การเพาะนางพญาการเพาะนางพญากึ่งธรรมชาติดูเหมือนในอาเซียน

มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องการจะก้าวข้ามการเลี้ยงผึ้งชันโรงแบบพื้นเมืองไปสู่การเลี้ยงผึ้งชันโรงแบบอุตสาหกรรม หรือกึ่งอุตสาหกรรม ด้วยการควบคุมปัจจัยการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงให้ได้มากที่สุด และควบคุมปัจจัยการผลิตเหล่านั้นให้ได้ อย่างไรก็ตาม นางพญาแม่รังตัวเดียวเป็นตัวบงการควบคุมพฤติกรรมของผึ้งชันโรงงานไว้ได้ทั้งหมด ทั้งการรวมกลุ่มของผึ้งชันโรงตัวผู้ก็เช่นกัน ผึ้งชันโรงที่มีความขยันขันแข็งในการหาอาหาร สร้างรัง ดูแลรัง ฯลฯ ก็เป็นผลมาจากสายเลือดของนางพญาแม่รังทั้งสิ้น กิจกรรมทุกอย่างขึ้นอยู่กับนางพญาแม่รังเป็นศูนย์กลางสั่งการ (ด้วยฮอร์โมน) เพียงตัวเดียว

อายุขัยของนางพญาแม่รัง ยืนยาวนานกว่า 25 ปี โดยพันธุกรรมไม่เปลี่ยนแปลง ตรงข้ามกับผึ้งพันธุ์ที่ต้องเปลี่ยนนางพญาแม่รังทุกปี หรือทุกๆ 2 ปี ซึ่งเป็นภาระที่หนัก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก เมื่อนางพญามีความสำคัญถึงเพียงนี้จะปล่อยให้มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติเพียงปีละ 1-2 ตัว เท่านั้น คงไม่ถูกต้องสำหรับผู้ที่จะเพาะเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพ ควรเพาะขยายให้ได้เหมือนกับการเพาะนางพญาของผึ้งพันธุ์ให้ได้เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้ เพื่อแยกขยายรังให้มีจำนวนมากพอที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้ได้มากขึ้นตามจำนวนรังที่เพิ่มขึ้นในแนวทางอุตสาหกรรมนั่นเอง

รศ.ดร. สมนึก กล่าวถึงเทคนิคการเพาะหนอนผึ้งชันโรงให้กลายเป็นหนอนนางพญาว่า เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อเหมือนกัน จะต้องอาศัยพื้นฐานของวรรณะผึ้งงานเป็นจุดก่อกำเนิดของอวัยวะและต่อมต่างๆ ที่จะพัฒนาไปใช้ทำหน้าที่ในฐานะนางพญา ดังนั้น ตัวหนอนที่เกิดมาจากไข่ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อ เป็นหนอนที่มีจุดกำเนิดพร้อมที่จะเจริญไปเป็นผึ้งงานก็ได้ หรือนางพญาก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่หนอนได้รับนั้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนอนนางพญาพอดีหรือไม่ ถ้าไม่ทันก็พัฒนาเป็นหนอนผึ้งงานปกติ ในผึ้งพันธุ์หนอนที่มีอายุเกิน 12 ชั่วโมงไปแล้วนำมาเพาะนางพญา โอกาสเกิดเป็นนางพญาไม่สมบูรณ์มีสูงมาก แต่ผึ้งชันโรงยังไม่มีรายงานแต่อย่างใด ได้แต่อาศัยข้อมูลเทียบเคียงกับผึ้งพันธุ์

มาเลี้ยงผึ้งชันโรง เป็นอาชีพกันเถอะ

นางพญาผึ้งชันโรงหลังลายลูกผสม มีข้อดีคือ นางพญาแม่รังอายุยืนโดยไม่ต้องเปลี่ยนพันธุกรรมแต่อย่างใด มีอัตราการไข่เฉลี่ย 120-180 ฟอง ต่อวัน (แต่อัตราการฟักเชื้อเป็นตัวเต็มวัย ขึ้นอยู่กับอัตราเลือดชิดในตัวนางพญาแม่รัง มีมากน้อยเพียงใด) มีประชากรในรังค่อนข้างคงที่ อัตราการเกิดพอๆ หรือมากกว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับอัตราการตลาดเพราะวงจรชีวิตจากไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลาพอๆ กัน หรือน้อยกว่า 15-20 วัน กับเวลาที่ผึ้งงานสิ้นอายุขัย ผึ้งชันโรงงานมีพฤติกรรมขยัน ไม่มีเลือดชิด สามารถให้ผลผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ จุดคุ้มทุน ใช้เวลาไม่เกิน 2-3 ปีเท่านั้น จากนั้นไปแทบไม่มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูรังแต่อย่างใด นับว่าคุ้มค่ามากที่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากรังผึ้งชันโรงไปได้นานถึง 25 ปี แม้จะได้รับผลตอบแทนต่อรัง ต่อปี ไม่มากเท่าใดก็ตาม แต่แลกกับความเสี่ยงที่ต่ำมาก เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากทำอาชีพอิสระ หรือทำเป็นอาชีพเสริมนอกเหนือจากงานประจำ

รศ.ดร. สมนึก บุญเกิด กล่าวว่า ผึ้งชันโรง 1 รัง ใช้เวลาดูแล 12 นาที ต่อรัง ต่อปี ส่วนรังผึ้ง ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ต่อรัง ต่อปี หรือเทียบค่าผลผลิต รังผึ้งชันโรง 10 รัง เท่ากับผึ้งพันธุ์ 1 รัง เสียเวลาดูแลรังผึ้งชันโรง 2 ชั่วโมง ต่อ 10 รัง ต่อปี ยังใช้เวลาน้อยกว่าดูแลรังผึ้งพันธุ์ 1 รัง ต่อปี น้ำผึ้งชันโรง มีคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ จึงสามารถจำหน่ายได้ในราคาค่อนข้างสูง เรียกว่าไม่มีอาชีพใดที่มีความเป็นอิสระมากกว่าอาชีพเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงอีกแล้ว

กรมวิชาการเกษตร เครื่องร้อน เปิดตัวมันเทศ 2 พันธุ์ใหม่ สุโขทัย 1 และ 2 ป้อนความต้องการทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค โชว์จุดเด่นมันเทศพันธุ์สุโขทัย 1 ให้ผลผลิตสูงมากกว่า 3,800 กิโลกรัม ต่อไร่ เนื้อสุกสีเหลืองเข้ม เหนียวนุ่ม หวานน้อย ด้านสุโขทัย 2 เน้นจุดขายให้สารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 481 ไมโครกรัม ชี้เป็นสารสำคัญช่วยบำรุงสายตาและชะลอความชรา

คุณเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มันเทศเป็นพืชอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์มันเทศพิจิตร 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตแป้งสูงและขนาดหัวใหญ่สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันเทศ ในขณะเดียวกัน ได้ปรับปรุงพันธุ์มันเทศสายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคด้วย

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มันเทศ โดยตั้งโจทย์ในการวิจัยไว้ว่าจะต้องได้พันธุ์มันเทศสำหรับการบริโภคที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่นเดิมอย่างน้อยร้อยละ 10 มีคุณภาพดีในการบริโภค และให้คุณค่าทางโภชนาการสูง การปรับปรุงพันธุ์เริ่มจากนำพันธุ์มันเทศที่มีลักษณะดีในด้านต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาผสมข้ามพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ เจริญเติบโตเร็ว คลุมวัชพืชได้ดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ขึ้นไป อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อลดการทำลายของด้วงงวงมันเทศ คุณภาพในการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง โดยทำการเปรียบเทียบสายพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นไว้ 6 สายพันธุ์

ในปี 2557 นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ไปปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน และได้คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นไว้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ สท.03 สท.10 และ สท.18 ในปี 2558 นำทั้ง 3 สายพันธุ์ไปทดสอบในไร่เกษตรกรที่จังหวัดสุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์ โดยทดสอบกับพันธุ์ท้องถิ่นของเกษตรกร พบว่าสายพันธุ์ สท.18 มีผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด รองมาเป็นสายพันธุ์ สท.03 และ สท.10 อย่างไรก็ตาม จากการประเมินคุณภาพการบริโภคพบว่า ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรให้การยอมรับสายพันธุ์ที่ดีที่สุด 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ สท.03 และ สท.18

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มันเทศสายพันธุ์ สท.03 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ พจ.226-31 (เนื้อสีเหลือง) กับพันธุ์ T101 (เนื้อสีส้ม) ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “มันเทศพันธุ์สุโขทัย 1” ให้ผลผลิตสูงถึง 3,884 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 79.5 เนื้อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อเหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวานน้อย มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานสูง โดยมันเทศ 100 กรัม มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 33 กรัม และแคลอรี 136 กิโลแคลอรี ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรตและแคลอรีสูงนั้นสามารถทดแทนอาหารให้พลังงานที่แปรรูปจากแป้งและน้ำตาลแบบอื่นๆ โดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้น จึงเป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรปลูกเป็นทางเลือกในการใช้พันธุ์มันเทศพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการสูงทดแทนพันธุ์เดิม

มันเทศสายพันธุ์ สท.18 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ พจ.189-257 (เนื้อสีม่วง) กับพันธุ์ FM37-LINIDOK-3 (เนื้อสีเหลือง) ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “มันเทศพันธุ์สุโขทัย 2 ให้ผลผลิต 2,900 กิโลกรัม ต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 เนื้อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เนื้อเหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานสูง โดยมันเทศ 100 กรัม มีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม และแคลอรี 131 กิโลแคลอรี ที่สำคัญมีสารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 481 ไมโครกรัม ในขณะที่พันธุ์ท้องถิ่นมีสารเบต้าแคโรทีนน้อยกว่า 10 ไมโครกรัม ซึ่งสารเบต้าแคโรทีนมีบทบาทสำคัญในการบำรุงสุขภาพของสายตา และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความแก่ และดูแลรักษาผิวพรรณด้วย

มันเทศสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนทราย ทั้งในสภาพบนที่ราบสูงและที่ราบ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน แต่ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ และการปลูกซ้ำที่เดิม สอบถามรายละเอียดมันเทศพันธุ์ใหม่สุโขทัย 1 และสุโขทัย 2 ได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร โทร. (055) 679-085-6

ภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เป็นช่วงเวลาเดียวกับผลผลิตทุเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้พร้อมที่จะจำหน่าย ก่อนหน้าที่มีความกังวลเรื่องตลาดส่งออกทุเรียนของไทยที่ประเทศจีนจะได้รับผลกระทบ แต่ล่าสุดประเทศจีนที่ตลาดใหญ่ พร้อมสำหรับการนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทยจำนวนมาก ทำให้เกิดความมั่นใจกับเกษตรกรว่า ทุเรียนจะสามารถจำหน่ายได้ โดยเฉพาะทุเรียนคุณภาพที่ผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของทางจังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี

ล่าสุดจังหวัดยะลาร่วมกับปิดทองหลังพระฯ เปิดแหล่งรับซื้อและกระจายทุเรียนฤดูกาลปี 2563 เป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน คุณชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวในการเปิดแหล่งรวบรวมและกระจายผลผลิต ทุเรียนคุณภาพ จังหวัดยะลา ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชาในจังหวัดชายแดนใต้หรือโครงการทุเรียนคุณภาพประจำปี 2563 ว่าได้ร่วมกับปิดทองหลังพระฯ ดำเนินโครงการทุเรียนคุณภาพฯ มาตั้งแต่ปี 2561 และพัฒนาระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นในปี 2563

หลักคิดในการดำเนินโครงการยังคงเน้นการนำศาสตร์พระราชามาแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมุ่งหวังให้ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน “พึ่งพาตนเองได้” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในที่สุด ด้วยการพัฒนาทุเรียนซึ่งเป็นไม้ผลพื้นถิ่นให้มีคุณภาพ ควบคู่กับการบริหารจัดการเชิงธุรกิจ มีกระบวนการผลิตที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Excellent) และมีตลาดต่างประเทศรองรับ

การดำเนินโครงการ ปี 2563 ที่ผ่านมาดำเนินการได้ด้วยดี เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแทบทุกราย ได้ให้ความใส่ใจ มุ่งผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพตามเป้าหมายของโครงการ ด้วยการดูแลเอาใจใส่และปฏิบัติตามคู่มือการผลิตทุเรียนคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำจัดวัชพืชสวนทุเรียน การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย การป้องกันโรคและแมลง ฯลฯ โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาทุเรียนของปิดทองหลังพระฯ ให้การสนับสนุนและดูแลทุกช่วงการผลิต และมีบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ช่วยดูแลเรื่องการตลาด โดยเฉพาะตลาดในสาธารณรัฐประชาชนจีน

เป็นที่คาดการณ์ว่าทุเรียนของโครงการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2563 นี้จะให้ผลผลิตอยู่ที่ 1,778 ตัน ผลผลิตทุเรียนจะเริ่มออกตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน 2563 และไปสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2563 โดยออกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งจะมีปริมาณทุเรียนส่งตลาดถึง 900 ตัน ทั้งนี้ จังหวัดที่ผลิตทุเรียนมากที่สุดคือ ยะลา 1,640 ตัน รองลงมาคือ นราธิวาส 88 ตัน และปัตตานี 50 ตัน

ในเรื่องระบบการตลาดขณะนี้มีความพร้อม โดยได้มีการเปิดแหล่งรวบรวมและกระจายผลผลิตจังหวัดยะลา เพื่อรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรแล้วนำมาคัดแยก ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2563 ก่อนจะส่งไปศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ที่จังหวัดชุมพร แล้วขนส่งด้วยเรือไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบระบบการจำหน่ายได้ให้ความมั่นใจด้วยว่าเรื่องตลาดนั้นไม่มีปัญหา ถ้ามี “ทุเรียนคุณภาพ” ดังที่โครงการได้ผลิตและควบคุมคุณภาพในปัจจุบันเป็นที่คาดหมายว่า เมื่อทุเรียนของโครงการได้รับการจำหน่ายในราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 90 บาท ณ ปัจจุบัน จะทำให้เกษตรกร 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะมีรายได้ปี 2563 ประมาณ 160 ล้านบาท มากกว่าปี 2562 ซึ่งขายได้ 80 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2 เท่า โดยประมาณการว่าเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละจังหวัดจะมีรายได้จากทุเรียน แบ่งเป็น ยะลา 147 ล้านบาท นราธิวาส 8 ล้านบาท และปัตตานี 5 ล้านบาท ตามลำดับ

“หากมีการขยายการดำเนินโครงการนี้ออกไปให้กว้างขวาง และได้ทุเรียนคุณภาพเพิ่มขึ้น ปัญหาความยากจนซึ่งประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะได้รับการแก้ไขอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน”

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2561 สถาบันเริ่มเข้ามาดำเนินโครงการ “ทุเรียนคุณภาพ” ร่วมกับจังหวัดยะลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมีรายได้เพิ่มจากการพัฒนาให้ทุเรียนมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดยเริ่มที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นแห่งแรกในฐานะพื้นที่ต้นแบบของทางสถาบัน เนื่องจากได้รับความสนใจจากเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จึงได้ขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นทั้งในยะลา นราธิวาส และปัตตานี

“เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของคนใน 3 จังหวัด เริ่มช่วงแรกคิดว่าโครงการจะไปไม่ได้ แต่ทำมาได้ดีและจีนปิดเมืองมานาน คนก็จะอยากบริโภคทุเรียน ปีนี้ราคาเป็นที่น่าพอใจ ประชาชนจะได้ประโยชน์เต็มที่เพราะทุเรียนมีคุณภาพดีมาก จากการดูแลอย่างใกล้ชิดของเกษตรกร เชื่อมั่นว่าถ้ามีการดูแลให้ดีขึ้น ต่อไปทุเรียนใต้จะเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ”

จากเกษตรกรที่เริ่มโครงการครั้งแรก 18 ราย ในปีนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 625 ราย มีการส่งเกษตรกรไปอบรมการทำทุเรียนคุณภาพทั้งในพื้นที่ และจังหวัดระยองแหล่งทุเรียนสำคัญของภาคตะวันออก พร้อมกับอาสาทุเรียนคุณภาพเพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกรตลอดกระบวนการดูแลตั้งแต่เริ่มต้น ผลสำเร็จการพัฒนาทุเรียนคุณภาพ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เกิดจากความตั้งใจของเกษตรกร มีการประสานงานกับอาสาทุเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามคู่มือที่จัดทำโดยเฉพาะ ช่วยให้เกษตรกรมีความเข้าใจมากขึ้น

“ในปีนี้มีทุเรียนที่อยู่ในโครงการจำนวน 29,201 ต้น เกษตรกร 65 ราย ผลผลิตทุเรียนประมาณ 1,778 ตัน โดยเกรด AB ที่เป็นมาตรฐานส่งออกจะมีประมาณร้อยละ 85 และหนอน เป็น 0 เปอร์เซ็นต์ โดยตลาดหลักคือประเทศจีน คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 160 ล้านบาท ประมาณ 2 เท่าของปี 2562 ผลผลิตทุเรียนคุณภาพปีนี้เพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2562 แต่รายได้ที่สูงขึ้นมาจากคุณภาพของทุเรียนที่เกษตรกรปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด” หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา กล่าว

“บ้าหรือเปล่า ทิ้งเงินเดือนหลักแสนมาทำเกษตร” คำพูดเหล่านี้มักจะได้ยินติดหูเป็นประจำ ถ้าหากผู้ใดมีความคิดไม่ตรงกับคนหมู่มาก ก็จะต้องถูกถามก่อนเลยว่า บ้าหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วเงินเดือนหลักแสนอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตของใครหลายคน เพราะเป้าหมายชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนทำงานเพื่อเงิน บางคนทำงานเพื่อความสุข หรือบางคนมองทรัพย์สินเงินทองเป็นเรื่องรอง ครอบครัวต้องมาก่อน ก็สุดแล้วแต่เป้าหมายของแต่ละคน เพียงแค่ในทุกวันได้ทำงานที่รักและมีความสุขก็พอแล้ว

คุณอาคม มากทรัพย์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อุทัยธานี อยู่บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 4 ตำบลหูช้าง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อดีตนายช่างกลเรือ ทิ้งเงินเดือนเรือนแสน เล่าให้ฟังว่า หลังจากลาออกจากงานประจำก็เบนเข็มชีวิตมาเป็นเกษตรกร และก็มีหลายคนสงสัยว่ามีวิธีการปรับตัวอย่างไรกับความคิดและคำพูดเสียดสีจากชาวบ้าน ซึ่งหนทางไม่ง่ายเลย ในหัวจะมีความคิดตลอดว่าตนเองคิดถูกแล้วใช่ไหมที่เลือกทางนี้ จากที่เคยทำงานได้เงินเดือนดีๆ มีลูกน้องคอยช่วยอยู่ข้างๆ ไปไหนมาไหนมีผู้คนต้อนรับนับหน้าถือตา กลับต้องมาทำงานหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่ก็กลับมาคิดว่าไม่มีใครคว้าของทั้งสองอย่างได้ในครั้งเดียว เมื่อได้สิ่งหนึ่ง มักต้องเสียสละอีกสิ่งหนึ่งไป ดังนั้น จึงต้องเลือกระหว่างงานที่ดีกับครอบครัวที่รัก จึงได้ตัดสินใจที่จะถอดหัวโขนออก แล้วกลับมาใช้ชีวิตกับครอบครัว ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่ง่ายที่ต้องปรับตัวใหม่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เพราะยังโชคดีที่พอมีภูมิต้านทานอยู่บ้าง ด้วยลักษณะนิสัยที่เป็นคนไม่ยึดติดกับยศตำแหน่ง และมีพื้นฐานที่บ้านพ่อกับแม่เป็นเกษตรกรมาตั้งแต่เด็ก มาถึงวันนี้จึงปรับตัวได้ กลับมาเริ่มต้นอาชีพที่ยั่งยืนโดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงวัยเกษียณ เริ่มเมื่อตอนยังมีแรงทำไหว และมีความสุขกับสิ่งที่ทำแล้ว สิ่งนั้นจะกลับมาตอบแทนเราเอง

จุดเริ่มต้นในฐานะเป็นเกษตรกรเต็มตัว
คุณอาคม เล่าถึงจุดเริ่มต้นเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวว่า หลังลาออกจากงานแล้วมีความคิดที่จะมาทำเกษตร เนื่องจากด้วยต้นทุนของครอบครัว ภรรยามีที่ดินไว้สำหรับทำการเกษตร มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มาอยู่แล้วจึงตัดสินใจที่จะเดินทางสายนี้ นับเวลาถึงปัจจุบันที่เป็นเกษตรกรมา เป็นเวลากว่า 7 ปี ซึ่งในการทำเกษตรของตนเริ่มทำจากน้อยๆ โดยเริ่มจากการปลูกกล้วย บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ปลูกสารพัดกล้วย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ปลูกจนได้ผลผลิตออกมาขาย จึงเริ่มรู้สึกว่าการทำเกษตร ถ้าทำดีๆ ก็สามารถสร้างรายได้ให้ได้มาเหมือนกัน และกล้วยเป็นพืชที่ไม่ใช่ขายได้เฉพาะแค่ผล แต่ขายได้ทุกส่วน ทั้งหน่อ หัวปลี และใบ ดังนั้น เมื่อมองเห็นลู่ทาง จึงค่อยๆ ขยับขยายพื้นที่ปลูกกล้วยเพิ่มจาก 1 ไร่ เป็น 4 ไร่ จาก 4 ไร่ เป็น 7 ไร่ และถัดมามีการเช่าพื้นที่ขยายแปลงปลูกอีก 25 ไร่ เพื่อทำเป็นเกษตรผสมผสาน โดยพื้นที่เดิมเจ้าของเก่าเขาปลูกพืชไร่ ปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ก็ค่อยๆ นำไม้ผลอย่างอื่นเข้าไปแซม เช่น อินทผลัม ส้มโอ และมะละกอฮอลแลนด์ แต่จะไม่ทำทีเดียวทั้งหมด 25 ไร่ จะค่อยๆ แบ่งลดพื้นที่ปลูกพืชไร่ลงมา เพราะถ้าเปลี่ยนทีเดียวกลัวจะรับมือไม่ทันในเรื่องของการดูแลรักษา และเรื่องของต้นทุนค่ากิ่งพันธุ์ที่สูง เป็นมือใหม่ต้องพยายามประหยัดต้นทุนให้ได้มากที่สุด

กล้วยหอม พืชที่เคยสร้างรายได้หลัก ถูกพายุพัดเสียหาย
ฟื้นตัวด้วยการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ 4 ไร่
เจ้าของเล่าว่า จากที่เมื่อก่อนเคยมีกล้วยเป็นพืชสร้างรายได้หลัก แต่เมื่อสองเดือนที่แล้วป่ากล้วยโดนพายุถล่ม กล้วยได้รับความเสียหายกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่โชคยังดีที่เมื่อปีที่แล้วตัดสินใจปลูกมะละกอฮอลแลนด์ทิ้งไว้ 4 ไร่ ซึ่งตอนนี้มะละกอกำลังให้ผลผลิตเก็บขายและกลายเป็นพืชพระเอกสร้างรายได้หลักในตอนนี้ และสาเหตุที่เลือกปลูกมะละกอฮอลแลนด์ไว้ เนื่องจากมะละกอจะมีระยะการเก็บเกี่ยวที่คล้ายกับกล้วย คือปลูกไปสักประมาณ 8-9 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ในการทำเกษตรที่จะเน้นปลูกผลไม้ที่ออกไม่เป็นฤดูกาลมากนัก แต่จะเน้นปลูกผลไม้ที่สามารถให้ผลผลิตเก็บขายได้เรื่อยๆ

เทคนิคการปลูกมะละกอฮอลแลนด์
ต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพสูง
คุณอาคม บอกว่า จริงๆ แล้ว สมัครสโบเบ็ต ตนค่อนข้างเป็นมือใหม่ในวงการปลูกมะละกอ เพียงแต่อาศัยความขยันหมั่นศึกษาหาความรู้จากหลายๆ แหล่ง ทั้งเรียนรู้กับเซียนมะละกอจากหลายๆ ท่าน บุกป่าฝ่าดงไปเรียนถึงที่สวนก็บ่อย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาหาข้อมูลจากตำรา จากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม แล้วพยายามปรับสูตรบางอย่างมาใช้ในสวนของตนเอง ลำพังถ้าจะไปปลูกตามเซียนมากๆ ต้นทุนจะสูงมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าบำรุงต่างๆ เพราะฉะนั้นตนจะเน้นทำแบบพึ่งพากันไป พยายามใช้สวนเกษตรผสมผสานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จึงทำให้การปลูกมะละกอของที่สวนมีต้นทุนที่ต่ำมาก ปุ๋ยก็ใส่น้อยมาก ยาฆ่าแมลงไม่เคยฉีด จะเน้นบำรุงเรื่องใบในช่วงแรกให้สมบูรณ์ ฉีดพ่นยากันเชื้อราบ้าง เมื่อผลผลิตออก หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้ให้ปุ๋ยเพิ่มอีกเลย ในขณะที่บางสวนก็ยังฉีดยาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่สวนมีต้นทุนต่ำ แต่ผลผลิตที่ได้ออกมามีคุณภาพ รสชาติหวานกำลังดี เนื้อไม่เละ แม่ค้าและผู้บริโภคชอบ

วิธีการปลูก
ขั้นตอนแรก ไถเตรียมดินในสวน จะมีพืชอย่างอื่นปลูกแซมอยู่ก็ไถเป็นร่องขึ้นมา พยายามไม่ให้โดนพืชหลัก แล้วปลูกขนาบไปในระยะห่าง 3×3 เมตร แล้ววางระบบน้ำสปริงเกลอร์ไปตรงกลาง ให้น้ำเข้าถึงต้นมะละกอ

เมื่อเตรียมดินเรียบร้อย ให้นำต้นกล้าที่เพาะไว้มาลงหลุมปลูก จากนั้นดูแลเรื่องน้ำ ปุ๋ย อย่าให้ขาด ระบบน้ำต้องวางแผนไว้ให้น้ำมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ ถ้าหากฝนตกทิ้งช่วง ให้รดน้ำ 2 วันครั้ง พยายามดูให้ดินชุ่มชื้นอยู่ตลอด

ปุ๋ย… ระยะแรก เน้นตัวหน้าสูงๆ เช่น สูตร 25-7-7 หรือ 27-12-6 ช่วงประมาณ 1-3 เดือนแรก ควรจะให้ปุ๋ยทุกเดือน บางสวนอาจจะให้ถี่หน่อย คือให้ทุกๆ 3 สัปดาห์ แต่ของที่สวนจะดูที่ความเหมาะสม ถ้าช่วงไหนฝนดีก็จะให้ปุ๋ยตามไปเลย เพราะดินจะชุ่มชื้นดีแล้ว ปุ๋ยจะละลายดี ต้นก็จะดูดกินปุ๋ยได้เต็มที่

ระยะที่สอง เริ่มติดดอก ต้องบำรุงให้ดี เน้นใส่สูตรเสมอ 16-16-16 หรือ 15-15-15

ระยะที่สาม ลูกเริ่มโตขนาดเกินลูกตำลึงไปแล้ว ให้เน้นใส่สูตรที่ตัวท้ายสูงๆ ไม่มีสูตรที่ตายตัว

ปริมาณการใส่ปุ๋ย…เฉลี่ยแล้วใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงต้นที่ต้องการบำรุงลูก แต่หลังจากช่วงที่เก็บผลผลิตไปแล้วจะห่างๆ การให้ปุ๋ยไปเลย

ระยะให้ผลผลิต…ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 8 เดือน แต่บางต้นถ้าสมบูรณ์แข็งแรงมาก ก็เก็บได้ตั้งแต่เดือนที่ 6 โรคแมลงที่พบ
การปลูกมะละกอ สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ ไวรัสจุดวงแหวน ถ้าเจอช่วงตอนที่ต้นยังเล็กๆ ใบลายๆ ผิดปกติ ก็ต้องรีบตัดออกแล้วไปทิ้งไกลๆ เพราะว่าโรคพวกนี้จะมีพาหะจากแมลง ซึ่งที่สวนจะมีเทคนิคป้องกันไวรัสจุดวงแหวนส่วนตัว ซึ่งวิธีนี้ไม่ขอยืนยันว่าจะได้ผลกับทุกสวน แต่ถือเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ที่เคยทดลองมา

“ที่สวนจะมีแปลงปลูกมะละกออยู่ 2 ที่ แปลงที่ 1 พื้นที่ค่อนข้างต่ำ น้ำจะขัง ทำให้เป็นโรคง่าย แปลงที่ 2 พื้นที่สูงเป็นที่ดอนกว่า จะไม่ค่อยเกิดโรค จึงตั้งสมมุติฐานว่า พื้นที่ดอนกว่าจะเป็นโรคยากกว่า สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแล้งดินไม่ชุ่มชื้นมาก โรคจึงไม่เกิด ดังนั้น ที่สวนจึงทดลองปรับลดปริมาณการให้น้ำในช่วงที่เกิดโรค พยายามทำต้นไม่ให้สมบูรณ์มาก ปล่อยให้ต้นต้านทานโรคเอง ดีกว่าการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ตลอด เพราะช่วงเกิดโควิดที่สวนจะประคองการให้น้ำ ให้ปุ๋ย แต่เมื่อต้นห่างปุ๋ยกลับทำให้มะละกอที่สวนดูแข็งแรงขึ้น รสชาติค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ไม่หวานโดด จนตอนนี้เก็บจะหมดคอแล้ว รสชาติยังดีอยู่เลย” เจ้าของสวนบอกเล่าประสบการณ์ในการรับมือกับไวรัสจุดวงแหวน