การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลำไย เพราะน้ำเป็นตัว

สำหรับใช้ดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารไปใช้ยังลำต้น ใบ ดอก และผลการควบคุมน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ลำไยติดผลและให้ผลผลิตเหลื่อมฤดู หรือนอกฤดู

การทำลำไยนอกฤดู ดูแลเช่นเดียวกับการทำลำไยเหลื่อมฤดู แต่ดึงระยะเวลาการราดสารตั้งแต่ข้อ 8-10 ให้นานกว่าเดิมออกไปอีกให้มากที่สุด โดยควรราดสารในช่วงเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม ก็จะได้ลำไยนอก

ในช่วงที่ดอกบาน อาจพบปัญหาเพลี้ยไฟ และแมลง สามารถฉีดยาฆ่าแมลงได้ แต่หากดอกบาน 20 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ควรหยุด เพื่อให้ผึ้งไปผสมเกสรตามธรรมชาติ

หลังจากลำไยติดเม็ดแล้ว เริ่มให้ปุ๋ยทางดิน 46-0-0 ผสมกับสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 2 : 1 เพื่อขยายผลลำไย ให้เรื่อยๆ บ่อยๆ แล้วให้น้ำตามทีละน้อยทุกครั้ง หมั่นสังเกตหากเม็ดลำไยเริ่มมีสีดำ ให้ปุ๋ยยูเรีย และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราส่วน 1 : 1

ลำไยเหลื่อมฤดู จะเก็บเกี่ยวได้หลังจากลำไยในฤดูออกจำหน่ายไปแล้ว ประมาณ 20-30 วัน ทำให้ราคาขายสูงกว่าลำไยในฤดูสูง 20-40 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนลำไยนอกฤดู ราคาขายสามารถกำหนดเองได้ และมีจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จ.ส.อ. นิกร บอกว่า ข้อดีของการปลูกลำไยระยะชิด คือ สามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ลำไยอายุ 3 ปี ไม่ต้องรอนานเหมือนการปลูกลำไยทั่วไป แต่ต้องควบคุมทรงพุ่มให้ดี ตัดต้นให้เตี้ย ให้แสงเข้าถึงโคนต้น และหมั่นตัดยอดสม่ำเสมอ

จำนวนต้นต่อไร่สำหรับการปลูกระยะ 8×8 เมตร จำนวน 25 ต้น ต่อไร่

ระยะชิด 3×4 เมตร ปลูกได้จำนวน 134 ต้น ต่อไร่

การปลูกลำไยเหลื่อมฤดู กับนอกฤดู ด้วยฝีมือของ จ.ส.อ. นิกร ทำให้แปลงลำไยเป็นที่ยอมรับ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และ จ.ส.อ. นิกร ยินดีให้คำปรึกษา เข้ามาศึกษาดูงานที่แปลงได้ไม่หวง หรือจะโทรศัพท์มาก็ยินดี ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (084) 485-3489 และ (053) 950-367

ตามระบบเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมเสริมองค์ความรู้ด้านการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างด้วยชุด Test kit ผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพส่งโรงคัดบรรจุพืชผักผลไม้สด

นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ได้ดำเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้กับโรงคัดบรรจุและโรงรวบรวมผักและผลไม้สดขนาดเล็ก จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ จังหวัดราชบุรี และขอนแก่น เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน ทำให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน และสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้นผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งขอการรับรองมาตรฐาน GMP จากหน่วยรับรอง

โดยโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นโมเดลในด้านการตลาดนำการผลิตและระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีการเชื่อมโยงกับห้างโมเดิร์นเทรดอย่างเทสโก้ โลตัส ในการรับซื้อผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และมีการขยายผล “โนนเขวาโมเดล” ไปในพื้นที่อื่นๆ เช่น โรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูร่วมใจพัฒนา ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นอกจากนี้ มกอช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น หน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร สังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขยายผล “โนนเขวาโมเดล” ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเพิ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านสว่าง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ ปัจจุบันมีสมาชิก 35 ราย ส่วนใหญ่ปลูกผักกาดหัว (หัวไชเท้า) ส่งโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สดบ้านโนนเขวา เพื่อเข้ากระบวนการก่อนส่งจำหน่ายให้ เทสโก้ โลตัส 5 ตัน/สัปดาห์ และเมื่อเดือนเมษายน 2562 ที่ผ่านมา มีสมาชิกผ่านการรับรองแปลง GAP จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว จำนวน 22 ราย

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวเกษตรกรในฐานะผู้ผลิต และต่อประชาชนในฐานะผู้บริโภค จึงได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เตรียมความพร้อมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านสว่าง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างด้วยชุด Test kit ให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพการส่งผักเข้าโรงคัดบรรจุพืชผักผลไม้สดบ้านโนนเขวา และนำความรู้ไปใช้ในการกำกับดูแลให้ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐานปลอดจากสิ่งปนเปื้อน โดยการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างด้วยชุด Test kit เป็นหนึ่งในกระบวนการควบคุมคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ผู้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรมั่นใจได้ว่า สินค้าเกษตรดังกล่าวมีความปลอดภัยจากสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายได้

“ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้มีมาตรฐานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ โดยใช้เรื่องคุณภาพมาตรฐานเป็นจุดขาย โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานทั้งห่วงโซ่อาหาร หรือจากไร่นาถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to Table)” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

พื้นที่จังหวัดชลบุรี เดิมเป็นแหล่งใหญ่หนึ่งที่มีเกษตรกรทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลจากการขยายตัวของสาธารณูปโภคที่เจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง แม้พื้นที่ปลูกจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีสวนมะพร้าวที่ดีหลงเหลืออยู่

ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา สวนมะพร้าวจำนวนหนึ่งถูกทำลายจากการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างรุนแรง ทำให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรต้องออกมารณรงค์ให้เลี้ยงแตนเบียน เพื่อปล่อยเข้าทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว

ถามถึงสวนมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยืนยันจากคุณบุญลือ คงสูงเนิน เกษตรอำเภอบางละมุง ว่า เหลืออยู่เพียง 2 สวนเท่านั้น ที่มีคุณภาพ

สวนคุณประวิทย์ ประกอบธรรม ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นสวนหนึ่งที่ขึ้นชื่อได้ว่า ผลิตมะพร้าวน้ำหอมได้คุณภาพลุงประวิทย์ มีพื้นที่สวนรวมกับพื้นที่บ้าน 10 ไร่ และมีพื้นที่สวนมะพร้าว ตั้งอยู่ถัดไปอีกกว่า 10 ไร่ เป็นแปลงที่ไม่ติดกัน แต่ทุกแปลงปลูกมะพร้าวเป็นผลไม้หลักสร้างรายได้ ส่วนผลไม้ชนิดอื่นปลูกไว้รับประทาน

“ผมเป็นลูกชาวสวนโดยแท้ พ่อแม่ก็ทำสวนมะพร้าวมาก่อน มาซื้อที่ตรงนี้ 10 ไร่ ก็เริ่มปลูกมะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน อย่างมะพร้าวน้ำหอม คือ หอมใบเตย ถ้ามะพร้าวน้ำหวาน ก็จะหวานธรรมชาติแบบพันธุ์โบราณ พวกหมูสีหรือนกคุ่ม”

พื้นที่สวนเกือบ 20 ไร่ มีมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 200 ต้น เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คุณประวิทย์ นำมะพร้าวน้ำหอมจากสวนส่งไปประกวดความหวาน ผลที่ได้คือ มะพร้าวน้ำหอมของสวนได้รับรางวัลมะพร้าวน้ำหวานที่สุดระดับภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และฉะเชิงเทรา) ภายใต้รางวัลชนะเลิศ การประกวดมะพร้าวน้ำหอม ในการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นกำลังใจอย่างดีให้กับชาวสวนเก่าอย่างคุณประวิทย์

ที่ผ่านมามะพร้าวแกง ปลูกระยะห่าง 10×10 เมตร ทำให้มีระยะห่างระหว่างต้นมาก คุณประวิทย์ จึงปลูกเสริมด้วยมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหวาน แทรกระหว่างกลาง ทำให้ปัจจุบันมีมะพร้าวทั้งที่ให้ผลผลิตแล้วเกินกว่า 30 ปี ไล่ลำดับปีลงมาถึงมะพร้าวที่เพิ่งปลูก ยังไม่ถึงอายุการให้ผลผลิต การปลูกมะพร้าวหากพื้นที่ไม่ต่ำก็ไม่ต้องยกร่อง ขุดหลุมความลึกพอดีกับผลมะพร้าว พิจารณาดินปลูก หากพื้นที่ปลูกสมบูรณ์อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรองก้นหลุม แต่ถ้าดินทรายควรใช้ขี้วัวรองก้นสักหน่อย แต่ละหลุมปลูกควรห่าง 5X5 เมตร เมื่อต้นมะพร้าวโต ใบมะพร้าวจะจรดถึงกันพอดี หลังนำต้นลงปลูกกลบผลมะพร้าวไม่ต้องมิดมาก แต่เมื่อถากหญ้าหรือเก็บกวาดสวนก็ให้สุมไปที่โคนต้นมะพร้าว

น้ำ เป็นปัจจัยปลูกที่สำคัญยิ่งสำหรับการทำสวนมะพร้าว โชคดีที่สวนของคุณประวิทย์ ติดกับลำห้วยที่มีฝายทดน้ำอยู่ใกล้ ทำให้มีน้ำตลอดปีในฤดูฝน เป็นที่รู้กันว่า ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ฤดูอื่นหากเห็นว่าดินเริ่มขาดน้ำ ก็นำถัง 200 ลิตร บรรทุกน้ำใส่ท้ายรถกระบะ รดสัปดาห์ละครั้ง แต่ละครั้งของการรด ควรรดให้ดินชุ่ม ซึ่งคุณประวิทย์ บอกว่า การรดน้ำแบบที่สวนคุณประวิทย์ทำ ไม่ได้เป็นวิธีมาตรฐาน หากต้องการให้ได้มาตรฐาน ควรติดสปริงเกลอร์หรือติดตั้งระบบน้ำหยด และควรเริ่มลงปลูกมะพร้าวราวเดือนมิถุนายน เพราะเป็นช่วงฤดูฝนของทุกปี

คุณอุไร ประกอบธรรม ภรรยาของคุณประวิทย์ ผู้มีประสบการณ์การทำสวนมะพร้าวมากพอกัน บอกว่า การใส่ปุ๋ยให้กับมะพร้าว จะเริ่มให้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ควรให้ 4 ครั้งต่อปี ในระยะห่างของเวลาที่เท่ากัน ซึ่งบางสวนอาจจะใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ผลที่ตามมาอาจทำให้ผลมะพร้าวไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า มะพร้าวขาดคอ ยกเว้นในช่วงที่มะพร้าวยังไม่ติดผล ควรให้ปุ๋ยทุก 3 เดือน

การทำมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน ให้ได้คุณภาพดี คุณประวิทย์ บอกเทคนิคอย่างง่าย ว่า ไม่ควรซื้อปุ๋ยที่ผสมสูตรสำเร็จมาใช้ เพราะจะมีส่วนผสมของดินเปล่าที่ไม่มีประโยชน์ปนมามากถึง 3 กิโลกรัม แต่ใช้วิธีซื้อแม่ปุ๋ย ที่มีความเข้มข้นของธาตุแต่ละตัว นำมาผสมเพื่อให้ได้สูตรตามการใช้ประโยชน์ ต้นมะพร้าวจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใส่ปุ๋ย

“เราซื้อแม่ปุ๋ยมาเอง แล้วเอามาผสม ต้องการสูตรอะไรก็ผสมให้ได้อย่างนั้น ผมซื้อปุ๋ยสูตร 0-0-60, 18-24-0 และ 46-0-0 ใช้ 3 ตัวนี้มาผสมกันให้ได้ตามสูตรที่ต้องการ ซึ่งสูตรที่ต้องการไม่มีขายในท้องตลาดทั่วไปอยู่แล้ว ถ้าต้องการให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตเร็ว ก็เน้นตัวหน้าสูง ถ้าต้องการให้ผลมะพร้าวหอมหวานก็เน้นไปที่ตัวหลังสูง เท่านั้นเอง”

โรคและแมลง เป็นเรื่องที่หนักใจที่สุด สำหรับชาวสวนมะพร้าวคุณประวิทย์เองยังเอ่ยปากว่า ตั้งแต่ทำสวนมะพร้าวมานานหลายสิบปี ปัญหาที่พบและเป็นอุปสรรคมากที่สุด คือ ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าว และ ด้วง

“ในอดีตไม่เคยมีปัญหาเหล่านี้ มะพร้าวปลูกทิ้ง ใส่ใจดูแลรดน้ำให้ปุ๋ยบ้าง ก็ได้ผลผลิตที่ดี แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หากปลูกทิ้ง ไม่มีทางที่จะได้ผลผลิตที่ดีแน่นอน ซึ่งปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าวก็เพิ่งพบการระบาดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงด้วงแรดและด้วงงวงที่ทำลายมะพร้าวจนเสียหาย และเป็นปัญหาที่เกษตรกรไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดได้ประสบความสำเร็จ”

แต่วิธีที่สวนมะพร้าวคุณประวิทย์ทำ คือ

1.ปล่อยแตนเบียนให้ทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งวิธีนี้ ใช้ได้ดีกับมะพร้าวต้นเตี้ย หรือต้นที่สูงไม่เกิน 10 เมตร

2.หมั่นสั่งเกตใบมะพร้าว หากพบว่าใบมีทางลายและเริ่มแห้ง ให้คลี่ใบมะพร้าวดู พบหนอนหัวดำมะพร้าวก็นำมาบี้ทิ้ง จากนั้นก็ตัดใบนำไปเผาทำลาย

3.ก่อไฟรมควันภายในสวนมะพร้าว ช่วยลดจำนวนหนอนหัวดำที่เข้ามาภายในสวนมะพร้าว4.สำหรับต้นมะพร้าวสูงเกิน 10 เมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวแกง จำเป็นต้องฉีดสารเข้าที่ลำต้น ซึ่งวิธีนี้เลือกใช้เฉพาะต้นมะพร้าวที่อยู่ในแปลงถัดไปเท่านั้น

5.ทำเครื่องดักด้วง นำไปแขวนไว้กับต้นมะพร้าว โดยการใช้สารฟีโรโมนเป็นตัวล่อ

ทั้ง 5 วิธี ต้องทำร่วมกัน ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งได้ เพราะจะทำให้การป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวและด้วง ไม่ได้ประสิทธิภาพ คุณประวิทย์ บอกว่า การใช้สารกำจัดแมลงจะใช้เฉพาะอีกำแปลงถัดไป ส่วนแปลงมะพร้าวที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับบริเวณบ้าน จะงดใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะต้องการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสวนมะพร้าวธรรมชาติ ส่วนมะพร้าวบางต้นที่ถูกแมลงเข้าทำลาย หากใช้วิธีตามธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดแล้วยังไม่ได้ผล ก็ยอมรับในปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้

“สวนนี้ ผมไม่ได้ปลูกแค่มะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน เท่านั้น ผมยังปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสี มะพร้าวนกคุ่ม เอาไว้อีกด้วย ซึ่งหากพบสายพันธุ์แปลกๆ ที่พอเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ได้ ก็จะนำมาปลูกไว้เป็นการรักษาพันธุ์”

การเก็บผลจำหน่าย สำหรับมะพร้าวแกง จะเก็บเองและปอกเปลือกให้ มีพ่อค้ามารับจากสวน ในราคาลูกละ 20 บาท แต่ละรอบของการเก็บมะพร้าวแกง สามารถเก็บได้ครั้งละ 3,000-3,500 ลูก

มะพร้าวน้ำหอม และ มะพร้าวน้ำหวาน สามารถเก็บจำหน่ายได้ทุกวัน ในราคาลูกละ 15 บาท แต่ละวันเก็บได้ในปริมาณไม่เท่ากัน และไม่ว่าจะเก็บได้จำนวนเท่าไหร่ก็มีลูกค้ารับซื้อจากสวนไปหมด

ส่วนมะพร้าวชนิดอื่น เช่น มะพร้าวกะทิ ก็มีเก็บขายได้ประปราย ได้ราคาดี ผลเล็กราคา 30-40 บาท ผลใหญ่ราคา 80 บาท รวมถึงมะพร้าวทึนทึกที่ขายได้ทุกครั้งที่เก็บ สวนมะพร้าวคุณประวิทย์ ยินดีต้อนรับผู้มาเยือนทุกทิศ หรือ ต้องการสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ก็ยินดี ติดต่อคุณประวิทย์ ประกอบธรรม ได้ที่ หมู่ 1 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 096-190-1825

พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ของการปลูกกาแฟบนดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านดอยช้าง ที่มีสมาชิกจำนวน 64 คน ระยะเวลาการก่อตั้งกลุ่มถึงปัจจุบัน 7 ปี มีแนวทางการผลิตกาแฟแบบอินทรีย์ งดเว้นการใช้สารเคมีทุกชนิด เพื่อให้ได้กาแฟปลอดสารและนำไปสู่การผลิตแบบอินทรีย์ ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านดอยช้างกลุ่มนี้ ได้รับการันตีว่า เป็นกาแฟอินทรีย์ไปเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทที่รับซื้อกาแฟของกลุ่ม ส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้ามาตรวจสอบและรับรองมาตรฐานอินทรีย์ให้ผลผลิตทั้งหมดของกลุ่มวิสาหกิจอินทรีย์ฯ แห่งนี้ ถูกตีตราแบรนด์ขายทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นเครื่องการันตีได้ว่า กาแฟจากแหล่งนี้มีคุณภาพที่ดี

คุณภาคภูมิ แลเฌอกู่ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านดอยช้าง มีหน้าที่ดูแลสมาชิกกว่า 200 ครัวเรือน เล่าว่า เกษตรกรที่ปลูกกาแฟเกือบทั้งหมดเป็นชาวเขาเผ่าอาข่า การประกอบอาชีพ แม้จะทำการเกษตร ก็จะปลูกพืชในพื้นที่เดิมไม่เกิน 10 ปี จากนั้นจะย้ายพื้นที่ปลูกไปถางพื้นที่ใหม่ ในลักษณะที่เรียกว่า การทำไร่เลื่อนลอย เมื่อมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาส่งเสริมการปลูกพืชแบบยั่งยืน เพื่อลดปัญหาดังกล่าว ก็เริ่มมีเกษตรกรปรับตัวตาม และปัจจุบันปัญหาดังกล่าวหมดไป แต่สิ่งที่เกษตรกรชาวเขายังประสบอยู่คือ การทำการตลาด เพื่อส่งเสริมผลผลิตที่ผลิตได้

การปลูกกาแฟ มีระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวอยู่ที่ 2×2 เมตร ทำให้ได้จำนวนต้น 400 ต้น ต่อไร่การขุดหลุมปลูก ขนาดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร เพราะทั้งรากแก้วและรากฝอยของกาแฟชอนไชไปได้ไม่เกิน 50 เซนติเมตร จากผิวดิน จากนั้นรากแก้วจะหยุดที่ 50 เซนติเมตร ส่วนรากฝอยจะชอนไชย้อนกลับขึ้นมาหาอาหารบริเวณผิวดิน ดังนั้น เมื่อลงปลูกต้นกาแฟแล้ว จะต้องพอกโคนต้นให้พูนขึ้น

การให้ปุ๋ย ใช้ปุ๋ย 1 กำมือ ต่อต้นในอดีต การให้ปุ๋ยใช้สารเคมี เมื่อรวมกลุ่มเพื่อการผลิตกาแฟอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต จึงจำเป็นต้องซื้อปุ๋ยหมัก และมีต้นทุนปุ๋ยหมักราคากระสอบละ 320 บาท น้ำหนักปุ๋ยกระสอบละ 15 กิโลกรัม เฉลี่ยราคาปุ๋ยหมักกิโลกรัมละ 6.20 บาท หรือในบางปีที่ราคาปุ๋ยหมักขึ้นสูง อาจมีต้นทุนปุ๋ยหมักมากถึงกิโลกรัมละ 9-10 บาท ทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มจึงผลิตปุ๋ยหมักเอง โดยนำเปลือกกาแฟสด (เชอรี่) ที่ต้องปอกออกก่อนนำเข้าเครื่องอบ จากเดิมที่ปอกเปลือกแล้วนำไปทิ้งในปริมาณมาก ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในเรื่องของกลิ่นเปลือกกาแฟ และทำให้เกิดน้ำเสียที่ปลายทาง เมื่อกลุ่มเห็นว่าเปลือกกาแฟสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการหมักใช้แทนปุ๋ยหมักได้ จึงนำกากน้ำตาล ขี้วัว และสารตั้งต้นสำหรับผลิตปุ๋ยหมักมาผสม ผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ใช้เวลาหมักอย่างน้อย 2 เดือน และนำมาใช้แทนปุ๋ยหมักที่สั่งซื้อมา ซึ่งทุกปีใช้ปุ๋ยหมักเกือบ 20 ตัน หากผลิตปุ๋ยหมักเองได้ จะสามารถลดต้นทุนได้เกินกว่าครึ่ง ทั้งยังช่วยกำจัดของเสียที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

กาแฟ เมื่ออายุ 1 ปี จะเริ่มออกดอกในฤดูร้อนของทุกปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะเริ่มติดผลเล็กๆ และสามารถเก็บเมล็ดกาแฟสดได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

การใส่ปุ๋ย เริ่มให้ต้นเดือนพฤษภาคม ต้นละ 1 กำมือ ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อต้น ไม่ต้องรดน้ำ เพราะการปลูกกาแฟบนที่สูง อาศัยน้ำฝนตามฤดูกาลเท่านั้น จากนั้นใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนกันยายน การใส่ปุ๋ยช่วงนี้ เป็นการช่วยไม่ให้ต้นโทรม

และควรตัดแต่งกิ่งไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การตัดแต่งกิ่งไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งทุกปี อาจจะเว้น 2-3 ปี ต่อครั้งได้ แต่หากไม่ตัดแต่งกิ่งเลย จะทำให้ต้นกาแฟสูงชะลูดขึ้นไปข้างบน การแตกกิ่งมีน้อย ซึ่งมีผลต่อการติดเมล็ดของกาแฟที่ออกตามกิ่ง

การเก็บเมล็ดกาแฟสดจากต้น สีของผลจะต้องจัด หากเป็นสีเหลืองก็ต้องเหลืองจัดจนส้ม หรือหากเมล็ดแดงก็ต้องเป็นสีแดงเข้มมาก ในช่วงที่เมล็ดกาแฟสุกจัด สามารถเก็บได้ อาจมีฝน ถ้าฝนตกการเก็บเมล็ดกาแฟจะทำได้ยาก เพราะเมื่อเก็บมาแล้วไม่มีเครื่องอบ ทำให้เมล็ดกาแฟชื้น อาจทำให้เมล็ดกาแฟเน่า ปัญหานี้เกษตรกรบนดอยวาวียังประสบอยู่ ซึ่งการแก้ปัญหาสามารถทำโดยการนำเมล็ดกาแฟที่เก็บมาได้เข้าเครื่องอบ แต่เครื่องอบมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องทำให้เมล็ดกาแฟแห้งโดยการตาก

อายุของต้นกาแฟ หากดูแลรักษาดี อาจมีอายุยาวนาน 30-50 ปี โดยไม่จำเป็นต้องรื้อแปลงปลูกใหม่ หากต้นมีอายุมาก จะให้ผลผลิตค่อนข้างดีกว่า

โรคและแมลงในกาแฟ พบได้น้อย เพราะปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์กาแฟให้ทนทานต่อโรค จึงพบโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาในแปลงค่อนข้างน้อย

การเก็บผลผลิตกาแฟต่อต้น โดยทั่วไปเฉลี่ยต้นละ 1 กิโลกรัม การเก็บ จำเป็นต้องเก็บเมล็ดกาแฟในตอนเช้า เก็บตลอดทั้งวันแล้วนำมาส่งที่โรงตากกาแฟไม่เกินเวลา 22.00 น. ของวันนั้นๆ และเริ่มสีเมล็ดกาแฟในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น

การรับซื้อเมล็ดกาแฟ ราคารับซื้อเมื่อยังเป็นผลสด (เชอรี่) ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท
เมื่อนำผลสด (เชอรี่) มาปอกเปลือกตากแห้ง เรียกว่า กะลา ความชื้นไม่น้อยกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ ขายได้ราคากิโลกรัมละ 120 บาท แต่ปริมาณผลสด (เชอรี่) 5 กิโลกรัม เมื่อปอกเปลือกตากแห้งแล้วได้กะลา 1 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบราคาขายแล้ว ได้กำไรกิโลกรัมละ 20 บาท

แต่หากนำกาแฟในรูปแบบของกะลามาสีเป็นสาร จะขายได้ราคากิโลกรัมละ 180-200 บาท หากนำกะลาที่สีเป็นสาร ไปคั่วให้ได้เมล็ดกาแฟสด จะขายได้ราคากิโลกรัมละ 500-1,000 บาท

แม้ว่าทุกขั้นตอนจะมองดูเหมือนสามารถแปรรูป เพื่อให้ได้มูลค่าของกาแฟที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ติดในแต่ละขั้นตอนที่เหมือนกัน คือ อุปกรณ์หรือเครื่องที่จะสี สาร คั่ว เมล็ดกาแฟ ไม่ใช่ทำด้วยมือได้ แต่ต้องใช้เครื่อง ซึ่งมูลค่าเครื่องหลักล้านบาท เกษตรกรทั่วไปไม่มีทุนก็ไม่สามารถทำได้ จึงทำให้เกษตรกรต้องขายเมล็ดกาแฟสด (เชอรี่) หรือเมล็ดกาแฟสด (เชอรี่) ที่ผ่านการตากแห้งเป็นกะลาแล้วเท่านั้น

ตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านดอยช้าง มี กาแฟดอยช้าง มารับซื้อเมล็ดกาแฟสด (เชอรี่) แล้วนำไปสี ทำกะลา อบ คั่ว ทำแบรนด์ดอยช้างเอง ส่วนอีกบริษัทรับซื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำไปทำแบรนด์เอง ขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เพราะคุณภาพเมล็ดกาแฟอินทรีย์ที่ผลิตได้ ทำให้มีบริษัทของไต้หวันติดต่อเข้ามาขอซื้อกาแฟคั่ว เดือนละ 500 กิโลกรัม แต่ติดปัญหาที่กลุ่มยังไม่มีเครื่องคั่วเมล็ดกาแฟ จึงต้องชะลอการสั่งซื้อออกไปอีก ปริมาณผลผลิตแต่ละปี มากถึงปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านกิโลกรัม ก็ขายหมดไม่เหลือ

คุณพรศักดิ์ นันตะรัตน์ เกษตรจังหวัดเชียงราย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า เชียงรายเป็นพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก เพราะตั้งอยู่ในแนวองศาเหนือและองศาใต้ที่โลกให้การยอมรับว่า เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟรสชาติดี แต่ปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจะพบคือ การทะลักเข้ามาของกาแฟเพื่อนบ้านในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อกาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านแทน แม้ว่าจะคุณภาพด้อยกว่าของประเทศไทย แต่ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และนำมาปนในขั้นตอนของการคั่วเมล็ดกาแฟ ก็ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้ ผู้ผลิตกาแฟก็ได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ถูกลง

อยากแวะชมไร่กาแฟอินทรีย์บนดอยช้าง ก็ติดต่อหา คุณภาคภูมิ แลเฌอกู่ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย หรือโทรศัพท์ 061-373-2007 ได้ตลอดเวลา

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณภาพและมีลักษณะดีเด่นตรงตามความต้องการของตลาด และให้ผลผลิตสูง เป็นสินค้าทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่รักทุเรียน จะใช้ปลูกทดแทนทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม เพราะทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ มีศักยภาพการผลิตในเชิงการค้า แถมรสชาติของทุเรียนถูกใจผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 1

เกิดจาก ชะนี +หมอนทอง ลักษณะเด่นคือ ผลผลิตออกต้นฤดู อายุเก็บเกี่ยวสั้น 105 วัน หลังดอกบาน ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ น้ำหนัก 2.65-3.61 กิโลกรัม ต่อผล สีเนื้อเหลือง รสชาติหวานมัน เนื้อค่อนข้างละเอียด กลิ่นอ่อนมาก เนื้อคงสภาพได้นานหลังปลิงหลุด พันธุ์แนะนำ : 09 ตุลาคม 2549