การแต่งหรือการซอยผลลำไย จะทำกัน 2 ครั้ง สำหรับลำไยอีดอ

ครั้งแรกจะแต่งช่อลำไยตอนผลมีขนาดเท่าผลมะเขือพวง โดยมักจะตัดปลายช่อลำไยออก 1 ส่วน 3 ของความยาวช่อดอกลำไย หรือถ้าติดผลดกเกินก็อาจจะต้องตัดออกครึ่งช่อ ซึ่งเกษตรกรที่ตัดแต่งหรือแรงงานต้องมีความเข้าใจ โดยการตัดแต่งผลออกจะให้เหลือผลในช่อราว 40-70 ผล ซึ่งกำลังพอเหมาะ (ในกรณีที่ต้นลำไยติดผลดกมากกว่า 80 ผล ต่อช่อ จะเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้อาหารไม่พอเพียงที่จะส่งไปเลี้ยงผล ทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ)

แล้วอีกสัก 20 วัน ก็จะกลับแต่งผล ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการเก็บตกจากรอบแรก เราต้องมาเก็บรายละเอียดอีกครั้ง การตัดแต่งช่อผลลำไยทำให้ผลลำไยมีขนาดผลใหญ่ มีขนาดผลที่สม่ำเสมอกันทั้งช่อ ลำไยจะได้เบอร์ใหญ่ อุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีกรรไกรตัดแต่งกิ่ง ใช้แต่งกิ่งที่ต่ำมือเอื้อมตัดถึง ส่วนที่สูงก็จะใช้กรรไกรยาวในการตัดปลายช่อดอก การจะตัดช่อผลออกมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ลำไย ความสมบูรณ์ของต้น ถ้าต้นสมบูรณ์สามารถไว้ผลต่อช่อได้มาก แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์ควรไว้ผลต่อช่อน้อย การตัดช่อผลช่วยทำให้ผลลำไยมีขนาดเพิ่มขึ้นสามารถจำหน่ายในราคาสูง ทำให้มีรายได้ต่อต้นมากกว่าต้นที่ติดผลดก

กรณีลำไย บ้านโฮ่ง 60 เป็นลำไยที่มีการติดผลต่อช่อปานกลาง ไม่สูงเท่าลำไยอีดอ แต่มองกลับกันการที่ลำไยบ้านโฮ่ง 60 ติดผลปานกลางทำให้ไม่ต้องแต่งช่อผลหรือซอยผลออกเลย ทำให้ลดขั้นตอนหรือค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานไปได้เป็นอย่างมาก

การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงติดผล

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจการระบาดของแมลงในสวนลำไย แมลงที่สำคัญพบในช่วงออกดอก ได้แก่ เพลี้ยไฟ และไรสี่ขา ถ้าระบาดอย่างรุนแรงควรพ่นสารฆ่าแมลงไดเมทโธเอท ในระยะที่ดอกยังไม่บาน แต่ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงดอกบาน เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อแมลงที่ช่วยผสมเกสร ช่วงติดผลให้ระมัดระวังแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ควรดูแลตั้งแต่ผลยังเล็กอยู่ โดยการฉีดพ่นด้วยน้ำมันปิโตรเลียมหรือไวท์ออยล์

ระยะเวลาตั้งแต่ราดสารจนเก็บเกี่ยวผลผลิตก็ประมาณ 7 เดือน ดังนั้น เกษตรกรสามารถวางแผนการตลาดหรือการผลิตเอาไว้ได้ว่าต้องการขายผลผลิตลำไยออกช่วงเวลาใด เพราะลำไยมันสั่งได้ กำหนดได้ค่อนข้างแน่นอน (แต่ถ้าย้อนไปถึงวันตัดแต่งกิ่ง ก็ต้องบวกเวลาเพิ่มไปอีก 2 เดือน)

ข้อปฏิบัติดูแลลำไยบ้านโฮ่ง 60 หลังจากราดสาร เมื่อลำไยออกดอกแล้วควรให้น้ำและปุ๋ยตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ผลมีขนาดเล็กและต้นอาจโทรมได้ ถ้าลำไยติดผลดกเกินไปคือ มีจำนวนผลในช่อ 80-100 ผล ขึ้นไป ควรตัดช่อผลบ้าง หรือปลิดผลออกบ้าง คือควรให้เหลือ 60-70 ผล ต่อช่อ การให้ปุ๋ยทางดินในระยะที่ผลลำไยกำลังขยายตัว สร้างเนื้อ ควรใช้ปุ๋ย N:P:K อัตราส่วน 3:1:2 และอาจเสริมด้วยปุ๋ยปลาทั้งทางดินและทางใบเป็นระยะๆ ก็ได้

ส่วนช่วงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือนครึ่ง ควรให้ปุ๋ย N:P:K อัตรา 1:2:4 หรือ 1:2:5 หรือสูตรใกล้เคียง การใช้ปุ๋ยปลาหมัก ฉีดพ่นทางใบหรือราดทางดินร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี จะช่วยทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเพิ่มขนาดผลได้โดยการทำปุ๋ยหมักปลา จะใช้เศษปลา น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ผสมน้ำส้มสายชู 2.5 ลิตร และกากน้ำตาล 20 ลิตร คลุกเคล้าให้ทั่วในช่วง 10 วันแรก ให้กวนทุกวันเพื่อให้การหมักสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยหมักไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงบีบเอาน้ำออกมาใช้พ่นได้โดยใช้ความเข้มข้น ประมาณ 0.5-1.0%

ส่วนกากใช้ผสมน้ำรดที่โคนต้นได้ เนื่องจากการใช้สารคลอเรต มักทำนอกฤดูกาล ดังนั้น จะพบกับปัญหาแมลงค่อนข้างสูง ตั้งแต่หนอนกินดอก มวนลำไย หนอนเจาะผล และที่สำคัญคือ ค้างคาว ซึ่งจะทำลายผลแก่ช่วงเก็บเกี่ยว หากรุนแรงมากเพียง 1-2 วัน ก็อาจทำลายได้หมดสวน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและตรวจตราอย่างใกล้ชิด

โดยปกติหลังจากวันที่ให้สารแล้วถึงวันที่ออกดอก ประมาณ 21 วัน จากนั้นจะใช้เวลาในการพัฒนาดอกและผลจนกระทั่งเก็บเกี่ยวได้ ประมาณ 7 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อมในขณะที่ออกดอกและติดผล จากการศึกษาพบว่า การให้สารเดือนพฤศจิกายนซึ่งถือว่าเป็นการผลิตลำไยก่อนฤดู จะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บเกี่ยวได้นานถึง 180-192 วัน

ส่วนการให้สารช่วงเดือนพฤษภาคมใช้เวลาเพียง 165-172 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ ช่วงออกดอกถึงดอกบาน ประมาณ 1 เดือน ดอกจะบานอยู่ประมาณ 1 เดือน ปกติดอกลำไยที่บานก่อนจะเป็นดอกเพศผู้ซึ่งมีปริมาณไม่มากและจะบานอยู่ประมาณ 5-7 วัน ก็จะหมด จากนั้นก็เริ่มมีดอกเพศเมียบานตามมา ซึ่งดอกชุดนี้จะติดผลและผลจะมีขนาดใหญ่ จะบานอยู่ประมาณ 7-10 วัน

เมื่อดอกเพศเมียชุดนี้ใกล้ๆ จะบานหมด ก็มีดอกเพศผู้ชุดที่ 2 โดยดอกเพศผู้ชุดนี้มีลักษณะคล้ายดอกกะเทยที่มีรังไข่อยู่ด้วย แต่มีขนาดเล็กและไม่รับการผสมเกสร และบานอยู่ 12-13 วัน บางครั้งก็จะมีดอกเพศเมียชุดสุดท้ายบานตามมาอีกเล็กน้อย ประมาณ 2-3 วัน โดยดอกเพศเมียชุดนี้จะติดผลได้ แต่ขนาดของผลมักจะเล็กกว่าผลที่ได้จากดอกชุดแรก ทำให้บางช่อมีอาจมีผล 2 รุ่น

เมื่อดอกบานหมดแล้วก็จะเห็นว่าลำไยเริ่มติดผล ผลจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 มิลลิเมตร จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้กับผลอ่อนขยายตัวค่อนข้างช้า เป็นการพัฒนาของเมล็ดและเปลือกเป็นส่วนใหญ่ ระยะนี้ต้นลำไยต้องการไนโตรเจนค่อนข้างมาก ซึ่งเกษตรกรทั่วไปมักใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 หลังเก็บเกี่ยวแล้วก็สามารถแตกยอดอ่อนได้ภายใน 18-21 วัน และเมื่อใบอายุ 60 วัน ก็เริ่มแตกยอดอ่อน ครั้งที่ 2 เมื่อใบอ่อนนี้แก่ก็สามารถราดสารได้อีกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี เช่นเดียวกับลำไยในฤดูปกติ

อย่างราคาขายผลผลิต “ลำไยบ้านโฮ่ง 60” ออกจากสวน “สวนคุณลี” จังหวัดพิจิตร โทร. 081-886-7398 ที่ผ่านมาก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท และลำไยยักษ์พันธุ์จัมโบ้ สามารถจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 150-200 บาท เลยทีเดียว ซึ่งตอนนี้ก็กำลังขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น เพื่อผลิตผลจำหน่ายให้พอกับความต้องการของผู้บริโภค

ทางสวนคุณลีเชื่อว่า ผู้บริโภคมีความชอบลำไยที่มีขนาดผลใหญ่ รสชาติหวาน ทั้งที่ซื้อเพื่อบริโภคเองและซื้อไปเป็นของฝาก ซึ่งลำไยเป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ มีเทคโนโลยีในการบังคับให้ออกนอกฤดูได้ตามความต้องการ

“ข่าแดง” หรือ ข่าอ่อน เป็นพืชสมุนไพรที่กำลังได้รับความนิยมสูงในการนำมาเป็นส่วนประกอบหลายเมนูอาหาร อีกทั้งเป็นพืชที่ทนแล้ง ต้านทานโรคได้ดี ปลูกและดูแลง่าย สรรพคุณมากมายโดยเฉพาะด้านสุขภาพ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดสูง

การยึดอาชีพปลูกข่าแดงของชาวบ้านที่บ้านเกษตรสมบูรณ์ ตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ทำกันมายาวนานกว่า 30 ปี เพราะข่าแดงเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก เป็นพืชที่ช่วยกันในครัวเรือน ลงทุนน้อย ปลูกแล้วเก็บผลผลิตได้นานเป็น 10 ปี ที่สำคัญมีรายได้ทุกวัน จึงเป็นพืชที่ชาวบ้านไม่ง้อรายได้จากการปลูกข้าว

ฉะนั้น เกือบทั้งหมู่บ้านหันมาปลูกข่าแดงสร้างรายได้ อีกทั้งยังสร้างมูลค่าด้วยการปลูกข่าแบบอินทรีย์จนได้ใบรับรองมาตรฐาน จึงเป็นที่ต้องการของลูกค้าหลายพื้นที่ทั่วประเทศและจากที่เคยเป็นรายได้เสริมเมื่อก่อน จึงกลายเป็นรายได้หลักในวันนี้ กระทั่งทำให้ทุกครอบครัวในตำบลห้วยขะยุงที่ปลูกข่าแดงขายมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน

คุณนวนศรี พรมมากอง อยู่บ้านเลขที่ 83 หมู่ที่ 13 บ้านเกษตรสมบูรณ์ ตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชาวบ้านในพื้นที่อีกคนที่ปลูกข่าแดงมานานหลายสิบปี ใช้พื้นที่ปลูกข่าประมาณ 3 ไร่

เกษตรกรรายนี้เล่าว่า ถ้าเริ่มปลูกข่าแดงครั้งแรกควรปลูกประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยจะใช้หัวข่าแก่ปลูก เมื่อปลูกแล้วใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงเก็บผลผลิตได้ ข่านั้นปลูกครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตได้ยาวนานต่อเนื่องถึง 10 ปี ข่าที่ปลูกกันจะเป็นพันธุ์ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ข่าแดง” เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย แตกหน่อดี ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ซึ่งปกติแล้วจะปลูกกันไร่ละประมาณ 800-900 ต้น ระยะปลูกห่างกันต้นละเมตร ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีละ 4 ครั้ง

สำหรับวิธีเก็บผลผลิตจะสับหรือตัดหน่ออ่อนด้วยเสียม ทั้งนี้ การสับหรือตัดหน่ออ่อนมากเกินไปอาจทำให้ต้นแม่โทรมเร็ว แล้วจะให้หน่อช้า ดังนั้น จึงต้องบำรุงต้นแม่ให้ดีเพื่อให้ได้หน่อข่าอ่อนที่ดีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมที่เป็นฤดูหนาวพบว่าหน่ออ่อนมักแตกช้า และชาวบ้านจะถือโอกาสพักต้น รอให้พ้นหน้าหนาวไปก่อน

หลังจากสับหรือตัดต้นข่ามาจากสวนแล้วจะนำมาล้างทำความสะอาด แล้วปอกลอกเปลือกออก จากนั้นตัดแต่งให้สวยงามแล้วนำไปมัดเป็นกำ ให้มีกำละ 5-6 ต้น ขึ้นอยู่กับขนาด นำไปขายให้แก่บ้านที่รับซื้อทุกวันในราคาครั้งละอย่างต่ำ 500 บาท ทำให้มีเงินได้จากข่าแดงถึงเดือนละเกือบ 20,000 บาท พร้อมกับบอกว่ารายได้เช่นนี้ดีกว่าการทำนาขายข้าวอีก

ขณะเดียวกัน คุณสำรี แก้วมณี เจ้าหน้าที่ อกม. (อาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน) โทรศัพท์ (085) 611-6346 ได้เพิ่มเติมข้อมูลการปลูกข่าแดงของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ว่า อาชีพนี้ชาวบ้านในหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ทำกันมานานกว่า 30 ปี ทำกันเกือบทุกบ้าน แต่ละบ้านใช้พื้นที่ปลูกข่าแดงประมาณ 1-3 ไร่ โดยไม่มากกว่านี้ เนื่องจากดูแลไม่ทั่วถึงเพราะทำกันเฉพาะในครัวเรือน ทั้งนี้ การเก็บข่าแดงจะสับหรือตัดหน่ออ่อนทุกวันเวียนไปทีละแปลง สลับไป-มาจนทั่ว

ลักษณะการปลูกข่าแดงเป็นการปลูกครั้งเดียว เพราะจากนั้นจะเก็บผลผลิตไปเรื่อยๆ ได้ยาวนาน 8-10 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแล สำหรับต้นข่าแดงที่มีหน่ออ่อนแล้วพร้อมเก็บได้คือ ต้นที่มีใบจำนวน 3 ใบ แต่ถ้าต้นไหนมีมากกว่า 3 ใบ จะมีหน่อแก่ ขายไม่ได้ราคา

ต้นข่าแดงชอบอากาศร้อน ยิ่งถ้าให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง ไม่ต้องใช้น้ำมาก แต่ให้บ่อย เพราะข่าแดงเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย จะทำให้หน่อแตกได้ดี จึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ชาวบ้านหันมาปลูกพืชน้ำน้อย ดังนั้น ข่าแดงถือว่าตอบโจทย์ได้ตรงเป้าหมาย

สำหรับการนำข่าแดงไปบริโภคนั้น ชาวบ้านนิยมกินสด หรือบางแห่งใช้ลำต้นนำไปสับรับประทานแบบเมี่ยง ส่วนถ้าเป็นเมนูอาหารนิยมนำไปนึ่ง ต้มยำ ทำน้ำพริก หรือซุป (เหมือนซุบหน่อไม้)

คุณสำรี บอกว่า ข่าแดงเป็นพืชที่ปลูก/ดูแลไม่ยาก แมลงศัตรูพบบ้างจะเป็นหนอนกอ จะพบในหน้าหนาวเท่านั้น โดยหนอนกอมักเข้าไปกินไส้ในต้นอ่อน ซึ่งชาวบ้านไม่นิยมใช้สารเคมีป้องกันเพราะกลัวเกิดอันตราย แต่จะใช้วิธีสังเกตความผิดปกติของต้น แล้วเมื่อพบหนอนจะทำลายทิ้ง

ส่วนการให้ปุ๋ยจะเน้นใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ส่วนปุ๋ยเคมีใช้น้อยมากประมาณ 1 ไร่ ต่อกระสอบ ต่อปี ดังนั้น ข่าแดงของหมู่บ้านนี้จึงปลูกแบบอินทรีย์แล้วยังจัดระบบการปลูกเป็นแบบแปลง GAP ด้วย จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในจังหวัดใกล้เคียงและจังหวัดอื่น

เจ้าหน้าที่ อกม. เผยว่า ปกติชาวบ้านจะสับหรือตัดหน่อข่าอ่อนได้จำนวนไม่ต่ำกว่าวันละ 300 ต้น หรือบางครัวเรือนอาจเก็บได้ถึงวันเป็นพันต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพอใจในรายได้ของแต่ละครัวเรือน เรียกว่าถ้าต้องการเงินมากก็ช่วยกันเก็บ ทั้งนี้ ราคาที่ชาวบ้านขายให้คนรับซื้อจะอยู่ระหว่าง 5-7 บาท ต่อมัด (ขึ้นอยู่กับราคาท้องตลาด) จึงทำให้มีรายได้จากการขายหน่อข่าแดงอย่างต่ำวัน 500 บาท แต่ครัวเรือนไหนขยันมากอาจได้ถึงวันละ 1,000 บาท ต่อวัน

สำหรับต้นทุนการปลูกข่าแดง คุณสำรีชี้ว่า จะเกิดขึ้นเพียงแค่การปลูกครั้งแรกเท่านั้น อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนค่าพันธุ์เพราะสามารถตัดเก็บต้นแก่ที่สมบูรณ์ไว้ใช้ขยายพันธุ์ต่ออีกในรุ่นต่อไปได้ ส่วนการลงทุนอย่างอื่นคงมีแค่ค่าซื้อปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี (เล็กน้อย) ค่าไถพรวนปรับพื้นที่ ค่าน้ำ และค่าไฟ ซึ่งประเมินแล้วมีค่าใช้จ่ายเพียงไร่ละไม่เกิน 3,000 บาทเท่านั้น

“ชาวบ้านทุกครัวเรือนที่ปลูกข่าแดงเป็นอาชีพมีความพอใจกับรายได้ที่รับจากในอดีตที่ปลูกข่าแดงขายเป็นรายได้เสริม แต่ตอนนี้กลับเป็นรายได้หลัก แทนการปลูกข้าว เนื่องจากปลูกข้าวมีรายได้ปีละครั้ง แต่การปลูกข่าแดงขายมีรายได้ทุกวันแล้วทำให้ทุกครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีสามารถส่งบุตร-หลานเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้” คุณสำรี เผย

จากนั้นได้พบกับ คุณนาง เป็นคนดูแลการรับซื้อข่าแดงประจำหมู่บ้าน เธอบอกว่าในแต่ละวันรับซื้อข่าแดงจากชาวบ้านจำนวนพันกว่ามัด ในราคา 4 บาท ต่อมัด แล้วถ้าเป็นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ราคาจะสูงไปถึงมัดละ 7 บาท รายได้ที่คุณนางรับจากชาวบ้านเพียงมัดละ 1 บาท

พร้อมกับเผยว่า รายได้ที่ชาวบ้านนำข่าแดงมาขายเฉลี่ยแล้วคนละ 400-500 บาท ต่อครั้ง ต่อวัน หรือประมาณ 15,000 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ ภายหลังจากรับซื้อข่าแดงจากชาวบ้านแล้วจะรวบรวมนำไปส่งขายให้พ่อค้าที่ตลาดในอำเภอวารินชำราบทุกวัน ในจำนวนวันละเป็นตัน จากนั้นจึงไปขายส่งต่อให้แม่ค้าในตลาดนัดเพื่อแบ่งเป็นกำขนาดเล็กขายให้ผู้บริโภคในราคากำละ 10-15 บาท

“หลังจากชาวบ้านหันมาปลูกข่าแดงกันจำนวนมากทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญมีรายได้ดีกว่าการปลูกข้าวอย่างมาก อย่างถ้าเปรียบเทียบรายได้จากการขายข่าแดง 1 ไร่ มีรายได้มากกว่าการขายข้าว 1 ไร่เสียอีก” คุณนาง กล่าว

จากข้อมูลการปลูกและขายข่าแดงจากบุคคลต่างๆ จะพบว่าในปัจจุบันชาวบ้านหันมาปลูกข่าแดงกันเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะว่าปลูก/ดูแลง่าย แล้วมีรายได้ทันที ข่าแดงจึงกลายเป็นพืชทางเลือกสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้หลักให้แก่ชาวบ้าน แทนการรอขายข้าว

คราวนี้ลองมาคำนวณตัวเลขรายได้ของชาวบ้าน เพียงแค่ครัวเรือนเดียวถ้าขายข่าแดงทุกวันมีรายได้วันละ 500 บาท หรือเดือนละ 15,000 บาท แต่ถ้าทั้งหมู่บ้านปลูกข่าแดงขายกันจำนวน 100 หลังคาเรือน จะพบว่ามีรายได้รวมเฉลี่ย 1.5 ล้านบาท ต่อเดือน

อย่างนี้…จะเรียกว่าหมู่บ้านข่าแดงเงินล้านได้ไหม!! ทุกวันนี้ ภาคเกษตรต้องเผชิญปัญหาดินเสื่อม โรคแมลงศัตรูพืชและปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ได้ผลผลิตต่ำสวนทางกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หากใครกำลังมองหาแนวทางลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ก็แนะนำให้ทดลองใช้ “ปุ๋ยปลาร้า” (น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ

ย้อนกลับเมื่อปี 2550-2551 กรมส่งเสริมการเกษตร โดยคุณสุพจน์ แสงประทุม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในสมัยนั้น เกิดแนวคิดที่จะช่วยเกษตรกร “ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม” จึงได้มอบหมายให้ นักวิชาการเกษตร ชื่อ คุณวิชัย ซ้อนมณี ศึกษาทดลองการใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ มาใช้ในแปลงเพาะปลูกพืช ก็ได้ผลสรุปว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลหรือที่เรียกกันทั่วไปคือ ปุ๋ยปลาร้า

โดย ปุ๋ยปลาร้า มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม ได้อย่างดี

เมื่อนำปุ๋ยปลาร้าไปให้เกษตรกรทดลองปุ๋ยปลาร้าก็พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในแปลงปลูกพืช เพราะสามารถเพิ่มจำนวนปริมาณของผลผลิตมากขึ้น ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น เป็นทั้งปุ๋ยและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป เกษตรกรมีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุนการผลิตลดลงเมื่อเทียบการปลูกโดยใช้สารเคมี ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ผลการทดสอบปุ๋ยปลาร้ากับพืช
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ค้นพบว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลหรือปุ๋ยปลาร้าที่หมักจากปลาทะเลนานกว่า 8 เดือนขึ้นไป มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทดลองกับพืชชนิดต่างๆ แล้ว ปรากฏผลดังนี้ ได้ทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 2 ครั้ง ต่อ 1 ปี ในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร ในพื้นที่ไร่อ้อย 1 ไร่ ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำแล้ว 200 ลิตร มี 2 วิธี ดังนี้

วิธีการที่ 1
– ตั้งแต่เริ่มวางท่อนพันธุ์อ้อยจนท่อนพันธุ์อ้อยได้ 1 ศอก ประมาณ 3 เดือน กำหนดการฉีด 1 ครั้ง ในอัตราส่วน น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 1 ลิตร ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดที่โคนและใบ

– หลังจากนั้นพอเข้าเดือนที่ 5 ฉีดอีกครั้ง โดยใช้อัตรา 1 ต่อ 100 เหมือนเดิม

ตอนนี้ฉีดโคนอย่างเดียว และไม่ต้องฉีดแล้วจนกระทั่งเก็บเกี่ยว จนอายุครบ 1 ปี หรือ 12 เดือน

วิธีการที่ 2
– แบบปล่อยน้ำไหลเอื่อยๆ ไปทั่วแปลงอ้อย โดยใช้อัตราส่วนและระยะเวลาเท่ากัน คือปล่อยน้ำช่วงเดือนที่ 3 และเดือนที่ 5

ผลที่ได้รับ
1. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุยมากขึ้น
2. ป้องกันการระบาดของหนอนกินราก หรือหนอนกอไม่ให้มารบกวน
3. ปริมาณน้ำหมักของอ้อยได้ปริมาณน้ำหนักมากขึ้นเท่าตัว
4. เป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป
5. ปลอดภัยต่อร่างกายและรักษาสิ่งแวดล้อม

ในช่วงเตรียมดินใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทั่วแปลงนา ปรับสภาพดิน หลังจากนั้นใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล ในอัตราส่วน 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 4 ครั้ง ดังนี้

การแช่เมล็ดพันธุ์
1. แช่เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 วัน โดยผสมน้ำหมักชีวภาพกับน้ำในอัตรา 1 : 200 (หรือน้ำหมักชีวภาพ 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)

2. แช่เมล็ดพันธุ์ 1 วัน ยกขึ้นจากน้ำ ผสมกับน้ำหมักชีวภาพกับน้ำในอัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ฝักบัวรดเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำแล้ว

การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากตอซังข้าว
เมื่อเก็บเกี่ยวข้าว ไม่ควรเผาตอซังเพื่อใช้ประโยชน์จากตอซังให้เป็นปุ๋ย ด้วยการปล่อยตอซังทิ้งไว้ในนา เมื่อสูบน้ำเข้านาให้วางขวด หรือแกลลอนน้ำหมักชีวภาพไว้ที่เครื่องสูบน้ำ โดยคลายเกลียวฝาตั้งเอียง เพื่อให้น้ำหมักหยดไปตามน้ำที่สูบเข้านา โดยมีระยะการหยดพอสมควร จนเสร็จสิ้นการสูบน้ำ ผลที่ได้หลังจากนั้นประมาณ 7-10 วัน ตอซังจะย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังทำให้ไข่แมลง ไข่เพลี้ย ฝ่อตายได้ด้วย

ระยะเวลาการฉีด
ครั้งที่ 1 : เมื่อข้าวอายุ 15 วัน
ครั้งที่ 2 : เมื่อข้าวอายุ 35 วัน
ครั้งที่ 3 : เมื่อข้าวอายุ 55 วัน
ครั้งที่ 4 : เมื่อข้าวอายุ 75 วัน

การใส่ปุ๋ย
อัตราการใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร

กรณีที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Royal Online ให้ใช้สุราขาว 2 ขวด กับหัวน้ำส้มสายชู 1 ขวด และยาฉุน 1 ห่อ ผสมให้เข้ากันก่อน แล้วจึงมาผสมน้ำหมักจากปลาทะเลในอัตราส่วน น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 500 ซีซี กับส่วนผสมของสุราและน้ำส้มสายชู 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าว ผลที่ได้รับ
1. ต้นข้าวแข็งแรง ใบตั้งชัน ออกรวงเต็มเมล็ด
2. ป้องกันการโค่นล้มของต้นข้าว
3. ป้องกันการระบาดของหนอนกอ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ หนอนห่อใบข้าวและโรคที่เกิดจากเชื้อรา
4. เป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กัน
5. ช่วยเพิ่มผลผลิตมากขึ้นและลดต้นทุน
6. ปลอดภัยต่อชีวิตร่างกายของเกษตรกรและรักษาสิ่งแวดล้อม
7. ความชื้นของเมล็ดข้าวได้มาตรฐาน
8. แมลงศัตรูพืชไม่มารบกวน
9. ช่วยปรับสภาพดินให้ดินมีธาตุอาหาร N P K ที่พืชต้องการ ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวสมบูรณ์ แข็งแรง เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

การเพาะเห็ดหูหนู
การใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลกับการเพาะเห็ดหูหนูนั้น ใช้เมื่อเอาเชื้อเห็ดเข้าโรงเห็ด เมื่อเห็ดออกปลิง ให้เริ่มฉีดน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 200 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร (200 ซีซี หรือเท่ากับ 1 กระป๋องน้ำอัดลม) โดยฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ฉีดไปตลอดจนกว่าจะเก็บหมด ฉีดช่วงเย็นประมาณ 5-6 โมงเย็น แล้วฉีดน้ำตาม 1 ครั้ง และรดน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะเก็บดอกเห็ดหมด (ทำซ้ำเหมือนเดิมจนหมดเชื้อ ปกติจะเก็บทุกๆ 5 วัน)

ข้อควรระวัง
การเพาะเห็ดหูหนูอาจเกิดเชื้อราจากขี้เลื่อยไม่ดี จะทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งมักเกิดจากตัวเชื้อทีแรกในก้อนเห็ดได้

ผลที่ได้รับ
1. น้ำหนักของเห็ดจะได้มากกว่าปกติเท่าหนึ่ง
2. ดอกจะหนามากและสีของดอกจะสวย
3. เป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดอกเห็ดและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป
4. ปลอดภัยต่อร่างกายและรักษาสิ่งแวดล้อม

ใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลสำหรับต้นอ่อนถั่วฝักยาว (ต้นกล้า) โดยใช้น้ำหมักชีวภาพครึ่งลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ในช่วง 15 วันแรก หลังจาก 15 วัน นับไปถึง 20 วัน ใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ให้ฉีดน้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร จนกว่าจะเก็บถั่วฝักยาวจนหมด ระยะเวลาจากวันแรกจนเก็บถั่วฝักยาวประมาณ 45 วัน

ผลที่ได้รับ
1. สามารถเก็บได้ในปริมาณที่มากกว่าเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี
2. ป้องกันไม่ให้หนอนเจาะฝักถั่วและแมลงศัตรูพืชมารบกวน
3. ต้นถั่วฝักยาวที่ตายแล้ว สามารถฟื้นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง
4. เป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป
5. ปลอดภัยต่อร่างกายและรักษาสิ่งแวดล้อม