การได้จัดการใช้พื้นที่ เงินทุน แรงงาน และปัจจัยการผลิตที่ผสม

จะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต การผลิตพืชในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนเกษตรกร หรือปฏิบัติตามคำแนะนำจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชัยนาท ผลตอบแทนที่ได้รับคือ ได้ผลส้มโอขาวแตงกวาคุณภาพ รสชาติหวานฉ่ำ อร่อย ที่ผู้บริโภคทั้งไทยและเทศชื่นชอบ นั่นคือ เส้นทางที่ทำให้เรามีรายได้พอเพียงและมีคุณภาพชีวิตมั่นคง

สนใจเรื่องราว ขาวแตงกวา ส้มโอคุณภาพ ไม้ผลเศรษฐกิจ ปลูกง่ายสู่รายได้ที่มั่นคง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณภัทรมล คุ้มชนะ บ้านเลขที่ 303 หมู่ที่ 10 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โทร. (086) 215-1598 หรือ คุณชมพูนุช หน่อทอง สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท โทร. (056) 476-720 ก็ได้เช่นกันครับ

เนื่องจากฝรั่งเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีราคาสูงอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาหลายปี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในช่วงนี้เราจะเห็นแปลงปลูกฝรั่งแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งในแหล่งปลูกเดิมอย่าง นครปฐม ราชบุรี และพื้นที่ใหม่ๆ แต่จะว่ากันไปแล้ว ฝรั่งดูจะเป็นพืชที่แอบทำเงินเงียบๆ ให้ชาวสวนมาตลอด เพราะฝรั่งไม่ใช่พืชที่ถูกปลุกกระแสจากสื่อต่างๆ เหมือนกับอีกหลายพืชที่ถูกปลุกกระแสจนโด่งดังหรือน่าสนใจเกินความเป็นจริงเสียอีก จึงทำให้พื้นที่ปลูกฝรั่งไม่เพิ่มขึ้นมากเท่าที่ควรจะเป็น และหลายคนมองข้ามพืชชนิดนี้ไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้าคุณได้รู้จักพืชชนิดนี้แล้วเชื่อว่าคุณจะกลับมามองฝรั่งในมุมมองใหม่และทิ้งพืชที่คุณกำลังสนใจหันมาปลูกฝรั่งแทนกันเลยทีเดียว

แม้จะเติบโตมากับอาชีพทำสวน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกหลานชาวสวนจะไม่อยากเดินตามรอยอาชีพของพ่อแม่ ขณะเดียวกันพ่อแม่เองก็อยากให้ลูกหลานได้ทำงานบริษัทที่สุขสบาย ไม่ต้องมายึดอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องตากแดดแทนการตากแอร์ในออฟฟิศ เช่นเดียวกับ คุณวราภรณ์ ขุนพิทักษ์ ที่มีดีกรีถึงปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่จะเลือกทำงานบริษัทในเมืองหลังจากเรียนจบแทนการมาเป็นชาวสวน แต่หลังจากทำงานได้ไม่กี่ปี เธอก็เลือกที่จะมาทำสวน เจริญรอยตามพ่อ-แม่ เพียงเพราะมองว่างานสวนที่บ้านหนักเกินกว่าที่พ่อ-แม่ จะทำไหว ซึ่งที่บ้านทำสวนกว่า 30 ไร่ โดยพืชหลักที่ปลูกก็คือ มะม่วง ชมพู่ และฝรั่ง ส่วนใหญ่จะเป็นมะม่วง

แต่หลังจากที่คุณวราภรณ์เห็นว่าพืชที่ปลูกทั้งหมด ฝรั่งเป็นพืชที่น่าสนใจที่สุด เพราะมะม่วงที่ทำมานานนั้น พื้นที่ 30 ไร่ มีรายได้เพียงปีละ 2-3 แสนบาทเท่านั้น ทั้งยังเป็นมะม่วงพันธุ์ทั่วไปที่เน้นขายป้อนตลาดขายส่งทั่วไป ขณะที่ฝรั่งสามารถให้ผลผลิตเร็ว เพียง 8 เดือน หลังปลูกฝรั่งก็จะสามารถตัดลูกชุดแรกได้แล้ว อีกทั้งผลตอบแทนก็สูง คุณวราภรณ์จึงตัดสินใจเปลี่ยนพื้นที่สวนมาเป็นฝรั่งเพียงอย่างเดียวและปลูกฝรั่งมาตลอด วันนี้คุณวราภรณ์บอกว่า เธอตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกเป็นชาวสวน เพราะรายได้จากการทำสวนเพียงเดือนเดียวมันมากกว่ารายได้ที่เธอทำงานบริษัททั้งปีซะอีก ฝรั่งเพียง 10 ไร่ สามารถทำเงินได้หลักแสนต่อเดือน ปีหนึ่งสามารถทำเงินหลักล้านได้ไม่ยาก จากฝรั่งเพียง 10 ไร่ ซึ่งปัจจุบันคุณวราภรณ์มีพื้นที่ปลูกฝรั่งกว่า 24 ไร่

แปลงฝรั่งของคุณวราภรณ์จะมีอยู่ 2 แปลง แปลงหนึ่ง 14 ไร่ อีกแปลง 10 ไร่ คุณวราภรณ์ บอกว่า พืชทุกชนิดจะมีช่วงราคาถูก-แพง ในรอบปี ฝรั่งก็เช่นเดียวกันค่ะ มักจะมีราคาถูกในช่วงร้อนหรือประมาณเดือน เมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลใหญ่ของผลไม้บ้านเรา ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด บุกตลาดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นผลไม้ชนิดอื่นแทบหมดความสำคัญ และช่วงนั้นจะเป็นช่วงตกต่ำของผลไม้ เพราะเป็นช่วงที่มีผลไม้ออกสู่ตลาดมากที่สุด ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับราคาช่วงนี้ก็หลีกเลี่ยงที่จะให้มีผลผลิตเก็บขายได้ช่วงที่ผลไม้ประดังกันออกมา ดังนั้น ช่วงนี้คุณวราภรณ์จะไม่ห่อผลฝรั่งเลย ราคาฝรั่งช่วงนี้จะไม่ไกลไปกว่า 10 บาท ต่อกิโลกรัม หน้าสวน

ส่วนช่วงที่ฝรั่งมักมีราคาแพง จะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีผลไม้ชนิดไหนออกสู่ตลาด อย่างช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ช่วงนั้นราคาฝรั่งจะสูง 30-40 บาท ต่อกิโลกรัม (หน้าสวน) กับอีกช่วงคือมกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งมีเทศกาลต่างๆ มาก การวางแผนจะให้ฝรั่งเก็บได้ช่วงไหนก็นับย้อนไป 5 เดือน แล้วโน้มกิ่งให้ฝรั่งแตกยอดใหม่ เพื่อที่จะให้ผลผลิต หรือนับจากห่อผลก็ 3 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยฝรั่งที่จะเก็บผลได้ในช่วงสิงหาคม-กันยายน ก็จะต้องโน้มกิ่ง ต้นเดือนมีนาคมซึ่งก็คือช่วงนี้นั่นเอง คุณวราภรณ์โน้มกิ่งหลังจากเก็บผลผลิตชุดใหญ่ขายไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงตรุษจีนที่ผ่านมานี้เอง

ชาวสวนหลายคนที่ทำสวนฝรั่งอาจไม่ได้เก็บข้อมูลตัวเลขการลงทุนและรายได้ แต่คุณวราภรณ์เก็บข้อมูลไว้หมด ซึ่งทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนของการทำสวนฝรั่งได้เป็นอย่างดี คุณวราภรณ์ บอกว่า ฝรั่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียว โดยจะมีผลผลิตชุดใหญ่ๆ อยู่ประมาณ 3 ชุด ต่อปี อย่างชุดตรุษจีนที่ผ่านมาซึ่งเป็นชุดใหญ่ พื้นที่ 10 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้มากถึง 44,000 กิโลกรัม ในช่วงเวลาการเก็บ 5-6 วัน (หมดชุด) ราคาช่วงนั้น 25-35 บาท ต่อกิโลกรัม ชุดเดียวทำเงินไปเหยียบล้านเลยทีเดียว โดยฝรั่ง 10 ไร่ จะลงทุนต่อ 1 ชุด เพียงแสนกว่าบาทเท่านั้น

คุณวราภรณ์ เล่าถึงการดูแลฝรั่งที่สวนว่า ฝรั่ง 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 150-200 ต้น ขึ้นกับสภาพพื้นที่ปลูก และระยะปลูก ที่จะปลูกแบบยกร่องสวน เนื่องจากเป็นเขตที่ลุ่ม ขนาดร่อง 2 เมตร บนร่องปลูก 2 แถว แบบสลับฟันปลา ระยะปลูก ประมาณ 1.5 เมตร ฝรั่งจะเริ่มเก็บได้เมื่ออายุ 8 เดือน หลังปลูก โดยในรอบ 1 ปี จะทำชุดใหญ่ 3 ชุด โดยชุดที่จะมีราคาแพงที่สุด จะเป็นชุดที่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นฝรั่งที่จะต้องโน้มกิ่งในช่วงต้นเดือนมีนาคม การโน้มกิ่งฝรั่งจะทำให้ฝรั่งแตกยอดพร้อมกับออกดอกบนกิ่งที่โน้ม โดยจะโน้มกิ่งให้ราบขนานกับพื้นแล้วผูกมัดกิ่งกับหลักไม้ไผ่ พร้อมกับตัดปลายกิ่งเพื่อหยุดการแตกยอดหรือหยุดการเจริญเติบโตของยอด หรือที่ชาวสวนเรียกการหักยอด หรือขลิบยอด ซึ่งฝรั่งจะติดดกหรือไม่นั้นก็ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้น

คุณวราภรณ์ จะดูแลให้ฝรั่งต้นสมบูรณ์ตลอดทั้งปี โดยหลังจากโน้มกิ่งแล้ว จะใส่ปุ๋ย 25-7-7 พื้นที่ 10 ไร่ ใส่ประมาณ 3 กระสอบ หลังจากนั้น อีก 15 วัน ใส่ 16-16-16 อัตราเดิม เมื่อผลโตขนาดเท่าผลส้มจะเปลี่ยนมาใส่ขี้ค้างคาวอัดเม็ดและปุ๋ยอินทรีย์เคมีอัดเม็ดที่มีธาตุอาหารแคลเซียม แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบ (ไบโอฟีด ของ เคโมคราฟ) ซึ่งจะทำให้ฝรั่งผิวสวย ฝรั่งผิวออกขาว ไม่เขียว และรสชาติหวาน กรอบ เนื้อฟู ทางใบพ่นน้ำส้มควันไม้อย่างต่อเนื่องทุก 7-10 วัน เพื่อช่วยในด้านการเจริญเติบโต ความสมบูรณ์ของต้นและยังช่วยแมลงอีกด้วย แคลเซียม-โบรอน พ่นประจำไม่ให้ขาด จะช่วยทั้งเรื่องเพิ่มความสมบูรณ์ของดอก เพิ่มการติดผลดก ขั้วเหนียว ผลกรอบ รสชาติหวาน และช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเสริมน้ำตาลทางด่วนเพื่อเพิ่มรสชาติช่วยอีกแรง

นอกจากนี้ จะมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างดินเป็นระยะๆ ปีละ 3 ครั้ง การพ่นสารเคมีกำจัดโรค-แมลง จะพ่นหนักหน่อยในช่วงก่อนห่อผล 7 วันหลัง แต่หลังห่อผลแล้วก็จะพ่นห่างหน่อย สารเคมีที่ใช้ก็จะเป็นยาพื้นๆ อย่างคลอร์ไพรีฟอส ไซเปอร์เมทริน เมโทมิล สารกำจัดเชื้อราก็ใช้เพียงแมนโคเซ็บ คาร์เบนดาซิม นอกจากว่าเจอโรค-แมลงที่หนักๆ จึงจะใช้ยาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไรรุนแรง ส่วนการให้น้ำ จะให้ 2 วันครั้ง ช่วงร้อนๆ อย่างนี้จะให้น้ำทุกวัน

เมื่อผลขนาดเท่าเหรียญ 10 บาท จะห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทอง โดยใช้ถุงพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันแมลงวันทองโดยเฉพาะ หน้าตาเหมือนถุงก๊อบแก๊บทั่วไปแต่จะหนากว่า แล้วห่อทับด้วยกระดาษอีกชั้น เพื่อให้ผิวสวย ฝรั่ง 1 ต้น จะห่อประมาณ 100 ลูก ถ้าเลือกไว้ผลมากเกินไปต่อต้นจะทำให้ผลมีขนาดเล็กได้ จึงควรไว้ผลให้พอเหมาะกับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น

คุณวราภรณ์ บอกว่า ฝรั่ง เป็นพืชที่ต้องใช้แรงงานเยอะอยู่ 3 ช่วง คือ ช่วงโน้มกิ่ง จะหนักหน่อยก็ช่วงห่อ ฝรั่ง 10 ไร่ วันหนึ่งต้องห่อ 7-8 คน และต้องห่อ 2-3 วัน จึงจะเสร็จ ถ้าให้เสร็จวันเดียวต้องจ้างมากถึง 20-25 คน และต้องเป็นแรงงานที่มีความชำนาญด้วย อีกช่วงคือ ช่วงเก็บฝรั่ง

ฝรั่งส่วนใหญ่จะมีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 5 ปี ต้นก็จะเริ่มโทรม การให้ผลผลิตก็จะสู้ต้นสาวๆ หรือต้นอายุน้อยๆ ไม่ได้ ประกอบกับหลายสวนมีปัญหาฝรั่งตาย ต้นเหตุจากไส้เดือนฝอย ซึ่งยังไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลอย่างชัดเจน นอกจากการปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ ร่วนซุย ไม่มีความเป็นกรดมากเกินไปก็จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาดลงไปได้บ้าง ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา จึงทำให้ชาวสวนฝรั่งมักจะรื้อแปลงปลูกใหม่ เมื่อฝรั่งอายุ 5-6 ปี จึงทำให้เราเห็นแปลงฝรั่งแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดในพื้นที่เขตนี้ ตราบใดที่ฝรั่งที่ราคาดีอย่างนี้ โดยราคากิ่งพันธุ์ที่จำหน่ายกันอยู่ที่ 12 บาท ต่อกิ่ง 1 ไร่ ประมาณ 150-200 ต้น ซึ่งลงทุนเพียง 2,000 กว่าบาท ต่อไร่ ถือว่าไม่สูงเลยเมื่อเทียบกับพืชอย่างอื่น

ขณะที่ฝรั่งมีจุดเด่นตรงที่ให้ผลผลิตเร็วเพียง 1 ปี อีกทั้งยังมีต้นทุนในการดูแลไม่สูง แต่ผลตอบแทนสูงมาก ชาวสวนเขตนี้ยังยึดอาชีพปลูกฝรั่งมาตลอดหลายสิบปี ยิ่งช่วง 4-5 ปี มานี้ราคาฝรั่งดีมาก ทำให้คนที่เคยปลูกพืชอื่นหันมาปลูกฝรั่งกันมากขึ้น ขณะที่ในพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกฝรั่ง ก็จะกลัวว่าไม่สามารถทำให้ฝรั่งออกดอกติดผลได้ จึงทำให้พื้นที่ฝรั่งเพิ่มขึ้น เฉพาะในพื้นที่แหล่งผลิตเดิมๆ

หากใครสนใจอยากปลูกมะม่วงไว้รับประทานผลตลอดทั้งปี ขอแนะนำให้ปลูก “อกร่องทะวาย” เป็นหนึ่งในตระกูลมะม่วงอกร่อง ที่มีลักษณะเด่นคือ ออกลูกทะวาย ติดผลทั้งปี ผลดิบ ไม่ติดเปรี้ยว ผลแก่จัดเริ่มเข้าไคลจะมีรสมัน เมื่อแก่สุกเต็มที่จะหวานอร่อยเหมือนอกร่องทั่วไป มีกลิ่นหอม รับประทานอร่อย ขนาดผลไม่ใหญ่มาก 3-4 ผล ต่อกิโลกรัม แล้วแต่ความสมบูรณ์ ออกลูกดกเป็นพวง

ใครสนใจอยากได้สายพันธุ์มะม่วงอกร่องทะวายไปทดลองปลูก ขอแนะนำให้เลือกซื้อพันธุ์มะม่วงอกร่องทะวายของสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ ที่ให้ผลผลิตดก คุณภาพดีตลอดทั้งปี อยากรู้พันธุ์ไม้ชนิดนี้ มีที่มาอย่างไร ลักษณะโดดเด่นแค่ไหน ต้องไปฟังคำตอบจาก อาจารย์บุญเกื้อ ชมฉ่ำ แห่งสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ กันดีกว่า

ลูกผสมเกิดจากพันธุ์ “อกร่อง+โชคอนันต์”
อาจารย์บุญเกื้อ โทร. (085) 326-6003 อดีตข้าราชการครูวัยเกษียณ ซึ่งดูแลรับผิดชอบด้านการผลิตและขยายพันธุ์ไม้นานาชนิดของสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ อธิบายให้ฟังว่า มะม่วงอกร่องทะวายพันธุ์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มมะม่วงลูกผสมเปิด ที่เกิดจากต้นแม่ คือมะม่วงอกร่องอ่างทอง ส่วนต้นพ่อพันธุ์สันนิษฐานว่าเป็นมะม่วงโชคอนันต์
อกร่องทะวายพันธุ์นี้ได้รวบรวมลักษณะเด่นของพ่อแม่พันธุ์ไว้อย่างครบถ้วน สังเกตจากผลมะม่วงที่มีกลิ่นและรสชาติเช่นเดียวกับ “มะม่วงอกร่อง” ผล มีลักษณะเปลือกหนา รูปทรงใบและต้นเหมือนกับต้นมะม่วงโชคอนันต์โดยทั่วไป และมีเมล็ดบาง เปลือกหนา ขนาดผลโตสม่ำเสมอ

ลักษณะเด่นของ มะม่วงอกร่องทะวาย
มะม่วงอกร่องทะวาย ที่สวนบางไผ่พันธุ์ไม้ภาคภูมิใจนำเสนอในครั้งนี้ มีลักษณะโดดเด่นเป็นที่ถูกอกถูกใจเกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพราะผลดิบผลสุกมีรสอร่อยแล้ว ยังมีลำต้นแข็งแรง เลี้ยงดูง่าย และมีขนาดขั้วใหญ่ ทำให้ติดผลแล้วไม่หลุดร่วงง่าย เป็นสายพันธุ์มะม่วงที่สามารถต้านทานโรคได้ดีมาก

ลักษณะเด่นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ มะม่วงอกร่องทะวาย ติดผลง่ายและให้ผลดกอย่างน่าทึ่ง แถมให้ผลผลิตนอกฤดูอีกต่างหาก ต้นแม่พันธุ์มะม่วงอกร่องทะวายที่ปลูกในสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ ให้ผลผลิตติดต่อกันมาเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยเริ่มให้ผลรุ่นแรก ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงทุกวันนี้ มะม่วงอกร่องทะวายปลูกดูแลง่าย และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี

ให้ผลดก เฉลี่ยปีละ 3-4 รุ่น
อาจารย์บุญเกื้อ ยืนยันว่า มะม่วงอกร่องทะวาย ออกผลง่าย เฉลี่ยปีละ 3-4 รุ่น ผลผลิตแต่ละรุ่น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จำนวนมาก ต้นมะม่วงติดผลดกเป็นพวง บางพวงมีลูกจำนวนมากถึง 8 ผล ส่วนผลเดี่ยวไม่ค่อยมี หากมีก็เจอน้อยมาก สำหรับผลเป็นพวงจะมีน้ำหนักเฉลี่ย ผลละประมาณ 3.5 ขีด ส่วนผลเดี่ยวที่เจอจะมีน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 5 ขีด

มะม่วงอกร่องทะวายพันธุ์นี้ มีรสชาติอร่อยไม่แพ้มะม่วงรับประทานสุกทุกชนิด เนื้อสุกไม่เละ หวานหอมมีเส้นใยน้อย อร่อยมาก เนื้อผลสุกมีกลิ่นหอมรับประทานแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นเนื้อของมะม่วงอกร่อง ยิ่งรับประทานกับข้าวเหนียวมูนยิ่งเพิ่มรสชาติความอร่อยสุดๆ ส่วนผลดิบแก่จัดมีรสมัน แค่ฝานเนื้อรับประทานเปล่าๆ ก็ได้รสชาติมัน เนื้อกรอบ หากรับประทานกับน้ำปลาหวานจะยิ่งเพิ่มความอร่อยขึ้นอีก

ระยะหลัง เมืองไทยเจอสภาวะอากาศแปรปรวนบ่อย แต่มะม่วงอกร่องทะวายพันธุ์นี้ ยังคงให้ผลผลิตดกตลอดทั้งปีเช่นเดิม หากใครสนใจมะม่วงพันธุ์นี้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีบังคับให้ต้นมะม่วงออกผลผลิตเลย อยากให้มีผลผลิตช่วงไหน ก็เพียงแค่บำรุงต้นให้สมบูรณ์ ต้นมะม่วงอกร่องทะวายก็จะให้ผลผลิตตามที่ต้องการ

ปลูกกินก็ได้ ปลูกขายก็รวย
“พี่เล็ก” หรือ คุณฉัตราพร ชมฉ่ำ หนึ่งในเจ้าของกิจการสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ กล่าวเพิ่มเติมว่า มะม่วงอกร่องทะวายพันธุ์นี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่สนใจปลูกมะม่วงเชิงการค้า หรือผู้สนใจปลูกมะม่วงเป็นไม้ผลบริโภคในครัวเรือน แม้มีพื้นที่น้อยก็สามารถปลูกมะม่วงพันธุ์นี้ได้ลูกแน่นอน ที่สำคัญผลผลิตของมะม่วงพันธุ์นี้รับประทานได้อร่อยทั้งผลดิบและผลสุก

ข้อเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ อกร่องทะวายเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ให้ผลผลิตได้หลายรุ่นในต้นเดียวกัน ปลูกดูแลง่าย โดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีแต่อย่างใด จึงเป็นไม้ผลทางเลือกอีกชนิดหนึ่งสำหรับประชาชนที่สนใจบริโภคผลไม้ที่ปลูกดูแลในระบบเกษตรอินทรีย์

เทคนิคเสียบยอดมะม่วงแบบแปะข้างกิ่ง
อาจารย์บุญเกื้อ นับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายพันธุ์ไม้ระดับแนวหน้าคนหนึ่ง ในโอกาสนี้ผู้เขียนจึงรบกวนให้อาจารย์บุญเกื้อช่วยถ่ายทอดเทคนิคเสียบยอดมะม่วงแบบแปะข้างกิ่งให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติตามได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก
อาจารย์บุญเกื้อ แนะนำให้ใช้ต้นตอขนาดเล็ก เพาะใส่ถุง ขนาดต้นตอ 0.5 เซนติเมตร เลือกใช้กิ่งพันธุ์ดีขนาดตั้งแต่ 0.5-2 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีตาประมาณ 4 ตา ตัดใบทิ้งครึ่งใบ

ขั้นตอนต่อมา ให้ปาดกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นแผลรูปถ้วยหัวคว่ำ มีขนาดโตเท่ากับแผลต้นตอ ปาดต้นตอให้เป็นแผลรูปวงรี ความยาวแผล 2-3 เซนติเมตร ความสูง 6 เซนติเมตร หลังจากนั้น ให้จับแผลต้นตอกับยอดพันธุ์ดีประกบติดกัน โดยหันแผลกิ่งพันธุ์ดีเข้าหาตัว เพื่อให้แผลประกบติดกันสนิท พันด้วยผ้าพลาสติกให้แน่น หลังจากนั้นให้นำต้นที่ขยายพันธุ์ใส่ถุงพลาสติกใส จำนวน 1-20 ต้น ใส่ถุงผูกปากไม่ให้อากาศเข้าออก นำไปวางไว้ในที่ร่ม ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แผลก็จะสมานตัวในที่สุด

เทคนิคการสร้างทรงพุ่มมะม่วงต้นเตี้ย
สำหรับมือใหม่ที่หัดปลูกมะม่วงเป็นไม้ผลรอบบ้าน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดูแลจัดการต้นมะม่วง อาจารย์บุญเกื้อแนะนำให้ใช้เทคนิคการสร้างทรงพุ่มมะม่วงต้นเตี้ย โดยกำหนดระยะปลูกต้นมะม่วงให้ห่างกัน ประมาณ 3-4 เมตร รักษาระดับความสูงของต้นมะม่วงไม่เกิน 3 เมตร เทคนิคนี้ควรใช้กับต้นมะม่วงที่ขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และเป็นกิ่งพันธุ์กิ่งกระโดนกิ่งเดียว ความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร

เทคนิคการบังคับทรงพุ่ม
นอกจากนี้ อาจารย์บุญเกื้อ ยังแนะนำเทคนิคการบังคับทรงพุ่ม หากใครสนใจเทคนิคนี้ ควรขุดหลุมปลูกต้นมะม่วงให้มีความลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกคลุกกับดินที่ขุด หลุมละ 1 ถังหิ้วปูน นำต้นมะม่วงลงปลูกโดยให้วัสดุชำต้นต่ำกว่าผิวดิน 1 ฝ่ามือ ปักหลักยึดลำต้นให้แน่น

เมื่อต้นมะม่วงเริ่มจะแตกยอด ให้สังเกตยอดกลาง หากเห็นเป็นตุ่มใหญ่ให้แคะยอดกลางออก กิ่งจะแตกยอดออกด้านข้าง เลี้ยงไว้และเลือกยอดตรงข้ามได้ 2 กิ่ง จับถ่างออก เป็นมุม 70 องศา (แตก ชั้นที่ 1 จะมี 2 กิ่งหลัก) ขั้นตอนต่อมา ต้องบังคับให้แตก ชั้นที่ 2 ทำเหมือน ชั้นที่ 1 (จะมีกิ่งหลัก 4-6 กิ่ง) และบังคับให้แตก ชั้นที่ 3 ทำเหมือน ชั้นที่ 1 (จะมีกิ่งหลัก 12-18 กิ่ง) จะได้ความสูงประมาณ 2-3 เมตร

หลังจากการปลูก ประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้น อาจารย์บุญเกื้อ แนะนำว่า ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี (ปุ๋ยอินทรีย์ 80%+ปุ๋ยเคมี 20%) หรือปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-20, 16-16-16+ธาตุอาหารรอง เดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยให้ต้นมะม่วงแตกกิ่งและมีกิ่งสมบูรณ์ครบตามจำนวนที่ต้องการ

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังสำหรับมือใหม่หัดปลูก ระหว่างต้นมะม่วงแตกใบอ่อน มักจะมีแมลงกัดใบเข้ามาทำลายใบอ่อนได้ จึงต้องระวังป้องกัน โดยใช้ยาฆ่าแมลง หรือเฝ้าระวังตอนเช้าและเย็น หรือเวลามีแสงแดดน้อย จนใบเริ่มแก่

หลังจากราคามันสำปะหลังกลับมาตกต่ำและเกิดปัญหาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคใบด่าง ที่กำลังลุกลามอยู่ในขณะนี้ รวมไปถึงปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้นาข้าวของเกษตรกรในภาคอีสานส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังบางส่วนในพื้นที่ตำบลตะแบกบาน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เริ่มหันมาทำข้าวไร่ แทนการปลูกมันสำปะหลัง เพื่อหวังที่จะมีข้าวไว้กิน และเชื่อว่า ข้าวในปีหน้าจะมีราคาที่แพงขึ้นจากผลกระทบปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง จนอาจเกิดวิกฤติขาดแคลนข้าว

นายช่ำ ชอนครบุรี อายุ 48 ปี ชาวบ้านบ้านหนองจาน ต.ตะแบกบาน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนเลือกปรับพื้นที่ที่เคยปลูกมันสำปะหลังรวมกว่า 10 ไร่ มาปลูกพืชผสมผสาน เช่น ถั่วดิน มะละกอ ผักชี รวมถึง ข้าวไร่ เนื่องจากปีนี้มันสำปะหลังมีการแพร่ระบาดของโรคใบด่างสร้างความเสียหาย อีกทั้งราคาก็ตกต่ำ จึงต้องปรับเปลี่ยนปลูกพืชที่อายุสั้น และหมุนเวียนการเก็บเกี่ยวกันไปเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม

โดยเลือกทดลองปลูกข้าวไร่เพิ่มเติมขึ้นมา 4 ไร่ เนื่องจากเห็นว่า พื้นที่ของตนมีน้ำใต้ดินให้ใช้ทำการเกษตรตลอดทั้งปี และมองว่า สถานการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสานปีนี้รุนแรง จนทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายกันเป็นจำนวนมาก จึงคิดว่า จะต้องปลูกข้าวเอาไว้เพื่อใช้รับประทานในครอบครัว เพราะปีหน้า ข้าวอาจจะขาดแคลนและมีราคาแพงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีเพื่อนเกษตรกรหลายรายทดลองปลูกแล้วก็ได้ผลดี

ด้านนายสุเวท บุญสำโรง อายุ 61 ปี ชาวบ้านบ้านหนองโค ต.ตะแบกบาน ซึ่งเป็นเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่หันมาปลูกข้าวไร่จำนวน 2 ไร่ มานาน 5 ปีแล้ว กล่าวว่า ตนให้ความสนใจที่จะปลูกข้าวไร่แทนการปลูกมันสำปะหลังมานานแล้ว และได้ทดลองปลูกจนได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ซึ่งวิธีปลูกก็ไม่ได้ยุ่งยาก สมัคร Holiday Palace โดยได้ขอซื้อเมล็ดพันธุ์จากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงมาทดลองปลูก เป็นพันธุ์ที่รู้จักกันในชื่อ “ข้าวหอมมะลิแม้ว” แล้วปลูกด้วยระบบน้ำหยด เริ่มต้นจาก 4 กิโลกรัม เมื่อได้ผลผลิตก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้นทุนพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัม จะได้ข้าวประมาณ 4-5 กระสอบปุ๋ย ปลูก 1 ไร่ ต้องใช้พันธุ์ข้าวประมาณ 6 กิโลกรัม

ระยะการหยอดข้าว ต้องห่างระหว่างกอข้าว คือ 35 X 60 เซนติเมตร จะได้ข้าวเปลือกประมาณ 25 – 30 กระสอบปุ๋ย ส่วนการดูแลเน้นอย่าให้ต้นข้าวขาดความชุ่มชื้น รดน้ำให้ชุ่ม วันเว้นวัน อัดน้ำช่วงออกรวงวันต่อวัน พอรวงแก่ก็หยุดให้น้ำ หมั่นดูแลวัชพืช อย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งผลผลิตข้าวเปลือกหนึ่งกระสอบปุ๋ยน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 30 กิโลกรัม เมื่อสีเป็นข้าวเปลือกแล้วก็จะได้กระสอบละประมาณ 25 กิโลกรัม ปลูกเพียง 1 ไร่ ก็จะได้ข้าวไว้กินอย่างเพียงพอในครอบครัว และพอมีเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย

ยังสร้างความประหลาดใจให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจในอาชีพเกษตรกรรม สำหรับการทำการเกษตรของเกษตรกรนอกกรอบ อย่างลุงไสว ศรียา ผู้ที่มีเทคนิคการทำการเกษตรแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่เห็นแล้วต้องอึ้ง ไม่ว่าจะเป็นปลูกพริกกลับหัว ทำให้ได้ผลผลิตเร็วและปริมาณมาก ปลูกต้นไม้ 1 ต้น แต่ได้ผลผลิต 15 อย่าง การนำหินถ่วงบวบให้ผลยาว หรือแม้แต่การเพิ่มมูลค่าให้กับไม้ผลด้วยการจับใส่ขวดแก้ว

ไม่หมดเพียงเท่านี้ครับ ล่าสุด ลุงไสว โชว์ผลงานต้นพีวีซีที่สูงชะลูด ซึ่งหลายคนก็เกิดความสงสัยว่า ลุงไสวแห่งสวนศรียา แกบ้าจนถึงขั้นปลูกท่อพีวีซีเลยเชียวหรือ

แต่เมื่อได้รับการไขข้อข้องใจจากลุงไสวจนกระจ่าง ก็ต้องยกนิ้วให้ในความคิดสุดโต่งของแกจริงๆครับ

ลุงไสวเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งเคยไปดูงานที่ไร่อ้อย แล้วเห็นว่าต้องปลูกกันเป็นร้อยเป็นพันไร่ถึงจะทำเงินได้ แต่การปลูกเยอะก็ต้องลงทุนเยอะ ลุงไสวเลยเกิดไอเดียว่า งั้นก็ปลูกน้อยต้น แต่ให้ได้ลำอ้อยที่ยาวไปเลยน่าจะดี เลยคิดนำท่อพีวีซีมาสวมครอบลำอ้อยที่เพิ่งแตกหน่อ เมื่อหน่ออ้อยมองเห็นแสงสว่างที่ปลายท่อ ก็จะรีบโตพุ่งขึ้นหาแสงสว่าง พอลำอ้อยโตพ้นปลายท่อ ก็เสริมความยาวท่อขึ้นไปอีกเรื่อยๆ จนได้ลำอ้อยที่มีความยาวมากกว่าปกติ 5-6 เมตร กลายเป็น “ต้นอ้อย พีวีซี” แสนแปลกตา

ที่สำคัญลุงไสวยังการันตีอีกว่า น้ำอ้อยที่ได้ หวานอร่อยมากๆ อีกด้วย เพราะการครอบด้วยท่อพีวีซีแบบนี้ทำให้ไม่มีแมลงศัตรูพืชหรือโรคภัยมาเบียดเบียนได้นั่นเอง