การเพาะเลี้ยงลูกกบทุ่ง ของบุญหย่วน กบที่ผมเลี้ยงเป็นกบทุ่ง

ตามธรรมชาติเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีคนต้องการลูกกบไปเพาะเลี้ยงมาก ผมจึงเพาะเลี้ยงเพื่อเอาลูกกบขาย ใช้เวลา 1-1 เดือนครึ่ง ก็ได้เงิน แต่กว่าจะเพาะลูกกบได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ที่ศึกษาเรียนรู้จากธรรมชาติจึงประสบความสำเร็จ

คุณบุญหย่วน เล่าว่า เขาเริ่มเลี้ยงกบจากการจับลูกอ๊อดตามธรรมชาติ มาเลี้ยงประมาณ 1 ปี กบจะโตพร้อมผสมพันธุ์และวางไข่ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ช่วงปลายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ฝนเริ่มตก กบจะร้องส่งเสียงเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ จำเป็นต้องเตรียมบ่อ/ถัง โดยใส่น้ำให้สูงประมาณ 10 เซนติเมตร หาใบลิ้นจี่สัก 4-5 เคล็ดใส่ลงในบ่อ/ถัง

จากนั้นนำกบพ่อ-แม่พันธุ์ที่จับคู่กันได้แล้ว ลงบ่อ/ถังที่เตรียมไว้ พอรุ่งขึ้นต้องตื่นแต่เช้ามืดประมาณตี 5 สังเกตจะมีกลุ่มไข่ของกบติดอยู่ที่ใต้ใบลิ้นจี่ ให้นำเอาพ่อ-แม่พันธุ์กบออกจากบ่อ/ถัง ปล่อยไว้ 1 วัน ไข่ก็จะเป็นตัวลูกอ๊อดและเลี้ยงด้วยไข่ตุ๋น เมื่อเป็นตัวประมาณ 20 วัน ให้นำแผ่นโฟมใส่ลงบ่อเพื่อให้กบมีที่เกาะ เลี้ยงประมาณ 1 เดือน ก็จำหน่ายตัวละ 4 บาท โดยพ่อ-แม่พันธุ์แต่ละคู่จะออกไข่ประมาณ 2,000-2,500 ตัว ปีหนึ่งสามารถเพาะลูกกบได้ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝน (มิถุนายน-กรกฎาคม) และช่วงปลายฝน (สิงหาคม)

ว่าที่ร้อยตรี ดร.สมสวย ปัญญาสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรผสมผสาน เป็นพื้นฐานการสร้างคุณภาพชีวิตของเกษตรกร สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และสามารถทำได้จริง

ตำรวจเชียงใหม่ ปลูกมะละกอ ด.ต. ศศิวัฒน์ ทรัพย์วรธนา (ดาบวอน) ตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 ตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่ 496/2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ด.ต. ศศิวัฒน์ ทรัพย์วรธนา (ดาบวอน) ผู้หลงรักในการทำเกษตร มองดูแล้วอาจห่างไกลกับอาชีพรับราชการตำรวจอยู่มาก แต่ด้วยความที่ใจรักและมีพื้นเพพ่อแม่ทำสวนทำไร่ตั้งแต่เด็ก จึงมีแนวคิดที่จะทำสวนเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ และอีกเหตุผลที่ทำคือ ลำพังเงินเดือนตำรวจน้อยนิด ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวให้สบายได้ ต้องเป็นหนี้สหกรณ์ นำเงินมาใช้จ่ายหลายส่วน จึงอยากหาอาชีพเสริม ด้วยความที่พอมีความรู้ด้านการเกษตรติดตัว ประกอบกับมีผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกมะละกอให้คำแนะนำ จึงตัดสินใจใช้พื้นที่ที่เคยซื้อไว้เมื่อ 10 ปีก่อน ปลูกมะละกอพันธุ์เรดมาลาดอร์ จำนวน 5 ไร่ ปัจจุบันปลูกได้ผลดี ผลผลิตไม่พอขาย ลูกค้าต้องต่อคิวซื้อ ด้วยความที่มีรสชาติหวาน หอม อร่อย ทำเงินดี คิดง่ายๆ มะละกอ 3 วัน เก็บขายทีละ 2-3 เข่ง ก็ได้เงินหลายพันบาทแล้ว

ดาบวอน ตำรวจหนุ่มผู้ขยันขันแข็ง เดิมมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครสวรรค์ แต่ต้องมารับราชการตำรวจที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลากว่า 20 ปี หลังออกเวรดาบวอนจะช่วยภรรยาขายก๋วยเตี๋ยวที่หอพักในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีลูก 1 คน เงินเดือนตำรวจไม่พอเลี้ยง 3 ชีวิต จึงตัดสินใจปลูกมะละกอเป็นอาชีพเสริมอีกทาง “ลำบากไม่กลัว กลัวอด” ซึ่งการทำสวนมะละกอกำลังไปได้ดี ไปดูกันว่าดาบวอนมีเทคนิคการปลูกอย่างไร ที่ทำให้มะละกอขายดิบขายดี ลูกค้าต้องต่อคิวซื้อ ทั้งๆ ที่ก็สามารถหาซื้อกินได้ทั่วไป

ปลูกมะละกอ ให้หวานอร่อย ลูกค้าติด

ดาบวอน ปลูกมะละกอพันธุ์เรดมาลาดอร์ จำนวน 5 ไร่ เริ่มปลูกได้ 3 ปีแล้ว แรกๆ ปลูกทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ดูแลอะไรมาก ถึงเวลาผลผลิตออก ลองเก็บไปขาย ปรากฏว่าลูกค้าติด จึงเริ่มหันมาปลูกจริงจัง ดาบวอน บอกว่า ตนโชคดีตรงพื้นที่ปลูกดินดี ค่า pH ของดินเหมาะสมกับพืชชนิดนี้ การดูแล ใส่ปุ๋ยให้น้ำสม่ำเสมอ รสชาติถึงจะได้กลมกล่อม ลูกค้าจะชอบขนาดลูกละ 1 กิโลกรัม การดูแลผิวอยู่ที่การพ่นยา ถ้าพ่นสม่ำเสมอลูกจะไม่มีเชื้อรา ลูกจะเนียนสวย

มะละกอพันธุ์เรดมาลาดอร์ มีลักษณะลูกเรียว ผิวสวย เนื้อแน่น หวาน การปลูกไม่ยาก ถางหญ้าเตรียมแปลงให้สะอาด ไม่ต้องยกร่องใดๆ เพราะสภาพพื้นที่เป็นเนินไม่ต้องไถ วัดระยะให้ได้ 2.5 เมตร แล้วใช้ไม้ปัก ขุดหลุมลึก 30 เซนติเมตร กว้าง 30-40 เซนติเมตร ความห่างระหว่างต้น 2.5×2.5 เมตร

เจ้าของพรวนดินแล้วใส่ปุ๋ยคอก คือ ขี้หมู ขี้หมูจะเข้ากับมะละกอได้ดี ใส่แล้วมะละกอจะผิวสวย รสชาติอร่อย และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองพื้น หลังจากเตรียมดินใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเสร็จ นำต้นพันธุ์ที่เพาะไว้ลงหลุมปลูก ที่สวนดาบวอนใช้วิธีเพาะต้นในถุงดำ ใช้เวลา 45-60 วัน 1 หลุม ลงได้ 3 ต้น เพราะมะละกอจะมีเพศอยู่ คือ ตัวผู้ ตัวเมีย และสมบูรณ์เพศ (กะเทย) บางหลุมเป็นตัวเมียทั้ง 3 ต้น ต้องตัดทิ้งแล้วปลูกใหม่ คือเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าตอนปลูกเป็นเพศอะไร จะรู้เมื่อตอนออกดอก ใช้เวลา 3 เดือน นี่จึงเป็นเหตุผล ที่ 1 หลุม เราต้องปลูก 3 ต้น ดาบวอนจึงใช้วิธีถ้าหลุมไหนมีต้นกะเทย 2 ต้น ขึ้นไป จะตอนกิ่ง 2 ต้นนั้นไปปลูก วิธีนี้ชัวร์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องห่วงเรื่องกลายพันธุ์ มะละกอปลูกได้ทั้งปี

การดูแลใส่ปุ๋ย

หลังจากปลูกเสร็จเรียบร้อย ใส่ปุ๋ยรดน้ำ พรวนดิน เพราะว่าจะทำให้รากขยายได้เร็ว ถ้าไม่พรวนดินรากจะชอนไชได้ยากกว่า และถ้าฝนตกมาดินชุ่มระบบรากก็ไม่มีปัญหา เพราะว่ามันกระจาย

ปุ๋ยทางใบ พ่นปุ๋ยฮอร์โมนทางใบเสริม ให้พืชดูดซึมอาหารทั้งทางรากและทางใบ

ปุ๋ยทางราก 15 วัน ใส่ 1 ครั้ง บางช่วงเว้นนาน 1 เดือน ใส่ครั้ง ไม่เน้นให้เยอะ เน้นให้พืชได้กินไปเรื่อยๆ

ระบบน้ำ หน้าฝนไม่ต้องรดน้ำ แต่ช่วงหน้าแล้งให้น้ำโดยระบบน้ำหยด ได้ผลดี ความถี่ในการรดน้ำ 4 วัน ต่อครั้ง เปิดนาน 2 ชั่วโมง ถือว่ากำลังดี มะละกอเป็นพืชที่ชอบอากาศที่ถ่ายเทได้ดี มีลมพัด ชอบดินที่ไม่อุ้มน้ำเกินไป คือ ดินร่วน ช่วงหน้าฝนจะไม่มีปัญหาเรื่องมะละกอเน่าตาย เพราะดินเราร่วน

เน้นป้องกัน จะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาก่อนแล้วแก้ ถ้าทำอย่างนี้เมื่อโรคระบาดจะรักษาไม่ทัน

การป้องกัน ไม่มีอะไรมาก เพียงพ่นยาบำรุง แต่ด้วยความที่สวนของดาบวอนเป็นพื้นที่เนิน มีลมพัดตลอด จึงได้เปรียบเรื่องโรค โรคจะเกิดน้อย จะมีแต่เพลี้ยแป้ง หากมีก็พ่นยา ไม่ยาก ใช้อินทรีย์ชีวภาพจะมีสูตรของดาบวอนเอง ถือว่าได้ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจ

ลงทุนหลักพันต่อไร่ เงินทุนน้อยสามารถทำได้

ดาบวอน บอกว่า มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย เพียง 8 เดือน ก็ให้ผลผลิต 3 วัน เก็บขาย 1 ครั้ง เก็บครั้งหนึ่ง 2-3 เข่ง สร้างรายได้เรื่อยๆ ครั้งละ 2,000-3,000 บาท ถือว่าเยอะกว่าเงินเดือนตำรวจ

1 ไร่ ลงทุนเพียง 3,000 บาท ซื้อเมล็ดพันธุ์ 1 กระป๋อง ราคาประมาณ 1,000 บาท สามารถปลูกได้ 3-4 ไร่ ค่าปุ๋ยสูตรประมาณ 1,500 บาท บวกค่าน้ำ ค่าไฟ นิดหน่อย ส่วนใหญ่ลงแรงมากกว่า ถ้าหน้าแล้งจะต้องมีเครื่องปั่นไฟเพื่อปั๊มน้ำขึ้นมา มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1,000 บาท สรุปแล้วค่าลงทุนถือว่าน้อยมาก ค่ายารักษาโรคแทบไม่มี เพราะสวนยังไม่มีปัญหาไวรัส

เก็บแบบละเมียดละไม ลูกไม่ช้ำ ลูกค้าชอบ

วิธีเก็บมะละกอของดาบวอน จะใช้ไม้ไผ่ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ทำเป็นง่ามที่เป็นซี่ตรงปลายแล้วถ่างให้มีขนาดกว้างพอดีกับลูกมะละกอ เอาผ้า 2-3 ชั้น สวม เก็บทีละลูก เก็บแบบนี้ไม่มีช้ำ ลูกค้าชอบ

การตลาด เปิดท้ายรถกระบะขายข้างทาง ลูกค้าต่อคิวซื้อ

ก่อนปลูกดาบวอนไม่ได้มีการหาตลาดมาก่อน ใช้วิธีคิดที่ว่ามะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก

“ผมคิดว่า ถ้าผมทำได้ วันหนึ่งจะทำเงินกี่หมื่นก็ได้ อีกอย่างบริเวณที่ผมทำสวน ชาวบ้านจะปลูกลำไยเป็นส่วนมาก ผมจึงถือโอกาสเปลี่ยนมาปลูกมะละกอ ตอนแรกปลูกไม่เยอะ เพราะคิดจะปลูกเล่นๆ แต่เผอิญว่ากลับได้ผลดี ขายลูกละ 20-30 บาท ถ้าส่ง กิโลกรัมละ 15 บาท ราคาขายถือว่าถูกกว่าในท้องตลาด อย่างปีที่แล้วลองตอนกิ่งแล้วเอามาขายข้างทาง ขายกิ่งละ 120-150 บาท ลูกค้าก็สั่งมาเยอะ ตอนนี้พูดง่ายๆ ว่าทั้งมะละกอผลสุกและกิ่งตอน ของไม่พอขาย สร้างรายได้อย่างต่ำเดือนละ 20,000-30,000 บาท ถ้าบำรุงดีกว่านี้ จะได้เยอะกว่านี้” ดาบวอน กล่าว

ฝากถึงคนที่มีฝัน ไม่ต้องรอถึงเกษียณก็ทำได้

“การทำเกษตร ผมถือว่าเป็นความสุข เราเป็นข้าราชการบางคนคิดว่าต้องรอเกษียณถึงจะออกมาทำ แต่ผมอายุ 43 ผมคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องรอถึงบั้นปลาย เรามีเวลา เราหาเวลาว่างมาทำ ทำไปทีละหน่อย แรกๆ อาจยังไม่เห็นผล ทำไปสักพักเราจะรู้ว่าพื้นที่ตรงนั้นมันเหมาะแก่การปลูกอะไร ตลาดต้องการอะไร เราก็ลงมือทำ พอทำแล้วก็ได้ผลชัดเจน อีกหน่อยปีหน้าคิดว่าจะลุยกว่านี้ ตอนนี้คิดว่ามาถูกทางแล้ว” ดาบวอน กล่าว

โดยธรรมชาติของผักกูดที่มีลักษณะเหมือนเฟินคือชอบขึ้นอยู่ที่ริมน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง มีใบเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ขณะที่ใบยังอ่อนปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย ตรงส่วนยอดอ่อน คือส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร มีสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัดทำให้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่

นอกจากนั้น ยังเป็นผักที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสภาวะแวดล้อม กล่าวคือ บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นใหม่เด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กในตัวสูง ดังนั้น เมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์มากมายดังที่กล่าวข้างต้น

อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะริมแม่น้ำเพชรบุรีเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ชาวบ้านหันมายึดอาชีพปลูกผักกูดจำหน่าย อาจเป็นเพราะความที่อยู่ใกล้แม่น้ำเพชรบุรีแล้วยังมีคุณสมบัติของดินที่เหมาะสมจึงทำให้สามารถปลูกผักกูดได้เป็นอย่างดี

อย่างกรณีของสามี-ภรรยาคู่นี้ คือ คุณพูนผล ศรีสุขแก้ว และคุณธนพร (ภรรยา) อยู่บ้านเลขที่14 หมู่ 6 ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 081-4338310 อดีตเคยปลูกมะนาวสร้างรายได้ จนเวลาต่อมาเส้นทางการปลูกมะนาวดูจะไม่ราบรื่นเนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทั้งสองไม่อาจแบกรับภาระเหล่านั้นได้อีกต่อไป จนต้องเปลี่ยนมาเริ่มชีวิตเกษตรกรรมใหม่ด้วยการปลูกผักกูด

คุณพูนผล ผู้เป็นสามีบอกว่า ความจริงตอนแรกปลูกมะนาวเป็นรายได้ ต่อมาภายหลังมีปัญหาการปลูกหลายอย่างทั้งต้นทุน ค่าแรง และโรค จึงเลิกปลูกมะนาวแล้วไม่นานพบว่าเพื่อนบ้านมีการปลูกผักกูดกันเลยโค่นมะนาวแล้วหันมาปลูกผักกูดเป็นรายได้หลัก

คุณธนพร บอกถึงความเป็นมาที่นำมาสู่การปลูกผักกูดเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้เมื่อ 7 ปีก่อนว่า เธอและครอบครัวชอบรับประทานผักกูด เวลาต้องการบริโภคจะต้องไปหาซื้อตามตลาด ต่อมาเห็นว่าถ้าปลูกเองแทนการซื้อจะประหยัดค่าใช้จ่าย จึงตั้งใจปลูกผักชนิดนี้ไว้เพื่อรับประทานในครัวเรือน

“เห็นว่าเพื่อนบ้านปลูกกันไม่ยากเลยหามาปลูกไว้ โดยเรียนรู้วิธีการปลูกและการดูแลจากเพื่อนบ้านที่ปลูกแล้วประสบความสำเร็จมาก่อน พอนานไปผักกูดมีการแตกพันธุ์ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วทำให้กินไม่ทันเลยเก็บไปขายตามร้านอาหาร และตลาดนัด”

เธอบอกว่า สมัยก่อนมีชาวบ้านไปเก็บผักชนิดนี้ที่ขึ้นตามริมน้ำแล้วนำไปขายที่ตลาดสด ราคากำละ 5 บาท เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีชื่อพันธุ์ ภายหลังที่คุณพูนผลได้พาเดินชมแปลงปลูกผักกูดเขาเล่าว่าได้ช่วยกับภรรยาปลูกผักกูดในพื้นที่ 5 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ พร้อมกับปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ เงาะโรงเรียน,ทุเรียน,กล้วยเล็บมือนาง และปาล์มน้ำมัน จำนวน 300 กว่าต้น ซึ่งปาล์มที่ปลูกมีสองรุ่น รุ่นแรกมีอายุปีกว่า อีกรุ่นได้ 6 เดือน เขาบอกว่าคงต้องรออีกสัก 2 ปีจึงจะมีรายได้จากปาล์ม ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าราคาดีแค่ไหน

“กล้วยเล็บมือนาง ไม่ได้มีประโยชน์แค่การบังร่มเงาให้แก่ผักกูดเท่านั้น แต่ยังสร้างรายได้โดยนำผลผลิตไปขายกิโลกรัมละ 8-10 บาท ถึงแม้ราคาขายดูจะไม่มากนัก แต่ยังถือว่านำไปเป็นค่าน้ำได้

เงาะโรงเรียนปลูกไว้ประมาณ 30 ต้น เมื่อก่อนคิดว่าจะปลูกเงาะเป็นหลัก แต่ภายหลังเปลี่ยนใจเลยโค่นไปหลายต้น ทั้งนี้เนื่องจากรายได้จากเงาะมีเพียงปีละครั้งเท่านั้น ส่วนการเก็บผักกูดขายมีรายได้ทุกวัน” คุณพูนผลบอก

ด้านการดูแลบำรุงรักษาคุณธนพรบอกว่าเนื่องจากมีการปลูกผักกูดจำนวนมาก จึงมีการใช้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง ครั้งละหนึ่งกระสอบ (50 กิโลกรัม) นอกจากนั้น ยังใช้ปุ๋ยหมักจากขี้ไก่ ขี้วัว จะใส่ครั้งละ 10 กว่าตัน โดยเทใส่ในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อให้พืชชนิดอื่นได้ประโยชน์ด้วย ใช้วิธีหว่านแล้วพ่นน้ำตาม

“เนื่องจากเป็นผักที่ต้องใช้ยอดขาย ดังนั้นถ้าช่วงใดที่ยอดแตกช้าจะเน้นใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ยอดแตกออกมา พอเวลา 7 วันให้หลังยอดจะแตกออกมาทันที”

ส่วนเคมีเธอเปิดเผยว่าอาจต้องใช้บ้างกรณีที่จำเป็นเพื่อป้องกันเชื้อราหรือป้องกันแมลงและหนอน เช่น ไตรโคโดมา ใช้กันเชื้อราขี้ไก่ตามรากและบิวเวอเรีย แต่ทั้งนี้ยาที่ใช้เป็นการทำเองตามแนวทางการแนะนำของเกษตรอำเภอ

ศัตรูพืชที่ทำให้เกิดความเสียหาย

คุณธนพร บอกว่า ตั้งแต่ปลูกผักกูดมาแมลงศัตรูพืชที่พบแล้วมักสร้างความเสียหาย เช่น เพลี้ยไฟ ซึ่งจะเจอเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง ได้แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ยาแลนเนท เป็นการผสมใช้แบบอ่อนมาก ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อยา 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 10-20 ซีซี ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าการใช้พ่นในถั่วหรือแตง

“อย่างบิวเวอเรีย ผสมกับน้ำ ในอัตรา 4 ถุง ต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วใช้ฉีดพ่นป้องกันเพลี้ยไฟและหนอน ส่วน ไตรโคโดมา ผสมกับน้ำ ในอัตรา 4 ถุง ต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วใช้ฉีดพ่นป้องกันเชื้อรา เมื่อมีการฉีดยาป้องกันเพลี้ยในแถวไหนกลุ่มไหนแล้วจะยังไม่เก็บทันที จะต้องปล่อยทิ้งไว้สัก 4 วัน จึงจะเก็บ และการฉีดพ่นยาจะทำปีละ 1-2 ครั้ง เท่านั้น แต่ถ้าหากไม่เกิดการแพร่ระบาดจะไม่ฉีดยาเลย”

ระบบน้ำใช้สปริงเกลอร์ โดยวางระยะห่างกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ปล่อยน้ำวันเว้นวัน ครั้งละ 1 ชั่วโมง เปิดครั้งหนึ่ง จำนวน 30 หัว แต่ละแปลงจะเปิดน้ำทิ้งไว้สัก 1 ชั่วโมง แล้วย้ายไปทีละแปลงวนไปจนครบ

การเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่าย

คุณธนพร ให้รายละเอียดการทำงานว่า โดยปกติเธอและสามีจะทำงานเป็นหลักเพียงสองคนเท่านั้น ปกติถ้าใช้เวลาเก็บ 1 ชั่วโมง ได้ผักกูด 10 กิโลกรัม วันใดต้องเก็บถึง 70 กิโลกรัม จะเริ่มตั้งแต่เช้า แต่ถ้าเก็บสัก 30 กิโลกรัม จะเริ่มเก็บในช่วงบ่ายไปจนถึงสักสี่โมงเย็น หรือหากลูกค้าต้องการทันทีก็สามารถเก็บให้ได้ แต่ควรมีสปริงเกลอร์ฉีดพ่นให้น้ำตลอด

“หลังจากเก็บจากต้นแล้ว ให้มัดเป็นกอแล้วนำไปแช่น้ำทันที แช่สักครู่ ประมาณ 5 นาที ห้ามแช่นานเกินไป เพราะผักจะสุกมีสีแดง จากนั้นให้เก็บขึ้นมาวางเรียงกัน ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดคลุมผักกูดที่วางเรียงกันไว้รอลูกค้ามารับ แต่ถ้าวางไว้โดยไม่คลุมผ้าผักจะเหี่ยวแล้วขายไม่ได้”

เธออธิบายต่อว่า แต่ละต้นที่เก็บยอดอ่อนที่ใช้งานออกไปแล้ว ยอดที่อยู่ติดกันซึ่งมีลักษณะโค้งงอจะเป็นยอดที่จะสามารถเก็บได้ในครั้งต่อไปอีกราว 3-4 วัน ดังนั้น ผักกูดแต่ละยอดในแต่ละต้นจะเก็บเว้นระยะเวลา 3-4 วัน แต่ไม่ควรเลยวันที่ 5 เพราะจะบาน

“แต่ละต้นจะมีใบจำนวน 5 ใบ ถ้าพบใบแก่หลายใบ เช่น มีจำนวนถึง 10 ใบ ควรตัดหรือหักทิ้งเสีย โดยไม่ต้องขนไปทิ้งที่อื่น แต่ให้ทิ้งไว้ที่บริเวณนั้นเพื่อใช้คลุมความชื้นและเป็นปุ๋ย การตัดใบแก่ออกเพื่อปล่อยให้ยอดอ่อนที่กำลังโตเจริญได้อย่างรวดเร็ว มีบางคนไม่ยอมหักใบแก่ทิ้งจึงทำให้ยอดแตกช้าและมีขนาดเล็ก”

คุณธนพร บอกต่ออีกว่า ผักกูดขยายพันธุ์ด้วยการดึงต้นอ่อนที่เธอเรียกว่าลูกที่แทงขึ้นมาจากพื้นข้างต้นแม่ออกด้วยความระมัดระวัง แล้วสามารถนำต้นอ่อนไปปลูกได้เลย ผักกูดเป็นพืชที่ตายยาก ที่สำคัญขอให้มีน้ำแล้วอย่าไปโดนแดดจัด

นอกจากนั้น ยังเพิ่มเติมด้วยว่าควรมีการดูแลเอาใจใส่บริเวณที่ปลูกต้องคอยหมั่นเดินดูแล้วดึงเศษวัชพืชทิ้ง แต่ห้ามใช้มีดฟัน เพราะอาจไปโดนต้นอ่อนที่กำลังแตกออกมา ทั้งนี้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งสามารถเก็บยอดไปขายได้ กินเวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือน

เธอบอกว่า ผักชนิดนี้สามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ บาคาร่าออนไลน์ แต่สิ่งสำคัญควรให้น้ำอย่างเต็มที่และควรหาร่มเงาด้วย ส่วนความสมบูรณ์ของดินที่มีความเหมาะนั้นควรเป็นบริเวณพื้นที่เป็นดินทรายสัก 70 เปอร์เซ็นต์ และช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่มีผักกูดมากเมื่อผักกูดถูกฝนจะแตกยอดอ่อนกันอย่างคับคั่ง เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงมาก ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผักชนิดนี้

เก็บแล้วนำไปขายใคร ที่ไหนบ้าง

เจ้าของสวนผักกูดอธิบายถึงวิธีการเก็บการเก็บผักกูดไปขายว่าเพียงแค่เด็ดยอดที่มีความยาวจากปลายถึงตำแหน่งที่จะตัด ประมาณ 30-40 เซนติเมตร จะเก็บทุกวัน และภายในอาทิตย์หนึ่งต้องมีผักกูดส่งให้ลูกค้าประมาณ 250 กิโลกรัม เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละประมาณ 30 กิโลกรัม

“ราคาจำหน่ายจากสวนไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง อย่างปีหนึ่งๆ ราคาจะทรงเท่าเดิม ประมาณ 40-50 บาท ต่อกิโลกรัม แต่อาจมีการปรับขึ้นบ้างในช่วงอากาศหนาว เพราะผักจะแตกยอดช้ามาก ส่วนราคาจำหน่ายของแม่ค้า ประมาณ 80-100 บาท ต่อกิโลกรัม”

สำหรับตลาดจำหน่ายผักกูดของคุณธนพรมีด้วยกันจำนวน 3 แหล่ง คือ ร้านอาหารในรีสอร์ต,แม่ค้าในตลาดสด และแม่ค้าจากกรุงเทพฯ ซึ่งรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 250 กิโลกรัม หรือเดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ตัน และจะมีรายได้ถึงเดือนละ 4 หมื่นบาท

“อย่างเมื่อก่อน ยังมีผลผลิตน้อยไม่กล้ารับมากก็แค่ส่งละแวกแถวแก่งกระจานเท่านั้น แต่ภายหลังที่ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกแล้วสามารถเพิ่มจำนวนต้นขึ้นมาอีก จึงเริ่มรับยอดสั่งจากแม่ค้าด้านนอก ถ้าคราวใดที่แม่ค้าต้องการจำนวนมากและเกินขีดกำลังการผลิตที่ทำได้ อาจต้องร่วมกับชาวบ้านที่ปลูกรายอื่นด้วย”

ปัจจุบัน คุณธนพร ไม่ได้เป็นเพียงผู้ปลูกผักกูดรายหนึ่งในอีกกว่าสิบรายในพื้นที่แก่งกระจานเท่านั้น เธอยังทำหน้าที่เป็นหมอดินอาสา แล้วยังเป็นเกษตรกรที่ขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปี 2554 ซึ่งเป็นการรับรองโดยสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 กรมพัฒนาที่ดิน

เจ้าของสวนผักกูดเปิดเผยอาหารที่ร้านในรีสอร์ตที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีนำไปใช้ผักกูดปรุงเป็นเมนูยอดฮิตของลูกค้า ทำให้ติดใจสั่งกันเป็นประจำ เช่น แกงส้ม ผัดน้ำมันหอย ยำผักกูด หรือแม้แต่รับประทานดิบคู่กับน้ำพริกชนิดต่างๆ

“อย่างผักกูด 1 กิโลกรัม สามารถนำไปทำอาหารขายได้หลายประเภท เช่น ผัดน้ำมันหอย ราคาจานละ 100 บาท ยำผักกูด จานละ 150 บาท หรืออย่างแกงส้มผักกูด หม้อละ 150 บาท”

หากใครสนใจต้องการปลูกเพื่อให้แพร่ขยายทั่วไป ลองโทรศัพท์ไปพูดคุยกับ คุณธนพร ได้ที่ 081-433-8310 เธอบอกว่ายินดีให้คำแนะนำการปลูกสำหรับผู้ที่สนใจจริง