กิจกรรมอย่างหลัง ที่เรียกร้องความสมบูรณ์สวยงามของพริก

นำมาซึ่งการระวังป้องกันต้นพริกในไร่จากแมลงและโรคพืช ด้วยมาตรการต่างๆ จนในที่สุดก็มาถึงการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งย่อมมีรายจ่ายและผลลบต่อคุณภาพของพริกในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อมองจากกรอบของพืชผักอินทรีย์ (Organic) นั่นก็คือ ความเสี่ยงที่จะพลอยได้รับสารพิษตกค้างจากการกินพริก ทำให้สะสมในร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดโรคความเสื่อมสภาพ เช่น โรคไต เบาหวาน หรือมะเร็ง ง่ายขึ้นนั่นเอง

จากการแถลงผลการตรวจสารเคมีตกค้างในพืชผักผลไม้ โดยองค์กร Thai-PAN เครือข่ายหน่วยงานเฝ้าระวังและเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่า พริกแดง ครองตำแหน่งอันตรายสูงสุด เพราะในการสุ่มตรวจพริกแดง จำนวน 138 ตัวอย่าง จากแหล่งจำหน่ายเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่และอุบลราชธานี ระหว่าง วันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2559 ได้พบสารพิษในพริกแดงครบทุกตัวอย่างที่เก็บมาเลยทีเดียว

ตัวเลขนี้เป็นที่เข้าใจได้…หลายปีมาแล้ว ผมเคยไปสังเกตการณ์การทำไร่พริกของชาวบ้านแถบนครสวรรค์ พวกเขาปลูกพริกขี้หนูเม็ดยาวพันธุ์ผสม ชื่อว่า พันธุ์ Champion Hot ภายใต้ความควบคุมของพ่อค้าคนกลางที่อิงอยู่กับกลไกตลาดส่วนกลางอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ว่าจะต้องปลูกพันธุ์ไหนที่นิยมในขณะนั้น ต้องใช้เฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่พ่อค้าเอามาขาย ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลผลิตสมบูรณ์ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

ตอนนั้น พวกเราถามว่า ฉีดยาฆ่าแมลงนี่ต้องฉีดบ่อยไหม“อาทิตย์ละครั้ง” เขาว่า “กลิ่นยามันหอมชื่นใจชาวไร่พริกเลยล่ะ” จำได้ว่าเขาหัวเราะขื่นๆ แล้วบอกว่า “สูดอยู่ทุกวัน มันก็สะสมอยู่ในร่างกายนี่แหละ ไม่ไปไหนหรอก มีหมอจากโรงพยาบาลมาตรวจที่สถานีอนามัย เขาเกณฑ์ลูกบ้านไปตรวจสารพิษในร่างกายกัน โอ้โห! มีหมดทุกคนเลย จะมากจะน้อยเท่านั้น”

ผมจำได้ว่า ใครคนหนึ่ง (สงสัยจะเป็นผมเอง?) ถามคำถามโง่ๆ ออกไป ทำนองว่า ไม่กลัวสารพิษสะสมในร่างกายกันเหรอ

“ก็แล้วจะทำไงล่ะ?” คือคำตอบ หลังจากนั้นผมก็ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง ถึงการต้องยอมรับสภาพถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ระบบเอาของไปก่อนจ่ายเงินทีหลัง แถมจ่ายน้อยกว่าที่ตกลงโดยอ้างลอยๆ ว่าตลาดรับซื้อถูกกว่าปกติ ไหนจะราคาเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา ที่สูงขึ้นๆ ฯลฯ มาได้ยินเอาก็ประโยคสุดท้าย ที่ว่า

“ปลูกพริกนี่ยิ่งทำยิ่งจน บอกตรงๆ เลย”

เกือบ 10 ปีผ่านไป ผมรู้มาว่า พื้นที่แถบนั้นปลูกพริกน้อยลงแล้ว ชาวบ้านหันไปปลูกแคนตาลูป เมล่อน มันสำปะหลัง แต่ก็ในเงื่อนไขเดิม คือทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา แผ่นผ้าพลาสติก ระบบน้ำหยด ตลอดจนการส่งขาย อยู่ในกำกับของพ่อค้าคนกลางอย่างเบ็ดเสร็จ

จะว่าไปมันก็แปลก เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง ผมก็ได้ไปดูไร่พริกแถบสมุทรสาครด้วย แต่เป็นไร่ที่พวกเจ้าของต่างปฏิเสธการปลูกและดูแลด้วยวิธีทางเคมี จึงพยายามรวมกลุ่มกันปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง แล้วคิดหาหนทางเอาไปจำหน่ายที่ตลาด โดยว่าจ้างเหมารถกันเอง เก็บเมล็ดพันธุ์ คัดกรองสายพันธุ์กันเองแทบทั้งหมด

ประสบการณ์ที่แตกต่าง 2 เรื่องนี้ ทำให้ผมแปลกใจว่า ทำไมความเป็นไปได้ในการต่อสู้หาทางออกที่ดีกว่าของชาวไร่พริกแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน

ชะรอยจิตวิญญาณ (spirit) ของชาว “บางช้างสวนนอก” ยังคงรุนแรงสืบมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา? ผมมาลองนึกถึงการปลูกพริกแบบอื่นๆ ที่เราจะไม่ต้องเสี่ยงกินสารเคมีแถมไปด้วย ก็จำได้ว่า ที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี มีปลูกพริกกะเหรี่ยงกันมาก ที่ตำบลยางน้ำกลัดเหนือและยางน้ำกลัดใต้ คนกะเหรี่ยงแถบนั้นปลูกพริกไว้ตามเชิงเขาและเนินดินย่อมๆ แซมในแปลงข้าวไร่ ด้วยวิธีแบบให้เทวดาเลี้ยงจริงๆ คือไม่ต้องดูแล ไม่ว่าจะน้ำ ปุ๋ยเคมี และยาฉีดพ่น เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว

“พริกกะเหรี่ยงจะกลายพันธุ์ รสชาติจะไม่เหมือนเดิม แม่ค้าจะไม่รับซื้อเลย เพราะเขาดูรู้”

คนกะเหรี่ยงยังบอกอีกว่า การปลูกแซมในไร่ข้าวนี้ ทำให้ได้ผลผลิตดีกว่าปลูกแต่พริกอย่างเดียว ต้นก็แข็งแรงด้วย โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน อันเป็นช่วงก่อนหมดฤดูกาล พวกเขาจะมีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรอบปีถัดไป

นอกจากไร่พริกกะเหรี่ยงหนองหญ้าปล้อง ผมเคยได้ยินชื่อบ้าน “หุบพริก” บ้าง “เขาพริก” บ้าง ในหลายๆ แห่ง นั่นคงแสดงว่ามันเคยเป็นแหล่งพริกธรรมชาติมาแต่เดิม ดังที่ผมเคยทราบจากกลุ่มคนเก็บผักป่าผักทุ่งแถบอำเภอวังน้ำเขียว ว่าที่ไปตระเวนเก็บๆ กันนั้น พวกเขาเก็บได้พริกด้วย เป็นต้นพริกที่ขึ้นเองตามโคกตามดอนที่แห้งแล้ง พริกพวกนี้กลิ่นฉุน รสเผ็ดจัด ทำกับข้าวได้อร่อย

มันทำให้ผมนึกถึงสภาพดิน น้ำ อากาศ ตาม 2 ข้างทางหลวงชนบทหลายสาย ที่ผมเคยเก็บกะเพราป่าฉุนๆ มาผัดกินได้อร่อยเหนือพ้นคำบรรยาย ระยะหลัง ผมเลยชอบพกเอาเมล็ดพืชติดตัวไปด้วย พอเล็งเห็นที่เหมาะๆ พวกเมล็ดบวบ น้ำเต้า ถั่วพู ถั่วแปบ จะถูกแกะจากซอง หว่านโปรยเข้าไปในพงหญ้าข้างทาง ด้วยหวังว่ามันอาจเติบโตขึ้น แข็งแรง ให้ดอกผลฝักใบเป็นผักหญ้าผลาหารไม่แก่คนก็สัตว์ได้บ้าง

ครั้งต่อไป และต่อๆ ไป ผมคิดว่าจะเอาเมล็ดพริกกะเหรี่ยงไปด้วย…มันต้องมีวิธีอื่นๆ บ้างสิ ที่จะหาพริกอินทรีย์กินแบบสบายใจ แถมยังรสชาติดี เผ็ดฉุนหอมตามธรรมชาติ

ใช่แล้วครับ…ผมคิดว่า ถ้าจะมีใครสักคนที่สามารถสร้าง “หุบพริก” ขึ้นมาได้อีกครั้ง ก็คงจะเป็น “ธรรมชาติ” นั่นเองครับ…เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2562) กลุ่มเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ได้รวมตัวกันที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเข้ายื่นเอกสารรายชื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบและร้องขอให้พิจารณาช่วยเหลือ จำนวนกว่า 10,000 ราย โดยมี นายสาธิต สุทธิเสริม หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน

ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับมอบดังกล่าว ภายหลังการยื่นเอกสาร นางเยาวมาลย์​ ค้าเจริญ​ ประธานคณะกรรมการด้านปศุสัตว์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ได้แก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเป็นการเหมาที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 จากเดิมหักได้ ร้อยละ 85 เปลี่ยนมาให้หักได้ร้อยละ 60 ซึ่งมีผลกระทบต่อเกษตรกรที่ประกอบ

อาชีพภาคเกษตร เช่น การทำป่าไม้ สวนยาง ไม้ยืนต้น การจับสัตว์น้ำ การทำเกษตรกรรมพืชล้มลุก การเลี้ยงสัตว์ การทำนาเกลือ ทั้งนี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติได้รับการร้องขอจากเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรต่างๆ เช่น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เครือข่ายโคเนื้อ กลุ่มชาวไร่อ้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรี สมาคมประมงแห่งประเทศไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้

สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ เป็นต้น เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรเหล่านี้มีความเห็นว่าการประกอบอาชีพของพวกเขายังประสบปัญหาเป็นอย่างมากที่รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจะมีผลกำไรบ้างในรอบการผลิต และบางรอบการผลิตก็ขาดทุน แต่ในปีภาษีต่างๆ นั้นไม่เคยได้กำไรถึงร้อยละ 40 ของราคาขายผลผลิต โดยข้อเท็จจริงนี้สามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) หรือเปรียบเทียบข้อมูลการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำฐานข้อมูลอ้างอิงภาคราชการ

ด้าน นายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ได้ร่วมลงชื่อกว่า 10,000 ราย เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีที่มีเจตนาบริหารประเทศให้ประชาชนอันรวมถึงเกษตรกรด้วย ได้มีความเป็นอยู่ที่มั่นคง มั่งคั่ง

ยั่งยืนในการประกอบอาชีพต่อไปได้ก็ต้องให้เกษตรกรสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ด้วย การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนแต่ก็ต้องเรียกเก็บอย่างสมเหตุสมผล การเรียกเก็บภาษีจากวงเงินร้อยละ 40 ของรายได้โดยให้ยินยอมให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60 ของรายได้นั้น เป็นการแตกต่างจากความเป็นจริงมาก จึงขอได้โปรดพิจารณาปรับค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินกลับไปใช้ร้อยละ 85 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หรือขอให้โปรดชะลอการบังคับใช้ออกไปอีก 5 ปี

สัมผัสดินแดนแห่งสายหมอกอันมีเสน่ห์ไม่ซ้ำใคร กับนักเดินทาง “จ๊อบ – นิธิ สมุทรโคจร” บุกชุมชนบ้านห้วยปลาหลด จังหวัดตาก ท่ามกลางบรรยากาศอันแสนสงบของบ้านเล็กกลางหุบเขา ที่โอบล้อมไปด้วยทัศนียภาพอันเขียวขจี สูดกลิ่นอายธรรมชาติอย่างแท้จริง

ชิลเอ้าท์กับนักเดินทางรุ่นใหญ่ จ๊อบ – นิธิ แท็คทีมกับไกด์รุ่นจิ๋ว น้องจะหมอ หนุ่มน้อยชาวมูเซอดำแห่งบ้านห้วยปลาหลด จะพาไปสัมผัสโลกใบน้อยกลางป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ ไกด์หนุ่มน้อยพาไปเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟ และเรียนรู้ขั้นตอนการแปรรูปจนกลายมาเป็นกาแฟหอมกรุ่นพร้อมเสิร์ฟ จากนั้นไปสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบคนพื้นเมือง ลิ้มลองอาหารถิ่นรสเลิศของชาวมูเซอดำ แวะพักโฮมสเตย์ ที่เตรียมไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเสพกลิ่นอายธรรมชาติ กินแบบคนธรรมดา เที่ยวแบบคนธรรมดา

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง ผลการติดตามการดำเนินงานจัดระบบการปลูกพืชฤดูฝนในพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำ ในโครงการบางระกำโมเดล ปี 2561 ซึ่งมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ สศก. รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งโครงการดังกล่าว ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพิษณุโลก และ จังหวัดสุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ 20 ตำบล 93 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ 382,000 ไร่ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเก็บเกี่ยวข้าวนาปีให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการระบายน้ำเข้า-ออก ทุ่งบางระกำ การส่งเสริมการทำประมง เลี้ยงสัตว์ ฟื้นฟูสภาพน้ำและดิน การปลูกพืชเศรษฐกิจหลังนา และการส่งเสริมการท่องเที่ยว

ผลจากการดำเนินงาน พบว่า พื้นที่โครงการบางระกำโมเดล สามารถรองรับน้ำหลาก เป็นพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ ในช่วงวิกฤติของแม่น้ำยม และใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำ เพื่อชะลอการระบายน้ำ ลดผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยในปีที่ผ่านมาสามารถชะลอการระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบจากพายุเซินติญ และ เบบินคา ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวตามช่วงเวลาที่มีการปรับแผนการจัดระบบปลูกพืชและเก็บเกี่ยวข้าวได้ 100% ส่งผลให้พื้นที่เป้าหมายของโครงการที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวรวมทั้งสิ้น 312,600 ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหาย เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการทำอาชีพประมง และแปรรูปผลผลิตประมง อาทิ ปลาส้ม ทอดมันปลา ปลาร้า ปลาแดดเดียว น้ำปลาปลาสร้อย โดยในช่วงหลังน้ำลด ได้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจหลังนา และหน่วยงานภาครัฐเข้ามาให้ความรู้ด้านการเพาะปลูก และการดูแลรักษา ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงฤดูน้ำหลาก เช่น งานเทศกาล ไหว้หลวงพ่ออินทร์ กินปลา ชมหมาบางแก้ว จังหวัดพิษณุโลก และเทศกาลกินปลา จังหวัดสุโขทัย

ด้าน นายบุญลาภ โสวัณณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (สศท.2) กล่าวเสริมว่า จากการลงพื้นที่ติดตามสัมภาษณ์ข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 180 ตัวอย่าง ทั้ง 2 จังหวัด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจที่ได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ถึงแม้ปีเพาะปลูก 2561/62 ปริมาณน้ำฝนจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่เกษตรกรทุกราย สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวนาปีได้ตามปฏิทินที่โครงการกำหนดไว้ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด ได้แก่ กข 41 กข 43 และ กข 61 และเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เคยใช้อยู่เดิม เช่น กข 29 กข 51 และ กข 57 เป็นต้น อีกทั้งคุณภาพผลผลิต ที่เกษตรกรได้รับอยู่ในระดับดี ไม่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

ทั้งนี้ ภาพรวม พบว่า เกษตรกรพึงพอใจต่อภาพรวมโครงการเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ภาครัฐช่วยขุดคลองในบริเวณพื้นที่ตื้นเขินเพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำในช่วงที่เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ รวมทั้งขอให้ภาครัฐแจ้งแผนการปล่อยน้ำ และปริมาณน้ำให้เกษตรกรทราบอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวให้ตรงตามที่โครงการกำหนด และสนับสนุนอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ที่นอกเหนือจากการทำประมงในช่วงฤดูน้ำหลาก เนื่องจากบางปีฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกษตรกรไม่สามารถทำประมงได้ รวมทั้งช่วยสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ในการผลิตและจำหน่าย เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองการตลาด ให้มากขึ้น ซึ่งในปี 2562 เกษตรกรยังต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการ ขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวเหมือนกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่เกษตรกร สำหรับท่านที่สนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 โทร. (055) 322-650 และ (055) 322-658 หรือ อี-เมล zone2@oae.go.th

นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมอาหารปลอดภัยและการตลาดนำการผลิต ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 4 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กับ บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด หรือตลาดไท ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กระทรวงเกษตรฯ

มีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยร่วมมือกับ บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด หรือตลาดไท ในฐานะตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรที่มีส่วนสำคัญในการดูแลเกษตรกรให้เข้าถึงตลาดได้ง่าย และทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด มีคุณภาพสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ซึ่งตลาดไทได้ริเริ่มโครงการ “ผักปลอดภัย ผักร่วมใจ” ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 จนถึงเดือนมกราคม 2562 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ รวม 42 กลุ่ม จาก 18 จังหวัด มีสินค้าผัก 40 ชนิด ปริมาณรวม 2,377 ตัน ปัจจุบันมีปริมาณเข้าสู่ตลาดวันละประมาณ 29 ตัน โดยมีระบบการบริหารจัดการให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ขณะที่ราคาผักร่วมใจที่จำหน่ายก็ไม่สูงกว่าผักทั่วไปมากนัก นอกจากนี้ ตลาดไทได้ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ สนับสนุนเจ้าหน้าที่การตลาดมาช่วยส่งเสริมการขาย และสนับสนุนค่าบรรจุภัณฑ์/QR Code ในช่วง 4 เดือนแรกให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP/Organic Thailand และมีระบบการบริหารจัดการที่ดีในการควบคุมคุณภาพสินค้า

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายภายใต้โครงการไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของแนวคิดการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับตลาดไท ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมเกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน และการต่อยอดพัฒนาช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อบูรณาการและสนับสนุนการดำเนินโครงการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องมีความร่วมมือกันให้มากขึ้นและชัดเจนขึ้นในทุกระดับ

ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค โดยกรมวิชาการเกษตรจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการตรวจสอบรับรองการผลิต การให้ความรู้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ การตรวจสอบย้อนกลับ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จะมีบทบาทสำคัญในการคัดเลือก ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ตามขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานแล้วเชื่อมโยงการตลาดกับตลาดไท ทั้งนี้ ในปี 2563 กระทรวงเกษตรฯ และตลาดไทเตรียมขยายผลไปสู่ โครงการ “ผลไม้ปลอดภัย ผลไม้ร่วมใจ” และโครงการผักผลไม้แปรรูปปลอดภัย ผักผลไม้แปรรูปร่วมใจอีกด้วย

“บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมอาหารปลอดภัยและการตลาดนำการผลิต ที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรและผู้บริโภคต่อระบบการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรของไทย สนับสนุนการพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรของไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีความรู้

ความเข้าใจในการวางแผนการผลิตและการวางแผนการตลาดที่สอดคล้องกับนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม ซึ่งภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ทั้ง 5 หน่วยงาน จะร่วมบูรณาการความร่วมมือ และสนับสนุนด้านบุคลากร วิทยาการสมัยใหม่ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้” นายกฤษฎา กล่าว

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) ประสบผลสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม (วทน.) สร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือทิ้งจาก “มะขาม” ได้แก่ สารสกัดจากเปลือกและเมล็ดมะขาม นำมาพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม มุ่งสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค เสริมความเข้มแข็งให้กับประกอบการ/อุตสาหกรรม

นับเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในการใช้องค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม โดย วว. ได้พัฒนากรรมวิธีในการสกัดสารสำคัญ Tamarind Seed Polysaccharide (TSP) จากแป้งเมล็ดมะขาม ที่มีความบริสุทธิ์และมีเปอร์เซ็นต์ผลผลิตสูง สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่มีกลิ่นหืนด้วยเทคโนโลยีการสกัดที่ไม่ซับซ้อน สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมยา อาหาร และเครื่องสำอาง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการกักเก็บและปลดปล่อยตัวยาได้ดี มีการยึดติดที่ดี มีการบวมน้ำและทนต่อความร้อนสูงได้ดี สามารถพัฒนาเป็นพาหนะในระบบนำส่งตัวยา (drug delivery system) ในระบบทางเดินอาหาร กระพุ้งแก้ม ในช่องปาก และยาหยอดตาในระบบการมองเห็นได้ นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบโพลิเมอร์ทางธรรมชาติที่สามารถพัฒนาเป็นผ้าเส้นใยนาโนจากธรรมชาติได้

จากประสิทธิภาพดังกล่าว วว. ได้พัฒนาสารสกัด TSP จากแป้งเมล็ดมะขามเพื่อเป็นแผ่นฟิล์มโดรเจลใช้ปิดแผลและลดการอักเสบของแผลในช่องปาก ซึ่งสามารถใช้เป็นวัสดุนำส่งตัวยาต้านอักเสบในช่องปากได้

โดยได้พัฒนาเป็นสองผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1. แผ่นฟิล์มโดรเจลบรรจุสารสำคัญยูจีนอล ที่มีอยู่ในใบโหระพา กานพลู จันทน์เทศ และใบพลู ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ยาชา ยาต้านอักเสบที่ช่วยบรรเทาการปวดได้ 2. แผ่นฟิล์มโดรเจลที่บรรจุสารสกัดจากว่านนาง ซึ่งเป็นพืชหอมที่อยู่ในวงศ์ขิง ข่า ใช้ในแผนโบราณรักษาทางผิวอาการหนัง ระบบหัวใจและการหายใจ

มีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์ที่มีอยู่ในขมิ้น มีฤทธิ์ทางยาในการต้านการอักเสบ รักษาแผล ต้านการเกิดออกซิเดชั่น ต้านการเกิดมะเร็ง เป็นต้น ทั้งสองผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบการต้านอักเสบในเซลล์เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน diclofenac และผลิตภัณฑ์แผ่นปิดแผลที่จำหน่ายในประเทศแถบยุโรปชนิดหนึ่งพบว่า ทั้งสองผลิตภัณฑ์สามารถลดการอักเสบในเซลล์ได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศแถบยุโรป โดยผลิตภัณฑ์ที่มียูจีนอลเป็นองค์ประกอบ ลดการอักเสบในเซลล์ได้ดีที่สุดและดีกว่ายามาตรฐาน diclofenac

วว.ยังได้พัฒนาเป็นนวัตกรรม ได้แก่ 1. แผ่นปิดแผลนาโน (Nanofiber-mats) ชนิด non-woven โดยใช้เทคโนโลยีอิเล็กโตรสปินนิ่ง (Electrospinning) ที่บรรจุสาระสำคัญออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรเพื่อปิดแผลที่ผิวหนัง ลดการอักเสบและลดการติดเชื้อของแผลที่ผิวหนัง ทั้งนี้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยดังกล่าวจำนวน 5 ฉบับ และมีการจดลิขสิทธิ์แล้ว 2. แผ่นมาส์กหน้าไฮโดรเจล (Hydrogel mask) เซรั่มบำรุงผิวหน้า ยาสีฟัน รวมถึงสารสกัดที่เป็น food and cosmetic ingredients จากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมะขามส่งออก

นอกจากนี้ วว. ได้ใช้เทคโนโลยีเอ็นแคปซูเลชัน (encapsulation) สารสกัดเมล็ดมะขามในโซเดียม อัลจิเนตเจลบีด : ไอออน-แทม (IONTAM Encapsule) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่พัฒนาขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพของสารสำคัญ (Ingredient) จากสารสกัดเมล็ดมะขาม ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหาร ให้มีความคงตัวและสามารถควบคุมการปลดปล่อยสารสำคัญได้ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เจลบีดสารสกัดเมล็ดมะขามเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร “IONTAM Encapsule” ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำเทคโนโลยีนี้ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ โดยใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไอศกรีม ซูชิ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และขนมปัง เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเกลือแร่ผสมสารสกัดเมล็ดมะขาม เป็นอีกหนึ่งผลงานวิจัยของ วว. ในการเพิ่มมูลค่าของเมล็ดมะขาม สามารถดื่มก่อนหรือหลังการออกกำลังกายเพื่อชดเชยการเสียนํ้าและเกลือแร่ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะ oxidative stress ที่เกิดจากอนุมูลอิสระที่มากเกินไปจากการออกกำลังกายอย่างหนักและยาวนาน ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในระเซลล์ (cytotoxicity test) และสัตว์ทดลอง (oral acute toxicity test) ซึ่งไม่พบความเป็นพิษใดๆ ในการบริโภคปริมาณสูง พร้อมทั้งผ่านการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคในกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 70 ที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเกลือแร่ผสมสารสกัดมะขาม

ผลงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมดังกล่าว เป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของ วว. ในการนำ วทน. เข้าไปช่วยเพิ่มมูลค่าเมล็ดมะขามเหลือทิ้งจากไร่มะขาม เมล็ดมะขามเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมะขามส่งออก ซึ่งจากเดิมเกษตรกรจะขายเมล็ดมะขามโดยมีราคาการจำหน่ายอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 3 บาท ผลจากการเพิ่มมูลค่าดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ ได้มากกว่า 30,000 บาท ต่อกิโลกรัม นับเป็นการสร้างงาน สร้างเงิน ให้เกษตรกร โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึง value chain ของเมล็ดมะขามได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผลงานวิจัย วว. ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. โทร. (02) 577 -9000 โทรสาร (02) 577-9009 E-mail : tistr@tistr.or.th