเวณที่มีรากอยู่ได้ดี ก่อนใส่เชื้อเห็ดควรทำให้ดินในถุงเพาะกล้าไม้มีความชื้นเล็กน้อย ดินไม่ควรแห้งหรือชื้นแฉะเกินไป การใส่เชื้อเห็ดควรใส่ 2 รอบ โดยระยะเวลาห่างกัน 15-30 วัน

การดูแลกล้าไม้ สำหรับใส่เชื้อเห็ดแล้ว
5.1 หลังการใส่เชื้อเห็ดลงกล้าไม้ ควรนำกล้าไม้ไปเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแดดจัด อย่าพึ่งรดน้ำ รอจนดินในถุงเริ่มแห้ง ให้แน่ใจว่าต้นกล้าดูดเชื้อเห็ดขึ้นไปหมดแล้ว ประมาณ 2-3 วัน

5.2 ถ้าใส่เชื้อเห็ดแล้วกล้าไม้เหี่ยว แสดงว่าเชื้อเห็ดเข้าไปในต้นกล้าแล้ว ต้นไม้จะค่อยๆ ฟื้นตัวภายใน 1 สัปดาห์

5.3 ใส่เชื้อเห็ดห่างกัน 15-30 เดือน จำนวน 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีเชื้อเห็ด

5.4 พักต้นกล้าประมาณ 1-2 เดือน ในที่ร่มร่ำไร รดน้ำตามปรกติ อย่าให้แห้ง เมื่อต้นไม้แข็งแรงจึงนำกล้าไม้ออกปลูก 6.การดูแลกล้าไม้เพื่อให้เกิดเห็ด

การดูแลกล้าไม้ ควรดูแลให้น้ำกล้าไม้อย่างสม่ำเสมอช่วง 3 ปีแรก น้ำที่ใช้สำหรับกล้าไม้ไม่ควรมีคลอรีน ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการกำจัดวัชพืชและแมลง ยางนาที่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอจะโตสูงกว่า 1.8 เมตร เมื่อต้นไม้เจริญเติบโต อายุได้ประมาณ 3-4 ปี เชื้อเห็ดเผาะและเห็ดป่าจะเริ่มออกดอก

เทคโนโลยีการเตรียมเชื้อเห็ดตับเต่า

และการใส่เชื้อเห็ดตับเต่า

การเตรียมเชื้อเห็ดในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
1.1. นำดอกเห็ดตับเต่า ที่เป็นดอกอ่อน มาแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องทำภายใต้สภาพปลอดเชื้อ โดยเลี้ยงเชื้อในอาหารมันฝรั่ง (Potato Dextrose Agar ; PDA) ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาที

1.2 ตัดเนื้อเยื่อเห็ดเป็นชิ้นเล็กๆ มีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรขึ้นไปวางบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA เลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 30 วัน เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มบนจานอาหารเพาะเชื้อ

1.3 เมื่อเชื้อเห็ดตับเต่าเจริญเต็มอาหาร PDA จึงจะสามารถย้ายเชื้อลงเลี้ยงในอาหารเหลว (Potato Dextrose Broth ; PDB) ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาที หลังนึ่งฆ่าเชื้อแล้วปล่อยให้อาหารเหลวเย็น

1.4 ตัดเชื้อเห็ดตับเต่าจากอาหารแข็ง PDA ใส่ในอาหารเหลว PDB ขวดละ 10-15 ชิ้น โดยตั้งขวดอาหารเลี้ยงเชื้อบนเครื่องเขย่า โดยเขย่าอย่างต่อเนื่อง นาน 10 – 15 วัน เพื่อเพิ่มอากาศและกระตุ้นการเจริญของเส้นใยเห็ด

1.5 สามารถย้ายเชื้อตับเต่าจากอาหารแข็ง PDA ใส่ในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง โดยหุงเมล็ดข้าวฟ่างให้นิ่ม พอให้เมล็ดข้าวฟ่างแตกออก แล้วกรอกเมล็ดข้าวฟ่างลงขวดโซดา นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาที ทิ้งข้าวฟ่างให้เย็น

1.6 ตัดเชื้อเห็ดตับเต่าจากอาหารแข็งPDA ใส่ขวดละ 5-6 ชิ้น เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้นได้ เส้นใยเชื้อเห็ดตับเต่าจะเจริญเติบโตจนเต็มขวดภายใน 1 เดือน พร้อมใช้งาน

การเตรียมเชื้อเห็ดตับเต่าจากดอกเห็ดสด
การเตรียมเชื้อเห็ดตับเต่าจากดอกเห็ดสด คัดเอาเห็ดตับเต่าดอกแก่ ไม่ต้องล้างน้ำ นำดอกเห็ดแก่ 1 ส่วน ใส่น้ำเปล่าสะอาดปราศจากคลอรีน 2 ส่วน ปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด หรือสับให้ละเอียด จะได้หัวเชื้อเห็ดตับเต่าจากดอกสดและสามารถเอาไปใส่กล้าไม้ได้เลย

การใส่เชื้อเห็ดตับเต่าลงกล้าไม้
3.1 กล้าไม้กลุ่มไม้ผลและไม้ดอก สำหรับใส่เชื้อเห็ดตับเต่า เช่น มะกอกน้ำ ชมพู่ม่าเหมี่ยว มะม่วง แคบ้าน หางนกยูงไทย ต้นหว้า กาแฟ ขนุน ลำไย น้อยหน่า โสน ฯลฯ หลังเตรียมกล้าไม้ที่เพาะไว้ในถุงหรือกระถาง เมื่อกล้าไม้อายุ 45-60 วัน ก็เริ่มใส่เชื้อเห็ดได้

3.2 เชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่างนำมาขยี้กับน้ำเปล่าที่ปราศจากคลอรีน (น้ำบาดาล น้ำฝน) โดยเชื้อ 1 ขวด ใช้น้ำ1 ลิตร ขัดเมล็ดข้าวฟ่างจนเส้นใยเชื้อเห็ดหลุดออกมาจนน้ำเป็นสีน้ำตาลดำ

3.3 ใส่เชื้อเห็ดตับเต่าปริมาณตามขนาดความสูงของกล้าไม้ เช่น กล้าไม้สูง 10 เซนติเมตร ใส่เชื้อเห็ด จำนวน 10 มิลลิลิตร การใส่เชื้อเห็ดในกล้าไม้ที่มีอายุน้อย ต้นกล้าแข็งแรง สมบูรณ์จะเป็นการกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญในระบบรากของกล้าไม้ได้เร็วขึ้น ก่อนใส่เชื้อเห็ดควรทำให้ดินในถุงเพาะกล้าไม้มีความชื้นเล็กน้อย ดินไม่ควรแห้งหรือชื้นแฉะเกินไป การใส่เชื้อเห็ดควรใส่ 2 รอบ โดยระยะเวลาห่างกัน 15-30 วัน

การดูแลกล้าไม้ สำหรับใส่เชื้อเห็ดแล้ว
4.1 หลังการใส่เชื้อเห็ดลงกล้าไม้ ควรนำกล้าไม้ไปเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแดดจัด อย่าพึ่งรดน้ำ รอจนดินในถุงเริ่มแห้ง ให้แน่ใจว่าต้นกล้าดูดเชื้อเห็ดขึ้นไปหมดแล้ว ประมาณ 2-3 วัน

4.2 ถ้าใส่เชื้อเห็ดแล้วกล้าไม้เหี่ยว แสดงว่าเชื้อเห็ดเข้าไปในต้นกล้าแล้ว ต้นไม้จะค่อยๆ ฟื้นตัวภายใน 1 สัปดาห์

4.3 ใส่เชื้อเห็ดห่างกัน 15-30 เดือน จำนวน 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีเชื้อเห็ด

4.4 พักต้นกล้าประมาณ 1-2 เดือน ในที่ร่มร่ำไร รดน้ำตามปรกติ อย่าให้แห้ง เมื่อต้นไม้แข็งแรงจึงนำกล้าไม้ออกปลูก การดูแลกล้าไม้เพื่อให้เกิดเห็ด
ควรดูแลให้น้ำกล้าไม้อย่างสม่ำเสมอช่วง 3 ปีแรก น้ำที่ใช้สำหรับกล้าไม้ไม่ควรมีคลอรีน ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการกำจัดวัชพืชและแมลง เชื้อเห็ดตับเต่ามีการสะสมอาหารมากพอ ก็จะออกดอกเห็ด ต้นหางนกยูงไทยที่ใส่เชื้อเห็ดตับเต่าออกดอกเห็ดเมื่ออายุได้ประมาณ 2 ปี

เห็ดตับเต่า ที่ปลูกร่วมแปลงกับป่าไม้เศรษฐกิจแบบผสมผสาน พบว่า มีประโยชน์มากในด้านสิ่งแวดล้อมเพราะเห็ดตับเต่าช่วยเพิ่มการเติบโตของต้นไม้ ทำให้ระบบรากต้นไม้แข็งแรง ช่วยสลายธาตุฟอสฟอรัสให้ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้มากขึ้น แถมช่วยป้องกันและควบคุมการเกิดโรคกับระบบรากของต้นไม้ ช่วยดักจับและรักษาความชื้นในดินบริเวณรอบรากพืชอาศัย ชาวบ้านสุขใจ เพราะป่าไม้เศรษฐกิจที่ปลูกร่วมแปลงเจริญเติบโตไว แถมมีรายได้จากการขายเห็ด เรียกว่า คุ้มสุดคุ้มเพราะได้ผลกำไร 2 ต่อนั่นเอง

“พันธุ์พืช” นับเป็นหัวใจสำคัญของการทำเกษตร หากนำพันธุ์พืชมีคุณภาพดีมาเพาะปลูกพร้อมใส่ใจบำรุงดิน ให้น้ำและปุ๋ยอย่างเหมาะสม การเพาะปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จ ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด

ดร.ชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีรายได้จากการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์พืชผักและไม้ดอก ประมาณปีละ 4-6 พันล้านบาท ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช หากสามารถพัฒนาพันธุ์พืชของตัวเองเพื่อจำหน่ายในตลาดโลก คาดว่าจะสามารถขยายมูลค่าเพิ่มการส่งออกได้ไม่น้อยกว่า 4-5 เท่าตัว

“การปรับปรุงพันธุ์พืช” เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันวิจัยพืชสวน โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงพันธุ์พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล พืชสวนอุตสาหกรรมและพืชสมุนไพร นอกจากนี้ สถาบันวิจัยพืชสวนยังช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชสวน เป็นกันชนเกี่ยวกับพันธุ์พืชสวนให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ

“ในปี 2566 สถาบันวิจัยพืชสวน วางแผนรับรองพันธุ์พืชอย่างน้อย 23 พันธุ์ ประกอบด้วย พืชผัก 6 พันธุ์ หน่อไม้ฝรั่ง มันเทศ ถั่วฝักยาวสีม่วง สะตอ และกระเจี๊ยบเขียว 2 พันธุ์ ไม้ดอกไม้ประดับ 11 พันธุ์ ประกอบด้วย ดาหลา 3 พันธุ์ กล้วยไม้สปาโตกรอสติส 2 พันธุ์ ปทุมา 3 พันธุ์ เฟิร์นและหน้าวัว 3 พันธุ์ ไม้ผลและพืชสวนอุตสาหกรรม 5 พันธุ์ ประกอบด้วย มะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ที่ให้ผลเป็นกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ มะนาวแป้น 1 พันธุ์ ส้มโอเนื้อสีชมพู 1 พันธุ์ สับปะรด 2 พันธุ์ พืชสมุนไพร 1 พันธุ์ คือ ฟ้าทะลายโจร ที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์และผลผลิตสูง นอกจากนี้ ยังมีพืชสวนอีกหลายชนิดที่อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัย และเตรียมเสนอรับรองพันธุ์ต่อไปในอนาคต เช่น พริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง กล้วยไม้หลายชนิด ทุเรียน กาแฟ ชา ขมิ้น หญ้าหวาน เป็นต้น” ดร.ชูชาติ กล่าว

รายละเอียด 23 พันธุ์พืช ที่รับรองพันธุ์ปี 2566 กระเจี๊ยบเขียว พันธุ์ กวก. กาญจนบุรี 1
ลักษณะเด่น : ต้านทานต่อโรคเส้นใบเหลืองเมื่อปลูกช่วงอากาศอบอุ่นหรือฤดูแล้ง ให้ผลผลิตดี เฉลี่ย 2,996.43-3,141.16 กิโลกรัมต่อไร่ ได้คุณภาพมาตรฐานส่งออก ฝักตรง ก้านฝักเปราะ ขนนุ่ม สีเขียว ห้าเหลี่ยม ฝักยาว 7-12 เซนติเมตร ต้นสูงปานกลาง ข้อลำต้นถี่

กระเจี๊ยบเขียว พันธุ์ กวก. กาญจนบุรี 2
ลักษณะเด่น : ต้านทานต่อโรคเส้นใบเหลืองเมื่อปลูกช่วงอากาศอบอุ่นหรือฤดูแล้ง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,669.60-3,560.70 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพ ได้มาตรฐานส่งออก ฝักตรง ขนนุ่ม สีเขียว ห้าเหลี่ยม ความยาวฝัก 7-12 เชนติเมตร ต้นสูงปานกลาง ข้อลำต้นถี่

หน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ กวก. กาญจนบุรี 1
ลักษณะเด่น : ให้ผลผลิตได้ดี เฉลี่ย 266.56-639.91 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตได้มาตรฐานขั้นพิเศษ A ตูม เฉลี่ย 81.81-331.04 กิโลกรัมต่อไร่ ปลายยอดหน่อตูมแน่นเป็นรูปสามเหลี่ยม ต้นแข็งแรง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี สามารถปลูกได้ทั้งแบบหน่อเขียว และหน่อขาว มะพร้าวกะทิพันธุ์ กวก. คันธุลี 1
ลักษณะเด่น : ผลผลิตทุกผลเป็นมะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ อายุ 8 ปี ให้ผลผลิต 105 ผลต่อต้นต่อปี หรือ 2,310 ผลต่อไร่ต่อปี น้ำหนักผล 2,032 กรัม มีขนาดกลาง-ใหญ่ ออกจั่นครั้งแรกครึ่งหนึ่งของประชากร เมื่ออายุ 3 ปี 6 เดือน และทุกต้นเมื่ออายุ 3 ปี 9 เดือน เก็บเกี่ยวครั้งแรกครึ่งหนึ่งของประชากร เมื่ออายุ 4 ปี 8 เดือน และทุกต้นเมื่ออายุ 4 ปี 11 เดือน

มะนาวพันธุ์ กวก. พิจิตร 2
ลักษณะเด่น : เมล็ดน้อยกว่า 5 เมล็ด เปลือกบางไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ทนทานแคงเกอร์ ผลผลิตเฉลี่ย 1,050 กิโลกรัมต่อไร่ ส้มโอพันธุ์ กวก. พิจิตร 1
ลักษณะเด่น : เนื้อกุ้งสีน้ำผึ้งอมชมพู ฉ่ำน้ำน้อย รสชาติหวาน ให้ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี (อายุต้น 6-7 ปี) 1,225 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนผลเฉลี่ย 36 ผลต่อต้น น้ำหนักผล 1,162 กรัมต่อผล สูงกว่าพันธุ์ทองดี ที่ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 743 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 64 จำนวนผลเฉลี่ย 24 ผลต่อต้น

มันเทศพันธุ์ กวก. พิจิตร 3
ลักษณะเด่น : เนื้ออ่อนนุ่ม รสชาติหวานปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,313 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 24 มีปริมาณขนาดหัวที่ตลาดต้องการร้อยละ 89.1 ของน้ำหนักรวม มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 9.10 ถั่วฝักยาวสีม่วงสายพันธุ์ พจ.21-9-24-22
ลักษณะเด่น : ผลผลิตรวมเฉลี่ย 2,500-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ ออกดอกเร็วและเก็บผลผลิตได้เร็ว จำนวนวันที่ดอกบาน 50% อยู่ระหว่าง 34-41 วันหลังปลูก มีความหนาเนื้อเฉลี่ย 1.9-2.3 มิลลิเมตร มีปริมาณสารแอนโทไซยานินสูง 166.32-208.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด เหมาะสำหรับการรับประทานฝักสด

สะตอพันธุ์ กวก. ตรัง 2
ลักษณะเด่น : ให้ผลผลิตสูงตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคุณภาพดี สามารถให้ผลผลิตนอกฤดู ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ทรงพุ่มเตี้ยสะดวกต่อการปฏิบัติดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ดาหลาพันธุ์ กวก. ตรัง 6
ลักษณะเด่น : ช่อดอกทรงทิวลิป สีชมพูอมส้ม เมื่อตัดขณะดอกบาน 50% มีอายุการปักแจกันนาน 9 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 51 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 2 ปีหลังปลูก) มีสีดอก ฟอร์มดอกแตกต่างจากดาหลาพันธุ์ตรัง 1-5 ขนาดดอกเล็กกว่าดาหลาพันธุ์ตรัง 3

ดาหลาพันธุ์ กวก. ตรัง 7
ลักษณะเด่น : ช่อดอกทรงดอกบัว สีแดงชมพู เมื่อตัดขณะดอกบาน 50% มีอายุการปักแจกันนาน 8 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 78 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 2 ปีหลังปลูก) มีสีดอก ฟอร์มดอกแตกต่างจากดาหลาพันธุ์ตรัง 1-5 ขนาดดอกและก้านดอกเล็กกว่าดาหลาพันธุ์ตรัง 3

ดาหลาพันธุ์ กวก. ตรัง 8
ลักษณะเด่น : ช่อดอกทรงดอกกระดิน ช่อดอกสีแดง เมื่อตัดขณะดอกบาน 50% มีอายุการปักแจกันนาน 10 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 68 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 2 ปีหลังปลูก) มีฟอร์มดอกแตกต่างจากดาหลาพันธุ์ตรัง 1-5 ขนาดดอกเล็กกว่าดาหลาพันธุ์ตรัง 3

หน้าวัวพันธุ์ห้างฉัตร 084
ลักษณะเด่น : ปลีสีขาวชมพู จานรองดอกสีชมพู ขนาด 14.9×20.0 เซนติเมตร จำนวนดอก 5.3 ดอกต่อต้นต่อปี อายุการปักแจกัน 13 วัน ความยาวก้านดอก 65 เซนติเมตร

หน้าวัวพันธุ์ห้างฉัตร 200
ลักษณะเด่น : ปลีสีขาวเหลือง จานรองดอกสีขาว ขนาด 11.7×13.5 เซนติเมตร จำนวนดอก 6.4 ดอกต่อต้นต่อปี อายุการปักแจกัน 13 วัน ความยาวก้านดอก 49.0 เซนติเมตร

ฟ้าทะลายโจร พันธุ์ กวก.พิจิตร 44
ลักษณะเด่น : ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,073 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 36.3 ผลผลิตแห้งเฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 21.63 ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ เฉลี่ย 4.38 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม

กล้วยไม้สปาโทกรอสทิสพันธุ์ กวก. เชียงราย 1
ลักษณะเด่น : ดอกออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายช่อ pixelhunter.me จำนวนดอกบานภายในช่อมาก ก้านช่อดอกตั้งตรง แข็งแรงเหมาะสำหรับผลิตเป็นไม้กระถางขนาดเล็ก แตกกอดี ไม่อ่อนแอต่อโรคเน่าและใบจุด ออกดอกเร็ว ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งออกดอกใช้ระยะเวลา 60 กว่าวัน น้อยกว่าพันธุ์ทองผาภูมิ ซึ่งเป็นพันธุ์การค้า อายุการใช้งานของช่อดอกได้นานกว่า 1 เดือน ให้ช่อดอกมากกว่าพันธุ์ม่วงทองผาภูมิที่เป็นพันธุ์การค้า

กล้วยไม้สปาโทกรอสทิสพันธุ์ กวก. เชียงราย 2
ลักษณะเด่น : ดอกสีส้มออกชมพู สีสันสะดุดตา ขนาดดอกค่อนข้างใหญ่ กระจุกที่ปลายช่อ ก้านช่อดอกตั้งตรง แข็งแรง อยู่เหนือทรงพุ่มทำให้เห็นช่อดอกชัดเจน เหมาะสำหรับผลิตเป็นไม้กระถางขนาดกลางและไม้ประดับแปลง การแตกกอดี ไม่อ่อนแอต่อโรคเน่าและใบจุด ออกดอกเร็ว ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งออกดอกใช้ระยะเวลา 70 กว่าวัน ช่อดอกมีอายุการใช้งานนานกว่า 1 เดือน ให้ช่อดอกมากกว่าพันธุ์ม่วงทองผาภูมิที่เป็นพันธุ์การค้า

ปทุมาพันธุ์ กวก. เชียงราย 5
ลักษณะเด่น : ลักษณะช่อดอกเป็นทรงกระบอกสั้น กลีบประดับมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวบริสุทธิ์ เรียงตัวสวยงาม ปลายกลีบขลิบสีเขียวเล็กน้อย ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 60-70 วัน ผลผลิตช่อดอกมาก 6-11 ดอกต่อกอ อายุการปักแจกันนาน 14 วัน

ปทุมาพันธุ์ กวก. เชียงราย 6
ลักษณะเด่น : ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม ลักษณะทรงดอกคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอกตรง แข็งแรง กลีบดอก หนา และกว้าง เหมาะเป็นไม้ตัดดอกและไม้ประดับแปลง ผลผลิตช่อดอกมาก 3-6 ดอกต่อกอ ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 60-70 วัน อายุการใช้งานนาน 4-5 สัปดาห์ อายุการปักแจกันนาน 12 วัน

ปทุมาพันธุ์ กวก. เชียงราย 7
ลักษณะเด่น : ช่อดอกอยู่เหนือทรงพุ่ม ก้านดอกตรง แข็งแรง กลีบดอกหนา กลีบประดับส่วนบนและส่วนล่าง มีสีชมพูเข้ม สีสันสะดุดตา ผลผลิตช่อดอกมาก 6-12 ดอกต่อกอ ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 60-70 วัน อายุการใช้งานนาน 4-7 สัปดาห์ อายุการปักแจกันนาน 12 วัน เฟิร์นชายผ้าสีดาพันธุ์ กวก. เชียงใหม่ 1
ลักษณะเด่น : ใบชาย Fertile Fronds ก้านใบค่อนข้างแข็ง สีใบเขียวเข้ม เส้นใบเห็นลายชัดเจน เส้นใบไม่นูนเด่นชัด สานเป็นร่างแหคล้ายไปทาง P.holttumi ในส่วนปลายใบเป็นลอนหยัก แต่ไม่ถึงกับแฉกออกไปทาง P.elephanto ใบกาบ Shield F ronds ใบชูตั้งขึ้น เส้นลายใบดำลึกในใบสานเป็นร่างแหเห็นชัดเจน สีของใบเขียวออกจากออกไปทาง P.holtturi ของใบหยักเป็นลอนลักษณะคล้ายไปทาง P.elephantotis

สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 3
ลักษณะเด่น : ผลผลิตเฉลี่ย 7.48 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง ร้อยละ 49.3 เนื้อแน่น นุ่มละเอียด สีครีม กลิ่นหอมคล้ายลิ้นจี่ ปริมาณวิตามินซี เฉลี่ย 25.4 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิตร สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง ร้อยละ 10.9 ตาตื้นกว่าพันธุ์ตราดสีทอง