‘กุ้งผัดกระเทียม’ ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา โดย กฤช เหลือลมัย

บางครั้งกับข้าวในครัวก็เกิดขึ้นจากความต้องการจะ “ทดลอง” อะไรบางอย่างที่เพิ่งได้มาใหม่ หรือวิธีการ, ขั้นตอน ที่เกิดนึกขึ้นมาได้อย่างปัจจุบันทันด่วน ขณะที่ข้าวของในตู้เย็นตู้กับข้าวก็อาจมีไม่มากนัก แต่ใจมันอยากลองจนรอไม่ไหวแล้ว อย่างนี้ก็มีนะครับ

เหมือนที่ผมเพิ่งไปได้น้ำปลาปลาสร้อยดีๆ จากการขับรถตระเวนพื้นที่ลุ่มน้ำยมในเขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย กับเจ้าหน้าที่แผนงานกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี (Biothai) ความหอมนัวนวลของมันทำให้ความอยากกินน้ำปลาดิบๆ ใหม่ๆ แบบไม่ต้องปรุง หรือปรุงให้น้อยที่สุด เกิดขึ้นมาอย่างชนิดที่ว่าต้องรีบออกไปตลาด แล้วก็จับจ่ายกุ้งสดตัวย่อมๆ มาได้ครึ่งกิโลกรัม

จัดแจงเด็ดหัว แกะเปลือก ผ่าหลัง ชักเส้นดำออก ต้มหัวกับเปลือกในหม้อกับเกลือป่น ทำเป็นน้ำซุปไว้ตามเคย

อ้าว! ลืมบอกไปครับ ว่าผมจะทำ “กุ้งผัดกระเทียมพริกไทย” กินกับน้ำปลาพริกแซ่บๆ งานนี้ก็เลยต้องเตรียมเครื่องผัดกระเทียมก่อน โดยโขลกเม็ดพริกไทยขาวกับเม็ดคำเงาะ (anatto seeds) เพื่อเพิ่มสีแดงให้ดูน่ากิน แต่ถ้า ใครไม่มีเจ้าเม็ดคำเงาะนี่ ก็ไม่ต้องใช้หรอกนะครับ โขลกจนละเอียดแล้ว ใส่กระเทียมไทยแกะกลีบ เกลาเปลือกออกไม่ต้องหมด ลงไปตำพอหยาบๆ ตักใส่ถ้วยไว้

เกลือป่นใช้อย่างที่เราอยากกิน กระทะนี้ต้องการความเค็มหลักๆ จากเกลือ เพื่อดึงรสหวานในเนื้อกุ้งออกมาครับ เตรียมเสร็จก็อย่าเพิ่งรีบผัด เรามาทำน้ำปลากันก่อนดีกว่าครับ เพราะว่าถ้าเกิดพริกขี้หนูของเราเผ็ดมาก (เช่นในรูปที่ผมใช้นี้ เผ็ดหอมดีจริงๆ) การดองกับน้ำปลาไว้ก่อนจะช่วยกลบรสเผ็ดรุนแรงให้อ่อนลงได้บ้าง

น้ำปลาถ้วยนี้ ผมใช้ตะลิงปลิงซอยและน้ำมะนาวเป็นตัวชูรสเปรี้ยว พริกขี้หนูสวนเขียวแดงหั่นละเอียด ใช้กระเทียมและหอมแดงอินทรีย์จากราษีไศล ศรีสะเกษ ปอกเปลือกหั่นพอหยาบๆ เคล้าผสม ทั้งหมดนี้เสริมรสวิเศษให้น้ำปลาปลาสร้อยบ้านกงไกรลาศ อันเป็นน้ำปลาที่รสชาติไม่หวานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้อย่างเหมาะเหม็งเลยทีเดียวเชียว

ทำน้ำปลาเสร็จก็อย่าเพิ่งลงมือผัด ต้องหุงข้าวก่อน

ข้าวหม้อนี้ก็เป็นของที่อยากทดลองครับ โดยผมใช้ข้าวหอมราชินีขัดขาวของพัทลุง ผสมหอมมะลิซ้อมมือหน่อยหนึ่ง เอาน้ำซุปเปลือกกุ้งมาใส่หุงตามส่วนในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เติมกระเทียมบุบพอแตกสักสามกลีบ รากผักชีทุบสองสามราก

เอาละ..ทีนี้ก็ได้ฤกษ์ผัดกุ้งกันเสียที เราเทน้ำมันใส่กระทะเลย ผมใช้น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันหมูคุโรบุตะ เติมเกลือป่นลงไปในน้ำมันเลยนะครับ พอร้อนดี ก็ใส่เนื้อกุ้ง ตามด้วยเครื่องกระเทียมตำ ใช้ไฟแรง ผัดเคล้าไปมาเบาๆ จะเห็นว่าน้ำมันผัดสีออกแดงสวยกว่าปกติ มันคือสีของเม็ดคำเงาะนั่นเองครับ

ผัดแค่พอกุ้งเกือบๆ สุก ไม่งั้นเนื้อจะแข็งไปนะครับ ใส่ต้นหอมหั่น แล้วกระฉูดน้ำปลาลงไปนิดเดียว พอให้ถูกความร้อนจนระเหยลอยเป็นไอหอมๆ เหนือกระทะ ก็ตักใส่จาน โรยผักชี

ผลการทดลองเร่งด่วนครั้งนี้ก็คือ เนื้อกุ้งสุกกรอบที่หอมกระเทียมพริกไทย เค็มเนียนด้วยเกลือป่นจานนี้ ตอบสนองและผสมผสานกับน้ำปลาปลาสร้อยปรุงรสเผ็ดเปรี้ยวถ้วยน้อยได้อย่างดีเยี่ยมทีเดียว มันเป็นการดวลกันตัวต่อตัวโดยไม่มีน้ำตาลทราย ซอสปรุงรส น้ำมันหอย ผงชูรส และผงปรุงรสใดๆ มารุมสกรัมลิ้นเราให้ไขว้เขว

ถ้าข้าวหุงน้ำซุปที่เราหุงไว้นั้นนุ่มนวลได้ที่พอดีๆ ก็จะช่วยซึมซับรสไปได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี บางท่านอาจรู้สึกว่า ข้าวหุงนี้ “มากไป” คือมาเพิ่มรสให้รุงรังเกินเหตุ ก็ตัดออกเสีย เพราะลำพังกินกับข้าวสวยธรรมดาก็อร่อยแล้วล่ะครับ

แต่ถ้าเสียดายน้ำซุปที่ทำไว้ ก็อาจทุบตะไคร้ ฉีกใบมะกรูดใส่ตอนเดือดจัดๆ แล้วเทลงชามที่บีบมะนาว โรยผักชี ทุบพริกขี้หนูรองก้นไว้ สำหรับซดเป็นซุปเปรี้ยวร้อนๆ แก้เลี่ยนได้อีก

“กุ้งผัดกระเทียม” นี้ ความธรรมดาสามัญของสูตร จะถูกเพิ่มมูลค่าก็โดยวัตถุดิบหลัก คือกุ้งนะครับ ดังนั้น ใครชอบกุ้งแบบไหนก็หามาทำกินได้ตามชอบ

และของที่พึงคัดสรรอีกอย่าง ก็เห็นจะเป็น “น้ำปลา” ดังที่ได้สาธยายมาแล้วนั่นแหละครับ… นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนายพิษณุ เสนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางมาเปิดเครื่องสูบน้ำที่ ปภ.จังหวัดพิจิตร นำมาสูบน้ำในฝายยางสามง่าม หมู่ 1 ต.รังนก ลงสู่แม่น้ำยม เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่ทำนาปรังทั้งสองฝั่งแม่น้ำยม ระยะทาง 40-50 กม. ปีนี้ชาวนาทำนาปรังกว่า 4 แสนไร่ มากกว่าทุกปี จึงเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอ จึงเปิดน้ำช่วยชาวนา

นายวีระศักดิ์กล่าวว่า ปีนี้เกษตรกรทำนามากกว่าทุกปีกว่า 470,000 ไร่ หรือเต็มพื้นที่ เกินจำนวนที่รัฐบาลกำหนดคือกว่า 3 แสนไร่ ทำให้น้ำไม่เพียงพอ ทางเราก็ไม่สามารถห้ามชาวนาได้ เพราะหากไม่ทำนาจะไปทำอะไร

นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ นายอำเภอครบุรี พร้อมด้วยนายสมชาติ เดชดอน นายกเทศมนตรีตำบลครบุรีใต้ เดินทางไปเยี่ยมเยียนพบปะกับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา โดยหนึ่งในนั้นเป็นเป็นบ้านของนายบุญ เจริญครบุรี อายุ 73 ปี อาศัยอยู่กับภรรยาและบุตรชาย มีความพิเศษคือมีต้นผักหวานขนาดใหญ่อยู่หน้าบ้านถึง 4 ต้น ทั้งที่มีเนื้อที่ไม่ถึงสองไร่ อีกทั้งต้นผักหวานยังสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับมีการตั้งนั่งร้านไม้ไผ่ไว้รอบๆ ทุกต้น และยังพบว่ามียอดผักหวานผลิแตกยอดอ่อนอยู่เต็มต้น

จากการสอบถามลุงบุญ เจริญครบุรี เจ้าของบ้าน เล่าว่า ต้นผักหวานทั้งสี่ต้นที่เห็นดังกล่าว ได้นำเอาเมล็ดพันธุ์จากในพื้นที่มาเพาะปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ที่ผ่านมา ระยะเวลาผ่านไปนานกว่า 20 ปี ลำต้นก็สูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกมาให้ได้เก็บกินอยู่เรื่อย โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมไปจนสิ้นสุดเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี แรกๆ ก็แตกยอดให้พอได้เก็บกิน แต่ต่อมาเมื่อต้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็ให้ผลผลิตมากขึ้นจนกินไม่ทันและสามารถเก็บไปจำหน่ายสร้างเป็นรายได้เสริมทั้งในส่วนของยอดอ่อนและเมล็ดพันธุ์ สร้างรายได้เสริมปีละหลายหมื่นบาท

ลุงบุญกล่าวอีกว่า ผักหวานที่บ้านนั้นไม่ต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสภาพพื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ปุ๋ยไม่ได้ใส่สูตรอะไรเจาะจงเป็นพิเศษ เพียงอาศัยเศษใบไม้และหญ้าแห้งกวาดทับถมไว้ที่โคนต้นเท่านั้น และที่เหลือก็ต้องตัดแต่งกิ่งเล็กน้อยเพื่อให้มีการแตกยอดอ่อนออกมาเป็นระยะๆ ปัจจุบันต้นผักหวานของลุงบุญสูงใหญ่ประมาณ 4-6 เมตรแล้ว โดยได้ทำนั่งร้านไม้ไผ่รอบต้นที่สูงเพื่อไว้ปีนเก็บได้สะดวก ซึ่งในวันหนึ่งๆ สามารถขายเฉพาะผักหวานได้ไม่น้อยกว่าละ 300-500 บาท

“เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนหน้านี้ในพื้นที่ อ.ครบุรีสามารถหาเก็บผักหวานตามป่าชุมชนใกล้บ้านได้จนเหลือกินเหลือใช้ แต่หลังจากเกิดความเข้าใจผิดๆ หรือความมักง่ายของคนเห็นแก่ตัวบางกลุ่มที่ตั้งใจจุดไฟเผาป่าเพื่อให้สะดวกต่อการหาผักหวานช่วงหน้าแล้ง ก็ทำให้จำนวนของผักหวานป่าลดลงจนต้องบุกเข้าไปในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตอุทยานแห่งชาติ สร้างความสูญเสียให้กับผืนป่าของประเทศเป็นอย่างมาก จึงอยากวิงวอนให้ชาวบ้านที่หลงผิดยุติพฤติกรรมเช่นนี้เสีย เพราะผักหวานนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องจุดไฟเผาเพื่อให้แตกยอดอ่อน ปล่อยเอาไว้ตามธรรมชาติก็จะเติบใหญ่ให้ผลผลิตจำนวนมากเอง อีกทั้งการเผาป่ายังเป็นการบั่นทอนทำลายให้ต้นผักหวานเสียหายและตายลงได้ในที่สุดอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้” ลุงบุญกล่าว

นายสุรพันธ์เปิดเผยว่า ในห้วงตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ อ.ครบุรีเกิดเหตุไฟป่าขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานไปแล้วหลายครั้ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบกว่า 1,000 ไร่ แม้ว่าทุกภาคส่วนจะรณรงค์ทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ลักลอบจุดไฟเผาป่าเพื่อหวังผลเพียงแค่หาของป่าและล่าสัตว์เล็กๆ น้อยๆ สร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นกับผืนป่าสำคัญของประเทศ จึงอยากเรียกร้องให้ทุกๆ คน โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่เองช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ ในการสอดส่องดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ของประเทศให้คงอยู่สืบไปจนชั่วลูกชั่วหลานด้วย

สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลชลประทาน (ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ลงพื้นที่จังหวัดสระแก้วจัดอบรมโครงการการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยจิตอาสาหมอจิ๋ว เมื่อวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมอินโดจีน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ภายในงานมีเยาวชน จิตอาสาหมอจิ๋วเข้าร่วมอบรม 90 คน จากตำบลบ้านท่าช้าง อำเภอวัฒนานคร, ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ, ตำบลหนองแวง อำเภอโคกสูง

นายไชยยา จักรสิงห์โต สาธารณสุขอำเภออรัญประเทศ กล่าวต้อนรับผู้เข้าอบรมว่า เยาวชนทุกคน เป็นกำลังสำคัญของการช่วยดูแลสุขอนามัยของคนในครอบครัว เด็กๆ ควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย และการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้พบผู้ป่วยแล้วในพื้นที่อรัญประเทศ ดังนั้นเด็กๆ ต้องมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก พาหะนำโรค อาการ วิธีป้องกัน และการดูแลรักษาเบื้องต้น การอบรมในครั้งนี้เป็นขุมทรัพย์ความรู้ที่ดีเพราะมีทั้งนักสาธารณสุข พยาบาล และแพทย์ มาให้ความรู้และฝึกสอนเพื่อให้เกิดประสบการณ์จริง เด็กๆ จะได้ลงมือปฏิบัติและเกิดความตระหนักรู้ในการนำความรู้กลับไปใช้ในชีวิตจริง

นายแพทย์สุรสิทธิ์ ตั้งสกุลวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลประทาน ในฐานะประธานในพิธี เผยว่า จิตอาสาหมอจิ๋วที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้จะเป็นแกนนำในครอบครัวด้านสุขภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 ของประชากร แบบแผนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นหลักมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง เป็นต้น จากผลการสำรวจสุขภาพของคนไทยโดยการตรวจร่างกายพบว่า ประชากรไทยมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเรื้อรังหรือกลุ่มที่รู้ว่าเป็นโรคเรื้องรังนั้นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งภาวะดังกล่าวมักนำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพในที่สุดทำให้มีภาวะพึ่งพิงในการดำรงชีวิตและต้องการได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัว ดังนั้นเยาวชนหรือหมอจิ๋วจึงเป็นกำลังสำคัญของการเริ่มต้นการมีสุขอนามัยที่ดีของครอบครัว

นางลาวัลย์ ดีช่วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง กล่าวว่า จากการสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว พ.ศ.2558-2559 พบว่า ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ และตำบลหนองแวง อำเภอโคกสูง มีความต้องการความรู้ด้านการส่งเสริมด้านสุขภาพ ดังนี้ ต้องการโครงการสานสายใยใส่ใจดูแลสุขภาพ, การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน, การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ, การมีส่วนร่วม สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน, โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนน่ามอง, และโครงการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เนื่องจากมีผู้สูงอายุอยู่เป็นจำนวนมาก จากปัญหาและความต้องการดังกล่าว โรงพยาบาลชลประทานจึงได้จัดทำโครงการการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยจิตอาสาหมอจิ๋ว โดยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสังข์ อบต.หนองสังข์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง อบต.หนองแวง เป็นปีที่ 2 แล้ว และในปีนี้มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหมากฝ้าย มาร่วมด้วย โดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในการดูแลสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ โดยการดึงลูกหลานที่มีอายุตั้งแต่ 9-14 ปี มาเป็นสื่อกลางและแกนนำระหว่างครอบครัวและชุมชน การผลิตและพัฒนาจิตอาสาหมอจิ๋วให้มีความรู้ ทัศนคติ ทักษะและความสามารถในการดูแลสุขภาพคนในชุมชนโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐานและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งหัวข้อการอบรมประกอบด้วย การเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ สัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ กิจกรรมฐานความรู้ 6 ฐาน (การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคไข้เลือดออกและโรคซิกก้า โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อาหารผู้สูงอายุ และการออกกำลังกาย) และหลังจากการอบรมในครั้งนี้แล้วทีมงานผู้จัดโครงการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน จะจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทดสอบและติดตามผลเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเยี่ยมบ้าน พบปะพูดคุย สำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างในชุมชน และในอนาคตอาจจะมีการขยายผลไปสู่การส่งเสริมสุขอนามัยในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป

นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครเกษตร เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีจิตอาสา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะบทบาทในการนำข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเป็นเครือข่ายในการช่วยเหลือการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาจึงได้ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านระดับจังหวัด ในวันที่ 8 มีนาคม 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดพังงา เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เพิ่มเติมความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ กำหนดกระบวนการทำงานและช่องทางการสื่อสารให้ชัดเจนตั้งแต่ระดับหมู่บ้านถึงอำเภอ จังหวัด รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน การเชื่อมโยงการปฏิบัติงานกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม-ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยผู้เข้าร่วมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ประกอบด้วย อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านจากทุกอำเภอของจังหวัดพังงา จำนวน 70 คน และเจ้าหน้าที่ จำนวน 15 คน รวม 85 คน

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา โทรศัพท์ 0 7648 1467 และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ กรมเหมืองแร่เล็งชงแผนผลิตปุ๋ยแห่งชาติล้อยุทธศาสตร์ 20 ปี ให้กระทรวงอุตฯ หวังยกระดับรายได้ภาคเกษตรหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง อ้อน ‘บีโอไอ’ ให้สิทธิประโยชน์เอกชนลงทุนวัตถุดิบปุ๋ยต่างประเทศป้อนโรงงานในไทย

รายงานข่าวจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) แจ้งว่า ขณะนี้ กพร. อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอต่อ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้พิจารณาและเสนอต่อรัฐบาล ในการกำหนดให้ประเทศไทยมีการผลิตปุ๋ยเพื่อการเกษตรจากแร่หลัก 3 ชนิด คือ ไนโตรเจนที่สร้างใบ ฟอสฟอรัสสร้างดอก และโพแทสเซียมสร้างผล โดยแผนการผลิตดังกล่าวจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2559-2579) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ มั่นใจว่าจะมีส่วนสำคัญในการยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทยหากได้ใช้ปุ๋ยราคาถูกที่ผลิตในประเทศ จะทำให้มีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นและช่วยให้ไทยพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เห็นผลภายในช่วง 5 ปีจากนี้ เร็วกว่าการลงทุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) ของประเทศให้ขยายตัวมากกว่า 5% ซึ่งอุตสาหกรรมเป้าหมายจะใช้เวลาถึง 10 ปี

รายงานข่าวระบุว่า คาดว่าไทยมีสำรองแร่โพแทสเซียมสูงสุดเป็น อันดับ 4 ของโลกอยู่ที่ 4 แสนล้านตัน รองจากแคนาดา เบลารุส เยอรมนี แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตโพแทสเซียมได้ ทำให้ต้องนำเข้ามาใช้ในประเทศสูงถึง 1 ล้านตัน ต่อปี และปัจจุบัน กระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติประทานบัตรให้กับเอกชน 2 ราย คือ โครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดนครราชสีมา ของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด อำเภอด่านขุนทด พื้นที่ 9,005 ไร่ ผลิตปุ๋ยโพแทช 1 แสนตัน ต่อปี ประทานบัตรอายุ 25 ปี มูลค่าลงทุน 3,000 ล้านบาท และโครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดชัยภูมิ ของบริษัท อาเซียน โปแตซ ชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) อำเภอบำเหน็จณรงค์ พื้นที่ 9,700 ไร่ ผลิตปุ๋ยโพแทช 1.1 ล้านตัน ต่อปี ประทานบัตรอายุ 25 ปี มูลค่าลงทุน 45,000 ล้านบาท คาดว่าจะผลิตได้ในปี 2561-2562 นอกจากนี้ ยังมีโครงการอีกจำนวนมากที่อยู่ระหว่างขอประทานบัตร ขออาชญาบัตรเพื่อสำรวจ คาดว่าภายในปี 2560 จะมีนักลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นแน่นอน

“แม้ไทยจะมีแร่โพแทสเซียมจำนวนมาก แต่อีก 2 แร่ที่เหลือซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของปุ๋ยคือ ไนโตรเจนจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีศักยภาพในการผลิตภายในประเทศต่ำมาก อยู่ที่ประมาณ 20% หรือประมาณ 5 แสนตัน ต่อปี ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 80% หรือประมาณ 2 ล้านตัน ต่อปี ขณะที่แร่ฟอสฟอรัสไทยไม่สามารถผลิตใช้เองได้ทำให้ต้องนำเข้า 100% หรือประมาณ 1 ล้านตัน ต่อปี ดังนั้น ตามแผนที่ กพร. จะเสนอรัฐบาลคือ จะขอให้รัฐบาลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกสิทธิประโยชน์เพื่อกระตุ้นให้เอกชนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อผลิตวัตถุดิบปุ๋ย คือ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และให้นำกลับมาผสมกับแร่โพแทช เพื่อผลิตปุ๋ยสำเร็จรูปในไทยต่อไป” รายงานข่าวระบุ

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองอธิบดี กพร. กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กพร. ได้หารือกับบีโอไออย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าในระดับกระทรวง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการบีโอไอ น่าจะมีการหารือถึงความเป็นไปได้และกำหนดแนวทางสนับสนุนต่อไป

หวั่นหลังเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ขาดแคลนแรงงานประมงหนัก เรือมีสิทธิจอดตายออกหาปลาไม่ได้เกินครึ่งของเรือประมงพาณิชย์ ส่งผลกระทบปลาขาดแคลนและราคาสูงลิ่ว สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเร่งแก้ปัญหา พร้อมเสนอทางออกให้อธิบดีกรมประมงเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอีกรอบแทนกระทรวงแรงงาน

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานทำประมงว่า จากการสำรวจของสมาคมประมงจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ 21 จังหวัดถึงจำนวนเรือประมงพาณิชย์ที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ และจำนวนแรงงานที่ขาดแคลนที่ส่งตัวเลขมาที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยในช่วงวันที่ 6-7 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่าเรือประมงขาดแคลนแรงงาน 50,995 คน มีจำนวนเรือประมงที่จอดแล้ว 1,836 ลำ และคาดว่าจะจอดเพิ่มอีก 1,907 ลำ หากภาครัฐไม่มีการแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลน เพราะมีเรืออีกจำนวนมากขาดแคลนแรงงาน แต่ยังพอเอาเรือออกทำการประมงได้ เช่น ต้องการ 30 คนต่อลำ แต่มี 22 คนต่อลำก็พอเอาเรือออกได้ ดังนั้น หากไม่มีการแก้ไข เรือประมงพาณิชย์จะไม่สามารถออกทำการประมงได้อีกมากจังหวัดที่มีเรือประมงจอดมากที่สุดในขณะนี้คือ จ.ปัตตานี มีทั้งสิ้น 500 ลำ ขาดแคลนแรงงาน 9,000 คน จ.ตราด เรือจอด 370 ลำ ขาดแคลนแรงงาน 2,655 คน ทั้งที่อยู่ติดกับประเทศกัมพูชา จ.สงขลา เรือจอดแล้ว 120 ลำ ขาดแคลนแรงงาน 2,815 คน คาดว่าเรือจะจอดเพิ่มอีก 532 ลำ จ.ระยอง เรือจอดแล้ว 214 ลำ เพราะขาดแคลนแรงงาน 9,354 คน คาดว่าเรือจะจอดเพิ่มอีก 200 ลำ จ.สมุทรปราการ เรือจอดแล้ว 50 ลำ เพราะขาดแคลนแรงงาน 4,000 คน คาดว่าเรือจะจอดเพิ่มอีก 100 ลำ จ.สมุทรสาคร เรือจอดแล้ว 80 ลำ ขาดแคลนแรงงาน 2,000 คน เป็นต้น

ในเร็ว ๆ นี้ทางผู้บริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและตัวแทนจากสมาคมประมงจังหวัดต่าง ๆ จะเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานประมงโดยด่วน เพราะขณะนี้เรือประมงไม่สามารถออกทำการประมงถึง 20-30% หากไม่มีการแก้ไข แรงงานประมงต่างด้าวที่กลับประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์อาจไม่กลับมาทำประมงอีก ซึ่งอาจจะขาดแคลนแรงงานหนัก เรือจะไม่สามารถออกทำการประมงได้เป็น 50-60% ของเรือประมงพาณิชย์ที่มีใบอนุญาตทำการประมง 1.1 หมื่นลำ และถึงสิ้นปีหากไม่มีการแก้ไขตัวเลขเรือจอดอาจถึง 80% ซึ่งจะโกลาหลทั้งประเทศ ส่งผลต่อผู้บริโภคที่จะซื้อปลาในราคาสูงลิ่วหรืออาจขาดแคลน

ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานบอกว่าแรงงานประมงขาดแคลนเพียง 10,000 กว่าคน และพยายามจะทำบันทึกความเข้าใจหรือ MOU กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหาแรงงานใหม่เข้ามาทำงานในไทยโดยถูกกฎหมาย แต่ก็ทำได้เพียงประเทศกัมพูชากับเวียดนาม และมีแรงงานใหม่ป้อนเรือประมงได้เพียงเล็กน้อย ความหวังที่จะดึงแรงงานจากประเทศเมียนมาที่มีค่อนข้างมาก กระทรวงแรงงานยังไม่สามารถทำ MOU กับประเทศนี้ได้ ทางออกในเรื่องนี้ ภาครัฐต้องให้อธิบดีกรมประมงใช้อำนาจตามมาตรา 83 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานประมงจากแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่อยู่ในไทยประเภทบัตรขาดอายุและจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน ถ้าลูกจ้างจะย้ายนายจ้างที่เป็นเรือประมงด้วยกันก็ไม่มีปัญหา

หากไปให้กระทรวงแรงงานดำเนินการเอาแรงงานผิดกฎหมายในไทยมาขึ้นทะเบียน (ผ่อนผันให้บัตรสีชมพู) อาจจะเข้าวงจรเดิมที่เปลี่ยนนายจ้างบ่อย ที่ผ่านมามักจะย้ายไปทำงานบนบกกันมาก ทำให้แรงงานประมงขาดแคลนอีก นายมงคลกล่าว

ขณะที่นายภูเบศ จันทนิมิ billspayroll.com อดีตประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำ MOU ดึงแรงงานใหม่จากประเทศเพื่อนบ้านมาทำงานประมง ค่อนข้างมีน้อย เพราะประเทศเพื่อนบ้านอาจไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ดังนั้น ภาครัฐควรผ่อนผันดึงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในไทยมาขึ้นทะเบียนใหม่อีกรอบ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจหน่วยเจาะบ่อน้ำบาดาลของ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล(ทบ.) พร้อมเยี่ยมชมการเจาะบ่อน้ำบาดาลและส่วนประกอบของเครื่องสูบน้ำแบบเทอร์ไบร์ ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินบ้านสายไฟ หมู่ 11 ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ จ.ตรัง โดยมีนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีทบ. เดินทางไปด้วย

นายสุพฤติ ปัทมรุจ ประธานกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับการสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร เปิดเผยว่า พื้นที่ ต.ท่าสะบ้านั้น แห้งแล้งทุกปีจะมีน้ำก็เฉพาะหน้าฝน สภาพพื้นดินเป็นทรายปลูกพืชอะไรก็ไม่ค่อยได้ผล การเพาะปลูกก็ปลูกแบบแร้นแค้น น้ำไม่มี พันธุ์ต้นกล้าก็เหี่ยวเฉาตายหมด ในส่วนของประปาหมู่บ้านนั้น บ่อผลิตน้ำอยู่ห่างไกลทำให้น้ำไหลมาน้อยมากต้องรองน้ำไว้ใช้ในตอนกลางคืน ต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่อนุมัติงบประมาณเจาะบ่อน้ำบาดาลมาให้ ต่อไปนี้คงทำให้ท้องถิ่นมีรายได้จากการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบบึงน้ำสาธารณะหลายแห่งในพื้นที่ ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท พบว่ามีสภาพที่กำลังแห้งขอดจากสภาวะภัยแล้งที่กำลังคุกคามอย่างหนัก อีกทั้งลำคลองส่งน้ำต่างๆ ก็แห้งขอดเหลือเพียงโคลนตมท้องคลองเช่นกัน ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องยอมทิ้งร้างนาข้าวและพื้นที่เกษตรจำนวนหลายพันไร่ เพราะไม่มั่นใจว่าถ้าลงมือเพาะปลูกจะมีน้ำเพียงพอที่จะใช้หล่อเลี้ยงหรือไม่ โดยชาวนารายหนึ่งเปิดเผยว่า ในปีนี้สภาวะภัยแล้งถือว่ามาเร็วกว่าปี 2559 ซึ่งชาวนาที่ต้องการปลูกพืชทดแทนเพื่อสร้างรายได้ช่วงงดทำนาก็ไม่มั่นใจในสถานะจึงยอมงดทำการเพาะปลูกลงอย่าสิ้นเชิง

นอกจากนี้ จากการสำรวจในพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่หมู่ 3 ต.อู่ตะเภา ก็พบว่าเกษตรกรพยายามที่จะสูบน้ำก้อนสุดท้ายที่เหลือติดบึงน้ำในพื้นที่ของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้รดพืชผักที่ลงมือเพาะปลูกไว้ก่อนหน้านี้จนน้ำแห้งเหือดเหลือแต่ดินโคลน ซึ่งชาวนาบอกว่าถือว่าเป็นน้ำก้อนสุดท้ายที่ยังพอมีความหวังที่พืชผักที่ปลูกไว้จะต่อชีวิตไปได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น