กาแฟบ่อเกลือ (ห้วยโทน) บ้านห้วยโทน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า

สะโทน หมายถึงหมู่บ้านที่อยู่แบบโดดๆ ตั้งอยู่บนไหล่เขา ติดแนวชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและผาแดง สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะ มีผลผลิตกาแฟกะลาปีละ 6 ตัน กาแฟบ้านห้วยโทน ได้เคยถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินติดตามงานของศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561

กาแฟดอยลาง ดอยลางเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก อยู่ทางเหนือของดอยผ้าห่มปก สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนตามแนวชายแดนไทย-พม่า มีแม่น้ำลางที่ไหลมาจากพม่า ช่วยความชุ่มชื้น ความสมบูรณ์ให้กับภูมิประเทศของดอยลาง ในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 200 ไร่ โดยปลูกร่วมกับต้นชาและไม้ผลอื่นๆ ได้รับผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ผลกาแฟเชอร์รี่จะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ผ่านการแปรรูปแบบเปียก โดยจะปอกเปลือกภายใน 12 ชั่วโมง แล้วนำไปตากให้แห้งสนิท เพื่อให้ได้กาแฟกะลาที่มีคุณภาพสูง

กาแฟดอยแม่สลอง เริ่มต้นจากการปลูกกาแฟบ้านพนาสวรรค์ เกษตรกรได้รับพันธุ์กาแฟอะราบิก้าจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบัน เกษตรกรได้ปลูกกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจในหมู่บ้านพนาสวรรค์ พื้นที่ปลูกกาแฟสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตรขึ้นไป ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ผลผลิตสูง รสชาติหอม กลมกล่อม ที่สำคัญคือมีความต้านทานโรคสนิม ทรงพุ่มใหญ่ ต้นเตี้ย ใบใหญ่สีเขียวเข้ม ข้อถี่ทำให้ได้ผลผลิตมาก ดอกมีกลิ่นหอม เป็นพืชหนึ่งที่โครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทดแทนฝิ่น

กาแฟดอยปางมะโอ ปางมะโอ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ซ่อนตัวท่ามกลางธรรมชาติ ลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยเทือกเขาและป่าไม้ที่สมบูรณ์ ชุมชนบ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่แมะ-แม่นะ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เกษตรกรจะปลูกต้นชาควบคู่กับกาแฟ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีการปลูกพืชเมืองหนาวหลายชนิด เช่น พืช อะโวกาโด สตรอเบอรี่ องุ่น และพืชสมุนไพร ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้เมืองเชียงใหม่

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เลขที่ 65 หมู่ที่ 1 ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ (053) 328-496-8

ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำพรำ
กบมันก็ร้องงึมงำ ระงมไปทั่วท้องนา
ฝนตกทีไร คิดถึงขวัญใจของข้า…

ฤดูกาลที่ร้อนอบอ้าว…แห้งแล้ง ย่างกรายหนีห่างจากเราไป พร้อมๆ กับสายฝนพรำที่คืบคลานเข้ามาแทนที่ ตามธรรมชาติเริ่มเดือนหกฝนก็ตกแล้ว พอพูดถึงฝน…ภาพของกบออกมาเล่นน้ำฝนน่าจะยังอยู่ในจินตนาการของคนเมืองกรุง แต่ถ้าเป็นชาวบ้านแถบอีสาน ป่านนี้คงนอนยิ้มหวานนึกถึงภาพตัวเองออกไปจับอึ่งกับเพื่อนฝูงมาต้ม มาลาบ ไม่ก็หาแหย่ไข่มดแดง

หลังจากฝนตกมากพอ “ผักหวานป่า” ก็จะแตกยอดอ่อน ใบอ่อน ชูช่อเล่นน้ำฝน ณ เวลานี้ คงไม่มีผักใดที่ฮอตฮิตไปกว่า “ผักหวานป่า” อีกแล้ว ราคาก็ช่างดีเหลือหลาย ยิ่งสรรพคุณเกือบไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะมีมากมาย คนไทยคนต่างชาติรู้จักกันดี ถ้าเอ่ยถึง ผักหวานป่ากับไข่มดแดง เพราะเป็นอาหารยอดนิยม

ผักหวานป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง และเป็นพืชประจำถิ่นที่นิยมรับประทานในแถบภาคอีสาน สมัยโบราณผักหวานป่าเป็นของมีค่าและราคาแพง ผักหวานป่ามีความสามารถในการขยายพันธุ์ต่ำ จึงทำให้ผักหวานป่าปลูกยากไปด้วย แต่ก็ไม่พ้นความพยายามของมนุษย์ไปได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ใบ เป็นใบเดี่ยวสลับ เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดใบ 2.5-5.0 เซนติเมตรx6-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ดอก เป็นแบบไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) มีทั้งต้นดอกเพศผู้ และต้นดอกเพศเมีย (dioecious) ช่อดอกเกิดบริเวณกิ่งแก่ หรือลำต้น การพัฒนาของช่อดอกประมาณ 6 สัปดาห์

การผสมเกสร (pollination) ของผักหวานป่าเป็นการผสมข้าม เนื่องจากดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น

ผล เป็นผลเดี่ยว มีรูปไข่ถึงค่อนข้างกลม (ellipsoid to slightly ovoid or obvoid) มีขนาด 2.3-4.0 เซนติเมตรx1.5-2.0 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว มีนวลเคลือบโดยรอบ และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองครีม หรือเหลืองอมส้มเมื่อแกะเปลือก (pericarp) บาง เนื้อมีความฉ่ำน้ำ มีเมล็ดเดียวแบบ drupe การพัฒนาของผลประมาณ 6-8 สัปดาห์
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด เพาะชําราก และตอนกิ่ง

แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง ผักหวานป่าเป็นพืชที่ทนแล้ง ไม่ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำมาก ชอบที่โล่ง ดินร่วนปนทรายตามธรรมชาติ ขึ้นได้ในดินร่วนปนทราย ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน นํามาลวก ต้ม นึ่ง คู่กับน้ำพริก หรือปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงอ่อม แกงกะทิกับปลาย่าง แกงใส่ไข่มดแดง ผัดน้ำมันหอย ทอดกับไข่

ผักหวานป่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีคุณค่าทางอาหาร และมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูง (antioxidant capacity) ทั้งการบริโภคสด และการแปรรูปผลผลิตเป็นชาผักหวานป่า รวมทั้งสามารถสกัดเป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของโรคพืช เช่น เชื้อ Fusarium oxysporum และ Xanthomonas campestris สวนผักหวานป่าที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงนั้น เป็นของ “นายจันทร์ ปะโพทะกัง” วัย 84 ปี ซึ่งเป็นทั้งปราชญ์ชาวบ้าน และพ่อแห่งชาติ เมื่อปี 2557 ของบ้านโนนตูม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ได้เริ่มปลูกผักหวานป่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยนำเมล็ดพันธุ์มาจากป่า

วิธีการเพาะก็แบบบ้านๆ

นำเมล็ดผักหวานป่ามาล้างเนื้อเมล็ดออก ผึ่งลมให้แห้ง เพาะบนกองขี้เถ้า รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยกระสอบป่านแล้วรดน้ำอีกครั้ง อีกสัปดาห์เมล็ดก็งอกรากยาว 1 เซนติเมตร ถึงนำเมล็ดผักหวานป่าไปปลูกลงดิน ส่วนหนึ่งชำใส่ถุงดำไว้ปลูกซ่อม หลังจากเพาะถ้าต้นสูงสัก 10-20 เซนติเมตร โอกาสรอดจะสูง ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี

พ่อใหญ่จันทร์ เล่าว่า ปีแรกลงต้นผักหวานป่าไว้ประมาณ 50 ต้น และปลูกเพิ่มเรื่อยๆ ปีละประมาณ 50 ต้น ด้วยพื้นที่ที่จำกัดเพียง 1 ไร่ จึงปลูกต้นผักหวานป่าได้ไม่มากนัก ประมาณสามสี่ร้อยต้น และในช่วงปีหลังๆ ก็ไม่มีการปลูกเพิ่ม เป็นเพียงแค่ปลูกซ่อมแซมต้นที่เสียหายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในละแวกนั้นมีพ่อใหญ่จันทร์เท่านั้นที่ปลูกผักหวานป่า

วิธีการปลูกโดยทั่วๆ ไป

1. ปลูกไม้พี่เลี้ยงไว้ใกล้ๆ (ประมาณว่าจะให้รับแดดรำไร) โดยปลูกระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร

2. ขุดหลุมปลูกให้ลึก ประมาณ 1 ฟุต พรวนดินให้ร่วน ผสมปุ๋ยคอก เอาเมล็ดวางบนปากหลุม เดี๋ยวรากเดินเอง(รากผักหวานป่าเดินเร็วในช่วงแรก)

3. ล้อมด้วยซาแรน 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อพรางแสงให้ต้นกล้าเล็กๆ และเพื่อป้องกันไก่คุ้ยเขี่ย… พ่อใหญ่จันทร์ บอกว่า ถ้าเอาดินแถวโคนต้นผักหวานเดิม หรือต้นแม่มาใส่รองก้นหลุมบ้าง จะทำให้อัตราการรอดตายสูงขึ้น นอกจากนั้น ท่านยังได้ทดลองปลูกพืชต่างๆ เป็นพี่เลี้ยง ทั้งตะขบ และต้นแค (ขาวและแดง) เพื่อหาคำตอบว่าพืชใดเป็นพี่เลี้ยงได้ดีที่สุด ซึ่งคำตอบก็คือ ตะขบ

ถ้าอยากรู้ว่า ต้นไม้ชนิดใด เป็นพี่เลี้ยงของต้นผักหวานป่าได้ ให้สังเกตดูว่าช่วงหน้าแล้งใบมันร่วงหมดต้นหรือไม่ ถ้าไม่ร่วงจนหมดต้น ก็เป็นพี่เลี้ยงได้ และที่สำคัญพี่เลี้ยงต้องเป็นไม้ใบเล็ก แสงลอดได้พอรำไร พ่อเฒ่าบอกกับผู้เขียนด้วยสีหน้ายิ้มอย่างภูมิใจ

ปัจจุบัน พ่อใหญ่จันทร์ ได้วางมือแล้ว ให้ลูกชายเป็นผู้ดูแลต่อ เพราะตัวเองหมดแรงทำ ตอนนี้ต้นผักหวานป่าสองร้อยกว่าต้นที่เหลืออยู่ก็เพียงพอที่จะออกผลผลิตให้ครอบครัวได้เก็บไปขายที่สหกรณ์ร้านค้าในหมู่บ้านแทบทุกวัน…

การปลูกผักหวานป่า สามารถช่วยให้มันอยู่รอดผ่านแล้งผ่านหนาวจนเติบใหญ่ได้ มันจะโตเร็วสุดคือ ช่วงปลายฝนต้นหนาวไปจนถึงปลายแล้งต้นฝน ยิ่งแล้งยิ่งยอดดก…ยิ่งแล้งยิ่งโตเร็ว

พ่อใหญ่จันทร์ เป็นเกษตรกรที่ไม่เหมือนเกษตรกรคนอื่นในหมู่บ้านที่ทำนาอย่างเดียว ท่านมองไกลไปกว่านั้น ขณะที่ทำนาก็ได้ปลูกมะม่วงบนคันนาไว้หลายสิบต้น พอได้ให้คนกิน ให้นกให้กระรอก มีบ่อเลี้ยงปลาเล็กๆ ปลูกต้นตาล ปลูกไม้ใหญ่บนคันนาไว้ใช้สอย ทำโต๊ะ ทำเก้าอี้ ไม่ว่าจะเป็นยางนา สัก สะเดา มะขามป้อม หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ ที่ทางการส่งเสริม

ต้นคูน หรือ ราชพฤกษ์ ที่สวนก็มีปลูกไว้ให้แม่เฒ่าที่มีอายุไล่เลี่ยกันไว้กินกับหมาก เหลือแจกเพื่อนบ้าน ส่วนยางเหียง และยางกราดมีอยู่แล้ว และส่วนหนึ่งได้กันไว้เป็นสวนป่าดั้งเดิม ซึ่งเป็นป่ามะค่าแต้ หากมองดูแล้วรูปแบบการใช้ชีวิตของพ่อใหญ่จันทร์ก็เป็นแบบอย่างของเกษตรผสมผสานที่พ่อหลวงสอนให้เราอยู่ได้แบบพึ่งพาตัวเอง และอยู่อย่างพอเพียง

กว่าจะผ่านพ้นหน้าแล้งไปได้ หัวใจผู้เขียนแทบขาด…ตับแทบจะแตก ต้นไม้หลายต้นก็ยืนต้นตาย เมื่อพระพิรุณมาโปรดถึงขนาดนี้แล้ว จะมัวรอช้าอยู่ทำไม หาเมล็ดผักหวานป่ามาจิ้มลงดินตามวิถีบ้านๆ นี่แหละ ไม่ต้องพึ่งสารเคมี จะได้เก็บผักกินเองได้อย่างสบายใจ แถมมีสุขภาพดีอายุยืนยาวอีกด้วย…ส่วนใครชอบไม้ป่า ผู้เขียนขอแนะนำให้ไป ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ทุกๆ จังหวัด เขาเริ่มแจกกล้าไม้กันแล้วนะ

เย็น….ฝนพรำ พร่างพรูสู่พฤกษา
พรมไม้ป่า สดใสในวสันต์
หัวใจเรา ฉ่ำชื่นเช่นดังคืนวัน
ฝันและใฝ่ โลกใหม่ต้องเป็นของเรา…
(บทเพลง : ยิ้มกลางสายฝน คาราวาน)

เอกสารอ้างอิง

ทักษิณ อาชวาคม และคณะ. 2551. ผักหวานป่า พืชกินได้ในป่าสะแกราช. สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ฝ่ายจัดการสถานีวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) น. 207-208 สงบ เจริญสุข. เอกสารทางวิชาการ เรื่อง การปลูกผักหวานป่า จังหวัดสระบุรี. สํานักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี. กรมส่งเสริมการเกษตร. 42 น.

ที่บ้านเลขที่ 49/3 หมู่ 5 ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง นางภัชรวดี เจริญฤทธิ์ อายุ 43 ปี หันมาใช้พื้นที่ว่างข้างบ้าน ประมาณ 2 งาน เพื่อปลูกขึ้นฉ่ายจีนแบบไร้ดินจำนวนหลายพันต้น โดยใช้ระบบน้ำไหลเวียนให้ปุ๋ยอินทรีย์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ใช้เวลาปลูกประมาณ 50 วัน ก็สามารถเก็บขายได้ ในราคากิโลกรัมละ 60-70 บาท แต่หากเป็นหน้าฝนขึ้นฉ่ายก็จะมีราคาสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 160-180 บาท หรือกว่า 1 เท่าตัว

ซึ่งหลังทดลองปลูกเป็นรายแรกใน อ.หาดสำราญ จ.ตรัง จนประสบความสำเร็จ จึงได้ขยายโรงเรือนเพิ่มอีกจำนวนหลายหลังในพื้นที่ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งปลูกขายมาแล้วกว่า 1 ปี สามารถเก็บขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 50-100 กิโลกรัม สร้างรายได้กว่า 5,000 บาท ต่อวัน

นางภัชรวดี เป็นภรรยาของ พ.ต.ท.นายหนึ่ง สังกัด สภ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช แต่หันมาคิดต่างด้วยการใช้ที่ดินของตน ปลูกขึ้นฉ่าย ซึ่งเกษตรกรรายอื่นใน อ.หาดสำราญ ยังไม่มีใครปลูก เพราะคิดว่าการปลูกแบบไร้ดินจะดูแลยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า แต่ความจริงแล้ว เป็นการลงทุนแค่ครั้งเดียว สำหรับค่าวัสดุอุปกรณ์

ส่วนระยะเวลาการปลูกแบบไร้ดินก็สั้นกว่าการปลูกแบบลงดินถึงเท่าตัว ทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องหน้าฝนหรือน้ำค้าง เก็บเกี่ยวง่ายกว่า สามารถเลือกถอนขึ้นมาทั้งต้นได้โดยไม่บอบช้ำ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน และยังเก็บขายได้ตลอดทั้งปี เป็นพืชสมุนไพรที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาด

ส่วนลูกค้ามีหลายจังหวัดในภาคใต้ ทำให้ตอนนี้ไม่ต้องง้อเงินเดือนของสามีแล้ว ส่วนใครที่สนใจสามารถติดต่อขอดูงานหรือสั่งซื้อขึ้นฉ่ายได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-2179-7987

นางภัชรวดี กล่าวว่า ใน อ.หาดสำราญ ส่วนมากจะปลูกแตงกวา ถั่วฝักยาว ตนจึงเปลี่ยนวิธีคิดให้แตกต่างจากคนอื่น โดยปลูกมาปีกว่าแล้ว เก็บขายได้วันละ 50-100 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 60-70 บาท และตั้งใจจะขยายพื้นที่ไปอีกใน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล รอยต่อพื้นที่ จ.ตรัง ด้วย

ชีวิตที่ดี อาจจะไม่ต้องมีองค์ประกอบมากมาย อาจจะจะเริ่มต้นด้วยการได้ลืมตาตื่นขึ้นมา ในเช้าวันใหม่อยู่ในเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
“ยะลา” เมืองที่คนดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย อบอุ่น เต็มไปด้วยรอยยิ้มและอาหารการกินที่หลากหลาก ถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่ใครหลายๆ คนหากได้มาสัมผัสแล้วจะหลงรัก
“ยะลา” เมืองพหุวัฒนธรรม….วิถีชีวิตที่หลากหลาย
#วิถีชีวิต #ยะลา #อัญมณีชายแดนใต้ #ภาคใต้ #ใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน #เมืองสโลว์ไลฟ์ หากพูดถึง เงาะ ที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู เงาะสีทอง ฯลฯ แต่หากพูดถึงเงาะที่คนเมืองกาญจน์นิยมบริโภค ณ เวลานี้ คงหนีไม่พ้น “เงาะทองผาภูมิ”

สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี รายงานว่า “เงาะทองผาภูมิ” (Thong Pha Phum Rambutan) หมายถึง เงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ มีลักษณะโดดเด่นคือ ผลค่อนข้างกลมเล็ก ขนสวย เปลือกบาง เมล็ดเล็ก เนื้อหนา หวาน ล่อน กรอบ ไม่ฉ่ำน้ำ พบพื้นที่ปลูกในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ พื้นที่ปลูกเงาะทองผาภูมิ จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ดอน ดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนดินเหนียว และเป็นป่ามีฝนตกบ่อยครั้ง ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว เงาะที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวจึงมีรสชาติ และมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากพื้นที่อื่น

ในส่วนของอำเภอทองผาภูมิ มีพื้นที่ปลูกเงาะ จำนวน 1,054 ไร่ ให้ผลผลิต จำนวน 519 ไร่ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 620 กิโลกรัม ต่อไร่ ปัจจุบัน สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในขั้นตอนดำเนินการจดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI)

เกษตรตำบลหน้ามนคนเดิม จะพาไปพบกับ เจ้าของสวนเงาะทองผาภูมิ ที่มีรสชาติ และเอกลักษณ์ ถูกต้อง ตรงตามสายพันธุ์ที่ระบุไว้ เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว คงหนีไม่พ้นสวนเงาะของ คุณนารี คนขยัน และ คุณสำเริง บำรุงสุข สองสามีภรรยา คู่ทุกข์คู่ยากที่ฟันฝ่าอุปสรรคด้านการทำสวนไม้ผลมาอย่างโชกโชน

พี่นารี เล่าให้ฟังว่า ตนเองและสามี เริ่มบุกเบิกการทำสวนไม้ผลบนพื้นที่ 9 ไร่ หมู่ที่ 7 ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี แรกเริ่มเดิมทีนั้น ที่บริเวณนี้เป็นสวนยางพารา แต่ด้วยสามีของตนเองนั้นแพ้กลิ่นของสารเคมีที่ใช้สำหรับใส่ในน้ำยางพารา จึงตัดสินใจโค่นต้นยางพาราทิ้งทั้งหมด ช่วงนั้นก็ครุ่นคิดจะเอาต้นไม้ใดมาปลูกให้ได้ผลผลิตสำหรับไว้จำหน่าย ไม่นานก็เกิดแนวคิด ความที่พี่สำเริงเคยทำสวนผลไม้ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จึงมีความเชี่ยวชาญในด้านไม้ผล ทั้งสองนั่งปรึกษากันครู่ใหญ่ ก็ตัดสินใจเลือกที่จะปลูก “เงาะ”

หากพูดถึงการดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวเงาะทองผาภูมินั้น จะเป็นหน้าที่ของพี่สำเริง

พี่สำเริง ให้ข้อมูลว่า ตนเองนั้นจะมีหน้าที่ด้านการผลิต เปรียบเสมือนพ่อครัวในการปรุงอาหารให้ลูกค้า วัตถุดิบที่ใช้ปรุงต้องมีความสด สะอาด ปลอดภัย รสชาติอาหารถึงจะมีความอร่อย ดังนั้น ตนจึงให้ความสำคัญกับการดูแลบำรุงรักษาต้นเงาะของตนเอง โดยเลือกที่จะปฏิเสธการใช้สารเคมี “ใช้สารเคมีไม่ไหว คนกินตาย ลองไปดูสิคนแน่นโรงพยาบาล คนเดี๋ยวนี้กินอะไรก็ต้องของสวยๆ ผลไม้ก็ต้องไม่มีหนอน เป็นงูพิษทั้งนั้น” นี่คือ คำพูดของชายคนหนึ่ง ที่แม้เนื้อตัวจะมอมแมมจากการทำสวน แต่จิตใจข้างในกลับขาวสะอาด นึกถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ

พี่สำเริง กล่าวว่า แม้ตนเองจะมีความเชี่ยวชาญด้านการทำไม้ผล แต่ด้วยสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศของจังหวัดกาญจนบุรีมีความแตกต่างจากจังหวัดจันทบุรี ตนเองจึงลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง จนได้วิธีการปลูกและดูแลรักษาต้นเงาะให้ออกผลผลิตและมีรสชาติหวาน กรอบ ล่อน อร่อย แตกต่างจากสวนอื่น สวนเงาะของตนนั้นจะใช้ระยะปลูก 12×12 เมตร ขุดหลุมขนาด 50×50 เซนติเมตร ก่อนการปลูกจะใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละ 1 กิโลกรัม

การดูแลรักษา

– ปีแรก ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เดือนละ 1 ครั้ง โดยหว่านรอบขนาดของทรงพุ่ม

– ใช้น้ำหมักฮอร์โมนไข่+น้ำหมักสารชีวภาพ ฉีดพ่นให้ทั่วต้น เพื่อเป็นการบำรุงต้น และป้องกันแมลง โดยให้ดูแลรักษาแบบนี้อย่างต่อเนื่อง จนต้นเงาะมีอายุ 3 ปี

เมื่อต้นเงาะมีอายุ 3 ปี ต้นจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะให้ผลผลิต เทคนิคสำคัญที่พี่สำเริงใช้ ในการทำให้เงาะติดผลผลิต ลักษณะผลสวย และมีรสชาติหวานไม่เหมือนกับสวนอื่นนั้น คือ

การสังเกตใบ หากใบมีลักษณะใบไหม้ SBOBET ปลายใบแหลมเป็นหัวปลาหลด จะไม่มีการให้น้ำ ถ้าหากมีการให้น้ำในระยะนี้ จะทำให้เงาะที่ติดผลนั้นมีรสชาติเปรี้ยว
เมื่อใบมีลักษณะปลาบใบทู่ สีเขียวเข้ม เป็นมันวาว ให้เริ่มให้น้ำในปริมาณน้อย หากสังเกตเห็นช่อดอกยาว 10 เซนติเมตร ให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำ
พี่สำเริง กระซิบบอกว่า เทคนิคการให้น้ำเป็นเรื่องที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก “ถ้าหากให้น้ำมากเกินไป จะทำให้เกิดใบอ่อน ไม่ติดดอก หากให้น้ำน้อยเกินไปจะทำให้ดอกร่วง” ดังนั้น จึงเป็นความสามารถเฉพาะตัว

เมื่อกล่าวถึงการให้น้ำ ดังที่กล่าวมาแล้ว พี่สำเริงจึงกล่าวเสริมขึ้นว่า ปกติสวนเงาะทางจังหวัดจันทบุรี จะให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่สำหรับสวนเงาะของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีนั้น จะใช้วิธีการให้น้ำแบบรดด้วยสายยาง โดยจะรดให้น้ำไหลซึมออกห่างจากโคนต้น ประมาณ 1 เมตร หลังจากรดน้ำแล้วให้ฉีดน้ำล้างต้น และทรงพุ่ม กระทำเช่นนี้ทุกครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน พี่สำเริงเน้นย้ำว่า การให้น้ำนั้น ต้องตรงต่อเวลา หากกำหนดรดน้ำทุกวันจันทร์ ก็ต้องรดน้ำทุกวันจันทร์ จะเกินหรือขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว จะมีผลต่อการติดดอกของเงาะ

เมื่อเงาะติดดอกแล้ว ให้ใช้สารจิบเบอเรลลิน ผสมกับ ฮอร์โมนขั้วเหนียว อัตราที่ใช้ ดังนี้
3.1 จิบเบอเรลลิน อัตรา 1 เม็ด ต่อน้ำ 200 ลิตร

3.2 ฮอร์โมนขั้วเหนียว อัตรา 1.5 ลิตร ต่อน้ำ 400 ลิตร

ตัดแต่งกิ่งอ่อนออก เพื่อไม่ให้ไปเลี้ยงลูกและปลายใบ
หากพบการระบาดของเพลี้ยไฟ ไรแดง ให้นำกำมะถัน อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 600 ลิตร ฉีดรอบทรงพุ่ม
เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้ตัดแต่งกิ่งข้าง และกิ่งกระโดง หลังจากนั้นให้ใส่ปุ๋ยคอกรอบๆ โคนต้น ทำแบบนี้ทุกครั้ง เมื่อหมดฝนจึงเริ่มกลับมาทำลูกใหม่อีกครั้ง