การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ครั้งที่ 1 สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย)

อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วัน หลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยก็จะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว

การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วัน หลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

การกำจัดวัชพืช

ถ้าแปลงปลูกข้าวโพดหวานมีวัชพืชขึ้นมากจะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลง จึงควรมีการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก

วิธีการกำจัดวัชพืชสามารถทำได้ดังนี้ การฉีดยาคุมวัชพืช ใช้สารอะลาคลอร์ ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูกก่อนที่วัชพืชจะงอก ขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ใช้วิธีการเขตกรรม

ถ้าหากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ควรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่โรงงานผู้ส่งเสริมการปลูก “โรคราน้ำค้าง” โรคสำคัญ

ปัจจุบันพันธุ์ข้าวโพดหวานเกือบทุกพันธุ์ที่ขายในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคราน้ำค้าง ตั้งแต่พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 จนถึงพันธ์ล่าสุดไฮ-บริกซ์ 9 ซึ่งทุกพันธุ์ได้ผ่านการคลุกยาป้องกันโรคราน้ำค้าง (ยาเมทาแลกซิล) ในอัตรายาที่เหมาะสม เมื่อปลูกแล้วจะไม่พบว่าเป็นโรค

แต่การปลูกที่ผิดวิธีก็อาจเป็นสาเหตุให้เป็นโรคราน้ำค้างได้ การปลูกที่ผิดวิธีที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้

การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูก เกษตรกรเชื่อว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้การงอกดีและมีความสม่ำเสมอ แต่การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้ยาที่คลุกติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นยาป้องกันโรคราน้ำค้างละลายหลุดออกไป ทำให้ยาที่เคลือบเมล็ดมีน้อยลงหรือไม่มีเลย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไปปลูก ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงเป็นโรคราน้ำค้าง

วิธีแก้ไข คือไม่แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกหรือคลุกสารเคมีอื่นเพิ่ม เพราะมีผลต่อความต้านทานโรคราน้ำค้างและความงอกของเมล็ดพันธุ์

อีกความเชื่อคือ ปล่อยน้ำท่วมขังแปลงหลังปลูก เกษตรกรบางรายเมื่อปลูกเสร็จจะปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกหรือปล่อยน้ำท่วมร่องปลูก ซึ่งน้ำจะท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่าจะซึมลงดินหมด เมล็ดจะแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ยาป้องกันโรคราน้ำค้างที่เคลือบเมล็ดอยู่จะละลายหายไปกับน้ำ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่ได้รับยาป้องกันโรคราน้ำค้าง จึงแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น

วิธีแก้ไข คือให้น้ำในแปลงก่อนการปลูกและรอให้ดินมีความชื้น เหมาะกับการงอกของเมล็ด จึงทำการปลูก ยาที่เคลือบเมล็ดจะไม่ละลายหลุดไปกับน้ำ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงได้รับยาอย่างเต็มที่และไม่เป็นโรคราน้ำค้าง การเก็บเกี่ยว

โดยปกติข้าวโพดหวานจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุ ประมาณ 70-75 วัน หลังปลูก แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุดคือ ระยะ 18-20 วัน หลังข้าวโพดออกไหม 50% (ข้าวโพด 100 ต้น มีไหม 50 ต้น) ข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 จะเก็บเกี่ยวที่อายุ ประมาณ 68-70 วัน และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3 จะเก็บเกี่ยวที่อายุ ประมาณ 65-68 วัน หลังปลูก

แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็น อายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก

หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานหรือจำหน่ายโดยเร็ว เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ หากขาดน้ำจะมีผลต่อเมล็ดและน้ำหนักของฝัก ปัญหาและการแก้ไข ที่พบเห็นบ่อยๆ

ปัญหาที่พบบ่อยคือ ความงอก ปกติเมล็ดพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และไฮ-บริกซ์ 3 ได้ผ่านการทดสอบความงอกมาแล้วจึงจำหน่ายสู่เกษตรกร แต่บางครั้งเมล็ดพันธุ์อาจจะค้างอยู่ในร้านค้าเป็นเวลานานหรือเกษตรกรอาจจะซื้อเมล็ดพันธุ์มาเก็บไว้ที่บ้าน และสถานที่เก็บอาจจะไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกลดลง

วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดคือ ก่อนปลูกทุกครั้งให้ทดสอบความงอกของเมล็ดที่จะปลูกก่อน โดยการสุ่มเมล็ดจากถุง ประมาณ 100 เมล็ด แล้วปลูกลงในกระบะทรายหรือดิน แล้วรดน้ำเพื่อทดสอบความงอก นับต้นที่โผล่พ้นดินในวันที่ 7 ถ้ามีจำนวนต้นเกิน 85 ต้น ถือว่ามีอัตราความงอกที่ใช้ได้ ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ถุงนั้นไปปลูกได้

เกษตรกรท่านใดสนใจเมล็ดพันธุ์ “ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1”สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ทุกวันนี้ ปัจจัยการผลิตสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนพืช ค่าน้ำมัน ฯลฯ มีราคาแพง ทำให้ชาวนามีภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ดังนั้น เกษตรกรคงต้องปรับตัวเอง เพื่อสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืน ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะพาไปเรียนรู้เคล็ดลับการปลูกข้าว ต้นทุนต่ำ ของชาวนาบุรีรัมย์ที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวหอมมะลิกับบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวตราฉัตร ที่ใช้เทคนิคการดูแลจัดการแปลงนารูปแบบใหม่ ทำให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้นจาก 390 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 430 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย

โครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทกับชาวนาผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างความยั่งยืนร่วมกัน ประการสำคัญก็คือ บริษัทต้องการที่จะมีแหล่งผลิตข้าวที่มั่นใจในคุณภาพของวัตถุดิบ เพราะจำเป็นต้องรักษามาตรฐานของข้าวตราฉัตร ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงปัญหาด้านการตลาดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จึงมีแนวคิดที่จะรวมเอาจุดเด่นของเกษตรกร และความชำนาญของบริษัทเข้าด้วยกัน นับเป็นการทำธุรกิจที่เกื้อกูลกัน

“คุณสมนึก ทราบรำ” ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หนึ่งในตัวแทนชาวนาที่มีชีวิตสดใส หลังประสบความสำเร็จในการปลูกข้าวหอมมะลิ ต้นทุนต่ำ กำไรสูง เมื่อเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวหอมมะลิ กับ “ข้าวตราฉัตร” เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวผมมีอาชีพทำนามาตลอด ต่อมาปี 2554 ข้าวตราฉัตรได้เข้าตั้งโรงสีอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน และแนะนำให้ชาวบ้านปลูกข้าวคุณภาพดีส่งขายบริษัท และกรมการข้าวก็เข้ามาช่วยดูแลให้คำแนะนำเรื่องขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

คุณสมนึก ยืนยันว่า ที่นี่ถือเป็นแผ่นดินทองของการปลูกข้าวหอมมะลิที่มีความโดดเด่น เพราะเป็นที่นามาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย แทบไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง บางปีเจอปัญหาโรคใบแดง ใบไหม้ในข้าว ก็จะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแก้ไขปัญหา โดยใช้มูลวัว มูลควาย ไปหว่านในแปลงนาข้าวที่เป็นโรค ปรากฏว่า ต้นข้าวจะกลับมีใบเขียวเหมือนเดิม ข้อจำกัดของการทำนาของชุมชนแห่งนี้ก็คือ เป็นนาน้ำฝน ทำนาได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ถ้าฝนไม่มาก็ทำนาไม่ได้ ที่นี่ไม่เคยเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง แม้แต่หอยเชอรี่ยังไม่มีการระบาดในท้องถิ่นแห่งนี้เลย

ปัจจุบัน คุณสมนึกเป็นแกนนำรวมกลุ่มสมาชิกชาวนา ประมาณ 45 ราย เพื่อปลูกข้าวส่งขายข้าวตราฉัตร โดยมีเนื้อที่ปลูกข้าวรวมกัน 200 ไร่ เก็บเกี่ยวข้าวออกขายได้ ประมาณ 4-5 ตัน โดยขายข้าวในราคากิโลกรัมละ 25 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป ประมาณ 14-15บาท/กิโลกรัม กลุ่มชาวนาพึงพอใจกับตัวเลขรายได้ที่เกิดขึ้น จึงปลูกข้าวส่งขายบริษัทติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว

โครงการสมาชิกเกษตรกรบุรีรัมย์ ของบริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด (ข้าวตราฉัตร) นับเป็นโครงการที่มีมาตรฐาน ทั้งด้านการรับซื้อและการนำระบบการบริหารจัดการเพาะปลูกที่ถูกต้องมาใช้ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ผลผลิตตามที่ตลาดต้องการ

โดยทั่วไป ขั้นตอนการปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ตามหลัก GAP ที่บริษัทแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติ เริ่มจากการคัดเลือกพื้นที่ปลูกข้าว เพราะสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ จะต้องมีค่า pH ประมาณ 5.5-6.5 ภายใน 3 ปี เกษตรกรจะต้องคอยวิเคราะห์ดินอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ ที่มีอัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยนาหว่านข้าวแห้ง ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ ประมาณ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนนาปักดำมือ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 6-8 กิโลกรัม/ไร่

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ 105 สำหรับนาหว่านข้าวแห้ง เกษตรกรจะไถพรวน ผาล 3-6 ให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เพื่อกลบตอซัง พลิกดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ ประมาณ 2 สัปดาห์ และหว่านเมล็ดข้าวในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านให้สม่ำเสมอและกระจายทั่วทั้งแปลง จากนั้นจะใช้โรตารี่ ปั่นตีดิน ในสภาพดินแห้ง ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ให้แน่นพอเหมาะ และกระจายตัวสม่ำเสมอ หรือใช้รถไถเดินตาม ผาล 2 ไถกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ แล้วจึงใช้คราดเกลี่ยดินเพื่อให้ได้ระดับเดียวกัน เหมาะสมต่อการงอกของข้าว

ด้าน นาปักดำมือ การเตรียมแปลงตกกล้า ชาวนาจะไถพรวน ผาล 3-6 ทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้น ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3 เซนติเมตร ไถพรวน ผาล 2 แล้วคราดดินให้ละเอียด เพาะเมล็ดให้งอกตุ่มตายาว 1-2 มิลลิเมตร หว่านเมล็ดพันธุ์ที่งอกแล้ว ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำจนต้นกล้าข้าวอายุ 25-30 วัน จึงนำไปปักดำได้ ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 1.5 กิโลกรัม/ไร่ ก่อนถอนกล้า 5-7 วัน เพื่อให้ง่ายต่อการถอน

ส่วนการเตรียมแปลงเพื่อการปักดำมือ ชาวนาจะใช้วิธีการไถพรวน ผาล 3-6 ทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้น ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3 เซนติเมตร ไถพรวน ผาล 3-6 อีกครั้ง แล้วคราดดินให้ละเอียด ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และรอปักดำ สำหรับพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จะใช้วิธีปักดำที่ระยะ 25×25 เซนติเมตร ชาวนาจะถอนกล้าโดยไม่ต้องตัดใบและไม่ฟาดมัดกล้า เพราะจะทำให้ต้นกล้าช้ำ นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ไปปักดำ 3-5 ต้น/กอ ลึก 3-5 เซนติเมตร ระดับน้ำขณะปักดำ ต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร

ส่วนการใช้ปุ๋ย เกษตรกรบอกว่า จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อน ให้ใส่ก่อนไถพรวน ผาล 3-6 โดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 40-50 กิโลกรัม/ไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สำหรับนาหว่านข้าวแห้ง ต้องใส่ในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ (ต้นเดือนสิงหาคม) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 (นาดินเหนียว) ส่วนนาปักดำมือ ให้ใส่หลังปักดำ 10-12 วัน หรือในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 (นาดินเหนียว)

ขณะที่การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ชาวนาจะใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกดอก ประมาณ 30 วัน (ประมาณวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ โดยทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย จะต้องมีน้ำขังในแปลงนา ประมาณ 3-8 เซนติเมตร เพื่อให้ข้าวสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อรักษาคุณภาพข้าวพันธุ์ดี คุณสมนึกและกลุ่มเพื่อนชาวนาจะใส่ใจดูแลการตัดข้าวปน โดยสำรวจต้นข้าวใน 2 ระยะ คือ ระยะแตกกอ โดยตรวจดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ขนาดความสูงของใบ หากพบต้นผิดปกติให้ถอนทิ้งทันที ส่วนระยะออกดอก ก็ต้องคอยตรวจดูความสูงของต้นข้าวในระยะออกดอก การออกดอกก่อนหรือหลัง ลักษณะของดอก สี ขนาดของเกสรตัวผู้ ถ้าพบต้นผิดปกติ ให้ตัดทิ้งทันทีเช่นกัน

ส่วนขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว คุณสมนึกบอกว่า ต้องทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยบันทึกวันออกดอก (เมื่อข้าวออกดอก ร้อยละ 80 ของแปลง) การกำหนดวันเก็บเกี่ยว จะนับจากวันออกดอกไปไม่น้อยกว่า 25 วัน และไม่เกิน 35 วัน เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดดี และมีคุณภาพการสีดี

ก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 10 วัน ชาวนาในชุมชนแห่งนี้จะระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน ทุกวันนี้ชาวนาส่วนใหญ่นิยมใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อประหยัดเวลาและต้นทุนแรงงาน ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้ข้าวร่วงหล่นน้อย ภายหลังการเก็บเกี่ยวที่นี่จะไม่นิยมเผาฟางหลังการทำนา แต่จะใช้วิธีการไถกลบตอซัง พอฝนตกลงมา ตอซังที่ไถกลบก็จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินต่อไป

บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวตราฉัตร ร่วมมือกับชาวนาในโครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิ ปี 2556/57 เปิดตัว “ข้าวสีสด หรือ Fresh Milling” ถือเป็นครั้งแรกของเมืองไทย ที่ผู้บริโภคจะได้รับประทานข้าวที่อุดมไปด้วยคุณค่าและความอร่อยที่แตกต่างจากข้าวสารทั่วไป เพราะเป็นข้าวที่ผ่านกระบวนการสีสดๆ และวิธีการจัดเก็บรักษาความสดใหม่ของข้าวเปลือกที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนได้รับประทานข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวมาจากรวงข้าว คาดว่าภายในปี 2558 บริษัทจะมีรายได้จากการขายข้าวสีสด ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

เคล็ดลับของข้าวสีสดจากข้าวตราฉัตร เริ่มจากการคัดเลือกแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดในแถบภาคอีสาน จากแปลงนาเกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิ กับทางบริษัท ทั้ง 4 พื้นที่นำร่อง ใน 4 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ, อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร รวมกว่า 5,000 ไร่ ในปีการผลิต 2556/57 บริษัทได้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องของระบบการบริหารจัดการการเกษตร ตั้งแต่แปลงนา จัดหาเมล็ดพันธุ์ พร้อมทั้งให้ความรู้ ขั้นตอนการปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตดี ราคาสูง ต้นทุนต่ำ อีกทั้งรับซื้อข้าวเปลือกคืนโดยตรงจากเกษตรกรสมาชิก ทำให้ข้าวทุกเมล็ดที่ได้มา เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต

ส่วนกระบวนการผลิต “ข้าวสีสด” เริ่มตั้งแต่ นำข้าวหอมมะลิของเกษตรกรสมาชิกที่เพิ่งผ่านการกะเทาะเปลือก และขัดสีเอารำข้าวออกสดๆ ใหม่ๆ ทำให้ข้าวที่ได้มีกลิ่นหอมกว่า และมีคุณประโยชน์มากกว่าข้าวสารที่อายุเท่ากัน แต่ผ่านการขัดสีมานาน ข้าวสีสดจึงมีความสดใหม่ เหมือนเพิ่งเก็บเกี่ยวจากรวง เพราะยังคงมีผิวรำ และจมูกข้าว จึงยังคงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีรสชาติความอร่อยที่แตกต่างจากข้าวหอมมะลิทั่วไป หรือข้าวกล้อง

เอกลักษณ์พิเศษของ “ข้าวสีสด” เป็นข้าวที่ผ่านการคัดสดใหม่ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนจะนำมาผ่านกระบวนการ เพื่อรักษาคุณภาพให้คงความสดใหม่ เหมือนเพิ่งเก็บเกี่ยวจากรวง ด้วยเทคโนโลยีเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ใน Grain Cooler ที่อุณหภูมิคงที่ 25 องศาเซลเซียส ก่อนจะนำมากะเทาะเปลือกให้เป็นข้าวกล้อง เพื่อบรรจุลงถุงภายใน 24 ชั่วโมง จากโรงสีของตราฉัตร แล้วจัดเก็บในตู้แช่ ณ จุดขายที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ข้าวสีสด จึงมีความแตกต่างจากข้าวทั่วไป ทันทีที่หุงสุก ข้าวสีสดจะเผยความหอมละมุน นุ่มเหนียว น่ารับประทาน มีรสชาติความหวานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้ข้าวชนิดนี้ขายได้ราคาสูงถึง 120 บาท/กิโลกรัม เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นสินค้าตัวใหม่ที่มีลู่ทางการเติบโตสดใสมากในอนาคต

ปัจจุบัน มะนาวมีราคาค่อนข้างแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน นอกจากมะนาวติดผลน้อยแล้ว ยังเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้มีการบริโภคอาหารตามแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย มะนาว เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารจานเด็ด ราคาจึงสูงตามไปด้วย

กลับมาเรื่องมะนาวต่อครับ เคล็ดลับในการปลูกมะนาวในกระถาง ควรใช้กระถางที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18-20 นิ้ว ขึ้นไป และต้องการให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ต้นมะนาวต้องได้รับแสง อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ต่อวัน เป็นอย่างน้อย น้ำ สำคัญมากอย่าให้ขาด ยกเว้นช่วงบังคับให้ออกดอกเท่านั้น ปุ๋ย จำเป็น ต้องใส่ทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง เนื่องจากพื้นที่หากินของรากมีจำกัด การควบคุมแมลงศัตรูนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน มีทั้งหนอนชอนใบ หนอนกัดกินใบสารพัดชนิด ให้เริ่มจัดการเริ่มผลิใบตั้งแต่วันแรก กรณีปลูกน้อยต้น แนะนำให้ใช้ยาฉุน 1 จับ แช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง แล้วคั้นกรองเอาน้ำสีชาผสมเหล้าขาว 1 เป๊ก ฉีดพ่นให้ทั่ว วันเว้นวัน จนครบ 7 วัน จึงหยุดได้

ปลูกมะนาวในกระถางจะให้ผลผลิตเต็มที่ต้องมีอายุ 2 ปีขึ้นไป สำหรับมือสมัครเล่น แนะนำให้ใช้พันธุ์พิจิตร 1 หรือมักเรียกว่า แป้นพิจิตร นั่นแหละครับ ตาฮิติ อีกพันธุ์ที่ทนโรคแคงเกอร์ได้ใกล้เคียงกับ พิจิตร 1 แต่ตาฮิติได้เปรียบตรงที่ไม่มีเมล็ด ส่วนเรื่องผล ดกแน่นอน พิจิตร 1 ยังเป็นตัวนำ ต้นมะนาวเริ่มโทรมเมื่อมีอายุครบ 5 ปี เนื่องจากรากเจริญเติบโตอัดแน่นในกระถาง ไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ แม้บำรุงเต็มที่แล้วก็ตาม จำเป็นต้องรื้อปลูกใหม่ รวมเวลาให้ผลผลิตอย่างเต็มที่อย่างน้อย 5 ปี ข้อดีของการปลูกมะนาวในกระถาง คือ ไม่มีที่ก็ปลูกไว้บริโภคได้ อีกทั้งทำให้เพลิดเพลิน เป็นงานอดิเรกที่ดี ข้อด้อย ก็มีเพียงต้องให้น้ำทุกวัน ฉะนั้น คุณต้องกลับบ้านตรงเวลา โดยไม่จำเป็นต้องมีเคอร์ฟิวแต่อย่างใด แต่มุมมองแม่บ้านของคุณต้องพอใจแน่นอน เอ…เป็นข้อดีหรือข้อด้อยกันแน่ครับ โปรดคิดกันเอง ข้อมูลเพิ่มเติมติดตามอ่านได้ในหนังสือเฉพาะกิจ “มะนาว ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน” รวบรวมโดย กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน พิมพ์ครั้งที่ 3 รับรองไม่ผิดหวังครับ

ลางสาด และ ลองกอง ถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่ออันดับต้นของจังหวัดอุตรดิตถ์ หากจะเป็นรองก็คงยอมให้ได้เฉพาะ ทุเรียนหลงลับแล และ หลินลับแล ที่โด่งดังไปทั่วโลก

แต่จำนวนลางสาดในปัจจุบัน กำลังจะลดน้อยลง โดยสถานการณ์ลางสาดในพื้นที่อำเภอลับแล เหลือพื้นที่ปลูกอยู่เพียง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมดในอำเภอลับแล สวนที่เคยปลูกลางสาดเดิมกลับกลายเป็นลองกองไปเกือบทั้งหมด จากการโค่นต้นลางสาดเดิม นำยอดพันธุ์ลองกองมาเสียบเปลี่ยนต้นใหม่ เนื่องจากราคาซื้อขายในตลาดของลองกองสูงกว่าลางสาดมาก

ขณะเดียวกัน เมื่อถึงฤดูการให้ผลผลิตลองกองแต่ละปี ราคาซื้อขายอาจไม่เท่ากัน เมื่อราคาผันผวนขึ้นลงเช่นนี้ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก อำเภอลับแล ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกลองกองมากที่สุดของอำเภอ ก่อตั้งตลาดกลางสำหรับซื้อขายลองกองให้กับเกษตรกร โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารอเนกประสงค์ หน้าองค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำเป็นตลาดกลางซื้อขายลางสาดและลองกอง ผลไม้ขึ้นชื่อของชาวตำบลนานกกก ตำบลฝายหลวง และตำบลแม่พูล

คุณอาน แปลงดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก (อบต. นานกกก) กล่าวว่า ตลาดกลางซื้อขายลางสาดและ ลองกองแห่งนี้ จะเปิดให้ชาวสวนนำผลผลิตมาจำหน่ายที่ตลาดในช่วงสายของทุกวัน โดยพ่อค้าและแม่ค้าคนกลางจากจังหวัดต่างๆ จะมารับซื้อที่นี่ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ หรือส่งจำหน่ายไปยังตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ทั้งนี้ มั่นใจว่าการเปิดตลาดนี้ขึ้น นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์การจำหน่ายลางสาดและลองกองของชาวอำเภอลับแลแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรได้ราคาซื้อขายที่เป็นธรรม ไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง

ในอดีต ลางสาด ของอำเภอลับแล ได้รับความนิยมสูง กระทั่งราคาตกต่ำ ลองกองได้ราคาดีกว่า เกษตรกรจึงเปลี่ยนเป็นลองกอง ด้วยการตัดต้นลางสาดทิ้ง แล้วนำยอดพันธุ์ลองกองมาเสียบตอลางสาด ซึ่งวีธีนี้ทำให้ได้ผลผลิตลองกองเร็วขึ้น ทั้งนี้ ลองกอง เข้ามามีบทบาทในอำเภอลับแล ประมาณ ปี 2530 สาเหตุหลักเกิดจากราคาจำหน่ายลองกองดีกว่า อายุการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษาของลองกองก่อนจะถึงมือผู้บริโภคนานกว่า

ทำให้ปัจจุบัน พื้นที่ทำการเกษตรของตำบลนานกกกทั้งหมดกว่า 25,000 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกลองกองราว 80 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นพืชสวนชนิดอื่น

คุณอาน เป็นเกษตรกรตามบรรพบุรุษ ได้รับมรดกตกทอดเป็นสวนผลไม้ ประมาณ 200 ไร่ ทั้งหมดนี้ปลูกผลไม้หลายชนิด เช่น มังคุด ทุเรียน ลางสาด เงาะ มะปราง กระท้อน เป็นต้น เมื่อ ปี 2530 ที่ลองกองเริ่มเข้ามามีบทบาทในอำเภอลับแล เกษตรกรบางรายเริ่มเปลี่ยนลางสาดเป็นลองกอง ก่อนการตัดสินใจเปลี่ยนตามเกษตรกรรายอื่น คุณอาน ต้องการความมั่นใจ จึงเดินทางไปภาคตะวันออกและภาคใต้ เพื่อศึกษาการปลูก การดูแล ยิ่งเมื่อเห็นผลผลิตที่จำหน่ายได้ราคาดี จึงตัดสินใจซื้อกิ่งพันธุ์มาเสียบต้นลางสาด ประมาณ 3-4 ปี ก็ได้ผลผลิตขายได้

“ผมเริ่มเสียบยอด ปี 2532 มาได้ผลผลิตใน ปี 2535 การเสียบยอดทำให้ได้ผลผลิตเร็ว ในขณะนั้นราคาซื้อจากสวนกิโลกรัมละ 150 บาท”

คุณอาน กล่าวว่า การดูแลลองกองง่ายกว่าลางสาด อาจเป็นเพราะใช้วิธีเสียบยอดจากต้นลางสาดเดิม ทำให้ต้นไม่สูงมากนัก ตัดแต่งง่าย ซึ่งการแต่งกิ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปลูกลองกอง เพราะจะทำให้รสชาติผลผลิตดี ซึ่งนอกจากการตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรตัดแต่งผลผลิตด้วย โดยพิจารณาจำนวนผลของลองกอง หากมากเกินไปควรปลิดทิ้งบ้าง เพื่อให้ขนาดผลสวยและมีคุณภาพ

สำหรับสวนลองกองของคุณอาน เป็นพื้นที่ปลูกบนภูเขา ประมาณ 20 ไร่ และลองกองปลูกผสมผสานกับไม้ผลอื่นอีกกว่า 200 ไร่ คุณอานเชื่อว่า พื้นที่ปลูกลองกองบริเวณภูเขาเหมาะสำหรับการปลูกทุกชนิด โดยเฉพาะ ลองกอง เพราะเป็นพืชต้องการน้ำสม่ำเสมอ และเจริญเติบโตในดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำดี ซึ่งพื้นที่ปลูกลองกองของคุณอาน เป็นดินภูเขา ที่เรียกกันว่า “หินผาผุ” มีอยู่เฉพาะพื้นที่ตำบลนานกกกเท่านั้น และเป็นดินที่มีหินปน แต่สามารถขุดได้ลึกเท่าที่ต้องการ หินไม่ทำให้ดินแน่นเกินไป รากจึงเจริญเติบโตได้ดี เหมือนกับดินร่วนปนทรายที่รากสามารถชอนไชได้สะดวก ยิ่งภูมิอากาศของอำเภอลับแลเป็นอากาศแบบร้อนชื้นด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ลองกองเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี

คุณอาน แนะนำว่า การให้น้ำสำหรับลองกอง ควรให้น้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะฤดูแล้งที่ฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำกระทั่งต้นและใบแก่เต็มที่ สมบูรณ์ทั้งต้น จึงลดปริมาณน้ำและงดให้น้ำในที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ลองกองสร้างตาดอก เมื่อสังเกตพบตาดอกมีการพัฒนาและเริ่มยืดตัวเป็นช่อดอกขนาดสั้นตามกิ่งและลำต้น ก็เริ่มให้น้ำ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของช่อ ดอก

การใส่ปุ๋ย โดยทั่วไปเกษตรกรจะใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี โดยการหว่านปุ๋ยบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วพรวนดินกลบ และใส่หลังจากตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้ว

สำหรับ สวนลองกองของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนนี้ ได้รับความนิยมในผลิตผลและคุณภาพลองกองมาก ถึงขนาดมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อและให้ราคาดีถึงสวน คุณอาน คำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภค จึงเลือกใส่ปุ๋ยหมักที่ทำขึ้นเองหรือปุ๋ยคอก จากมูลวัว มูลควาย ปราศจากสารเคมี

“จริงๆ แล้ว ผมไม่ค่อยได้ดูแลเอาใจใส่ด้วยซ้ำ ซึ่งผิดวิสัยของเกษตรกรผู้ปลูกลองกอง ในบางปีถึงกับให้ธรรมชาติช่วยดูแลในการให้น้ำ ยิ่งต้นแก่มากยิ่งแข็งแรงมาก ตามธรรมชาติลางสาดและลองกองเป็นพืชป่า หากปลูกในสภาพป่าตามธรรมชาติแล้ว แทบไม่ต้องดูแลเลย แต่เรายังให้ปุ๋ยบ้าง เพราะผลผลิตที่ได้นำไปขาย ดังนั้น ต้องทำให้ได้คุณภาพ จึงจะได้รับความไว้วางใจจากพ่อค้า แม่ค้า”

คุณอาน เล่าว่า ความสำคัญในการปลูกลองกองอยู่ที่การตัดแต่งกิ่ง และการกำจัดวัชพืช ซึ่งการกำจัดวัชพืชภายในสวนและใต้ทรงพุ่ม จะช่วยให้ลองกองปราศจากศัตรูพืช ซึ่งการไม่พ่นยาฆ่าแมลงนั้น อาจทำให้พบหนอนเจาะลำต้น หนอนกินใบและแมลงวันทองบ้าง แต่ไม่มาก โดยแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะพบมากในช่วงที่ลองกองติดผล และเมื่อลองกองติดผลดกแล้ว ควรตัดแต่งช่อออก เริ่มจากการแต่งผลขนาดเมล็ดพริกไทยครั้งแรก และเมื่อผลลองกองมีขนาดมะเขือพวงอีกครั้ง และในบางครั้งฉีดฮอร์โมนบำรุง 1-2 ครั้ง ก็จะทำให้ผลของลองกองมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ลองกอง ของอำเภอลับแล จะให้ผลผลิตราวเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ลองกองจากภาคใต้และภาคตะวันออกหมดผลผลิตแล้ว

ที่ผ่านมา เมื่อลองกองให้ผลผลิตดี สวนของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก สามารถทำเงินได้มากในทุกปี ยกเว้นปี 2548-2549 ที่ราคาลองกองตกต่ำ เพราะเป็นปีที่ได้ผลผลิตมากเกินความต้องการ

แม้จะปล่อยให้ธรรมชาติดูแล และให้ปุ๋ยบ้างตามโอกาส แต่สวนลองกองของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก ก็ยังถือไพ่เหนือกว่าพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง สามารถขายให้พ่อค้าแม่ค้าคนกลางได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดเสมอ

“ทุกช่วงที่ลองกองให้ผลผลิต จะมีรถเข้ามารับซื้อถึงสวนผม วันละประมาณ 300 คัน บรรทุกได้คันละประมาณ 3 ตัน และใช้เวลาเก็บเกี่ยวตลอดระยะเวลา 50 วัน จึงจะหมดฤดูให้ผลผลิต”

ตลอดการทำหน้าที่เกษตรกร คุณอาน ยังไม่ประสบปัญหาที่แก้ไม่ตก หากจะมีก็เพียงราคาผลผลิตตกต่ำในบางช่วงเท่านั้น แต่ปัญหาที่ต้องแก้เฉพาะหน้าอยู่เรื่อยไป คือ ปัญหาแรงงานตัดแต่งกิ่ง ซึ่งการปลูกไม้ผล การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ค่าจ้างแรงงานอย่างต่ำ วันละ 300 บาท ต่อคน และทำได้ช้า เนื่องจากสวนเป็นทางลาดภูเขา หรือในบางครั้งแรงงานหาไม่ได้ ทำให้ต้องจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งต้องเสียเวลาฝึกตัดแต่งกิ่งให้กับแรงงานเหล่านี้ด้วย

แม้ว่า ลองกอง จะทำรายได้ให้กับคุณอานมากกว่าผลผลิตอื่น แต่สวนผสมที่มีอยู่อีกกว่า 200 ไร่ ก็สร้างรายได้ให้ไม่ใช่น้อย เมื่อต้องทำหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนานกกก คุณอาน จึงมีเวลาให้กับสวนผสมกว่า 200 ไร่ ค่อนข้างน้อย จึงต้องจ้างแรงงานดูแลสวนแทน

สวนผสมที่มีอยู่ ปลูกผสมผสานมาเนิ่นนาน คุณอาน จึงไม่คิดเปลี่ยนแปลง และเห็นว่าในทุกปีผลผลิตที่ได้จากสวนผสมผสานก็สามารถทำเงินได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจหากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีปัญหา

สนใจเยี่ยมชมสวน คุณอาน แปลงดี บอกว่า ยินดีต้อนรับ แต่ขอให้ติดต่อมาล่วงหน้า นายพิเชียร ระวิระ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนการทำนามีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจาก น้ำมัน ปุ๋ย และสารเคมี มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าแรงงานปรับเพิ่มสูงขึ้น วันละ 300-400 บาท จึงอยากลดต้นทุนการผลิตข้าว ซึ่งการลดต้นทุนการผลิตข้าวเป็นแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรสามารถจะพึ่งพาตนเองได้ ในปี พ.ศ. 2557 อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู

โดยเฉพาะเกษตรกรบ้านดงมะไฟ สมัคร UFABET ตำบลดงมะไฟ ได้มีแนวคิดร่วมใจกันจัดงานวันสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการส่งเสริมการทำนาแบบปาเป้า เพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ แปลงนาของ นายเฉวียน จันทะลุน มีนักเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน เกษตรกรตำบลใกล้เคียง ได้จัดกิจกรรมสาธิตการทำนาแบบปาเป้า ซึ่งเป็นการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดแรงงานการผลิต เพิ่มผลผลิตให้ข้าว นอกจากนี้ ยังสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2559 และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าข้าวของประเทศไทย รวมทั้งยังไม่ต้องพึ่งพามาตรการช่วยเหลือด้านการประกันราคา หรือจำนำข้าว เหมือนที่ผ่านมา เรียกได้ว่า พึ่งพาตนเองเป็นที่ตั้งนั่นเอง