กาแฟอาราบิก้า ดงมะไฟ ผลิตภัณฑ์ชุมชนเด่นของโคราช

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงเป็นแบบอย่างที่ถาวรสำหรับการพัฒนาการในด้านต่างๆ ในประเทศของเรา โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประเทศไทย พระองค์ทรงมีแนวคิดที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ของเกษตรกรไทยอย่างพอมีพอกิน ทำให้พสกนิกรน้อมนำพระราชกรณียกิจมาใช้เป็นแบบอย่างในการทำงานเสมอมา

วิสาหกิจชุมชนดงมะไฟ แบบประชาอาสา ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน และประพฤติปฏิบัติจริง เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนในบ้านดงมะไฟและประเทศชาติเป็นหลัก ดังเช่น การทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ซึ่งหมู่บ้านดงมะไฟเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ทำให้ไม่มีสิ่งมีพิษปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ

การสร้างอาชีพให้เกษตรกรแบบยั่งยืน เนื่องจากมีการดำเนินการเกษตรแบบครบวงจร โดยเป็นแหล่งปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ในแหล่งเดียวกัน (Roasted at the source) สามารถนำผลผลิตของเกษตรกรถึงมือผู้บริโภคโดยตรง และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ รวมถึงรูปแบบการทำโครงการแบบประชาอาสาแบบไม่ใส่ใจงบประมาณของรัฐอีกด้วย

จุดเริ่มต้นของกาแฟดงมะไฟ

แรกเริ่มเดิมที ในปี พ.ศ. 2545 คุณนพดล ม่วงแก้ว มีความคิดว่าพื้นที่ในหมู่บ้านดงมะไฟ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา น่าจะปลูกพืชสวนมากกว่าพืชไร่ เพราะจะทำให้สภาพพื้นที่มีความชุ่มชื้นตามสภาพเดิมของแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกษตรกรรมที่ยั่งยืนได้ จึงพยายามเสาะหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่มาปลูก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวนี้

“ผมได้ต้นกาแฟจากศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้จากทางเชียงใหม่มาอีกที ผมได้รับต้นพันธุ์กาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์ F-7 มา 300 ต้น ตอนนั้นไม่มั่นใจเลยว่าปลูกที่นี่แล้วจะขึ้น แต่ก็ได้ทดลองปลูก โดยให้คนงานปลูกตามแต่ใจเขา ว่าจะปลูกที่ไหน ใกล้น้ำก็มี บนที่ดอนก็มี ไม่ค่อยได้เอาใจใส่ดูแล พ้นไปประมาณครึ่งปี เดินเข้าสวนเห็นต้นอะไรก็ไม่รู้งามมาก ถามคนงาน ก็ได้รับคำตอบว่า นี่ต้นกาแฟที่ให้เอามาปลูกจำไม่ได้หรือ ผมดีใจมาก จึงเริ่มดูแลเอาใจใส่มันด้วยการใส่ปุ๋ยให้บ้าง ดูแลโคนต้นให้เตียน พอเข้าปลายฤดูฝนที่ 2 กาแฟก็เริ่มออกดอก หลังจากนั้น ดอกก็ร่วง มองไม่เห็นร่องรอยบนต้นเลยว่าจะเป็นผล ใจเริ่มเสีย เข้าใจว่าผลมันคงร่วงไปด้วย ผ่านไปประมาณ 5 เดือน จึงเห็นเมล็ดกาแฟเริ่มขยายผลออกมา นับว่าเป็นเรื่องแปลกสำหรับผม เพราะระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ไม่มีน้ำ ผลกาแฟน่าจะถูกสลัดทิ้งไป แต่เรื่องแบบนี้ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการติดผลของเมล็ดกาแฟ นี่ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ผมเลือกต้นกาแฟเป็นหลักในการปลูกเป็นไม้สวน เนื่องจากในการทำสวนกาแฟใช้น้ำค่อนข้างน้อย” คุณนพดล เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของการปลูกกาแฟ

ปลูกกาแฟและมะคาเดเมียนัท
แบบเกื้อกูลกัน

การปลูกกาแฟ พื้นที่ปลูกควรจะเป็นที่ร่มรำไร การปลูกกาแฟในช่วงแรกของที่นี่เสียหายบ้างบางต้นที่ปลูกในที่โล่งแจ้งกลางแดดโดยไม่มีร่มเงา คุณนพดล เลยต้องคิดต่อว่าจะเอาต้นอะไรมาเป็นร่มให้ต้นกาแฟ ก็เลยนำเอาต้นมะคาเดเมียนัทมาปลูก การปลูกมะคาเดเมียนัทเป็นพืชเดี่ยว ใช้ระยะการปลูก 6×6 เมตร แต่ถ้าปลูกในไร่กาแฟต้องปลูกระยะห่าง 8×8 เมตร ในรัศมีของพุ่มมะคาเดเมียนัท ทุกๆ 2 เมตร จะปลูกกาแฟทั้งสี่ด้าน เท่ากับว่าไม่มีช่องว่างเลย

ใน 2 ปีแรกต้นกาแฟจะสูงกว่าต้นมะคาเดเมียนัท พอปลูกได้ปีที่ 3 ต้นจะมีขนาดความสูงเท่าๆ กัน ต่อมาในปีที่ 4 มะคาเดเมียนัทจะเริ่มสูงกว่าต้นกาแฟ และจะเริ่มสอนให้ผลคือ มีผลผลิตออกมาบ้าง พอปีที่ 5 มะคาเดเมียนัทก็จะเริ่มให้ร่มเงาได้บ้าง ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทั้งกาแฟและมะคาเดเมียนัทเป็นพืชที่ค่อนข้างทนแล้ง แต่ในปีแรกๆ ควรจะดูแลมากหน่อย เช่น รดน้ำในฤดูแล้งสัปดาห์ละครั้ง ใส่ปุ๋ยบ้าง ทำโคนให้เตียน

เมื่อผ่านเวลา 2 ปีไปแล้ว โอกาสต้นที่จะตายมีน้อย สรุปในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกกาแฟได้ จำนวน 375 ต้น และต้นมะคาเดเมียนัทได้ 25 ต้น รวมกันเป็น 400 ต้น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการปลูกสำหรับพื้นที่โล่งแจ้ง ส่วนพื้นที่มีต้นใหญ่อื่นที่เป็นร่มเงาขึ้นอยู่ ก็ให้ปลูกมะคาเดเมียนัทกับกาแฟลงในพื้นที่ตามความเหมาะสม โดยเอาระยะที่ให้นี้เป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องโค่นต้นไม้ใหญ่ทิ้ง

ปัจจุบัน สวนแห่งนี้ มีต้นไม้ 2 ระดับ ระดับสูงคือ มะคาเดเมียนัท ส่วนระดับล่างจะเป็นกาแฟ ต้นกาแฟที่ปลูกจะต้องจัดแต่งกิ่งไม้ให้สูงเกิน 2 เมตร เพราะจะทำให้การเก็บเกี่ยวและดูแลรักษายาก

คุณนพดล กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การปลูกกาแฟขุดหลุม 30 เซนติเมตร ทั้งกว้าง ยาว ลึก ส่วนมะคาเดเมียนัทขุดหลุม 50 เซนติเมตร ทั้งกว้าง ยาว ลึก เมื่อปลูกแล้วก็ปักไม้เพื่อป้องกันลมโยก และไม่ควรไปรบกวนโคนของต้นในรัศมีพุ่มใบ โคนใบควรคลุมด้วยเศษวัชพืช ฟาง หญ้าที่แห้งแล้ว รัศมีนอกจากนี้จะฉีดยาฆ่าหญ้าก็ได้ในปีแรกๆ

ต่อมาเมื่อต้นกาแฟและมะคาเดเมียนัทโตขึ้นปัญหาจะค่อยๆ หมดไป ของที่นี่ใช้ต้นกระดุมทองมาปลูกเป็นพืชคลุมดิน ซึ่งได้ทั้งความสวยงาม กันต้นหญ้าไม่ให้ขึ้น และเป็นแนวกันไฟ เนื่องจากในหน้าแล้งต้นกระดุมทองยังเขียวอยู่ นอกจากนี้ ต้นกระดุมทอง ยังไม่มีศัตรูพืชด้วย จึงไม่ต้องดูแลรักษาอะไรเลย ความกังวลเกี่ยวกับหนอนในกอหญ้าก็จะไม่มี

การปลูกพืชสวนในป่าดงมะไฟนี้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จะทำให้ความชุ่มชื้นของผืนป่าในอดีตกลับมาสู่ชุมชนในบริเวณนี้อีกครั้ง และการทำพืชสวนแบบนี้เป็นการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืช เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่อยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร เนื่องจากไม่มีสารพิษปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ และผลิตผลที่ได้คือ เมล็ดกาแฟ และเมล็ดมะคาเดเมียนัท เป็นพืชที่มีราคาสูงเมื่อเทียบต่อไร่กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างอื่น

คุณนพดล จึงขนานนามหมู่บ้านดงมะไฟว่า เป็นแหล่งเพชรดำและทองคำขาว (Land of Black Diamond and white Gold) ซึ่งหมายถึงแหล่งที่ปลูกกาแฟอาราบิก้า และมะคาเดเมียนัทนั่นเอง

การให้ปุ๋ย ก็จะให้ช่วงก่อนการออกดอก ช่วงต้นฝนและให้หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วอีกครั้ง ปุ๋ยที่ให้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และมีการนำเอาเนื้อของเมล็ดกาแฟมาหมักเป็นน้ำชีวภาพ ซึ่งเอาไว้ใช้ผสมน้ำรดในหน้าแล้งเท่านั้น รากของกาแฟเป็นรากฝอยจะขึ้นมาที่หน้าดินเพื่อหาอาหาร ถ้าไม่มีอะไรคลุมไว้ รากฝอยก็จะไม่ขึ้นมา แต่ถ้าเราคลุมไว้มีความชื้นอยู่โคนต้นรากฝอยจะขึ้นมามากเพื่อหาอาหาร เพราะฉะนั้นจะถากโคนก็ไม่ได้ เปิดหญ้าที่คลุมออกก็ไม่ได้ ต้นจะแห้ง คนไม่เข้าใจไปถากโคนเสียเตียน รากแก้วมีไว้พยุงลำต้น แต่รากฝอยมีหน้าที่หาอาหาร

การเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟของวิสาหกิจดงมะไฟ จะเก็บเฉพาะเมล็ดแดงเท่านั้น โดยการใช้แรงงานในครัวเรือน หรือจ้างเด็กนักเรียนมาเก็บในวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จักภาระหน้าที่ และวิสาหกิจชุมชนไม่ได้รับซื้อกาแฟเมล็ดแดง แต่จะมีเครื่องสีกาแฟไว้ให้สมาชิกใช้สี โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่าย เมื่อสีเมล็ดกาแฟแล้วจะนำเปลือกไปหรือไม่ก็ได้

แต่เมล็ดกาแฟที่ได้สมาชิกจะนำกลับไปตากแดด ประมาณ 7 วัน หลังจากนั้น จะขายให้วิสาหกิจชุมชนหรือรวบรวมไว้ให้มีจำนวนมากจึงจะนำมาขายให้ก็ได้ โดยวิสาหกิจชุมชนรับซื้อในราคาประกัน

เมล็ดกาแฟใส่ถุงไว้ที่บ้านเหมือนกับเป็นธนาคาร ที่เมื่อไรจะเปลี่ยนเป็นเงินสดก็เอามาเปลี่ยนได้ในทันที ไม่ต้องเร่งขายเหมือนกับผลผลิตอย่างอื่น กาแฟของวิสาหกิจชุมชนดงมะไฟ ปลูกที่นี่ แปรรูปที่นี่ ใช้ชื่อของที่นี่ เพราะฉะนั้นจะไปขายที่ไหน ทุกคนก็รู้จักในนามกาแฟดงมะไฟ คนของบ้านดงมะไฟก็ภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์ของตัวเองถึงผู้บริโภคเองโดยตรง

วิธีชงกาแฟแบบทรีอินวัน

วิสาหกิจชุมชนดงมะไฟ จะรับซื้อเมล็ดกาแฟที่ตากแห้งแล้วนำมาคั่วและบดด้วยกรรมวิธีของตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟสดสำหรับชงดื่มได้เลย โดยมีถ้วยสำหรับชงอยู่พร้อมในกล่อง วิธีการชงคือ นำถ้วยชงมาวางไว้บนถ้วยกาแฟ ซึ่งในถ้วยกาแฟนั้นจะใส่นมหรือน้ำตาลไว้ แล้วใส่กาแฟผง 2-3 ช้อนชา ลงในถ้วยชงเกลี่ยให้เสมอ นำฝาปิดชิ้นเล็กกว่าถ้วยปิดใส่ในถ้วยชงกดขยับเบาๆ เพื่อให้ผงกาแฟเสมอในระดับเดียวกัน แล้วรินน้ำร้อน จำนวน 1 ใน 4 ของถ้วย ใส่ลงในถ้วยกาแฟ

โดยวนให้น้ำสัมผัสกาแฟให้ทั่วเป็นรูปวงกลม รอประมาณ 10 วินาที จึงค่อยรินน้ำร้อนที่เหลือลงไป แล้วนำฝาถ้วยชงปิดที่มีขนาดใหญ่กว่าถ้วยชงปิดด้านบนของถ้วยชง เพื่อรักษากลิ่น ทิ้งไว้ประมาณไม่เกิน 1 นาที เราก็จะได้กาแฟที่มีรสชาติหอมกรุ่นเสิร์ฟบนโต๊ะทำงานแบบง่ายๆ ไว้ดื่ม เมื่อเปิดฝาถ้วยชงออก ก็จะต้องหงายฝาขึ้นเพื่อเป็นจานรองถ้วยชงไม่ให้สัมผัสกับโต๊ะ และเมื่อดื่มกาแฟหมดถ้วย ยังไม่ต้องทิ้งกากกาแฟ เพราะเราสามารถทำซ้ำเพื่อดื่มกาแฟดงมะไฟได้อีกครั้ง แต่รสชาติจะเจือจางไปนิด และสามารถทำซ้ำในครั้งที่สามก็กลายเป็นชาอ่อนของกาแฟสำหรับดื่มได้อีก นับว่าราคาไม่แพงเลย สำหรับกาแฟทรีอินวันของกาแฟดงมะไฟ

งานรับขวัญแม่กาแฟ

ช่วงเดือนพฤศจิกายน ชาววิสาหกิจชุมชนบ้านดงมะไฟ นิยมจัดงานรับขวัญแม่กาแฟ เพื่อสืบทอดพิธีรับขวัญแม่กาแฟของบ้านดงมะไฟ นับเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก และแสดงความสำนึกที่ดีที่มีต่อต้นกาแฟรวมถึงแสดงการรู้คุณ จึงจัดพิธีขึ้นเพื่อทดแทนพระคุณ เหมือนชาวนาที่รู้จักพระคุณของแม่โพสพ ปัจจุบันนี้ กาแฟอาราบิก้าดงมะไฟ ซึ่งเป็นกาแฟปลอดสารพิษ (organic) ที่เป็นความภาคภูมิใจของชุมชนท้องถิ่น ผู้สนใจสามารถแวะชมกิจการกาแฟและมะคาเดเมียนัท ของวิสาหกิจชุมชนกาแฟอาราบิก้าและมะคาเดเมียนัท แบบประชาอาสา บ้านดงมะไฟได้ทุกวัน เบอร์โทรศัพท์ของ คุณนพดล ม่วงแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนดงมะไฟ โทร. (082) 342-1122

ขอขอบคุณภาพประกอบข่าว จาก เฟซบุ๊ก Dongmafai Coffee คุณพันธ์ ยามดี เกษตรกรเจ้าของสวนยางพารา อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โทร. 063-137-2489 ปัจจุบันเขามีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ด้วยการเลี้ยงแพะในสวนยางพาราของตนเองมากกว่า 3 ปี โดยเลี้ยงแพะพันธุ์ลูกผสม ที่สามารถต้านทานโรคได้ดี ใช้เวลาเลี้ยงขุนแพะในสวนยางพาราประมาณ 4 เดือน ก็จับแพะออกขายได้ ในราคา ก.ก. ละ 145 บาท

ปัจจุบัน คุณพันธ์ ได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะขุนจำหน่าย ภายใต้ชื่อ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปศุสัตว์พัฒนาเจริญก้าวหน้าบ้านภูทรายทอง” อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โดยมีสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 59 ราย เลี้ยงแพะขุนรวมกันกว่า 280 ตัว มีตลาดหลักอยู่ที่จังหวัดหนองคาย และ สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงในสวน เพื่อส่งแพะไปขายต่อที่ประเทศเวียดนาม

หลายคนอาจคิดว่า “แพะ” เป็นสัตว์เลี้ยงที่เหม็นสาบ สกปรก กินอาหารไม่เลือก แต่ความจริงแล้ว แพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมากที่สุด เพราะการเลี้ยงแพะมีจุดเด่นหลายประการ เช่น ให้ผลตอบแทนเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการเลี้ยงโค แพะหากินเก่ง กินพืช ใบไม้ได้หลายชนิด แพะทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ แพะมีขนาดตัวเล็กใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงง่าย และให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

คุณพันธ์ ยืนยันว่า การเลี้ยงแพะเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้เป็นอย่างดี แม้จะมีปัญหาด้านราคายางพาราตกต่ำหรือปัญหาภัยแล้ง ก็ไม่มีผลกระทบต่อรายได้ในการเลี้ยงครอบครัวมากนัก

“ข้าวหอมมะลิ 105” นับเป็นข้าวหอมคุณภาพดีที่สุดในโลก เพราะมีรสชาติดี ข้าวสุกมีความนุ่มเหนียวและมีกลิ่นหอม (aroma) จึงเป็นที่นิยมบริโภคไปทั่วโลก แต่ระยะหลัง ข้าวหอมมะลิ ที่ลูกค้าซื้อไปรับประทาน ปรากฏว่าไม่หอมเหมือนกับที่เคยรับประทาน จึงถูกเข้าใจผิด คิดว่าเป็นข้าวปลอม ปัญหาข้าวหอมมะลิที่มีเปอร์เซ็นต์ความหอมน้อยลง ทำให้ไทยเสียแชมป์ข้าวคุณภาพดีที่สุดในโลก ให้กับ “มาลีอังกอร์ ข้าวหอมพันธุ์ดีของกัมพูชา ในการประกวดข้าวโลก ทำให้ข้าวกัมพูชาครองตำแหน่ง ข้าวคุณภาพดีที่สุดในโลกเป็นครั้งที่ 4 ในช่วง 6 ปีมานี้

กลิ่นหอมของข้าวหอม อยู่ในรูปของสารน้ำมันที่ระเหยได้ (Essential oil) ข้าวหอมมะลิจะให้กลิ่นหอมตั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกดอก และเป็นเมล็ดทั้งข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวสาร รวมถึงขณะที่กำลังหุงต้ม หรือข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ แค่เดินผ่านแปลงปลูกข้าวหอมมะลิ จะได้กลิ่นหอมของข้าวจากใบและดอกข้าว ทั้งนี้ คาดว่าสารกำเนิดกลิ่นหอมมีการสะสมอยู่ในใบแล้วเคลื่อนย้ายไปสู่เมล็ดข้าว ซึ่งจะได้กลิ่นหอมเมื่อเคี้ยวเมล็ดข้าว

“สภาพแวดล้อม” คือปัจจัยแรกที่มีผลต่อความหอมของข้าวหอมมะลิ ชนิดและความอุดมสมบรูณ์ของดิน อาจทำให้ลักษณะเมล็ดและความหอมแตกต่างกัน ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในดินร่วนปนทราย จะมีข้าวกล้องและข้าวสารที่ใสเป็นเงา เมื่อนำไปหุงสุกจะมีรสชาติดี และมีกลิ่นหอมกว่าข้าวที่ปลูกในดินเหนียว การใช้ปุ๋ยเคมีมากอาจทำให้เมล็ดอ้วนขึ้น ข้าวกล้องขุ่นมัว ความเลื่อมมันและความหอมอาจน้อยลง ขณะเดียวกันขั้นตอนการเก็บเกี่ยว การตาก และการเก็บรักษาก็มีส่วนทำให้ความหอมเปลี่ยนไป เนื่องจากกลิ่นหอมเป็นสารที่ระเหยได้ง่าย หากต้องการเก็บรักษาความหอมไว้ได้นานในรูปข้าวสาร ต้องเก็บไว้ในที่ไม่ร้อนอบอ้าว และอากาศถ่ายเทได้สะดวก

นอกจากข้าวมีกลิ่นหอมน้อยลงแล้ว การผลิตข้าวหอมมะลิในปัจจุบันมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นแต่ได้ผลผลิตต่ำ ทำให้ไทยเสียเปรียบการแข่งขันราคาในเวทีตลาดโลก เพื่อรักษาคุณภาพข้าวไทยให้มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ ให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่าเมื่อรับประทานข้าวหอมมะลิของไทย บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย “ข้าวหงษ์ทอง” จึงหันมาส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วม “โครงการหงษ์ทองนาหยอด” เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพดี ปรากฏว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ สามารถยกระดับผลผลิตและสร้างรายได้ให้ชาวนาได้มากขึ้น สร้างแรงจูงใจให้รัฐบาลนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้ขยายผลในแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

เนื่องจาก “ชาวนาไทย” เป็นทั้งเพื่อนและครอบครัวคนสำคัญของ บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย “ข้าวหงษ์ทอง” เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีอาชีพและรายได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ ปี 2558 เป็นต้นมา บริษัทจึงได้ดำเนินโครงการหงษ์ทองนาหยอด ในแหล่งปลูกข้าวตำบลโพนข่า จังหวัดศรีสะเกษ ผลวิจัยพบว่า โครงการนี้สามารถยกระดับผลผลิตและสร้างรายได้ให้กับชาวนาได้มากกว่าเดิม เฉลี่ยไร่ละ 3-4 พันบาท

“การดูแลชาวนาไทยไม่ได้เป็นการหยิบยื่นความหวังไปให้ แต่เป็นการสร้างความแข็งแรง ยั่งยืน ให้กับชาวนาไทย ให้เกิดจากภายในผืนนาของตนเอง ฟื้นฟูตัวเองเป็นกระดูกสันหลังที่แข็งแรง ช่วยให้ชาวนาไทยทุกคนได้ปลูกข้าวด้วยความภูมิใจอีกครั้ง” ดร. วัลลภ มานะธัญญา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด กล่าว

ที่ผ่านมา บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวแบบนาหยอด ใน 2 แนวทาง คือ

การเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว
ผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิคุณภาพดี
สำหรับฤดูการผลิต 2561/62 การเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ตราหงษ์ทอง มีชาวนาในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2,000 ไร่ เพื่อเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105 และ พันธุ์ กข 15 ได้ผลผลิต จำนวน 600,000 กิโลกรัม ทางบริษัทรับซื้อเมล็ดพันธุ์มะลิ 105 และ กข 15 จากเกษตรกรมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรทั่วไป นำไปทำเมล็ดพันธุ์ จำนวน 300,000 กิโลกรัม และป้อนเมล็ดพันธุ์เข้าสู่โครงการหงษ์ทองนาหยอด จำนวน 300,000 กิโลกรัม เนื้อที่ปลูก 40,000 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี

เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการหงษ์ทองนาหยอด ทางบริษัทจะให้สินเชื่อไม่คิดดอกเบี้ย เช่น ค่าไถนา ค่าหยอด ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าเกี่ยวข้าว โดยจะหักเงินคืน หลังจากที่ชาวนานำข้าวเปลือกมาขายกับโรงสีของบริษัท ระหว่างปลูก ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำวิธีการปลูกดูแลแปลงนาที่ดี ตรวจสอบดิน เก็บข้อมูลการปลูกข้าวทุกระยะ และรับซื้อผลผลิตทั้งหมด โดยเพิ่มราคารับซื้อสูงกว่าราคาตลาดอีก 0.50 บาท ต่อกิโลกรัม

“ระยะแรก มีชาวนาเข้าร่วมโครงการหงษ์ทองนาหยอดเพียง 53 ราย พื้นที่ 573 ไร่ เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนชาวนาที่เข้าร่วมโครงการก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,086 ราย บนพื้นที่กว่า 40,000 ไร่ ขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวคุณภาพทั่วทั้งจังหวัดศรีษะเกษ อำนาจเจริญ และได้ไล่เรียงต่อยอดไปสู่จังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย” ดร. วัลลภ กล่าว

ข้อดีของการทำนาหยอด

โครงการหงษ์ทองนาหยอด เป็นการปฏิวัติการทำนาหว่านแบบเดิมๆ สู่วิธีการปลูกด้วยวิธีนาหยอดแบบแห้ง สร้างผลผลิต และรายได้ที่มากขึ้น การปลูกข้าวแบบเดิม ที่เรียกว่า “นาหว่าน” ชาวนามักใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ครั้งละ 25-35 กิโลกรัม แต่การทำนาหยอด กลับใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ลดลง เหลือแค่ 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่านั้น

คุณณรงค์ พันยา หนึ่งในเกษตรกรชาวนาที่เข้าร่วมโครงการหงษ์ทองนาหยอด อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 1 บ้านโพนข่า ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 080-627-1161 คุณณรงค์ มีพื้นที่นา 14 ไร่ เข้าร่วมโครงการนาหยอด ตั้งแต่ปี 2559 เขาทำนาหยอดมาได้ 2 ปีแล้ว ในฤดูการผลิต ปี 2559/60 ได้ผลผลิต 4,500 กิโลกรัม

คุณณรงค์ บอกว่า ข้อดีของการทำนาหยอด คือช่วยให้ต้นข้าวแตกกอได้ดีไม่เบียดแน่น ปริมาณข้าวออกรวงสูง เมล็ดเรียงสวยงาม มองเห็นต้นข้าวเรียงกันเป็นแถว ดูแลจัดการเรื่องแมลงและวัชพืชได้ง่ายขึ้น มีการวิเคราะห์ดินและสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งยาฆ่าแมลงและปุ๋ย

นอกจากนี้ การทำนาหยอด englishdefenceleague.org ยังช่วยลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน จากเดิมที่ต้องลงทุน ราวๆ 3,060 บาท ต่อไร่ ลดลงเหลือ 2,575 บาท ประหยัดต้นทุนการผลิตได้ ลดลงประมาณ 16% หากปลูกแบบเดิมจะได้ผลผลิตเฉลี่ย 451 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่หลังเปลี่ยนมาทำนาหยอด ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 559 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือคิดเป็น 24%

ปลูกพืชหลังนา เพิ่มรายได้

แม้กรรมวิธีการทำนาหยอดจะได้ผลและตอบโจทย์แก่เกษตรกรอย่างชัดเจน แต่ด้วยข้อจำกัดของข้าวหอมมะลิที่ปลูกได้เพียง 1 ครั้ง ต่อปี ทำให้ผืนนาต้องไร้ซึ่งผลผลิตไปกว่าครึ่งปี ส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ของเหล่าเกษตรกรโดยตรง บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด จึงประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. โพนข่า และกรมชลประทาน ปรับปรุงระบบฝายน้ำล้นคลองอีสานเขียว และอ่างเก็บน้ำห้วยซัน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้มีแหล่งน้ำชลประทานสำหรับใช้เพาะปลูกได้เพิ่มขึ้น 1,500 ไร่

เมื่อว่างเว้นจากฤดูทำนา บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด จึงส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่เป็นที่ต้องการในท้องตลาด พร้อมจัดหาเมล็ดพันธุ์ สอนวิธีการ รวมไปถึงเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตให้กับเกษตรกร อาทิ ปลูกแตงโม ฟักทอง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ลำเลียงสู่ตลาดประชารัฐต่อไป

ข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดู

“โครงการหงษ์ทองนาหยอด” ไม่ใช่แค่การเพิ่มผลผลิตที่เน้นปริมาณของข้าวเท่านั้น แต่ยังเน้นเรื่องคุณภาพของข้าว เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ 99% ที่เกษตรกรใช้ในโครงการ ถือเป็นคำตอบที่ บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด พยายามสร้างมาเกือบ 10 ปี ผลผลิตที่ได้จึงเป็นข้าวหอมมะลิคุณภาพดีมาก โดยเฉพาะข้าวล็อตแรกที่เรียกกันว่า “ข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดู” เป็นข้าวที่มาจากโครงการหงษ์ทองนาหยอด ที่ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ ในแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ เป็นข้าวที่มีความเหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม และรสชาติอร่อยเป็นพิเศษ

บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด นำข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดูมาสีและบรรจุให้เร็วที่สุด เพื่อผู้บริโภคได้รับประทานข้าวหอมมะลิใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งสินค้ารุ่นนี้มีจำนวนจำกัด จึงเรียกว่า ข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดู รุ่น Limited Edition ที่มีจำนวนจำกัด เพียงแค่ 5-6 แสนถุง (ถุงละ 5 กิโลกรัม) มีวางจำหน่ายเฉพาะเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561 เท่านั้น

“การสร้างข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศ นับเป็นรางวัลที่ดีที่สุด และบ่งบอกความสำคัญของโครงการนาหยอดได้เป็นอย่างดี” ดร. วัลลภ มานะธัญญา กล่าวทิ้งท้าย