ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์มาล้างน้ำให้สะอาดแล้วแช่ในน้ำอุ่น

โรคเหี่ยวของพริกจากเชื้อราหรือโรคหัวโกร๋น การเข้าทำลายจะแตกต่างจากอาการเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการเหี่ยวจากเชื้อราจะเริ่มจากใบล่างก่อน แล้วจึงค่อยแสดงอาการที่ใบบน ต่อมาใบที่เหลืองจะเหี่ยวลู่ลงดินและร่วง ต้นพริกจะแสดงอาการในระยะผลิดอกออกผล ฉะนั้น อาจทำความเสียหายต่อดอกและลูกอ่อนด้วย เมื่อตัดดูลำต้น จะพบว่าเนื้อเยื่อท่อลำเลียงอาหารเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ แสดงว่าต้นจะเหี่ยวตายในที่สุด

การป้องกันกำจัดทำได้ดังนี้

2.1. เมื่อปรับดินปลูกแล้วควรโรยด้วยปูนขาว จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา

2.2. ถอนหรือขุดต้นที่เป็นโรคเผาทิ้ง แล้วใช้สารเคมีเทอราคลอร์ (terraclor) ผสมน้ำตามอัตราส่วนที่แนะนำไว้ในฉลาก แล้วเทราดลงในหลุมที่เป็นโรค

2.3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับพริก ไม่ควรปลูกพริกซ้ำที่บ่อยๆ

2.4. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากกว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันดินเป็นกรด และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน

2.5. ปรับปรุงดินให้ร่วนซุย มีการระบายน้ำดี

โรคโคนเน่าหรือต้นเน่าโดยการทำลาย จะแสดงออกทางใบ ใบจะเหลืองและร่วง โคนต้นและรากจะเน่าเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ต้นพริกจะเหี่ยวตาย แต่จะระบาดมากในระหว่างที่มีการผลิดอกออกผล อาการของโรคเน่าหรือต้นเน่านี้จะแตกต่างกับโรคพริกหัวโกร๋น คือ ยอดจะไม่หลุดร่วงไป
การป้องกันกำจัดทำได้ดังนี้

3.1. หมั่นตรวจต้นพริกดูว่าเป็นโรคหรือไม่

3.2. ขุดหรือถอนต้นพริกที่เป็นโรคเผาทิ้ง แล้วใช้สารเคมีเทอราคลอร์ ผสมน้ำตามอัตราส่วนคำแนะนำในฉลาก เทราดลงในหลุมที่เป็นโรค หรือใช้ฟอร์มาลินผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 50 ราดลงบริเวณโคนต้นที่เป็นโรค ระวังอย่าให้ไหลไปสู่ต้นอื่น เพราะจะเป็นการแพร่เชื้อโรค

3.3. การเตรียมดินปลูก ควรเพิ่มปูนขาวเพื่อให้ดินเป็นด่าง เพราะถ้าดินเป็นกรดจะเกิดโรคนี้ได้ง่าย

3.4. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการปลูกพริก

3.5 ใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์รวม

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ต้นพริกที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการเหี่ยวทั่วต้นในวันที่มีอากาศร้อนจัด และอาจจะฟื้นคืนดีใหม่ในเวลากลางคืน ต้นพริกจะมีอาการเช่นนี้ 2-3 วัน ก็จะเหี่ยวตายโดยไม่ฟื้นอีก การเหี่ยวของต้นพริกที่เป็นโรคนี้ จะแสดงอาการใบเหลืองที่อยู่ตอนล่างๆ ก่อน เมื่อถอนต้นมาดูจะเห็นว่ารากเน่า และเมื่อเฉือนผิวของลำต้นตรงใกล้ระดับคอดินจะพบว่า เนื้อเยื่อที่เป็นท่อลำเลียงอาหารช้ำ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งแตกต่างจากสีของเนื้อเยื่อที่ดีของพริก

สำหรับการป้องกันกำจัด เมื่อพบต้นพริกที่แสดงอาการเหี่ยวให้ถอนหรือขุดแล้วนำไปเผา และถ้าหากพบควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดหนอนเจาะรากและโคนต้น และควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับ

การปลูกพริก เช่น ปลูกข้าวโพด แตงกวา ถั่วต่างๆ หลุมพอเพียง คือ การปลูกพืชหลายอย่างในหลุมเดียว หลุมที่ว่านี้ไม่ได้สภาพเป็นหลุมลึก ๆ แต่เป็นการปลูกพืชเป็นกลุ่ม ขนาดที่น่าลองทำคือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร แต่สำหรับคนที่มีพื้นที่ว่าง เพื่อเตรียมปลูกพืช อาจจะทำหลายๆหลุม ขนาดที่กำลังพอแรง คือขนาดกว้าง 80 – 100 เซนติเมตร จะทำวงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ระยะห่างระหว่างหลุม 4 x4 เมตร ถ้ามีพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ 100 หลุม หรือถ้าไม่มีที่เป็นผืนก็สร้างหลุมไว้ตามหัวไร่ปลายนา มุมบ้าน หลังครัว ขอบบ่อน้ำ ริมทางเดิน ได้หมด

หลุมพอเพียง เป็นวิธีการบริหารจัดการสิ่งที่อยู่ในหลุม เริ่มจากเตรียมพื้นที่ตามขนาดที่กำหนด แล้วก็ปลูกหญ้าแฝกเป็นรูปวงกลมหรือเป็นล็อกสี่เหลี่ยม จากนั้นปลูกไม้ในหลุมนี้ ลงได้ถึง 4 – 5 ประเภทในหลุมเดียว เพื่อลดภาระการรดน้ำ ปลูกซ้ำ และเกื้อต่อการกำจัดศัตรูพืชเพราะให้ทุกอย่างเกื้อกูลกันเอง

ต้นไม้ที่จะปลูกในหลุมแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. ไม้พี่เลี้ยง เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เก็บน้ำ เก็บความชื้นโดยเฉพาะช่วงร้อนหรือหน้าแล้ง เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ควรปลูกทางทิศตะวันตก เพราะช่วยบังแสงช่วงบ่ายที่อากาศร้อนจัด เป็นพี่เลี้ยงให้พืชที่ไม่ชอบแดดจัดมาก ได้กล้วยเครือแรกเมื่อปลูก 1 ปี ก็ตัดทิ้ง ปล่อยหน่อใหม่ให้ทำงาน

2. ไม้ฉลาด เป็นไม้ข้ามปี ที่สามารถเอาตัวรอดได้ดี เก็บผลได้นานพอสมควร เช่น ชะอม ผักหวาน มะละกอ ผักติ้ว ผักเม็ก เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 1 เดือนไปเรื่อยๆ

3. ไม้ปัญญาอ่อน หรือ ไม้รายวัน เป็นไม้ล้มลุกปลูกง่าย ตายเร็ว ต้องคอยปลูกใหม่ ดูแลรดน้ำทุกวัน แต่เก็บผลได้เร็ว ได้ทุกวัน เช่น พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ข่า ฟักทอง แตงไทย แตงกวา ผักบุ้งจีน คะน้า เป็นต้น เริ่มเก็บกินได้ตั้งแต่ 15 วัน

4. ไม้บำนาญ เป็นไม้ผลยืนต้น ใช้เวลาปลูก 2 – 4 ปี แต่เมื่อให้ผลผลิตแล้ว เก็บกิน เก็บขายได้เรื่อย ๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะนาว กระท้อน เงาะ ทุเรียน มังคุด ยางพารา เป็นต้น ในหลุมหนึ่งควรเลือกปลูกแค่ประเภทเดียว

5. ไม้มรดก เป็นกลุ่มไม้ใช้สอยที่อายุยืน ใช้เวลาปลูกนาน เก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน ตัดขาย ก็ได้เงินก้อนใหญ่หรือจะเอาไว้ใช้ซ่อมแซมบ้านก็ได้ เช่น ประดู่ สักทอง ยางนา สะเดา พะยูง ชิงชัน ไม้พวกนี้เป็นไม้ใหญ่ ปลูกฝั่งตรงข้ามกับต้นกล้วย

พื้นที่ใต้ร่มเงาหรือบริเวณหลุมที่มีการเตรียมดินใส่ปุ๋ยปรับปรุงดินรดน้ำและดูแล ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก แทนทีจะปล่อยให้วัชพืชขึ้นเป็นภาระที่ต้องคอยกำจัด การปลูกพืชบางอย่างที่มีกลิ่นเฉพาะ ช่วยไล่แมลงศัตรูพืช นอกจากนั้นยังเป็นกุศโลบายที่ทำให้พืชหลักที่ต้องการปลูก เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ป่ายืนต้น เจริญเติบโตและมีโอกาสรอดสูง เพราะผู้ปลูกจะคอยห่วงใย หมั่นดูแล ทำให้พืชหลัก ดังกล่าวเจริญเติบโตดีกว่าปกติอีกด้วย

และหากพืชชนิดใด ชนิดหนึ่งจะเบียดเบียนพืชอื่นมากเกินไปก็คอยควบคุมให้เหมาะสม ตัดแต่งทรงพุ่ม จัดพืชหรือเถาเลื้อยให้เหมาะสม สำหรับพืชพี่เลี้ยงก็ไม่ต้องมาก ในหนึ่งหลุมปลูกกล้วยเพียง 1-2 ต้น เท่านั้น คือ ต้นที่กำลังให้เครือ อีกหนึ่งต้นสำรองไว้สำหรับเครือต่อไปนอกนั้นให้ขุดหน่อไปขายหรือไปปลูกที่อื่น

การปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นไม้หลักไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหลุมพอเพียงหรือไม้เดี่ยวรากหญ้าแฝกจะเป็นร่างแหในแนวดิ่งช่วยยึดดินให้คงรูปเปรียบเสมือนกระถางธรรมชาติ เพราะปมรากแฝกจะ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยดูดซับน้ำในดินไว้ แทนที่จะซึมหายลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว กอแฝกที่เบียดชิดช่วยดักตะกอนดินซึ่งรวมปุ๋ยที่ใส่ และ ใบแฝกที่ตัดมาคลุมดินยังช่วยรักษาดินให้ชุ่มชื้นในที่สุดก็ย่อย

คนในวงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่างรู้จัก อาจารย์ลิขิต สูจิฆระ กันดี อดีตท่านเป็นอาจารย์ทางด้านการเกษตร แต่พลิกชีวิตมาเป็นเกษตรกร ประกอบกับมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไก่พื้นเมือง หรือไก่บ้านไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก

อาจารย์ลิขิต อยู่ในแวดวงการเลี้ยงไก่มายาวนาน เขาเริ่มต้นแนวคิด พัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง เมื่อปี 2522 ทั้งนี้เพราะเดิมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรไทย เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติให้ไก่หากินอาหารเอง ปล่อยให้นอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้ทำให้ดูแลรักษาคุณภาพของไก่พื้นบ้านทำได้ยาก ไก่โตช้าหรือใช้ระยะเวลาการเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก อีกทั้งคุณภาพของเนื้อไก่ที่ได้จะเหนียวไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค

พูดง่ายๆ อาจารย์ลิขิต อยากปรับปรุง ให้ไก่บ้านพันธุ์ใหม่ ต้องอร่อย ไม่เหนียว ไม่ยุ่ย ไม่คาว ไม่มีกลิ่นสาบ ตัวไก่ต้องมีโครงร่างที่ดี ปริมาณเนื้อมาก ระยะเวลาการเลี้ยงไม่นานจนเกินไป แต่ยังต้องคงรูปร่างหน้าตาของไก่ให้เหมือนกับไก่บ้านไทย

จากความมุ่งมั่น ทุ่มเท กลายเป็นความสำเร็จ โดยปี 2532 สายพันธุ์ไก่พื้นบ้านพันธุ์ใหม่ของประเทศได้ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้ชื่อว่าไก่ลูกผสมพื้นเมืองตะนาวศรี หรือรู้จักกันในชื่อว่า “ไก่พันธุ์แอล” ซึ่งมาจากตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของคำว่า ลิขิต (Likit)

สำหรับไก่ลูกผสมพื้นเมืองตะนาวศรี เกิดขึ้นจากการผสมกันระหว่างพ่อพันธุ์ไก่ชนตะนาวศรี และแม่พันธุ์ไก่แดงตะนาวศรี ทั้งนี้ พ่อพันธุ์ไก่ชนตะนาวศรี เป็นพ่อพันธุ์ไก่ชนที่ผ่านการคัดเลือกจากไก่ชนไทยที่มีลักษณะตามตลาดต้องการ ส่วนแม่พันธุ์ไก่แดงตะนาวศรี เป็นสายพันธุ์ที่เกิดจากการค้นคว้าพัฒนา โดยนำไก่พื้นเมืองของไทยมาผสมข้ามสายพันธุ์กันกว่า 20 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์เหลืองหางขาว ไก่ชีท่าพระ ไก่แดงสุราษฎร์ และไก่ประดู่หางดำ เป็นต้น จนกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพเนื้อที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค เนื้ออร่อย ไม่เหนียว ไม่ยุ่ย ไม่คาว ไม่มีกลิ่นสาบ มีโครงร่างดีปริมาณเนื้อมาก แม่พันธุ์สามารถผลิตไข่ได้ดี

อาจารย์ลิขิต ได้ดึงจุดเด่นของแม่ไก่แดงที่ให้เนื้อนุ่มชุ่มฉ่ำ กระดูกเล็ก ไขมันน้อย และจุดเด่นของพ่อไก่ชนที่ให้ เนื้อแน่นหนึบ มีโปรตีนสูงเมื่อ 2 จุดเด่นนี้มารวมกันแล้ว จึงทำให้เนื้อของไก่พื้นเมืองลูกผสมตะนาวศรีมีความนุ่ม แน่น ชุ่มฉ่ำ มีโปรตีนสูง ไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ เอาไปทำเมนูไหนก็อร่อย แถมได้สุขภาพอีกด้วย เพราะไก่บ้านตะนาวศรีมีสารพิวรีนน้อย ตัวก่อกรดยูริก สาเหตุการเกิดโรคเกาต์ จึงทำให้ลดความเสี่ยงตรงส่วนนี้ไปได้ระดับหนึ่ง

ที่น่าสนใจอีกประการคือ ทางตะนาวศรีจะเน้นการเลี้ยงด้วยสมุนไพรไทย แทนการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรค และปราศจากสารเร่งโต เพราะเดิมที อาจารย์ลิขิตสังเกต พบว่า ไก่โดยทั่วไปมักจะเกิดโรคระบาดประจำอยู่ 2 ชนิด คือ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง บิด อหิวาตกโรค เป็นต้น และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หวัด จนเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาโรคในไก่อย่างมาก ซึ่งยาเหล่านี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง อาจารย์ลิขิตจึงเริ่มสนใจศึกษาสมุนไพรของไทยที่มีอยู่เดิมจะช่วยรักษาโรคต่างๆดังกล่าวข้างต้นและสามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะได้

การศึกษาเรื่องของสมุนไพรไทย อาจารย์ลิขิตได้ผสมระหว่างสมุนไพร 3 ชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสมลงในอาหารเลี้ยงไก่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวทางเดินอาหารและทางเดินหายใจได้ โดยสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วย ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชันและไพล และองค์ความรู้ดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดออกไปสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่โดยทั่วไป มาตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา

สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเพนทิโอไพแรด 20% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟลูไตรอะฟอล 12.5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารเฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคิวปรัสออกไซด์ 86.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

กุยช่าย ไม่ใช่เป็นผักพื้นเมืองบ้านเรา ตามประวัติน่าจะติดเมล็ดพันธุ์มากับชนชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพนำเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาในเมืองไทย จนเกิดผลิดอกออกผลแพร่หลายกลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดสด ซึ่งเรามักนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง กลิ่นของกุยช่ายค่อนข้างแรง มีบางคนจะไม่ชอบ และในเทศกาลกินเจ กุยช่ายเป็นผักชนิดหนึ่งในหกอย่างที่ห้ามกิน

เพราะกุยช่ายนอกจากจะนำมาทำเป็นขนมกุยช่าย ซึ่งเป็นอาหารของจีนแล้ว ยังมีผัดเต้าหู้ซึ่งจะมีส่วนประกอบของถั่วงอกและกุยช่าย อีกเมนูหนึ่งคือ ผักกุยช่ายขาว หรือดอกกุยช่ายกับหมูกรอบ ซึ่งมักจะอยู่ในร้านข้าวต้มรอบดึกแทบทุกร้าน และอีกคำถามหนึ่ง ถ้ากุยช่ายเป็นผักของจีน ทำไม กุยช่าย จึงเป็นส่วนผสมในผัดไทย ตอบได้ว่า ผัดไทย เกิดหลังกุยช่าย ส่วนผสมแทบทั้งหมด เต้าหู ถั่วงอก แม้แต่เส้นก๋วยเตี๋ยวก็เป็นของจีน ส่วนของไทยมีเพียงกุ้งแห้งเท่านั้น เมนูนี้เกิดในไทย จึงตั้งชื่อว่า ผัดไทย

กุ่ยช่าย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูงมาก จึงทำให้กุยช่ายได้รับความนิยมในการนำมากินอย่างแพร่หลาย โดยสารอาหารสำคัญที่พบในกุยช่าย 100 กรัม ได้แก่ พลังงาน 28 กิโลแคลอรี โปรตีน 2.3 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรัม และเส้นใย 3.9 กรัม เป็นต้น

กุยช่าย จึงเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเมนูประจำของไทย ที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน มีโอกาสไปเที่ยวปากช่องคราวนี้ได้เจอ คุณวริทธิ์พล เอี่ยมสุวรรณชัย หรือ คุณนิด เจ้าของบ้านสวนขจรศักดิ์ ที่เป็นมืออาชีพในการปลูกกุยช่ายคนหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่า “จากการเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งฝ่ายผลประโยชน์ของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ ปี 2550 ด้วยดีกรีปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พอเริ่มมีครอบครัวและลูกต้องเลี้ยงดู กลับพบว่างานประจำที่เป็นลูกจ้างไม่ได้ตอบโจทย์ของชีวิตได้ เพราะรายได้ก็ไม่พอประการที่หนึ่ง ส่วนประการที่สองเวลาสำหรับครอบครัวก็มีไม่พอเช่นกัน ประกอบกับครอบครัวทางบ้านมีอาชีพเป็นเกษตรกรอยู่แล้วด้วย จึงตัดสินใจลาออกมาทำสวนเกษตร เมื่อปี 2559”

ได้รับคำตอบว่า มีเงินสะสมจากการเก็บหอมรอมริบมาลงทุนเพียง จำนวน 200,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ จึงไปกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาอีก 200,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท เพื่อทำการเกษตรตามฝัน จากพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ ได้แบ่งมาทำสวนเกษตร 10 ไร่ ส่วนที่เหลือ 10 ไร่ ยังคงทำไร่อ้อยเหมือนเดิม ในช่วงแรกทำเพียง 2 ไร่ เจอจังหวะผลผลิตดีมาก และราคาก็ดีด้วย ทำให้ปลดหนี้สินที่กู้มาภายใน 1 ปี

ปีต่อมา เห็นว่ากำไรดี จึงขยายเป็น 6 ไร่ เพราะคิดกำไรเป็นแบบคณิตศาสตร์ แต่การที่ขยายพื้นที่ทำให้ต้องจ้างแรงงานข้างนอก และการดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้ปีต่อมาทำได้แค่เสมอทุน จึงถือเป็นประสบการณ์ที่คุณนิดนำมาเป็นบทเรียนในการทำสวนครั้งต่อไป ในปัจจุบันคุณนิดคงพื้นที่ทำสวนกุยช่ายเพียง 2 ไร่ แต่เปลี่ยนหมุนเวียนในพื้นที่ 10 ไร่ ที่กันไว้สำหรับทำสวน

กุยช่าย ที่นำมาทำพันธุ์ครั้งแรก คุณนิด ซื้อมาจากตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ตอนนั้นจะเป็นต้นพันธุ์ที่เพิ่งถอนจากแปลงมาชนิดไม่ตัดใบตัดรากแถมยังติดดินมาอีกด้วย ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ซื้อมาจำนวน 100 กิโลกรัม หลังจากได้เตรียมดินด้วยการไถด้วยผาล 3 และผาล 7 และตอนยกร่องก็ผสมปุ๋ยมูลสัตว์จำนวนแปลงละ 2-3 กระสอบ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้คราดที่ทำขึ้นเพื่อการปลูกขีดเป็นตารางสำหรับปลูก ช่องละ 30 เซนติเมตร โดยปลูกตรงมุมที่เส้นตัดกัน ต้นพันธุ์ที่ได้มา จะต้องนำไปตัดใบและตัดรากออกเสียก่อน หลังจากนั้น แบ่งเป็นชุดละ 2 ต้น แล้วนำมาแช่เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ฝา ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้นาน 10-15 นาที แทนการแช่น้ำยาเร่งราก ใช้เสียมเล็กๆ ขุดดินลงไปเล็กน้อยให้แค่พอกลบโคนได้ ปลูกหลุมละ 2 ต้น ระยะห่างและระยะแถวตามรอยคราดที่ทำไว้ หลังจากนั้นก็จะโรยฟางให้ทั่วเพื่อรักษาความชื้นทั่วทั้งแปลง

รดน้ำด้วยสปริงเกลอร์ วันละ 3 เวลา เช้า เที่ยง เย็น ครั้งละ 3-5 นาที หลังจากนั้น 2-3 วัน จะหว่านผักพี่เลี้ยงคือ ผักสลัดหรือผักชีลงในแปลงที่ปลูกกุยช่าย เนื่องจากมีพื้นที่ว่างระหว่างต้น ทำให้มีรายได้เสริม เนื่องจากผักสลัดจะใช้เวลาเก็บเกี่ยวแค่ 45-50 วัน และยังเป็นร่มเงาให้กับต้นกุยช่ายอีกด้วย พอกุยช่ายกับผักเริ่มตั้งตัวได้ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะลดเวลารดน้ำในช่วงเที่ยงออก เหลือแค่เช้ากับเย็น

การใส่ปุ๋ยกุยช่ายจะใส่เมื่อกุยช่ายครบ 15 วัน โดยใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 หรือปุ๋ยยูเรีย ด้วยวิธีหว่านแล้วรดน้ำ ก่อนที่จะใส่ปุ๋ยทุกเย็นก่อนหน้านั้นจะงดน้ำ แล้วมาใส่ปุ๋ยตอนเช้า แล้วอัดน้ำเพื่อให้ต้นดูดน้ำที่เจือจางปุ๋ยไปใช้ให้มากที่สุด และจะใส่ปุ๋ย สูตรเสมอ 16-16-16 ทุกๆ 10 วัน เมื่อกุยช่ายครบ 4 เดือน จะตัดเพื่อจำหน่ายได้ หลังจากตัดแล้วจะกำจัดวัชพืชออกด้วยการถอน จะใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน ก็จะเริ่มตัดได้อีกครั้ง

กุยช่ายตามท้องตลาดจะแบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ กุยช่ายใบ กับ กุยช่ายดอก การปลูกกุยช่ายดอก จะสลับซับซ้อนกว่า กล่าวคือ ไม่ได้ใช้ต้นปลูก เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดเล็ก ที่ถูกคือ จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ซึ่งเก็บจากต้นในสวนรุ่นต่อรุ่น ใช้เมล็ดหว่านในร่องแล้วคลุมด้วยฟาง จะใช้เวลา 15-20 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ใช้เวลาอยู่ในแปลงเพาะ 4 เดือน ต้นจะสมบูรณ์เต็มที่ แต่ยังไม่แตกกอ ก็จะถอนต้นพันธุ์มาตัดรากและใบ ปลูกเหมือนปลูกกุยช่ายใบ จะใช้เวลาอีกทั้งหมด 4 เดือน รวมเป็น 8 เดือน จึงจะเก็บผลผลิตได้

ก็จะเริ่มเก็บได้ครั้งแรก 3-4 วันครั้ง ระหว่างนี้ก็จะปลูกผักสลัดหรือผักชีเพื่อเป็นรายได้เสริมก่อนการเก็บกุยช่าย เก็บได้ประมาณ 2 เดือน ก็จะตัดกอจำหน่ายเป็นกุยช่ายใบเป็นครั้งแรก ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ใบและดอกก็จะเก็บได้ เก็บได้ 45 วัน รวมเป็น 2 เดือนพอดี ก็จะตัดกอจำหน่ายเป็นกุยช่ายใบ เป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3-4 และครั้งที่ 5 ใบเริ่มจะน้อยและมีขนาดเล็กลง ก็จะเริ่มทำกุยช่ายขาวแทน

กุยช่ายขาว

เมื่อตัดกุยช่ายมีดที่ 4 และมีดที่ 5 ใบกุยช่ายจะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถขายเป็นกิโลได้ ในช่วงนี้ใบจะมีขนาดเล็กจึงต้องขายเป็นเข่ง เพื่อสำหรับนำไปทำขนมกุยช่ายแทน ตอนแรกผู้เขียนเข้าใจว่า กุยช่ายขาว ทำจากกุยช่ายใบ แต่จริงแล้วทำจากกุยช่ายดอก และกุยช่ายดอกก็สามารถตัดใบขายเป็นกุยช่ายใบได้อีก เลยค่อนข้างสับสน การทำกุยช่ายขาวเริ่มจากตัดมีดที่ 5 ก็จะครอบด้วยกระถางเลย สมัยก่อนกระถางจะทำด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันเป็นกระถางพลาสติก เมื่อครอบกระถางแล้ว ก็จะรดน้ำให้ดินนิ่ม จะต้องกดกระถางให้ปากกระถางจมดินลงไป ไม่ให้มีแสงผ่านเข้าได้

ช่วงที่ทำกุยช่ายขาวจะต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพราะกุยช่ายสามารถดูดน้ำได้ทางรากเท่านั้น ใบถูกกระถางครอบไม่สามารถสัมผัสน้ำได้เลย ในวันรุ่งขึ้นให้ใส่ปุ๋ยยูเรียรอบๆ กระถางแล้วรดน้ำ เมื่อถึงวันที่สามต้องขึงซาแรนคลุมกระถาง เพื่อป้องกันความร้อน โดยจะขึงสูงกว่ากระถางประมาณ 50 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ตีเป็นโครงเอาแบบง่ายๆ เพราะอีก 7 วัน ก็สามารถตัดกุยช่ายขายได้แล้ว นับรวมเวลาที่ครอบจะใช้เวลาเพียง 10 วันเท่านั้น เพื่อทำกุยช่ายขาว หลังจากทำกุยช่ายขาวแล้วจะต้องเว้นระยะการทำไป 1 รุ่น คือ 2 เดือน

โดยปล่อยให้ต้นกุยช่ายเติบโตตามปกติและเก็บดอกขายไปเรื่อย พร้อมตัดกอขายเป็นกุยช่ายใบเมื่อครบ 2 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถทำกุยช่ายขาวได้อีก วนเวียนกันไปแบบนี้จนต้นโทรม จะทำกุยช่ายขาวต่อได้อีก 4-5 ครั้ง รวมระยะเวลาต้นกุยช่ายที่หว่านเมล็ดจนถึงรื้อแปลง จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี 6 เดือน ก็จะเริ่มปลูกกุยช่ายใหม่

ด้านตลาด

การตลาดในปัจจุบัน จะมีแม่ค้ามารับเพื่อส่งตลาดโคราชและตลาดสระบุรีอยู่ 3-4 เจ้า ผลผลิตที่สวนจะมีกุยช่ายใบ กุยช่ายเข่ง (สำหรับทำขนมกุยช่าย) และดอกกุยช่าย นอกจากนี้ ยังมีคนสั่งต้นพันธุ์กุยช่ายดอกไปปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ทางบ้านสวนขจรศักดิ์จะส่งให้ถึงบ้านด้วยต้นพันธุ์ที่ตัดใบและรากแล้ว ประมาณ 40-50 ต้น ต่อกล่อง ในราคากล่องละ 100 บาท พร้อมค่าขนส่ง สามารถเตรียมดินแล้วปลูกได้เลย