การเพาะเมล็ด ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความสำเร็จ

หากดูแลจัดการไม่ดีพอก็เสี่ยงกับการสูญเสียผลผลิตทั้งหมดได้ เกษตรกรนิยมเพาะเมล็ดภายในโรงเรือนปลอดเชื้อ หลังจากนำเมล็ดออกจากถุง จะผสมน้ำให้ชุ่มก่อนนำมาหยอดใส่ถาดเพาะเมล็ด โดยใช้วัสดุเพาะกล้าที่ให้ผลดีที่สุด คือ พีทมอสส์ ทำให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราการงอกถึง 95 เปอร์เซ็นต์

สำหรับแปลงปลูกกลางแจ้ง ก่อนลงมือปลูก เกษตรกรจะปรับพื้นที่ในลักษณะแปลงยกร่อง รองพื้นดินในหลุมด้วยปุ๋ยคอก ใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูก ให้ปุ๋ยในระบบน้ำหยด เมื่อต้นกล้าที่เพาะไว้เติบโตได้ขนาดที่ต้องการ จะย้ายต้นกล้ามาปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ โดยขุดหลุมลึก 6-7 เซนติเมตร ปลูกในระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการดูแลจัดการแปลง

โดยทั่วไป เกษตรกรจะให้ปุ๋ยตั้งแต่เริ่มปลูก-เก็บเกี่ยว ประมาณ 7-8 ครั้ง ต่อรุ่น โดยให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เฉลี่ยครั้งละ 5 กรัม/ต้น ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมให้น้ำในระบบท่อน้ำหยดควบคู่กันไป การปลูกแอปเปิ้ลเมล่อน ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานช่วยผสมเกสรเหมือนกับเมล่อนสายพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากอาศัย ผึ้ง เป็นตัวช่วยผสมเกสรตามธรรมชาติ เมื่อต้นแอปเปิ้ลเมล่อนเริ่มติดผล เกษตรกรจะคัดเลือกผลผลิตที่มีคุณภาพดีเก็บไว้เพียงต้นละ 1 ลูก เท่านั้น ผลที่ไม่สมบูรณ์จะถูกคัดทิ้ง

โรคแมลงศัตรูพืช

การปลูกแอปเปิ้ลเมล่อน มักเจอปัญหาโรคเหี่ยว โดยเชื้อราจะเข้าทางรากต้นพืช ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนเถาของต้นที่โต จะแสดงอาการใบล่างเหลือง และแสดงอาการหลายอย่าง เช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ เมื่อเกิดอาการเน่า จะพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก ทำให้ต้นพืชแสดงอาการเหี่ยวและตายในที่สุด

แนวทางแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยว คือ ถอนต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายทิ้ง และป้องกันโรคโดยใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา นอกจากนี้ วางแผนป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในแนวทางอื่นๆ เช่น ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5 พร้อมใส่ปุ๋ยไนเตรทตและไนโตรเจน เพื่อลดความรุนแรงของโรค รวมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

นอกจากนี้ ยังพบปัญหาโรคใบหงิกในแปลงปลูกแอปเปิ้ลเมล่อน เนื่องจากผืนดินแห่งนี้มี “ไส้เดือนฝอยรากปม” ซึ่งอยู่ในกลุ่มพยาธิตัวกลม ไส้เดือนฝอยรากปมจะใช้ปากที่มีลักษณะคล้ายเข็ม แทงเซลล์พืชและปล่อยเอนไซม์ เข้าทำลายและดูดสารอาหารจากพืช เปรียบเสมือนพยาธิพืชนั่นเอง ทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพผลผลิตลดลง เกษตรกรมักแก้ไขปัญหาโดยผสมเชื้อไตรโคเดอร์ม่าในระบบน้ำหยดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

นอกจากนี้ ต้องคอยดูแลใส่ใจป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชประเภทอื่นๆ เพราะหากดูแลจัดการไม่เหมาะสม จะทำให้ผลผลิตเสียหายได้ เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเข้ามาฉีดพ่นเพื่อขับไล่แมลงในแปลงเพาะปลูก ซึ่งปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพดังกล่าว ผลิตจากเศษวัสดุในไร่ คือ ผลแอปเปิ้ลแมล่อนที่ตกเกรด หมักรวมกับสาร พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน

สภาวะอากาศแปรปรวน ปลูกดูแลยาก

แอปเปิ้ลแมล่อน เหมือนพืชตระกูลแตงทั่วไป ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน โดยช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการปลูกอยู่ที่ 25- 30 องศาเซลเซียส ในเวลากลางวัน และ 18-20 องศาเซลเซียส ในเวลากลางคืน ผลผลิตในช่วงฤดูร้อน จะทำให้แอปเปิ้ลเมล่อนเจริญเติบโตได้ไวขึ้น ตั้งแต่ปลูก-เก็บเกี่ยวใช้เวลาเพียง 48-49 วัน เท่านั้น

สภาวะอากาศแปรปรวน นับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของต้นแอปเปิ้ลเมล่อน โดยเฉพาะภาวะอากาศหนาว เพราะผลกระทบจากอากาศหนาวเย็น จะทำให้ต้นแอปเปิ้ลเมล่อนชะงักการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า การออกดอกติดผลจะล่าช้าอีกต่างหาก ตั้งแต่ปลูก-เก็บเกี่ยว ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 วัน

ช่วงฤดูฝน ปลูกดูแลยาก เพราะแปลงปลูกแอปเปิ้ลเมล่อนถูกน้ำฝนบ่อยๆ เสี่ยงเกิดโรคราน้ำค้างระบาดได้ง่ายเพราะต้นแอปเปิ้ลเมล่อนเป็นพืชตระกูลแตงที่มีใบกว้างใหญ่และมีขน เมื่อสัมผัสกับน้ำฝนจะเกิดหยดน้ำค้างบนใบอยู่เสมอ ไม่แห้งง่าย เสี่ยงเกิดเชื้อราน้ำค้างบนใบได้ง่าย ทำให้เกิดอาการใบหงิก สร้างความเสียหายต่อผลผลิตในแปลงปลูกในวงกว้าง

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต สังเกตได้จากสีผิวของผลผลิต หากพบว่า มีสีเหลืองอ่อนที่บริเวณขั้วผล แสดงว่า ผลเริ่มสุก สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว ในราคาขายส่งที่ ก.ก.ละ 40-50 บาท หากใครมีโอกาส ชิมแอปเปิ้ลเมล่อน รับรองว่าจะต้องติดใจในรสชาติที่หวานกรอบสดๆ ของไม้ผลชนิดนี้อย่างแน่นอน

นอกจากเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังให้ผลผลิตต้นฤดูกาลราวๆ เดือนมีนาคมของทุกๆ ปี พ่อค้าส่งออกวิ่งมาซื้อถึงสวน หรือขอทำสัญญาซื้อขายไว้ล่วงหน้า ทำให้ได้ราคาสูง พันธุ์กระดุมจะสุกก่อนใคร ได้ราคากิโลกรัมละ 90-95 บาท ตามมาด้วยพันธุ์หมอนทอง ซื้อขายกันถึงกิโลกรัมละ 120-130 บาท ชาวสวนทุเรียนปลูกหมอนทอง พื้นที่ 30 กว่าไร่ และผลผลิตมีคุณภาพราว 200 ต้น ต้นใหญ่ต้นเดียวมีลูก 200 กว่าลูก น้ำหนักเกือบ 600 กิโลกรัม ขายได้ถึง 74,000 บาทเศษ ปีหนึ่งมีรายได้นับ 10 ล้านบาท เป็นเรื่องจริง

ต้องหลากหลายพันธุ์

ว่าที่ ร.ต. กรีฑา งาเจือ อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด วัย 29 ปี เกษตรกรรุ่นใหม่ ลูกชายคนเดียวในครอบครัวที่เรียนรู้การทำสวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ จาก คุณพ่อวิสุทธิ์ และ คุณแม่ทับทิม งาเจือ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา หลังจากจบปริญญาตรี ด้านการตลาด ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มารับช่วงทำสวนผลไม้เต็มๆ ร่วมกับพ่อแม่เต็มตัวเมื่อ 10 ปี มาแล้ว ตั้งแต่ ปี 2552 จากนั้นได้แต่งงานกับ “น้องหนู” คุณณัฐวรรณ แปลงดี ขณะที่ทำสวนก็หาเวลาไปเรียนต่อปริญญาโท ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ด้านบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยบูรพา จบเมื่อปี 2558 สวนนี้ทำเป็นระบบครอบครัว 4 คน มีจ้างแรงงานเฉพาะหน้างานเป็นบางครั้ง ส่วนใหญ่จะช่วยๆ กันทำ

สวนทุเรียนมี 4 แปลง ให้ผลแล้ว 2 แปลง และรอให้ผลอีก 2 แปลง คือแปลงแรกที่บ้านตำบลห้วงน้ำขาว เป็นแปลงที่พ่อวิสุทธิ์-แม่ทับทิม ทำอยู่ดั้งเดิม มี 13 ไร่ ปลูกเงาะ ลองกอง มังคุด กับทุเรียน เป็นทุเรียนพันธุ์กระดุม ชะนี และตอนหลังเปลี่ยนมาปลูกทุเรียนชะนี หมอนทอง ก้านยาว นวลทองจันท์ แต่ยังเก็บกระดุมและชะนีไว้อย่างละ 3-4 ต้น ถึงตอนนี้อายุ 30 กว่าปี ให้ผลปีนี้ต้นละเกือบ 300 ลูก อีกแปลงติดๆ กัน 5 ไร่ เพิ่งปลูกทุเรียนหมอนทอง 90 ต้นอายุได้ 5 ปี ทำแบบพัฒนา ยกร่องให้โคนสูงขึ้น เพื่อระบายน้ำ และปลูกเงาะสีทองแซม เพื่อให้ผลก่อนทุเรียน จะได้มีรายได้ ส่วนแปลงใหญ่ที่ตำบลอ่าวใหญ่ พื้นที่ 44 ไร่ ทำมา 9 ปี ปลูกตั้งแต่ ปี 2549 มี กระดุม ชะนี หมอนทอง หลงลับแล ผลผลิตดีปีนี้ขายไป จำนวน 31 ตัน ตั้งแต่ต้นและปลายเดือนมีนาคม และแปลงน้องใหม่ล่าสุดที่ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด พื้นที่ 10 ไร่ เพิ่งปลูกได้ 2 ปี มีหลายพันธุ์ ก้านยาว หมอนทอง พานพระศรี นวลทองจันท์ หลงลับแล

“ทุกวันนี้ทุเรียนให้ผลผลิตต้นฤดูตลอด รุ่นแรกที่ตำบลอ่าวใหญ่ ขายไปเมื่อกลางเดือนมีนาคม และ รุ่น 2 ที่ตำบลห้วงน้ำขาว ตัดได้กลางเดือนเมษา และ รุ่น 3 ปลายพฤษภาคม ทุกแปลงจะปลูกทุเรียนหลายๆ สายพันธุ์ แต่ที่เหมือนกันคือ ทำคุณภาพ เพราะทุเรียนแต่ละสายพันธุ์มีความอร่อยต่างๆ กัน โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์เดิมๆ ของไทย เช่น หลงลับแล พวงมณี กบ หากปลูกแล้วทำคุณภาพให้ดี แนะนำให้ลูกค้ารู้จักรับประทาน ตลาดจะตามมาเอง ไม่มุ่งเน้นว่าเป็นตลาดต่างประเทศอย่างเดียว ตลาดภายในประเทศมีกำลังซื้อสูง เราไม่ควรมองข้าม” ว่าที่ ร.ต. กรีฑา กล่าว

“ทุเรียน ที่บ้านแหลมศอก ตำบลอ่าวใหญ่ เป็นทุเรียนต้นฤดู ออกผลเดือนมีนาคม เนื่องจากปัจจัยธรรมชาติ สภาพอากาศที่ติดชายทะเล 2 ด้าน อากาศโปร่งไม่ชื้น สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย แต่ต้องให้น้ำมาก เพราะรากจะอยู่หน้าดิน ดินร้อนให้น้ำมากๆ ที่โคนต้น ในสวนต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี นอกจากนั้น ต้องดูแลตั้งแต่การบำรุงต้น จนกระทั่งออกดอกและให้ผลเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้มีผลผลิตต้นฤดูในปีถัดไป เป็นวัฏจักรทุกปี” ว่าที่ ร.ต. กรีฑา เผยเคล็ดลับการทำทุเรียนต้นฤดู

ว่าที่ ร.ต. กรีฑา เล่าว่า ครอบครัวทำสวนผลไม้มาก่อน ได้ฝึกฝน เพิ่มประสบการณ์จากการเป็นผู้ช่วยพ่อกับแม่ตั้งแต่เล็กๆ และพ่อมีประสบการณ์ทำสวนมา 40 ปี ให้เรียนรู้ถ่ายทอด เมื่อโตจบปริญญาตรีเริ่มเป็นตัวแทนพ่อแม่ทำสวนอย่างจริงจังตอนอายุ 21-22 ปี ทำสวนเดิมของพ่อแม่และขยายพื้นที่ปลูกออกไปอีก 3 แปลง เมื่อแต่งงานกับคุณณัฐวรรณ ได้ช่วยกันทำทุกอย่าง เรียกว่าทำกันเป็นระบบครอบครัว จะจ้างคนงานมาช่วยตอนใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นยา และเก็บเกี่ยวเป็นช่วงๆ ทั้งนี้ ต้องวางแผนการบริหารจัดการสวนตั้งแต่ต้นฤดูกาลจนเก็บเกี่ยวเสร็จ เป็นวัฏจักรทุกๆ ปี มีขั้นตอนดูแลหลักๆ 6-7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การปลูกยกร่อง ทุเรียนจะมีโรคเชื้อรา รากเน่า โคนเน่า เกษตรกรจะกลัวมาก เนื่องจากที่ตราดอากาศชื้น ฝนตก ระยะหลังมีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง โดยการยกร่องปลูก ทำโคนต้นให้สูงไม่ให้น้ำขัง ใช้หญ้าคลุมดินไม่ให้ดินแห้ง ทั้งนี้ต้องติดตั้งสปริงเกลอร์ให้พ่นน้ำกระจายรอบๆ โคนต้น แต่ไม่ให้ถูกต้นเปียก จะทำให้เน่า ต้นอ่อนติดตั้งสปริงเกลอร์อันเดียว ต้นโตขึ้นจึงเพิ่มเป็น 3 และ 5 หัว เพื่อให้น้ำกระจายทั่วโคน แต่ไม่โดนต้นทุเรียน
2. การดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ย พ่นยา ทำใบ ดูแมลง ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องให้น้ำอย่างพอเพียงตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะที่เป็นดินปนทรายจะร้อน ต้องให้น้ำมากกว่าดินทั่วไป จึงต้องมีแหล่งน้ำที่ใช้ได้ตลอดปี จากนั้นดูแลใส่ปุ๋ยในดิน ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกสลับกัน และพ่นยาให้ปุ๋ยทางใบ ตัดแต่งกิ่ง ใบ และตรวจดูแมลงเพลี้ยไฟและพ่นยา
3. การผสมดอก หรือปัดดอก จะมีทั้งให้ติดผลโดยธรรมชาติ และการปัดดอกผสมเกสร ที่ทำอยู่จะใช้เกสรดอกกระดุมมาปัดเกสรชะนีจะช่วยให้ติดผลง่าย รูปทรงทุเรียนกลมสวย พูเต็ม ไม่ลีบ แป้วแก่เร็ว ส่วนทุเรียนหมอนทองปล่อยให้ผสมตามธรรมชาติ
4. การแต่งลูกให้เป็นรุ่นเดียวกัน โดยดูขั้วทุเรียนที่มีลูกให้จำนวนลูกเหมาะกับกิ่ง และไม่ให้ลูกเล็กไป ใหญ่ไป ถ้าขั้วใหญ่ จะไว้ 4 ลูก ขั้วเล็ก 2 ลูก จึงต้องแต่งถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุลูกเล็กๆ ได้ 30 วัน 45 วัน และ 60 วัน และเหลือเอาไว้ทดสอบดูเนื้อ 1-2 ลูก เมื่อตัดแต่งครั้งสุดท้ายจะรู้ว่าแต่ละต้นจะมีผลทุเรียนให้ขายกี่ลูก

5. การผูกเชือกโยงรับน้ำหนัก เมื่อลูกอายุประมาณ 45 วัน ต้องออกแบบการผูกโยง ใช้เชือกเหนียวๆ ผูกกิ่งที่มีลูกกับลำต้นให้แน่น เชือกนี้จะใช้แทนบันไดปีนไปตัดลูกด้วย และเมื่อเป็นลูกแล้วช่วงนี้ใช้โฟมหนาตัดเป็นชิ้นๆ รองกั้นหนามไม่ให้ลูกชนกัน จะช่วยไม่ให้หนอนเจาะเข้าไปและหนามสวย
6. การเก็บเกี่ยวผล ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว จะเริ่มนับตั้งแต่ดอกบาน และนับไป 90-100 วัน พันธุ์ชะนีกับกระดุม ส่วนหมอนทอง 100-120 วัน ส่วนใหญ่เกษตรกรจะให้ดอกบานมกราคม เร่งให้สุกภายใน 90 วัน ประมาณช่วงเดือนมีนาคม เพราะจะได้ราคาดี
7. การตกแต่งกิ่ง ใบ ใส่ปุ๋ย เมื่อเก็บเกี่ยวผลแล้ว ต้องตัดกิ่ง แขนง ที่เป็นกระโดงออกทั้งหมด เตรียมใส่ปุ๋ย บำรุงต้น ดูแลให้น้ำ เพื่อผลผลิตในปีต่อไป ถ้าทำได้เร็วผลผลิตจะออกเร็ว

“ทุกๆ คน จะช่วยกันทำ แม่และภรรยาช่วยรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งแขนง ส่วนพ่อและผมจะผสมเกสร ตัดแต่งกิ่ง มีจ้างแรงงานตอนเก็บเกี่ยว พ่นยา ปีนี้สภาพอากาศแปรปรวน ลมแรงมาก ทำให้ผลผลิตสู้ปีที่แล้วไม่ได้ เพราะช่วงมีพายุฝนทำให้ตาดอกร่วง จึงติดผลน้อย ปัญหาเรื่องน้ำเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าขาดน้ำ เนื้อข้างในสุก มีสีเหลืองแต่เปอร์เซ็นต์แป้งจะไม่ได้ ทุเรียนแก่ถ้าตัดรับประทานเอง สุกประมาณ 90% ถ้าขายส่ง 70% ทดลองดีดระหว่างร่องตามโพกให้เสียงหลวม ดูโคนหนามใหญ่ ปลายหนามแห้งเล็กไม่แข็ง บิดแยกจากกัน ร่องตาแห้ง” ว่าที่ ร.ต. กรีฑา กล่าว

อนาคต หมอนทอง ตลาดอาจตัน “เตรียมปลูกพันธุ์ใหม่ๆพันธุ์เดิมๆ ขายตลาดภายใน

ว่าที่ ร.ต. กรีฑา เล่าว่า ตนเองสามารถทำทุเรียนต้นฤดูได้ และมองเห็นว่าไม่ใช่มีเฉพาะหมอนทองเท่านั้นที่ได้ราคาดี เพราะจากสวนที่ให้ผลอยู่ทั้ง 2 แปลง ปลูกหลายพันธุ์ ที่ตำบลอ่าวใหญ่ 44 ไร่ มีกระดุม ชะนี หมอนทอง หลงลับแล ผลผลิตได้ 31 ตัน ขายได้ราคาดีทั้งหมด เกษตรกรทั่วไปคิดว่าปลูกอะไรที่ได้ผล ได้ราคา แล้วปลูกตามๆ กัน 2 ปีมานี้หมอนทองต้นฤดูราคาดีมาก เพราะตลาดส่งออกจีน ไต้หวัน ซื้อหมด กิโลกรัมละ 120-130 บาท บางคนได้ยินข่าวมาว่า ปลูกได้ต้นละแสน จึงคิดแต่จะปลูกให้มาก แต่ไม่เข้าใจว่าต้องเป็นต้นใหญ่อายุถึง 30 ปี ต้องติดลูก 200-300 ลูก ได้น้ำหนัก 9-10 ตัน จึงจะได้เงินแสน จริงๆ แล้ว ตลาดภายในน่าสนใจไม่เฉพาะพันธุ์หมอนทองเท่านั้น มีทุเรียนพันธุ์ดีของเดิมๆ หรือที่พันธุ์ลูกผสม คุณภาพดี รสชาติอร่อย เมล็ดเล็ก เนื้อเยอะ เปลือกบาง ลูกเล็กๆ 1-2 กิโลกรัม ขายทางออนไลน์ได้

“ทุเรียนที่ตำบลอ่าวใหญ่ กระดุม ชะนี หมอนทอง หลงลับแล ผลผลิตออก รุ่น 1 เดือนมีนาคมไล่เลี่ยกัน เพราะสภาพดินปนทรายและได้ลมทะเลโกรก หมอนทอง กิโลกรัมละ 120 บาท กระดุม 95 บาท ส่วนแปลงที่ตำบลห้วงน้ำขาว รุ่นแรก มีหลงลับแลต้นหนึ่ง 95 ลูก ขายได้ 40,000 บาท กิโลกรัมละ 250 บาท และ รุ่น 2 ตัดกลางและปลายเดือนเมษายน ประมาณ 1,000 ลูก เป็นพันธุ์ชะนี 500 ลูก มีพ่อค้ามาจองไว้หมดแล้ว กิโลกรัมละ 70 บาท ส่วนพันธุ์หมอนทอง 500 ลูก จะขายเอง และปลายพฤษภาคมจะมีอีกรุ่น มีพันธุ์นวลทองจันท์ หมอนทอง ถ้าเราทำคุณภาพทุเรียนรูปทรงสวย แก่จัด ทำมาตรฐานเกรดเดียวกันจะได้ราคาสูง ทุกวันนี้ตอนทุเรียนออกสู่ตลาดมากๆ พ่อค้าจะแบ่งเป็น 3 เกรด ซื้อตามเกรด เกรดดีสุดยอด 6 พูเต็ม ไต้หวันจะเหมาหมด ให้ราคาดี แต่ที่เหลือจะกด ราคาจะต่ำ” ว่าที่ ร.ต. กรีฑา บอก

“ตลาดหมอนทองที่ส่งตลาดจีนเป็นตลาดใหญ่ อนาคตอาจจะมีปัญหาอย่างลำไย เพราะปลูกกันทั่วประเทศมีปริมาณมาก หมอนทองเคยราคาตกถึงกิโลกรัมละ 20 บาท ตอนนี้พันธุ์อื่นๆ อย่างเช่น หลงลับแล ที่คุณภาพดี รสชาติอร่อย พ่อค้าส่งต่างประเทศไม่ซื้อ บอกว่าไม่มีตลาด ต่อไปเกษตรกรควรปลูกหลายๆ พันธุ์ที่รสชาติดี แปลงใหม่ที่ตำบลหนองโสน ปลูกกระดุม หลงลับแล นวลทองจันท์ สาลิกา และต่อไปจะปลูกพานพระศรี คิดว่าน่าจะขายตลาดภายในประเทศได้ เช่น ทางออนไลน์และบริการส่งให้ลูกค้า ลูกเล็กๆ ขนาด 1-2 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 250 บาท ถ้าเราทำคุณภาพให้มาตรฐาน ทุกลูกเนื้อดีหมด กำหนดเวลารับประทานถูกต้อง ตลาดจะมาหาเราเอง และกำหนดราคาได้ ปีนี้เริ่มขายให้ทางชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทย ที่นำไปขายออนไลน์ ซึ่งเป็นตลาดในประเทศแล้ว” ว่าที่ ร.ต. กรีฑา กล่าว

การปรับตัวแบบตั้งรับของเกษตรกรไทยรุ่นใหม่อย่าง ว่าที่ ร.ต. กรีฑา งาเจือ น่าจะเป็นแบบอย่างผู้ผลิตผลไม้ไทย ด้วยความมุ่งมั่นทำทุเรียนคุณภาพสร้างความต่าง ให้ตลาดเดินเข้ามาหาเพื่อเกษตรกรจะได้เป็นผู้กำหนดราคาเอง…ชื่นชมกับความสำเร็จของเกษตรกรเงินล้าน

หลายคนมีความฝันถึงอนาคตว่าต้องการมีชีวิตแบบบ้านไร่ ทำสวน ปลูกต้นไม้ ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยึดอาชีพเป็นเกษตรกร สามารถเลี้ยงชีพตัวเองได้ สร้างรายได้ยั่งยืนและมีความสุข บนพื้นที่ของตัวเอง คุณสายสุนีย์ สุวรรณดี หรือป้าน้อย เจ้าของฟาร์มสายทอง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ของจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นสวนที่ปลูกมัลเบอร์รี่หรือลูกหม่อนสด ปลอดสารเคมี พร้อมการแปรรูปครบวงจร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนทำตามความฝันจนประสบความสำเร็จ

ป้าน้อย เล่าว่า เดิมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัครเล่นคาสิโน ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเกษตร อยู่กรุงเทพฯ ก็ทำอาศัยเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจค้าขาย แต่ความฝันของป้าน้อยคืออยากเป็นคาวเกิร์ล เพราะชอบดูหนังคาวบอยของตะวันตก เมื่อ 30 ปีก่อน จึงตัดสินใจซื้อที่ดิน แถวจังหวัดสระบุรี ก่อนจะย้ายมาทำเกษตรในพื้นที่แห่งนี้

ซึ่งก่อนที่จะมาปลูกมัลเบอร์รี่ ปลอดสารเคมีแบบนี้ พื้นที่นี้ก็เคยผ่านการปลูกกระถิ่น การเลี้ยงโคนม มาก่อน แต่การเลี้ยงโคนม เป็นอาชีพที่เหนื่อยมากซึ่งก็ทำมาหลายปีกว่าจะหยุดลง แล้วหันมาปลูกมัลเบอร์รี่แทน โดยเริ่มจากมีต้นแม่พันธุ์อยู่แค่เพียง 2 ต้นเท่านั้น ซึ่งลูกสาวซื้อมาให้จากเชียงใหม่ เอามาปลูกที่สวนช่วงที่เลี้ยงโคนม แต่ก่อนนั้นก็ปลูก ก็คือแค่ปลูกอยู่แบบนั้น ไม่ออกลูก ออกผล หลายปีก็ไม่มีผลผลิต มีอยู่ช่วงหนึ่งจึงเอามีดไปฟันกิ่ง ผ่านไปอีกไม่กี่สัปดาห์ ปรากฏว่าต้นมัลเบอร์รี่ให้ผลผลิต นับไปอีกเดือนกว่าผลจะสุก จึงเกิดสนใจ บอกลูกสาวว่า ช่วยหาหนังสือมาให้อ่านหน่อย เพราะอยากรู้ จึงได้ศึกษาและสังเกตดูถึงลักษณะของต้นมัลเบอร์รี่ ว่ามีลักษณะหรือการดูแลอย่างไร

จึงทราบว่า การดูแลต้นมัลเบอร์รี่ไม่ยุ่งยากมาก ทั้งยังสามารถขยายกิ่งพันธุ์ เพื่อใช้ในการปลูกต่อได้อีกด้วย และวิธีการก็ไม่ได้ยาก โดยใช้วิธีการตอนกิ่ง ก็สามารถนำเอากิ่งที่ตอนนั้นไปลงปลูกและทำเป็นสวนมัลเบอร์รี่ได้ อีกทั้งยังพบว่าเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น กรดโฟลิก มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นแอนโทไซยานิน เควอซิติน และสามารถทานได้ทั้งผลสดและแปรรูป ให้พลังงานต่ำ”

แต่กว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ ป้าน้อย บอกว่า ก็ไม่ได้ง่ายเท่าใดนัก อาศัยให้ต้นไม้ช่วยสอนด้วยส่วนหนึ่ง และหาความรู้เพิ่ม ด้วยเพราะความรู้น้อย จึงต้องลองผิดลองถูกไป ผลผลิตที่ได้ก็แจกฟรี ทำฟรีไป เพื่อดูทิศทางตลาด ซึ่งต่อมาตลาดก็ให้การยอมรับอย่างมาก นำไปสู่การแปรรูปมัลเบอร์รี่ส่งขาย จากผลสดไปสู่ซอสมัลเบอร์รี่, แยมมัลเบอร์รี่, ไวท์มัลเบอร์รี่, น้ำมัลเบอร์รี่สกัด 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการแปรรูปในฟาร์มสายทองแบบครบวงจร ได้มาตรฐาน ปลอดภัยไร้สารเคมีตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงการแปรรูป