กาแฟอาราบิก้า สร้างรายได้ให้ชาวเขาเผ่าเมี่ยนบ้านผาแดง

อำเภอแม่ใจ ปีละหลายล้านบาท ปัจจุบัน มีคนนิยมดื่มกาแฟกันมาก และในประเทศไทยก็มีการปลูกกาแฟเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ในจังหวัดพะเยาก็มีแหล่งปลูกกาแฟหลายพื้นที่ รวมถึงที่บ้านผาแดง ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ ก็ปลูกกันมานาน ส่งขายให้กับผู้ผลิตและโรงงานคั่วบดกาแฟเพื่อชงขายให้กับคอกาแฟทั่วไป ทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกบ้านผาแดงนับสิบล้านบาท

การปลูกกาแฟในภาคเหนือได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวง เพื่อทดแทนการปลูกพืชเสพติด โดยเกษตรกรจำหน่ายผลผลิตผ่านโครงการหลวงปีละประมาณ 400-500 ตันกาแฟกะลา ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงได้เป็นอย่างดี การพัฒนาการปลูกและผลิตกาแฟอาราบิก้าของโครงการหลวงได้นำมาเป็นต้นแบบการผลิตกาแฟอาราบิก้าจากประเทศโคลัมเบียมาใช้

เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกับพื้นที่สูงของไทย โดยประเทศโคลัมเบียมีการพัฒนาการปลูกและผลิตกาแฟมายาวนาน และได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตกาแฟคุณภาพดีที่สุดของโลกในปัจจุบัน การปลูกกาแฟของโคลัมเบียจะปลูกบนพื้นที่สูง 1,200-1,800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ย 19-21.5 องศาเซลเซียส และจะปลูกต้นกล้วยควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นร่มเงาและมีรายได้จากกล้วย ร่มเงาจะทำให้เมล็ดกาแฟมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งกาแฟอาราบิก้าโคลัมเบีย เป็นกาแฟที่มีชื่อเสียง คุณภาพดี มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย ราคาสูง เป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวนมาก

กาแฟอาราบิก้าพันธุ์ต่างๆ ได้มีการวิจัย ทดสอบปลูกและได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆ ปลูกเพื่อทดแทนพืชเสพติดและเป็นพืชรายได้มานานกว่า 40 ปี ปัจจุบันสายพันธุ์คาติมอร์ เป็นสายพันธุ์หลักที่มีการปลูก เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตดี ทนทานต่อโรคราสนิม และให้ผลผลิตได้ดีในสภาพแวดล้อมบนดอยสูงของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

สภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกกาแฟอาราบิก้านั้น ความสูงของพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการให้คุณภาพกาแฟอาราบิก้านั้น ควรจะเป็นพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เนื่องจากอากาศเย็นบนดอยสูง อุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18-22 องศาเซลเซียส จะช่วยให้เมล็ดกาแฟเจริญเติบโตและพัฒนาสารอาหารที่พอเพียงจนได้อายุพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่ 8-9 เดือน นอกจากนี้ สภาพดินที่ปลูกกาแฟควรเป็นดินที่สามารถระบายน้ำได้ดี และความเป็นกรดด่างดิน (pH) อยู่ระหว่าง 5.0-5.5 ปริมาณน้ำฝน ควรอยู่ระหว่าง 1,500-1,800 มิลลิเมตร ต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 70-80% และความลาดชันของพื้นที่ไม่เกิน 45 องศา เพราะต้องพิจารณาถึงระยะปลูกให้เหมาะสมกับความลาดชันและการทำงานในสวนที่ง่ายและสะดวกของเกษตรกรด้วย

การปลูกและการปฏิบัติรักษาสวนกาแฟของเกษตรกร การปลูกกาแฟด้วยระยะปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ เช่น ต้นเตี้ย ต้นสูง และความกว้างของทรงพุ่มนั้นเป็นสิ่งที่ต้องคำนึง เพื่อให้การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ปลูกสูงสุด และสามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้มากกว่าระบบเดิมที่ 2.0×2.0 เมตรได้

โดยสายพันธุ์กาแฟปัจจุบันสามารถปลูกระยะชิดขึ้น โดยระยะปลูกที่เหมาะสม เช่น 1.5×1.5 และ 1.5×2.0 เมตร โดยจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่เท่ากับ 711 ต้น และ 533 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ หลุมปลูก ควรมีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ปลูกกาแฟอาราบิก้าระบบเดิมนั้น เกษตรกรปลูกกาแฟไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการสวน เช่น ปลูกชิดเกินไป หรือห่างเกินไปนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่อปริมาณและการให้ผลผลิตของต้นกาแฟได้ เช่น ในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคราสนิม ไม่ควรมีระยะปลูกที่ชิดเกินไป

การปลูกกาแฟให้ได้คุณภาพและเกิดความยั่งยืนของระบบการผลิตกาแฟ เกษตรกรจะต้องปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยให้มีร่มเงาได้ไม่เกิน 70% และควรมีการปลูกพืชสลับกับการปลูกกาแฟ เช่น การปลูกไม้ผล กล้วย หรือพืชยืนต้นตระกูลถั่ว เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคราสนิม และช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูกาแฟบางชนิดได้

การปลูกไม้ให้ร่มเงาแบบถาวรสำหรับสวนกาแฟ ควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เพราะใบไม้ที่ร่วงสามารถย่อยสลายเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ โดยระยะปลูกระหว่างแถวกาแฟควรปลูกที่ระยะ 6×6 เมตร 9×9 เมตร หรือ 12×12 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ให้ร่มเงา

การปลูกกาแฟภายใต้ร่มเงา ต้นกล้ากาแฟอาราบิก้าที่มีคุณภาพจะเป็นต้นกล้าที่เกิดจากกระบวนการเพาะเมล็ดจากแหล่งเพาะเมล็ดที่น่าเชื่อถือ เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ดีจะต้องเก็บจากต้นแม่พันธุ์ที่ทราบประวัติสายพันธุ์แน่นอน และคัดเลือกเก็บเมล็ดที่มีคุณภาพเพื่อนำไปเพาะให้ได้ต้นกล้าที่ตรงตามสายพันธุ์ การจัดการโรงเรือนที่มีคุณภาพดีที่ช่วยให้ต้นกล้าปลูกที่มีคุณภาพดีในพืชพันธุ์ใหม่ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีกับวัสดุเพาะที่ดี ขนาดถุงเพาะที่เหมาะสม และการควบคุมแสง รวมถึงการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการรับรองพันธุ์ และเมื่อเกษตรกรปลูกกาแฟในสวนควรจะต้องทำแผนผังแปลงปลูกกาแฟของตัวเอง เช่น สายพันธุ์ วันที่ปลูก และจำนวนต้น เป็นต้น

พื้นที่ปลูกกาแฟอาราบิก้าต้องมีการวิเคราะห์ธาตุอาหารของดินก่อนปลูก ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ และปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของกาแฟในแต่ละพื้นที่ปลูก การใส่ปุ๋ย ต้องตามสภาพของดินที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วทางด้านกายภาพและเคมี การใส่ปุ๋ยในช่วงฤดูฝน ในพื้นที่ลาดชันควรทำร่องดินตอนเหนือของต้นกาแฟ ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ (ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการถูกน้ำฝนชะล้าง) สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่มากนัก ให้ใส่ปุ๋ยรอบๆ ทรงพุ่มต้นกาแฟและใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้นเล็กน้อย

การให้ปุ๋ยกาแฟอาราบิก้าต้องคำนึงถึงอายุต้น โดยต้นกาแฟในช่วงก่อนให้ผลผลิตจะต้องการธาตุอาหารเพื่อเร่งการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและกิ่ง เช่น ธาตุไนโตรเจน และสำหรับต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ปุ๋ยอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อปี โดยเฉพาะต้นกาแฟที่ปลูกในร่ม แต่กาแฟที่ปลูกในที่แจ้ง ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง โดยให้ปุ๋ยใน 2 ช่วง คือหลังออกดอก และ 2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว การให้ปุ๋ยกาแฟในฤดูฝน ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณรอบต้น เป็นพื้นที่ครึ่งวงกลมตอนบนของต้น แล้วกลบปุ๋ยเพื่อช่วยลดการชะล้างปุ๋ยของน้ำฝน เนื่องจากพื้นที่ปลูกกาแฟอาราบิก้าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลาดชัน ก่อนการใส่ปุ๋ยต้องมีการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอบริเวณใต้ต้นกาแฟ โดยควรถอนด้วยมือบริเวณใต้ต้นกาแฟ เนื่องจากมีรากกาแฟอยู่ในระดับผิวดิน การใช้จอบสับหน้าดินจะทำให้รากกาแฟถูกกระทบกระเทือนได้ และให้ใช้วิธีการตัดหญ้าที่ระหว่างแถวกาแฟเพื่อรักษาความชื้นและหน้าดิน

การตัดแต่งกิ่งกาแฟโดยทั่วไป จะตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ โดยตัดเฉพาะกิ่งที่เสียหายจากการเก็บเกี่ยว กิ่งที่แห้งตาย รวมถึงผลที่แห้งติดอยู่บนต้นออกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคและแมลงลง ให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตและพร้อมสำหรับการออกดอกและติดผลในฤดูกาลถัดไป สำหรับต้นกาแฟที่มีอายุมาก ต้นโทรมและการให้ผลผลิตต่ำนั้น จะต้องปรับปรุงต้นโดยวิธีการตัดเพื่อสร้างลำต้นใหม่ ให้ตัดหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต หน่อใหม่จะแตกเมื่อได้รับแสงแดดเพียงพอ โดยรอบของการตัด กำหนดตัดทุกๆ 8 ปี หรืออาจจะช้าหรือเร็วกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์การให้ผลผลิตของต้นกาแฟ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน หรือ 25% แล้วให้ทยอยตัดปีละ 1 ส่วน จนครบ 4 ส่วน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทุกๆ ปี

การเก็บเกี่ยวผลกาแฟอาราบิก้าเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีนั้น ควรมีการบันทึกระยะการเจริญเติบโตของผลตั้งแต่ระยะเริ่มออกดอก เพื่อช่วยในการกำหนดระยะเวลาและปริมาณที่จะต้องเก็บเกี่ยวในแต่ละช่วงฤดู เกษตรกรจะเก็บผลที่สุกพอดีด้วยมือ (ผลนิ่ม เมื่อบีบเมล็ดหลุดออกได้ง่าย) ไม่ควรเก็บผลที่สุกเกินไป ผลแห้ง หรือผลเขียว เพราะจะส่งผลต่อคุณภาพด้านรสชาติของเมล็ดกาแฟ เมื่อเก็บเกี่ยวผลกาแฟเสร็จแล้ว ควรนำไปสู่กระบวนการแปรรูปภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เนื่องจากการทิ้งผลกาแฟไว้นานเกินไป จะเกิดกระบวนการหมักของเมล็ดกาแฟ ทำให้เมล็ดกาแฟมีกลิ่นเหม็นและมีรสชาติเปรี้ยว (บูด)

ในขั้นตอนของการโม่กาแฟผลสด ควรลดปริมาณการใช้น้ำลง หลังจากการโม่ผลกาแฟต้องคัดเปลือกกาแฟออกให้หมด ล้างทำความสะอาด แล้วหมักเมล็ดกาแฟด้วยน้ำที่สะอาด ประมาณ 24-36 ชั่วโมง เพราะถ้าเมล็ดกาแฟที่อยู่ในน้ำที่ไม่สะอาดนาน จะทำให้รสชาติที่ดีของกาแฟเปลี่ยนไป และเพิ่มโอกาสในการปนเปื้อนของเมล็ดกาแฟ หรือเกษตรกรอาจจะเลือกที่จะหมักเมล็ดกาแฟแบบไม่ใช้น้ำ ซึ่งสามารถกำจัดเมือกกาแฟได้ภายใน 16 ชั่วโมง (หมั่นตรวจว่าเมือกหุ้มกาแฟย่อยหมดหรือยัง ถ้าหมดให้รีบล้างทันที)

เพื่อให้คุณภาพของเมล็ดกาแฟที่ผลิตได้มีความสม่ำเสมอด้านคุณภาพ เกษตรกรควรรวมกลุ่มการแปรรูปในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งจะมีคุณภาพดีกว่าการผลิตเป็นรายเดี่ยว ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตกาแฟที่ต้องคำนึงถึงคือ น้ำทิ้งจากกระบวนการ ควรมีระบบควบคุม จัดเก็บและบำบัด เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่น้อยที่สุด เปลือกกาแฟสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือใช้เลี้ยงไส้เดือนดินได้

การตากเมล็ดกาแฟ ควรมีโรงสำหรับตากเมล็ดกาแฟโดยทำเป็นลักษณะแคร่ยกสูงจากพื้นชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่าการตากแห้งบนพื้นซีเมนต์ถึง 2 ชั่วโมง และเมื่อกาแฟกะลาแห้งดีแล้ว จากการตรวจสอบความชื้นของกะลากาแฟแล้ว ควรเก็บในถุงบรรจุเมล็ดกาแฟที่ทำขึ้นจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น กระสอบป่าน เพื่อช่วยในการระบายอากาศในขณะเก็บที่โรงเก็บกาแฟกะลาที่ตากแห้งแล้วต้องมีการถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่เหม็นอับ และมีความชื้นสูง

คุณรัฐศาสตร์ สันติโชคไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านผาแดง หมู่ที่ 10 ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นชาติพันธุ์เมี่ยน (เย้า) และชาวบ้านในพื้นที่หมู่บ้านผาแดง หันมาปลูกกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์คาติมอร์ และพันธุ์เชียงใหม่ 80 จากการส่งเสริมของหลายภาคส่วน ทั้งผลิตตั้งแต่ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว กะเทาะเปลือก หมักแบบธรรมชาติ จากนั้นจึงนำกะลาที่ได้มาตาก ก่อนจำหน่ายสร้างรายได้หลัก หลังจากผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดจนทำให้ทุกครัวเรือนปลูกกาแฟเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรนับสิบล้านบาทต่อปี

กศน. อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเปิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในตำบลต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ

สำหรับ ตำบลโคกม่วง มีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงหลายแห่ง เช่น
1. สวนป่าครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 5 ตำบลโคกม่วง
2. แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 5 ตำบลโคกม่วง
3. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร 73/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกม่วง เป็นต้น

นอกจากนี้ กศน. อำเภอคลองหอยโข่ง ยังได้เผยแพร่แนวคิดเกษตรอินทรีย์สู่วิถีชีวิตเกษตรกรและนักศึกษา กศน. โดยจัดคณะไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ กับ คุณประภาส สุวรรณรัตน์ ณ บ้านเลขที่ 94/1หมู่ที่ 4 บ้านโคกสัก ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา อย่างสม่ำเสมอ

คุณประภาส สุวรรณรัตน์ เป็นอดีตข้าราชการครู โรงเรียนบ้านปักคล้า เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่จำกัด ได้ผลผลิตดี สามารถปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ให้ผลผลิตทั้งปี ขยายพันธุ์ผักที่มีคุณภาพดี คัดเลือกเมล็ดพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติทำให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง แบ่งเครือข่ายการปลูกพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ในชุมชน ฝึกเยาวชนให้เรียนรู้เรื่องการตลาดจากการขายผลผลิต ตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน เป็นต้นแบบให้กับชุมชน

เนื่องจาก ครูประภาส ได้นำความรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสานที่ตนเองได้ศึกษาค้นคว้า ค้นพบ ฝึกฝนจนประสบความสำเร็จเป็นประโยชน์โดยรวมแก่สังคม จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 7 ด้านเกษตรกรรม ประจำปี 2554

หลังจากเกษียณอายุราชการ ครูประภาสเปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหอยโข่ง สถานีพัฒนาที่ดินสงขลา และที่ทำการปกครองอำเภอคลองหอยโข่ง จึงมีผู้คนจากทั่วสารทิศแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมงานที่นี่ตลอดทั้งปี

แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์

เมื่อ 15 ปีก่อน ครูประภาส ใช้ที่ดินทำกิน เนื้อที่ 6 ไร่ ปลูกข้าว ต่อมา ส้มโอ ราคาดีก็ปรับที่ดินหันมาปลูกส้มโอ ต่อมาเจอปัญหาราคาส้มโอตกต่ำ ก็โค่นต้นส้มโอทิ้ง และหันมาปลูกยางพาราแทน เพราะให้ผลกำไรเยอะกว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริเตือนเกษตรกรในช่วงนั้นว่า สวนยางพาราอย่าปลูกเยอะนะ ต่อมาเจอปัญหายางพาราราคาตกต่ำ ครูประภาส จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสมแทน ปรากฏว่า สร้างรายได้ที่ยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้

ครูประภาส ใช้ที่ดิน 5.5 ไร่ ของตัวเอง ที่ตั้งอยู่ 2 ฝั่งเหมืองน้ำชลประทาน ใกล้ๆ กับวัดปลักคล้า เป็นแปลงสาธิตและเผยแพร่แนวคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์สู่ชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้สนใจนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน และรายได้ครึ่งปีจากการปลูกพืชหลายชนิด

ซึ่งกิจกรรมการทำเกษตรในพื้นที่แห่งนี้ประกอบด้วย บ่อพักน้ำ แปลงยางพารา 1 ไร่ ทำนาข้าว 1 ไร่ ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ 200 ตารางวา ปลูกส้มโอ 200 ตารางวา ปลูกพืชอื่นๆ เช่น กล้วยหอมทอง สับปะรด ฝรั่ง ไผ่ โรงปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด 1 ไร่ ร่องสวนและบ่อปลา 1 ไร่

ครูประภาส กล่าวว่า การทำเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เป็นการทำเกษตรแบบพึ่งพาตัวเอง เน้นเกษตรธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีต่างๆ หันมาปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ช่วยให้การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบยั่งยืน เกษตรกรพึ่งตัวเองได้ ประหยัด และพอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้ เหลือจำหน่ายเพิ่มรายได้

ชี้ช่องทาง “ทำเกษตรหลังเกษียณ”

หากใครสนใจอยากทำเกษตรหลังวัยเกษียณ ครูประภาส ให้คำแนะนำว่า ควรทดลองทำเกษตรล่วงหน้าสัก 5-6 ปี เพราะช่วงนั้นร่างกายยังพอมีเรี่ยวแรงกำลังเต็มที่ในการบุกเบิกพื้นที่ทำการเกษตร ขณะเดียวกันการทำเกษตรต้องอาศัยระยะเวลาปลูกดูแล พืชบางชนิดกว่าจะให้ผลผลิตต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร หากลงทุนทำเกษตรไว้ล่วงหน้า หลังเกษียณอายุ ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้ทันที

หากใครสนใจลงทุนทำไร่นาสวนผสม ครูประภาส แนะนำให้ปลูกพืชทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เช่น ปลูก “กล้วยน้ำว้า” เพื่อสร้างร่มเงาในสวน ระหว่างทำงานดูแลต้นไม้จะได้ไม่ร้อนมาก แถมต้นกล้วยยังให้ผลผลิตเร็ว หลังปลูก 7-8 เดือน ก็เริ่มให้ผลผลิตแล้ว หรือปลูก “พืชอายุสั้น” ได้แก่ พืชผักสวนครัว ผักบุ้ง ผักคะน้า ถั่วงอก ฯลฯ ซึ่งปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตเร็ว มีรายได้หมุนเวียนตลอด ทำให้เกิดกำลังใจในการทำเกษตรต่อไป

“การทำเกษตรหลังเกษียณ ข้อควรระวังก็คือ อย่าปลูกพืชตามกระแส ควรปลูกพืชที่ให้ผลผลิตที่เก็บไว้ได้นาน ซึ่ง “ส้มโอ” ตอบโจทย์ข้อนี้ได้ดีที่สุด เพราะปลูกดูแลง่าย ขายได้ราคาดี หากได้ผลผลิตดี จะมีรายได้ก้อนโต 1 ไร่ มีรายได้เกิน 1 แสนบาท แน่นอน” ครูประภาส กล่าว

“หอมควนลัง” ส้มโอพื้นเมืองสงขลา
ไม้ผลทางเลือก ปลูกง่าย ขายดี

ส้มโอหอมควนลัง (Pomelo Hom Khuanlang) เป็นส้มโอที่เปลือกมีความหอมพิเศษโดดเด่นแตกต่างจากส้มโออื่น โดยมีผลกลมสูง ไม่มีจุก น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 1-2.5 กิโลกรัม เนื้อสีชมพูเข้มถึงแดง เนื้อผลนิ่มฉ่ำ เนื้อกุ้งกรอบ เมล็ดลีบถึงไม่มีเมล็ด รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่ขม นิยมปลูกแพร่หลายในพื้นที่เทศบาลเมืองควนลัง ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ต่อมาจังหวัดสงขลาได้ส่งเสริมให้ส้มโอพันธุ์นี้ เป็นผลไม้เด่นของอำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรปลูกส้มโอพันธุ์นี้กันมาก “ควนลัง” จึงได้ชื่อใหม่เป็น “ส้มโอหอมหาดใหญ่” ทำให้ระยะหลังส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “ส้มโอหอมหาดใหญ่” เช่นเดียวกัน

ส้มโอหอมควนลัง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวาน 12-13 องศาบริกซ์ ลักษณะพิเศษอีกอย่างของส้มโอพันธุ์นี้คือ เปลือกส้มโอมีกลิ่นหอมพิเศษแตกต่างจากส้มโออื่นๆ แถมมีเนื้อแน่นและล่อนออกจากเปลือกง่าย ไม่มีเมล็ด เนื้อแห้ง สีสวย เป็นสีแดงอมชมพู

ข้อดีประการต่อมาคือ เมื่อตัดผลจากต้นแล้ว สามารถนำส้มโอหอมควนลังไปรับประทานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ลืมต้น ทำให้ส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง จนผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีนนิยมใช้ส้มโอหอมควนลังมาใช้ไหว้เจ้า ทำให้เกษตรกรสามารถขายส้มโอหอมควนลังต่อผลได้ในราคากว่าร้อยบาท

โดยทั่วไป พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 25-35 ต้น ใช้เวลาปลูกดูแล 2-3 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต ในรุ่นแรกๆ จะได้ไม่เยอะมาก จนกระทั่งย่างเข้าปีที่ 4 ต้นส้มโอเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ หากบำรุงดูแลต้นดีจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 100 ผล ต่อต้น เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการตอนกิ่ง

การปลูกมะนาว ในวงบ่อซีเมนต์

อีกหนึ่งทางเลือกที่ครูประภาสแนะนำสำหรับการลงทุนทำเกษตรหลังเกษียณก็คือ การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้พื้นที่น้อย จะผลิตมะนาวนอกฤดูได้สะดวก ใช้เวลาเพียง 8 เดือน ถึง 1 ปี เท่านั้น สามารถเก็บผลมะนาวออกขายได้ ขั้นตอนการปลูก เริ่มจากกำหนดระยะการปลูก 1.20×1.50 เมตร เว้นทางเดิน 2 เมตร

วัสดุอุปกรณ์การปลูก ให้เลือกใช้วงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80-100 เซนติเมตร และฝารองก้นบ่อ และใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด คือ หน้าดิน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน แกลบดำ 2 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากัน ส่วนพันธุ์มะนาวที่แนะนำให้ปลูก ได้แก่ มะนาวแป้น หอมพิจิตร มะนาวไร้เมล็ด “ตาฮิติ”

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ เริ่มจากใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เป็นรูปหลังเต่า ขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบรอบๆ การดูแลรักษา ให้รดน้ำต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ช่วงเช้า-เย็น ประมาณ 5-10 นาที และตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว

วิธีบังคับต้นมะนาวให้มีผลผลิตออกนอกฤดู เริ่มจากคลุมโคนด้วยพลาสติก งดให้น้ำจนใบเหี่ยวสลดและหลุดร่วงประมาณ 50-60% หลังจากนั้นให้น้ำตามปกติ ใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลาง สูตร 12-24-12 หรือ สูตร 15-30-15 ปริมาณ 1 กำมือ ต่อวงบ่อ รดน้ำ หลังต้นมะนาวติดดอกแล้ว จึงค่อยให้น้ำตามปกติ การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังออกดอกติดผล 4-5 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้

เป็นผู้หญิงเก่งอีกคนของภาคอีสาน ที่มีรางวัลการันตีมากมาย ล่าสุด คุณพิมพา มุ่งงาม วัย 53 ปี เกษตรกรจากบ้านดวน อำเภอน้ำอ้อม จังหวัดยโสธร เจ้าของ “สวนพ่อพอเพียง” ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 9 ด้านเกษตรกรรม (ข้าวหอมมะลิอินทรีย์) ประจำปี 2561

ขณะที่ก่อนหน้านี้ ปี 2558 คุณพิมพา มุ่งงาม ได้รับรางวัล “คนดีศรีเมืองยศ” สาขาส่งเสริมองค์กรชุมชนเข้มแข็ง จากผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และในปีเดียวกันยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ปราชญ์ชาวบ้านดีเด่น ด้านเกษตรกรรม” จากสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดยโสธร

เปิดสวนพ่อพอเพียง เป็นศูนย์เรียนรู้

สาเหตุที่ คุณพิมพา ได้รับรางวัลเหล่านี้ ป๊อกเด้งออนไลน์ เพราะนอกจากเจ้าตัวจะทำเกษตรอินทรีย์จากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ตั้งแต่ปี 2540 จนประสบความสำเร็จแล้ว ยังได้เผื่อแผ่ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ตรงส่งต่อไปถึงเกษตรกรในพื้นที่และผู้คนที่สนใจทั่วไปด้วย โดยใช้ “สวนพ่อพอเพียง” ในเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่คุณพิมพาได้ดูจากโทรทัศน์

กระทั่งทุกวันนี้ มีเกษตรกร ข้าราชการ และกลุ่มคนหลากหลายสาขาอาชีพในจังหวัดยโสธรและทั่วประเทศแวะเวียนเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้นี้เป็นประจำ กว่า 20 ปีแล้วที่คุณพิมพาบุกเบิกการทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษ ควบคู่กับทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยแสวงหาความรู้เรื่องปรับปรุงคุณภาพดิน แบ่งพื้นที่ทำหนองน้ำเพื่อให้มีแหล่งน้ำ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ทั้งเพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์เพื่อเอามูลสัตว์มาทำปุ๋ย ทดลองทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และนำมาใช้ในครัวเรือนแบบทำลองผิดลองถูก

จนในที่สุดได้ค้นพบสัดส่วน และส่วนผสมลงตัว สามารถพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นตามลำดับ ผลิตผลทั้งข้าวและพืชผักให้ผลผลิตดี จากระดับ “พอมีพอกิน” เปลี่ยนเป็น “เหลืออยู่ เหลือกิน” สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ประสบผลสำเร็จด้านการเกษตร “ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน”

คุณพิมพา เล่าถึงที่มาที่ไปของ “สวนพ่อพอเพียง” ว่า ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาใช้เพราะครอบครัวมีปัญหา โดยปรับใช้มาเรื่อยๆ และทำเต็มรูปแบบ เมื่อปี 2542 ซึ่งในเนื้อที่ 4 ไร่เศษนี้ จะปลูกพืชผักสวนครัว 1 งาน เลี้ยงสัตว์ อาทิ ควาย 18 ตัว มีหมูหลุม ไก่พื้นบ้าน และไก่ไข่ 5 ตัว เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ พร้อมทั้งปลูกมันเทศญี่ปุ่นตามโครงการช่างหัวมัน รวมถึงบ่อเลี้ยงปลา 2 บ่อ นอกจากนี้ ยังแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย เนื้อที่ 2 งาน มีบ่อแก๊สชีวภาพจากขี้ควาย และบ่อเลี้ยงปลา 2 บ่อ