กำหนดวัน เวลา และสถานที่ยื่นซอง ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 3

อาคารกองมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ ยื่นซองเอกสารคุณสมบัติ วันที่ 11 มิ.ย. 2561 เวลา 13.00-16.00 น. ประกาศรายชื่อผู้เสนอซื้อที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นครบถ้วน วันที่ 15 มิ.ย. 2561 เวลา 09.00 น. ตั้งแต่ เวลา 09.00 ถึง 12.00 น. ยื่นซองเสนอซื้อ ตั้งแต่ เวลา 12.30 น. เปิดซองเสนอซื้อต่อหน้าสาธารณชน และสื่อมวลชน

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2561 และการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ ครั้งที่ 1/2561 ได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th

แรงไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ กับกระแส “ทุเรียน” ฟีเวอร์ หรือราชาผลไม้ไทย (king of fruit) ที่ปีนี้ยอดส่งออกพุ่งถล่มทลายไปไกลเกินกว่าจะเป็นผลไม้ธรรมดา ส่งผลให้ผู้ประกอบการด้านอาหารจากจังหวัดต่างๆ พยายามต่อยอดรังสรรค์เมนูจากทุเรียนธรรมดา มาแปรรูปเสริมเติมแต่งประยุกต์กันไปหลากหลายเมนู ไม่ต่างกันกับแฟชั่น ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน ในงาน “ไทยเฟกซ์” THAIFEX-World of Food Asia 2018 มีสินค้าจากทุเรียนหลากหลายรูปแบบ ทั้งข้าวเหนียวทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนทอดกรอบ ฯลฯ มาแข่งขันกันในตลาดเอาใจคนรักทุเรียนอย่างต่อเนื่อง แต่ที่เด็ดสุดและไม่เหมือนใคร

“วิรวัฒน์ เปี่ยมวิวัตติกุล” ประธานบริษัท พรทิพย์ (ภูเก็ต) จำกัด ผู้ผลิตสินค้าผลไม้แปรรูปจากจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บริษัทได้ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ โดยใช้ชื่อแบรนด์ “โอต๊ะ” เป็นสินค้าส่งออก โดย ปี 2561 ได้เน้นแปรรูปทุเรียนเป็นหลัก โดยเฉพาะเมนู “ซุปทุเรียน” ซึ่งได้นำมาเปิดตัวเป็นครั้งแรก ในงาน THAIFEX และถือเป็นเจ้าแรกที่ได้นำนวัตกรรมแปรรูปทุเรียนให้เป็น “ซุปทุเรียนหม้อไฟ” ให้ความรู้สึกเป็นได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน คล้ายกับซุปฟักทองหรือซุปข้าวโพด ที่สามารถเติมผัก เติมกุ้ง และเนื้อสัตว์ได้

“กลุ่มเป้าหมายเมนูซุปทุเรียนคือ กลุ่มคนรักทุเรียน เมื่อแรกเริ่มแปรรูปเป็นทุเรียนฟรีซดราย ทุเรียนอบแห้ง และเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้เปิดตัว “กาแฟปรุงสำเร็จผสมทุเรียนหมอนทอง” มาในปีนี้มีซุปทุเรียน และ “กาแฟปรุงสำเร็จรสต้มยำ” โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปตลาดจีน และมีกลุ่มนักท่องเที่ยวบางส่วนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง นอกจากนี้ มีร้านอาหาชาบูในประเทศไทย ติดต่อเข้ามาเพื่อจะนำซุปทุเรียนไปทำเป็น “ชาบูหม้อไฟทุเรียน” แล้ว

ในปีนี้ได้ใช้ทุเรียนในการแปรรูปกว่า 600 ตัน ต่อปี ตั้งเป้าจะเพิ่มปริมาณขึ้น 100% เป็น 1,200 ตัน ต่อปี โดยการซื้อทุเรียนฟรีซดรายกับซัพพลายเออร์ในราคาประมาณ 1,300 บาท ต่อกิโลกรัม ภายใต้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ แต่ราคาทุเรียนแพงขึ้นประมาณ 15-20% เพราะอาลีบาบาเข้ามาซื้อทุเรียนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มีผลทำให้ราคาทุเรียนพุ่งสูงขึ้น เพราะคนจีนแห่มาซื้อเป็นจำนวนมาก”

ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด “วิรวัฒน์” บอกว่า แบรนด์โอต๊ะขายความเป็นตัวตน ทำสินค้าเพื่อแปรรูปส่งออกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กระบวนการแปรรูปและขั้นตอนการผลิตต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ต้องเติบโตเท่าไร ที่สำคัญคือความเป็นเอสเอ็มอี ที่ต้องดูกลไกตลาดด้วยว่าจะตอบรับอย่างไร เพราะเศรษฐกิจของทั้งไทยและต่างประเทศล้วนแปรผันตลอด

ขณะเดียวกันบริษัทแม้มีแผนจะแตกไลน์เพิ่ม แต่อยู่ระหว่างดูสถานการณ์ และเป้าหมายในปีนี้ หากสามารถเดินได้ตามเป้าหมายเกิน 70% จะดำเนินตามแผนต่อ ซึ่งในปีนี้สินค้าชูโรง คือซุปทุเรียนกับกาแฟต้มยำ เฉพาะในส่วนทุเรียนเป็นตลาดต่างชาติ 70% คนไทย 30% ในเรื่องผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นสัดส่วนการตลาดจะเป็นต่างชาติ 50% คนไทย 50% แต่ธรรมชาติของคนเบื่อเร็ว ชอบความใหม่ตลอดเวลา ฉะนั้นอาหารคือแฟชั่น ใน 1 ปี บริษัทจะต้องมีสินค้าใหม่ออกมา 4-5 ชนิด ตัวเดิมต้องมีการปรับปรุงทั้งบรรจุภัณฑ์และรสชาติ ตัวไหนไปได้ดีจะสนับสนุนต่อเนื่อง ตัวไหนไปไม่ได้ก็ปรับปรุง หรือไม่ก็หยุดผลิตไป

ทั้งนี้ แบรนด์โอต๊ะ มีร้านค้าอยู่ในจังหวัดภูเก็ตเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า มีสาขากระจายอยู่ตามห้าง ประมาณ 4-5 แห่ง เช่น จังซีลอนภูเก็ต โรงแรมป่าตอง เป็นต้น ส่งขายให้เอ็มโพเรียมเดอะมอลล์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และเตรียมจะขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติมในกรุงเทพฯ และพัทยา แต่เป็นคีออสก์ช็อป ภายในปีนี้น่าจะมีที่เทอร์มินอล 21 พัทยา และตามแหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกันมีพาร์ตเนอร์ที่ทำธุรกิจอยู่แล้วหลายราย เช่น เถ้าแก่น้อย อาฟเตอร์ยู คาดว่าจะใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท ต่อร้าน ที่เน้นมากที่สุดคือ การค้าส่ง

นอกจากนี้ ยังมีตลาดส่งออกไปยังลูกค้าในประเทศจีนและสิงคโปร์ รวมไปถึงมีแผนที่จะตีตลาดอินโดนีเซียต่อไป โดยไม่ได้ผูกขาดกับสินค้าเพียงตัวเดียว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัทมียอดรายได้รวมประมาณ 80 ล้านบาท คาดว่าปีนี้รายได้จะทะลุ 100 ล้านบาท

“ในส่วนของร้านขายของฝากวันนี้เราทรงตัว เพราะในกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ตลาดขาจร และตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน เกาหลี โดยตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง ตลาดจะทรงๆ สำหรับตลาดจีนเราจะดร็อป เพราะผู้ทำธุรกิจทัวร์จีน มีร้านเป็นของตัวเองครบวงจร ซึ่งเราจะไม่สามารถไปแย่งลูกค้ามาได้ นอกจากลูกค้าวอล์กอินและลูกค้าที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเอง (FIT) แต่เรื่องตลาดส่งออก พยายามทำอะไรที่จดจำได้ง่าย แต่ยังคงใช้เป็นแบรนด์ “ORTA by Pornthip” อยู่ เพื่อให้รู้ว่ามาจากท้องถิ่น มาจาก เอสเอ็มอี อยู่ที่แนวคิด วิธีคิด และโอกาส ถ้าเป็นค้าส่งจะอยู่ภายใต้ บริษัท พรทิพย์ พรีเมี่ยม จำกัด ถ้าเป็นการผลิตอยู่ภายใต้ บริษัท พรทิพย์ (ภูเก็ต) จำกัด”

นอกจากนี้ การขายสินค้าจะส่งไปตามกลุ่มร้านค้า มีกลุ่มของเซเว่นอีเลฟเว่นที่เป็นทุเรียนฟรีซดราย กลุ่มของบิ๊กซีเป็นทุเรียนฟรีซดรายกับทุเรียนแห้ง และกลุ่มของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นผลไม้อบแห้ง เครื่องดื่มทุเรียน ผลไม้แปรรูป และปลาข้าวสารแปรรูป และกลุ่มแฟมิลี่มาร์ท เป็นผลไม้อบแห้ง ร้านดอยคำจะเป็นปลาข้าวสารแปรรูป และกลุ่มโกลเด้นเพลส เป็นปลาข้าวสารแปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูป ทิฟฟี่ทุกสาขา เป็นน้ำพริก ปลาข้าวสาร เป็นต้น คาดว่าร้านขายของฝากตั้งเป้าขยายตัวไม่เกิน 2 สาขา/ปี เพื่อเปิดสาขาให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักกันมากขึ้น

ชื่ออื่น : คำปูจู้หลวง คำปูจู้น้อย พอทู โพชีโทงซะ ยี่สุ่น African marigold

ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง 15-60 เซนติเมตร เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้าม ขอบใบจักซี่ฟัน ดอกช่อออกที่ปลายยอด สีเหลืองเข้ม ผลแห้งไม่แตก สีดำ ดาวเรือง หายห่วงเรื่องตา

ดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกา ถูกนำเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไรไม่มีใครทราบได้ แต่น่าจะนานมาแล้วเพราะสมัยยายก็มีอยู่แล้ว ตอนเด็กๆ จำได้ว่าในหมู่บ้านนิยมปลูกไว้หน้าบ้านคู่กับบานชื่นเอาไว้บูชาพระ แต่ก่อนดาวเรืองมีแต่ดอกเล็กๆ ไม่มีดอกใหญ่อย่างในปัจจุบัน ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นยาสมุนไพร แต่มีข้อมูลที่อ้างอิงมาจากตำรายาจีนว่า ดอกและราก มีรสขม เผ็ดเล็กน้อย ใช้ขับลม ดับพิษร้อนในตับ แก้วิงเวียนศีรษะ ตาบวม ตาเจ็บ ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คอและปากอักเสบ แก้คางทูม

ครูหมอยาปราจีนบุรีและอีสานไม่มีการใช้ดาวเรืองทางยา แต่เมื่อมีโอกาสไปเก็บความรู้กับหมอยาไทใหญ่เมื่อสิบกว่าปีก่อน จึงได้รู้ว่าดาวเรืองใช้ต้มกินบำรุงตา การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ก็พบว่าดาวเรืองมีสารลูทีน (lutein) ที่ช่วยปกป้องสายตา ปัจจุบันในตลาดต่างประเทศมีสารสกัดจากดาวเรืองและชาดาวเรืองจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสายตา ช่างน่าอัศจรรย์ใจที่ตรงกับการใช้ของพ่อหมอเหล่านั้น

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าสารลูทีน และซีแซนทีน (zeaxanthin) เป็นสารไอโซเมอร์กัน (มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกัน) เป็นสารสีเหลืองที่มีอยู่มากบริเวณจุดโฟกัสของจอประสาทตา เชื่อว่าสารทั้งสองช่วยดูดซับแสงสีฟ้าและแสงยูวีซึ่งมีพลังงานสูง และเป็นสารต้านออกซิเดชันช่วยป้องกันเซลล์รับแสงของตาไม่ให้ได้รับอันตรายจากอนุมูลอิสระ จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีสารลูทีนและซีแซนทีนสะสมอยู่ที่จอประสาทตามาก จะมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration : AMD) อันมีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น

ในสภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้คนเราได้รับรังสียูวีเพิ่มขึ้น ดาวเรืองจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพตา เพราะเป็นพืชดอกที่ปลูกง่ายในบ้านเรา ซึ่งก็คุ้นเคยกับการนำดาวเรืองมาบูชาพระหรือทำเป็นพวงมาลัยอยู่แล้ว แต่การกินเป็นอาหารหรือเป็นสมุนไพรยังมีน้อย ยกเว้นในบางพื้นที่ เช่น แม่ๆ ชุมชนมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้เล่าว่า สมัยก่อนชาวบ้านก็นำยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อนที่ยังตูม (ไม่กินดอกแก่เพราะฉุน) มาจิ้มน้ำบูดูหรือน้ำพริกกินเป็นประจำเชื่อว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้เจริญอาหาร ทุกวันนี้ในลังกาวีก็ยังกินกันอยู่ แต่คนไทยกินกันน้อยลงอาจเป็นเพราะมีผักอื่นๆ มากมาย

อย่างไรก็ตาม การนำดาวเรืองไปปรุงให้สุกก่อนบริโภคจะช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ของลูทีน ดังที่พ่อหมอยาไทใหญ่แนะนำให้นำมาต้มกิน ชงกิน จึงเป็นวิธีที่ถูกต้องกว่า ในด้านความปลอดภัยก็ไม่น่ากังวล เนื่องจากมีการศึกษาพิษเฉียบพลันและพิษกึ่งเรื้อรังโดยให้หนูได้รับสารสกัดลูทีนจากดาวเรือง ผลปรากฏว่าไม่พบความผิดปกติใดๆ

บำรุงสายตา : นำกลีบดอกดาวเรืองไปต้มน้ำกิน หรือชงในน้ำร้อนจัดกิน สามารถกินได้ทั้งน้ำและเนื้อ หรือจะนำมาปรุงกับตับไก่กินเป็นอาหารก็ได้

คางทูมปวดบวมเต้านมและส่วนต่างๆ ตามร่างกาย : นำดอกมาตำผสมกับขมิ้น และข้าวสารที่ได้ทำการแช่จนพองตัว ให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่มีอาการ

รักษาแผลฝี มีน้ำหนอง แผลอักเสบต่างๆ : นำรากและใบของต้นดาวเรืองมาตำผสมกับใบฟ้าทลายโจรให้ละเอียดแล้วนำมาพอกแผลบริเวณที่มีอาการ

แก้อาการปวดฟัน รักษาแผลในช่องปาก ปากเปื่อย : นำดอกและรากแห้ง ประมาณ 1 กำมือ ต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือดประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่ม ครั้งละ 1/2 แก้วชา วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น อมบ่อยๆ เมื่อมีอาการปวด หรือนำดอกดาวเรืองแห้งประมาณ 5 ดอก กระเทียม 2 กลีบ ต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือด โดยให้น้ำเหลือ 1/2 ส่วน ดื่มอุ่นๆ เมื่อมีอาการ

ดาวเรืองเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นสิริมงคล ในบางประเทศกินดอกดาวเรืองเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ปลูกดาวเรืองร่วมกับผักจะช่วยไล่แมลงในแปลงผัก ดอกที่แก่จัดฉุนมากๆ สามารถนำมาขยำกับน้ำ ใช้น้ำรดผักและต้นไม้เพื่อไล่แมลง นำมาสกัดสี ทำสีผสมอาหารได้ นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นน้ำหอมและใช้ไล่แมลงได้

ดอกดาวเรืองยิ่งสีเหลืองจัดยิ่งมีสารลูทีนมาก นำไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสวยตามธรรมชาติ และมีประโยชน์มากขึ้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ ปรับแผนเตรียมรับปัญหาลำไยล้นตลาด เล็งคัดลำไยคุณภาพ 3,000 ตัน มูลค่า 90 ล้านบาท ใช้กลไกสหกรณ์เร่งกระจายสู่ผู้บริโภคภายในประเทศ สั่งซื้อโดยตรงที่สหกรณ์และสั่งซื้อผ่านไปรษณีย์ไทย พร้อมการันตีผลไม้จากสหกรณ์ทุกชนิดก่อนส่งถึงผู้บริโภค ต้องเป็นสินค้าดี มีคุณภาพ พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่สั่งซื้อลำไยจากสหกรณ์ หากได้รับสินค้าที่มีคุณภาพไม่ตรงตามที่ต้องการ ยินดีคืนเงินหรือส่งสินค้าใหม่ไปเปลี่ยนให้ทันที

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ปัญหาลำไยราคาตกต่ำว่า ปีนี้ลำไยภาคเหนือคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตออกมาจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลทำให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว กรมส่งเสริมสหกรณ์ จึงได้หาแนวทางเสริมในการช่วยแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำและช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ โดยใช้ระบบสหกรณ์เป็นกลไกในการรวบรวมผลผลิตและกระจายผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ และจะร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายลำไยด้วย ซึ่งเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ได้มีการประชุมตัวแทนสหกรณ์ที่รวบรวมลำไยสดใน 6 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 15 แห่ง วางแผนในการรวบรวมลำไยสด และส่งกระจายผ่านช่องทางตลาดต่างๆ โดยกระทรวงพาณิชย์จะมีงบอุดหนุนให้กับสหกรณ์ในการระบายผลผลิต และสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้สหกรณ์รวบรวมลำไยไว้แปรรูปเป็นลำไยอบแห้งเพื่อรอการจำหน่ายในฤดูกาลหน้า เพื่อดึงพ่อค้าที่ต้องการซื้อลำไยอบแห้งเข้ามา คาดว่าน่าจะทำตลาดได้ดีกว่าขายเป็นลำไยสด

“เป้าหมายสหกรณ์ในการรวบรวมผลผลิตลำไยแบบสด คาดว่าจะดำเนินการได้ประมาณ 3,000 ตัน มูลค่า 90 ล้านบาท เพื่อทำตลาดลำไยสดช่อคุณภาพ ลูกสม่ำเสมอ ซึ่งขณะนี้มีสหกรณ์ 7 แห่ง ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ พะเยา เชียงใหม่ และน่าน ได้ส่งเสริมสมาชิกให้ผลิตลำไยคุณภาพอย่างต่อเนื่องและพยายามรักษาตลาดเดิมเอาไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับประทานลำไยรสชาติดีมีคุณภาพ โดยทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย จะเปิดรับออเดอร์จากผู้บริโภคปลายทาง แล้วแจ้งยอดการสั่งซื้อลำไยกับทางสหกรณ์ ซึ่งสหกรณ์จะดำเนินการตามกลไกตลาดปกติ

ดูดซับลำไยบางส่วนออกมาจากพื้นที่ นำมาคัดเกรดเป็นลำไยสดช่อคุณภาพดี ขนาดไม่เกิน 80 ลูก ต่อกิโลกรัม มีสัดส่วน ขนาด AA : A 70 : 30 ก้านช่อยาวไม่เกิน 6 นิ้ว และบรรจุลงตะกร้า ขนาด 10 กก. ตะกร้า ขนาด 3 กก. และกล่องกระดาษ ขนาด 10 กก. ราคาขายจะเป็นราคารับซื้อจากเกษตรกรบวกค่าบริหารจัดการตามระยะทาง ที่กำหนดในเบื้องต้นราคาจำหน่ายลำไยคุณภาพสดช่อถึงมือผู้บริโภค 30-34 บาท ต่อกิโลกรัม และจะมีการรับประกันสินค้าด้วย หากเปิดกล่องออกมาไม่ได้คุณภาพตามที่ผู้บริโภคต้องการ ทุกสหกรณ์ยินดีคืนเงินให้ หรือส่งสินค้าใหม่ไปเปลี่ยนให้ทันที เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่สั่งซื้อลำไยจากสหกรณ์” รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวต่อว่า ภาพรวมตลาดลำไยของ 7 สหกรณ์ ผลผลิตส่วนใหญ่นำไปอบแห้งทั้งเปลือก ส่งขายตลาดในประเทศจีนเป็นหลัก ซึ่งการทำตลาดลำไยรูดอบแห้งสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ซึ่งการขายลำไยอบแห้งจะขายได้ดีกว่าลำไยสด และคุ้มค่ากับต้นทุนมากกว่า ซึ่งสหกรณ์จะแบ่งตลาดชัดเจน ลำไยสดจะขายตลาดในประเทศ ลำไยอบแห้งส่งขายประเทศจีน เนื่องจากคนจีนนิยมลำไยอบแห้ง เพราะเขาใช้ลำไยอบไปเซ่นไหว้และกินเป็นยาอายุวัฒนะ ที่ผ่านมา ราคาลำไยสดจะขึ้นอยู่กับตลาดลำไยอบแห้งเป็นหลัก

แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะอยู่ที่กิโลกรัมละกี่บาท เพราะในแต่ละปี ตลาดลำไยสดขนาดใหญ่ของไทยคือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งไทยได้ส่งลำไยไปขายอินโดนีเซีย ปีละประมาณ 90,000 ตัน และในฤดูกาลปีนี้ที่ลำไยกำลังจะออกสู่ตลาด ทางอินโดนีเชียห้ามนำลำไยสดจากประเทศไทย จึงคาดการณ์ว่าเมื่ออินโดนีเซียไม่นำเข้าลำไยสดจากไทย อาจส่งผลกระทบให้ลำไยในประเทศราคาตกต่ำ จึงต้องใช้กลไกสหกรณ์เข้ามาช่วยรองรับผลผลิตลำไยของเกษตรกรและเร่งกระจายสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม กรมฯมีนโยบายในการส่งเสริมตลาดผลไม้ของสหกรณ์

จะคัดเฉพาะที่มีคุณภาพทั้งหมด เพื่อให้ผู้บริโภคที่อยู่นอกแหล่งผลิตได้บริโภคสินค้าดีมีคุณภาพ เนื่องจากที่ผ่านมา เกษตรกรส่วนใหญ่จะคัดของคุณภาพดีส่งขายตลาดต่างประเทศก่อน ดังนั้น จะต้องปรับบทบาทให้สหกรณ์เป็นผู้ผลิตผลไม้คุณภาพดีส่งให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับประทาน โดยจะเริ่มจากการทำตลาดลำไยคุณภาพในเดือนกรกฎาคมนี้

สศก. ติดตามโครงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ณ บ้านหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เผยผลสำเร็จโครงการ เกษตรกรสามารถลดค่าน้ำมันเพื่อสูบน้ำถึงไร่ละ 447 บาท ก่อเกิดโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ได้รับน้ำทั่วถึงทุกแปลง เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น ผลผลิตเพิ่ม เสริมรายได้ แถมก่อเกิดความสามัคคีร่วมกันในพื้นที่

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการจัดรูปที่ดิน และจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ปี 2560 โดยกรมชลประทาน จำนวน 58 โครงการ พื้นที่รวม 95,490 ไร่ เพื่อปรับพื้นที่นาของเกษตรกร สามารถวางแผนการส่งน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำจากคลองส่งน้ำชลประทาน ให้สามารถแพร่กระจายน้ำได้ถึงทุกแปลงเพาะปลูกอย่างรวดเร็ว เกษตรกรได้น้ำตามปริมาณและช่วงเวลาที่พืชต้องการ และมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการทำการผลิต

จาก การติดตามประเมินผลโครงการ ของ สศก. ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในพื้นที่จัดรูปที่ดิน ณ บ้านหัวเขา ต. หัวเขา อ. เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี พบว่า มีพื้นที่โครงการ 1,390 ไร่ เกษตรกร 100 ราย มีการจัดรูปที่ดินแบบสมบูรณ์แบบ (Intensive) โดยนำพื้นที่ทั้งหมดมารวมกัน แล้วแบ่งพื้นที่ออกเป็นรูปแปลงสี่เหลี่ยมที่มีแนวถนน ทางลำเลียง คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ มีการปรับระดับแปลงนาให้สม่ำเสมอ และออกโฉนดฉบับใหม่ให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเพื่อการสูบน้ำ เหลือไร่ละ 77 บาท ลดลง ไร่ละ 210 บาท (เดิมจ่าย ไร่ละ 287 บาท) เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังสามารถลดค่าน้ำมันเพื่อการสูบน้ำ เหลือไร่ละ 71 บาท ลดลง ไร่ละ 237 บาท (เดิมจ่าย ไร่ละ 308 บาท) ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยลดค่าน้ำมันเพื่อสูบน้ำ ถึงไร่ละ 447 บาท

จะเห็นได้ว่า โครงการช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุน โดยเฉพาะค่าน้ำมันเพื่อการสูบน้ำได้เป็นอย่างดี โดยภาพรวม พบว่า ต้นทุนเงินสดของเกษตรกรพื้นที่จัดรูปที่ดิน ณ บ้านหัวเขา ในการผลิตข้าวนาปี อยู่ที่ 3,813 บาท ลดลง ไร่ละ 177 บาท (ก่อนมีการจัดรูปที่ดิน ต้นทุนเงินสด อยู่ที่ไร่ละ 3,990 บาท) และต้นทุนเงินสดของเกษตรกรในการผลิตข้าวนาปรัง อยู่ที่ไร่ละ 3,963 บาท ลดลง ไร่ละ 163 บาท (ก่อนการจัดรูปที่ดินมีต้นทุนเงินสด ไร่ละ 4,126 บาท)

นอกจากนี้ หลังจากมีโครงการ เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มขึ้น และเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากที่สุด เพราะเห็นว่ามีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ มีน้ำใช้ มีการระบายน้ำที่ดี และการสัญจรเข้าออกแปลงนาสะดวก เกษตรกรจะได้รับน้ำทั่วถึงทุกแปลงตามปริมาณและช่วงเวลาที่พืชต้องการใช้น้ำ ทำให้สามารถวางแผนการเพาะปลูกได้ใกล้เคียงความเป็นจริง ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ประหยัดน้ำต้นทุน มีน้ำเหลือเพียงพอสำหรับการปลูกพืชฤดูแล้ง เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความรักความสามัคคีรักถิ่นฐาน ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาต่างๆ ของสังคมได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกษตรกรในพื้นที่ควรมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งการรวมกลุ่มบริหารจัดการด้านการผลิตและเชื่อมโยงการตลาดเพื่อรองรับผลผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรต่อไป

เตือน พายุโซนร้อน เอวิเนียร์ ทวีความรุนแรงจากพายุดีเปรสชั่น กรมอุตุนิยมวิทยาเผย เตรียมถล่ม ภาคเหนือ-อีสาน ฝนกระหน่ำซัด 34 จังหวัด
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ “พายุดีเปรสชั่น บริเวณทะเลจีนใต้” ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2561 ระบุว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (6 มิ.ย. 61) พายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน “เอวิเนียร์” (EWINIAR) แล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไหหลำ ประเทศจีน ประมาณ 110 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 20.6 องศาเหนือ ลองติจูด 110.3 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่ทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในวันพรุ่งนี้ (7 มิถุนายน 2561) ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย ซึ่งพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย และขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด