ก่อนหน้านี้มีเกษตรกรในพื้นที่เพียง 2 ราย เท่านั้นที่เลี้ยงแพะอยู่แล้ว

เมื่อเกิดวิกฤตภัยแล้งจึงได้เชิญชวนเพื่อนบ้านให้เลี้ยงแพะดู เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ทนแล้งได้ดี เลี้ยงง่าย กินง่าย และเหมาะกับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ อีกทั้งการเลี้ยงแพะยังทำให้เกษตรกรมีเวลาว่าง สามารถทำไร่ควบคู่กันได้” คุณศักดา กล่าว

ข้างต้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกษตรกรโคกเจริญปรับเปลี่ยนมาทำอาชีพเสริมเลี้ยงแพะกันมากขึ้น ปัจจุบัน เกษตรกรในอำเภอโคกเจริญมีทั้งที่เลี้ยงแพะอย่างจริงจัง และมีคุณภาพ จึงเสียงตอบรับจากผู้ซื้อที่มาซื้อแพะของทางกลุ่ม ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เนื้อแพะมีคุณภาพ

การประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะของเกษตรกรในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสำนักงานปศุสัตว์ อำเภอโคกเจริญ และสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดลพบุรี นอกจากนี้ ยังได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากอำเภอโคกเจริญ ให้การสนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการยุทธศาสตร์อำเภอในการจัดหาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์แพะมาเลี้ยงทั้งสิ้น 165 ตัว แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 15 ราย

สำหรับสมาชิก ช่วงเริ่มแรกของการเลี้ยงจะได้รับทุนจากกลุ่ม เป็นแพะพ่อพันธุ์ จำนวน 1 ตัว และแม่พันธุ์ 10 ตัว เมื่อให้ลูกตัวแรกสมาชิกต้องคืนลูกแพะให้กับกลุ่ม เพื่อเป็นทุนให้กับสมาชิกท่านอื่นรับเลี้ยงต่อไป

สมาชิกต้องเลี้ยงแพะอย่างน้อย 2 ปี แพะจึงจะตกเป็นของผู้เลี้ยงรายนั้น

นอกจากนี้ คุณศักดา ยังเล่าว่า ช่วงที่เริ่มต้นเลี้ยงเพื่อจำหน่ายนั้น สมาชิกจะเลี้ยงแพะจนกระทั่งมีน้ำหนักประมาณ 16-17 กิโลกรัม แล้วจะส่งขายให้เกษตรกรที่อื่นขุนต่อ แต่ปัจจุบัน ทางกลุ่มได้ปรับเปลี่ยนและส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงแพะในรูปแบบต้นน้ำและกลางน้ำ คือการผลิตแม่พันธุ์และลูกแพะเพื่อป้อนสมาชิกขุนในพื้นที่ ซึ่งจะได้ราคาเพิ่มขึ้น กิโลกรัมละ 5 บาท และใช้เวลาในการขุนเพิ่มขึ้นอีก 2 เดือน เป็นการเพิ่มรายได้ให้สมาชิกมากขึ้น

อาหารสำหรับแพะส่วนใหญ่แล้วเป็นพืชที่หาได้ทั่วไปในพื้นที่อย่างกระถินเป็นหลัก โดยเป็นพืชอาหารที่ขึ้นอยู่มากในพื้นที่ รวมถึงหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ที่มีการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ และมันสำปะหลังสับ เสริมมื้อเย็น ล้วนแล้วเป็นพืชที่มีอยู่ทั่วไป และเป็นพืชไร่ที่เกษตรกรทำควบคู่กับการเลี้ยงแพะนั่นเอง

สำหรับในช่วงฤดูแล้ง จะพบปัญหา คือ อาหารหลักของแพะอย่างกระถินไม่เพียงพอ ทำให้เกษตรกรต้องไปหาไกล บางครั้งต้องเดินทางไปต่างอำเภอ เกษตรกรผู้เลี้ยงจะต้องรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการเตรียมอาหารไว้ โดยเกษตรกรที่อำเภอโคกเจริญจะหมักหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ไว้สำหรับให้แพะกินในหน้าแล้ง

ส่วนปัญหาด้านโรคต่างๆ ในการเลี้ยงแพะของกลุ่ม คุณจรินทร สุขประเสริฐ เจ้าพนักงานสัตวบาล สำนักงานปศุสัตว์ อำเภอโคกเจริญ กล่าวว่า ในช่วงเริ่มเลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาแล้วมีความยากลำบากในการแก้ไข เนื่องจากประสบการณ์และความรู้ของเกษตรกรในการเลี้ยงแพะที่ไม่มากพอ ไม่รู้ว่าแพะต้องดูแลอย่างไร มีโรคติดต่ออะไรบ้าง

ปัญหาแรกที่พบคือ โรคแท้งติดต่อ

แต่ด้วยความมุ่งมั่นของเกษตรกรผู้เลี้ยงที่ช่วยกันแก้ไขปัญหา ด้วยการเจาะเลือดตรวจ

โดยในภายหลังมีนโยบายว่า เมื่อตรวจพบว่าแพะเป็นโรคแท้งติดต่อ จะต้องมีการทำลายทิ้ง และการเลือกซื้อแพะที่เข้าเลี้ยง ควรมาจากฟาร์มของเกษตรกรที่ปลอดโรคเป็นหลัก จึงเป็นที่มาของการทำฟาร์มปลอดโรคของกลุ่ม

โดยกลุ่มตั้งเป้าให้สมาชิกทุกรายที่เลี้ยงแพะต้องมีฟาร์มเลี้ยงแพะที่ปลอดโรค ส่งเสริมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ปัจจุบัน สมาชิกในกลุ่มมีฟาร์มปลอดโรคระดับเอ ทั้งสิ้น 19 ราย ระดับบี 7 ราย มาตรฐานฟาร์ม 9 ราย และกำลังยื่นขอระดับบี อีก 5 ราย เมื่อฟาร์มแพะมีคุณภาพแพะปลอดโรค จึงส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่โดยรอบมาขอซื้อแพะของกลุ่มไปทำฟาร์มปลอดโรค อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อสมาชิกในกลุ่ม ในการแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์ เกิดความมั่นใจทั้งกับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะภายในกลุ่มเอง เกษตรกรภายนอกที่มาซื้อแพะรวมทั้งพ่อค้าที่มาซื้อแพะเพื่อนำไปจำหน่ายต่อด้วย

หนึ่งในประสบการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาของการเลี้ยงแพะที่ทางกลุ่มเจอ คือโรคพยาธิในเลือด เกิดจากการที่เกษตรกรปล่อยแพะเลี้ยงในพื้นที่เดิมซ้ำๆ ปัญหานี้ทำให้แพะที่เลี้ยงในฟาร์มขนาดใหญ่ตายมากกว่า 100 ตัว

จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงนำมาระบบการจัดการฟาร์มตามหลักวิชาการมากขึ้น

“เมื่อเกิดปัญหา เกษตรกรภายในกลุ่มไม่นิ่งเฉย ได้ติดต่อให้สถาบันสุขภาพสัตว์มาตรวจและเจาะเลือดแพะ ซึ่งโรคพยาธิในเลือดอาการของแพะจะคล้ายคลึงกับท้องเสียมาก ทำให้เกษตรกรไม่ทราบว่าแพะป่วยเป็นโรคอะไร เมื่อทางจังหวัดมาให้ความรู้ ทำให้สามารถสังเกตได้ว่า แพะเป็นพยาธิในเลือด หรือท้องเสีย”

“เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงแพะ โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแพะที่เกษตรกรเลี้ยง ทางกลุ่มจะติดต่อประสานงานกับทางจังหวัดทันทีทุกครั้ง เพื่อมาให้ความรู้ วิธีการแก้ไขปัญหา การให้ยา” คุณจรินทร กล่าว

ด้านตลาดซื้อ-ขาย แพะ ถือว่ามีความสดใส เนื่องจากปัจจุบันผลผลิตของกลุ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ ทั้งในและต่างประเทศ โดยล่าสุดมีผู้ซื้อประเทศเวียดนาม แจ้งเข้ามาว่า มีความต้องการแพะมากถึง 2,000 ตัว ต่อเดือน

ปัจจุบัน กำลังการผลิตของกลุ่มอยู่ที่เดือนละ 100 ตัว เท่านั้น ดังนั้น ทางกลุ่มได้ตั้งเป้าผลิตแพะในอนาคตไว้ที่ 900 ตัว คือขุน 3 รอบ ต่อปี เพิ่มเป็นรอบละ 300 ตัว

“ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในทุกวันนี้ เกิดจากการกระจายข่าวสารระหว่างกัน ทั้งจากทางจังหวัดและชมรม ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะของโคกเจริญมีความรู้ รวมทั้งทราบข้อมูลราคาแพะที่ตลาดทั่วไปซื้อ-ขายกัน ทำให้เกษตรกรไม่ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรรับรู้ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อน การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ การตั้งกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในสังคมออนไลน์ มีส่วนช่วยไม่น้อยที่ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แพะ แกะ โคกเจริญประสบความสำเร็จ” คุณศักดา กล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณศักดา พานสายตา ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แพะ แกะ โคกเจริญ หมายเลขโทรศัพท์ (062) 216-1295 กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมเปิดตัว“โครงการ จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ในจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมปล่อยคาราวานรถโมบายเคลื่อนที่เร็ว มอบถุงยังชีพ พร้อมช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม เตรียมเปิดจุดบริการซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตรและฟื้นฟูอาชีพหลังน้ำลดทันที พร้อมจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ปลอดดอกเบี้ย 1 ปี ให้สหกรณ์กู้ยืมไปให้สมาชิกฟื้นฟูอาชีพ ลงทุนปลูกพืชระยะสั้น เพื่อสร้างรายได้ในเวลาอันรวดเร็ว

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย ณ ลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมเปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือกันช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรและชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ใน 21 จังหวัด และได้พิธีเปิดตัวโครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ

พร้อมกันในวันที่ 23 กันยายน 2562 ซึ่งเวทีหลักจะจัดที่สำนักชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี โดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ เน้นย้ำให้หน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตร ฯ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่เพื่อเร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เศรษฐกิจ ทั้งระยะประสบเหตุและระยะฟื้นฟูหลังน้ำลด และให้ดูแลเกษตรกรร่วมกันรักษาน้ำ ส่วนหนึ่งไว้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งด้วย รวมทั้งให้เข้าไปแนะนำ ส่งเสริม ดูแล เฝ้าระวังการระบาดของโรคในพืช ในสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกรและผู้ประสบภัย

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสากระรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ได้มีการปล่อยขบวนคาราวานรถโมบายเคลื่อนที่เร็ว เข้าไปช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย ณ วัดฉิมพลีวัน บ้านงิ้วเหนือ หมู่ 2 ตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีบริการซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตร การมอบพันธุ์ปลา พันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์ การมอบหญ้าอาหารสัตว์ การบำบัดน้ำเสีย และมีเครือข่ายสหกรณ์จากจังหวัดร้อยเอ็ด

นครราชสีมา สุรินทร์และชัยภูมิ ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อจัดซื้อถุงยังชีพและสิ่งของที่จำเป็นไปมอบให้กับชาวบ้านผู้ประสบภัย โดยอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เยี่ยมเยือนให้กำลังใจและสอบถามถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน โดยมีส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันสำรวจความเสียหายเรื่องพืช เรื่องสัตว์และประมง และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า

น้ำได้ท่วมทั้งในพื้นที่เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของประชาชนครอบคลุมพื้นที่ทุกอำเภอ และได้ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ความเสียหายเบื้องต้น พื้นที่การเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด คาดว่าจะเสียหายจำนวน 788,762 ไร่ ทั้งนาข้าว พืชไร่ พืชสวน พื้นที่ประมงทั้งบ่อกุ้ง บ่อปลา และมีความเสียหายด้านปศุสัตว์ ไก่และสุกรตาย กว่า 644 ตัว ที่อยู่อาศัยของประชาชนเสียหาย 308 ครัวเรือน

“สำหรับความเสียหายในส่วนของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและสมาชิกที่จากเหตุการณ์น้ำท่วมใน 21 จังหวัดครั้งนี้ มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับผลกะทบ 316 แห่ง สมาชิก 84,775 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรของสมาชิกเสียหาย 1.07 ล้านไร่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมแผนฟื้นฟูฯหลังน้ำลดให้เกษตรกร โดยจะจ่ายเงินชดเชยความเสียหายทั้งพื้นที่การเกษตรที่ปลูกพืช

ประมงและปศุสัตว์ รวมถึงจะมอบพันธุ์ข้าว พันธุ์สัตว์และปลา และส่งเสริม การปลูกพืชระยะสั้น เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งกรมฯจะเข้ามาดูแลเรื่องการฟื้นฟูอาชีพและหาช่องทางตลาดมารับซื้อผลผลิตให้กับเกษตรกร ขณะเดียวกัน กรมฯได้จัดทีมช่างผู้ชำนาญงาน และประสานกับสถาบันอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค ร่วมกันเปิดจุดบริการซ่อมเครื่องจักรกลและเครื่องมือทางการเกษตรให้กับเกษตรกร เป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกษตรกรได้มีเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการประกอบอาชีพทันทีหลังน้ำลด”อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

สำหรับการบรรเทาปัญหาเร่องหนี้สินให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วม มีทั้งในส่วนของเกษตรกรที่เป็นลูกค้าธกส. และเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตร เบื้องต้นกรมฯได้ขอความร่วมมือให้สหกรณ์ได้ร่วมกันดูแลสมาชิกของตนเอง โดยขอให้ชะลอการชำระหนี้และลดดอกเบี้ยให้กับสมาชิกสหกรณ์ และจะดูแลเรื่องเงินทุนเพื่อให้นำไปประกอบอาชีพ โดยจัดสรรเงินกู้จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) วงเงิน 576.287 ล้านบาท เป็นเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 1 ปี ให้สหกรณ์ขอกู้ยืมได้สหกรณ์ละไม่เกิน 5 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูอาชีพให้กับสมาชิก โดยสหกรณ์สามารถนำไปให้สมาชิกกู้ต่อรายละไม่เกิน 20,000 บาท ปลอดดอกเบี้ยระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เช่นเดียวกัน โดยสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องประกอบอาชีพทำการเกษตรและพื้นที่ทำการเกษตรได้รับความเสียหายและต้องอยู่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินระดับจังหวัด และยังได้ขยายเวลาชำระหนี้ให้สหกรณ์ที่มีหนี้เงินกู้ กับกองทุนพัฒนาสหกรณ์ก่อนเกิดภัยพิบัติ และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สหกรณ์ขาดรายได้ที่จะนำมาส่งชำระหนี้คืนกพส.ได้ ให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอย่างน้อย 1 ปี

เอไอเอส ผู้นำนวัตกรรม IoT อันดับ 1 และเป็นรายแรกและรายเดียวในไทย ที่มีโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ทั่วประเทศ นำโซลูชั่น NB-IoT Motor Tracker เข้ามาเสริมขีดความสามารถให้กับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ โดย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกันภัยรายแรกที่ไว้วางใจและนำมาเสริมศักยภาพให้กับ บริการประกันรถเปิดปิด ซึ่งเป็นนวัตกรรมในธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ที่ออกแบบมาเพื่อตอบไลฟ์สไตล์ผู้ใช้รถยนต์ยุคดิจิทัลที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย ช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองครบถ้วน และจ่ายค่าเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง (Pay As You Drive) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายค่าเบี้ยประกันไปได้ถึง 40% ตอกย้ำการเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลของ เอไอเอส ที่มีนวัตกรรม IoT ซึ่งพร้อมตอบทุกโจทย์ความต้องการของทุกอุตสาหกรรม รวมถึงพัฒนาให้ใช้งานได้จริงบนเครือข่ายที่ครอบคลุมมากที่สุดทั่วไทย และนับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการนำเทคโนโลยี NB-IoT มาสนับสนุนให้เกิด Usage Based Insurance (UBI) ในกลุ่มธุรกิจประกันภัย

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider เราให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเกิดขึ้นของ Business Model ใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตให้กับกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ พร้อมยกระดับความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในทุกด้าน โดยปัจจุบันนวัตกรรม IoT ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา Smart City ให้เกิดขึ้นจริง และ เอไอเอส ก็ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนมากมาย นำ IoT โซลูชั่น ไปเสริมศักยภาพการดำเนินงานขององค์กรมาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) มอบความไว้วางใจเลือกใช้โซลูชั่น NB-IoT Motor Tracker for UBI ในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ของไทยวิวัฒน์ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่าย NB-IoT เมื่อมีการสตาร์ทและดับเครื่องของรถที่ทำประกันรถเปิดปิด ประกันนั้นก็จะเปิดและปิดให้โดยอัตโนมัติ ทำให้บริษัทประกันภัยได้รับข้อมูลที่มีความแม่นยำ ถูกต้อง และให้การดูแลลูกค้าขององค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยี NB-IoT มาเสริมศักยภาพการบริการให้กับธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย และลูกค้าให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน”

สำหรับโซลูชั่น NB-IoT Motor Tracker for UBI จะทำงานโดยใช้เทคโนโลยีติดตามการทำงานของยานพาหนะบนเครือข่าย NB-IoT เมื่อมีการสตาร์ทรถยนต์ อุปกรณ์​ IoT จะส่งค่า Engine Start ผ่านแพลตฟอร์ม AIS IoT และมาประมวลผลยัง Thaivivat Server พร้อมแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชั่น Thaivivat Motor เพื่อเริ่มต้นเปิดประกันภัยโดยอัตโนมัติ และเมื่อดับเครื่องยนต์ อุปกรณ์​ IoT ก็จะส่งค่า Engine Stop กลับมาอีกครั้ง เพื่อปิดประกันให้อัตโนมัติเช่นกัน ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าของประกันภัยไทยวิวัฒน์ไม่ต้องเสียเวลาเปิด-ปิดด้วยตัวเองอีกต่อไป หรือในกรณีรถอยู่ในพื้นที่ห่างไกล อุปกรณ์จะเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ NB-IoT อีกครั้ง ก็จะส่งข้อมูลให้กับระบบทันที จึงได้ความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลสูง ช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองและจ่ายค่าเบี้ยประกันตามการใช้งานจริง ขับค่อยจ่าย ไม่ขับไม่ต้องจ่าย ประหยัดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไปได้ถึง 40%

ทั้งนี้ ลูกค้าที่ซื้อประกันรถเปิดปิดดังกล่าว จะได้รับอุปกรณ์ NB-IoT Motor Tracker for UBI พร้อมอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานตลอดระยะเวลาเอาประกัน ได้ทันที! ติดตั้งง่ายเพียงเสียบอุปกรณ์เข้ากับ USB Port ในรถยนต์ก็พร้อมใช้งานทันที ถือเป็นการนำนวัตกรรมดิจิทัลที่ยกระดับผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เอไอเอส พร้อมมอบบริการดิจิทัลที่พัฒนาเพื่อกลุ่มลูกค้าองค์กรในทุกอุตสาหกรรม ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์ Device, แพลตฟอร์ม IoT การออกแบบซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่น, ระบบ Cloud Computing ระดับเวิล์ดคลาส สำหรับการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล, eSIM ที่พร้อมใช้งานกับอุปกรณ์ IoT บนเครือข่าย AIS NB-IoT ที่ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ทั่วประเทศ และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจ นำ IoT ไปใช้ในการทำงาน รวมไปถึงการขยายผลการเข้าถึงเทคโนโลยี IoT ไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วไป โดยทดลองวางจำหน่าย NB-IoT Motor Tracker ซึ่งเป็นโซลูชั่นติดตามยานพาหนะด้วยเครือข่าย NB-IoT ผ่าน AIS Shop และ AIS Online Store เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามความต้องการ

สนใจ NB-IoT Motor Tracker สำหรับลูกค้าองค์กรสามารถติดต่อได้ที่ Corporate Call Center โทร. 1149 หรือเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot สำหรับลูกค้าทั่วไป ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ais.co.th/nbiotmotortracker

(23 กันยายน 2562) ณ ห้องจูปิเตอร์ 4-7 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี : ดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้แทนสำนักงานและผู้อำนวยการ สวทช. รับมอบ 3 รางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2562 จัดโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จำนวน 3 รางวัล จาก นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในพิธี ประกอบด้วย รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น จากกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น จากกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่น ได้แก่ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. เพื่อยกย่องผู้บริหารทุนหมุนเวียนที่มีผลงานผ่านการประเมินของคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียนในระดับดีขึ้นไป จากกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พร้อมกันนี้ ภายในงาน สวทช. ได้แสดงนิทรรศการผลงานวิจัยในเรื่อง TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลการ พัฒนาคนแบบชี้เป้า ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยเนคเทค สวทช. รวมถึงผลงานพัฒนาของเอ็มเทค สวทช. ในด้านผลิตภัณฑ์ยาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้งานกองทัพเรือ ParaFIT (พาราฟิต) น้ำยางพาราข้นสำหรับการผลิตหมอนและที่นอนยางพารา และ LOMAR (โลมาร์) น้ำยางพาราเข้มข้นสำหรับผสมกับแอสฟัลต์เพื่อทำถนน

ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจัดงานมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2562 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องและสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานของทุนหมุนเวียนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นในด้านต่างๆ ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของทุนหมุนเวียนในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม ให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนเป็นกลไกสำคัญที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้อยู่ดีมีสุข พร้อมตอบสนองนโยบายในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนาประเทศ สมดังเจตนารมณ์ที่ว่า “ทุนหมุนเวียน ขับเคลื่อนนโยบายรัฐ พัฒนาประเทศ” โดยมีทุนหมุนเวียนที่ได้รับรางวัลประจำปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 15 รางวัล จาก 5 ประเภทรางวัล ดังนี้

รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีผลการดำเนินงานโดยรวมดีเด่น สามารถดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายตามภารกิจ จำนวน 7 ทุน ได้แก่ 1) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3) กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4) กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 5) กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน 6) กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน และ 7) เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม
รางวัลการพัฒนาดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ

และประสิทธิผลของการดำเนินงานตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น
– ประเภทดีเด่น จำนวน 2 ทุน ได้แก่ 1) เงินทุนหมุนเวียนโรงงานเภสัชกรรมทหาร และ 2) เงินทุนหมุนเวียน เพื่อการบริหารท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ – กองทัพเรือ
– ประเภทชมเชย ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
รางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีการจัดการบริหารพัฒนา และปรับปรุงองค์กรที่ครอบคลุมตามกรอบการประเมินด้านที่ 4 การบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน จำนวน 3 ทุน ได้แก่ 1) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) กองทุนพัฒนา ระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

รางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่น เป็นรางวัลที่ยกย่องผู้บริหารทุนหมุนเวียนที่มีผลงานผ่านการประเมินของคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียนในระดับดีขึ้นไป ซึ่งเป็นรางวัลที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 2 ทุน ได้แก่ 1) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 2) กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน
รางวัลทุนหมุนเวียนเกียรติยศ เป็นรางวัลที่ยกย่องชมเชยให้กับทุนหมุนเวียนที่มีการบริหารจัดการที่ดี มีผลการดำเนินงานในระดับดีเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี จำนวน 1 ทุน ได้แก่ กองทุนสนับสนุนการวิจัย

ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางจัดงานมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2562 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องและสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานของทุนหมุนเวียนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นในด้านต่างๆ ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของทุนหมุนเวียนในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม ให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนเป็นกลไกสำคัญที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้อยู่ดีมีสุข พร้อมตอบสนองนโยบายในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนาประเทศ สมดังเจตนารมณ์ที่ว่า “ทุนหมุนเวียน ขับเคลื่อนนโยบายรัฐ พัฒนาประเทศ” โดยมีทุนหมุนเวียนที่ได้รับรางวัลประจำปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 15 รางวัล จาก 5 ประเภทรางวัล ดังนี้

รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีผลการดำเนินงานโดยรวมดีเด่น สามารถดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายตามภารกิจ จำนวน 7 ทุน ได้แก่ 1) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3) กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4) กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 5) กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน 6) กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน และ 7) เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม
รางวัลการพัฒนาดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของการดำเนินงานตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น

– ประเภทดีเด่น จำนวน 2 ทุน ได้แก่ 1) เงินทุนหมุนเวียนโรงงานเภสัชกรรมทหาร และ 2) เงินทุนหมุนเวียน เพื่อการบริหารท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ – กองทัพเรือ
– ประเภทชมเชย ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
รางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น เป็นรางวัลสำหรับทุนหมุนเวียนที่มีการจัดการบริหารพัฒนา และปรับปรุงองค์กรที่ครอบคลุมตามกรอบการประเมินด้านที่ 4 การบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน จำนวน 3 ทุน ได้แก่ 1) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) กองทุนพัฒนา ระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
รางวัลผู้บริหารทุนหมุนเวียนดีเด่น เป็นรางวัลที่ยกย่องผู้บริหารทุนหมุนเวียนที่มีผลงานผ่านการประเมินของคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียนในระดับดีขึ้นไป ซึ่งเป็นรางวัลที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 2 ทุน ได้แก่ 1) กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 2) กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน
รางวัลทุนหมุนเวียนเกียรติยศ เป็นรางวัลที่ยกย่องชมเชยให้กับทุนหมุนเวียนที่มีการบริหารจัดการที่ดี มีผลการดำเนินงานในระดับดีเด่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี จำนวน 1 ทุน ได้แก่ กองทุนสนับสนุนการวิจัย