กุยช่าย ที่นำมาทำพันธุ์ครั้งแรก คุณนิด ซื้อมาจากตำบลหนองงูเหลือม

อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ตอนนั้นจะเป็นต้นพันธุ์ที่เพิ่งถอนจากแปลงมาชนิดไม่ตัดใบตัดรากแถมยังติดดินมาอีกด้วย ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ซื้อมาจำนวน 100 กิโลกรัม หลังจากได้เตรียมดินด้วยการไถด้วยผาล 3 และผาล 7 และตอนยกร่องก็ผสมปุ๋ยมูลสัตว์จำนวนแปลงละ 2-3 กระสอบ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้คราดที่ทำขึ้นเพื่อการปลูกขีดเป็นตารางสำหรับปลูก ช่องละ 30 เซนติเมตร โดยปลูกตรงมุมที่เส้นตัดกัน ต้นพันธุ์ที่ได้มา จะต้องนำไปตัดใบและตัดรากออกเสียก่อน หลังจากนั้น แบ่งเป็นชุดละ 2 ต้น แล้วนำมาแช่เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ฝา ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้นาน 10-15 นาที แทนการแช่น้ำยาเร่งราก ใช้เสียมเล็กๆ ขุดดินลงไปเล็กน้อยให้แค่พอกลบโคนได้ ปลูกหลุมละ 2 ต้น ระยะห่างและระยะแถวตามรอยคราดที่ทำไว้ หลังจากนั้นก็จะโรยฟางให้ทั่วเพื่อรักษาความชื้นทั่วทั้งแปลง

รดน้ำด้วยสปริงเกลอร์ วันละ 3 เวลา เช้า เที่ยง เย็น ครั้งละ 3-5 นาที หลังจากนั้น 2-3 วัน จะหว่านผักพี่เลี้ยงคือ ผักสลัดหรือผักชีลงในแปลงที่ปลูกกุยช่าย เนื่องจากมีพื้นที่ว่างระหว่างต้น ทำให้มีรายได้เสริม เนื่องจากผักสลัดจะใช้เวลาเก็บเกี่ยวแค่ 45-50 วัน และยังเป็นร่มเงาให้กับต้นกุยช่ายอีกด้วย พอกุยช่ายกับผักเริ่มตั้งตัวได้ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะลดเวลารดน้ำในช่วงเที่ยงออก เหลือแค่เช้ากับเย็น

การใส่ปุ๋ยกุยช่ายจะใส่เมื่อกุยช่ายครบ 15 วัน โดยใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 หรือปุ๋ยยูเรีย ด้วยวิธีหว่านแล้วรดน้ำ ก่อนที่จะใส่ปุ๋ยทุกเย็นก่อนหน้านั้นจะงดน้ำ แล้วมาใส่ปุ๋ยตอนเช้า แล้วอัดน้ำเพื่อให้ต้นดูดน้ำที่เจือจางปุ๋ยไปใช้ให้มากที่สุด และจะใส่ปุ๋ย สูตรเสมอ 16-16-16 ทุกๆ 10 วัน เมื่อกุยช่ายครบ 4 เดือน จะตัดเพื่อจำหน่ายได้ หลังจากตัดแล้วจะกำจัดวัชพืชออกด้วยการถอน จะใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน ก็จะเริ่มตัดได้อีกครั้ง

กุยช่ายตามท้องตลาดจะแบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ กุยช่ายใบ กับ กุยช่ายดอก การปลูกกุยช่ายดอก จะสลับซับซ้อนกว่า กล่าวคือ ไม่ได้ใช้ต้นปลูก เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดเล็ก ที่ถูกคือ จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ซึ่งเก็บจากต้นในสวนรุ่นต่อรุ่น ใช้เมล็ดหว่านในร่องแล้วคลุมด้วยฟาง จะใช้เวลา 15-20 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ใช้เวลาอยู่ในแปลงเพาะ 4 เดือน ต้นจะสมบูรณ์เต็มที่ แต่ยังไม่แตกกอ ก็จะถอนต้นพันธุ์มาตัดรากและใบ ปลูกเหมือนปลูกกุยช่ายใบ จะใช้เวลาอีกทั้งหมด 4 เดือน รวมเป็น 8 เดือน จึงจะเก็บผลผลิตได้

ก็จะเริ่มเก็บได้ครั้งแรก 3-4 วันครั้ง ระหว่างนี้ก็จะปลูกผักสลัดหรือผักชีเพื่อเป็นรายได้เสริมก่อนการเก็บกุยช่าย เก็บได้ประมาณ 2 เดือน ก็จะตัดกอจำหน่ายเป็นกุยช่ายใบเป็นครั้งแรก ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ใบและดอกก็จะเก็บได้ เก็บได้ 45 วัน รวมเป็น 2 เดือนพอดี ก็จะตัดกอจำหน่ายเป็นกุยช่ายใบ เป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3-4 และครั้งที่ 5 ใบเริ่มจะน้อยและมีขนาดเล็กลง ก็จะเริ่มทำกุยช่ายขาวแทน

กุยช่ายขาว

เมื่อตัดกุยช่ายมีดที่ 4 และมีดที่ 5 ใบกุยช่ายจะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถขายเป็นกิโลได้ ในช่วงนี้ใบจะมีขนาดเล็กจึงต้องขายเป็นเข่ง เพื่อสำหรับนำไปทำขนมกุยช่ายแทน ตอนแรกผู้เขียนเข้าใจว่า กุยช่ายขาว ทำจากกุยช่ายใบ แต่จริงแล้วทำจากกุยช่ายดอก และกุยช่ายดอกก็สามารถตัดใบขายเป็นกุยช่ายใบได้อีก เลยค่อนข้างสับสน การทำกุยช่ายขาวเริ่มจากตัดมีดที่ 5 ก็จะครอบด้วยกระถางเลย สมัยก่อนกระถางจะทำด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันเป็นกระถางพลาสติก เมื่อครอบกระถางแล้ว ก็จะรดน้ำให้ดินนิ่ม จะต้องกดกระถางให้ปากกระถางจมดินลงไป ไม่ให้มีแสงผ่านเข้าได้

ช่วงที่ทำกุยช่ายขาวจะต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพราะกุยช่ายสามารถดูดน้ำได้ทางรากเท่านั้น ใบถูกกระถางครอบไม่สามารถสัมผัสน้ำได้เลย ในวันรุ่งขึ้นให้ใส่ปุ๋ยยูเรียรอบๆ กระถางแล้วรดน้ำ เมื่อถึงวันที่สามต้องขึงซาแรนคลุมกระถาง เพื่อป้องกันความร้อน โดยจะขึงสูงกว่ากระถางประมาณ 50 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ตีเป็นโครงเอาแบบง่ายๆ เพราะอีก 7 วัน ก็สามารถตัดกุยช่ายขายได้แล้ว นับรวมเวลาที่ครอบจะใช้เวลาเพียง 10 วันเท่านั้น เพื่อทำกุยช่ายขาว หลังจากทำกุยช่ายขาวแล้วจะต้องเว้นระยะการทำไป 1 รุ่น คือ 2 เดือน

โดยปล่อยให้ต้นกุยช่ายเติบโตตามปกติและเก็บดอกขายไปเรื่อย พร้อมตัดกอขายเป็นกุยช่ายใบเมื่อครบ 2 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถทำกุยช่ายขาวได้อีก วนเวียนกันไปแบบนี้จนต้นโทรม จะทำกุยช่ายขาวต่อได้อีก 4-5 ครั้ง รวมระยะเวลาต้นกุยช่ายที่หว่านเมล็ดจนถึงรื้อแปลง จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี 6 เดือน ก็จะเริ่มปลูกกุยช่ายใหม่

ด้านตลาด

การตลาดในปัจจุบัน จะมีแม่ค้ามารับเพื่อส่งตลาดโคราชและตลาดสระบุรีอยู่ 3-4 เจ้า ผลผลิตที่สวนจะมีกุยช่ายใบ กุยช่ายเข่ง (สำหรับทำขนมกุยช่าย) และดอกกุยช่าย นอกจากนี้ ยังมีคนสั่งต้นพันธุ์กุยช่ายดอกไปปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ทางบ้านสวนขจรศักดิ์จะส่งให้ถึงบ้านด้วยต้นพันธุ์ที่ตัดใบและรากแล้ว ประมาณ 40-50 ต้น ต่อกล่อง ในราคากล่องละ 100 บาท พร้อมค่าขนส่ง สามารถเตรียมดินแล้วปลูกได้เลย

สนใจต้นพันธุ์กุยช่าย ติดต่อ เฟซบุ๊ก ใช้ชื่อว่า บ้านสวนขจรศักดิ์ หรือ คุณนิด ที่เบอร์โทรศัพท์ 083-306-8007 ข้าวหอมไชยา เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่อยู่คู่ชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มานานนับร้อยปี มาถึงรุ่นหลังข้าวหอมไชยาเริ่มสูญหายไป ด้วยลักษณะพิเศษที่ต้องใช้ระยะเวลาการปลูกนานกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมปลูก จึงค่อยๆ สูญหายไป แต่ด้วยข้าวหอมไชยาเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เวลาออกรวงกลิ่นจะหอมไปทั่วทุ่ง เวลาหุงจะส่งกลิ่นหอมไปทั่วบ้าน ชาวบ้านอำเภอไชยาจึงอยากอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลาน จึงกลับมารวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา มีการคัดสายพันธุ์ใหม่และตั้งใจฟื้นฟูพันธุ์ข้าวหอมไชยาให้กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง

คุณป้ายินดี เรืองฤทธิ์ ประธานอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง อยู่บ้านเลขที่ 20 บ้านขนอน ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บอกเล่าถึงความเป็นมาของการกลับมารวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยาว่า พันธุ์ข้าวหอมไชยาเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของอำเภอไชยามานานนับร้อยปี ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ช่วงหลังมานี้ ข้าวหอมไชยา ได้หายไป ไม่มีคนปลูก นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายแทนชาวอำเภอไชยาที่ของดีเหล่านี้ได้หายไป ป้าและสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองจึงตั้งใจที่จะพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมไชยาให้กลับมาอยู่คู่ชาวอำเภอไชยาอีกครั้ง ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน ตอนนี้มีสมาชิก จำนวน 14 คน โดยเริ่มฟื้นฟูพันธุ์ข้าวหอมไชยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในช่วง ปี 2544-2546 และตั้งใจว่าต้องทำ จีไอ ให้สำเร็จภายใน ปี’64 ซึ่งในขณะนี้ทางวิสาหกิจชุมชนกำลังทำงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อตอกย้ำว่า ข้าวหอมไชยา เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของที่นี่ ไม่มีที่อื่นปลูกได้เหมือนเรา

ข้าวหอมไชยา อดีตที่เคยหายไป
อยู่ในช่วงพัฒนาและต่อยอด สร้างชื่อเสียงอีกครั้ง
ป้ายินดี เล่าว่า พันธุ์ข้าวหอมไชยา เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เราพยายามหาพันธุ์มาอนุรักษ์ใหม่ โดยได้พันธุ์ข้าวมาจากอาจารย์ชวน เพชรแก้ว ท่านกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอยู่ ซึ่งทางอาจารย์ชวน ท่านไปขอซื้อพันธุ์ข้าวจากเกษตรกรบ้านทือ แล้วนำมาคัดเลือกสายพันธุ์ ในราคาถังละ 300 บาท เอามาเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ แต่เนื่องด้วยสภาพดินที่ไม่สมบูรณ์ เพราะการใช้ปุ๋ยเคมีมาก ทำให้ดินเสีย เมื่อนำเมล็ดข้าวไปปลูกจึงทำให้ไม่ได้ผลเหมือนเมื่อก่อน เราจึงต้องปรับดินให้สมบูรณ์ การปรับปรุงดินจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ต้องทำแบบนี้สะสมกัน ใช้เวลานานกว่า 3-5 ปี ถึงจะได้ดินที่สมบูรณ์ มีสาหร่าย มีบัว มีผักชนิดต่างๆ ที่แสดงถึงความอุดมของดินและน้ำ

“เมื่อก่อนการปลูกข้าวหอมไชยาถือว่าผลผลิตแย่มากๆ 1 ไร่ ได้ข้าวไม่ถึง 20 ถัง แต่ 5 ปีหลังมานี้ เราได้ผลผลิตมากขึ้นเป็น 1 ไร่ ได้ผลผลิต 50-60 ถัง แต่พันธุ์ก็ยังไม่นิ่งเท่าที่ควร ทางกลุ่มจึงนำพันธุ์ที่ได้มาจากอาจารย์ชวน มาคัดเลือกอีกครั้ง คัดเอาเฉพาะที่คิดว่าเมล็ดมีความสมบูรณ์ที่สุด แล้วนำเมล็ดส่งไปที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวที่จังหวัดพัทลุง เพื่อวิจัยคัดสายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ มาถึงปีที่ 4 ทางศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุงส่งพันธุ์ข้าวกลับมาทางกลุ่มเพื่อให้เกษตรกรทดลองปลูกในสภาพภูมิศาสตร์ของถิ่นเดิมที่เป็นข้าวหอมไชยา ปีนี้จะทดลองใน 4 ตำบล 1. ตำบลทุ่ง 2. ตำบลเลม็ด 3. ตำบลป่าเว 4. ตำบลโมถ่าย ซึ่งแต่ละท้องที่จะแบ่งเขตการปลูกในพื้นที่ของแต่ละตำบลอย่างชัดเจน แล้วจะมาดูว่าแปลงข้าวที่ตำบลใดออกมาสมบูรณ์ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด และจะนำไปทำเป็นพันธุ์ต่อไป” คุณป้ายินดี บอก

ข้าวหอมไชยา นุ่ม หอม อร่อย
อีกหนึ่งเอกลักษณ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไชยา
คุณป้ายินดี บอกว่า ปัจจุบัน ที่อำเภอไชยามีพื้นที่ปลูกข้าวหอมไชยาทั้งอำเภอเพียง 70 ไร่ เพราะยังถือเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างที่จะปลูกได้ยาก สืบเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ หรืออุปสรรคในเรื่องของระยะเวลาที่ต้องใช้เวลาการปลูกนานถึง 6 เดือน จึงทำให้ชาวบ้านแถวนี้ไม่นิยมปลูก ทั้งที่จริงๆ แล้ว ข้าวหอมไชยา เป็นข้าวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างมาก ทั้งความหอม นุ่ม ที่ไม่เหมือนที่ไหน จึงอยากชักชวนให้ชาวอำเภอไชยาหันกลับมาปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองนี้ไว้ต่อไป

ขั้นตอนการปลูก…ไม่ยุ่งยาก มีการเตรียมแปลงเหมือนกับปลูกข้าวทั่วไป แต่ระยะการเก็บเกี่ยวค่อนข้างจะเป็นอุปสรรค แต่ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วกว่านี้ก็ไม่ได้ เพราะตัวบ่งชี้ความหอม นิ่ม อร่อย ของข้าว คือ

วิธีการปลูก ข้าวหอมไชยาถ้าอยากให้หอมอร่อย ต้องปลูกด้วยการปักดำถึงจะดี
ระยะเก็บเกี่ยว ระยะเวลาต้องปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวนับได้ 6 เดือน เก็บเกี่ยวช่วงน้ำท่วมพอดี จึงมีความยากลำบากในการเก็บเกี่ยวไปอีกขั้น
ช่วงเวลาการปลูกที่เหมาะสม คือเดือนสิงหาคม ต้องปลูกช่วงนี้เท่านั้นถึงจะได้ผลดี เคยปลูกเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์แล้ว ผลออกมาไม่ดี ข้าวออกรวงแต่ฟ่อหมด
ลักษณะดินต้องร่วน และเป็นนาน้ำลึก ต้นทุนการผลิต … 3,000 บาท ต่อไร่ เท่าๆ กับการปลูกข้าวพันธุ์ทั่วไป ไม่ใช้สารเคมีในการปลูก จะใช้สารชีวภัณฑ์แทน

ผลผลิตต่อไร่… ถ้าดินสมบูรณ์เหมือนสมัยโบราณ ได้ 70 ถัง ต่อไร่ ระยะปลูกถึงเก็บเกี่ยว 6 เดือน ช้ากว่าข้าวทั่วไป 2 เดือน

ลักษณะของเมล็ดข้าว… ป้อมสั้น เหมือนข้าวญี่ปุ่น และมีความเหนียวนิดๆ ลักษณะเด่นข้าวหอมไชยา… ถ้านำไปเปรียบเทียบกับข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไชยาจะแข็งกว่า เพราะข้าวหอมไชยามีอะมิโลสสูงถึง 20% ซึ่งข้าวหอมมะลิทั่วไปมีอะมิโลสเพียง 14% ซึ่งถ้าอะมิโลสต่ำข้าวจะนิ่ม ถ้าสูงข้าวจะแข็ง ดังนั้นข้าวหอมไชยาจะมีความแข็งกว่าข้าวหอมมะลิ แต่ตัวที่ทำให้ข้าวหอมไชยาแตกต่างจากข้าวหอมมะลิ คือ

ความมัน และรสชาติหวานนิดๆ ซึ่งไม่ใช่รสหวานแบบน้ำตาล
ถ้านำข้าวหอมไชยาไปทำข้าวต้มจะสุดยอดมาก ข้าวจะแตกตัวได้ดี มีความเหนียว น้ำข้นและมันมาก นี่คือจุดเด่นที่เราจะชูให้คนข้างนอกได้รู้จักข้าวหอมไชยาของเรา หันมาอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของตัวเอง
อนาคตข้างหน้าสดใสแน่นอน
ป้ายินดี บอกว่า ณ ขณะนี้แม้ทางกลุ่มจะมีการประกันราคารับซื้อข้าวหอมไชยาจากชาวบ้าน ในราคาตันละ 20,000 บาท เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ก็ยังไม่เป็นแรงดึงดูดให้ชาวบ้านหันมาปลูก ด้วยเหตุผลที่ว่ามันยังเป็นความยากลำบาก เนื่องจากสภาพพื้นที่มีน้ำหลาก และต้องเก็บเกี่ยวช่วงน้ำท่วม เอามาตากแดดกับพื้นไม่ได้ ต้องเสียเวลาทำราวสำหรับตากข้าว ซึ่งถือเป็นความยากลำบากในการทำนา ซึ่งตรงนี้ก็อยากชักชวนให้เกษตรกรเปลี่ยนความคิดใหม่ หันมาปลูกข้าวหอมไชยากันให้มากขึ้น เพราะตอนนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาในเรื่องของวิธีการแปรรูปเป็นหลายผลิตภัณฑ์ เช่น

ข้าวสารบรรจุถุงสุญญากาศ 1 กิโลกรัม ราคา 70 บาท
ไอศกรีมน้ำข้าวกล้องงอกข้าวหอมไชยา
อยู่ในช่วงกำลังพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซื้อเครื่องโม่แป้งเพื่อนำมาแปรรูปทำแป้งแห้ง และต่อยอดเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ต้องล่าช้า เพราะส่วนหนึ่งมาจากที่สมาชิกยังผลิตข้าวได้ไม่พอต่อความต้องการของตลาด จึงไม่สามารถต่อยอดสินค้าเพิ่มมูลค่าได้มากมาย

แต่ถ้าหากพี่น้องชาวอำเภอไชยารวมใจกันปลูก รับรองได้ว่าอนาคตข้างหน้าสดใสแน่นอน เพราะเราจะมีผลผลิตเพียงพอที่จะนำมาแปรรูปเป็นหลายผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งถ้าทำปริมาณได้ เรามีตลาดแน่นอน เพราะที่ผ่านมาทางห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลติดต่อเข้ามาขอซื้อ แต่ทางกลุ่มต้องปฏิเสธไป เนื่องจากกำลังการผลิตเรายังไม่พอต่อจำนวนที่เขาต้องการ จึงอยากชักชวนให้พี่น้องชาวอำเภอไชยาหันมาใส่ใจ เลิกมองข้ามสิ่งมีค่าใกล้ตัว

สำหรับท่านที่สนใจอยากอุดหนุน ข้าวหอมไชยา ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา สามารถติดต่อ คุณป้ายินดี เรืองฤทธิ์ ประธานอนุรักษ์กลุ่มพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ได้ที่ เบอร์โทร. 081-606-9274

สวนวังพลากรเมืองตาก สยายปีกปลูก‘อะโวคาโด’ในเมียนมา
หากติดตามข่าวคราวการปลูก “อะโวคาโด” ในบ้านเรา จะเห็นว่าเริ่มแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีผู้คนนิยมรับประทานกันมากขึ้น และส่วนหนึ่งนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือทำเป็นอาหารเสริม เรียกว่าเป็นผลไม้ทำเงินอีกชนิด เพราะหากไปซื้อในตลาดอย่างน้อยแม่ค้าขายก.ก.ละ 40-80 บาท บางช่วงเป็น 100 บาทก็มี

“คุณวรเชษฐ์ วังพลากร” เจ้าของสวนวังพลากร ในเนื้อที่ 19 ไร่ อยู่ที่ ต.รวมไทย อ.พบพระ จ.ตาก ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอะโวคาโดคนหนึ่งของเมืองไทย และน่าจะเป็นรายใหญ่ด้วย โดยมีต้นอะโวคาโดพันกว่าต้น ประมาณ 98%

ส่วนที่เหลือปลูกเงาะและทุเรียนไว้รับประทานเอง จากที่ก่อนหน้านี้เคยปลูกส้มมาก่อน แต่เจอปัญหาโรครุมเร้าจนขาดทุน ต้องปรับมาปลูกอะโวคาโดแทน และยังขยายไปปลูกอะโวคาโดอีกแปลงในเนื้อที่ 80 กว่าไร่ พร้อมกันนั้นยังชักชวนเกษตรกรมาร่วมเป็นเครือข่ายเพื่อส่งผลผลิตให้ นอกจากนี้ยังไปปลูกที่เมืองตองยี ประเทศเมียนมาด้วยจำนวนกว่าหมื่นต้น

คุณวรเชษฐ์เล่าที่มาที่ไปของสวนแห่งนี้ว่า สมัยก่อนเห็นเกษตรกรที่ อ.พบพระ ปลูกอะโวคาโดตามหัวไร่ปลายนาเต็มไปหมด และมักนำไปให้หมูกิน กระทั่งได้ไปดูงานประเทศนิวซีแลนด์ และได้ไปสวนอะโวคาโดที่นั่น จึงได้ซื้อยอดพันธุ์แฮส นิวซีแลนด์มาเสียบ 80 กว่ายอด

แต่เสียบติดเพียง 14-15 ต้น สุดท้ายเหลือ 10 ต้น เลยนำมาลองปลูกที่ อ.พบพระ ช่วงปลายปี 2552 เพราะตอนนั้นทำอาชีพเป็นโบรกเกอร์หามันฝรั่งป้อนให้บริษัทเลย์ฯ อยู่ที่นี่ด้วย พอปีที่ 3 ก็ออกดอก

จากนั้นเลยลองตัดยอดมาเสียบ ลองผิดลองถูกในการขยายพันธุ์ ซึ่งเวลานั้นค่อนข้างยาก ไม่เหมือนในปัจจุบันที่รู้เทคนิคต่างๆ เนื่องจากร่วมมือกับทางนิวซีแลนด์ ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ก็สนใจ โดย ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข ทำวิจัยเรื่องสารสกัดน้ำมันจากอะโวคาโด

และต่อยอดไปถึงผลิตภัณฑ์ทำเป็นตัวเซรั่มเพราะมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวหน้าตึง ชะลอริ้วรอย และได้รางวัลเหรียญทองแดงกลับมาจากการประกวดที่เกาหลีใต้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

หลังจากเห็นว่าปลูกอะโวคาโดที่นี่ได้ผล เลยเลิกอาชีพโบรกเกอร์มันฝรั่ง และหันมาปลูกอะโวคาโดอย่างจริงจังเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยลงทุนเรื่องระบบน้ำ และนำสายพันธุ์ต่างๆ มาเสียบยอด

คุณวรเชษฐ์ให้ข้อมูลว่า ในการปลูกนั้นไปได้ดี แต่เมื่อ 6 ปีที่แล้วติดปัญหาเรื่องการหาตลาดค่อนข้างยาก เพราะคนไทยไม่ค่อยนิยมกัน แตกต่างจากปัจจุบัน

ในสวนวังพลากรนั้นมีอะโวคาโดหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ บัคคาเนีย, แฮส, ปีเตอร์สัน และสายพันธุ์พื้นเมือง พบพระ 08 และพบพระ 14 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีจุดเด่นแตกต่างกัน อย่างที่เจ้าของสวนรายนี้ ระบุว่า อย่างพันธุ์แฮสจะมีความหอมลึกๆ มีความเหนียว และไม่ฉ่ำน้ำ ในส่วนรองลงมาเป็นพวกที่ตลาดล่างและตลาดกลางต้องการมากที่สุด คือบัคคาเนีย รูปทรงจะใหญ่ ผลผลิตสูงต่อต้นหลัก 300 กิโลกรัม (ก.ก.) เมื่อปลูกได้ 5-6 ปี

สำหรับพิงเคอร์ตัน รูปทรงเหมือนแฮส แต่ใหญ่กว่า คล้ายๆ ลูกแพร์ ค่อนข้างจะสวย แต่ก้านกับขั้วก้านเล็ก เวลาเชื้อราเข้าทำลายจะร่วงเลย ไม่ค่อยทนทาน

คุณวรเชษฐ์อธิบายถึงสายพันธุ์พบพระ 08 พบพระ 14 ว่า เป็นพันธุ์พื้นเมือง ที่คัดแล้วว่า 1.ทนต่อโรค โดยเฉพาะโรคไฟท็อป หรือโรคใบไหม้ ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำลายตั้งแต่ยอดลงระบบราก แล้วทำให้รากเน่า โคนเน่า 2.ให้ผลผลิตสูง 3.เนื้อคุณภาพดี เนื้อเหนียวแห้งไม่ฉ่ำน้ำเหมือนพันธุ์พื้นเมืองทั่วๆ ไป

ถามถึงการขายผลผลิต เจ้าของสวนวังพลากรบอกว่า ขายในตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก อย่างตลาดดอยมูเซอ เป็นเกรดรองๆ เพราะขายมาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ถ้าเกรดสูงหน่อยจะส่งเข้ากรุงเทพฯ แต่ยังไม่มีปริมาณมากพอที่จะส่งห้าง ซึ่งที่ผ่านมาทางห้างก็ติดต่อไปคุยเหมือนกัน แต่ผลผลิตยังไม่มากพอส่ง ขณะที่มีเงื่อนไขต่างๆ อีกอย่างผลผลิตทุกวันนี้ก็มีพ่อค้ามาถึงสวนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปขายที่อื่น

ยามนี้นอกจากสวนพลากรยังมีผลผลิตขายแล้ว ยังขายกิ่งพันธุ์ที่ใช้วิธีทาบกิ่งด้วย พร้อมกันนี้ก็ยังชักชวนเกษตรกรในละแวกนั้นและที่ จ.กำแพงเพชร มาเป็นเครือข่ายปลูกอะโวคาโด โดยสนับสนุนในเรื่องกล้าพันธุ์ พร้อมรับซื้อผลผลิต ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ประมาณ 700 ไร่ แต่ปีนี้ตั้งเป้าให้ได้ 1,200 ไร่

ในการปลูกคุณวรเชษฐ์แนะนำว่าต้องขุดหลุมลึก แค่ 50 ซ.ม. กว้าง 1 เมตรครึ่ง ไม่ให้ปลูกในหลุมลึก จะได้ดูแลในเรื่องของระบบรากได้ดีขึ้น ใส่มูลสัตว์ขี้วัวขี้ไก่ลงไปในหลุม แต่ถ้าเป็นขี้ไก่ต้องไปหมักก่อน หากช่วงปลูกไม่มีฝนก็ให้รอฝน ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดนั้นกลายพันธุ์ 100%

ที่ผ่านมาผลผลิตของสวนเป็นที่น่าพอใจ อย่างที่คุณวรเชษฐ์บอก ถ้าเป็นพันธุ์แฮส ต้นอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตอยู่ที่ 150 ก.ก.ต่อต้น ต่ำสุด 30-40 ก.ก. กรณีช่วงปลูก 3 ปี อะโวคาโดยังไม่ออกผลผลิต เขาแนะนำเกษตรกรว่า ปัจจุบันปลูกผัก ปลูกข้าวโพด ปลูกพริกอยู่ก็ปลูกตามปกติ แต่ถ้าใช้สารเคมีประเภทยาฆ่าหญ้าจะมีผลต่ออะโวคาโด โดยเฉพาะตอนที่ต้นยังเล็กอยู่ ดังนั้น ต้องล้อมด้วยสแลน 1 เมตร

ในการขายกิ่งพันธุ์นั้นเขาขายกิ่งละ 200 บาททุกพันธุ์ และ ในการปลูกแต่ละต้นควรมีระยะห่าง 7-8 เมตร เพื่อไม่ให้ต้นติดกันจนเกินไป

ส่วนกรณีที่เกษตรกรบางคนคิดว่าอะโวคาโดต้องปลูกในที่สูงและในเมืองหนาวนั้น ประเด็นนี้คุณวรเชษฐ์ถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ที่ปลูกตั้งแต่ 400-1,200 เมตร จะเห็นความแตกต่าง คือตั้งแต่ 600-800 เมตร ช่วงนี้เป็นช่วงดีที่สุด ผลผลิตสูง คุณภาพเนื้อค่อนข้างดี

แต่ช่วงที่ความสูงสัก 1,000 เมตรขึ้นไปเปลือกเริ่มเปลี่ยนเริ่มแข็งๆ และเก็บได้ช้าขึ้น จากเดิมต้องเก็บ 10 เดือน เลื่อนเป็น 11-12 เดือน ส่วนคุณภาพถ้าปลูกในพื้นที่ 1,200 เมตร คุณภาพจะด้อยลงมา แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า 400-500 เมตร ผลผลิตจะสุกเร็วขึ้นและมีความฉ่ำเรื่องน้ำเพิ่มขึ้นมา

เจ้าของสวนวังพลากรให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากปลูกอะโวคาโดว่า ในเบื้องต้นต้องดูว่ามีความรู้แค่ไหน มีตลาดรองรับไหม และก่อนที่จะมีผลผลิตจะมีพืชตัวไหนทำรายได้ให้บ้าง ถ้าสนใจอยากรู้เรื่องอะโวคาโด หรืออยากจะเข้าไปดูสวน ซื้อกิ่งพันธุ์ ติดตามได้ที่ เพจ Avocado in Thailand สอบถามได้ที่ 08-1950-5574

นอกจากสวนวังพลากรจะขายกิ่งพันธุ์และผลผลิตแล้ว คุณวรเชษฐ์ ยังนำผลอะโวคาโดตกเกรดไปสกัดแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นแชมพู ครีมนวด และสบู่ก้อนที่มีส่วนผสมจากอะโวคาโด ชื่อแบรนด์ “เมอร์ตี้” (Merty) ทำให้ตลอดทั้งปี มีรายได้จากการขายผลอะโวคาโดสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอะโวคาโด หลักล้านกว่าบาทต่อปี

เป็นเเกษตรกรรุ่นใหม่อีกรายที่ทำครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ UFABET ทำให้มีรายได้อย่างต่อเนื่องและเป็นกอบเป็นกำ ทุเรียนหมอนทอง จากแหล่งปลูกในเขตพื้นที่ภูเขาไฟเก่าทำให้ได้เนื้อภายในผลกรอบนอกนุ่มใน หอม หวานมัน กลมกล่อม เป็นทุเรียนคุณภาพเฉพาะถิ่นที่ถูกอกถูกใจผู้บริโภคยิ่งนัก ทุเรียนจะมีวางขายในตลาดท้องถิ่น แต่มีเกษตรกรก้าวหน้านักพัฒนาสวนไม้ผลรุ่นใหม่ได้ก้าวเปิดตลาดทุเรียนด้วยการทำ MOU ซึ่งเป็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่างผู้ปลูกกับตลาดผู้ซื้อ ทำให้เกษตรกรสามารถยกระดับรายได้นำไปสู่การยังชีพที่มั่นคง ยั่งยืน

คุณรัตดา คงสีไพร เกษตรอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการเกษตรระบบแปลงใหญ่ทุเรียน พื้นที่ 1,983 ไร่ รวม 208 ราย เพื่อพัฒนาการผลิตที่ยั่งยืน จึงส่งเสริมให้ปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ทุเรียนคุณภาพ และได้รับการรับรองให้เป็นทุเรียน GI : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือเป็นพืชคุณภาพเฉพาะถิ่น เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตมั่นคง

คุณสุขุมาภรณ์ ตองอบ เกษตรกรก้าวหน้านักพัฒนาสวนไม้ผลรุ่นใหม่ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่วัยเด็กกระทั่งเติบใหญ่ วิถีชีวิตมีความผูกพันกับการทำสวนไม้ผลมาตลอด นอกจากวิ่งเล่นตามประสาเด็กหรือกลับมาจากเรียนหนังสือก็ได้ช่วยคุณแม่-คุณพ่อ ขุดดิน ใช้อุปกรณ์เครื่องมือทำการเกษตร ลากสายยางให้น้ำพืชหรือไม้ผล เก็บเกี่ยวผลผลิต หรือเปิดตลาดจำหน่าย ทำให้ได้เรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์ไว้ได้มากพอควร

ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ได้ออกจากบ้านไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช ปี 2552 จบการศึกษารับปริญญาตรี เป็นธรรมชาติวัยรุ่นไฟแรงมันท้าทายจึงตัดสินใจเลือกไปทำงานบริษัทเคมีการเกษตร 5 ปี ทำให้ได้เสริมสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากห้องเรียนหรือสวนไม้ผล

การทำงานภาคเอกชนกำลังก้าวสู่ความสำเร็จ แต่หัวใจที่มีความผูกพันกับครอบครัวที่อบอุ่น ได้สัมผัสกับธรรมชาติของกลิ่นอายดิน ได้ถูกมดแดงกัด ได้กินผลไม้อร่อยๆ หรือได้เป็นแรงงานการพัฒนาสวนไม้ผล ทำให้ตัดสินใจกลับมาสู่ดินเพื่อร่วมกับคุณแม่-คุณพ่อ พัฒนาสวนไม้ผลด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม หรือปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP และที่สำคัญคือ การเปิดตลาดจำหน่ายทุเรียนหมอนทอง ด้วยการทำ MOU ซึ่งเป็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเกษตรกรสวนไม้ผลกับตลาดผู้ซื้อสู่การมีรายได้มั่นคง