การใส่ปุ๋ย ขอให้คำนึงถึงความสะดวก ใช้ปุ๋ยที่มี

ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ อัตราการใส่ปุ๋ย คำนวณจาก 1 กิโลกรัม ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 เดือนครั้ง ครั้งละ 250 กรัม หรือมากกว่าก็ได้ ไม่มีผลกระทบอะไร ปุ๋ยพืชสด เมื่อกล้วยออกจากเครือจนเราสามารถตัดได้ ให้นำต้นเก่ามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำกลับมาใส่ จะช่วยป้องกันความชื้น และเป็นปุ๋ยรอให้กับหน่อใหม่ที่จะเกิดขึ้นด้วย

3. การตัดแต่งหน่อและใบแก่

การไว้หน่อและการตัดแต่งหน่อก็มีความสำคัญในการปลูกกล้วยมาก เพราะจะให้ต้นโต หรือต้นสมบูรณ์ดี พร้อมส่งผลไปถึงลูก หรือเครือกล้วยด้วย หากเราไม่ตัดแต่งหน่อกล้วยออกทิ้งบ้าง ก็จะกลายเป็นกล้วยแคระแกร็น

การตัดแต่งหน่อ ให้ตัดแต่งหน่อกล้วยที่ขึ้นมาในทุกๆ ช่วงอยู่ตลอด หากยังไม่ถึงช่วงการไว้หน่อ

การตัดแต่งใบกล้วยที่เหลืองเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ทิ้งไป พร้อมทั้งตัดใบที่งอหักลงไปด้วย เท่านี้ก็จะทำให้ ต้นกล้วยดูไม่รกรุงรังและสวยงาม

การไว้หน่อกล้วย ควรเริ่มไว้หน่อแรก เมื่อกล้วยอายุ 4 เดือนไปแล้ว และหน่อต่อไปทุก 4 เดือน แต่ในช่วงการออกปลี ควรงดการไว้หน่อ เพื่อให้ผลกล้วยและเครือสมบูรณ์ดี

4. การตัดปลีกล้วย เมื่อปลีกล้วยแทงเครือออก มาจนเราเห็นว่าเครือกล้วยสมบูรณ์หรือออกจนหมดปลีแล้ว ให้เราตัดปลีจากหวีสุดท้ายนับไปอีก 1-2 หวีแล้วตัด แล้วนำปูนแดงหรือยากันราทา ป้องกันเน่า

5. การเก็บเกี่ยว ให้พิจารณาจากการนับจำนวนวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ผลกล้วยจะแก่เมื่อมีอายุประมาณ 90 วัน หรือพิจารณาจากเหลี่ยมมุมของผล ผลแก่จะมีลักษณะค่อนข้างกลม เก็บเกี่ยวโดยใช้มือข้างหนึ่งจับปลายเครือ แล้วใช้มีดฟันก้านเครือให้ขาดออก – โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล

– ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น โตฟอส

– หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส

– แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมธิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้ หรือใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือไดเมทโทเอท

แต่โดยรวมแล้ว โรคในกล้วยก็จะมีน้อยมาก ที่โรคหลัก ในที่ปลูกกล้วยมาก ก็จะเจอ โรคไฟทอปโทร่า หรือที่เรียกเชื้อไฟทอปโทร่า อาจทำให้รากเน่า โคนเน่า ใบเหลืองแห้ง หรือที่เรียกว่าตายพราย และก็มีหนอนม้วนใบ อย่างไรก็ตาม หากดูแลรักษากล้วยสมบูรณ์ดีแล้ว ปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่อาจเกิดขึ้นได้มีน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกกล้วยที่ไม่มากนักอย่างที่กล่าวมา

เพียงเท่านี้ แม้จะมีพื้นที่น้อย แต่กล้วยเพียง 1 หน่อ สามารถแตกหน่อออกได้อีก อาจขุดหน่อนำไปขยายพันธุ์ยังพื้นที่อื่น หรือปล่อยให้แตกหน่อเติบโตในกอเดียวกัน ก็ทำได้

แม้บรรพบุรุษจะทำการเกษตรมาก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะสืบทอดกันได้ทางสายเลือด เพราะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ทั้งยังต้องมีความคิดต่อยอด นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแปลงเกษตรที่ทำอยู่

เช่นเดียวกับ จ.ส.อ. นิกร บุญชัย อดีตข้าราชการทหาร ที่มีพ่อและแม่ทำสวนลำไยพันธุ์อีดอ ที่ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เห็นครอบครัวทำสวนลำไยมานานหลายสิบปี แต่ไม่เคยจับงานเกษตรในสวนลำไยแม้แต่น้อย กระทั่งปี 2546 ลาออกจากข้าราชการทหาร กลับมาเริ่มต้นจับสวนลำไยสืบทอดงานเกษตรกรรมต่อจากพ่อและแม่ ทั้งที่ไม่มีความรู้ในงานเกษตรเลย โดยเฉพาะในรุ่นของพ่อและแม่ทำสวนลำไย ก็ไม่ได้มีเทคนิคใดๆ ปล่อยให้ธรรมชาติดูแล และให้น้ำบ้างตามความต้องการของพืชอย่างลำไย ผลผลิตที่ได้จึงได้มากน้อยตามสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละปี ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ราคาลำไยแปรผันตามปริมาณลำไยที่ออกสู่ตลาดในแต่ละปี

เมื่อ จ.ส.อ. นิกร กลับมา เขาจึงเริ่มตั้งใจอย่างจริงจัง ศึกษา จดบันทึก และปรับปรุง เพื่อให้มีเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้ในสวนของครอบครัว

“ประมาณปี 2555 กว่าผมจะทำได้” จ.ส.อ. นิกร บอกว่า สิ่งสำคัญของการทำการเกษตรคือ การจดบันทึก เพื่อเห็นข้อดี ข้อเสีย นำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา ให้เกิดที่ดีและเหมาะสมสำหรับแต่ละสวน รวมถึงการนำดินไปตรวจหาค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อทราบว่าพื้นที่เกษตรกรรมของเราขาดเหลือธาตุชนิดใด และพืชที่ปลูกต้องการธาตุชนิดใดมาก เพื่อไม่สิ้นเปลืองต้นทุนการผลิตในเรื่องของปุ๋ยหรือแร่ธาตุที่ต้องเติมให้กับดินและพืช หากมี 2 สิ่งนี้ การทำการเกษตรก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สิ่งแรกที่ จ.ส.อ. นิกร ปรับเปลี่ยนในพื้นที่สวน คือการสร้างแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น เพราะเดิมอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล เมื่อเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการเต็มรูปแบบ แหล่งน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำสวนผลไม้

เริ่มต้นจากการทำสวนลำไย พื้นที่เพียง 20 ไร่ ปัจจุบันขยายพื้นที่ปลูกออกไป ประมาณ 104 ไร่

ผลิตลำไยเหลื่อมฤดูและนอกฤดูเท่านั้น แปลงปลูกมี 2 แปลง

แปลงพื้นที่ 26 ไร่ ปลูกลำไยระยะชิด 3×4 เมตร สำหรับทำลำไยนอกฤดู

พื้นที่เหลือทั้งหมด ปลูกลำไยระยะ 8×8 เมตร สำหรับทำลำไยเหลื่อมฤดู

การดูแลแปลงลำไย ทั้ง 2 ระยะเหมือนกัน แตกต่างกันตรงระยะการราดสาร

การปลูกลำไยเหลื่อมฤดู ทำดังนี้ ตัดแต่งต้นลำไยทรงฝาชีหงาย ให้ตัดตรงกิ่งกระโดงออก ทำให้ต้นเตี้ย
ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อรา
เมื่อใบชุดแรกผลิออกมา ให้เริ่มสะสมอาหารทางดิน โดยให้ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 5-15-15 อัตราส่วน 2 : 1 ปริมาณ 2-3 กำมือต่อต้น แล้วให้น้ำตาม ทำเช่นนี้ทุกๆ 10 วัน จนกว่าจะเห็นใบชุดที่สองเริ่มกาง
เมื่อใบชุดที่สองเริ่มกาง ให้เริ่มสะสมอาหารทางใบ โดยให้ปุ๋ย 0-52-34 ผสมน้ำในอัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ เมื่อใบแก่ใช้ปุ๋ยตามเดิม อัตราส่วนเป็นปุ๋ย 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ระหว่างนี้ให้สังเกตแมลง เชื้อรา หากพบก็ให้ฉีดยาฆ่าแมลง กำจัดเชื้อรา แต่ถ้าไม่พบให้เลี่ยง
หลังสะสมอาหารแล้วเสร็จ ประมาณเดือนธันวาคม ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอกออกมา ยังคงฉีดพ่นสะสมอาหารไปเรื่อยๆ ให้สังเกตว่า ช่อดอกแทงออกมาแล้วจึงหยุด
7. ประมาณกลางเดือนมกราคม นำสารโพแทสเซียมคลอเรต ปริมาณ 10 กิโลกรัม และปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 ผสมเข้ากับน้ำ 200 ลิตร ใช้เครื่องฉีดพ่นห่างโคนต้น 1 ศอก ให้ทั่วทรงพุ่ม จากนั้นให้น้ำตาม

หลังจากนั้น 7 วัน ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 10 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ เว้นอีก 7 วัน สูตรเดียวกันฉีดพ่นซ้ำ และให้น้ำตาม
เมื่อใบลำไยเริ่มเฉา จะเริ่มเปิดตาดอก โดยใช้ไทโอยูเรีย 300 กรัม ปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 ปริมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร สาหร่ายสำหรับเปิดตาดอก 300 ซีซี น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี โบรอนเดี่ยว 50 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดพ่นให้ทั่ว
หมั่นสังเกตว่าลำไยเริ่มแทงดอกหรือยัง ภายใน 5-7 วัน หากยังไม่แทงดอก ให้ฉีดพ่นด้วยสารตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าเริ่มแทงดอกออกมาแล้ว ให้บำรุงช่อดอกด้วยการให้สารตัวเดียวกับเปิดตาดอก แต่ตัดไทโอยูเรียออก เมื่อราดสารและฉีดพ่นสารครั้งสุดท้ายเสร็จ ให้หยุดน้ำไว้ก่อน รอให้ใบกระทบอากาศหนาว จนแทงช่อดอกชัด จึงเริ่มให้น้ำใหม่
การให้น้ำลำไย ใช้มินิสปริงเกลอร์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที

การให้น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลำไย เพราะน้ำเป็นตัวสำหรับใช้ดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารไปใช้ยังลำต้น ใบ ดอก และผล

การควบคุมน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ลำไยติดผลและให้ผลผลิตเหลื่อมฤดู หรือนอกฤดู

การทำลำไยนอกฤดู ดูแลเช่นเดียวกับการทำลำไยเหลื่อมฤดู แต่ดึงระยะเวลาการราดสารตั้งแต่ข้อ 8-10 ให้นานกว่าเดิมออกไปอีกให้มากที่สุด โดยควรราดสารในช่วงเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม ก็จะได้ลำไยนอกฤดู

ในช่วงที่ดอกบาน อาจพบปัญหาเพลี้ยไฟและแมลง สามารถฉีดยาฆ่าแมลงได้ แต่หากดอกบาน 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรหยุด เพื่อให้ผึ้งไปผสมเกสรตามธรรมชาติ

หลังจากลำไยติดเม็ดแล้ว เริ่มให้ปุ๋ยทางดิน 46-0-0 ผสมกับสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 2 : 1 เพื่อขยายผลลำไย ให้เรื่อยๆ บ่อยๆ แล้วให้น้ำตามทีละน้อยทุกครั้ง หมั่นสังเกตหากเม็ดลำไยเริ่มมีสีดำ ให้ปุ๋ยยูเรีย และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราส่วน 1 : 1

ลำไยเหลื่อมฤดู จะเก็บเกี่ยวได้หลังจากลำไยในฤดูออกจำหน่ายไปแล้ว ประมาณ 20-30 วัน ทำให้ราคาขายสูงกว่าลำไยในฤดูสูง 20-40 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนลำไยนอกฤดู ราคาขายสามารถกำหนดเองได้ และมีจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จ.ส.อ. นิกร บอกว่า ข้อดีของการปลูกลำไยระยะชิดคือ สามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ลำไยอายุ 3 ปี ไม่ต้องรอนานเหมือนการปลูกลำไยทั่วไป แต่ต้องควบคุมทรงพุ่มให้ดี ตัดต้นให้เตี้ย ให้แสงเข้าถึงโคนต้น และหมั่นตัดยอดสม่ำเสมอ

จำนวนต้นต่อไร่สำหรับการปลูกระยะ 8×8 เมตร จำนวน 25 ต้นต่อไร่ การปลูกลำไยเหลื่อมฤดู กับนอกฤดู ด้วยฝีมือของ จ.ส.อ. นิกร ทำให้แปลงลำไยเป็นที่ยอมรับ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และ จ.ส.อ. นิกร ยินดีให้คำปรึกษา เข้ามาศึกษาดูงานที่แปลงได้ไม่หวง หรือจะโทรศัพท์มาก็ยินดี ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

คุณณรงค์ ไทยเจริญ เจ้าของสวนไผ่เนื้อที่ 22 ไร่ ในพื้นที่ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เขาชื่นชอบต้นไผ่เป็นอย่างมาก ปลูกไผ่จำนวน 3 พันธุ์ คือ ไผ่หม่าจู ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง

คุณณรงค์ชื่นชอบการปลูกไผ่หม่าจูเป็นพิเศษเพราะสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากหน่อและลำต้น ลำต้นไผ่หม่าจูสามารถทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง ส่วนหน่อไม้พันธุ์หม่าจู มีรสชาติหวานกรอบอร่อย ไม่มีขม ไผ่หม่าจูจัดอยู่ในตระกูลไผ่หวาน มีสีเนื้อที่ขาวปราศจากสารฟอกสี นำไปรับประทานได้โดยที่ไม่ต้องต้มน้ำเพื่อลวกหน่อไม้ นำมาปรุงอาหารได้เลย

ไผ่พันธุ์หม่าจู ขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ 1. การตอนกิ่งแขนง ไม่สามารถนำกิ่งที่มีความอ่อนมาใช้ได้ กิ่งที่นำมาใช้จะต้องอยู่ในช่วงกลางๆ ไปจนถึงระดับที่เรียกว่าแก่เลยทีเดียว 2. การเพาะชำเหง้า หากช่วงนั้นพื้นดินมีความชื้นสูงๆ ก็สามารถนำลำต้นปักลงหลุมได้ทันที

ส่วนไผ่รวก คุณณรงค์ปลูกเป็นแถวเพื่อใช้เป็นแนวบังลม เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีลมค่อนข้างแรงในบางฤดู ไผ่รวกเป็นไผ่ที่ปลูกได้ง่าย แต่ใช้เวลาปลูกดูแลนานถึง 4 ปีเลยทีเดียว กว่าที่ไผ่รวกจะเติบโตโดยสมบูรณ์แบบ ส่วนหน่อไผ่รวก เก็บได้ตั้งแต่ปีที่ 3 คุณณรงค์บอกว่า หากอยากได้หน่อไม้คุณภาพดี ควรเก็บในปีที่ 4 ขึ้นไป นอกจากได้รสชาติที่ดีแล้ว มอดยังน้อยอีกด้วย

ด้านลำต้นของไผ่รวก คุณณรงค์ตัดไปทำเป็นหลักวัวหรือแผงกั้นที่มีลวดเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำเป็นรั้วไฟฟ้า เพราะพื้นที่อำเภอพัฒนานิคม ส่วนใหญ่ทำอาชีพเลี้ยงวัว ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงนำไม้ไผ่รวกมาแปรรูปเป็นหลัก ขาย 1 ท่อน (1 เมตร 20 เซนติเมตร) ในราคาประมาณ 4 บาท ไผ่หนึ่งลำสามารถตัดได้ 4-5 ท่อน ไผ่หนึ่งลำต้น มีค่าประมาณ 20 บาท ส่วนเศษไม้ที่ตัดเป็นข้อๆ ไม่ได้ทิ้ง นำมาเผาถ่าน เพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลังส่วนไผ่เลี้ยง แม้ไม่ใช่ไม้หลักที่เลือกปลูก แต่มีประโยชน์และการเจริญเติบโตคล้ายกับไผ่รวก คุณณรงค์จึงเลือกใช้ประโยชน์จากหน่อกับลำต้น ที่มีลักษณะเหมือนไผ่รวกเกือบทุกอย่าง

สวนแห่งนี้ คุณณรงค์ยังปลูกสมุนไพรต่างๆ อีกหลายชนิด ซึ่งเป็นสมุนไพรปรับสมดุลร่างกาย สามารถใช้รักษาโรคแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้เงินในการรักษา ซึ่งสมุนไพรในนี้มีมากกว่า 30-40 ชนิด มีทั้งสมุนไพรที่เป็นไม้ยืนต้น-สมุนไพรที่เป็นไม้ล้มลุก และสมุนไพรที่เป็นพืชข้ามปี กลายเป็นป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการปลูกป่าในเชิงผสมผสาน ทั้งด้านเกษตรวนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคม ช่วยอนุรักษ์ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ มีป่าไม้ มีอาหารกิน มีไม้ใช้สอยในครัวเรือน และเป็นสินค้าออกขาย สร้างรายได้ในระยะยาว

คุณณรงค์ นำแนวคิดป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มาใช้กับสวนแห่งนี้ด้วย โดย ประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ ป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้กินได้ และป่าไม้เศรษฐกิจ ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง คือสามารถนำมาเป็นอาหารได้ ซึ่งที่สวนแห่งนี้จะมีเพกา มะขามป้อม กล้วย ขี้เหล็ก มะละกอ ฯลฯ แล้วก็ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ในสวน ส่วนใหญ่ล้วนจะเป็นสมุนไพรที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่รู้จักกับประโยชน์อย่างเด่นชัด

ประโยชน์ที่สอง นำสิ่งที่มีอยู่ในสวนไผ่มาใช้สอย เพื่อสร้างเป็นที่พักอาศัย หรือทำเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้

ประโยชน์ที่สาม สามารถใช้ในการนำไปจำหน่ายได้ หรือจะนำมาเป็นพลังงาน เช่น การเผาถ่านก็ได้

ส่วนประโยชน์ข้อสุดท้าย พันธุ์ไม้เหล่านี้เมื่อปลูกแล้ว จะไม่มีการไปรบกวนธรรมชาติแม้แต่น้อย มีแต่จะรักษาเกื้อหนุนป่าไม้และสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ แถมยังเป็นการสร้างสมดุลของระบบนิเวศภายในสวนได้อีกด้วย ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด

สวนแห่งนี้ คุณณรงค์ ให้น้ำระบบน้ำหยด ในช่วงหน้าแล้ง เพื่อให้พื้นที่เพาะปลูกมีความชื้นอยู่ตลอดเพราะสวนแห่งนี้มีหิ่งห้อยอยู่หนึ่งสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตอยู่ในป่าแห่งนี้ก็คือ หิ่งห้อยป่าไม้ มีลักษณะหัวส้ม ปีกดำ ตัวค่อนข้างใหญ่ สามารถอาศัยอยู่ในป่าไม้ได้โดยที่ไม่ต้องอยู่ในน้ำ ใช้ความชื้นที่อยู่ในป่าไผ่ เพื่อขยายพันธุ์ เนื่องจากสวนแห่งนี้ไม่ใช้สารเคมี ทำให้หิ่งห้อยป่าไม้เจริญเติบโตได้ดี ใน 1 ปี มีเพียงแค่ 2 อาทิตย์ ที่หิ่งห้อยจะโผล่ออกมาให้เห็น

หิ่งห้อย กับป่าไม้ไผ่

สาเหตุที่คุณณรงค์อยากเก็บรักษาหิ่งห้อยเหล่านี้ เพื่อให้ลูกหลานได้มาศึกษาเรียนรู้ว่า หิ่งห้อยเหล่านี้นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศด้วย เพราะสวนที่มีหิ่งห้อยอยู่ในพื้นที่ บ่งชี้ว่า มีแหล่งน้ำที่สะอาด ปลอดสารเคมีอีกด้วย นอกจากสวนแห่งนี้ยังมีหิ่งห้อยสายพันธุ์น้ำจืดอีกหนึ่งชนิด อาศัยอยู่บริเวณสระด้านล่างสวน ถือเป็นหิ่งห้อยสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบในประเทศไทยอีกด้วย

คุณณรงค์ มีคำแนะนำถึงผู้สนใจปลูกไผ่ว่า

“ผมแนะนำให้เลือกปลูกไผ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหน่อทั้งลำเพราะไม่ต้องดูแลอะไรมาก และสามารถขายได้ทั้งหน่อและลำต้นไผ่ นอกจากใส่ใจเรื่องสายพันธุ์ไผ่ที่จะใช้ปลูกแล้ว ต้องใส่ใจเรื่องแหล่งน้ำด้วย เพราะช่วง 2 ปีแรกของการปลูกไผ่นั้น ต้นไผ่ต้องการน้ำค่อนข้างมาก

เดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่หน่อไม้ออกผลออกหน่อมาก สวนของผมไม่เน้นขายหน่อไม้เพราะหน่อไม้มีราคาถูก 1 กิโลกรัม ขายได้เพียง 10 บาท ผมเน้นขายลำต้นไผ่เพราะได้ราคาดี ลำละ 20 บาท พื้นที่จังหวัดลพบุรีเลี้ยงปศุสัตว์เยอะ ผมเน้นไม้ไผ่สำหรับทำหลักวัว-รั้วไฟฟ้าขายเป็นส่วนใหญ่” คุณณรงค์ กล่าว

ถ่านไม้ไผ่ สร้างมูลค่าเพิ่มเศษไม้

คุณณรงค์ มีรายได้เสริม โดยนำเศษไม้ไผ่ท่อนเล็กๆ ที่เหลือจากการทำรั้วไฟฟ้า นำไปเผาเป็นถ่านไม้ไผ่ ซึ่งประโยชน์ของถ่านไม้ไผ่คือ ให้พลังงานเยอะกว่าถ่านทั่วไป สามารถซับกลิ่น ดูดสารพิษต่างๆ ได้ดี ดีกว่าถ่านไม้ทั่วไป ถ่านไม้ไผ่นำไปพัฒนาต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมหรือขายเป็นสินค้าโอท็อปได้มากมาย เช่น สบู่ และสินค้าอื่นๆ สามารถบดเป็นผง นำไปผสมกับเครื่องดื่ม มีฤทธิ์ดูดซับสารพิษในร่างกายได้ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ดีอีกด้วย

วิธีการเผาถ่านไม้ไผ่ ทำได้ง่าย โดยนำถังน้ำมัน ขนาดบรรจุ 200 ลิตร มาเจาะรูที่ก้นถัง ประมาณ 20 รู และขุดหลุมในพื้นที่สำหรับการเผาให้ลึกพอประมาณ นำถังที่เตรียมเผาไปวางไว้บนหลุม จากนั้นนำไม้ที่เหลือจากการทำหลักวัว ที่มีลักษณะเป็นข้อๆ หรือเศษไม้ไผ่ชิ้นเล็ก มาใส่ในถังให้พอประมาณแล้วจึงปิดฝา ใช้ดินจำนวนหนึ่งมาวางลงบนฝาถัง พร้อมก่อไฟในหลุมที่ขุดเพื่อเผาได้ทันที ซึ่งการเผาใช้เวลาวันต่อวัน เมื่อเผาเสร็จ จะได้ถ่านไม้ไผ่ประมาณ 1 กระสอบ

หากใครสนใจเรื่องการปลูกไผ่หรือการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มจากไม้ไผ่ สามารถติดต่อมาได้ที่ คุณณรงค์ ไชยเจริญ ปัจจุบัน การทำปศุสัตว์กำลังได้รับความนิยมควบคู่กับการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น โดยแบ่งพื้นที่จากที่เคยทำสวนทำไร่เพียงอย่างเดียว แบ่งสันปันส่วนสำหรับเลี้ยงสัตว์สร้างรายได้อีกช่องทาง เช่น การเลี้ยงโค แพะ แกะ ซึ่งสัตว์เหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมของตลาด สามารถขายได้ราคา ส่งผลตอบแทนกับผู้เลี้ยงได้ค่อนข้างดีทีเดียว

โดยการเลี้ยงให้ประสบผลสำเร็จมีกำไรเพิ่มขึ้น ในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตเป็นอีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึง จึงทำให้ผู้เลี้ยงบางรายแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกหญ้าสายพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะหญ้าเนเปียร์ไว้ให้สัตว์ที่เลี้ยงได้กิน ทำให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประหยัดต้นทุนในเรื่องของการซื้อหญ้าเนเปียร์ ซึ่งหญ้าเนเปียร์เป็นพืชอาหารสัตว์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อปลูกและมีการจัดการที่ดี หญ้าชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้เร็วให้ผลผลิตที่สูง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญเมื่อปลูกไปแล้วอายุของหญ้าเนเปียร์สามารถอยู่ได้นานถึง 5 ปี ทำให้การปลูกไม่จำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของต้นใหม่

คุณอารีย์ พุ่มมะปราง อยู่ที่บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 7 ตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ โดยใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดและช่วงเช้ามาจัดการหญ้าที่ปลูกไว้ เพื่อส่งขายให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ที่เลี้ยงโคอยู่ในพื้นที่ ทำให้เกิดรายได้เสริมที่เธอทำแล้วมีความสุขในทุกๆ วัน

คุณอารีย์ สาวผู้มากด้วยรอยยิ้มเล่าให้ฟังว่า เว็บเดิมพันออนไลน์ อาชีพหลักของเธอคือรับราชการครู แต่งานทางด้านการเกษตรนั้น สมัยคุณพ่อคุณแม่ทำมาอยู่นานแล้ว จึงทำให้แม้เป็นครูก็ยังไม่ได้ล้มเลิกการทำเกษตร แต่ทำไว้เพื่อเสริมรายได้ ซึ่งพืชหลักๆ สมัยก่อนคือปลูกไร่อ้อย ต่อมาได้นำโคมาเลี้ยง 6 ตัว เพื่อไว้สร้างรายได้เป็นรายปี จึงทำให้ต้องมีการจัดสรรพื้นที่ปลูกหญ้าสร้างอาหาร เพื่อให้โคที่นำมาเลี้ยงกิน เป็นการประหยัดต้นทุน

ซึ่งหญ้าเนเปียร์ที่ซื้อมาปลูก คุณอารีย์ บอกว่า เป็นพันธุ์ปากช่องที่สั่งมาจากพ่อค้าขายทางออนไลน์ที่เชื่อถือได้ นำต้นพันธุ์มาลงปลูกในพื้นที่ 5 ไร่ ปลูกทดแทนการทำไร่อ้อยทั้งหมด เมื่อหญ้าเติบโตเต็มที่มีผลผลิตมากพอสำหรับโคที่เลี้ยงภายในฟาร์ม และยังเหลืออีกมากสำหรับขาย จึงทำให้มีเพื่อนเกษตรกรรายอื่นที่เลี้ยงโคมาติดต่ออซื้อ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เธอได้มีรายได้จากการขายหญ้าเนเปียร์

“พอหญ้าเนเปียร์ออกมามากๆ ก็เริ่มรู้สึกว่ามีเยอะ เกินกว่าที่โคเราจะกินหมด ในพื้นที่นี้เขาก็เลี้ยงโคกันเยอะอยู่ ช่วงที่เราทำก็หวังไว้เหมือนกันว่าจะทำขายควบคู่ไปด้วย เพราะบางรายที่เขาเลี้ยงโคเยอะๆ เขาไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์มากพอ ก็จำเป็นต้องสั่งซื้อ มันก็เลยเป็นช่องทางที่ทำให้เราได้เกิดรายได้จากตรงนี้ เราพูดคุยกันไว้ก่อนที่จะเริ่มปลูก ว่าถ้ามีหญ้าเนเปียร์จะซื้อไหม เขาก็ต้องการที่จะซื้อ ก็เลยปลูกสร้างรายได้เสริมตั้งแต่นั้นมา ทำให้เกิดรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวได้ดีทีเดียว” คุณอารีย์ เล่าถึงที่มา

ขั้นตอนในการปลูกหญ้าเนเปียร์นั้น คุณอารีย์ บอกว่า ไม่ได้มีขั้นตอนอะไรที่ซับซ้อน ใช้พื้นที่เดิมจากการปลูกอ้อยมาปลูกหญ้าเข้าไปทดแทน โดยช่วงแรกก่อนที่จะนำหญ้าลงมาปลูกจะไถพรวนดินภายในแปลงและตากทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ จากนั้นไถพรวนดินอีกครั้งหนึ่งเพื่อตีดินให้ละเอียดมากขึ้น พร้อมกับผสมปุ๋ยคอกที่ได้จากโคที่เลี้ยงไว้ มาใส่ลงไปภายในแปลง ตากทิ้งดินทิ้งไว้อีก 1 อาทิตย์

จากนั้นก่อนนำหญ้าเนเปียร์ลงมาปลูกในแปลง จะปล่อยน้ำเข้าแปลงให้แฉะทั้งหมดเสียก่อน แล้วจึงนำท่อนพันธุ์หญ้าเนเปียร์มาปลูกให้มีลักษณะตั้งเอียงอยู่ที่ 45 องศา