ก่อนหน้านี้ คุณครองจักรปลูกไม้ผลหลายชนิดแต่กลับยืนต้นตาย

ทั้งๆ ที่มีระบบน้ำหยดทุกต้น เนื่องจากสวนแห่งนี้ มีหน้าดินตื้นแค่ 50 เซนติเมตร ลึกลงไปเป็นดินขาว เป็นเม็ดกรวดและเป็นดินดานแข็ง รากพืชไม่สามารถแทงลงไปได้ แต่อินทผลัมเป็นไม้ผลชนิดเดียวที่สามารถเจริญเติบโตได้

เพื่อเป็นการเสริมธาตุอาหารในดิน คุณครองจักรได้ขุดหลุมลึก 2 เมตร กว้าง 2 เมตร เอาดินออกแล้วนำดินจากทุ่งนามาผสมกับปุ๋ยคอกใส่ลงไปเป็นดินปลูก บางต้นอายุ 3 ปี ต้นใหญ่และให้ผลผลิตค่อนข้างดี

ปัจจุบัน “สวนอินทผาลัมชอนสารเดช” ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดชัยนาท รวมถึง จังหวัดลพบุรีและสำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างครบวงจร โดยเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าเที่ยวชมได้ทุกวัน

“สวนอินทผาลัมชอนสารเดช” มีการดูแลจัดการที่ดี ทำให้มีผลผลิตคุณภาพดี รสชาติเยี่ยม และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร แต่ละปีจะมีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564 จำหน่ายราคาอินทผลัมสดในราคา 450-850 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ ปัจจุบันสวนแห่งนี้ปลูกอินทผลัมจำนวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่

1.พันธุ์บาฮี ซึ่งเป็นพันธุ์ที่รู้จักทั่วไป ลักษณะเด่น ผลสีเหลืองสด กรอบ รสชาติออกหวานแหลม ราคากิโลกรัมละ 450 บาท

2.พันธุ์ซุการี ลักษณะคล้ายบาฮี แต่ผลจะมีสีเหลืองเข้มกว่า เนื้อกรอบแข็ง หวานละมุน ราคากิโลกรัมละ 450 บาท

3.พันธุ์โคไนซี่ ลักษณะเด่น ผลสด สีแดง เนื้อแน่น หวานกรอบ สุกครึ่งลูก ผลสีแดงแต้มดำ หวานกรอบผสมเนียนนุ่มในคำเดียว หวานกลมกล่อม สุก ผลสีดำ เนื้อเนียนนุ่มชุ่มลิ้น หวานกลมกล่อม แช่ในช่องแช่แข็งและนำมารับประทานรสชาติสุดฟิน ราคากิโลกรัมละ 750 บาท

4.พันธุ์อัมเอ็ดดาฮาน ลักษณะเด่น ผลใหญ่ สีโอลด์โรส เนื้อกรอบ หวานกลมกล่อม ไม่มีรสฝาดตั้งแต่คำแรก ราคากิโลกรัมละ 750 บาท นอกจากนี้ “สวนอินทผาลัมชอนสารเดช” ยังปลูกอินทผลัมเพิ่มเติมอีก 2 สายพันธุ์ที่จะให้ผลิตในอนาคต คือ

อินทผลัมพันธุ์คาลาส ที่มีลักษณะเด่นคือ ผลโต เนื้อเยอะ เนื้อแน่น สุกแล้วเนื้อไม่เละ เปลือกล่อน หวาน หอม รับประทานอร่อย

และอินทผลัมพันธุ์อัจวะห์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เชื่อว่าเป็นผลไม้ที่พระเจ้าประทานมา หากได้ลองสักครั้ง เชื่อว่าจะสามารถป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไสยศาสตร์ได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลดีกว่าสายพันธุ์อื่น ลักษณะเด่น ผลลายสวยงาม รับประทานสุกหวานนุ่มชุ่มลิ้น มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ

สำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจเลือกซื้ออินทผลัมของดีอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น วารสารการเกษตร ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook, Line รวมทั้งเว็บไซต์ตลาดเกษตรออนไลน์.com ของกรมส่งเสริมการเกษตร

ผู้ว่าฯ เมืองคอน ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ชวนคนคอนผสมดอกทุเรียน บอกดีแน่ๆ แก้ได้หลายปัญหา ตอบโจทย์มุ่งพัฒนาคุณภาพทุเรียนสู่ความเป็นเลิศ แถมรู้วันตัดที่แน่นอน ปัญหาทุเรียนอ่อนจะหมดไป
จากการเปิดเผยของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ในเรื่องการพัฒนาการผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ จากกระแสความนิยมปลูกทุเรียนในเกือบทุกอำเภอ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีพื้นที่การปลูกทุเรียนรวมไม่ต่ำกว่า 83,921 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 57,722 ไร่ มีผลผลิตรวมประมาณ 63,931 ตัน ต่อปี สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 6,393 ล้านบาท จากกระแสความสนใจและตื่นตัวของเกษตรกรในการทำสวนทุเรียนอย่างจริงจัง โดยการจัดการพื้นที่ ระบบน้ำ พันธุ์ ปุ๋ย สารกำจัดโรค-แมลง การดูแลรักษา การขอรับการรับรองแปลง GAP และการจัดการผลผลิตที่อาศัยหลักวิชาการมากขึ้น เกษตรกรในหลายพื้นที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บางพื้นที่ก็รวมกันทำเกษตรแปลงใหญ่ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การรวมซื้อ-รวมขาย มุ่งการผลิต แบบลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการจัดการด้านการตลาด เป็นต้น ซึ่งส่งผลดีต่อเกษตรกรอย่างเห็นได้ชัด และกำลังขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียงมากขึ้นโดยลำดับ

หลักวิชาการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง นอกเหนือจากการดูแลจัดการสวนตามหลักวิชาการทั่วๆ ไป ที่เกษตรกรในทุกพื้นที่ปฏิบัติกันคือ เทคโนโลยีในการผสมดอกทุเรียน เพื่อช่วยให้ทุเรียน โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง มีการติดผลมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลือกตัดแต่ง ไว้ผลตามกิ่ง และจุดที่เหมาะสมได้ ทุเรียนที่ผ่านการผสมดอกจะมีผลที่มีรูปทรงสวยงาม พูเต็ม เนื้อหนา เมล็ดเล็กลีบ เปลือกผลบาง และที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ เกษตรกรสามารถกำหนดวันเก็บเกี่ยวได้อย่างแม่นยำ คือประมาณ 115-120 วัน หลังจากวันผสมดอก (ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง) จะไม่เกิดปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนอย่างแน่นอน

ในปีการผลิต 2564 นี้ จังหวัดนครศรีธรรมราชได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช และสำนักงานเกษตรอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ดำเนินการจัดวันสาธิตการผสมดอกทุเรียน เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรและให้เกษตรกรฝึกปฏิบัติจริง เกษตรกรทุกรายสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายดาย
คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวเพิ่มเติมว่า การผสมดอกทุเรียนเป็นเทคนิค

ทางวิชาการที่เกษตรกรมักจะมองข้ามหรือยังขาดความเข้าใจ เพราะคิดว่าไม่ต้องช่วยผสมเกสร ทุเรียนจะติดผลเองตามธรรมชาติโดยอาศัยลมหรือแมลงช่วย แต่จากหลักวิชาการที่พบว่าดอกทุเรียนจะบานในช่วงบ่ายถึงค่ำ ละอองเกสรตัวผู้จะแตกตัว เหมาะในการผสมพันธุ์มากที่สุดในช่วง 1-3 ทุ่ม ซึ่งในช่วงค่ำแมลงที่เป็นมิตรและช่วยผสมเกสรจะไม่ออกหากิน จะมีก็แต่แมลงกลางคืน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศัตรูพืชมากกว่า การปล่อยให้ทุเรียนผสมเกสรเองตามธรรมชาติ จึงมักจะได้ผลทุเรียนที่บิดเบี้ยว พูไม่เต็ม ได้แค่ 2-3 พู แต่ถ้าหากเจ้าของช่วยผสมเกสร อาจจะได้ผลทุเรียนที่มีพูเต็ม 4-5 พู นั่นหมายถึงทุเรียนคุณภาพที่ดีเลิศ

วิธีการผสมดอกทุเรียนคือ การนำแปรงขนอ่อนปัดไปมาเบาๆ ที่ดอกทุเรียนที่กำลังบานเต็มที่ในช่วงเวลา 1-3 ทุ่ม เพื่อให้ละอองเกสรตัวผู้ที่อยู่รอบๆ สัมผัสกับเกสรตัวเมียที่อยู่ตรงกลางดอก เมื่อผสมดอกทุเรียนแล้ว ผลเริ่มโตและตัดแต่งผลแล้ว เกษตรกรต้องบำรุงรักษาตามระยะ และเก็บเกี่ยวเมื่อได้อายุ 115-120 วัน ซึ่งผลผลิตทุเรียนในฤดูกาลปีนี้ที่มีการผสมดอกในช่วงปลายเดือนมีนาคม จะตัดได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป

ในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอพิปูน ช้างกลาง ชะอวด ฉวาง ร่อนพิบูลย์ บางขัน นบพิตำ และอำเภอสิชล พี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนและผู้ที่สนใจได้จัดกิจกรรมสาธิตผสมดอกทุเรียน และให้เกษตรกรได้ฝึกทักษะกันอย่างทั่วถึงใช้แปลงสาธิตของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชจะทำหน้าที่ในการอธิบายหลักการผสมดอกทุเรียน และมอบหมายให้ คุณพงษ์พัฒน์ พิมเสน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้รับผิดชอบงานไม้ผล ทำหน้าที่อธิบายเทคนิค วิธีการผสมดอกทุเรียนและสาธิตให้เกษตรกรได้เห็นจริง
และโดยเฉพาะในวันที่ 24 มีนาคม 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช คุณไกรศร วิศิษฎ์วงศ์

พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เกียรติไปร่วมกิจกรรมสาธิตการผสมดอกทุเรียนในแปลงของเกษตรกร ตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจองผลทุเรียน จำนวน 2 ต้น อีกไม่นานเกินรอพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนและผู้สนใจที่กำลังลุ้นคอยดูอยู่ว่าสวนทุเรียนที่ผสมดอกคุณภาพจะออกมาดีสมตามที่เกษตรจังหวัดและนักวิชาการบอกไว้หรือไม่ ค่อยตามมาพิสูจน์กัน

อีกกิจกรรมหนึ่งที่เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช พยายามเชื่อมโยงและทำให้เป็นเรื่องเดียวกันหรือเกื้อกูลกันคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการเชิญสื่อมวลชน นักธุรกิจ และผู้ที่ชื่นชอบบริโภคทุเรียนให้ได้ไปชมบรรยากาศในสวนทุเรียนยามค่ำที่คนเมืองจะหาดูได้ยาก ดอกทุเรียนที่บานขาวนวลไปทั้งต้น เมื่อกระทบแสงไฟจะให้ภาพที่สวยงาม รวมทั้งกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่โรแมนติก และการจัดกิจกรรมเสริม

“เปิดให้จองต้นทุเรียน” ให้นักท่องเที่ยวจอง วางมัดจำ เจ้าของสวนจะทำหน้าที่ดูแลรักษาและส่งภาพให้ผู้จอง ดูทาง Line เป็นระยะๆ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ลูกค้ามารับผลผลิตทุเรียน จ่ายเงินในส่วนที่เหลือโดยคิดราคาอ้างอิง ณ วันที่ตัดทุเรียน ลูกค้าจะได้ผลผลิตทุเรียนคุณภาพไปบริโภค หรือไปฝากญาติผู้ใหญ่ใครต่อใครอย่างมั่นใจได้แน่นอน

ทุเรียนดี เกรดพรีเมียม เกษตรกรเมืองคอนทำได้แน่นอน และไม่ต้องกลัวผิดหวังกับทุเรียนอ่อนโดยเฉพาะการจองผลผลิตล่วงหน้า รู้วันผสมดอก รู้วันเก็บเกี่ยว ปัญหาทุเรียนอ่อนจะหมดไป หากชาวสวนทุกคนจริงใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

อินทผลัม เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแบบทะเลทราย ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร โดยใบติดอยู่บนต้น 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ลักษณะใบของอินทผลัมเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ เมื่อติดผลมีลักษณะเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลสดและสุก ซึ่งผลมีสีเหลืองถึงสีส้ม และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด โดยผลสุกจะนิยมนำไปตากแห้ง จึงเป็นหนึ่งพืชที่น่าจับตามองในเรื่องของการทำตลาด

คุณธัญญา กาญจนประดิษฐ์ อยู่บ้านเลขที่ 21/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเกษตรกรที่ได้มองเห็นถึงอนาคตของการทำตลาดอินทผลัมว่า เป็นสินค้าที่มีราคา โดยเธอได้แบ่งพื้นที่ทำนาบางส่วนมาปลูกอินทผลัมเพื่อเป็นการกระจายรายได้ เมื่อราคาข้าวตกต่ำก็ยังมีผลผลิตของอินทผลัมอยู่ แม้พื้นที่ปลูกจะเป็นดินที่ผ่านการทำนามาก่อน แต่ก็สามารถปลูกได้จนประสบผลสำเร็จ

คุณธัญญา เล่าให้ฟังว่า เป็นคนที่ชอบรับประทานอินทผลัมมานานมากแล้ว แต่ด้วยพืชชนิดนี้ในเมืองไทยยังค่อนข้างหาซื้อยาก บวกกับราคาขายต่อกิโลกรัมก็ค่อนข้างแพง จึงเป็นสิ่งที่จุดประกายให้เธอคิดที่อยากจะปลูกเอง เพราะไม่กี่ปีให้หลังมานี้ข้าวมีราคาถูก และทำได้ปีละ 1 ครั้ง เพียงเท่านั้น จึงได้เกิดความคิดที่อยากจะปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นาบางส่วนมาแบ่งปลูกอินทผลัมเพื่อชดเชยรายได้

“พอคิดที่จะทำ เราก็มาแบ่งปลูกเป็น 2 ช่วงอายุ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกรุ่นแรก 8 ไร่ กับ รุ่นที่ 2 บนเนื้อที่ 7 ไร่ รวมพื้นที่ปลูกอินทผลัมทั้งหมดก็ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งนาก็ไม่ได้เลิกทำ ยังทำอยู่ เพียงแต่แทนที่เราจะปลูกข้าวอย่างเดียว เราก็มาปลูกทำเกษตรอย่างอื่นด้วย เพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้ครบทุกด้าน อย่าทำพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว” คุณธัญญา เล่าถึงที่มา

โดยวิธีการปลูกและการเลือกซื้อสายพันธุ์ คุณธัญญา บอกว่า ได้ศึกษาหาข้อมูลเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งเดินทางไปศึกษาจากเพื่อนๆ ที่ปลูกจนประสบผลสำเร็จ จากนั้นเธอจึงได้ข้อสรุปเลือกอินทผลัมที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูกสร้างรายได้

ในเรื่องของวิธีการปลูกอินทผลัมนั้น คุณธัญญา เล่าว่า มีการเตรียมพื้นที่ปลูกก่อนในช่วงแรก โดยให้บริเวณรอบๆ สวนมีร่องน้ำสำหรับระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังภายในพื้นที่ปลูก เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขังอยู่บริเวณโคนต้น ดังนั้นในเรื่องของการระบายน้ำออกจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การเตรียมต้นกล้าระยะแรก จะนำมาอนุบาลเพื่อให้มีระบบรากแข็งแรง โดยใช้เวลาประมาณ 8 เดือน จากนั้นเมื่อเห็นว่าต้นอินทผลัมมีความสมบูรณ์ดีแล้ว จะนำมาลงปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ทันที

“การลงพื้นที่ปลูก ก็จะเน้นให้มีระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างแถว อยู่ที่ 7×7 เมตร โดยการปลูกจะไม่ฝังต้นลงไปใต้ดินจนลึก ขนาดหลุมปลูก กว้าง 1 เมตร ความลึกอยู่ที่ 40 เซนติเมตร พอปลูกเสร็จแล้วก็จะมีไม้ค้ำยันไว้ เพื่อไม่ให้ต้นโยกไปมา ให้ต้นตั้งตรงอยู่นิ่งๆ จะช่วยให้รากค่อนข้างที่จะเดินได้ดี หลังจากนั้นก็ดูแลให้น้ำด้วยระบบมินิสปริงเกลอร์ทุกวันประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้น ก็จะเปลี่ยนให้น้ำ 2-3 วันครั้ง ก็เพียงพอ” คุณธัญญา บอก

หลังจากที่ปลูกได้ครบ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นด้วยสูตร 20-10-10 ปลูกดูแลไปจนได้อายุ 2 ปีครึ่ง อินทผลัมก็จะเริ่มเจริญเติบโตจนให้ผลผลิตได้ ซึ่งแต่ก่อนที่จะติดผลต้องเตรียมต้นให้พร้อมเสียก่อน โดยช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมเปลี่ยนใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 หลังจากนั้น ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมอินทผลัมก็จะเริ่มมีจั่นออกมาให้เห็น ในช่วงนี้เมื่อเห็นว่าจั่นมีความสมบูรณ์จึงช่วยผสมเกสรเพื่อให้ติดผลผลิตได้ดีขึ้น

ซึ่งอินทผลัมเป็นพืชที่แยกเพศอย่างชัดเจน คือ ต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย จะอยู่คนละต้นกัน ดังนั้น ในการปลูกภายในสวนจะให้มีอัตราส่วน ต้นตัวผู้ 1 ต้น ต่อ ต้นตัวเมีย 15-20 ต้น โดยจะปลูกในพื้นที่กี่ไร่ก็ตาม จะเน้นอัตราส่วนของต้นตัวผู้และตัวเมียในอัตราส่วนนี้เสมอ

“พอเราผสมเกสรติดดีแล้ว ช่วงที่ดูแลผล ก็จะมีการปรับเปลี่ยนปุ๋ย เป็นสูตร 15-5-20 กับสูตร 11-6-25 สลับกันไปมาในช่วงที่ติดผล ซึ่งผลของอินทผลัมกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ นับจากวันที่ผสมเกสร ใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 140 วัน ช่วงนี้ผลก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ นำกระดาษมาหุ้มพร้อมทั้งใช้ตาข่ายห่ออีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันหนูและแมลงที่มาทำลายผล พอครบกำหนดผลก็จะเริ่มสุกพร้อมๆ กัน สามารถเก็บเกี่ยวได้” คุณธัญญา บอก

ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงนั้น คุณธัญญา บอกว่า สิ่งที่ต้องป้องกันมากที่สุดคือ ด้วงมะพร้าว โดยหมั่นเดินสำรวจอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มี ถ้าหากมีการเข้าทำลายของศัตรูพืชชนิดนี้ ยอดของอินทผลัมจะได้รับความเสียหาย ดังนั้น จึงต้องหมั่นป้องกันและดูแลตั้งแต่ครั้งแรกที่ปลูก

ในเรื่องของการตลาดเพื่อส่งขายอินทผลัม คุณธัญญา บอกว่า ได้มีลูกค้ามาติดต่อขอซื้อถึงสวนไว้แล้ว และส่วนที่เป็นอีกเกรดก็จะขายตามตลาดอื่นๆ ต่อไป ซึ่งทางสวนของคุณธัญญาเองก็ได้มีการปลูกแบบได้มาตรฐาน จีเอพี (GAP) ลูกค้าที่รับซื้อจึงมั่นใจได้ในผลผลิตที่ผ่านการดูแลเป็นอย่างดีในทุกขั้นตอน

“ราคาของอินทผลัมผลสด ที่สวนเราขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 500 บาท ซึ่งที่สวนมีอยู่ประมาณ 200 ต้น ผลผลิตที่เฉลี่ยคาดว่าจะได้แต่ละปี 4-5 ตัน ด้วยราคาประมาณนี้ คิดว่าก็น่าจะทำเงินได้ แต่ถ้าอนาคตต่อให้ราคาลงไปบ้าง เราก็มองว่าน่าจะทำเงินได้อยู่ เพราะอินทผลัมเมื่อเทียบกับพืชบางชนิด เรื่องใช้ปุ๋ยและยาน้อยมาก จึงทำให้ต้นทุนในเรื่องนี้ไม่ค่อยมาก ในการลงทุนแต่ละปี ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพืชที่น่าสนใจ” คุณธัญญา บอกเรื่องการตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกอินทผลัม คุณธัญญา แนะนำว่า หากมีพื้นที่บางส่วนที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยวอยู่ ก็ให้แบ่งมาปลูกพืชให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเลือกพืชที่เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ อย่างที่เธอเลือกปลูกอินทผลัม เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย เมื่อเทียบกับการทำนา ดังนั้น อินทผลัม จึงเป็นอีกหนึ่งพืชที่เธอมองว่าน่าจะทำรายได้เสริมควบคู่ไปกับการทำนาของเธอ

ยูคาลิปตัส เป็นไม้โตเร็ว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ภาคเอกชนของไทยได้พัฒนาพันธุ์ออกมาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป เช่น ทำเสาเข็ม นั่งร้านในการก่อสร้าง เพื่อผลิตเยื่อกระดาษ ทำโครงสร้างหลักของบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งเครื่องจักรและสุขภัณฑ์ต่างๆ ที่สำคัญปรับปรุงพันธุ์สำหรับทำพื้นปาร์เกต์ของอาคารบ้านเรือนและสำนักงาน

ตัวชี้วัด ที่ช่วยในการตัดสินใจร่วมโครงการ อันดับแรก พื้นที่ใช้ปลูก ควรเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และอยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ และ อันดับต่อไป เงื่อนไขที่ตกลงกัน ให้ศึกษาอย่างละเอียด ผมทราบมาว่า บริษัทจะจัดหาต้นพันธุ์ให้ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำตลอดอายุการปลูก 1 รอบ เป็นเวลา 4 ปี จึงมีการตัดฟัน โดยบริษัทจะรับซื้อคืนทั้งหมด ในราคาที่ตกลงกันไว้ แล้วหักค่าใช้จ่ายทั้งราคาต้นกล้าและปัจจัยการผลิตอื่นๆ หากอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว ก็โอเค

ช่วงนี้เกิดสถานการณ์การระบาดของศัตรูมะพร้าว 5 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง และไรสี่ขา ใน 29 จังหวัดทั้งประเทศ ในพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง

จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 3,662.10 ไร่ ปลูกมากที่สุดคือ อำเภอกันตัง จำนวน 802.89 ไร่ อำเภอเมือง จำนวน 602.83 ไร่ คุณวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง จึงขอเตือนเกษตรกรและผู้ประกอบการ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ต ทุกแห่งที่ปลูกมะพร้าวเฝ้าระวังและแก้ปัญหาการจัดการศัตรูมะพร้าวตามแนวทางอย่างยั่งยืน

ศัตรูมะพร้าวที่สำคัญและลักษณะการทำลาย มีดังนี้

หนอนหัวดำ
ตัวหนอนจะทำลายจากใบล่าง โดยกัดกินผิวใต้ใบและสร้างอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวก หากการทำลายรุนแรงทำให้มะพร้าวตาย เกษตรกรควรใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ประกอบด้วย วิธีกล ได้แก่ การตัดทางใบที่ถูกหนอนทำลายและนำมาเผาทำลาย ใช้ศัตรูธรรมชาติแตนเบียนหนอน Bracon hebetor เพื่อควบคุมระยะหนอนของหนอนหัวดำ อัตราไร่ละ 200 ตัว กระจายทั่วทั้งแปลง โดยปล่อย 12 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์

แมลงดำหนาม
ตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินยอดอ่อนและซ่อนตัวในใบอ่อนที่พับอยู่ และจะเคลื่อนย้ายไปกินยอดอ่อนอื่น ต้นที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเป็นสีขาวโพลนหรือที่เรียกว่า “มะพร้าวหัวหงอก” แนะนำควบคุมการระบาดโดยการตัดยอดที่ถูกทำลาย เก็บไข่และตัวหนอนไปทำลาย ใช้ตัวห้ำและตัวเบียน

ใบจะขาดเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือขาดเป็นริ้วๆ คล้ายรูปพัดหรือหางปลา รอยแผลที่ด้วงแรดกัดเป็นเหตุให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายภายหลัง

การป้องกันและกำจัด ได้แก่

กำจัดแหล่งขยายพันธุ์โดยการทำลายซากท่อนมะพร้าว สมัครเว็บสโบเบ็ต ตอมะพร้าวหรือหากมีซากชิ้นส่วนของพืชควรเกลี่ยไม่ให้หนาเกิน 15 เซนติเมตร ทำความสะอาดคอมะพร้าว
ใช้กับดักฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัย และนำมาทำลาย การวางกับดักฟีโรโมนต้องห่างจากแปลง 3-5 เมตร และวางทิศทางต้นลมของแปลงเสมอ
ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมในกองวัสดุทางการเกษตรที่อาจมีหนอนด้วงแรดอาศัยอยู่ เชื้อจะทำลายด้วงแรดทุกระยะการเติบโต

ทำลายโดยการเจาะลำต้นและยอด ส่วนใหญ่จะวางไข่ตามบาดแผลหรือบริเวณที่ด้วงแรดเจาะไว้ สังเกตอาการเฉาหรือใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ยอดหักพับ หากพบอาการรอยแผลรอยเจาะและยอดอ่อนที่ยังไม่เหี่ยวให้ใช้เหล็กปลายแหลมแทงเข้าไปในรอยเจาะเพื่อทำลายตัวหนอน ใช้กับดักฟีโรโมนล่อด้วงงวงเพื่อนำไปทำลาย

จะทำลายใต้กลีบขั้วผล ตั้งแต่ผลขนาดเล็กทำให้เกิดแผลและลุกลามเป็นแผลตกสะเก็ด อาการจะแตกเป็นริ้วเหมือนลายไม้และทำลายทุกผลในทลาย หากการระบาดรุนแรงในผลเล็กจะร่วงเสียหายจนไม่สามารถจำหน่ายได้ เน้นพ่นสารกำจัดไรในช่วงระยะมะพร้าวติดจั่นจนถึงระยะผลขนาดเล็ก เช่น กำมะถัน 80% WG อัตรา 60 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง

คุณภวิษพร ย่องภู่ เจ้าของสวนมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เคยได้รับรางวัลที่ 1 ประเภท “มะพร้าวน้ำหอม” งานวันลองกอง ครั้งที่ 41 ประจำปี พ.ศ. 2559 เป็นผู้หนึ่งที่เคยประสบปัญหาศัตรูมะพร้าว “ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 5 ไร่ ไว้จำหน่ายผลละ 8-10 บาท สร้างรายได้เดือนละ 8,000-10,000 บาท เคยประสบปัญหาการทำลายของด้วงแรดและแมลงดำหนามมาทำลาย แต่ยังไม่รุนแรง แก้ไขโดยการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์โดยการทำลายซากท่อนมะพร้าวตอมะพร้าวหรือหากมีซากชิ้นส่วนของพืชควรเกลี่ยไม่ให้หนาเกิน 15 เซนติเมตร ทำความสะอาดคอมะพร้าวร่วมกับใช้กับดักฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัย และนำมาทำลาย

คุณฟีซะ ผ่องศรี ตัวแทนเกษตรกรพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เล่าให้ฟังว่า บนเกาะลิบงมีรีสอร์ต โฮมสเตย์ หลายแห่งที่ปลูกมะพร้าว เคยประสบปัญหาด้วงแรด ประสานให้เกษตรจังหวัดตรังมาให้คำแนะนำ คุณเรียม มีสุข เกษตรกรหมู่ที่ 9 ตำบลในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เล่าให้ฟังว่า ปลูกมะพร้าวจำนวน 1 ไร่ มะพร้าวอายุ 2 ปี พบการเข้าทำลายของแมลงดำหนาม ได้รับคำแนะนำจากเกษตรตำบลให้หมั่นเก็บทำลายไข่ ตัวหนอน และตัวเต็มไวของแมลงดำหนาม รักษาแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียน แมลงหางหนีบ

– ปล่อยแมลงหางหนีบ บริเวณยอดมะพร้าว 50 ตัว ต่อยอด เพื่อกำจัดหนอนและดักแด้แมลงดำหนาม

– ปล่อยแตนเบียน อะซีโคดิส อิสพินารัม (Asecodes hispinarum) ทำลายหนอนแมลงดำหนาม อัตรา 5-10 มัมมี่ ต่อไร่ ปล่อย 3-5 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน