การ์ดวันคริสต์มาส และวันปีใหม่พร้อมข้อความลงในอินสตาแกรม

วันที่ 27 ธันวาคม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ประทาน ส.ค.ส. แก่พสกนิกรชาวไทย และผู้ที่ปฏิบัติงานถวายในโครงการพระดำริต่างๆ เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561

โดยด้านหน้าเป็นพระรูปฉายเบื้องหน้าภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารวัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (ผนังด้านหน้า) เป็นเรื่องราว พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นการ์ด พื้นสีเหลือง ด้านในฝั่งขวาเป็นตราประจำพระองค์ “สภ” เป็นคำอวยพรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ข้อความว่า “สุขสันต์วันปีใหม่ ๒๕๖๑ และ Season’s Greeting 2018 Happy New Year จากนั้นเป็นลายพระหัตถ์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

วันที่ 28 ธันวาคม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ประทานการ์ดอวยพรปีใหม่แก่พสกนิกรชาวไทย และผู้ปฏิบัติงานถวายในโครงการพระดำริต่างๆ เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561 โดยส.ค.ส.ด้านหน้าเป็นพระรูปของพระองค์ 4 ภาพ เป็นพระรูปที่ทรงฉายร่วมกับสุนัขทรงเลี้ยง และม้าที่พระองค์ทรงใช้ในการแข่งขันกีฬาขี่ม้า ด้านในเป็นตราประจำพระองค์ และเป็นคำอวยพรทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ข้อความว่า

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า สถานการณ์สัตว์ป่าในประเทศไทยในปีที่ผ่านมาถือว่าเสือโคร่งถือว่าสถานการณ์ค่อนข้างน่าพอใจที่สุด เพราะในป่าธรรมชาติเพิ่มจำนวนประชากรค่อนข้างดี ที่สำคัญคือ ปริมาณเหยื่อ และที่อยู่ของเสือโคร่งค่อนข้างจะสมบูรณ์ จะเห็นว่าพื้นที่ที่มีเสือโคร่งมากที่สุด คือที่ป่าห้วยขาแข้งนั้น ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียงจำนวนหนึ่ง เช่น ไปยังอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เป็นต้น

“ประเทศไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศในโลก ที่มีเสือในป่าธรรมชาติ และเราก็ได้ขึ้นชื่อว่าดูแลเสือได้ดีเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองมาจากประเทศอินเดีย และรัสเซีย โดยก่อนหน้านี้มีรายงานว่าเราเจอรอยตีนเสือในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งไม่เคยเจอมานานแล้วถือว่าน่ายินดีอย่างยิ่ง เร็วๆนี้เรากำลังจะสร้างทางเชื่อมต่อระหว่างถนนเส้น 304 ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จประชากรเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานก็จะสามารถเดินข้ามไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้ โดยพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เวลานี้ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของประชากรเหยื่อของเสือค่อนข้างดีมาก ในอนาคตเชื่อว่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่น่าจะเป็นอีกแหล่งสำคัญการอยู่อาศัยของเสือโคร่ง”นายธัญญา กล่าว

อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้นั่งคุยกับนักวิจัย โดยได้คุยกันถึงเรื่อง แม่เสือบุปผา เสือโคร่งตัวแรกที่นักวิจัยของกรมอุทยานฯได้เข้าไปศึกษาและเรียนรู้วิถีชีวิตของเสือในป่าธรรมชาติ ตอนนี้แม่เสือบุปผามีอายุถึง 15 ปีแล้ว ถือเป็นเสือที่นักวิจัยรู้จักที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศไทยเวลานี้ น่ายินดีว่า เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯซึ่งทำงานอยู่ที่สถานีวิจัยเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพิ่งจะถ่ายรูปแม่เสือบุปผาได้ล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

“เร็วๆนี้เราจะเชิญผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการวิจัยเรื่องเสือโคร่งในประเทศไทย คนทำงานภาคสนาม รวมทั้งเอ็นจีโอ มานั่งคุยกันเรื่องคุณูปการ จากเสือบุปผากับวงการอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยเวลานี้ถือเป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตเสือบุปผาแล้ว และที่ผ่านมาเสือบุปผาได้ทำให้นักวิจัยเรื่องเสือของกรมอุทยานฯได้ความรู้ และได้เรียนรู้อะไรมากมาย”นายธัญญา กล่าว

นายสมโภชน์ ดวงจันทราศิริ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ กล่าวว่า ล่าสุดสามารถถ่ายรูปเสือบุปผาด้วยกล้องแคมเมราแท็ปได้แถวซับฟ้าผ่า ใกล้ๆสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ รูปที่เห็นไม่ค่อยชัดนักแต่ก็เห็นว่าบุปผาผอมไปมาก แต่ก็เป็นไปตามอายุขัย เพราะถือว่าตอนนี้เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิตบุปผาแล้ว เป็นเสือที่อายุยืนและแข็งแรงมากที่สุด

“ที่เราติดตามชีวิตบุปผาแต่เริ่มต้น เราเห็นว่าบุปผาเป็นแม่เสือตัวอย่างที่เลี้ยงลูกอย่างน้อย 3 คลอก ไม่ต่ำกว่า 4 ตัว ได้ประสบความสำเร็จเกือบทุกตัว คือ ลูกเสืออยู่รอดปลอดภัยแข็งแรง กรมอุทยานสามารถจับลูกบุปผามาศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตได้อีกหลายตัว เอื้อง ชมพู่ สมหญิง ทุกตัวแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีทั้งหมด ถือเป็นแม่เสือตัวอย่างอย่างแท้จริงและสามารถครอบครองพื้นที่ได้ยาวนานมาก”นายสมโภชน์ กล่าว

หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีเสือโคร่งในป่าธรรมชาติประมาณ 300 ตัว โดยพื้นที่ป่าห้วยขาแข้งถือว่ามีเสือโคร่งชุกชุมมากที่สุด คือมีประมาณ 70 ตัว ถือว่าค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในโลกเข้าใจว่าจะน่าดีที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ทั้งนี้เสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนเวลานี้มีอยู่ในประเทศไทยที่เดียวเท่านั้น พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม ซึ่งเคยมีเสือสายพันธุ์นี้ชุกชุม ตอนนี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

นายศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือ กรมอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า ถือว่า บุปผาเป็นแม่เสือที่มีอายุยืนที่สุด เพราะเสือหลายๆตัวที่เป็นรุ่นเดียวกับบุปผาเริ่มล้มหายตายจากไปหมดแล้ว แม้รูปถ่ายล่าสุดจะพบว่าเสือบุปผาค่อนข้างอ่อนระโหยโรยแรง แต่ก็ถือว่าเป็นไปตามวัย

“ล่าสุดที่เราเห็นนั้นพบว่า บุบผา ยังแบ่งซากกวางกันกินกับเอื้อง ลูกตัวแรกของตัวเองอยู่เลย ซึ่งปรากฏการณ์แบ่งอาหารกันกินนั้นไม่ค่อยเห็นบ่อยนักในเสือผู้ล่าโดยทั่วไป เพราะปกติแล้ว เมื่อแม่เสือกับลูกเสือแยกกันก็จะอยู่ใครอยู่มัน ไม่ค่อยมายุ่งเกี่ยวกันอีกแล้ว”นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว

กรมควบคุมมลพิษ ขอความร่วมมือประชาชนและนักท่องเที่ยว ลดทิ้งขยะตามแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ หลังพบปริมาณขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในปี 2559
นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีนโนบายการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวนิยมเข้าไปเที่ยวไปในแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวต่างๆ นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติทั่วประเทศ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอุทยานแห่งชาติ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และเกิดขยะมูลฝอยขึ้น โดยแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมจากปี 2559 ได้แก่ เขาใหญ่ มีปริมาณนักท่องเที่ยว 1,335,000 คน ดอยอินทนนท์ มีปริมาณนักท่องเที่ยว 806,000 คน เอราวัณ มีปริมาณนักท่องเที่ยว 692,000 คน หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีปริมาณนักท่องเที่ยว 1,731,570 คน เป็นต้น

นางสุณีกล่าวว่า ปี 2559 มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั่วประเทศ 27.06 ล้านตัน หรือ 74,130 ตัน/วัน มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2558 เป็น 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน โดยจังหวัดที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นต่อวันสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นครราชสีมา สมุทรปราการ และขอนแก่น กรมควบคุมมลพิษ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา จึงได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่ดีในการจัดการขยะมูลฝอย โดยได้คัดเลือกพื้นที่นำร่อง ดำเนินการในปี 2560-61 คือ เกาะพีพี เกาะเสม็ด เมืองพัทยาและเกาะล้าน จังหวัดเพชรบูรณ์ และอุทยานแห่งชาตินำร่อง 10 แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานแห่งชาติเขาเเหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด 2) อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี 3) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 4) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 5) อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี 6) อุทยานแห่งชาติเอราวัณ 7) อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 8) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง 9) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

ทั้งนี้ คพ.จึงขอความร่วมมือให้นักเที่ยวปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยวหรืออุทยานการท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติทั่วประเทศ หากนำอาหารหรือสิ่งใดเข้าไปในพื้นที่ให้นำออกมาทิ้งตามจุดที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อรักษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้คงสวยงามต่อไป นางสุณีกล่าว

มุ่งมั่นกับการทำงานมาตลอดทั้งปี เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็ต้องผ่อนคลายให้เต็มที่ ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่คนไทยต้องทำในช่วงเทศกาลปีใหม่คือ การรวมตัวจัดปาร์ตี้และดื่มสังสรรค์เพื่อพบปะพูดคุย ไม่ว่าจะคนในครอบครัว ตลอดจนเพื่อนฝูงทั้งหลาย

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนัก หากไม่เสียชีวิตจากประสบอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ก็เสี่ยงเกิดโรคมากถึง 200 ชนิด โดยเฉพาะโรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นอันดับ 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตอีกด้วย

ทนพ.กัญจนา สาเอี่ยม ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ หรือ N Health กล่าวว่า ตับก็มีความสำคัญไม่แพ้หัวใจและสมอง เพราะเปรียบได้กับผู้จัดการระบบร่างกาย และมีหน้าที่สำคัญในการกำจัดของเสียและสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย อาทิ แอลกอฮอล์ ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

“ตับเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบที่สุดหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งหากดื่มมากไปเซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันเข้าไปแทนที่ ทำให้เกิดการคั่งไขมันในตับ อันเป็นอาการแรกเริ่มของตับอักเสบ ส่งผลให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้น และมีการสร้างพังผืดคล้ายแผลเป็น ทำให้ตับแข็งและสูญเสียตับในที่สุด”

ทนพ.กัญจนากล่าวอีกว่า วิธีป้องกันและรักษาตับให้อยู่นานๆ คือ การรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะและเหมาะสม อาทิ งดอาหารที่ให้โปรตีนต่ำ มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันที่หืนหรือเสียจากการทอดอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น และงดหรือเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ตลอดจนรับการตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะการตรวจสมรรถภาพของตับและตับอ่อนโดยละเอียด เพื่อป้องกันการเกิดโรคในอนาคต

สามารถตรวจหาความผิดปกติของตับและภาวะเสี่ยงต่อการดื่มสุรา ทั้งชุดตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ ตรวจการทำงานของตับ ตรวจหาการอักเสบของตับอ่อน ได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

ใครไปเที่ยวหัวเมืองปักษ์ใต้สักสองสามวัน เป็นต้องได้กินใบเหมียงผัดไข่แน่ๆ ครับ

ถ้าอยู่หลายวันขึ้นไปอีก ก็อาจได้กินต้มกะทิ หรือไม่ก็แกงเลียงใบเหมียง เพราะอันว่า ใบเหมียง (Gnetum gnemon) หรือใบเหลียงก็เรียกนี้ เป็นผักยอดนิยมของคนใต้อีกชนิดหนึ่ง คือที่จริงต้นเหมียงก็ขึ้นอยู่ทั่วไปทุกภาคที่มีเขตป่าชุ่มชื้นนะครับ แต่คนใต้ดูจะเอามากินมากที่สุด จนแทบนึกไปว่ามีแต่เฉพาะพื้นที่ภาคใต้เอาเลย

ถ้าใครเกิดติดอกติดใจรสชาติฝาดมัน กรอบ เคี้ยวสนุกของใบเหมียง ทั้งที่กินสดเป็นผักน้ำพริก หรือใส่ผัดใส่ต้ม ก็ซื้อต้นอ่อนที่มีขายตามริมทางเป็นระยะๆ ตั้งแต่แถบชุมพรลงไปมาปลูกได้ ลงไว้ตรงมุมไหนของบ้านที่ชื้นๆ หน่อย ไม่นานนักก็เด็ดยอดมากินได้อย่างอร่อย ไม่ต้องกลัวว่าจะเสี่ยงกับสารพิษตกค้างในผัก แบบผักตลาดทั่วไป

และผมควรต้องบอกด้วยครับว่า ผลการตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ ของ Thai-PAN (เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) ในปี พ.ศ.2560 พบว่าตัวอย่างใบเหมียงที่สุ่มตรวจไม่พบสารพิษตกค้างเลย ดังนั้น ถึงจะไม่ได้ปลูกกินเอง มันก็นับเป็นผักพื้นบ้านที่ซื้อกินได้สะดวกปาก สบายใจที่สุดอย่างหนึ่งในเวลานี้เลยแหละครับ

ร้านรวงในหัวเมืองปักษ์ใต้ผัดใบเหมียงไม่เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา รสมือใครก็รสมือมัน เราเลยจะพบได้ตั้งแต่ผัดน้ำมันเยิ้มๆ ที่ใส่ทั้งซอสปรุงรส น้ำมันหอย น้ำตาลทราย ผงชูรส จนแทบควานหารสใบเหมียงจริงๆ ไม่เจอในจาน หรืออาจไปพบร้านที่ผัดได้แห้ง ตัวใบผักไม่สุกเกินไป ไข่ไก่ไข่เป็ดถ้าใส่ไปด้วยก็ยังนิ่มนวลอยู่ อาจมีบางร้านเพิ่มรสเค็มหอมด้วยกุ้งแห้งเนื้อดีๆ ทอดกรอบคลุกเคล้ามาในจานผัด ถ้าอย่างนี้ก็น่าอร่อยสำหรับคนที่พิสมัยรสชาติแท้ๆ ของวัตถุดิบดีๆ ยิ่งขึ้นไปอีกนะครับ

ผมพบเจอเกือบทุกรูปแบบที่ว่ามา แน่นอนว่า ผมชอบใบเหมียงผัดแบบแห้งๆ ใส่ไข่ไก่หรือไข่เป็ดก็ได้ ถ้าไข่ไก่ก็นิ่มนวลหน่อย ส่วนไข่เป็ดแม้จะกระด้าง แต่มีความมันกว่า บางครั้งใส่กุ้งแห้งทอด เนื้อปลากรอบทอดไปด้วย ก็นับว่าทำให้ผัดผักธรรมดาๆ มีเครื่องเคราพะรุงพะรังขึ้นมาพอใช้ได้ใช่ไหมครับ

แต่มีอีกสูตรหนึ่งที่ผมเพิ่งลองผัดไป เห็นว่าแปลกดี เลยขอเอามาเล่าให้ฟังครับ คือ “ใบเหมียงผัดไข่เค็ม”

ไข่เค็มที่ใช้ในสูตรนี้เป็นไข่ดิบนะครับ เรากำหนดรสชาติเองได้จากไข่เค็มดิบที่ดองไว้เร็วช้าตามวันเวลาซึ่งระบุข้างกล่อง ถ้าเกิดอยากใส่ของเค็มอย่างอื่น เช่น น้ำปลา หรือซีอิ๊วขาวด้วย ก็เลือกไข่ที่ดองไม่นาน ยังไม่เค็มมากนัก แต่หากต้องการเอาความเค็มของไข่อย่างเดียว ก็ใช้ที่เริ่มเค็มแล้วไปเลย

ถ้าใครดองไข่เค็มกินเอง ก็จะยิ่งกำหนดกะเกณฑ์ได้เป๊ะๆ กว่าที่จะเดาเอาจากไข่ซึ่งซื้อเขามานะครับ เครื่องปรุงอื่นๆ ที่ผมใช้ในกระทะนี้ นอกจากไข่เค็มดิบและใบเหมียงอ่อนที่เด็ดล้างสะอาดดีแล้ว ก็มีน้ำมันหมู กระเทียมสับ และพริกขี้หนูทุบพอแตก เท่านั้นเองครับ เพราะผมจะให้ไข่ขาวเป็นตัวปรุงรสเค็ม เลยไม่ต้องใช้อะไรอื่นอีก

ตั้งกระทะน้ำมันหมูให้ร้อน ใส่ใบเหมียงลงผัดกับกระเทียมและพริกสดเพียงครู่เดียว

แหวกช่องกลางกระทะ หยอดน้ำมันหมูอีกสักหน่อย เทไข่เค็มดิบลงไป

จากนี้ ก็เข้าสู่กระบวนการผัดไข่ทั่วไปนะครับ คือรอเป็นช่วงๆ ราวช่วงละหนึ่งอึดใจ แล้วก็ค่อยๆ เอาตะหลิวแซะพลิกไข่คลุกเคล้ากับใบเหมียงเพียงเบาๆ จะมีขั้นตอนเพิ่มเข้ามาบ้าง ก็คือเอาตะหลิวกดตัดไข่แดงกลมๆ มันๆ นั้นออกเป็นเสี้ยว สักสี่หรือแปดเสี้ยว แล้วแต่ชอบกินชิ้นไข่ใหญ่เล็กนะครับ

ผัดจนเห็นว่าใบเหมียงและไข่สุกสวยดีแล้ว ก็ตักใส่จาน โรยพริกไทยดำป่นสักหน่อย

นี่คือขั้นตอนที่ผมทำนะครับ ซึ่งเมื่อได้กินเข้าไปแล้ว coresysit.com ก็มีข้อเสนอเล็กน้อย คือถ้าใครชอบความมันแบบจืดๆ อาจเพิ่มไข่สด (ไข่ธรรมดาที่ไม่ได้ดองเค็ม) เข้าไปแทนไข่เค็มบ้าง เช่น ใช้อย่างละฟอง เป็นต้น ยิ่งถ้ากรณีที่ไข่เค็มนั้น “เลยเวลา” ไปจนเริ่มเค็มมาก ก็จะได้ความมันจืดไปตัดความเค็มจากไข่ขาวของไข่เค็มดิบด้วย

กินกับข้าวต้มก็ได้ ข้าวสวยร้อนๆ แนมแกงเผ็ด ผัดเผ็ดรสจัดๆ ก็อร่อยครับ ขึ้นอยู่กับเรา ว่าอยากจะให้มันเป็นกับข้าว กับแกล้ม หรือของกินเล่นเปล่าๆ ก็อาศัยเพิ่ม-ลดสัดส่วนเครื่องปรุง คือผักและไข่ให้ลงตัวแบบที่เราต้องการได้ตามที่ชอบเลยครับ

ขอให้สนุกกับการทดลองหน้าเตานะครับ น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาโรคซึมเศร้าว่า เป็นภาวะการเจ็บป่วยที่ต้องเร่งรักษาและป้องกัน เนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อการสูญเสียทั้งชีวิต การงาน การเรียน การเข้าสังคมของผู้ป่วย องค์การอนามัยโลกระบุว่าในปีที่ผ่านมาประชากรโลกเผชิญปัญหานี้ 1 ใน 20 คน และเมื่อป่วยแล้วมีอัตราป่วยซ้ำได้สูงถึงร้อยละ 50-70 ที่น่าวิตกไปกว่านั้น ยังพบว่าโรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุใหญ่ทำให้วัยรุ่นทั่วโลกฆ่าตัวตาย หรือไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป

อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อว่า ส่วนของประเทศไทย มีผลการศึกษาพบวัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงร้อยละ 44 หรือมีประมาณ 3 ล้านกว่าคนจากวัยรุ่นที่มีทั้งหมดประมาณ 8 ล้านคน และมีอัตราป่วยเป็นโรคนี้ร้อยละ 18 คาดว่าขณะนี้ทั่วประเทศมีวัยรุ่นป่วยด้วยโรคซึมเศร้าแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังเข้าถึงบริการน้อย

เนื่องมาจากลักษณะอาการทางอารมณ์และพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ป่วยซึมเศร้าจะไม่เหมือนอาการของผู้ใหญ่ กล่าวคือ อาจมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น มีอารมณ์ก้าวร้าวหรือแปรปรวนง่าย หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นใช้ยาเสพติด หรืออาจแยกตัว ไม่กล้าเข้าสังคม ทำให้ผู้ปกครอง ครู เข้าใจผิดคิดว่าเป็นปัญหานิสัยเกเร

จึงทำให้วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวนมากไม่ได้รับการช่วยเหลือและนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่มีความรุนแรงขึ้นตามมา เช่น ฆ่าตัวตาย ทำร้ายคนอื่น ติดยา เรียนไม่จบ เป็นต้น

“ขณะเดียวกันด้วยลักษณะเฉพาะของตัววัยรุ่นเอง ที่ไม่ต้องการถูกระบุว่ามีปัญหา อาจปฏิเสธการไปรับการรักษา โดยเฉพาะเมื่อเจอผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจ ตำหนิ กรมสุขภาพจิตได้เร่งแก้ไขปัญหา โดยให้สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พัฒนาแนวทางการดูแลรักษาวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อให้วัยรุ่นที่มีปัญหาได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นอย่างทันท่วงที” น.ต.นพ.บุญเรืองกล่าว

พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กทม.กล่าว สถาบันฯ ได้ร่วมมือกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย จัดทำแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อให้แพทย์และบุคลากรในโรงพยาบาลทั่วประเทศใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษา ป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้อย่างถูกต้อง

ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของวัยรุ่น และระบบบริการมากที่สุด คาดว่าจะพร้อมใช้ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 นี้

พญ.มธุรดา กล่าวต่อว่า วัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า มี 4กลุ่มใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.ผู้ที่มีประวัติเป็นคนในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช เช่น เป็นโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์ 2 ขั้ว โรควิตกกังวล สมาธิสั้น 2.มีโรคเรื้อรังทางกาย เช่นโรคมะเร็ง โรคไต โรคที่ทำให้ร่างกายผิดรูปหรือมีผลต่อภาพลักษณ์

3.ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตสังคม เช่น อกหัก ใช้สารเสพติด ตั้งครรภ์ ปัญหาการเรียน โดนรังแก ใช้ความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น

และกลุ่มที่ 4 กลุ่มที่มีครอบครัวไม่อบอุ่น มีความขัดแย้งในครอบครัว รวมทั้งการเลี้ยงดูที่ขาดการสอนทักษะการจัดการอารมณ์ตนเอง

สำหรับแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า มี 4 ส่วนหลักได้แก่

1.การคัดกรองซึมเศร้า ซึ่งทางสถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นกำลังพัฒนาเครื่องมือและช่องทางที่เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น 2.การตรวจวินิจฉัย การตรวจร่างกายและตรวจสภาพทางจิต

3.การรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัดเพื่อกระตุ้นพฤติกรรม และอารมณ์ทางบวก ปรับความคิดที่ทำให้ซึมเศร้า ซึ่งจะสามารถลดภาวะซึมเศร้าลงได้ภายใน 4 สัปดาห์

และ4.การส่งเสริมการป้องกันปัญหาซึ่งครอบครัวและโรงเรียนมีส่วนสำคัญ เนื่องจากวัยรุ่นต้องการความรัก ความเข้าใจ อีกทั้งเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดการความขัดแย้ง ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา ในส่วนของโรงเรียน ควรมีระบบการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซึมเศร้าของนักเรียน เช่น การจัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังเข้มแข็งทางใจ ทักษะชีวิต เป็นต้น

สถานการณ์ยางพาราช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ยังไม่รู้ว่าราคายางจะไปทางไหน เห็นได้จากช่วงกลางเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ราคายางแผ่นดิบที่ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่นอยู่ในระดับ กก.ละ 40 บาท และเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 ก็ยังอยู่ในระดับ กก.ละ 41 บาท หากภาครัฐไม่เข็นมาตรการออกมาสู้ อาจได้เห็น กก.ละ 33 บาทอีกครั้งก็ได้ โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอมาตรการผลักดันราคายางต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 6 มาตรการ ที่เสนอเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2560 ประกอบด้วย

(1) มาตรการให้สินเชื่อผู้ประกอบกิจการยาง วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ซื้อยางได้ประมาณ 3.5 แสนตัน ซึ่งรัฐจะชดเชยดอกเบี้ยตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 3% ต่อปี

(2) มาตรการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ เป้าหมาย 2 แสนตัน ซึ่งนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมจะเสนอ ครม. ขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ให้ กยท.นำไปซื้อน้ำยางสด ยางก้อนถ้วยจากเกษตรกรที่กำลังหารือวิธีการซื้ออยู่ประมาณ 1.8 แสนตัน คิดเป็นยางแห้งประมาณ 9 หมื่นตัน ตามวงเงินที่หน่วยงานรัฐแต่ละแห่งมีวงเงินจัดซื้อยางปี 2561 อยู่แล้ว พร้อมทั้งให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และหน่วยงานต่าง ๆ ออกทีโออาร์ในการประมูลงานว่าเอกชนผู้ชนะการประมูลต้องไปซื้อยางจาก กยท.