ก็เป็นไก่ตายแต่ผมยังหวังว่าหากมันทำได้ มันจะงดงามเพียงไหน

นกอินทรีในร่างไก่กุ๊กๆ “แล้วที่น้าทำทุกวันนี้ เป็นยังไงครับ” “ผมกำลังชวนเพื่อนมาร่วมกัน การทำเกษตรหากเราอยู่เดี่ยวก็ไร้อนาคต เราสู้กลไกการตลาดไม่ได้หรอก เราต้องเป็นนกอินทรีด้วยกัน ทางที่ดีคือเกษตรกรต้องรวมกลุ่ม ผลิตสินค้าให้ได้จำนวนที่เพียงพอ ในราคาที่จับต้องได้ และในรายได้ที่พอใจ ไม่จำเป็นต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง การรวมกลุ่มเป็นแบบวิสาหกิจชุมชนเช่นกัน แต่ของเราเน้นในรูปแบบการเกษตร”

น้าอ้วนพายเรือพาผมมาหยุดที่ต้นฝรั่งหงเป่าสือ ทรงต้นที่แตกยอดสะพรั่ง ในแต่ละยอดก็จะมีการทาบกิ่งไว้รอบต้น บางส่วนปล่อยให้ติดผลห้อยระย้า ผิวผลที่แก่จัดเมื่อต้องแสงแดดเป็นสีเขียวอ่อนอมทองสวยงามมาก เมื่อเด็ดผลมาเฉาะเท่านั้นแหละใจละลายเลย ผิวผลเขียวอ่อนอมเหลือง แต่เนื้อในสีแดงเรื่อ เมล็ดน้อย กลิ่นหอมแบบฝรั่งไทยอ่อนๆ น้าอ้วนเฉาะเป็นชิ้นยื่นให้ผม ไม่รอช้าดมกลิ่น กัด และเคี้ยว

“กรอบ หอม หวาน รสจัดดีมากเลยน้า แบบนี้ไม่ต้องจิ้มพริกเกลือเลย”

“พี่เคยกินมากี่สายพันธุ์แล้ว ลองเทียบได้ไหมว่าเป็นยังไง”

“ตอบตามลิ้นผมนะ ความกรอบสุดยอด กลิ่นกำลังดี เมล็ดน้อยและนิ่ม สีได้เต็มสิบ แดงได้ใจจริงๆ ความหวานผ่านสบายๆ ที่สำคัญ รสเข้มจัดกว่าทุกสายพันธุ์ที่เคยชิมมา หากให้เลือก ผมเอาด้วย ผมขอปลูกด้วย”

“เข้าใจแล้วใช่ไหม ทำไมผมเน้นสายพันธุ์นี้”

“กิ่งแพงไหมครับ”

“กิ่งละพัน”

“เอา 2 กิ่ง”

“โนๆ รออีกนานพี่ คิวยังยาว ผมทำได้คราวละไม่มากครับ ต้นแม่ยังมีน้อย วันนี้แค่ชิมไปก่อนแล้วกัน”

“ที่สวนยังมีอะไรให้เล่นอีกไหมน้า เห็นอีกหลายร่องสวน”

“อีกเยอะครับ ตอนนี้ผมปลูกรอชิมผลก่อน สายพันธุ์ไหนผ่านก็ทำกิ่ง สายไหนไม่ผ่านก็ยุติการเดินทาง ที่สวนมีฝรั่ง ชมพู่ น้อยหน่า มะม่วง ส้ม ส้มโอ ฟิกส์ มัลเบอรี่ เอาเป็นว่าพี่อยากเห็นผลไม้อะไร ที่นี่มีให้พอเห็นและชิมครับ”

“เน้นไต้หวันใช่ไหมครับ”

“ครับ และเน้นว่าต้องอร่อยที่ผมชิมแล้วชอบเท่านั้นด้วย ยังมีอีกหลายอย่างให้ชิมครับ รอแก่จัดสักหน่อย”

“ว้าววว ก่อนจากกัน ถามชัดๆ หากมีสมาชิกมาขอชมสวนหรือต้องการเรียนรู้ ติดต่ออย่างไรครับ”

“นัดล่วงหน้าครับพี่ที่โทร. (098) 261-3412 หรือ ติดตามที่เฟซบุ๊ก น้าอ้วน บ้านเกษตรพอเพียง ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ”

“สำหรับสมาชิกจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ติดต่อไปได้ไหมครับ”

“ยินดีครับ หากมาถึงสวน อาจมีอะไรติดมือกลับไปปลูกกันด้วยครับ” แดดยามบ่ายเริ่มโรย แสงสว่างเริ่มลาลับ ผมขับรถออกจากสวนน้าอ้วนก่อนพลบค่ำ เรอเพราะชิมฝรั่งอร่อยๆ ไปหลายผล วางหมุดไว้ในใจ จะกลับมาเยือนอีกครั้งในช่วงที่ผลไม้ชนิดอื่นสุกหรือแก่จัด เพื่อจะไปชิมให้รู้รส ขอบคุณนะน้าอ้วนและน้าอ้อย บ้านเกษตรพอเพียง

เกษตรกรรม เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน อาจเรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือดของคนไทยทุกคนก็ว่าได้ เพราะอย่างน้อยผู้ที่อาศัยอยู่ยังต่างจังหวัด ก็จะต้องเห็นการทำกสิกรรมของเกษตรกรในทุกสาขา เพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และยังสร้างแหล่งของอาหารเลี้ยงคนทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

จึงทำให้เป็นงานในความฝันของใครหลายๆ คน ที่จะได้ทำอาชีพทางด้านนี้ เพราะไม่เพียงได้อยู่กับธรรมชาติ แต่กลับสร้างความสุขให้กับผู้ได้ทำอาชีพด้านนี้อีกด้วย เหมือนเช่น คุณธีร์วศิษฐ์ วงค์ปัญญา เจ้าของ ไร่ปลูกฝัน หมู่ที่ 9 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผันชีวิตมาทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญความสุขที่เขามีก็เต็มเปี่ยมล้นใจด้วยเช่นกันทีเดียว

จากหนุ่มออฟฟิศผันชีวิตเป็นเกษตรกร

คุณธีร์วศิษฐ์ หนุ่มคลื่นลูกใหม่ไฟแรง วัย 27 ปี เล่าให้ฟังว่า เมื่อได้เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้มีโอกาสเข้าทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาบริษัทเกิดปัญหาทำให้ต้องปิดกิจการลง ทำให้เขาต้องถูกเลิกจ้างจากบริษัทในขณะนั้นทันที จึงได้กลับมาอยู่บ้านและมีความคิดที่อยากจะสร้างอาชีพอิสระเป็นของตนเอง โดยไม่กลับไปเป็นลูกจ้างเหมือนที่เคย

“ช่วงที่มาอยู่บ้านก็สมัครงาน หางานทิ้งไว้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่มีที่ไหนติดต่อมา ก็เลยรู้สึกว่าไม่อยากที่จะกลับไปอยู่ในวังวนเดิมๆ เพราะถ้าจะไปทำที่กรุงเทพฯ ก็ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่ใกล้ครอบครัว ที่นี้ก็มามองดูว่า มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในที่ดินของเราเอง เพราะส่วนตัวผมเองชอบทำการเกษตรอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจที่อยากจะทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักในแบบที่ฝันไว้อย่างตั้งใจแน่วแน่ จะทำกับสิ่งนี้มาตลอดสมัยยังเด็กคือ ชีวิตเกษตรกร” คุณธีร์วศิษฐ์ เล่าถึงที่มา

ในช่วงแรกที่เริ่มวิถีชีวิตเกษตรกรใหม่ๆ คุณธีร์วศิษฐ์ บอกว่า ยังจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูกมากนัก โดยเน้นผลิตผักสวนครัวเพียงอย่างเดียว ที่เป็นชนิดเดียวตลาดยังไม่สอดคล้อง ต่อมาจึงเป็นกังวลในเรื่องของตลาด จึงได้ตัดสินใจสำรวจตลาด เพื่อวางแผนผลิตให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า โดยเน้นทำการค้าแบบตลาดนำ โดยไม่ปลูกพืชตามใจตนเอง ทำให้เขามีการปลูกพืชหลากหลายมากขึ้น และที่สำคัญตลาดมีความต้องการอีกด้วย

จัดโซนปลูกพืชให้ชัดเจน

ในเรื่องของการทำสวนที่เป็นอาชีพสำหรับสร้างรายได้ของคุณธีร์วศิษฐ์นั้น เขาบอกว่ามีการจัดสรรแบ่งพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อมาปรับใช้กับที่ดินของตนเอง

โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ พื้นที่แปลงผัก และสร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าไม้ และอนาคตได้คิดวางแผนไว้ว่า จะมีพื้นที่ปลูกข้าว สำหรับเป็นผลผลิตอินทรีย์ตอบโจทย์ให้กับลูกค้าอีกด้วย

“วิธีการเตรียมแปลง สำหรับปลูกผักที่สวนผม เริ่มแรกก็จะตากดินก่อน ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นก็จะย่อยดินให้เป็นเม็ดเล็กๆ พร้อมกับผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ขี้เถ้าแกลบ ลงไปด้วย เพื่อให้ดินภายในแปลงระบายอากาศได้ดี เพราะว่าดินในแปลงผมมันมีลักษณะเป็นดินเหนียว จึงจำเป็นต้องเพิ่มอินทรียวัตถุเหล่านี้ลงไปช่วย ก็จะทำให้สภาพดินในแปลงจากที่ดินเหนียว มีความร่วนซุย ระบายน้ำ อากาศ ได้ดี และรากของพืชสามารถชอนไชได้ดี พืชก็จะเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ” คุณธีร์วศิษฐ์ บอก

ซึ่งแปลงสำหรับปลูกผักภายในสวน คุณธีร์วศิษฐ์ บอกว่า จะยกร่องให้แปลงมีความสูง 15-20 เซนติเมตร มีความกว้าง 1 เมตร ความยาวแปลงอยู่ที่ 10-12 เมตร เมื่อแปลงที่เตรียมไว้ได้ระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นจะนำต้นกล้าผักที่เพาะไว้มาปลูกลงภายในแปลง เช่น ต้นกล้าผักสลัด ต้นกล้าพริก ต้นกล้ามะเขือ แต่ถ้าเป็นผักพวกคะน้า กวางตุ้ง จะใช้วิธีหว่านลงไปภายในแปลง เมื่อผักเริ่มงอกจุดไหนที่เห็นว่าหนาแน่นจนเกินไป ก็จะแยกไปปลูกตรงบริเวณอื่น เพื่อจัดระยะการปลูกให้เหมาะสม

โดยกล้าผักสลัดอายุก่อนปลูกลงแปลง อยู่ที่ 20 วัน ส่วนกล้าของพริก มะเขือ ก่อนที่จะปลูกลงแปลงจะเพาะให้มีอายุอยู่ที่ 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง

“ระยะห่างระหว่างต้นมะเขือและพริก อยู่ที่ 40-50 เซนติเมตร ส่วนผักสลัด จะให้มีระยะห่าง ประมาณ 1 คืบ โดยปลูกให้เป็นสลับฟันปลาเพื่อให้จำนวนต้นที่ปลูกในหนึ่งแปลงได้จำนวนมากขึ้น หลังปลูกเสร็จแล้ว ก็จะรดน้ำตามปกติถ้าวันนั้นสภาพอากาศดี แต่ถ้าวันไหนร้อนมากเกินไป ก็จะรดน้ำมากขึ้นในช่วงเที่ยงด้วย การดูแลเมื่อปลูกได้สัก 7 วัน ก็จะมีการใส่ปุ๋ยยูเรียเข้ามาช่วยสำหรับพืชกินใบเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นพืชให้ผล เช่น มะเขือ พริก ช่วงแรกจะใส่สูตรเสมอ 15-15-15 ก่อน พอเริ่มจะติดดอกให้ผลก็จะเปลี่ยนเป็นสูตร 8-24-24 อัตราส่วนที่ใช้ก็ประมาณ 300-400 กรัม ต่อแปลง จากนั้นก็รอเก็บผลผลิตขายต่อไป” คุณธีร์วศิษฐ์ บอก

การดูแลป้องกันโรคและแมลงนั้น คุณธีร์วศิษฐ์ เล่าว่า จะเน้นฉีดพ่นด้วยสารชีววิถีที่เป็นมิตรกับตัวเขาเอง โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราขาวบิวเวอเรียเข้ามาช่วย โดยจะให้มีประสิทธิภาพที่ดีนั้นจะต้องเน้นฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นหรือเวลากลางคืน เพราะจะทำให้เชื้อรามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและแมลงได้ดี ไม่เพียงแต่ปลอดภัยกับตัวเขาเองเพียงอย่างเดียว ยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย

เน้นสินค้าคุณภาพ สร้างแบรนด์ด้วยตนเอง

การทำตลาดสำหรับจำหน่ายนั้น คุณธีร์วศิษฐ์ได้สำรวจตลาดจนมีความรู้และเข้าใจอย่างท่องแท้ ในความต้องการของลูกค้าในชุมชน จึงทำให้ผลผลิตที่มีออกมาจำหน่ายนั้นไม่มีล้นตลาด และที่สำคัญในเรื่องของราคายังได้ผลกำไรดีอีกด้วย เพราะสินค้าจะส่งให้กับลูกค้าโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

“ผลผลิตที่ออกจากสวน เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่เน้นคุณภาพก็ว่าได้ โดยเราไม่ได้เน้นที่ปริมาณ เป็นผักที่ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัยต่อลูกค้า ดังนั้น จึงสามารถทำราคาที่สูงขึ้นมาได้ อย่าง กวางตุ้ง และผักสวนครัวต่างๆ ราคาขายกิโลกรัมละ 17 บาท ผักสลัด กิโลกรัมละ 80 บาท ที่ทำเยอะสุดจะเป็นผักสวนครัว ตอนนี้ผมก็เพาะกล้าไม้เสริมเข้ามาช่วยด้วย เป็นการเสริมรายได้อีกทาง เพื่อให้กับเกษตรกรที่ปลูกลดเวลาเรื่องการเพาะต้นกล้าออกไป ซื้อไปแล้วปลูกลงในแปลงของเขาได้เลย เช่น ต้นกล้าดอกดาวเรือง ต้นกล้าพริก ต้นกล้ามะเขือ ราคาขายอยู่ ตั้งแต่ถาดละ 200-500 บาท จึงถือเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้เพิ่ม” คุณธีร์วศิษฐ์ บอกถึงเรื่องการทำตลาด

จากกระแสสังคมของคนในปัจจุบัน ที่มีการใช้โซเชี่ยลมีเดียเป็นอย่างมาก เขาไม่ได้เน้นทำการตลาดจากการส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการโพสต์สินค้าลงทางเฟซบุ๊ก ก็สามารถสร้างฐานลูกค้าออนไลน์ให้กับเขาได้อีกด้วย เพราะแม้แต่การขนส่งเองก็มีความทันสมัยมากขึ้น แม้จะอยู่คนละจังหวัดก็สามารถซื้อสินค้าจากสวนของเขาไปถึงที่บ้านได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำอาชีพทางการเกษตร คุณธีร์วศิษฐ์ บอกว่า การทำเกษตรไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะยังไม่ต้องลาออกจากงานประจำมาทำก็ได้ เพียงแต่ค่อยๆ เริ่มเป็นแบบอาชีพเสริมรายได้รองจากอาชีพหลัก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำเกษตรคือ ต้องมีใจรัก เมื่อมีใจรักในการทำเสียแล้ว ทำอะไรก็จะประสบผลสำเร็จแน่นอน

“ทุกวันนี้บอกเลยว่า ผมมีความสุขมาก ที่ได้มาทำงานเกี่ยวกับการเกษตร เพราะทำให้ผมได้อยู่กับครอบครัว ถึงแม้จะมีบางช่วงที่เหนื่อย ในเรื่องของลงแรงในการทำ วิ่งส่งผลผลิตให้กับลูกค้า แต่มันก็มีความสุขกับสิ่งที่ทำ สำหรับผมการเกษตรไม่ใช่สิ่งที่เป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ยังสร้างความสุขให้กับผมอีกด้วย” คุณธีร์วศิษฐ์ กล่าวแนะนำ

ปีนี้มีความผิดปกติทางสภาพอากาศมากพอสมควร หนาวนี้มาแรง ได้ใส่เสื้อกันหนาวผืนเก่าที่งัดตู้ออกมาเตรียม เมื่อถึงเดือนมีนาคม-เมษายน อากาศก็จะร้อนถึงร้อนจัด ผลไม้ต่างๆ ดูเหมือนจะให้ผลผลิตเปลี่ยนระยะเวลาผิดปกติไปนิด ทุเรียนหนึ่งเดียวของภาคเหนือคือ “ทุเรียนหลงลับแล” ของอุตรดิตถ์ เดือนกุมภาพันธ์ ทุเรียนหลงลับแลที่สวนกำลังติดช่อดอกตูมๆ ถึงติดดอก ก็กะเอาตามหลักวิชาการทุเรียนจะใช้เวลาตั้งแต่ดอกบานถึงผลสุกแก่ประมาณ 100-120 วัน แต่พันธุ์หมอนทองจะยาวถึง 135 วัน

คงเป็นเพราะต้องสร้างลูกสร้างผลใหญ่ พันธุ์ลูกเล็กๆ อย่างกระดุม หรือแม้แต่หลงลับแลก็จะใช้เวลาประมาณ 100 วัน ถ้าเดือนธันวาคมเริ่มแตกตาออกอีก 2 เดือน เดือนกุมภาพันธ์ดอกจะเริ่มบาน และอีก 3 เดือน ผลถึงจะแก่คือ พฤษภาคม-มิถุนายน ทีนี้ก็จะไล่เรียงกันไปแต่ละต้น ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล คือทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้รับการยอมรับและรับรองพันธุ์ว่าเป็นทุเรียนพื้นเมืองที่มีคุณสมบัติโดดเด่นที่สุด ก็จะออกมาให้ผู้คนลิ้มรส สมดังรอคอยมาเป็นปี

“ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล” ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2520 จากการประกวดทุเรียนที่ปลูกด้วยเมล็ด ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และจังหวัดอุตรดิตถ์ มีชาวสวนนำทุเรียนเข้าประกวดมากมาย ซึ่งในปีนั้น ทุเรียนลับแล กำลังเป็นที่เล่าลือ กล่าวขานถึงกันมาก เป็นสินค้าเกษตรที่บอกเล่ากันมาว่า คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน คือเป็นผลผลิตเกษตรที่มีราคาดี เป็นที่ชื่นชอบ นิยมที่จะซื้อเป็นของฝาก หลายคนต่างก็มีผลทุเรียนของตนเองที่แตกต่างกัน เพราะทุเรียนที่ปลูกด้วยเมล็ดต่างก็ไม่รู้หรอกว่ามีความเด่น หรือมีจุดด้อยอย่างไร จนคณะกรรมการประกวด ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน มอง 360 องศา ได้ตัดสินให้ทุเรียนของ นายสม-นางหลง อุปละ ชนะเลิศได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เมื่อมีการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว พบว่ามีความนิ่งในคุณสมบัติต่างๆ ทั้งเนื้อ รสชาติ ขนาด ลักษณะผล ต้น ใบ และยังคงรักษาคุณภาพดีเด่นนี้ไว้ได้ จึงมีการรับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2521 คณะกรรมการรับรองพันธุ์ได้ตั้งชื่อพันธุ์ทุเรียนนี้ว่า “หลงลับแล”

ได้มีการสืบค้นประวัติ ต้นแม่ที่ปลูกอยู่ในสวน พบว่าคนเดิมที่ปลูกทุเรียนต้นนี้คือ “นายมี หอมตัน” ปลูกทำสวนที่ม่อนน้ำจำ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2479 ต่อจากนั้นทุเรียนสวนนายมี หอมตัน ได้เปลี่ยนเจ้าของมาเป็น “นายสม และ นางหลง อุปละ” ซึ่งสวนนี้มีต้นไม้ต่างๆ มากมาย มีทุเรียนอยู่นับสิบต้น และมีทุเรียนต้นพิเศษอยู่ต้นหนึ่ง มีลักษณะแตกต่างไปจากต้นอื่น รสชาติดี เมล็ดลีบ ก็คือต้นที่มีนำผลมาประกวดจนชนะเลิศนี้

ทุเรียนที่ นายสม-นางหลง ส่งเข้ามาประกวดนั้น ดังที่บอกว่ามีความพิเศษแตกต่างจากต้นอื่น เป็นทุเรียนที่มีเมล็ดลีบ หาเมล็ดดีๆ ที่จะขยายพันธุ์ยาก แทบไม่มีเมล็ดดีเลย สมัยนั้นเรียก “ทุเรียนเมล็ดตาย” ทุเรียนต้นนั้น ปลูกขึ้นอยู่ริมห้วยบนม่อนน้ำจำ มีเนื้อในสีเหลืองค่อนข้างจัด มีเจ้าของชัดเจน สมัยนั้นมีคนเรียกชื่อว่า “ทุเรียนต้นห้วยในเหลืองสัญญา” คำว่าสัญญา คือมีคนเป็นเจ้าของรับประกันคุณภาพ ซึ่งขณะนั้น นายสม-นางหลง ขายทุเรียนจากต้นนี้ได้ในราคาที่สูงกว่าต้นอื่น และเชื่อว่าทุเรียนต้นอื่นไม่มีเหมือน แบบว่าต้นนี้เลิศที่สุดในลับแลแล้ว

“ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล” มีคุณสมบัติที่เด่น ชัดเจนแตกต่างจากทุเรียนพันธุ์อื่นๆ เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะประจำพันธุ์ มีการจัดเรียงกิ่งแบบไม่เป็นระเบียบ แผ่ใบเรียบโคนใบห่อและแผ่ออกทางปลายใบ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบฐานใบสอบแหลม ดอกตูมกลมรี ลักษณะผลจะเล็กกลมรี ปลายผลฐานผลป้าน ก้านผลมีขอบนูน หนามเว้าปลายแหลม จุดปลายผลไม่มีหนาม หนามรอบขั้วผลกลับส่วนปลายโค้งงอ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.4 กิโลกรัม เนื้อสีเหลือง เนื้อละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมันพอดี เนื้อละเอียดไม่มีเส้นใย เมล็ดลีบร้อยละ 97.8 ลักษณะผลกลมรี พูไม่เด่นชัด เปลือกบาง เนื้อแห้ง ลักษณะเด่นคือเนื้อมาก เมล็ดลีบเล็ก บางผลจะมีเมล็ดลีบทั้งผล อายุการเก็บเกี่ยว 100-110 วันหลังดอกบาน ต้นให้ผลอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป อายุ 15 ปี เชื่อว่าจะเป็นช่วงให้ผลดีและมากที่สุด

ดังที่เล่าความถึงทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลงลับแล ทุเรียนต้นนั้นหมดอายุไขไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เมื่ออายุประมาณ 50 ปี แล้ว แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของนักส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด คติการ และทีมงานนักส่งเสริมการเกษตร โดยการนำของ นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติ เกษตรอำเภอลับแล (ชื่อสกุล และตำแหน่งขณะนั้น) ได้แนะนำให้เกษตรกรอำเภอลับแล นำยอดพันธุ์ทุเรียนหลงลับแล จากต้นเดิมก่อนที่ต้นเดิมจะตาย มาขยายพันธุ์ โดยวิธีการเสียบยอด ได้รับความสำเร็จ ซึ่งทุเรียนต้นเดิมนั้น สูงราว 15 เมตร เส้นรอบวงต้น 1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม ประมาณ 12 เมตร จนขณะนี้ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล ได้ขยายปลูกกันแพร่หลายไปทั่วอำเภอลับแล โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลแม่พูล ตำบลฝายหลวง ตำบลนานกกก ขยายถึงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภออื่นๆ อีกมาก

ทุเรียนเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ นุ่น-ทุเรียน Bombacaceae ชื่อสามัญ DURIAN ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus Murr. เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่กระจายแถบเส้นศูนย์สูตร ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า อินเดีย ศรีลังกา ไทย ในไทยคาดว่าคงเข้ามาสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ระยะแรกๆ เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ต้นเก่าแก่มีให้พบเห็นหลายพื้นที่ เช่น จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และที่ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรากฏหลักฐานล่าสุดของทุเรียนลับแล คือพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งเสด็จเมืองลับแล เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2444 กล่าวถึงทุเรียนเมืองลับแลว่า เป็นฤดูที่ทุเรียนสุกมีกลิ่น เห็นว่าเหม็นตลอดไปทั้งนั้น

ปีนี้การปลูกทุเรียนพันธุ์หลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ปลูก กว่า 2,300 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว กว่า 1,600 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 2,500 ตัน ทุเรียนหลงลับแล ก็ยังให้ผลผลิตได้ไม่มากเพียงพอกับความต้องการที่หลายคนใฝ่หา ปีนี้ทุเรียนหลงลับแลเกิดภาวะผันผวนเล็กน้อย เนื่องจากสภาวะภูมิอากาศที่ไม่ค่อยเหมือนปกติ คงจะเริ่มออกสู่ตลาดหลังกำหนดเล็กน้อย แต่ถ้ามีทุเรียนหลงลับแลออกมาช่วงก่อนสงกรานต์นี้ ก็ต้องแนะนำกันว่า ท่านต้องดูดีๆ เกรงจะมีพันธุ์หลงย้อมแมว หลงสวน หรือหลงที่หลงทาง หลงให้เราเสียเงินซื้อ พึงระวัง

ก็ขอฝากเตือนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียน และผู้ประกอบการค้าทุเรียนว่า ผลไม้ที่ชิงออกมาก่อนเขา มักจะได้ราคาดี ทำให้ได้เงินเยอะ แต่ถ้าไม่ดู ไม่คิดให้ถ้วนถี่ว่าถึงเวลาที่ทุเรียนจะให้เก็บเกี่ยวได้แล้วหรือยัง อาจจะมีทุเรียนหลงลับแลที่มีลักษณะกระทบร้อนตอนสงกรานต์เมษายน ทำให้ดูผลดูเปลือกคล้ายว่าสุกแก่กินได้แล้วก็ตัดกันออกมา ถ้าไปเจอลูกที่เนื้อยังไม่เริ่มเปลี่ยนสี เมล็ดยังโตจนโผล่เนื้อออกมาให้เห็น แม้จะผ่าเปลือกได้ง่ายแต่เนื้อยังไม่สุกก็ยังกินไม่ได้

หลายปีที่ผ่านมา ทุเรียนหลงลับแลขายกันกิโลกรัมละ 200-400 บาท ลูกหนึ่ง 300-500 บาท คนซื้อไปอยากลองลิ้มชิมรสก็รอไป จนทนไม่ไหวผ่าดูพบว่ายังไม่สุกแก่ทิ้งไว้ก็เน่าเสียหาย ยิ่งเอาไปเป็นของฝากผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ คิดดูเถิดพี่น้อง ท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร ก็ขอให้ช่วยกันระวังให้ดีๆ จะได้มีทุเรียนหลงลับแลที่มีชื่อเสียง ประดับเป็นเพชรเม็ดงามของอุตรดิตถ์ ประทับอยู่ในความทรงจำและในใจผู้คนตลอดไป

สำนวนสุภาษิตนี้มีที่มาอย่างไร ยากที่จะเดา แต่คงต้องมีมะกอกลูกกลมๆ แข็งๆ อยู่ในตะกร้าแน่นอน หยิบปาใส่คนเท่าไรก็ปาไม่ถูกสักที เหมือนกับว่า จับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน และไม่น่าเชื่อถือ เปรียบเทียบกับคนที่พูดจาตลบตะแลง กลับกลอก เอาตัวรอดเก่ง รู้จักใช้คำพูดพลิกไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน พลิกแพลงเอาตัวรอดได้เสมอๆ ซึ่งก็มักเปรียบเปรยถึงคนที่หลบหลีกเก่งได้คล่องแคล่ว แม้จะเอามะกอกสัก 3 ตะกร้าขว้างไปก็ไม่โดน หรือเรียกว่า เป็นคนกลับกลอกนั่นเอง!

พอกล่าวถึงเรื่อง ลูกมะกอก ก็สร้างความงงงวยให้กับคนที่ไม่รู้จักมะกอกดีนักเหมือนกัน เพราะแค่ มะกอกเองนั้นยังสามารถแตกแขนงออกเป็นมะกอกได้หลากหลายสาขา แถมบางพันธุ์ดันอยู่กันคนละเผ่าพันธุ์ แต่ดันชื่อมะกอกเหมือนกันซะอีก!

(….ความหมายจากพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน มะกอก น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้ มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก…)

หากเราลองนึกเล่นๆ ก็พอจะรู้ว่า มะกอก แต่ละอย่างแต่ละชนิดมีหน้าตาเป็นยังไง? มะกอกบ้าน มะกอกป่า มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ มะกอกพราน แล้วยังมีมะกอกลูกดำๆ เขียวๆ ม่วงๆ ของฝรั่ง คือ มะกอก olive พบวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ที่เขาชอบดองใส่ในขวด แล้วเอาไปหั่นใส่หน้าพิซซ่า หรือโรยหน้าสลัด เราลองๆ มาคิดดูว่า มันอาจจะเป็นพวกเดียวกันหรือไม่ก็ไม่รู้เนาะ

มะกอกบ้าน มะกอกป่า (มะกอกส้มตำ) นั้นจะดูคล้ายๆ กัน ลักษณะต้นจะใหญ่ ใบและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวๆ กินเป็นผักอร่อยมาก ถ้าเป็นคนทางภาคกลางเขาจะเด็ดเอามากินกับกะปิหลน สำหรับคนภาคใต้เขาจะเอามากินเหนาะกับแกงรสเผ็ดๆ เช่น แกงกะทิ แกงพริก แกงไตปลา น้ำพริก และขนมจีน หร่อยแรง! ส่วนคนทางภาคอีสานบ้านเฮาเขาจะเอามากินกับลาบหมู เนื้อ ไก่ เป็ด ปลา กุ้ง และน้ำพริกปลาร้า แซ่บหลายๆ
มะกอกบ้าน มะกอกป่า ต้นสูงใหญ่มาก ถ้าอยากจะกินต้องรอให้มันสุกและร่วงเองเท่านั้น…สำหรับเนื้อในแทบไม่มีเลย แต่เมล็ดใหญ่มาก ลูกสุกมีกลิ่นหอม ส่วนมากมักนำไปปรุงรสชาติอาหารมากกว่า กินลูกดิบๆ เวลานำไปทำอาหารมักจะเอาเปลือกติดเนื้อที่สุกบีบดูนิ่มๆ เละๆ สำหรับรสชาติจะเปรี้ยวๆ ฝาดๆ และหวานเล็กน้อย แต่พอกลืนหรือเคี้ยวไปแล้วจะมีรสหวานติดปลายลิ้น

หากพูดถึง มะกอกบ้าน มะกอกป่า สโบเบ็ตคาสิโน ส่วนมากทุกคนมักจะรู้จักและคุ้นเคยกับมะกอกที่ใส่ในส้มตำจะอร่อยหรือไม่? คงต้องไปถามคนอีสานเขาดูแหล่ะกัน! เพราะส้มตำปลาร้าใส่ลูกมะกอกนั้นแซ่บหลายๆ ให้เอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอมเด้อ!

ลูกของ มะกอกบ้าน มะกอกป่า จะมีลักษณะกลมๆ ขนาดเท่าลูกหมาก มีรสเปรี้ยวอมฝาดติดปาก ใช้ปรุงและประกอบอาหาร เช่น ทำพล่า กุ้งเต้น ส้มตำ น้ำพริก ใส่ยำต่างๆ คนไทยดั้งเดิมแต่โบราณถ้าพูดถึงมะกอกก็มักจะหมายถึง มะกอกบ้าน นั่นเอง!

มะกอกพราน คือ มะกอกอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในป่า ลำต้นมีหนาม เปลือกเรียบ ลูกคล้ายๆ ลูกละมุด แต่แข็ง ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าอยู่ร่วมตระกูลกับมะกอกบ้านด้วยหรือเปล่า เพราะส่วนมากมักเคยเห็นแต่ในหนังสือและตามตำราต่างๆ เท่านั้น
มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน บ้างก็บอกว่ามาจากเมืองฝรั่งแน่นอน แต่บางคนก็บอกว่าไม่รู้ว่ามะกอกฝรั่งมาจากไหนกันแน่? มะกอกฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้น มีช่อดอกย่อยสีเหลืองอ่อนขนาดเล็ก ผลจะกลมรี แข็ง มีเปลือกสีเขียวเข้ม พอแก่สีจะอ่อนลงเล็กน้อย
มะกอกฝรั่ง มักจะติดผลตลอดทั้งปี ส่วนมากแล้วจะนิยมกินเป็นผลไม้สดๆ ที่เราจะเห็นเขาขายกันบ่อยๆ ในรถเข็นผลไม้ดอง ซึ่งส่วนมากเขาจะปอกเปลือกมาแล้ว มะกอกฝรั่ง บางพันธุ์มีขนาดผลค่อนข้างใหญ่ รสชาติออกมันๆ มีรสเปรี้ยวนิดหน่อย หรืออาจไม่เปรี้ยวเลย ปอกเปลือกแล้วใช้มีดเฉาะได้เหมือนฝรั่ง

ผลจริงๆ ของมะกอกฝรั่ง ลักษณะจะกลม แข็ง มีเปลือกสีเขียว เนื้อหวานอมเปรี้ยว หรืออาจไม่เปรี้ยวก็ได้ เนื้อกรอบ เมล็ดจะมีลักษณะเป็นขนแข็งๆ ติดอยู่ และตอนนี้มีมะกอกฝรั่งพันธุ์ใหม่ที่นิยมกันมากคือ มะกอกฝรั่งแคระ นำเข้าจากประเทศพม่า ต้นจะขนาดเล็กกว่ามะกอกฝรั่ง

มะกอกฝรั่ง ลักษณะต้นและใบจะคล้ายกับมะกอกป่า ต่างกันที่ยอดของมะกอกฝรั่งจะเขียว มะกอกป่าจะยอดแดง และใบมะกอกฝรั่งจะหยักเป็นฟันเลื่อยชัดเจน