การเริ่มต้นสร้างเตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ ผมมีความคิดที่อยาก

จะแก้ปัญหา และกำจัดขยะที่ต้นทาง เพื่อป้องกันไม่ให้ไปถมรวมกันจนเกิดเป็นกองใหญ่ ทำให้การกำจัดเป็นไปได้ยาก ส่วนการกำจัดขยะแบบฝังกลบ นอกจากจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ได้ ซึ่งสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากคือ เรื่องของการกำจัดเขม่าและควันที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะ เราต้องทำเตาให้มีความแข็งแรง มีโครงสร้างและกลไกใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อให้สามารถใช้ได้ง่ายกับทุกพื้นที่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ” คุณเริงชัย บอก

ซึ่งระบบและกลไกการทำงานของเตาเผาขยะ รุ่น K650 เน้นการใช้งานในทุกสถานที่ตามความเหมาะสม ตัวเตาเผาขยะมีระบบการป้อนขยะต่อเนื่องด้วยสายพานลำเลียง ขนาด 2 ห้องเผาไหม้ และมีความร้อน 800-1,200 องศาเซลเซียส

สำหรับห้องเผาขยะที่ 1 ใช้สำหรับเผาขยะทั่วไป ส่วนห้องเผาไหม้ที่ 2 ใช้สำหรับเผาเขม่า กลิ่น และควัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เมื่อมีการกำจัดขยะเตาเผาขยะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อมลพิษนั้นเอง

เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ รุ่น K650 สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คุณเริงชัย บอกว่า ความสะดวกของการใช้งาน รวมไปถึงวัสดุประกอบที่ต้องได้มาตรฐานและมีความคงทน โดยเฉพาะวัสดุที่นำมาประกอบเป็นตัวเตา เนื่องจากส่วนนี้เป็นเหมือนห้องหลักที่ผ่านการเผาไหม้ จะทำให้เกิดความร้อน วัสดุจึงต้องทนความร้อน เพื่อไม่ให้มีไอร้อนแผ่ออกมาด้านนอก และไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน

“สำหรับขนาดมาตรฐานของเตา จะอยู่ที่ 40×3 เมตร ขั้นตอนการทำก็ไม่ถือว่ายากนัก เพียงแต่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบเครื่องจักร ส่วนวัสดุที่ใช้ทำแบ่งเป็นส่วนโครงสร้างเตาเผา ใช้เหล็กที่มีความหนา 4.5 มิลลิเมตร ส่วนของรางสเปรย์น้ำ ปล่องเหล็กสำหรับดักเขม่าและกลิ่นควัน ใช้เหล็กหนา ขนาด 5 มิลลิเมตร ส่วนปล่องปล่อยควันระบายอากาศ หนา 3 มิลลิเมตร เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราได้ออกแบบให้มีตู้ควบคุมระบบการทำงาน ไฟสำหรับแสดงสัญญาณการทำงาน พร้อมทั้งพัดลมเติมอากาศ ขนาด 0.5 แรงม้า ทั้งหมด 2 ตัว ส่วนในเรื่องการเก็บไอความร้อนระหว่างการเผาไหม้ มีการเพิ่มวัสดุอย่าง อิฐทนไฟ sk-32 อิฐฉนวนกันความร้อน รวมถึงปูนทนไฟ ที่สามารถทนความร้อนได้ถึง 1,300 องศาเซลเซียส เข้ามาเสริมด้วย” คุณเริงชัย บอก

ในส่วนของการนำขยะเข้าสู่เตาเผา เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องออกแรงมากเกินไปในการยก คุณเริงชัย ได้ออกแบบระบบการลำเลียงขยะเป็นระบบสายพาน ทำให้วัสดุที่ขาดไม่ได้ในการประกอบเตาเผาขยะ คือเกลียวส่งขยะขึ้นสายพานเพื่อคัดแยก เกลียวสกรูป้อนขยะเข้าห้องเผา และสายพานคัดแยกขยะ ทั้ง 3 ส่วน ใช้มอเตอร์เกียร์ ขนาด 1 แรงม้า จำนวน 1 ตัว

จากการคิดค้นที่เป็นประโยชน์นี้ ทำให้เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ เป็นเตาเผาที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น และปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ ทำให้กลไกการทำงานหลักๆ โดยเฉพาะในส่วนการเผา จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ห้องเผาไหม้ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถเผาได้ทั้งขยะและเขม่า ไม่มีกลิ่นและควัน โดยขยะที่เผาในเตาแบ่งเป็นขยะเปียก จำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ และขยะแห้ง จำนวน 75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถเผาขยะได้ถึง 500 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง โดยขยะที่ถูกนำมาเผายังทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิง ทำให้ประหยัดพลังงาน

“สิ่งที่เราให้ความสำคัญไม่แพ้การกำจัดขยะและเขม่าควันคือ ระบบการทำงานที่ผลิตไม่ให้มีความซับซ้อนและสะดวกสบายง่ายต่อการนำไปใช้งาน พร้อมทั้งมีความปลอดภัยระหว่างใช้งาน ซึ่งเตาตัวนี้จึงเหมาะสมกับทุกแหล่งและหน่วยงานที่ต้องการนำไปใช้ เราจึงออกแบบให้สะดวกต่อทุกพื้นที่ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด การทำงานก็ง่าย เพียงแค่เปิดสวิตช์เท่านั้น ซึ่งในตอนนี้ได้มีการนำไปใช้ในจังหวัดนราธิวาสแล้ว และสำหรับแผนที่เราได้วางไว้ ต้องการขยายการใช้งานออกไปให้ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีขยะติดเชื้อ ผมก็จะพัฒนาในส่วนนี้ต่อไป ทำให้การเผาขยะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” คุณเริงชัย บอก

สำหรับผู้ที่สนใจเตาเผาขยะ รุ่น K650 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเริงชัย พนมเริงศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ ร.ต.อ.สรสิทธิ์ บุตระ รอง สว.(สอบสวน) สภ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ได้รับแจ้งเกิดอุบัติเหตุ ชาวนาถูกรถไถถอยหลังชนติดกับต้นไม้เสียชีวิตคาที่ บริเวณกลางทุ่งนา พื้นที่หมู่ 7 บ้านโคกกลาง ต.วังท่าดี อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูจุดหนองไผ่ และแพทย์เวรโรงพยาบาลหนองไผ่

ที่เกิดเหตุ พบศพ นายบุญจันทร์ ลาชัย อายุ 52 ปี อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 7 ต.ท่าแดง อ.หนองไผ่ สภาพศพ สวมหมวก ใส่กางเกงขาสั้น ไม่สวมเสื้อ ได้ถูกโครงเหล็กตรงบังคับรถเดินหน้า-ถอยหลัง ของรถไถเดินตาม หรือ รถอีโก้ง ดันช่วงบริเวณหน้าอก และแขนซ้าย ติดแน่นอยู่กับต้นสัก เป็นเหตุให้เสียชีวิตคาที่ เบื้องต้น แพทย์เวรโรงพยาบาลหนองไผ่ และร่วมกตัญญูจุดหนองไผ่ ได้นำศพออกมาชันสูตรพลิกศพ โดยญาติไม่ติดใจสาเหตุการตาย จึงมอบศพให้นำไปบำเพ็ญกุศลตามศาสนาต่อไป

จากการสอบถามชาวบ้าน ทราบว่า ในวันนี้ผู้ตายได้นำรถไถเดินตาม พร้อมท่อสูบน้ำ มาติดตั้งบริเวณริมคลองน้ำหลง ตรงจุดเกิดเหตุเพื่อสูบน้ำเข้านาข้าว ขณะเกิดเหตุผู้ตายได้ติดตั้งสายพาน ระหว่างรถไถกับท่อสูบน้ำ แล้วจะขยับรถไถถอยหลังเพื่อให้สายพานตึง แต่คาดว่าขณะค่อยๆ ถอยหลัง รถไถได้เกิดสะบัด จนเสียหลักดันร่างผู้ไปตายชนอัดติดกับต้นสัก โดยไม่มีผู้ใดพบเห็น หรือช่วยเหลือได้ทัน จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตคาที่ กระทั่งทางญาติผู้ตายพยายามโทรศัพท์ติดต่ออยู่นาน ก็ไม่มีคนรับสาย จึงได้ขับรถออกมาดู ก็พบว่าเสียชีวิตไปแล้ว

กล้วยปิ้ง ขนมหวานแสนอร่อย ถือเป็นการแปรรูปนำวัตถุดิบจากสิ่งที่มีอยู่มาสร้างเป็นอาชีพด้วยวิธีการอันง่ายดาย ที่สำคัญต้นทุนต่ำ จะเห็นได้จากตามตลาด ตรอก หรือซอกซอย มักจะมีร้านกล้วยปิ้งอยู่แทบทั้งนั้น ด้วยเป็นขนมที่กินนง่าย อิ่มท้อง คนไทยจึงนิยมกิน

คุณไผ่-ครองศักดา สีสังข์ อายุ 33 ปี เจ้าของร้านกล้วยปิ้งคิงคองเล่าให้ฟังว่า ที่บ้านทำสวนกล้วย ปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ไส้ขาวมากว่า 10 ปี ส่งขายตลาด และวางจำหน่ายหน้าบ้าน แต่ช่วงหลังมานี้มีเกษตรกรปลูกกล้วยจำนวนมาก ส่งผลให้กล้วยล้นตลาด ราคาตกเหลือเพียง หวีละ 2-3 บาท เท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกชายเจ้าของสวนอย่างตน จึงหาทางระบายผลผลิตออกสู่ตลาดด้วยการแปรรูปเป็นกล้วยปิ้ง ตั้งชื่อ “กล้วยปิ้งคิงคอง”

ปัจจุบัน เปิดมาได้ 2 ปี ร้านตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 205/13 ถนนบ้านดอนตูม ซอย 5 ต.บ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ใช้พื้นที่หน้าบ้านเปิดเป็นร้านเล็กๆ

โดยก่อนหน้านี้คุณไผ่ทำงานวนเวียนในสายงานเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ทำอยู่ 5 ปี เรียกได้ว่าทำครบหมดแล้วตั้งแต่ผลิต แปรรูป กระทั่งอาหาร บวกกับอายุที่เริ่มมากขึ้น การสร้างความมั่นคงให้ตัวเองเป็นสิ่งที่น่าคิด นั่นเอง จึงเป็นเหตุผลทำให้คุณไผ่คิดสร้างธุรกิจให้ตัวเอง

เปิดปีแรกคุณไผ่ปิ้งขายแบบธรรมดาที่เห็นได้ทั่วไป พอเข้าปีที่สอง จึงเริ่มสร้างความแปลกใหม่ให้สินค้า หาจุดขาย เพื่อให้คนจดจำกล้วยปิ้งคิงคองได้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มน้ำจิ้มสูตรเด็ด ที่คุณไผ่เป็นคนคิดและปรุงขึ้นมาเอง นั่นก็คือ น้ำจิ้มเนื้อมะพร้าวอ่อน ขายควบคู่กับน้ำจิ้มสูตรดั้งเดิม

และยังไม่หยุดแค่นั้น คุณไผ่นำไอเดียยัดไส้เข้ามาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าเพิ่มเติม

“การเพิ่มไส้ถือเป็นการสร้างความแปลกใหม่เหมือนกัน พอวางขายลูกค้าหลายคนชอบ ที่สำคัญขายได้ ตอนนี้มีทั้งหมด 6 ไส้ คือ มะพร้าว เผือก เม็ดขนุนฝอยทอง มันม่วง ข้าวเหนียวมูนอัญชัน และโอวัลตินราดโกโก้”

คุณไผ่ บอกว่า ลูกค้าที่มาซื้อชอบแตกต่างกันไป บางคนชอบทานแบบไม่ราดน้ำจิ้ม แต่ไม่ต้องห่วงเพราะทางร้านใช้น้ำเกลือราดไปตอนปิ้งให้ซึมเข้ากับความหวานของกล้วยได้รสชาติดีทีเดียว ส่วนบางรายชอบทานคู่กับน้ำจิ้มทั้งสูตรดั้งเดิมและสูตรเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือถ้าเป็นเด็กน้อยวัยรุ่นก็มีแบบใส่ถ้วยโรยโอวัลตินราดด้วยโกโก้ไว้คอยบริการ ปิดท้ายด้วยแบบยัดไส้นานาชนิดก็มีให้ทานเช่นกัน

ใช้สื่อออนไลน์ช่วยสร้างลูกค้า ปิ้งขายเกือบ 100 หวี/วัน

คุณไผ่ เล่าว่า จากแต่ก่อนที่ขายได้แค่ 8-10 หวี ก็ขยับมาเป็น 20 หวี และยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังตนนำไอเดียการขายกล้วยปิ้งไปโพสต์ในแฟนเพจ บ้านโป่ง ทำให้คนรู้จักมากขึ้น เกิดการพูดถึงปากต่อปาก ลูกค้าแห่มาซื้อกันเพียบ จนต้องใช้กล้วยเพิ่มขึ้น 80-100 หวี และมากสุดถึง 150 หวี ด้วยซ้ำ

บวกกับช่วงหนึ่ง มีสื่อต่างๆ ให้ความสนใจ คุณไผ่ บอกว่า ช่วงนั้นต้องแจกบัตรคิวกันเลยทีเดียว

“เมื่อก่อนตอนออกสื่อใหม่ๆ ต้องใช้บัตรคิวครับ ช่วงหลังได้มีการขยายเตาใหม่เพื่อให้กล้วยทันกับลูกค้าจึงไม่ค่อยได้แจกแล้วครับ”

คุณไผ่ บอกว่า คัดกล้วยขนาดลูกไม่ใหญ่มาก ถ้าลูกใหญ่เวลาปิ้งกล้วยจะสุกไม่ทั่วถึง เมื่อกินแล้วจะฝาดลิ้นส่วนการปิ้ง ทางร้านจะใช้สเตนเลสขนาดใหญ่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ปิ้งได้ครั้งละ 22 ไม้ เกือบ 300 ลูก ซึ่งต่างจากร้านอื่นที่ใช้ไม้เสียบ

“ที่ใช้สเตนเลสเพราะคงทนในการใช้งาน เมื่อปิ้งไปแล้วความร้อนจะเข้าไปในสเตนเลส ช่วยให้กล้วยสุกทั่วทั้งลูก” ราคาขาย แบบธรรมดา 6 ลูก 20 บาท ราดน้ำจิ้มสูตรดั้งเดิม 5 ลูก 20 บาท ราดน้ำจิ้มเนื้อมะพร้าวอ่อน 5 ลูก 25 บาท แบบยัดไส้ 5 ลูก 30 บาท ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 6-7 หมื่นบาท

“ตอนนี้กำลังวางแผนทำแฟรนไชส์อยู่ เพราะมีคนสนใจค่อนข้างเยอะ แต่ต้องยอมรับว่าการเปิดแฟรนไชส์เรื่องการรักษาคุณภาพและรสชาติเป็นสิ่งที่ต้องระวัง อาจเกิดข้อเปรียบเทียบระหว่างต้นตำรับกับเจ้าใหม่ได้”

ร้านเปิดตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. หยุดทุกวันจันทร์ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ เฟซบุ๊ก กล้วยปิ้งคิงคอง เจ้าเดียวในบ้านโป่ง โทรศัพท์ 097-013-4453 แม้ กำแพงเพชร จะเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่า “กล้วยไข่” อร่อย และเป็นผลไม้เศรษฐกิจประจำจังหวัด แต่สำหรับเกษตรกรที่จังหวัดกำเเพงเพชร กลับบอกว่าการปลูกกล้วยไข่ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องความสะอาด อย่าให้แปลงรก ที่สำคัญมีเทคนิคการปลูกกล้วยให้ได้ผลผลิต ไร่ละ 2 ตัน

ทีมงานได้ลงพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของสมาชิกกลุ่ม อย่าง คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร เป็นเจ้าของสวน อยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ (063) 750-9275 ปลูกกล้วยไข่มานานกว่า 30 ปี ใช้เนื้อที่ปลูก 12 ไร่ จำนวน 2,000 กว่าต้น เป็นพันธุ์กล้วยไข่ดั้งเดิมของกำแพงเพชร

คุณป้าพิมพ์ บอกว่า การปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรนับเป็นเรื่องยาก ต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาดในแปลงปลูก อย่าให้รก ปุ๋ยที่ใช้ในตอนเริ่มปลูกใช้สูตรเสมอ 15-15-15 พอตกเครือจะใช้ปุ๋ยน้ำตาลสูตร 21-0-0 ใส่เพื่อเร่งผล

ส่วนปัญหาที่เกิดเป็นประจำคือ โรคใบไหม้ แล้วยังต้องเผชิญกับภัยจากพายุลมแรงที่พัดจนต้นกล้วยหักโค่นเสียหาย ซึ่งลมพายุดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงที่กำลังมีผลผลิต แล้วสังเกตทุกปีมักเกิดขึ้นหลังจากเข้าหน้าฝน ทั้งนี้ ถ้าตกเครือก็ยังช่วยให้ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดในช่วงต้นขนาดเล็กตายอย่างเดียว ฉะนั้น เพียงแก้ไขในเรื่องโรคใบไหม้ได้ ก็จะทำให้กล้วยมีคุณภาพดีกว่าเดิม แล้วมีผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา คุณลุงไพริน ชี้ว่า จากที่สมัยก่อนเคยเก็บหน่อไว้ถึงตอที่ 2-3 ได้ แต่ภายหลังทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะคอยจะขึ้นเหง้า ดังนั้น ในทุกปีจะต้องมีการขุดออกแล้วปลูกเป็นกล้วยรุ่นใหม่

คุณลุงไพริน เผยตัวเลขผลผลิตที่เกิดจากการปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรในแต่ละปีคงไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ภายหลังที่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจึงตกลงมีการซื้อ-ขาย ผลผลิตกันเป็นกิโลกรัม แต่พื้นที่แถวสามเงาจะมีราคาขาย กิโลกรัมละ 25 บาท สูงกว่าที่กำแพงเพชรที่มีราคาขายประมาณ กิโลกรัมละ 18 บาท

การสะสมประสบการณ์ที่ยาวนานของคุณป้าพิมพ์และคุณลุงไพริน จนเกิดทักษะความชำนาญการปลูกกล้วยไข่ จึงทำให้สวนของพวกเขาได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นจำนวนผลผลิตที่สูงได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นเช่นนี้ทุกปี

ความจริงแล้ว กล้วยไข่กำแพงเพชร มีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่น มีชาวบ้านหลายรายพยายามนำหน่อกล้วยในพื้นที่ออกไปปลูกยังแหล่งอื่นที่ใกล้เคียงจังหวัดกำแพงเพชร แต่พบว่ารสชาติอร่อยน้อยกว่า แม้จะใช้หน่อเดิม ทั้งนี้ คุณลุงไพริน ชี้ว่า น่าจะเกิดจากคุณภาพดินของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งถ้าพ้นออกไปแล้ว รสชาติตลอดจนลักษณะผลมักเปลี่ยน

ปลาอะราไพม่า หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ปลาช่อนยักษ์อะเมซอน (อังกฤษ : Arapaima; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arapaima gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาอะราไพม่า (Arapaimidae) เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เกล็ดมีขนาดใหญ่ สีดำเงาเป็นมัน มีแถบสีแดง–ส้ม ตัดกับพื้นสีดำ

พบได้ในแม่น้ำอะเมซอนและลุ่มน้ำสาขาในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า พิรารูคู (Pirarucu) ขณะที่ชาวพื้นเมืองที่ประเทศเปรูจะเรียกว่า ไพชี่ (Phiche) โดยปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ชาวพื้นเมืองใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ในบางท้องที่มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจ

ปลาอะราไพม่า เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมีจุดเด่นคือ ความใหญ่โตในรูปร่าง และสีสันของเกล็ดมีแถบแดงจัด จัดได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดความยาวที่สุดในโลก

ในประเทศไทยปลาชนิดนี้ถูกนำเข้ามาครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2529 และได้รับความนิยมสูงสุดในปี พ.ศ. 2530 จนปัจจุบัน

หลายท่านคงคิดว่า ปลาอะราไพม่า เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ดุร้าย แต่คุณศิริวรรณ เจ้าของฟาร์มกลับบอกว่า เมื่อนำมาเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงแล้ว แม้จะเป็นปลาขนาดใหญ่กลับไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับผู้เลี้ยงเลย ผู้เลี้ยงสามารถลงไปไล่จับปลาเล่นได้ ถ้าอยากให้เขาเชื่องแนะนำตอนให้อาหารควรให้ซ้ำที่เดิมทุกวัน เมื่อเขาชินสักวันหนึ่งคุณจะสามารถให้ถึงปากได้ ตอนให้อาหารอาจจะให้สัญญาณเป็นการตบมือ หรือทำเสียงเป็นสัญลักษณ์ก็ได้

คุณศิริวรรณ สมใจ บ้านเลขที่ 5/2 หมู่ที่ 7 ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เจ้าของฟาร์มปลาช่อนอะเมซอน อะราไพม่า ส่งออกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่มีใบอนุญาต CITES ถูกกฎหมาย

คุณศิริวรรณ เล่าว่า ครอบครัวไม่ได้มีอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาก่อน แต่ด้วยความที่มีใจรักจึงคิดที่จะเลี้ยงจนกลายเป็นอาชีพในที่สุด ซึ่งตอนแรกเริ่มจากการเพาะเลี้ยงขายลูกปลาเบญจพรรณ จำนวน 100 ไร่ เป็นอาชีพหลักมาก่อน เพิ่งหันมาเริ่มเลี้ยงปลาช่อนอะเมซอนทีหลัง เพราะชอบในรูปทรงและลักษณะของสีที่แดงจัดจึงลองไปเดินหาซื้อที่ตลาดนัดจตุจักรมาได้ 3 ตัว ซึ่งปลาที่ซื้อมีใบอนุญาตที่ถูกต้องเรียบร้อยทุกอย่าง

เริ่มเลี้ยงปลาช่อนอะเมซอนเพียง 3 ตัว เพราะใจรัก คุณศิริวรรณ เริ่มเลี้ยงปลาช่อนอะเมซอนตั้งแต่ปี 2535 ซื้อมา 3 ตัว ซึ่งตอนแรกไม่ได้คิดที่จะเลี้ยงเชิงธุรกิจ ซื้อมาเพราะชอบในรูปร่าง ลักษณะ และสีสันของปลา และเหมาะกับที่บ้านมีบ่อดินเยอะ เมื่อซื้อมาก็นำมาปล่อยในบ่อดินที่มีขนาดกว้าง 1 ไร่ นำลูกปลาที่เหลือจากการค้ามาให้เป็นอาหาร เลี้ยงไปเรื่อยๆ

“หลังจากปี 35 นับมาอีก 7-8 ปี เผอิญเขาออกลูกมา พอออกลูกมาเราก็ไม่รู้ว่าวิธีการดูแลและการอนุบาลว่าควรทำอย่างไร ตอนนั้นลูกปลาออกมาเยอะมากแต่เราดูแลไม่เป็นเหลือปลาอยู่ 62 ตัว แล้วปลา 62 ตัว เราก็คัดเอาตัวที่ดี ที่สวยสีแดงจัด เก็บไว้ทำพ่อแม่พันธุ์ 10 ตัว ที่เหลือบางส่วนขายออกไป” คุณศิริวรรณ เล่า

แม้ต้นกำเนิดจะมาจากอีกซีกโลก แต่การเลี้ยงไม่ยากอย่างที่คิด

ปลาช่อนอะเมซอนถึงจะเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ แต่กลับไม่ค่อยพบปัญหาเมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทย อาจจะเลี้ยงง่ายกว่าปลานิลเสียอีก เพราะอากาศจากต้นกำเนิดของเขาค่อนข้างใกล้เคียงกับอากาศที่เมืองไทย จะมีปัญหาก็แต่เรื่องสารเคมี ปลาช่อนอะเมซอนเป็นปลาขนาดใหญ่ ดูแข็งแรงก็จริง แต่ความจริงแล้วเขาจะแพ้สารเคมีมากๆ หากมีสารเคมีปนเปื้อนเขาจะมีปฏิกิริยาทันที

การที่จะเพาะปลาช่อนอะเมซอนต้องใช้เวลาในการเลี้ยง นาน 7-8 ปี

บ่อหนึ่งปล่อยปลาลงไป 10 ตัว มีเพียงไม่กี่บ่อ นอกนั้นคือลูกปลาที่ขุนไว้เพื่อไซซ์ แต่ละปีที่ทำลูกจะได้มา 1,000-2,000 ตัว จะส่งขายลูกค้าเพียงบางส่วน อีกส่วนเก็บไว้ทำไซซ์ ถ้าเลี้ยงในบ่อดินอัตราการตายแทบจะไม่มี แล้วปลาก็จะสมบูรณ์ มีที่ว่าย ได้ไซซ์ได้น้ำหนัก สีสันสวยงาม

ปลาช่อนอะเมซอนไม่สามารถที่จะออกลูกบนบ่อปูนได้ ต้องอยู่ในบ่อดิน และสภาพแวดล้อมบ่อต้องมีความใกล้เคียงธรรมชาติตามแหล่งกำเนิดที่เขาอยู่มากที่สุด เขาถึงจะออกลูกให้เราได้

ฤดูที่เหมาะแก่การเพาะพันธุ์คือช่วงปลายฝนต้นหนาว ต้องดูภูมิอากาศ บางครั้งถ้าอากาศไม่ดีเขาก็จะไม่ออกลูก

ระบบน้ำต้องเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ จะเป็นน้ำคลอง น้ำบาดาลก็ได้ ต้องเป็นน้ำที่ไม่มีคลอรีน แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้แนะให้พักทิ้งไว้สักคืน เพราะปลาช่อนอะเมซอนแพ้คลอรีน เขาเป็นปลาที่หายใจทางเหงือก ถ้ามีสารเข้าไปเมื่อฮุบน้ำเข้าไปเพื่อที่จะกรองอากาศออกมาทางเหงือก ถ้ามีสารเคมีพวกนี้จะไปจับเหงือกเขา พอไปจับเหงือกเขาทำให้หายใจไม่ได้ แค่ระยะเวลาไม่เกินชั่วโมงเขาก็ตายได้

ปลาที่ปล่อยลงบ่อดินเป็นปลาไซซ์ 1 เมตร หรือปลาที่มีอายุ 1 ปี และต้องเลี้ยงไปอีก 7 ปี ถึงจะออกลูกชุดใหม่

สภาพแวดล้อมภายในบ่อ ต้องมีต้นกก ต้นปือ หรือผักบุ้งให้อยู่เหนือผิวน้ำ เหมือนกับเป็นร่มให้เขาได้มาพัก เพราะโดยธรรมชาติเขาชอบอยู่น้ำตื้น เราต้องมีส่วนนี้ไว้เพื่อให้เขามาพักได้ แล้วลูกปลาก็จะไปหลบตามนี้ ถ้าเป็นตัวใหญ่จะโดนกินไป เราจะต้องดูว่าอาหารพอไหม ถ้าอาหารไม่พอก็ต้องเสริมให้เขา ในบ่อดินที่เราเตรียมไว้จะมีปลานิลไซซ์ 2-5 นิ้ว ใส่ลงไปให้เขากิน

อาหารที่ใช้เลี้ยง คุณศิริวรรณบอกว่า ควรจะเป็นอาหารสดอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่ หรือปลาทู หรือจะให้เป็นอาหารเม็ดก็ได้แต่ปลาจะไม่ค่อยโต แนะให้เป็นของสด หรือปลาชนิดใดก็ได้ตามสะดวก ที่นี่เนื่องจากมีบ่อปลาเบญจพรรณอยู่แล้ว จึงให้ปลาเป็นอาหาร เวลาปลาเหลือจากการค้าก็จะนำมาให้

ปริมาณอาหารที่ใส่ 1 บ่อ ใส่ปลาตัวเล็กลงไปประมาณ 1 ตัน เมื่อใส่ไปแล้วอยู่ได้นานเป็นเดือน ในระหว่างนั้นปลาที่ปล่อยเป็นอาหารก็ออกลูกสามารถเป็นอาหารได้ต่อ ถือว่าประหยัดค่าอาหารมากและอย่างลูกปลาที่เราให้บางส่วนเราไม่ต้องซื้อเลย เพราะว่าเรามีบ่อที่เป็นบ่อธรรมชาติ เราก็สามารถที่จะดักปลาจากบ่อตรงนี้แล้วมาเทให้เขากินได้

จะเห็นว่าแทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเลย เอาจากตรงนั้นตรงนี้ ก็เหมือนกับทำบ่ออนุบาลให้ปลาอยู่ พอถึงเวลาเราก็มาทำเป็นอาหาร

ถือว่าคุ้มมากๆ กับการใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 7 ปี เพราะตอนขายก็ขายได้ราคาสูง ถ้าเทียบกับต้นทุนแล้วแทบจะไม่มี จะมีก็ตอนเขายังเล็กคือที่ไปตีอวนจากบ่อดินแล้วเราเอามาอนุบาลเอง จะมีค่าไรแดง ไรทะเล และกุ้งฝอย พวกนี้เราจะอัดเขาเต็มที่ เราจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ตรงนี้เอง

เคล็ดลับเลี้ยงปลาช่อนอะเมซอน ซุปเปอร์เรด

ที่ศิริวรรณฟาร์ม เน้นมากเลยว่าปลาที่ฟาร์มจะเป็นปลาอะเมซอน ซุปเปอร์เรด คือเป็นปลาที่มีแถบสีแดงจัด มองเห็นได้ชัด เคล็ดลับคือจะเริ่มตั้งแต่การคัดพ่อแม่พันธุ์ที่ดีมีสีแดง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จะเริ่มคัดว่าสีแดงหรือไม่แดงตั้งแต่ปลาไซซ์ 12-15 นิ้ว และจะเริ่มดูเกล็ดเปิด…เกล็ดเปิดในที่นี้คือจะออกเหลือบส้มออกโอลด์โรส และที่หางจะเริ่มเป็นจุดส้มๆ ถ้าได้ลักษณะอย่างนี้โตขึ้นมาอย่างไรก็ได้สีแดงเข้มตามที่ต้องการ ส่วนตัวไหนที่ดูแล้วสีไม่ออก พวกนี้คือโตขึ้นสีก็จะไม่ออก จะขายเป็นปลาตกเกรดไป อันนี้ก็จะมีลูกค้ามารับซื้อราคาไม่สูงเพื่อนำไปทำเกมบ่อตกปลาต่อไป

ปลาช่อนอะเมซอนเป็นปลาที่แทบจะไม่มีโรค ที่ฟาร์มได้การันตีจากกรมประมงว่าที่นี่ไม่มีการใช้ยาเลย จึงไม่เกิดปัญหาปลาตาย จะมีปัญหานิดหน่อยตรงที่เวลาตีอวนเพื่อเอาปลาขึ้นมาจากบ่อดินมาบ่อปูน ตรงปากเขาจะเป็นสีแดงคือชนอวน และเกล็ดหลุดบ้าง แค่นั้นเองคือสิ่งที่มีปัญหา เรื่องป่วยไม่มี เรื่องยาไม่ต้องใช้

เวลานำปลาขึ้นมาจากบ่อดินไปบ่อปูนจะใช้แค่เกลือเม็ด โรยลงไปในน้ำเพื่อปรับสภาพไม่ให้ปลาเครียด การตลาดเน้นส่งออก สร้างรายได้จากทั่วโลก

ศิริวรรณฟาร์ม มีตลาดหลักคือตลาดต่างประเทศ ในประเทศมีเป็นส่วนน้อยเพราะปลามีราคาสูง ลูกค้าคนไทยจะสู้ราคาไม่ไหว เพราะเน้นขายปลาที่มีคุณภาพ

ที่นี่เป็นฟาร์มที่มีใบอนุญาตการส่งออกที่ถูกต้องเพียงฟาร์มเดียวในประเทศไทย ถามว่าในไทยก็มีคนเลี้ยงเยอะแต่เขาไม่สามารถส่งออกได้จึงได้เปรียบการตลาดเป็นอย่างมาก

“ถ้าถามว่าหวั่นเรื่องคู่แข่งการตลาดไหม ตอบเลยว่าไม่ 1. หากเป็นในประเทศไทยยากเพราะการเลี้ยงต้องมีสถานที่เลี้ยงกว้างพอสมควร และการที่จะขออนุญาตปลาตัวนี้ ต้องมีแหล่งที่มาที่ไประบุชัดเจน ว่าคุณซื้อมาจากที่ไหน เลี้ยงมาแล้วกี่ปี บางคนนึกอยากจะเลี้ยงก็เลี้ยงเมื่อไปขอใบอนุญาต ไม่มีประวัติข้อมูลทางกรมก็ไม่อนุญาต เพราะปลาตัวนี้ติด CITES number 2 ดังนั้น เวลาทำเรื่องจะต้องทำเรื่องไปถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการขอใบอนุญาต CITES ซึ่งตอนเราไปขออนุญาตต้องไปขอที่กรมประมง และทางกรมประมงต้องยื่นเรื่องไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะต้องถามรายละเอียดกลับมา ใช้เวลาหลายปีกว่าจะขออนุญาต CITES ได้

ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะทำก็ได้…2. เรามีความรู้ทางด้านภาษาและความรู้ทางด้านเว็บไซต์ เราทำธุรกิจภายในครอบครัว เรามีลูกก็แบ่งหน้าที่ให้เขาว่าคนนี้ช่วยดำเนินการทางด้านสื่อสารกับต่างประเทศ อีกคนช่วยดูแลด้านซื้อขายผ่านเว็บไซต์ และเว็บไซต์เราก็ทำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผลตอบรับดีมาก เพราะเราได้ใบอนุญาต CITES ที่ถูกต้องและเป็นคนแรกของเมืองไทยที่ได้มา เพราะฟาร์มเจ้าอื่นในไทย หรือต่างประเทศ เช่น บราซิล เปรู ส่วนใหญ่เขาไม่มีใบอนุญาต ไม่สามารถที่จะส่งออกได้ แต่ของทางฟาร์มเรามีใบอนุญาตการส่งออกที่ถูกต้อง ลูกค้าจึงยอมรับและไว้วางใจมาโดยตลอด การส่งออกของเราส่งไปทั่วโลก แต่จะมีกลุ่มลูกค้าหลักคือ ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ดูไบ โดยเฉพาะเกาหลีจะสั่งมากสุดและสั่งมาเกือบทุกปี” เจ้าของบอก