การเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวทั้งพันธุ์ข้าวคุณภาพดีการแปรรูป

ผลิตภัณฑ์ภายใต้รูปแบบต่างๆ ในชื่อ “เขียบนคร” ทางศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบได้มีการออกบู๊ธจำหน่ายตามงานของทางพาณิชย์ จังหวัดมหาสารคาม และจำหน่ายในช่องทางต่างๆ
การสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงการตลาด และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ ดังนี้
3.1 สร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

– ทำข้อตกลงการรับซื้อข้าว (MOU) กับโรงสีข้าวตามที่พาณิชย์จังหวัดมหาสารคามจัดหาให้

– ทำข้อตกลงการรับซื้อข้าว (MOU) กับมหาวิทยาลัยมหาสารคามและโรงพยาบาลกันทรวิชัย

– ได้ปรึกษาเรื่องการใช้อุปกรณ์การผลิตร่วมกับกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนและกลุ่มนาแปลงใหญ่ของจังหวัดมหาสารคามเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ออกบู๊ธจำหน่ายภายในงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

กระสอบเมล้ดพันธุ์ข้าว
3.2 การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางเพจประจำกลุ่มบนสื่อโซเชียลเฟซบุ๊กให้เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกในชื่อ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ การพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ

– จัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการและการดำเนินงานของศูนย์ให้บริการสมาชิกตามความจำเป็น

– จัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการรถเกี่ยวข้าวบ้านเขียบ

– จัดตั้งกลุ่มการใช้รถอัดฟางศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ

– จัดตั้งกลุ่มการใช้รถไถนา ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ/นาแปลงใหญ่

– จัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการฉางข้าวชุมชนบ้านเขียบ/ นาแปลงใหญ่ ความสามารถในการบริหารและจัดการสถาบัน

การบริหารจัดการศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
1.1 มีสมาชิกเริ่มแรกเมื่อจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 36 ราย ปัจจุบันมีสมาชิก 200 ราย และได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ของกรมการข้าว ในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่เพาะปลูก 3,000 ไร่

1.2 มีคณะกรรมการด้านต่างๆ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ข้าวชุมชน คณะกรรมการตรวจแปลงและคณะกรรมการดูแลเครื่องจักรกล

1.3 จัดทำโครงสร้างการบริหารงาน (ICS) ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบเพื่อสร้างกลไกควบคุมการปฏิบัติและการควบคุมคุณภาพผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิก

1.4 มีคณะกรรมการในการตรวจสอบแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิก

1.5 กำหนดบทบาทและหน้าที่คณะกรรมการอย่างชัดเจน

1.6 จัดทำระเบียบข้อบังคับศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ

1.7 มีการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่องและกำหนดให้มีการประชุมใหญ่สามัญสมาชิก ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี ผลการดำเนินงาน
2.1 การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ปริมาณผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตลอดทั้งปีมีผลผลิต 1,600 ตัน เป็นเมล็ดพันธุ์ จำนวน 150 ตัน

2.2 การกระจายเมล็ดพันธุ์มีแผนผลิตและกระจายให้สมาชิก

– มีการวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว

– การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดำเนินการในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการควบคุมคุณภาพการปะปนพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ

– ใช้เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายจากกรมการข้าว

– มีการบริหารจัดการแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และการจัดการในด้านต่างๆ ได้แก่ การวางแผนการผลิตการจัดหาปัจจัยการผลิต การปลูกข้าวที่ถูกวิธี การตรวจแปลงการตัดข้าวพันธุ์ปนในระยะต่างๆ การดูแลแปลงนา การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การทำความสะอาดเมล็ด การตากลดความชื้นการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ การบรรจุและการเก็บรักษา การกระจายพันธุ์และการจำหน่าย

การถ่ายทอดเทคโนโลยี
3.1 จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง

3.2 จัดกิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 3 ครั้ง

ตลอดช่วงระยะเวลาของการผลิตข้าว

3.3 จัดอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ตามระบบนาแปลงใหญ่

3.4 เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและการบริหารจัดการองค์กร โดยประธานศูนย์ข้าวชุมชนและสมาชิกร่วมเป็นวิทยากรบรรยายความรู้ในด้านต่างๆ ให้แก่เกษตรกรทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ

3.5 ส่งสมาชิกไปอบรมและศึกษาดูงานองค์ความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวคุณภาพดี รวมทั้งการพัฒนาชาวนาของกรมการข้าวและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

จัดการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
สมาชิกมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการด้านต่างๆ และกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ทำให้การบริหารกิจกรรมของกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ข้าวชุมชน คณะกรรมการตรวจแปลง และคณะกรรมการดูแลเครื่องจักรกล
คณะกรรมการแต่ละชุด ได้มีการกำหนดวาระการประชุมอย่างสม่ำเสมอตามที่ศูนย์ฯ กำหนด
สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์ โดยร่วมพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการชุดต่างๆ ของศูนย์
ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ทำหน้าที่บริหารกองทุนภายใต้ระเบียบศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายเงินทุนที่อยู่ในระเบียบศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ หมวดที่ 4 เรื่อง รายได้และการเงินของศูนย์ข้าวชุมชน
มีกองทุนหมุนเวียน จำนวน 300,000 บาท ประกอบด้วย เงินจากหุ้นของสมาชิก จำนวน 162,800 บาท และเงินที่ได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ ได้แก่ การรับจ้างรถเกี่ยวอัดฟาง ขายฟาง จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 137,200 บาท

การใช้ประโยชน์ของเงินกองทุนจะเป็นไปตามมติและข้อตกลงของศูนย์ข้าวชุมชนที่จะให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ ให้สมาชิกกู้ยืมสำหรับนำไปจัดซื้อปัจจัยการผลิตข้าวค่าตอบแทนกรรมการค่าปันผลให้แก่สมาชิก ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานของศูนย์ ค่าวัสดุอุปกรณ์ เบี้ยประชุมสมทบทุนและนำไปใช้เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ของชุมชน ทั้งนี้ รายได้จากการดำเนินงานกิจกรรมของศูนย์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการรถเกี่ยวข้าว การใช้รถอัดฟางข้าว รถไถนา ฉางข้าวชุมชน บ้านเขียบจะมีการบริหารจัดการให้แก่สมาชิก ผู้ถือหุ้น ในเรื่องของค่าบริการ การจัดการรายได้ และการปันผลของแต่ละกิจกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการนำแนวคิดของการบริหารจัดการเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานที่มีประสิทธิภาพ (Motor Pool) ตามนโยบายรัฐบาล

การมีทรัพย์สินของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ ประกอบด้วย โรงสีข้าว ลานตาก รถเกี่ยวข้าวขนาดกลาง รถเกี่ยวข้าวขนาดใหญ่ เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว รถไถ ฉางข้าว เครื่องอัดฟาง เครื่องแพ็คข้าวสุญญากาศ และเครื่องหยอดข้าว 4 แถว ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากงบพัฒนาจังหวัด การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เอกชน และเงินกองทุนของศูนย์ข้าวชุมชน ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดสัญญายืมใช้ครุภัณฑ์การเกษตรอย่างชัดเจนรวมทั้งมีระเบียบอย่างชัดเจนในเรื่องของการบริการ การเก็บค่าใช้จ่ายของสมาชิกบุคคลภายนอก การบำรุงรักษา และการนำรายได้ที่ได้ไปใช้ตามมติของศูนย์ข้าวชุมชน
การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.กิจกรรมสาธารณประโยชน์

– คณะกรรมการและสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนช่วยกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และพัฒนาชุมชนร่วมกัน เช่น การทำความสะอาดรอบหมู่บ้าน การปลูกต้นไม้ พัฒนาในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่แห่งชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

– รายได้ของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบส่วนหนึ่งจะนำไปสมทบทุนอาหารกลางวันให้ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านเขียบ

กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
– สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนทุกคนจะปลูกปอเทืองหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อทำปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน และรณรงค์ให้คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกเห็นประโยชน์และปลูกปอเทืองเพื่อเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนในการปรับปรุงสภาพดินให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว

– มีการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากฟางข้าว โดยส่งผลให้มีการลดการเผาฟางและตอซัง ทั้งนี้ ได้นำอัดฟางก้อนไปใช้เลี้ยงสัตว์และจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและกลุ่ม โดยศูนย์มีเครื่องอัดฟางเป็นของตนเอง

– สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนได้ร่วมกันทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อใช้ในกลุ่มโดยรวบรวมสะสมขยะเศษอาหารจากสมาชิกและในชุมชน

– มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกันเพื่อจำหน่ายและนำไปใช้ที่แปลงนาของสมาชิก ว่าที่ร้อยตรี สมสวย ปัญญาสิทธิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร/เครือข่าย กับบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) ณ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ (เมื่อ 30 เมษายน 2562)

ว่าตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสำคัญที่จะระดมพลังภาคีทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดคุณค่า และมูลค่าในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรที่เติบโต แข่งขันได้บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีแนวนโยบายในการนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหามลพิษหมอกควันจากการเผาในพื้นที่ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว โดยได้กำหนดแนวทางผ่านกลไกประชารัฐเพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

ในการนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)/ศูนย์เครือข่าย และภาคเอกชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และจำหน่ายการผลิตเป็นพลังงานชีวมวลแก่ผู้รับซื้อ จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวลขึ้น ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรโดยเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ จะเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ สื่อสารประชาสัมพันธ์ และให้การช่วยเหลือในการประสานงานเชิงพื้นที่ระหว่างภาคเอกชนที่ร่วมโครงการ กับ ศพก. และเกษตรกร โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อม ของ ศพก. ศดปช. และเครือข่ายว่ามีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้ และมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล

ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนี้ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ คือ 1. การอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างเครือข่ายการทำเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. การจัดทำฐานเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ 3. การจัดการเศษวัสดุการเกษตร และ 4. การเชื่อมโยงตลาดในการจัดซื้อเศษวัสดุการเกษตร

โดยดำเนินการ ณ ศพก. 882 แห่ง และ ศดปช. หรือศูนย์เครือข่าย 882 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรคาดหวังว่าการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับบริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป

ลัดเลาะเมืองเก่าสุดเท่ สัมผัสเสน่ห์ชุมชนจีนโบราณสุดคลาสสิค อายุกว่า 100 ปี ณ บ้านชากแง้ว โดยนักเดินทาง “จ๊อบ – นิธิ สมุทรโคจร” โดนหนุ่มน้อย “เคนโด้ – ธนิก สมุทรโคจร” ลูกชายตัวป่วนยึดหน้าที่ดำเนินรายการ “สมุดโคจร On The Way” พาสัมผัสถนนสายวัฒนธรรม ซึมซับกลิ่นอายไชน่าทาวน์แห่งชลบุรี

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ รายการสมุดโคจร On The Way ชวนนักเดินทางทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ไปสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในมุมมองสุดเท่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว พร้อมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนอัตลักษณ์ชุมชน ภายใต้โครงการ “เที่ยววิถีเท่”

หลงเสน่ห์ไชน่าทาวน์แห่งชลบุรี สัมผัสกับความคลาสสิคของชุมชนจีนโบราณ ณ บ้านชากแง้ว เรียนรู้วัฒนธรรมเก่าแก่ และเสพกลิ่นอายความเก๋าด้วยการนั่งรถลากชมเมืองแบบชาวจีนแท้ๆ พร้อมลิ้มรสขนมไทยโบราณที่หาทานยากอย่าง ขนมข้าวโปง ซึ่งงานนี้เด็กยุคใหม่อย่าง “เคนโด้ – ธนิก” ขอโชว์สกิลการทำขนมอย่างสุดฝีมือ จากนั้นไปเยี่ยมชมกิจกรรมสุดครีเอท ฝึกจินตนาการจากงานศิลป์ด้วยการบรรจงเรียงเมล็ดข้าวสาร สร้างสรรค์เป็นผลงานอันวิจิตร ปิดท้ายด้วยการไปพักผ่อนสุดชิล กับที่พักสุดเอ็กซ์ คลูซีฟ Renaissance Pattaya Resort & Spa รีแลกซ์อย่างเป็นส่วนตัวกับสระว่ายน้ำสุดไพรเวท เบื้องหน้าเป็นวิวทะเลกว้างสุดลูกหูลูกตา ถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของการพักผ่อนที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

มาเที่ยวชลบุรีที่เป็นมากกว่าไนท์ไลฟ์ในมุมมอง “เที่ยววิถีเท่” ในรายการ ในรายการ สมุดโคจร On The Way: เที่ยววิถีเท่ – ชลบุรี EP.2 วันเสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 28 (3SD) หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่

วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุม FORTROP ชั้น 3 ตึกวนศาสตร์ 60 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารกิจการภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหน่วยตรวจสอบรับรองด้านก๊าซเรือนกระจก ระหว่าง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อม (VGreen) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.ดร. สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม กับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.ดร. นิคม แหลมสัก คณบดีคณะวนศาสตร์ ร่วมกันลงนาม

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกันครั้งนี้จะนำไปสู่ภารกิจและบทบาทสำคัญ คือการจัดตั้งให้ศูนย์เชี่ยวชาญด้าน กลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (VGREEN: Centre of Excellence on environmental strategy for GREEN business) เป็นหน่วยตรวจสอบรับรองด้านก๊าซเรือนกระจก (VVB, Validation/Verification Bodies) ที่มีระบบงานสอดคล้องตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ เพื่อก้าวไปสู่การขอรับการตรวจประเมินและรับรองระบบงานจาก คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงาน (NAC, National Accreditation Council)

ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายระดับชาติในการขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจสอบรับรองด้านก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศไทย เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของการรายงานปริมาณการปล่อยและลดก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กรและโครงการ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการของคณะสิ่งแวดล้อมกับคณะวนศาสตร์ เพื่อสนับสนุนงานการดำเนินงานตรวจสอบ/ทวนสอบค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

และการตรวจสอบ/ทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย สาขาการผลิตและใช้พลังงาน สาขาป่าไม้และการเกษตร ตาม มาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อันจะเป็นการสนับสนุนงานด้านก๊าซเรือนกระจกในระดับชาติและสากล ตลอดจนเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับคณะสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเป็นผู้นำด้านตรวจสอบรับรองด้านก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมกับ บริษัท โกลบอลแอคท์ จำกัด ติดตามและประเมินผล โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าให้กับประเทศไทย ชูโมเดลความสำเร็จทำงาน 3 ประสาน ภาครัฐ เอกชน ชุมชน ร่วมแก้ปัญหาสังคม และทำอย่างต่อเนื่อง

“ป่าชายเลน” เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญและเชื่อมโยงโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก ซีพีเอฟในฐานะบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยได้ร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เครือข่ายภาคประชาสังคม ดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ใน 5 พื้นที่ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย คือ จังหวัดสมุทรสาคร ระยอง สงขลา พังงา และชุมพร ซึ่งระหว่างปี 2557-2561 ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่รวม 2,388 ไร่

นางสาวสาริสา กนกธัญรัชต์ ผู้จัดการโครงการถอดบทเรียน “โครงการปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลนของซีพีเอฟ” โดยบริษัท โกลบอลแอคท์ จำกัด กล่าวว่า โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน เป็นการบูรณาการการทำงาน 3 ประสาน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยซีพีเอฟเข้ามามีส่วนร่วมประสานความร่วมมือในการทำงาน นอกจากนี้ เป็นโครงการที่ซีพีเอฟได้พัฒนาการทำงานมากกว่าแค่งานรับผิดชอบต่อสังคม แต่เป็นการทำงานในระดับการแก้ปัญหาสังคม เกิดการยอมรับจากภาครัฐส่วนกลาง ภาครัฐส่วนท้องถิ่น คณะทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเกิดผลสำเร็จจริง

“การดำเนินโครงการในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้พัฒนาการทำงานมาไกลกว่าแค่งานรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ในแบบเดิม แต่กำลังเข้าไปทำงานในระดับการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานในระยะยาว ที่ต้องอาศัยเวลา องค์ความรู้ ทักษะ และงบประมาณในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ” ผู้จัดการโครงการถอดบทเรียนโครงการปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน กล่าว

ผู้จัดการโครงการถอดบทเรียนโครงการปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานตามยุทธศาสตร์ในโครงการ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน พบว่ากระบวนการที่ประสบความสำเร็จ คือ กระบวนการปลูกป่าและดูแลป่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการถอดบทเรียนในครั้งนี้พบว่าพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนที่มีความโดดเด่นมากที่สุดคือ พื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากบางหญ้าแพรกมีความท้าทายต่อการปลูกป่าด้านลักษณะทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นพื้นที่ชายฝั่งที่มีการกัดเซาะสูง แต่ซีพีเอฟสามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ได้สำเร็จ

นอกจากนี้ ยังพบว่าโครงการทำให้เกิดกระบวนการส่งเสริมอาชีพชุมชน ซึ่งซีพีเอฟและคณะทำงานชุมชนมีเป้าหมายร่วมกันในระยะต่อไป คือสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและให้บทบาทการตัดสินใจอยู่ที่ชุมชน เป็นการขับเคลื่อนโดยชุมชน โดยมีซีพีเอฟเป็นที่ปรึกษาและผู้สนับสนุน โดยพื้นที่ที่มีการส่งเสริมอาชีพชุมชนโดดเด่น คือพื้นที่ตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา และพื้นที่ตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง ที่มีการสร้างรายได้จากอาชีพเกิดขึ้นจริงแล้ว และอยู่ในขั้นของการพัฒนาและต่อยอดสู่นวัตกรรมและธุรกิจเพื่อสังคม สร้างการกระจายอาชีพและรายได้สู่ชุมชนในวงกว้าง

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ โดยร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม และสนับสนุนพนักงานให้ร่วมเป็นเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ นอกจากนี้ ได้ผสานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เข้ากับการดำเนินงานของบริษัทภายใต้กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน อาทิ โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลนที่เชื่อมโยงกับ SDGs ในประเด็นการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (เป้าหมายที่ 13) การอนุรักษ์และใช้มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ อย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 14) และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 17)

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกชวนเกษตรกรรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าของเหลือใช้จากภาคการเกษตรให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งในทุกมิติ

นายสําราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตัน ต่อปี และมีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควันในปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่าย ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร กว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุล ระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการดังกล่าวจะดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน 2562 – พฤษภาคม 2563 เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการเผาในพื้นที่เกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดินเสื่อมโทรม ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นควัน มลภาวะทางอากาศ

ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่า ซึ่งเกษตรกรจะมี 8 ทางเลือก ในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่

ทางเลือกที่ 1 คือ การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน ได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น

ทางเลือกที่ 2 คือ นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

ทางเลือกที่ 3 คือ นำเศษวัสดุการเกษตร มาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค