ก่อนนำปลูกลงแปลงให้นำออกมารับแดด 3-4 วัน โอกาสรอด

ตายจะสูงขึ้นข้อด้อยของวิธีปักชำ ต้นที่ได้ดอกจะเล็กกว่าต้นที่ปลูกจากเมล็ด ทำได้ไม่ยากหากใช้ความพยายามครับ นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย เป็นวัตถุดิบอาหารที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองยังมีลู่ทางในการตลาดและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ

ล่าสุด มกอช. ได้จัดสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างมาตรฐานสินค้าสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวทางการปฏิบัติต่างๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำมาใช้ประกอบการปรับปรุงร่างมาตรฐานฯ ให้มีความสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้และกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนนำมาตรฐานสินค้าเกษตรไปใช้ประโยชน์ และการนำไปปฏิบัติเพื่อปรับปรุงระบบการผลิตของตนเอง

นางสาวจูอะดี กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันถั่วเหลืองประเทศไทยมีจุดแข็งคือไม่มีการตัดต่อพันธุกรรม จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพซึ่งมีราคาสูง และมีความต้องการถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองกลับลดลง ซึ่งสาเหตุมาจากเกษตรกรมีปัญหาที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีคุณภาพดี เพราะปัจจุบันยังไม่มีภาคเอกชนที่พัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อจำหน่าย และภาคราชการไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้เพียงพอ

“โดยจากข้อมูลของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร พบว่า ในปี 2561 มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองปริมาณถึง 37,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 4,939,146 บาท เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น” นางสาวจูอะดี กล่าว

เลขาธิการ มกอช. กล่าวต่อว่า มกอช. เร่งเดินหน้าในการสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) รวมทั้งช่วยให้เกษตรกรผู้ผลิตถั่วเหลืองเพื่อนำมาจำหน่าย สามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีคุณภาพง่ายขึ้น การสัมมนาระดมความเห็นครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ไทยมีมาตรฐานการผลิตที่มีความเหมาะสมก่อนที่จะนำมาตรฐานเสนอคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศเป็นมาตรฐานภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตรต่อไป

คุณณัฐวัตร นวลรอด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ข้อมูลว่า การทำเกษตรหลักๆ ในพื้นที่นี้ในสมัยก่อนมีการปลูกพืชหลากหลายชนิดรวมกัน ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น คือสวนยางพารา และมีเกษตรกรบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนมาทำสวนทุเรียน โดยการทำทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่จะเน้นทำผลผลิตนอกฤดู จึงส่งผลให้ในเรื่องของราคาได้ดีตามไปด้วย

“พอเกษตรกรหลายๆ สวน ได้มีการทำทุเรียนนอกฤดู ส่งผลให้เราขายมีผลกำไรค่อนข้างดี ทีนี้เมื่อเห็นว่าปริมาณผลผลิตยังมีไม่มากพอ จึงได้มีการรวมกลุ่มเข้ามาช่วย การทำทุเรียนแปลงใหญ่ โดยรวบรวมชาวสวนรายย่อยที่ทำทุเรียนในพื้นที่ไม่มาก มาทำเป็นทุเรียนแปลงใหญ่ โดยกำหนดแบบแผนของการผลิตให้ทุกคนภายในสวน ต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อให้สินค้าเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และเป็นที่ต้องการของตลาดที่เข้ามารับซื้อผลผลิตทุเรียนจากกลุ่ม” คุณณัฐวัตร กล่าว

คุณพงค์พัฒน์ เทพทอง อยู่บ้านเลขที่ 61/2 หมู่ที่ 2 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนจนประสบผลสำเร็จ สินค้าได้รับมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ส่งผลให้ผลผลิตที่ออกจากสวนจำหน่ายได้หมดทุกปี พร้อมทั้งมีการรวมกลุ่มทำทุเรียนแปลงใหญ่ที่เข้มแข็ง ส่งผลให้การทำสวนทุเรียนนอกจากประหยัดต้นทุนการผลิตได้แล้ว ยังสามารถกำหนดมาตรฐานการผลิตทุเรียนไปในทิศทางเดียวกันในแบบที่มีมาตรฐาน GAP

คุณพงค์พัฒน์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนอาชีพเริ่มแรกเลยคือ การทำสวนยางพารา เพื่อทำรายได้ ต่อมาเริ่มมองว่าการทำสวนยางพาราไม่ตอบโจทย์ในเรื่องของเวลา ซึ่งเขาเองไม่อยากออกไปกรีดน้ำยางทุกวัน เมื่อ ปี 2535 สวนยางพาราโดนพายุจนเกิดความเสียหาย จึงได้ถือโอกาสนั้นปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนมาทดลองปลูกทุเรียน ในพื้นที่ 12 ไร่ และเมื่อมีผลผลิตสามารถจำหน่ายได้ จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนยางพาราทั้งหมดมาทำสวนทุเรียน

“พอทุเรียนที่ปลูกชุดแรกขายได้ราคา เราก็เลยมั่นใจว่าจะไม่ทำแล้วสวนยางพารา จึงได้ปรับเปลี่ยนมาทำสวนทุเรียนแทน ตอนนี้ก็มีพื้นที่ทำสวนทุเรียนอยู่ประมาณ 60 กว่าไร่ โดยสายพันธุ์หลักๆ ก็จะใช้พันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ โดยปลูกพันธุ์หมอนทองเป็นหลัก และพัฒนามาทำเป็นออกผลผลิตตลอดทั้งปี ตอนนี้ก็มาหยุดอยู่ที่การทำทุเรียนนอกฤดู เพราะจะได้ราคาขายที่ดีกว่า” คุณพงค์พัฒน์ บอก

การปลูกทุเรียนภายในสวนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพนั้น คุณพงค์พัฒน์ บอกว่า จะใช้ต้นพันธุ์ที่ผลิตเองกับมือมาปลูกลงในพื้นที่ โดยให้ระยะห่างระหว่างต้นและแถวอยู่ที่ 10×12 เมตร ช่วงแรกที่นำต้นกล้ามาปลูกลงใหม่ๆ จะดูแลด้วยการใส่ปุ๋ย ฉีดยา นานๆ ครั้ง ดูแลเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนต้นทุเรียนมีอายุได้ 4 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตและเมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 ก็จะเริ่มทำสารเพื่อผลิตเป็นทุเรียนนอกฤดู

“การทำทุเรียนนอกฤดู พอเราเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้วในเดือนธันวาคม ก็จะเริ่มตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนมกราคม จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยเข้าไปช่วยเพื่อให้เกิดยอดใหม่ เมื่อเห็นว่าต้นทุเรียนเริ่มมียอดประมาณ 3 ยอด จะทำสารทันที โดยใช้สารแพคโคลบิวทราโซลชนิดน้ำ ความเข้มข้น 1,000-1,500 ppm (สารชนิด 10% อัตราส่วน 200-300 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือ สารชนิด 25% อัตราส่วน 80-120 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นให้ทั่วต้นทุเรียนที่มียอดได้ 3 ชุดแล้ว หลังจากฉีดพ่นสาร 15 วัน ต้นทุเรียนก็จะเริ่มมีตาดอกออกมาให้เห็น จากนั้นก็ดูแลต่อไปเรื่อยๆ อีก 7 วัน ด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนเข้ามาช่วย” คุณพงค์พัฒน์ บอก

หลังจากดอกที่บานมีความสมบูรณ์ดีแล้ว ทุเรียนแต่ละต้นก็จะเริ่มมีผลติดมาให้เห็น การดูแลผลทุเรียนในระยะนี้ คุณพงค์พัฒน์ บอกว่า จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องของการให้น้ำมีความสำคัญ ต้องให้น้ำทุกวัน พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยทุก 15 วันครั้ง ดูแลต่อไปอีก 4 เดือน ก็จะได้ผลผลิตที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้

ส่วนในเรื่องของโรคและแมลงนั้น คุณพงค์พัฒน์ บอกว่า จะมีแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนเตาะ ไรแดง ส่วนโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคดอกเน่า โรครากเน่าโคนเน่า โรคดอกแห้ง โรคผลเน่า ป้องกันด้วยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องทั้งชนิด ปริมาณ และช่วงเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสารตกค้างที่ผลผลิต

การรวมกลุ่มช่วยทำตลาดได้กว้างขึ้น

ในเรื่องของการจำหน่ายทุเรียนภายในสวนนั้น คุณพงค์พัฒน์ เล่าว่า ในช่วงแรกจะเน้นแบบจำหน่ายกันเองแบบไม่ได้มีการรวมกลุ่ม ทำให้โดนพ่อค้าคนกลางเข้ามาตีราคา ทำให้ผลผลิตมีราคาถูก ต่อมาประมาณ ปี 2558 ได้เกิดการรวมกลุ่ม จึงทำให้สมาชิกทุกคนดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามที่กำหนด จึงทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ลดลง ผลผลิตมีมาตรฐาน และที่สำคัญในเรื่องของราคาสามารถต่อรองการทำตลาดได้ดี

“ผลผลิตที่สวนผม ก็จะได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 3 ตัน ราคาขายแต่ละรอบก็อยู่ที่ 120-160 บาท ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่ผลิตมา ราคาขายก็ยังไม่ต่ำกว่า 120 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งพ่อค้าก็จะเข้ามาเดินดูผลผลิตภายในสวน เพื่อประมูลผลผลิตภายในสวน โดยการขายแต่ละรอบเราก็จะคุยกันภายในกลุ่มในเรื่องของการจัดการ ว่าอย่าให้ผลผลิตออกพร้อมกันมากเกินไป ให้วางแผนว่าของสมาชิกคนไหนจะออกผลผลิตช่วงไหน ก็จะทำให้มีผลผลิตขายได้ต่อเนื่อง เพื่อกระจายความเสี่ยงออกไป โดยไม่ให้มีผลผลิตมากเกินไป” คุณพงค์พัฒน์ บอก

จากการเป็นผู้ผลิตทุเรียนและส่งจำหน่ายทุเรียนมาตรฐาน คุณพงค์พัฒน์ แนะช่วงท้ายว่า การรวมกลุ่มจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อาชีพเป็นเกษตรกรสวนทุเรียนมีความเข้มแข็ง อย่างน้อยไม่ว่าจะติดต่อหรือดำเนินการในเรื่องใดสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อรองทางการตลาดได้อย่างดี โดยไม่ถูกเอาเปรียบในเรื่องของราคาอีกด้วย

พื้นที่ อ. ลาดหลุมแก้ว จ. ปทุมธานี แม้จะมีโรงงาน และโครงการที่พักอาศัยเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของประเทศ ข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี ระบุว่าปีพ.ศ. 2558 มีอยู่กว่า 404,700 ไร่ หรือ 42% ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด โดยยังมีเกษตรกรที่ยึดอาชีพทำนา และปลูกพืชสวนเป็นหลักอยู่

แต่เกือบทั้งหมดยังเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว มีการใช้สารเคมีสูง ทำให้ประสบปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต และราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน เกษตรกรต้องไถกลบหรือถอนผลผลิตทิ้ง เนื่องจากไม่คุ้มทุนกับค่าแรงงานในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ในช่วงที่สินค้าเกษตรมีภาวะตกต่ำ อีกทั้งการใช้สารเคมีไม่ถูกหลัก ส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ที่สำคัญทำให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรธรรมชาติ ผืนดิน และแหล่งน้ำ

นายสมคิด พานทอง เกษตรกรในพื้นที่เจ้าของแปลงกระเพราป่ากว่า 15 ไร่ ที่วันนี้ได้พลิกฟื้นชีวิต หลังจากได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร กับบริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลาดหลุมแก้ว ใน ‘โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน’ ได้รับความรู้ในการปลูกพืชภายใต้ จีเอพี ( GAP : Good Agricultural Practices) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมมาตรฐานระดับโลก ซึ่งเป็นแนวทางการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

“ตั้งแต่ลดการใช้สารเคมี แล้วหันมาใช้สารชีวภาพหรือจุลินทรีย์เป็นส่วนผสมในการเพาะปลูกตามหลักจีเอพี กระเพราของเราจึงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ตัวผมและภรรยา รวมทั้งคนงานก็ไม่ต้องเสี่ยงกับการเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำให้ปลูกกะเพราป่าที่มีความหอมกว่ากระเพราพันธุ์อื่น โดยมีบริษัท มารับซื้อผลผลิตในราคาประกันที่เป็นธรรมกับเกษตรกร จึงทำให้ผมมีรายได้ที่มั่นคง จัดการบัญชีก็ง่ายขึ้น รู้รายรับรายจ่ายแต่ละวันได้ทันที

ผมปลูกกระเพราป่าส่งขายได้สัปดาห์ละ 700 กิโลกรัม รวมกับกระเพราเกษตรและโหระพา หักต้นทุนแล้ว มีกำไรประมาณเดือนละ 4-5 หมื่นบาท แต่ที่สำคัญคือทุกอย่างรอบตัวดีขึ้นทั้งคุณภาพชีวิตที่สามารถส่งลูกๆ เรียนหนังสือสูงๆ และยังส่งไปถึงผู้บริโภคได้กินอาหารปลอดภัย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในชีวิต”

นางวาสนา เปรียเวียง คือเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ได้ตัดสินใจทิ้งอาชีพพนักงานบริษัท เพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับสามีและลูกๆ รวมทั้งสานต่ออาชีพเกษตรกรของพ่อแม่ และได้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน เมื่อปีที่ผ่านมา และเลือกนำความรู้ที่ได้รับมาทำเกษตรกรรมปลอดภัยแบบผสมผสาน

“แปลงของเราปลูกพืชหลายชนิด ทั้งกระเพราป่า กระเพราเกษตร ยอดมะรุม ใบชะพลู ใบบัวบก และผลไม้ เช่น ฝรั่ง เพื่อลดการพึ่งพาพืชตัวใดตัวหนึ่ง และมีการรวมกลุ่มกับเกษตรกรละแวกเดียวกันในนามวิสาหกิจปลูกผักปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือกันเรื่องราคาสินค้าที่ไม่แน่นอนและหาวิธีสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ที่ช่วยให้เราทันต่อความเปลี่ยนแปลง ทำให้เรารู้เรื่องข้อกำหนดการใช้สารเคมีและสารชีวภาพที่แตกต่างกันของตลาดส่งออกในแต่ละภูมิภาค

เวลาเกิดปัญหา ก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือให้คำแนะนำ เช่น ในช่วงที่เกิดโรคระบาด หรือการปรับปรุงให้สินค้าไม่มีปัญหาก่อนจัดส่ง ตอนนี้สามารถปลูกกระเพราป่าขายได้สัปดาห์ละ 200 กว่ากิโลกรัม รวมกับพืช ตัวอื่นด้วยก็มีรายได้ตกเดือนละ 30,000 บาท เป็นรายได้ที่มั่นคงขึ้น และมีความสุขที่มีเวลาให้ครอบครัวและดูแลลูก ตามที่เราฝันไว้”

“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน” ไม่ได้ส่งเสริมเพียงแค่การเพาะปลูกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมอบองค์ความรู้อื่นๆ เช่นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของชุมชน ที่มิใช่เพียงช่วยสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสุขของคนในชุมชนดังเช่นที่ นางลำดวน ทองอำพันธ์ หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลระแหง ได้บอกเล่าให้ฟัง

“เดิมทีนอกจากทำนา ก็ยังมีการปลูกผัก ผลไม้ต่างๆ บ้าง ต่อมาแม่บ้านในชุมชนได้รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มอาชีพสตรีขึ้นตอนนี้มีสมาชิก 32 คน เพื่อจะหารายได้เสริมให้ครอบครัว เรามองที่ผลผลิตในชุมชน เช่น มะม่วง กล้วย ขนุน ข่า ตะไคร้ ที่หากขายโดยตรงไม่ค่อยได้ราคาที่ดี ทางโครงการฯ ได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการนำผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่า มีทั้งที่ทำขายได้ตลอดปี เช่น กล้วยฉาบ และน้ำพริก ที่มีตลาดภายนอกมารับไปขาย

และที่ทำตามฤดูกาล คือ ขนุนทอด แต่มีเท่าไหร่ก็จะมีหน่วยงานอย่าง อบต. มารับซื้อเกือบทั้งหมด อย่างกล้วยฉาบ ทำครั้งหนึ่งได้เงิน 1-2 พันบาท เดือนหนึ่งถ้าทำ 3 ครั้ง ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 5-6 พันบาท หลายครอบครัวมีเงินใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น แล้วยังหันหน้ามาพูดคุยปรึกษากันมากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการฯ มาเยี่ยมถึงบ้าน ติดตามถามไถ่ และหาความรู้หรืออาชีพใหม่ๆ มาเสริมให้ตลอด เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และการทำปุ๋ยชีวภาพ ทำให้ชุมชนของเรากลับมาเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”

“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ สู่วิถีเกษตรที่ยั่งยืน” เริ่มจากความตั้งใจจริงของบริษัทซีพีแแรม เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชนรอบโรงงานลาดหลุมแก้ว สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนหลักธรรมาภิบาลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมแก่ผู้ที่สนใจ ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ด้านการปลูกพืชปลอดภัย การปลูกพืชแบบผสมผสาน ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ กระเพรา การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงห่าน การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยหมัก การเพาะเลี้ยงเชื้อไตรโคเดอร์มา
ทั้งยังสนับสนุนทางเลือกอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ที่เหมาะสมให้ครัวเรือน

ที่สำคัญคือการรับซื้อผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ในราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร พร้อมเปิดโอกาสให้เกษตรกรในชุมชน นำผลผลิตมาเปิดตลาดจำหน่ายให้แก่พนักงาน ในโรงงาน เป็นการสร้างตลาดที่แข็งแรงให้แก่ชุมชน

โครงการนี้เป็น 1 ใน 38 โครงการซีพีเพื่อชุมชนยั่งยืน ที่ได้รับ รางวัล “ซีพี…เพื่อความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องโครงการเพื่อสังคมดีเด่น สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนสังคม ครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือฯ ในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่การสนับสนุนให้เกษตรกรมั่นคงและชุมชนยั่งยืนอย่างแท้จริง เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมยังสับสนเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ ว่าทำหน้าที่อย่างไร และทราบว่ามีประโยชน์กับร่างกาย แต่ทำประโยชน์อย่างไรไม่ทราบ มีการประชาสัมพันธ์ว่า มีมากในข้าว ชนิดที่มีสีเข้มนั้นเป็นจริงหรือไม่ ขอให้คุณหมอเกษตรช่วยแนะนำข้าวสีม่วงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงให้ทราบด้วยครับ แล้วผมจะติดตามอ่านในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านต่อไปครับ ผมถือโอกาสขอบคุณคุณหมอเกษตร ทองกวาว มา ณ โอกาสนี้

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เป็นสารที่ทำหน้าที่ชะลอการออกซิเดชั่น (Oxidation) ในเซลล์สิ่งมีชีวิต รวมทั้งมนุษย์เรา จึงส่งผลทำให้เซลล์แก่ตัวช้าลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกในร่างกาย ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และป้องกันอาการเส้นเลือดตีบ

สารต้านอนุมูลอิสระ มีมากในพืชผักชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในหัวผักกาดม่วง มะเขือม่วง ข้าวโพดสีม่วง ข้าวสีม่วง และพืชผักสีม่วงอื่นๆ ในพืชผักสีม่วงจะอุดมไปด้วยสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ในตัวของแอนโธไซยานิน มีส่วนประกอบของวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี กลูต้าไธโอน แคโรทีนอยด์ โคเอนไซม์คิว 10 และแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก และสังกะสี

พันธุ์ข้าวที่มีสารแอนโธไซยานิน ผมนำข้าว 2 พันธุ์ มาเป็นตัวอย่าง พันธุ์แรก ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง มีสารต้านอนุมูลอิสระ 1,135 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ธาตุสังกะสี 31.9 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และธาตุเหล็ก 13-18 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และ ข้าวพันธุ์ก่ำเจ้า มช.107 กับ ข้าวเมล็ดสีม่วงเข้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระ 1,640 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ธาตุสังกะสี 30 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และธาตุเหล็ก 15 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม มาดูความสำคัญของธาตุเหล็ก (Fe) กับ ธาตุสังกะสี (Zn)

ธาตุเหล็ก มีบทบาทช่วยในขบวนการสร้างเม็ดเลือด ช่วยสร้างเซลล์สมอง และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

ธาตุสังกะสี ทำหน้าที่ช่วยลดการสะสมคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดของมนุษย์

ดังนั้น จะเห็นว่าข้าวสีม่วง หรือข้าวก่ำ ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดมีสีเข้ม ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรง สวพส. นำองค์ความรู้มูลนิธิโครงการหลวง ศึกษาวิจัยกาแฟอะราบิก้า นำไปส่งเสริมแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง 26 แห่ง ในพื้นที่ความสูงที่แตกต่างกัน นำเสนอผลผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียง รสชาติที่แตกต่าง 5 พื้นที่ ส่งผลให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ลดพื้นที่การเผาป่า ลดพื้นที่การเกิดหมอกควันในระดับหนึ่ง

คุณวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ให้รายละเอียดว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือชื่อย่อว่า สวพส. จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนงานของโครงการหลวงและขยายผลงานโครงการหลวง ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูงของประเทศไทย ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยและส่งเสริมกาแฟ เป็นพืชหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกบนพื้นที่สูง ได้ดำเนินงานทั้งหมด 26 แห่ง เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง จำนวน 17 แห่ง และพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน 9 แห่ง

พื้นที่ดำเนินงาน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และตาก มีเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน 2,423 ราย พื้นที่ส่งเสริมปลูกกาแฟ 7,976 ไร่ ได้ผลผลิตกาแฟกะลาประมาณ 260 ตัน ต่อปี เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตกาแฟผ่านมูลนิธิโครงการหลวงและตลาดอื่นๆ ในปี 2559/60 ประมาณ 30 ล้านบาท

กาแฟอะราบิก้า ได้นำมาศึกษาวิจัยและพัฒนาให้มีผลผลิตและคุณภาพดีเยี่ยม มีงานวิจัย เช่น สายพันธุ์ที่เหมาะสม การตัดแต่งเพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟ การปลูกกาแฟภายใต้ร่มเงาไม้ การประเมินและเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลงศัตรูกาแฟบนที่สูง รวมถึงการศึกษาสายพันธุ์กาแฟอะราบิก้าที่มีคุณภาพของโครงการหลวง หลังจากการศึกษาวิจัยแล้ว ในด้านการพัฒนาและส่งเสริม ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตกาแฟอะราบิก้าจากโครงการหลวงไปขยายผลและถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง มีการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การพัฒนาแปลงสาธิต แปลงตัวอย่างกาแฟอะราบิก้า การทำสื่อการเรียนรู้ การเชื่อมโยงด้านการตลาดระหว่างกลุ่มเกษตรกร การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพและมาตรฐานของกาแฟอะราบิก้า

ดร.สิทธิเดช ร้อยกรอง นักวิจัย สมัคร GClub สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในอดีตนั้นเกษตรกรมีการแผ้วถางป่าและเผาเศษวัชพืชเพื่อทำการเกษตร ทำให้เกิดหมอกควันที่เป็นมลพิษ มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้มีรายได้น้อย เนื่องจากการขาดความรู้ในการปลูกพืชบนที่สูง หลายหน่วยงานได้เข้าไปส่งเสริมการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยเฉพาะกาแฟอะราบิก้า เป็นพืชหนึ่งที่เหมาะสมในการปลูกบนพื้นที่สูง เพราะกาแฟจะเจริญเติบโตได้ดีและมีคุณภาพจะต้องปลูกบนพื้นที่สูงตั้งแต่ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป อีกทั้งเจริญเติบโตภายใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ ปัจจุบันนี้เกษตรกรบนพื้นที่สูง ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ผลิตกาแฟ มีจิตสำนึกต่อการรักษาป่าไม้ ทำแนวป้องกันไฟป่า ฯลฯ ด้วยเหตุผลเพราะว่าภายใต้พื้นป่านั้น อุดมไปด้วยต้นกาแฟอะราบิก้า ซึ่งเป็นพืชที่ทำรายได้ของเขาเอง จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่า เขาจะช่วยกันอนุรักษ์และรักษาป่าที่เป็นที่ทำมาหากินของตนเอง

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณอาณดา นิรันตรายกุล ผู้อำนวยการอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ได้จัดกิจกรรม “ตามรอยศาสตร์พระราชา ชิมกาแฟ แลดูสวน” เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจและผลการดำเนินงานของสถาบันให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น และเป็นการเผยแพร่ความสำเร็จของเกษตรกรบนพื้นที่สูง การบูรณาการระหว่างสถาบันและหน่วยงานอื่นๆ ที่ร่วมมือกันทำงานบนพื้นที่สูง โดยเฉพาะกาแฟอะราบิก้า เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีรายได้อย่างยั่งยืน เป็นการลดความเสี่ยงจากมลพิษหมอกควัน ขณะเดียวกัน ได้เปิดบริการร้านกาแฟภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมภายในสวน พร้อมนี้ได้นำเสนอ ผลผลิตกาแฟที่สถาบันได้ทำการส่งเสริมในพื้นที่ จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี (กาแฟดอยช้าง) โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ (กาแฟห้วยโทน) โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง (กาแฟดอยลาง) โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง (กาแฟดอยแม่สลอง) โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางมะโอ (กาแฟดอยปางมะโอ)

ในการนำเสนอผลงานการปลูกและแปรรูปผลผลิตกาแฟครั้งนี้ มีผลผลิตกาแฟอะราบิก้านำเสนอ ได้แก่

กาแฟดอยช้าง มีฐานการผลิตและพื้นที่เพาะปลูกที่หมู่บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กาแฟดอยช้าง เกิดจากแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ชาวไทยภูเขาบนพื้นที่สูง หันมาปลูกพืชเมืองหนาว และแจกจ่ายพันธุ์อะราบิก้าให้ชาวเขาทดลองปลูก เมื่อปี 2526 โดยมี คุณพิกอ แซ่ดู หรือ คุณพิกอ พิสัยเลิศ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น เป็นผู้ปลูกกาแฟเพียงรายเดียวมาโดยตลอด บางครั้งเกิดความท้อใจว่า กาแฟเป็นพืชไม่ทำให้เกิดรายได้ จึงได้ปรึกษาเพื่อสนิทชื่อว่า คุณวิชา หรหมยงค์ ในการนำเมล็ดกาแฟมาคั่วบดเพื่อขายปลีก

จากนั้นในปี 2533 นายวิชาได้เริ่มก่อตั้งเป็นบริษัท จัดจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าว่า “กาแฟดอยช้าง” คุณวิชาเป็นเหมือนกับพี่เลี้ยงชุมชนดอยช้าง และเป็นผู้ผลักดันให้กาแฟดอยช้างเป็นที่รู้จักทั่วโลก เมื่อคุณวิชาเสียชีวิตในปี 2557 คุณปณชัย พิสัยเลิศ ลูกชาย คุณพิกอ และ คุณพิษณุชัย แก้วพิชัย ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท รับช่วงการบริหารงานต่อมา พร้อมเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายการค้า การบรรจุภัณฑ์กาแฟคั่วบดให้มีความทันสมัย ผนวกกับการประชาสัมพันธ์ ต่อมากาแฟดอยช้างเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และได้รับการรับรองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรปและประเทศไทย