กำจัดหนอนหัวดำในสวนมะพร้าว ด้วยแตนเบียน วิธีชีวภาพ ได้ผลดี

ชาวสวนมะพร้าวแถบธนบุรี เลยไปถึงกระทุ่มแบน อัมพวา แม่กลอง สมุทรสงคราม ต่างมีศัตรูร่วมกันมายาวนานนับเป็นศตวรรษก็ว่าได้ คือเจ้ากระรอกหางฟู ที่คนเมืองชมว่าน่ารักๆ นั่นแหละครับ

รศ. สมใจ นิ่มเล็ก สถาปนิกผู้มีอดีตเป็นเด็กบ้านสวนฝั่งธนฯ เคยเขียนเล่าไว้ในวารสารเมืองโบราณว่า กระรอกสวนนั้น “…อาหารที่มันชอบคือ มะพร้าวห้าว เท่านั้น กินทั้งเช้าและเย็น มื้อเช้าจะเริ่มกัดเปลือกตั้งแต่เช้ามืด ประมาณ 5 นาฬิกา พอสว่างกะลาก็จะทะลุ พอที่จะสอดหัวและตัวเข้าไปแทะเนื้อมะพร้าวได้ เวลา 7-8 นาฬิกา ก็จะอิ่ม จากนั้นจะนอนผึ่งแดดตามทางมะพร้าว ธรรมชาติของกระรอกไม่กินอาหารซ้ำ…ตอนบ่ายแก่ๆ ก็จะออกมากัดและแทะมะพร้าวกินอีกลูกหนึ่งสำหรับมื้อเย็น จะอิ่มก็ประมาณ 18-19 นาฬิกา ดังนั้น ใน 1 วัน กระรอก 1 ตัวจะกินมะพร้าว 2 ลูก เป็นประจำ…”

แต่ปัจจุบัน กระรอก ไม่ใช่ศัตรูตัวร้าย หมายเลข 1 อีกต่อไป ชาวสวนต้องรับมือกับมฤตยูรายใหม่ นั่นก็คือ “หนอนหัวดำ” (coconut black-headed caterpillar) ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ที่ติดมาในรูปของดักแด้จากการนำเข้ามะพร้าวและปาล์มพันธุ์ประดับจากอินเดียและอินโดนีเซีย เนื่องจากการนำเข้ามะพร้าวเข้ามาทางด่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชลบุรีไม่มีการสแกนตรวจหรือรมยาป้องกัน โรงงานมะพร้าวที่ผลิตกะทิและน้ำมันสกัดเย็นในจังหวัดสมุทรสาครและสมุทรสงครามจึงคือจุดเริ่มต้นของหายนะภัยครั้งร้ายแรงนี้

หนอนหัวดำ มีอายุยืนนาน 45 วัน ชาวสวนบอกว่า มันสามารถกินใบและยอดมะพร้าวได้ตลอด 24 ชั่วโมง ถึงกับว่าในช่วงสัปดาห์เดียว มะพร้าวสวนบ้านแพ้วบางแห่งที่มีเนื้อที่สวนกว่า 10 ไร่ เคยโดนมันลงกินจนตายเกลี้ยงสวน

ปัญหาของหนอนหัวดำยังมีมากกว่านั้น ภาพมะพร้าวยืนต้นตายยกสวนสั่นคลอนความเชื่อของคนที่เพิ่งริเริ่มทำเกษตรอินทรีย์หลายราย จนดูเหมือนจะต้องเรียกขวัญและกำลังใจกันอย่างขนานใหญ่

เรื่องนี้ ดูเหมือนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลนางตะเคียน โทร. (081) 745-8282 และโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พอจะมีคำตอบอยู่

“บ้านเรานี่เคยทำน้ำตาลมะพร้าวแยะมาก แต่ตอนนี้ก็เหลือแค่คนรุ่นป้าๆ ลุงๆ แล้ว เราเองไม่อยากให้จบตรงนี้ เพราะมันก็ยังเป็นของที่ขายได้อยู่ ตอนนี้เราส่งของทางเรือด้วย ขายทั่วไปในเขตชายทะเลภาคกลางเลย ขายปี๊บละ 300 บาท” คุณเก๋-ศิริวรรณ ประวัติร้อย ลูกหลานชาวบ้านนางตะเคียนที่ประสานงานกิจการค้าขายผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าวของชุมชนเล่าว่า “เราอยากให้คนไทยได้กินของดีๆ กินน้ำตาลแท้ๆ ไม่ใส่สารเคมี คนอื่นเขาอาจจะใส่สารกันบูด แต่เรายังใช้เปลือกไม้พะยอมแบบเก่าอยู่ นี่เราขายน้ำตาลมะพร้าวงบใหญ่ๆ กิโลกรัมละ 40 บาท เท่านั้นเองนะคะ มีแต่คนบ่นว่าขายถูกเกินไป” เธอยังบอกว่า เครือข่ายของบ้านนางตะเคียนตอนนี้ยังพอมีสวนลุงๆ ป้าๆ รวมแล้วกว่า 10 สวน แม้กำลังผลิตจะตกอยู่เพียงราว 50 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ แต่ก็กำลังทำเรื่องขอมาตรฐาน มกท. จากมูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าอยู่

“เราก็ต้องมาดูว่าจะสู้กับมันยังไง เราไปเรียนรู้จากหน่วยอารักขาพืช ที่สุพรรณบุรีมา ถึงเรื่องการใช้แตนเบียน (Goniozus nephantidis) พันธุ์ที่ใช้กำจัดหนอนหัวดำโดยเฉพาะ เราก็ลองเอาไข่ของมันมาเพาะที่ศูนย์ของเรา”

ขั้นตอนการผลิตนักรบบินตัวจิ๋วที่กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาจากศรีลังกา ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 นี้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เจ้าหน้าที่ของศูนย์อธิบายว่า จะต้องเลี้ยงผีเสื้อข้าวสารก่อน เพื่อให้เป็นอาหารของแตนเบียน เริ่มแรกต้องเพาะไข่ผีเสื้อข้าวสารในกระบะรำข้าว (รำ 1 กิโลกรัม : ปลายข้าว 1 กำมือ) จนได้หนอน แล้วปล่อยแม่พันธุ์แตนเบียนให้ไปวางไข่บนตัวหนอน ใช้เวลา 10 วัน จึงฟักตัว จากนั้นจึงเอาไม้คัทตั้นบัดส์ ชุบน้ำตาลใส่ไว้ให้หนอนแตนเบียนกิน จนลอกคราบเป็นตัวแตน พร้อมจะปฏิบัติการไล่ล่าหนอนหัวดำ ก็จะถ่ายใส่กระปุกเล็กๆ เอาไปปล่อยที่คอต้นมะพร้าวในสวนที่มีหนอนหัวดำลงกินอยู่ ต้นละ 1 กระปุก

นับเป็นการยับยั้งศัตรูพืชตัวร้ายด้วยวิธีทางชีวภาพที่ได้ผลค่อนข้างดี ณ ปัจจุบันนี้

ผมได้ลองไปปล่อยแตนเบียนหลายกระปุกอยู่ มองดูมันบินสูงขึ้นไปบนยอดมะพร้าว ซอกซอนไปตามโคนใบที่มีหนอนหัวดำตัวจ้อยซุกซ่อนอยู่แล้วก็อัศจรรย์ใจ น้องชายชาวสวนมะพร้าวอินทรีย์จากราชบุรีรายหนึ่งบอกผมว่า แตนเบียนมีอายุขัยเพียง 1 เดือน ดังนั้น อย่างน้อยสวนที่ใช้วิธีนี้จึงต้องเพาะและปล่อยแตนเดือนละครั้ง แต่ “ตัวช่วย” ก็ไม่ได้มีแค่แตนเบียน Goniozus nephantidis นี้เท่านั้น ยังมีนกบางชนิด ด้วงตัวห้ำในวงศ์ Cleridae และแมลงอื่นๆ อีกที่จะช่วยกำจัดหนอนหัวดำอย่างได้ผล เขายังบอกอีกว่า มันขึ้นอยู่กับสภาพของสวนแห่งนั้นๆ ด้วย ว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากพอที่จะเอื้อให้กับการคงอยู่ของระบบตัวห้ำตัวเบียนหรือไม่

ดังนั้น สภาพความรกความโล่งของสวนก็เป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่ง

สวนมะพร้าวที่ใช้วิธีตัดหญ้าแทนการฉีดยาฆ่า เลือกใส่เฉพาะปุ๋ยชีวภาพ เจาะจงใช้แตนเบียน นก ตลอดจนแมลงนักล่าบางชนิดเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั้นมีอยู่จริง อย่างน้อยก็ที่บ้านนางตะเคียนแห่งนี้

นอกจากขั้นตอนการดูแลสวนมะพร้าว กระบวนการผลิตที่ปลอดสารเคมีโดยสิ้นเชิง ก็ทำให้รสชาติของน้ำตาลมะพร้าวสดๆ ของสวนนางตะเคียนที่ผมได้ลองลิ้มชิมรสในวันนั้นช่างหวานฉ่ำ มีรสฝาดล้ำลึกตัดแต่เพียงน้อย องคาพยพมันหนักแน่น เมื่อกินใส่น้ำแข็งก้อนเย็นฉ่ำแล้วรู้สึกชื่นใจ อย่างที่ไม่เคยพบในน้ำตาลขวดที่วางขายตามแผงริมทางหลวง

กว่าจะได้มาซึ่งรสชาติ ความปลอดภัยไร้สารเช่นนี้ มีกี่คนที่จะล่วงรู้ว่า น้ำตาลมะพร้าวแต่ละหยดได้ผ่านความเอาใจใส่ด้วยจิตวิญญาณดั้งเดิมของชาวสวนมะพร้าวมากมายสักเพียงใด

ในแง่นี้ มันจึงเป็น “ทางเลือก” ที่แม้เหลือน้อยลงทุกที แต่ก็ยังมีอยู่จริงๆ ในประเทศนี้ หางไหล หรือ โล่ติ๊น ส่วนที่นำมาใช้กำจัดแมลงเป็นส่วนของรากอยู่ใต้ดิน มีส่วนประกอบของสาร โลติโนน หางไหล เป็นพืชเถาเนื้อแข็ง รูปร่างกลม สีน้ำตาลอมเทา ใบเป็นชนิดใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ สีเขียว ส่วนใบอ่อนมีสีแดง ออกดอกตามซอกใบ สีชมพู ผลเป็นฝักแบน มีรากยาวหยั่งลึก เฉลี่ยประมาณ 1 เมตร สีน้ำตาลอมแดง ขนาดใกล้เคียงกับแท่งดินสอดำ วิธีใช้ ควบคุมแมลง ทุบให้แตกตัดเป็นชิ้นแช่ในน้ำสะอาด อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ แช่ไว้เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จะได้น้ำสีขาวขุ่น กรองเอาแต่น้ำนำมาฉีดพ่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนเจาะถั่วฝักยาว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนห่อใบข้าว และหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ข้อควรระวัง อย่าให้น้ำแช่หางไหลตกลงในบ่อปลา เพราะจะทำให้ปลาตายทั้งบ่อ

หนอนตายหยาก เป็นพืชหัว ประเภทล้มลุก มีรากหรือหัวอยู่ใต้ดิน รูปร่างคล้ายหัวกระชาย แต่มีขนาดใหญ่กว่า และจำนวนหัวต่อต้นมากกว่า มีสารสำคัญในกลุ่ม แอลคาลอยด์ ใช้กำจัดเห็บในโค กระบือ มีบทบาทในการยับยั้งการกินอาหารของหนอนกระทู้ผัก แต่ก่อนแม่บ้านจะนำหนอนตายหยากมาทุบ และทาลูบไล้ไว้ปากไหบรรจุปลาร้า ป้องกันแมลงวันมาวางไข่ วิธีใช้ทั่วไป นำหัวหนอนตายหยาก อัตรา 1 กิโลกรัม ทุบและหั่นเป็นชิ้น แช่ในน้ำสะอาด 20 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นในแปลงพืชผัก หรือตัวสัตว์เลี้ยง กำจัดตัวเหลือบ

ตามรอยบรรพบุรุษของเราที่เคยปฏิบัติมา ซึ่งทางวิชาการรับรองแล้วว่า ใช้ประโยชน์ได้ดีและปลอดภัย ผ่านพ้นฤดูกาลมะม่วงแล้วจะเข้าสู่กาลผลิตฤดูกาลใหม่ เกษตรกรหลายๆ รายอาจจะพลาดในการผลิตมะม่วงออกสู่ตลาดซึ่งอาจจะด้วยหลายๆปัจจัย ซึ่งก่อนจะเข้าสู่การผลิตฤดูกาลใหม่จึงนำประสบการณ์จริงของเกษตรกรที่ถือว่าเป็นเซียนมะม่วงคนหนึ่งของ จ.พิจิตร ที่สามารถทำให้มะม่วงออกดอกติดผลดกทุกๆปี แม้จะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ตาม โดยเคล็ดลับและวิธีการดังกล่าวอาจจะนำไปใช้เป็นแนวทางให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกมะม่วงของแต่ละท่าน

การออกดอกของมะม่วง ที่พบส่วนมากในสวนของเกษตรกร มีการออกดอกใน
3 รูปแบบ คือ 1. ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น 2. ออกดอกครั้งละ ครึ่งต้น 3. ทยอยออกดอกหลายรุ่น
การดูแลช่อดอกนั้นจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของการออกดอก ต้นมะม่วงที่มีออกพร้อมกัน
ทั้งต้นจะดูแลง่ายกว่ามะม่วงที่ทยอยออกดอก เพราะมีช่วงระยะเวลาในการดูแลดอกสั้น ถ้าต้นที่ทยอยออกดอก จะต้องดูแลนานกว่า จะติดผลหมดทุกรุ่น ดังนั้นเกษตรกรมืออาชีพส่วนใหญ่จะนิยมทำให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน เพื่อความสะดวกในการจัดการ และประหยัดต้นทุน
การทำให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน ถ้าถามว่า “ จะทำอย่างไรให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน? ” เกษตรกรมืออาชีพหรือที่เรียกกันว่า “เซียน” จะตอบเหมือนกันว่า “ ต้องดูแลมะม่วงตั้งแต่เริ่มแต่งกิ่งให้ดี ถ้าแต่งกิ่งแล้วใบอ่อนไม่ออกพร้อมกัน โอกาสที่จะทำให้ดอกออกพร้อมกันยาก ”
คุณจรัญ อยู่คำ “สวนโชคอำนวย” บ้านเลขที่ 63 หมู่ 1 ต.วังทับไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร โทร. 099-2711303 เจ้าของสวนมะม่วงรายใหญ่ มีพื้นที่ปลูกมะม่วงกว่า 400 ไร่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพดี ถือเป็นเกษตรกรระดับเซียนของจังหวัดพิจิตรที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนมะม่วงคุณภาพ ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งขายตลาดต่างประเทศ บางส่วนส่งโรงงานแปรรูปนอกจากมะม่วงน้ำดอกไม้แล้ว ที่สวนจรัญยังมีมะม่วงรับประทานผลดิบ เช่น พันธุ์ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด ไว้ขายก่อนฤดู เป็นการลดความเสี่ยง หากตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้มีปัญหา ที่สวนแห่งนี้ผลิตมะม่วงคุณภาพดีส่งขายทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ จุดเด่นของสวนคือ ผลิตมะม่วงให้ดกและมีคุณภาพดี จัดเป็นสวนตัวอย่างของแนวคิด “ ทำสวนมะม่วงน้อยได้ผลผลิตมาก ถ้าทำสวนมะม่วงมาก ก็ต้องให้ได้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ”
ซึ่งดูจะค้านกับแนวคิดของหลายๆ คนที่ว่า ทำน้อยได้มาก แต่ถ้าทำมากจะได้น้อย เรามาดูกันซิว่า ัวอย่างของแนวคิด ทำสวนมะม่วงน้อยได้ผลผลสวนโชคอำนวยมีแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเช่นไร จึงทำให้สวนแห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตมะม่วงดกที่สุดแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดพิจิตร สวนโชคอำนวยปลูกมะม่วงมานานกว่า 30 ปี

คุณจรัญ อยู่คำ กล่าวว่า “ คนส่วนมากไม่ค่อยเข้าใจ เห็นคนอื่นแต่งกิ่งมะม่วงก็ทำบ้าง เห็นเขาดึงใบอ่อนก็ดึงบ้าง แต่ไม่ดูเลยว่าต้นมะม่วงของเราพร้อมหรือเปล่า ” คุณจรัญแนะนำว่า ก่อนตัดแต่งกิ่งต้องดูก่อนว่าดินมีความชื้นพอหรือไม่ ในพื้นที่ชลประทาน หรือ พื้นที่ที่มีน้ำสะดวกแนะนำให้รดน้ำดินให้ชุ่ม แต่ถ้าเป็นพื้นที่แล้งอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องรอให้ฝนตกใหญ่
3-4 ครั้งก่อน จึงจะแต่งกิ่ง เพราะถ้าดินแห้งแล้ง แต่งกิ่งไปแล้ว โอกาสที่ใบอ่อนจะออกเสมอกันมีน้อยมาก

หลังแต่งกิ่งเสร็จ จะต้องเร่งมะม่วงให้แตกใบอ่อนให้เสมอกัน ทางดิน จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ต้นละ 1-2 กิโลกรัม ตรงจุดนี้เกษตรกรหลายท่านไม่ให้ความสำคัญเลย แต่ที่สวนคุณจรัญจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอหลังแต่งกิ่งทุกปี เพราะเมื่อเราต้องการให้มะม่วงได้ผลดี จะต้องเอาปุ๋ยให้ต้นมะม่วงก่อน ไม่เช่นนั้นผลผลิตจะไม่ดี มีหลายคนสอบถาม
เรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในสวนมะม่วง คุณจรัญตอบว่า “ ใช้ได้ แต่ให้ใส่ก่อนแต่งกิ่งแค่ครั้งเดียว เพราะถ้าใส่บ่อยๆ จะบังคับให้ออกดอกยาก ” ทางใบ ฉีดพ่น ปุ๋ยไทโอยูเรีย อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ผสมกับฮอร์โมนจำพวกสาหร่าย-สกัด 2 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกัน 5-7 วัน มะม่วงจะออกใบอ่อนพร้อมกันทั้งสวน
คุณจรัญ อยู่คำ ย้ำว่า “ จะทำมะม่วงให้ออกดอกเสมอ ต้องทำใบอ่อนให้เสมอกันก่อน
ถ้าใบออกเสมอสวยงาม เวลาดึงดอก ดอกก็จะออกเสมอเช่นกัน ”

ราดสารแพคโคลบิวทราโซลในช่วงเวลาที่เหมาะสม ควรเลือกใช้สารราด (แพคโคบิวทราโซล) ที่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันมีบริษัทขายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรมากมายมาเสนอขายสารราดให้ถึงสวน แต่คุณจรัญจะเน้นใช้สารราดที่มีคุณภาพ และมีเลขทะเบียนถูกต้อง เช่น สารแพนเที่ยม 10% เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรหลายรายโดนหลอกขายสารราดที่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำ
โดยจูงใจว่าของตนเองมีราคาถูก พอเกษตรกรหลงเชื่อใช้ไปก็ไม่สามารถควบคุมการแตกใบอ่อนของมะม่วงได้ ทำให้เสียเงิน และเสียโอกาส ที่ดีในการผลิตมะม่วงในปีนั้นๆ ไปเลย คุณจรัญจึงเน้นย้ำว่า จะต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มั่นใจได้เท่านั้น ไม่ควรใช้สารราดของบริษัทที่ไม่น่าเชื่อถือ เมื่อต้นมะม่วงแตกใบอ่อนพร้อมกัน จะเป็นช่วงเวลาของการราดสารแพคโคฯ คุณจรัญจะนับวันโดยคำนวณจากวันที่จะดึงดอกเป็นหลัก ซึ่งทุกปีจะเริ่มราดสารตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม เพื่อจะให้ต้นมะม่วงสะสมอาหารและพร้อมจะดึงดอกในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ถามว่าทำไมต้องเป็นช่วงนั้น? คุณจรัญตอบว่า การดึงดอกมะม่วงในช่วงกันยายนและตุลาคม จะเป็นช่วงฝนน้อย โอกาสที่ช่อดอกจะโดนทำลายจากพายุก็น้อยลง คุณจรัญ เคยดึงช่อมะม่วงก่อนช่วงนั้นเพื่อทำนอกฤดู แต่ในพื้นที่จังหวัดพิจิตรจะเกิดพายุฝนรุนแรง ทำความเสียหายให้ช่อดอกจำนวนมาก ไม่คุ้มกับการลงทุน เลยเลี่ยงมาดึงในช่วงที่เหมาะสมแทน
หลังราดสารต้องบำรุงอย่างดี
เกษตรกรส่วนใหญ่หลังจากราดสารแล้วจะใช้วิธีสะสมอาหารด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว แต่ที่สวนคุณจรัญจะเน้นการใส่ปุ๋ยทางดินร่วมด้วย
“ ปุ๋ยทางดินสำคัญมาก เราต้องดูว่าปีหนึ่งเราเก็บมะม่วงไปจากต้นกี่กิโล ต้นมะม่วงต้องเสียอาหารไปเท่าไร ถ้าเราไม่ใส่คืน ต้นมะม่วงจะเอาแรงที่ไหนออกลูกให้เราอีก ”

การใส่ปุ๋ยทางดิน จะใช้ปุ๋ยสูตร 9-25-25 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม เน้นใส่ในวันที่มีฝน เพราะที่สวนคุณจรัญไม่มีระบบน้ำ อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว จึงต้องคอยติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุว่าจะมีฝนตกชุกช่วงวันไหน ก็จะใช้โอกาสวันนั้นเร่งการใส่ปุ๋ย แล้วให้ฝนเป็นตัวละลายปุ๋ย หากใส่แล้วฝนตกน้อย ก็ต้องใช้คนงานรดน้ำ ให้ปุ๋ยละลายจนหมด
คุณจรัญย้ำว่า การใส่ปุ๋ยที่ดี ต้องรดน้ำให้ปุ๋ยละลายไม่เช่นนั้น ก็สูญเปล่า

ส่วนทางใบ จะเน้นการฉีดปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส กับ โปแตสเซียมสูง เช่น ปุ๋ย 0-52-34 หรือ ปุ๋ยนูแทคซุปเปอร์-เค การฉีดปุ๋ยทางใบจะเริ่มฉีดหลังจากที่ราดสารไปแล้วประมาณ 15 วัน คุณจรัญได้สรุปสูตรฉีดพ่นปุ๋ยเพื่อการสะสมอาหาร ดังนี้

ช่วงที่มีฝนตกชุก
– ปุ๋ย 0-52-34 1 กิโลกรัม
– เฟตามิน 400 ซีซี.
– สังกะสี 100 ซีซี.
– โกรแคล 100 ซีซี.

(ต่อน้ำ 200 ลิตร)
– โรคและแมลง ใช้ตามการระบาด
การใช้ปุ๋ยสูตร 0-52-34 ช่วงฝนตกชุก จะช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนได้ดีมาก
แต่ไม่ควรฉีดพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง เพราะจะทำให้ตายอดของมะม่วงแห้ง และบอดได้
(ถ้าตาบอดจะดึงดอกยาก) การใส่ฮอร์โมนเฟตามิน โกรแคล และ สังกะสี ร่วมด้วย จะทำให้
ตายอดสดใส เต่งตึง อวบอั๋น ตาไม่บอด

ช่วงที่ฝนน้อย
– ปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค 400 กรัม
– เฟตามิน 400 ซีซี.
– สังกะสี 100 ซีซี.
– โกรแคล 100 ซีซี.

(ต่อน้ำ 200 ลิตร)
– โรคและแมลง ใช้ตามการระบาด
เมื่อฝนทิ้งช่วงจะเปลี่ยนปุ๋ยโดยให้กลับมาใช้ปุ๋ยนูแทค ซุปเปอร์-เค (6-12-26) เพราะมีไนโตรเจน 6% จะช่วยให้ตายอดสมบูรณ์ ไม่แห้ง หรือ บอดง่าย
การสะสมอาหารจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน (ในมะม่วงพันธุ์เบา เช่น น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด) การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบจะฉีด 4-5 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
ดึงดอกอย่างไร ให้ออกทั้งต้น ถ้าเราทำใบอ่อนได้เสมอ ใส่ปุ๋ยถูกช่วงเวลา บำรุงรักษา
ใบดีมาตลอด โอกาสดึงดอกให้ออกมาพร้อมกันจะสูงมาก ส่วนใหญ่ชาวสวนจะดูองค์ประกอบหลายๆ อย่างก่อนทำการดึงดอก เช่น อายุหลังราดสาร ต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน (มะม่วงพันธุ์เบา) และ 90 วัน สำหรับมะม่วงพันธุ์หนัก ,ใบมะม่วงแก่ดี เอามือกำแล้วกรอบ ใบหลุบลง , ตายอดนูน พร้อมดึง, ถ้าใบยังไม่พร้อม หรือ มีใบอ่อนแตกออกมาขณะสะสมอาหาร อย่ารีบร้อน ให้ฉีดพ่น
ปุ๋ยทางใบสะสมอาหารจนกว่าใบจะพร้อม จึงทำการเปิดตาดอก ,ดูสภาพอากาศ ฝนต้องทิ้งช่วงนิด
ดินไม่ชุ่มน้ำเกินไป เพราะหากเปิดตาดอกขณะฝนตกชุก โอกาสเป็นใบอ่อนสูง
ในการเปิดตาดอก เกษตรกรส่วนมากจะใช้ไทโอยูเรียผสมกับโปแตสเซียมไนเตรท
(13-0-46) ที่สวนคุณจรัญ จะใช้สูตร
สูตรเปิดตาดอก
– ไทโอยูเรีย 1 กิโลกรัม
– สาหร่าย-สกัด 300 ซีซี.

(ต่อน้ำ 200 ลิตร)
ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน แล้วรอดูการเปลี่ยนแปลงของตายอด โดยปกติแล้ว ตาดอกจะเริ่มแทงหลังเปิดตาดอกครั้งแรกประมาณ 10-15 วัน แต่ถ้าเริ่มแทงในวันที่ 3-4 โอกาสเป็นใบอ่อนจะสูงมาก

ในการฉีดเปิดตาดอกมะม่วง เกษตรกรส่วนมากจะใช้ไทโอยูเรียผสมกับโปแตสเซียม-
ไนเตรท (13-0-46) ที่สวนคุณจรัญ จะใช้สูตร สูตรเปิดตาดอก ไทโอยูเรีย 1 กิโลกรัม + สาหร่าย-สกัด 300ซีซี. (ต่อน้ำ200ลิตร) ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน แล้วรอดูการเปลี่ยนแปลงของตายอด โดยปกติแล้ว ตาดอกจะเริ่มแทงหลังเปิดตาดอกครั้งแรกประมาณ 10-15 วัน แต่ถ้าเริ่มแทงใน
วันที่ 3-4 โอกาสเป็นใบอ่อนจะสูงมาก

กรณีเปิดตาดอกแล้วเป็นใบสามารถแก้ไขได้ แต่ใบอ่อนที่ออกมาต้องมีความยาวไม่เกิน
1 เซนติเมตร หรือ ยังไม่คลี่ใบ ให้ใช้
ครั้งที่ 1
– ปุ๋ย 10-52-17 500 กรัม
– ไฮเฟต 500 ซีซี.

(ต่อน้ำ 200 ลิตร)
ฉีดพ่นโดยห้ามใส่อาหารเสริม จำพวกสาหร่าย-สกัด หรือ จิ๊บ โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีปริมาณ ใบอ่อนออกมามาก จากนั้นเว้น 3 วัน แล้วซ้ำด้วย สูตรที่ 2
ครั้งที่ 2
– ปุ๋ย 10-52-17 500 กรัม
– ไฮเฟต 300 ซีซี.

(ต่อน้ำ 200 ลิตร)

หลังฉีดครั้งที่ 2 เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตาใบอย่างชัดเจน ใบจะหยุดนิ่งแล้วเริ่มใบเพื่อเปลี่ยนเป็นตาดอก สูตรนี้ เกษตรกรจำนวนมากใช้แล้วได้ผลดี แต่ต้องดูว่าความยาวของตาใบ ต้องไม่เกิน 1 เซนติเมตร จะได้ผลดีที่สุด
การดูแลต้นมะม่วงกรณีออกดอกพร้อมกัน
จำไว้ว่า ใบอ่อนเสมอ ดอกจะเสมอ การดูแลจะง่าย เมื่อเราเห็นช่อดอกเริ่มแทงออกมา
ให้ดูแลตามขั้นตอนดังนี้

ระยะเดือยไก่ เป็นระยะแรกของการออกดอก เราจะสังเกตเห็นตาดอกที่ออกมาเริ่มแตกและบิดเป็นเหมือนเดือยของไก่ แต่ถ้ายอดแตกออกมาเป็นทรงหอกหรือตั้งชู นั่นคือ อาการแตกใบอ่อน ไม่ใช่ออกดอก จำไว้ ต้องแทงแล้วบิดถึงจะเป็นช่อดอก การดูแลระยะเดือยไก่ การให้น้ำ ระยะนี้ถ้าฝนตกปกติ ไม่ต้องเปิดน้ำให้ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงจะต้องทำการรดน้ำเพื่อให้ดอกออกมาสมบูรณ์และยาวมากขึ้น การให้ปุ๋ย ทางดินจะใส่ปุ๋ยสูตร 9-25-25 หรือ 8-24-24 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
ถ้าเป็นพื้นที่ดินเหนียวอาจใช้สูตร 12-24-12 ก็ได้ การให้ปุ๋ยทางดิน จะทำให้ดอกสมบูรณ์ติดผลง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใส่จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องเร่งให้ช่อดอกสมบูรณ์ที่สุดจึงจำเป็นต้องให้อาหารที่เพิ่มพลังการติดผล ตัวหลักๆ เลยก็คือ ปุ๋ยสูตร 10-52-17 เป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตรดั้งเดิมที่เป็นที่นิยมของเกษตรกรทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปุ๋ยสูตรนี้หาซื้อง่าย มีขายตามร้านเคมีเกษตรทั่วไป อัตราการใช้ 25-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน หรือ จนกว่าดอกจะโรย สำหรับเกษตรกรยุคใหม่ อาจเลือกใช้ปุ๋ยบำรุงดอกสูตรใหม่ๆ ที่ผลิตโดย บริษัทเคมีเกษตรชั้นนำก็ได้ ปุ๋ยบำรุงดอกที่สามารถเลือกใช้แทนปุ๋ยสูตร
10-52-17 ก็อย่าง เช่น ปุ๋ยเฟอร์ติไจเซอร์ (3-16-36) ปุ๋ยซุปเปอร์เค (6-12-24)
ฮอร์โมนที่นิยมใช้ช่วงเดือยไก่ ได้แก่ โปรดั๊กทีฟ ฮอร์โมนช่วยเพิ่มประมาณดอก ดอกสมบูรณ์ ก้านดอกยาว เพิ่มเปอร์เซ็นต์การติดผล ป้องกันดอกและผลอ่อนร่วง แนะนำให้ใช้ 3 ระยะ คือ เดือยไก่ ก้างปลา และ ดอกโรย , เอ็นเอเอ (NAA) เช่น บิ๊กเอ เป็นฮอร์โมนที่ช่วยเพิ่มจำนวนดอกสมบูรณ์เพศ เหมาะมากสำหรับแปลงมะม่วงที่ออกดอกช่วงฤดูหนาว หรือ ออกดอกเต็มต้น บางครั้งเราจะพบว่าแม้มะม่วงจะออกดอกทั้งต้น แต่ก็ไม่ติดผล ซึ่งเกิดจากสภาพอากาศทำให้ดอกมะม่วงแปรผัน การฉีดพ่น NAA จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องเพศของมะม่วงได้เป็นอย่างดี การใช้ NAA ที่ถูกต้อง ให้ฉีดพ่นช่วงเดือยไก่ ความยาวช่อดอก 2-3 เซนติเมตร และ ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียวจะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณดอกสมบูรณ์เพศได้มากกว่าต้นที่ไม่ได้พ่น 4-5 เท่าตัว , จิบเบอเรลลิน ห้ามใช้ช่วงก่อนดอกบาน ข้อควรระวัง เกษตรกรหลายท่านเข้าใจผิดในการใช้ฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน ว่าฉีดแล้วทำให้ช่อยาว ติดผลดี ความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้จิ๊บในมะม่วงให้ฉีดช่วงดอกใกล้โรย หรือ ช่วงติดผลเล็กๆ เท่านั้น ฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน จะไปช่วยขยายขนาดผล ลดการหลุดร่วงของผลอ่อน แต่หากใช้ฉีดพ่นในระยะก่อนดอกบาน จะทำให้ช่อมะม่วงมีดอกตัวผู้มากขึ้น การติดผลจะยากขึ้น

อาหารเสริมที่จำเป็นช่วงดอก “ มะม่วงเล่นยาก Royal Online V2 ให้ฉีดฮอร์โมนอาหารเสริมให้ตาย ถ้าอากาศไม่อำนวยก็ไม่ติดนะ แต่ถ้าอากาศดี ไม่ต้องฉีดอะไรก็ติดเองได้ ” คำพูดเหล่านี้มักได้ยินจากปากของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเสมอๆ เป็นคำพูดที่มีส่วนจริงและไม่จริง เพราะเมื่อสอบถามบรรดาเซียนๆ มะม่วงต่างพูดเหมือนกันว่า “ จะต้องบำรุงช่วงช่อดอกให้ดี มีฮอร์โมนอาหารเสริมเท่าไร ใส่ไม่อั้น เพราะเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้เลยว่า ต่อไปเมื่อถึงช่วงดอกมะม่วง
เราจะบาน สภาพอากาศจะเป็นอย่างไร ฉะนั้นเราจะคอยแต่พึ่งอากาศไม่ได้ต้องเตรียมความสมบูรณ์ให้ช่อดอกมะม่วงก่อน ”
อาหารเสริมที่นิยมใช้ ได้แก่ แคลเซี่ยม-โบรอน มีประโยชน์ในด้านการติดผลดี ดอกสมบูรณ์ ไม่หักร่วงง่าย เกษตรกรจะเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆ ,สาหร่าย-สกัด ช่วยให้ช่อสมบูรณ์ ยาวเร็ว สดใส ช่วยเพิ่มขนาดของผลอ่อน ,สังกะสี ช่วยเร่งความเขียว เร่งการติดผล , แม็กนีเซียม ช่อสด แข็งแรง เร่งการติดผล การใช้อาหารเสริมเกษตรกรต้องศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้ดี เพราะบางครั้ง เราซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มา 5-6 ขวด เวลาเอามาดูจริงๆ กลับเป็นอาหารเสริมชนิดเดียวกัน เกษตรกรต้องดูให้ดี อย่าเชื่อแต่คำโฆษณาเชิญชวน เพราะจะทำให้เราสูญเงินโดยใช่เหตุ