กุหลาบสายพันธุ์ฮอลแลนด์ เหมาะสำหรับช่วงเดือนแห่งความรัก

มีหลากสี ทั้งสีขาว สีแดง สีชมพู และกลุ่มไม้ดอกอื่นๆ ได้แก่ ดอกไฮเดรนเยีย, แคลล่าลีลี่, คาร์เนชั่น, เบญจมาศ และอื่นๆ อีกมากมายนอกจากนี้ ยังได้ยกขบวนผลิตผล–ผลิตภัณฑ์คุณภาพขึ้นชื่อจากโครงการหลวง ภายใต้สัญลักษณ์ “ดี อร่อย” จากยอดดอยมาพร้อมเสิร์ฟให้กับชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียงได้เลือกอร่อยอีกมากมาย อาทิ ผักกาดหอมห่อ, ข้าวโพดหวานสองสี, กะหล่ำปลีรูปหัวใจ, ชาสมุนไพรสด, งาดำ, ถั่วอะซูกิ, ควินัว, ชาอัสสัม กาแฟคั่วบด, ข้าวเกรียบ, ข้าวกล้องเล่าทูหยา, ข้าวกล้องไก่ป่า, ข้าวกล้องเฮงาะเลอทิญ รวมถึงเนื้อสัตว์คุณภาพ อย่าง ปลาเรนโบว์เทราต์, หมูรมควัน , ไก่เบรส และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับผู้ที่ต้องการลิ้มรสอาหารเหนือแบบต้นตำรับ ภายในงานยังได้รวบรวมเมนูอาหารเหนือไว้มากมาย อาทิ แกงอ่อม, ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว, จิ้นส้มหมก, ข้าวจี่, ไส้อั่ว ฯลฯ ที่การันตีความอร่อยด้วยรสชาติแบบเหนือแท้ๆ ในบรรยากาศกาดล้านนาให้ได้ชม ชิม ช็อป แบบม่วนอ๋ก ม่วนใจ๋

ผู้ที่สนใจ สามารถร่วม ชิม ช็อป ผัก-ผลไม้สด และผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ดีที่สุดจากโครงการหลวง พร้อมหลากเมนูอาหารเหนือรสชาติต้นตำรับ นอกจากนี้ ยังพบกับโปรโมชั่นสินค้าลดราคาพิเศษ 50% ทุกวัน ตั้งแต่ วันที่ 12–20 กุมภาพันธ์นี้ ที่ Grand Hall ชั้น 1 เดอะมอลล์ โคราช และ วันที่ 14–27 กุมภาพันธ์นี้ ที่ กูร์เมต์ มาร์เก็ต และ โฮม เฟรชมาร์ท ทุกสาขา

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า จากการสำรวจปริมาณอ้อยไฟไหม้ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณอ้อยไฟไหม้ฤดูการผลิต ปี 2560/2561 และฤดูการผลิต ปี 2561/2562 ณ วันหีบที่ 70 ของฤดูการผลิต มีปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงถึง 4% โดยอ้อยไฟไหม้ของฤดูการผลิต ปี 2560/2561 มีปริมาณ 37,357,786 ตัน คิดเป็น 60% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ส่วนอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิต ปี 2561/2562 มีปริมาณ 34,628,902 ตัน คิดเป็น 56% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้

นางวรวรรณ กล่าวว่า ล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ ร่วมกับ สมาคมชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และเกษตรกร ชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ จับมือรณรงค์ไม่ให้เก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาไร่อ้อยก่อนตัดส่งเข้าโรงงานน้ำตาล และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการเผาอ้อยหลายจังหวัด อาทิ กาญจนบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุดรธานี เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ รวมทั้งให้ความรู้เรื่องโทษของฝุ่น PM 2.5 การตัดอ้อยเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยจำนวนมาก เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ

นางวรวรรณ กล่าวว่า นอกจาก สอน. จะเดินหน้าโครงการสินเชื่อสำหรับการจัดซื้อรถตัดอ้อยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2562 สอน. ได้เสนอขอขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร (ระยะที่ 2) โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน ปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท (งบประมาณปี 2562–2564) โดยมีอัตราดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรรายบุคคลแบบ MRR (รายย่อย) อยู่ที่ MRR-5 รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ ในอัตรา 3% ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในอัตรา 2% ต่อปี

สำหรับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR (รายใหญ่) โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตรา MLR-3 รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย ให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตรา 2% ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในอัตรา 1% ต่อปี ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยเพิ่มผลิตภาพการผลิต และคุณภาพของผลผลิตอ้อย อีกทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระยะยาวส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและลดปริมาณอ้อยไฟไหม้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ตรังเดินหน้า OTOP ดันยอดขาย ปี 2562 ทะลุ 2 พันล้านบาท เปิดตลาดส่งออก อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง

นายณัฐวัตร ตัณศิริเสถียร ประธานเครือข่ายโอท็อป จังหวัดตรัง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรังโอท็อป อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2562 ทางจังหวัดตรังได้ตั้งเป้ายอดขายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป (OTOP) ประมาณ 2,200-2,400 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20% จากปี 2560 มียอดขายกว่า 1,600 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาในปี 2561 มียอดขายประมาณ 2,000 ล้านบาท ถือว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จากการทำแผนการตลาดที่กำลังดำเนินการอยู่ มั่นใจว่าจะสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงมีการเปิดตลาดท่องเที่ยวชุมชนโอท็อป นวัตวิถี ของจังหวัดตรัง อีกกว่า 40 ชุมชน ที่จะมาร่วมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

“จังหวัดตรัง มีผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปมากกว่าหนึ่งพันราย มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าระดับ 3-5 ดาว กว่า 100 ผลิตภัณฑ์” นายณัฐวัตร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการขับเคลื่อนสินค้าโอท็อปจังหวัดตรังดำเนินการพัฒนาอย่างเข้มงวดใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านผู้ประกอบการ หรือการพัฒนาคน โดยเปิดคลินิกให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การแนะนำผู้ที่อยากเข้ามาเป็นผู้ประกอบการสินค้าโอท็อป การขึ้นทะเบียน ตลอดจนการทำผลิตภัณฑ์ของตนเอง จากนั้นเข้าสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านคุณภาพสินค้า การออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ สินค้าต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทุกอย่างต้องให้ได้มาตรฐานสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

สุดท้ายคือ การพัฒนาช่องทางการทำตลาด โดยเน้นการพัฒนาเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้เปิดตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างจริงจัง ผ่านทั้งระบบเครือข่ายที่เข้มแข็ง และระบบเทรดเดอร์ ที่สามารถกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดภายในประเทศช่วงที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในระดับที่ดี ทั้งการนำสินค้าไปออกบู๊ธจำหน่ายทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนการจัดอีเว้นต์ทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมถึงช่องทางผ่านทางศูนย์จำหน่าย ตลาดนัด และฝากขายตามตลาดประชารัฐ ทำให้โอท็อปของจังหวัดตรังเป็นที่รู้จักของลูกค้าอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและเสื้อผ้า โดยเฉพาะอาหารได้รับความนิยมในระดับที่เด่นกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ

สำหรับตลาดต่างประเทศเน้นการทำภายใต้ บริษัท ตรังโอท็อป อินเตอร์เทรด จำกัด ที่เป็นเสมือนคนกลางที่มีความสามารถในการนำสินค้าไปจำหน่าย โดยทำหน้าที่หลัก 3 เรื่อง คือ 1. ให้ความรู้คนเพื่อเตรียมคนเข้าสู่ระบบ 2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน และ 3.คัดสรรสินค้าออกสู่ตลาด โดยมีประเทศกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มอาเซียน จีน ตลอดจนประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งตรังมีผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ได้มาตรฐานส่งออกแล้วหลายชนิด อาทิ เครื่องแกงจะโหรม ส่งออกไปยังตลาดมุสลิม ซึ่งกำลังไปได้ดี ปลากระป๋องบิ๊คแคนและตราทองคำเปิดตลาดไปแล้วหลายประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเสื้อผ้าบาติก มีดพร้านาป้อ ผ้าทอนาหมื่นศรี ซีอิ๊วขาว เปิดตลาดส่งออกไปต่างประเทศแล้วอย่างเต็มตัว โดยมีออเดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ตรังเดินหน้า OTOP ดันยอดขาย ปี 2562 ทะลุ 2 พันล้านบาท เปิดตลาดส่งออก อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง

นายณัฐวัตร ตัณศิริเสถียร ประธานเครือข่ายโอท็อป จังหวัดตรัง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรังโอท็อป อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2562 ทางจังหวัดตรังได้ตั้งเป้ายอดขายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป (OTOP) ประมาณ 2,200-2,400 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20% จากปี 2560 มียอดขายกว่า 1,600 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาในปี 2561 มียอดขายประมาณ 2,000 ล้านบาท ถือว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จากการทำแผนการตลาดที่กำลังดำเนินการอยู่ มั่นใจว่าจะสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงมีการเปิดตลาดท่องเที่ยวชุมชนโอท็อป นวัตวิถี ของจังหวัดตรัง อีกกว่า 40 ชุมชน ที่จะมาร่วมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

“จังหวัดตรัง มีผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปมากกว่าหนึ่งพันราย มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าระดับ 3-5 ดาว กว่า 100 ผลิตภัณฑ์”

นายณัฐวัตร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการขับเคลื่อนสินค้าโอท็อปจังหวัดตรังดำเนินการพัฒนาอย่างเข้มงวดใน 3 ด้านหลัก คือ ด้านผู้ประกอบการ หรือการพัฒนาคน โดยเปิดคลินิกให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การแนะนำผู้ที่อยากเข้ามาเป็นผู้ประกอบการสินค้าโอท็อป การขึ้นทะเบียน ตลอดจนการทำผลิตภัณฑ์ของตนเอง จากนั้นเข้าสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งในด้านคุณภาพสินค้า การออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ สินค้าต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทุกอย่างต้องให้ได้มาตรฐานสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

สุดท้ายคือ การพัฒนาช่องทางการทำตลาด โดยเน้นการพัฒนาเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้เปิดตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างจริงจัง ผ่านทั้งระบบเครือข่ายที่เข้มแข็ง และระบบเทรดเดอร์ ที่สามารถกระจายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยตลาดภายในประเทศช่วงที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในระดับที่ดี ทั้งการนำสินค้าไปออกบู๊ธจำหน่ายทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนการจัดอีเว้นต์ทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมถึงช่องทางผ่านทางศูนย์จำหน่าย ตลาดนัด และฝากขายตามตลาดประชารัฐ ทำให้โอท็อปของจังหวัดตรังเป็นที่รู้จักของลูกค้าอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและเสื้อผ้า โดยเฉพาะอาหารได้รับความนิยมในระดับที่เด่นกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ

สำหรับตลาดต่างประเทศเน้นการทำภายใต้ บริษัท ตรังโอท็อป อินเตอร์เทรด จำกัด ที่เป็นเสมือนคนกลางที่มีความสามารถในการนำสินค้าไปจำหน่าย โดยทำหน้าที่หลัก 3 เรื่อง คือ 1. ให้ความรู้คนเพื่อเตรียมคนเข้าสู่ระบบ 2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน และ 3.คัดสรรสินค้าออกสู่ตลาด โดยมีประเทศกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มอาเซียน จีน ตลอดจนประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งตรังมีผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ได้มาตรฐานส่งออกแล้วหลายชนิด อาทิ เครื่องแกงจะโหรม ส่งออกไปยังตลาดมุสลิม ซึ่งกำลังไปได้ดี ปลากระป๋องบิ๊คแคนและตราทองคำเปิดตลาดไปแล้วหลายประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเสื้อผ้าบาติก มีดพร้านาป้อ ผ้าทอนาหมื่นศรี ซีอิ๊วขาว เปิดตลาดส่งออกไปต่างประเทศแล้วอย่างเต็มตัว โดยมีออเดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

เกษตรฯ สั่งสำรวจเจ้าสัวตั้ง บริษัท ทำนา-ให้เช่าที่ทำเกษตร หวั่นกระทบแผนปรับโครงสร้างเกษตรฉุดราคาร่วง-ชาวนาแห่ปลูกข้าวเกินแผนแล้ว 1 ล้านไร่

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ เตรียมสำรวจพื้นที่ทำการเกษตรใหม่อีกครั้ง หลังภาษีที่ดินฉบับใหม่บังคับใช้ ทำให้เจ้าของที่ดิน เจ้าสัว ต่างจัดตั้งบริษัททำการเกษตรให้พื้นที่เพื่อเช่า จะไม่เข้าเกณฑ์เสียภาษีที่ดิน ที่ไม่ทำประโยชน์ กระทรวงเกษตรฯ สำรวจพื้นที่ทำการเกษตรครั้งนี้ เพราะกังวลว่าจะกระทบกับแผนการปฏิรูปภาคผลิตด้านการเกษตร ที่ขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้า ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต เพราะกังวลว่า หากมีการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น ผลกระทบจะเกิดกับราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการผลิตภาคเกษตร

“ปีก่อนหน้า เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ลงสำรวจพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งเป็นการดำเนินการทุกปี และเมื่อมีเรื่องของภาษีที่ดิน กระทรวงเกษตรฯ ก็กังวลว่าเจ้าสัว หรือผู้ถือครองที่ดินจะเลี่ยงภาษี ที่จะต้องเสียหากทิ้งที่ดินว่างเปล่าเช่นที่เคยทำมา หันมาทำการเกษตร ปลูกกล้วย ปลูกอ้อย ปลูกแบบทิ้งขว้าง ไม่หวังผลผลิต แต่หากมีการตั้งบริษัท เพื่อทำการเกษตร หรือให้เช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร เจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่คงต้องสำรวจให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้ผลผลิตที่ออกมากระทบราคาที่เกษตรกรจะขายได้ และสัดส่วนของพื้นที่ทำการเกษตรอาจเปลี่ยนแปลงไปจากแผนการปฏิรูปที่กระทรวงเกษตรกำลังดำเนินการ”

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุมผู้บริหารของกระทรวงเกษตรฯ ที่มี นายกฤษฎา บุญราช รมว. เกษตรฯ เป็นประธาน พบว่าขณะนี้ได้ประเมินความเสี่ยงด้านการเกษตร ในเดือน ก.พ. 2562 พบว่า มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่เกษตรกรจะมีการปลูกข้าวต่อเนื่อง ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของภาครัฐที่ไม่สนับสนุนให้ชาวนาปลูกข้าวต่อเนื่อง เพื่อควบคุมผลผลิตข้าวและส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นทดแทน เพื่อป้องกันข้าวล้นตลาดส่งผลให้ราคาตกต่ำ

โดยพื้นที่ปลูกข้าวนาปี มีพื้นที่ 1.87 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทาน ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และขณะนี้มีการเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ 1.86 ล้านไร่ ชาวนาเตรียมจะปลูกข้าวใหม่อีกรอบแล้ว ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ขณะนี้มีการปลูกเกินแผนแล้ว จำนวน 1.03 ล้านไร่ แบ่งเป็นเขตชลประทาน 24 จังหวัด นอกเขตชลประทาน 4 จังหวัด
ดังนั้น ในที่ประชุม ได้เสนอให้ออกประกาศว่าชาวนาที่ปลูกข้าวหลัง 15 ก.พ. 2562 จะไม่ให้การช่วยเหลือหากเกิดความเสียหายขึ้น เพราะขณะนี้ มีการประกาศเขตภัยแล้งไปแล้ว 1 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด มี 3 อำเภอ คืออำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรพิสัย และอำเภอสรวง เนื่องจากขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว ดังนั้นการทำการเกษตรหรือหากชาวนาดิ้นที่จะปลูกข้าว อาจได้รับผลกระทบน้ำไม่เพียงพอ

ปัจจุบัน การปลูกอ้อยเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากในหมู่เกษตรกรที่กำลังเริ่มต้นใหม่ ถือเป็นพืชทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หากมีการจัดการที่ดีและละต้นทุนการผลิต การปลูกอ้อยของเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ นั้นถือว่าสร้างรายได้เป็นลำดับต้นๆ ของจังหวัดไร่ ซึ่งอ้อย 700 ไร่ ของ คุณทองแดง แดนดี เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เริ่มต้นปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด จนสุดท้ายผันตัวเองเข้ามาอยู่ในพืชเศรษฐกิจอย่างอ้อย ที่ทำรายได้จนมีที่ดินทำกิน 700 ไร่ มาถึงทุกวันนี้

คุณวิไลลักษร์ พุฒนอก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ของอำเภอหนองกี่นี้ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรจึงยึดอาชีพชาวไร่เป็นหลัก ทั้งนี้ ไร่อ้อยของ คุณทองแดง แดนดี ซึ่งเป็นที่ดินอยู่บนเนินเขา ทำให้เธอเลือกที่จะมาปลูกอ้อยเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่การทำการเกษตร อย่างการปลูกอ้อยของตำบลหนองกี่ ห่างจากโรงงานผลิตน้ำตาลเพียงแค่ 2 กิโลเมตร จึงอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งอีกด้วย

“สำหรับไร่อ้อยของคุณทองแดง เป็นไร่ที่มีการแบ่งพื้นที่ปลูกอยู่ 3 ส่วน ซึ่งส่วนแรกเป็นไร่มันสำปะหลังควบคู่ไปกับไร่นาข้าว จำนวน 300 ไร่ และ ไร่อ้อย 700 ไร่ ประสบการณ์ในการเป็นชาวไร่ชาวสวนจึงได้คิดค้นเครื่องจักรขึ้นมาเอง ทางสำนักงานเกษตรอำเภอก็เห็นว่ามีความสามารถ จึงได้ส่งเข้าประกวดจนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561” คุณวิไลลักษร์ พุฒนอก กล่าว มีวิธีการดูแลอย่างไร

คุณทองแดง แดนดี เจ้าของไร่ทองแดง เผยว่า สำหรับอ้อยที่ปลูกอยู่ ณ ตอนนี้เลือกที่จะปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และพันธุ์ยักษ์เขียว ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน อย่างเช่น พันธุ์ขอนแก่น 3 จะมีน้ำหนักที่เบากว่าพันธุ์ยักษ์เขียว ซึ่งอ้อยพันธุ์ยักษ์เขียวมีลำต้นที่ใหญ่กว่าและให้น้ำหนักดีกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ส่วนเรื่องความหวานนั้นทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เรียกได้ว่า มีความหวานที่สูสีกันเลยทีเดียว นอกจากอ้อย 2 สายพันธุ์นี้แล้ว ยังได้มีการปลูกพันธุ์อื่นๆ อีก 2-4 สายพันธุ์ ถือว่าเป็นไร่ที่สร้างตัวเลือกได้อย่างหลากหลาย

“สำหรับวิธีการดูแลอ้อย 700 ไร่นั้น จะต้องดูแลอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจไร่อ้อยเดินก้าวไปข้างหน้า โดยที่ไม่ต้องกังวลถึงปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น มีการดูแลไร่อ้อยส่วนใหญ่ก็จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่ผลิตคิดค้นขึ้นมาเอง ประกอบกับประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ นำมาต่อยอดธุรกิจมาจนถึงทุกวันนี้” คุณทองแดง กล่าว

นอกจากนี้ คุณทองแดง ยังได้บอกความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการระบบการให้น้ำในไร่อ้อยที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ไม่ควรพลาด และในส่วนของการจัดการกับระบบดินนั้น ทางไร่ของเธอก็มีวิธีการที่ไม่ว่าจะเจอดินปลูกสภาพแบบใด ก็มีการจัดการดินที่ดีเหมาะสมกับการปลูกอยู่เสมอ เช่น การระเบิดดิน เพื่อทำให้ลึกง่ายต่อการปลูกอ้อย และทั้งหมดนี้ก็เป็นการทำงานที่ใช้ระบบนวัตกรรมเครื่องยนต์และเครื่องกลต่างๆ ที่คิดค้นผลิตขึ้นมาเอง โดยแทบจะไม่ใช้แรงงานคนสักเท่าไร

หลังจากปลูกอ้อยจนได้ผลผลิตที่พร้อมส่งขายให้กับโรงงานแล้ว มาถึงขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในขั้นตอนนี้มีการใช้เครื่องตัดอ้อยที่จะคู่ไปกับรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุก 1 คัน สามารถขนอ้อยได้ทั้งหมด 25 ตัน

การปลูกอ้อยนั้นก็สามารถปลูกได้เลย เพราะอ้อยเป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก เพียงแต่ต้องใส่ใจในการดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่แล้วการปลูกอ้อยก็จะเริ่มปลูกในช่วงของเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่าปลายฝน ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงต่างๆ ที่เป็นปัญหาเข้ามาคุกคามในไร่อ้อย เช่น หนอน หรือแมลงอื่นๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็มีวิธีแก้ซึ่งจะแก้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าจะเลือกใช้วิธีไหน อาจจะใช้วิธีการพ่นยาหรือใช้วิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ขายอ้อยให้ได้ราคาดีต้องผลิตแบบลดต้นทุน

ในเรื่องของตลาดอ้อยนั้น ในทุกวันนี้ คุณทองแดง บอกว่า ถือว่ายังเป็นพืชที่น่าปลูกถึงแม้ราคาอาจจะหลุดลอย ยังไม่ตอบโจทย์เกษตรกรมากนักก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องปลูก เพราะว่าไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปทำพืชอย่างอื่นที่ตามกระแสได้ ถึงแม้ราคาในบางช่วงอาจจะไม่ค่อยดี แต่รัฐบาลก็ยังเข้ามาสนับสนุนอยู่เรื่อยๆ และถ้าหากว่าต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น แน่นอนอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อให้เหมาะสมกับอาชีพนั้นๆ เท่ากับว่าเป็นการนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

“ฉะนั้นเรามีที่ดินอยู่แล้ว มีเครื่องไม้เครื่องมือครบถ้วน เราก็สมควรที่จะปลูกอ้อยเหมือนเดิมถึงแม้ราคาอาจจะต่ำกว่าปีที่ผ่านๆ มาก็ตาม แต่จะต้องยืนหยัดยืนอยู่บนเส้นทางเกษตรกรไร่อ้อยต่อไป เพียงแต่เราก็มีการลดต้นทุนมากขึ้น สมัยนี้อะไรที่ทำเพื่อลดต้นทุนการผลิตเราก็ต้องทำ อย่างเช่น ที่ไร่ของเรามีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยเอง ไม่ได้ซื้อเข้ามาจากที่อื่น มีการใช้ต้นพันธุ์เดิม ไม่มีการเผา จึงทำให้อ้อยก็ไม่ต้องซื้อต้นพันธุ์เข้ามาใหม่ สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ดี แม้บางช่วงราคาอ้อยตกลงมาอยู่ที่ 700 บาท ต่อตัน ก็ยังพอประคองตัวอยู่ได้” คุณทองแดง กล่าว

ทั้งนี้ ปัญหาหลักๆ ของสภาพพื้นที่ถือเป็นปัญหาที่แก้แล้วไม่ขาดอย่างปัญหาภัยแล้ง เพราะถ้าแล้งเมื่อไรก็ไม่มีระบบชลประทาน คือพูดง่ายๆ ว่า แล้งเมื่อไรก็แล้งขาดไปเลย แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากนักสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยอย่างเธอ เพราะได้วางแผนสลับเวียนไปเรื่อยๆ ทั้งพื้นที่การปลูกไปจนถึงขั้นของการจัดการบริหาร จนสามารถบรรลุผลสำเร็จในด้านการเกษตร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรต้นแบบที่คิดค้นเครื่องไม้เครื่องมือมาใช้ในทางการทำเกษตร จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานจากทางภาครัฐและเกษตรกรที่ปลูกอ้อย

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร รับมอบรางวัลนิสิตเก่าบัญชีจุฬาฯ ดีเด่น ครั้งที่ 18 จาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ ประธานกรรมการตัดสินนิสิตเก่าบัญชีจุฬาฯ ดีเด่น เพื่อเป็นการยกย่องและประกาศเกียรติคุณแก่นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ที่ใช้ความรู้ความสามารถในวิชาชีพจนประสบความสำเร็จ ตลอดจนสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวมและประเทศชาติ ณ สนามหน้าอาคารอนุสรณ์ 50 ปี คณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆ นี้

เมื่อเวลา 09.10 น. พรรคไทยรักษาชาติ ได้ยื่นบัญชีรายชื่อต่อ กกต. โดยมีการเปิดภาพเป็นภาพ ทูลกระหม่อมฯ และได้ยื่นให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพ ซึ่งเป็นภาพของทูลกระหม่อมหญิงฯ อุบลรัตน์ อยู่บนใบเสนอรายชื่อแคนดิเดต นายกรัฐมนตรี ของพรรค