ก่อนเริ่มเก็บผักชีฝรั่งควรปล่อยน้ำเข้าไปในแปลงสักเก็บผักชีฝรั่งว่า

เพื่อให้ดินชุ่มน้ำ สะดวกต่อการเก็บผลผลิตแล้วไม่ทำให้ต้นเสียหายด้วย จากนั้นจะมีชาวบ้านที่รับจ้างเก็บผักชีฝรั่ง ซึ่งเรียกกันว่า “แขก” กลุ่มหนึ่งมีจำนวนตามที่ว่าจ้างมาจัดการถอนหรือดึงด้วยมือทั้งต้นและราก นำมาล้างให้สะอาด แล้วตัดแต่งให้มีความสวยงาม เพื่อให้มีราคาดี ชาวบ้านกลุ่มที่รับจ้างเก็บผักชีฝรั่งจะมีรายได้ถุงละ 25 บาท แล้วจึงนำผักชีฝรั่งที่ตัดแต่งบรรจุใส่ถุงพลาสติกใส ขนาดถุงละ 5 กิโลกรัม ในแต่ละครั้งสามารถเก็บผักชีฝรั่งได้วันละ 200 ถุง หรือ 1 ตัน

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น ใช้เวลาปลูกและเก็บผลผลิตในเวลาประมาณ 3-3 เดือนครึ่ง ดังนั้น หลังจากเก็บผลผลิตแต่ละรุ่นแล้วชาวบ้านจะเริ่มต้นปลูกรุ่นใหม่โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ เพียงแต่ต้องมีการปรับไถพื้นที่แล้วบำรุงดินก่อนทุกครั้ง ฉะนั้น ผักชีฝรั่งจึงสามารถปลูกสร้างรายได้ตลอดทั้งปี

สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ใช้โดยไม่ต้องซื้อ คุณติ๋ม บอกว่า ชาวบ้านจะดูว่าถ้าคราวใดที่ปลูกแล้วเป็นจังหวะที่ผักในท้องตลาดราคาลดลง แล้วเห็นว่าไม่คุ้มเท่าไรนักก็จะยังไม่เก็บขาย แล้วจะปล่อยให้มีเมล็ดพันธุ์เพื่อเก็บใช้สำหรับปลูกในคราวต่อไป โดยเมล็ดพันธุ์ที่เก็บมาแล้วต้องนำมาตากแดด แล้วนำไปใส่ถุงหรือภาชนะปิดให้มิดชิดแล้วนำไปใส่ตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี

คุณติ๋ม ชี้ว่า ราคาขายขึ้น-ลงตลอด และเป็นไปตามกลไกของตลาด ความสมบูรณ์ของผักชีฝรั่งจะดูจากขนาด ความสมบูรณ์ ความยาว และสีของใบด้วย ทั้งนี้ หากใบไม่สวยจะไม่สามารถขายได้เลย เพราะผู้รับซื้อไม่รับ บางช่วงที่ผักชีฝรั่งแพงเคยขายได้ถุงละ 300 บาท แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ราคาลดลงมาก พร้อมกับบ่นว่าต้องแบกภาระราคาตกเช่นนี้มาแล้วถึง 2 ปี จากปกติเคยขายได้อย่างต่ำสุดเพียงถุงละ 80 บาท แต่ตอนนี้เหลือเพียงถุงละ 60 บาท ทั้งนี้ แหล่งที่พ่อค้ามารับไปขายส่งต่อคือตลาดไทและสี่มุมเมือง เป็นหลัก

นอกจากคุณติ๋มจะเก็บผักชีฝรั่งขายเองแล้ว ยังรับซื้อผลผลิตจากลูกไร่ที่มีอยู่จำนวน 6-7 ราย ซึ่งแต่ละรายมีพื้นที่ปลูกผักชีฝรั่งประมาณ 10 ไร่ด้วย โดยจะรับซื้อในราคาถุงละ 20 บาท (ถุง 5 กิโลกรัม) แล้วต้องจัดการเองทุกอย่าง ไม่ว่าจะต้องถอน ดึง ซึ่งต้องจ้างถอนกิโลกรัมละ 5 บาท แล้วจ้างคนหามอีกถุงละ 3 บาท ดังนั้น เบ็ดเสร็จแล้วคนซื้อจะเหลือรายได้เพียงถุงละ 6 บาท

“ม่อฮ่อม หรือ หม้อห้อม” มาจากภาษาถิ่นล้านนา หมายถึง สีของผ้าฝ้ายย้อมสีครามอมดำ จาก “ต้นฮ่อม” ซึ่งพืชชนิดนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คนน่านเรียกพืชชนิดนี้ว่า “ฮ่อมเมือง” แม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ครามหลอย” ขณะที่คนอีสาน เรียกว่า “ต้นคราม”

โดยทั่วไป ต้นฮ่อมมีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 50-80 เซนติเมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องคล้ายขาไก่ แตกกิ่งก้านตามข้อ ลำต้นกลม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม หัวใบเรียว ท้ายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบด้านบนสีเขียวมัน ใบแก่หรืออ่อนเมื่อถูกกดหรือทุบทิ้งไว้กลายเป็นสีดำ ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบและกิ่ง รูปทรงคล้ายระฆัง ดอกสีม่วง เมล็ดอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล แตกง่าย

บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ นับเป็นแหล่งผลิตผ้าหม้อห้อมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ชาวบ้านทุ่งโฮ้งยังคงรักษากรรมวิธีการย้อมผ้าฝ้ายแบบแบบโบราณ โดยใช้กิ่งและใบของ “ห้อม” มาหมักในหม้อตามกรรมวิธี แล้วนำมาย้อมผ้าดิบให้เป็นสีน้ำเงินหรือสีกรมท่า ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “หม้อห้อม” นั่นเอง

เสื้อหม้อห้อม เป็นสินค้าผ้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดแพร่ คนเหนือนิยมสวมใส่ผ้าหม้อห้อมกันมาก ในช่วงงานประเพณี เทศกาลทำบุญ เสื้อหม้อห้อมแต่เดิมมีรูปแบบเป็นเสื้อคอกลม ผ่าอก แขนยาวหรือแขนสั้น มีทั้งแบบที่ใช้กระดุมกลัดและที่ใช้ผ้าเย็บเป็นเชือกผูก ปัจจุบันเสื้อม่อฮ่อมได้เปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบของเสื้อให้มีความสวยงามยิ่งขึ้นและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ เพราะสวมสบาย ทนทาน และราคาถูก

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นความสำคัญของ “บ้านทุ่งโฮ้ง” ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอพื้นบ้านที่มีองค์ความรู้หลากหลาย เมื่อปี 2558 สวทช. จึงได้สนับสนุนให้ “บ้านทุ่งโฮ้ง” เป็นหมู่บ้านสิ่งทอนาโนแห่งแรกในจังหวัดแพร่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านนาโน มาทำให้ผ้าฝ้ายย้อมของบ้านทุ่งโฮ้ง มีคุณสมบัติแตกต่าง หนุ่ม ลื่น และป้องกันสีซีดจางจากแสงยูวี

โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการต่อยอดนำภูมิปัญญาดั้งเดิม มาประสานร่วมกับเทคโนโลยีนาโนพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้าทอมือของชุมชน ช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สร้างโอกาสทางการตลาดได้มากขึ้นแล้ว ยังยกย่องให้ “แพร่” เป็นจังหวัดต้นแบบของการนำนาโนเทคโนโลยี ไปใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอในท้องถิ่น เกิดเป็นธุรกิจสร้างสรรค์แล้ว ยังช่วยอนุรักษ์เอกลักษณ์ “ผ้าหม้อห้อม” ผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดแพร่ไปพร้อมๆ กัน

สวทช. ต่อยอดพัฒนาสิ่งทอเมืองแพร่

ล่าสุดในปีนี้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เปิดตัว “เอนไซม์เอนอีซ เอนไซม์อัจฉริยะ ทูอินวัน” ในพื้นที่อำเภอสูงเม่น และตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผ้าทอหม้อห้อมพื้นเมือง ที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่

เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) เป็นผลงานของ ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์และชีวเคมีภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ผลงานวิจัยดังกล่าว ถูกนำไปใช้ในกระบวนการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว แทนการใช้สารเคมี 100% ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ช่วยให้เนื้อผ้านิ่ม เหมาะสำหรับการสวมใส่

เอนไซม์เอ็นอีซ นวัตกรรมวิจัย ยกระดับสิ่งทอ

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์และชีวเคมีภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์ไบโอเทค สวทช. เจ้าของผลงานวิจัยเอนไซม์เอนอีซ (ENZease) “เอมไซม์อัจฉริยะ ทูอินวัน” เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และโรงงานสิ่งทอธนไพศาล ร่วมกันบูรณาการองค์ความรู้ในสหสาขาวิชาต่างๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อพัฒนา “เอนไซม์เอนอีซ (ENZease)” ซึ่งผลิตได้จากการหมักเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้จุลินทรีย์ที่คัดเลือกจากศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center : TBRC)

ซึ่งจุลินทรีย์นี้สามารถสร้างเอนไซม์ได้ทั้งอะไมเลส และเพกติเนส ในเวลาเดียวกันเรียกได้ว่าเป็น “เอนไซม์อัจฉริยะ” ที่สามารถทำงานได้ดีในช่วงค่าพีเอช (pH) และอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกัน คือ pH 5.5 และที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงมีจุดเด่นคือ ไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพความแข็งแรงของผ้า สามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียวภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งช่วยประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการผลิต และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของผ้าฝ้ายให้มีคุณภาพสูงมากกว่าที่ใช้สารเคมี

เนื่องจากเอนไซม์เอนอีซจะทำปฏิกิริยาแบบจำเพาะเจาะจง ต่างจากสารเคมีที่ทำลายเส้นใยผ้า ซึ่งจะส่งผลให้ผ้ามีความแข็งแรง น้ำหนักลดลง และเนื้อผ้านิ่ม เหมาะสมสำหรับการสวมใส่ ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับ บริษัท เอเชียสตาร์ เทรด จำกัด ซึ่งมีความชำนาญในการผลิตเอนไซม์ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตเอนไซม์เอนอีซเพื่อจำหน่ายได้มากกว่า 10 ตัน ต่อเดือน

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลงานวิจัยในการผลิตหม้อห้อม ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ได้นำผลงานดังกล่าวไปเผยแพร่ให้กับผู้ผลิตผ้าหม้อฮ่อมพื้นเมือง ณ ร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

เอนไซม์เอนอีซ ช่วยย้อมห้อมสีติดเสมอทั้งผืน

คุณประภาพรรณ ศรีตรัย ตันแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า หลังจากทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซในกระบวนการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวทั้งแบบแช่และแบบต้ม ช่วยทำให้ผ้ามีระดับการลอกแป้งและการซึมน้ำของผ้าผ่านเกณฑ์มาตรฐานและเหมาะสมต่อการนำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้

เมื่อนำผ้าผืนที่ได้จากการทดสอบด้วยเอนอีซมาผ่านกระบวนการพิมพ์ลายและย้อมสีห้อม พบว่ามีการย้อมสีห้อมติดสีสม่ำเสมอกันทั้งพื้น ดูดซึมน้ำสีได้ดีและเร็วโดยไม่ต้องออกแรงขยี้ และมีสัมผัสที่นุ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การใช้เอนอีซยังช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจฯ สามารถเพิ่มคุณภาพของผ้าฝ้ายและช่วยลดพลังงานในกระบวนการต้มด้วยผงซักฟอกลงได้ และช่วยลดเวลาในกระบวนการแช่ผ้ากับน้ำหมักจากน้ำผักผลไม้จาก 3 วัน เหลือเพียงแค่ 18 ชั่วโมงเท่านั้น

คุณชวัลณัฏฐ์ ถิ่นจอมธ์ ผู้ประกอบการร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น เปิดเผยว่า หลังจากทดลองนำเอนไซม์เอนอีซมาใช้ในการลอกแป้งและทำความสะอาดผ้าฝ้ายแล้วพบว่าลดขั้นตอนการทำความสะอาดได้มาก ใช้เวลาเพียง 1 วัน จากเดิมใช้เวลา 3 วัน และยังช่วยลดกลิ่นเหม็นของแป้งที่ติดอยู่บนผ้าได้ดีมาก นอกจากนั้นแล้ว ยังขจัดคราบสกปรกบนผ้าได้หมดจด ทำให้ผ้านิ่มขึ้นและสีของห้อมสังเคราะห์ซึมผ่านผ้าได้ดีขึ้น ช่วยให้สีย้อมติดสม่ำเสมอทั้งผืนผ้าได้เป็นอย่างดี

เอนไซม์เอนอีซ ช่วยลดข้อจำกัด สิ่งทอไทย

คุณปิลันธน์ ธรรมมงคล กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ธนไพศาล ผู้ประกอบการโรงงานสิ่งทอรายใหญ่ ในจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอันดับต้นๆ โดยทั่วไป อุตสาหกรรมสิ่งทอมักจะใช้สารเคมีในปริมาณมากและใช้พลังงานสูงในกระบวนการผลิต ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการลอกแป้ง (Desizing) และกำจัดสิ่งสกปรก (Scouring) บนผ้าฝ้ายที่ต้องใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างอย่างรุนแรง อาทิ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และโซดาไฟ ที่สำคัญกระบวนการทั้งสองต้องทำแยกกัน เพราะมีการใช้สารเคมีในสภาวะที่แตกต่างกัน ทำให้ใช้พลังงานสูง สิ้นเปลืองเวลา และน้ำที่ใช้ในระบบ

ที่ผ่านมา การประยุกต์ใช้เอนไซม์ในกระบวนการทางสิ่งทอของประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะผู้ประกอบการสิ่งทอไทยต้องสั่งซื้อเอนไซม์บางชนิดมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเอนไซม์เพกติเนสนั้นมีราคาค่อนข้างแพงในท้องตลาด อีกทั้งเอนไซม์สำหรับลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าในท้องตลาด ยังขายแยกกันเพราะมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถทำร่วมกันได้ในขั้นตอนเดียวกัน ส่งผลให้ต้นทุนในกระบวนการผลิตผ้าที่ใช้สารเคมีสูงกว่าการใช้เอนไซม์เอนอีซ ซึ่งนักวิจัยไบโอเทค สวทช. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเอนไซม์เอนอีซ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้ทั้งสองขั้นตอนในครั้งเดียว จึงช่วยประหยัดต้นทุน ลดเวลาการผลิต ประหยัดพลังงาน และช่วยรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น

เอนไซม์เอนอีซ ลดต้นทุน ทดแทนสารเคมี 100%

คุณปิลันธน์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการนำ “เทคโนโลยีเอนไซม์” ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการทางสิ่งทอมากยิ่งขึ้น เช่น การนำเอนไซม์อะไมเลสสำหรับการลอกแป้ง และเอนไซม์เพกติเนสสำหรับกำจัดสิ่งสกปรก การใช้ “เอนไซม์เอนอีซ” ทดสอบภาคสนามในโรงงานสิ่งทอธนไพศาล จังหวัดสมุทรปราการ และประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิ กระบวนการแบบจุ่มอัดหมัก (Cold-Pad-Batch : CPB) และแบบจุ่มแช่ (Exhaustion) โดยใช้เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมของโรงงาน และไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องจักรและสายการผลิตแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ผ้าที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโรงงาน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการฟอกย้อมและพิมพ์ลาย ก่อนนำส่งลูกค้าของโรงงาน จากการใช้ “เอนไซม์เอนอีซ” นั้นสามารถทดแทนการใช้สารเคมีในระบบได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้น้ำ ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย ลดขั้นตอนในกระบวนการเตรียมผ้า พลังงาน และต้นทุนการผลิตโดยรวมได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกระบวนการดั้งเดิม

เปิดโอกาสผู้ประกอบการเข้าถึงนวัตกรรม

สวทช. ขอเชิญชวนผู้ประกอบการสิ่งทอไทยร่วมเรียนรู้นวัตกรรม “เอนไซม์อัจฉริยะ” ในงาน สัมมนา “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์” ในวันที่ 17 สิงหาคม 2560 เวลา 12.30-16.30 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอนไซม์ แหล่งที่มาของเอนไซม์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เอนไซม์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสิ่งทอที่มุ่งเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน ลดการใช้สารเคมี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ปีนี้ เมืองไทยเจอภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับภาวะต้นทุนค่าครองชีพ ทั้งค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าปุ๋ย ค่ายาที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิม “ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำสุด ” คือทางออกของชาวนาจังหวัดชัยนาท เพื่อให้มีผลกำไรเหลือติดกระเป๋าได้มากที่สุด

ตำบลนางลือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นับเป็นอีกหนึ่งทำเลทองของการปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ตำบลบางลือมีพื้นที่ปลูกข้าวหลายร้อยไร่ เกษตรกรนิยมปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง หมดฤดูทำนา จะปลูกถั่วเขียวเพื่อเป็นรายได้เสริมและเพิ่มธาตุอาหารในดิน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าว พันธุ์ กข41 และ พันธุ์ กข 47 แบบใช้น้ำน้อย และใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรีย ปลูกข้าวกี่ครั้งกี่หนก็ได้ผลกำไรงาม เพราะใช้เงินลงทุนน้อยนั่นเอง

การปลูกข้าวนาดำในระบบเปียกสลับแห้ง เริ่มจากใช้แหนแดงหว่าน ลงในแปลงนาข้าวก่อน เพื่อไป ปิดหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้น แต่วิธีนี้ไม่เหมาะกับนาหว่าน เพราะทำแล้วไม่ค่อยได้ผลผลิตเท่าที่ควร การหว่านแหนแดง ในนาข้าว สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้มากขึ้นกว่าเดิม เก็บเกี่ยวแต่ละครั้งจะได้ผลผลิตมากกว่า90 ถังขึ้นไป แม้จะปลูกข้าวทำนาตลอดทั้งปี โดยไม่พักที่นาเลยก็ตาม แต่ไม่เจอปัญหาโรคและแมลงรบกวนแปลงปลูกข้าวเลย แถมการทำนาปลูกข้าวในแต่ละฤดูยังได้ผลิตเพิ่มขึ้น ถึง 100 ถัง สร้างเม็ดเงินเข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่าครั้งละ 300,000 บาท

เทคนิคปลูกข้าวแบบใช้น้ำน้อย เริ่มจากตากดินให้แห้งทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ย คือ 16-20-0 (รอบ2) ตากดินเพิ่ม อีก15วัน เห็นว่าดินเริ่มแตก ราดน้ำให้ขังน้ำเอาไว้ประมาณ 7 วัน ตากดินต่ออีก 7วัน เพื่อลดปัญหาโรคและแมลงรบกวน เมื่อต้นข้าวเริ่มให้ผลผลิต จะใช้รถเกี่ยวข้าวแล้วตกกล้าเอาไว้ก่อน พอเกี่ยวข้าวได้ 3 วัน ก็ดำนาต่อได้เลย เนื่องจากกาดดินเอาไว้เรื่อย ๆ ในช่วงที่ต้นข้าวแตกกอ ช่วงที่ข้าวออกรวงจะไม่กาดดิน

ท้องนาในย่านนี้แทบไม่เจอปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้งเลย เพราะปลูกข้าวแบบนาดำจะใช้เมล็ดข้าวปลูก พันธุ์ข้าว 41และสายพันธุ์ข้าว47 หว่านประมาณถังครึ่ง ข้าวสายพันธุ์ 47 จะเป็นข้าวที่มีอายุ100 วัน นับจากวันที่ปักดำ ส่วนสายพันธุ์ข้าวปลูก 41 เป็นข้าวเบาที่มีอายุ 95 วัน นับจากวันที่ปักดำ ไปจนถึงวันที่เก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จะขายข้าวได้ทันที โดยไม่ต้องตากข้าวให้แห้ง

ปลูกข้าวได้ผลผลิตดี …มีกำไร

การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่ดีมีกำไร ไม่ใช่เรื่องยาก ตัวช่วยสำคัญของชาวนาในท้องถิ่นนี้คือ การใช้แหนแดงในนาข้าวทดแทนปุ๋ยยูเรีย สามารถบำรุงต้นข้าวให้เติบโตแข็งแรงและแตกกอดี พร้อมลดต้นทุนการผลิตได้มาก แหนแดง มีประโยชน์ กับนาข้าวมาก เพราะแหนแดงจะเข้าไปช่วยตรึงไนโตรเจน ให้กับต้นข้าว ที่ปลูกในลักษณะนาเปียกสลับแห้ง แหนแดง ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้มากถึงไร่ละ 1 ตัน ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้มาก เพราะใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถึง 1ลูกต่อไร่ แต่ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ย 91 ถังต่อไร่ เปรียบเทียบผลผลิตกับนาข้าวทั่วไป ที่มีผลผลิตเพียง 85 ถังต่อไร่เท่านั้น แถมมีต้นทุนการทำนาลดลงแค่ไร่ละ 4,800 บาทเท่านั้น หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่าย ยังเหลือเม็ดเงินเข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่าไร่ละ 9,000 บาท

ผลกำไรที่สูงขึ้นของชาวนาในท้องถิ่นนี้ เกิดจาก 2 ตัวช่วยสำคัญคือ แหนแดง และเชื้อบิวเวอร์เรีย ซึ่งสามารถผลิตขึ้นใช้เองได้ โดยนำเมล็ดข้าวโพด มาแช่น้ำเอาไว้ 1คืน จากนั้นขึ้นมาผึ่งให้หมาดๆ หลังจากนั้น นำเมล็ดข้าวโพดใส่ถุงมัดหนังยาง แล้วนำไปนึ่งนาน 3 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็น วันต่อมา จึงค่อยทำการเขี่ยเชื้อ ใส่ถุงข้าวโพดปล่อยเอาไว้ 12 วัน เมื่อเชื้อเดินเต็มที่แล้ว สามารถนำไปใช้งานได้ทันที

เมื่อต้องการใช้เชื้อบิวเวอร์ในนาข้าว เพียงแค่นำเชื้อบิวเวอร์เรีย มาขยี้ลงในน้ำ เพื่อให้สปอร์เชื้อรา หลุดออกจากเมล็ดข้าวโพด จากนั้นนำหัวเชื้อไปผสมกับน้ำ 200 ลิตร นำไปฉีดพ่นในนาข้าวตามปกติ อีกวิธีคือ นำเชื้อบิวเวอร์เรีย ที่ผสมแล้ว นำไปใส่ในกระบอกท่อพีวีซีนำไปปักเอากลางแปลงนาข้าว กระแสลมตามธรรมชาติจะช่วยพัดสปอร์ของเชื้อดังกล่าว ไปทั่วแปลงนาข้าว วิธีนี้ประหยัดแรงงานได้อย่างดี โดยทั่วไปเชื้อบิวเวอร์เรีย 1ถุง จะสามารถปักได้มากถึง 7 กระบอก ซึ่งเชื้อบิวเวอร์เรียจะช่วยป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูพืชทุกชนิดเข้ามารบกวนในแปลงนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปลูกมะเขือเทศสีดา พันธุ์เทพประทาน 2 ไร่ สร้างรายได้งาม

มะเขือเทศสีดา พันธุ์เทพประทาน มีจุดเด่นคือทนทานต่อโรคไวรัสใบหงิกเหลือง ต้นแข็งแรง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน ทรงผลยาวรี สีชมพูสวย น้ำหนักดี ผลมีเนื้อแน่นแข็งไม่แตกง่าย เมื่อปลูกในฤดูฝน ทนทานต่อการขนส่งทางไกล อายุเก็บเกี่ยวเพียง 65-70 วัน หลังย้ายกล้า มะเขือเทศสามารถปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ปลูกครั้งนึงสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 6 เดือน ในการเก็บแต่ละครั้งสามารถสร้างมีรายได้เข้ามาประมาณ 30,000-40,000 บาท แล้วแต่ช่วงถ้าช่วงไหนราคาดีก็ได้เงินเยอะ บางครั้งมะเขือเทศราคาขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 40-50 บาท แต่คุณกิ๊ฟบอกว่าเมื่อมีราคาสูงก็มีราคาต่ำลงมาเหลือแค่กิโลกรัมละ 8-10 บาท อยู่ที่เราวางแผนการปลูกอย่าให้ชนกับป่าใหญ่

การเตรียมดิน เริ่มแรกไถตากดินแปรดิน ยกร่องห่างประมาณ 1.20 เมตร แล้วแต่บางคนชอบห่าง ชอบถี่ แต่ถ้ายกร่องห่างไว้จะดีกว่า เพื่อที่ระบายอากาศได้ง่าย โอกาสของการเกิดเชื้อราก็จะน้อยลง

ความห่างระยะต้นลงหลุม 30 เซนติเมตร ต่อต้นต่อหลุม วางท่อสายน้ำหยด วางเสร็จคลุมผ้ายาง ก่อนปลูกเปิดน้ำใส่เพื่อให้ดินอ่อน แล้วใช่ไม้ในการเจาะหลุม ก่อนลงกล้าใส่ฟูราดานลองหลุม เพื่อกันแมลงกินราก

ระบบการให้น้ำ เป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำวันละสองเวลา เช้า-เย็น เปิดรดประมาณ 5 -10 นาที

ปุ๋ย 5 – 7 วันฉีดครั้งหนึ่ง ปุ๋ยปล่อยไปทางน้ำจะใช้สูตรเสมอ 16-16-16 ใส่แคลเซียมทางน้ำ ครึ่งเดือนใส่ 1 ครั้ง ส่วนปุ๋ยทางใบก็ต้องฉีดใบจะได้งาม ใส่แต่ทางน้ำอย่างเดียวไม่ถึง ดูแลไปเรื่อยๆ ประมาณ 2เดือน 20 วัน มะเขือเทศจะเริ่มให้ผลผลิต

เทคนิคให้ลูกสวย มันวาว มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ เพียงใส่น้ำยาล้างจานกับปุ๋ยผสมน้ำฉีด ผ่น ผิวของมะเขือเทศจะสวย ใส นวล ให้ฉีดตอนลูกออก ประโยชน์อีกอย่างของน้ำยาล้างจานก็คือช่วยให้ยาที่พ่นจับที่ใบได้ดี เพราะน้ำยาล้างจานจะมีความหนืด ปลูก 2 ไร่ ใช้น้ำยาล้างจานประมาณ 2 ถุง ต่อน้ำ 200 ลิตร

เริ่มปลูกเดือนมกราคม เก็บผลผลิตได้เดือนเมษายน นับไปอีกหกเดือน ก็ปลูกได้ใหม่อีกรอบ ไม่ต้องพักดินปลูกหน้าไหนก็ได้ แต่ไม่แนะนำหน้าฝน เชื้อราจะลง ช่วงหน้าฝนก็เก็บผลผลิตไป มีหน้าที่คือดูแล หน้าฝนมะเขือเทศจะแตก แมลงลงเยอะ แต่มะเขือเทศจะราคาดีช่วงนี้เพราะดูแลยาก

เกษตรกรมือใหม่อยากลงทุนปลูกมะเขือเทศ

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ต้องมีเงินลงทุนประมาณ 30,000 – 40,000 บาท ต่อ 2 ไร่ เมล็ดพันธุ์ซองละ 800 อย่างแพง แล้วแต่ช่วง ช่วงหายากก็จะแพงหน่อย ประมาณ 750-800 ซองนึงได้ 2,000 ต้น

แต่เดิมคนไทยมีโอกาสชิมรสส้มโอได้เพียงไม่กี่แห่ง และส้มโอที่มีชื่อเสียงเป็นที่คุ้นมักมาจากอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พอถึงตอนนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ภาคใดของประเทศ สามารถชิมรสส้มโอคุณภาพของแต่ละพื้นที่ได้อย่างไม่ยาก อย่างถ้าเป็นทางภาคใต้ มีพันธุ์ “ส้มโอหอมควนลัง” ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ชาวจังหวัดสงขลามานานหลายสิบปี

กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองควนลัง ให้ข้อมูลว่าด้วยความเป็นห่วงว่าส้มโอพันธุ์หอมควนลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ดังนั้น จึงร่วมมือกับชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ส้มโอพันธุ์นี้ให้ยังคงมีและสร้างชื่อเสียง จึงได้ส่งเสริมทั้งการปลูกและการตลาดเพื่อให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตามเดิมอย่างสมัยโบราณ

“ส้มโอหอมควนลัง” เป็นไม้ผลพื้นเมืองดั้งเดิมที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่เมืองควนลัง จากข้อมูลของผู้สูงอายุบอกต่อกันมาว่า เดิมส้มโอพันธุ์นี้มีถิ่นอยู่ที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา กระทั่งมีการติดต่อค้าขายกัน จึงมีการนำพันธุ์มาปลูกในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และอำเภอใกล้เคียงแพร่ขยายมายังหลายตำบลรวมถึงที่ควนลัง

ปรากฏว่าส้มโอที่นำมาปลูกกลับมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อแน่นและล่อนออกจากเปลือกง่าย พร้อมกับมีจุดเด่นคือ ไม่มีเมล็ด และเนื้อผลสีแดง-ชมพู เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค จนทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ

ความมีลักษณะพิเศษของส้มโอหอมควนลังคือ ไม่มีเมล็ด ต้องขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งเพียงอย่างเดียว จึงทำให้เป็นข้อดีของการรักษาความเป็นพันธุ์แท้ของส้มโอพันธุ์นี้ไว้มาเป็นเวลาหลายสิบปี ขณะเดียวกันยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกส้มโออินทรีย์

นอกจากนั้น ยังมีความต่างจากส้มโอพันธุ์อื่นตรงที่เปลือกมีกลิ่นหอมพิเศษ ผลกลมสูง ไม่มีจุก น้ำหนักผลระหว่าง 1-2.5 กิโลกรัม เนื้อผลสีชมพูเข้ม-แดง เนื้อนิ่ม ฉ่ำ ล่อนไม่ติดเปลือก จำนวนกลีบ 11-13 เนื้อกุ้งกรอบ ไม่มีเมล็ด รสหวานอมเปรี้ยว มีความหวาน 12-13 องศาบริกซ์ ที่สำคัญเมื่อตัดผลจากต้นแล้วรับประทานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ลืมต้น

แหล่งปลูกส้มโอหอมควนลัง ครอบคลุมพื้นที่เมืองควนลัง จำนวน 66.76 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่เฉพาะที่ปลูกแล้วได้ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก คือบริเวณที่ราบลุ่มน้ำในเขตเมืองควนลัง ได้แก่ คลองวาด คลองนนท์ คลองต่ำ และคลองสอ เนื่องจากอยู่ใกล้ลำคลองที่มีตะกอน แร่ธาตุอาหารพืชทับถมจึงมีความอุดมสมบูรณ์ อันอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ส้มโอหอมควนลังมีความต่างจากส้มโอที่ปลูกต่างพื้นที่ โดยมีพื้นที่ปลูกรวมกันประมาณ 200 ไร่

ปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนส้มโอควนลังที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มจะต้องปลูกส้มโอแบบมาตรฐาน GAP ทุกราย จะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากทางจังหวัด พร้อมทั้งยังกำหนดให้เป็นสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด พนันบอลออนไลน์ ทางเทศบาลควนลังได้จัดให้มีงานส้มโอหอมควนลังขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2542 จนถึงในปัจจุบัน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ รวมถึงบรรดานักท่องเที่ยวจำนวนมาก

คุณป้าจำเริญ (แม่) คุณเดชา (ลูก) เพชรประสมกูล พักอยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นชาวบ้านในพื้นที่อีกครอบครัวที่ปลูกส้มโอหอมควนลังได้อย่างมีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ถึงปีละหลักแสนบาทมาตลอด

คุณป้าจำเริญ ปลูกส้มโอพันธุ์นี้มานานกว่า 30 ปี ในช่วงที่ต้นส้มโอมีขนาดเล็กปลูกกล้วยไข่ไว้หารายได้ก่อน พอส้มโอโตเต็มที่จึงโค่นกล้วย มีเนื้อที่ปลูกส้มโอจำนวนกว่า 2 ไร่ มีทั้งส้มรุ่นเก่าและใหม่จำนวนทั้งหมด 115 ต้น สำหรับส้มรุ่นใหม่ปลูกมาได้กว่า 2 ปีแล้ว ขณะนี้เริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้ว

เหตุผลตอนแรกที่คุณป้าจำเริญปลูกส้มโอหอมควนลังเพราะมีพื้นที่ว่าง จึงปลูกไว้เพื่อบริโภคในครอบครัว แต่เมื่อนานไปพบว่าส้มโอพันธุ์นี้มีรสชาติหวาน เนื้อแน่น มีเนื้อสีแดง พอนำไปขายได้รับความสนใจจากลูกค้าแล้วยังมีราคาดีด้วย จากนั้นจึงหันมาปลูกอย่างจริงจัง พร้อมกับเพิ่มพื้นที่ปลูกออกไปอีก

คุณป้าจำเริญ ชี้ว่าการปลูกส้มโอของชาวบ้านทั่วไปมีไม่มากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทั้งนี้เพราะชาวบ้านหลายรายประสบปัญหาแมลงศัตรูและโรค ยากที่จะแก้ไข จึงทำให้ชาวบ้านโค่นต้นส้มโอแล้วเปลี่ยนมาปลูกยางพาราแทน ดังนั้นในปัจจุบันจึงทำให้พื้นที่ปลูกส้มโอหอมควนลังลดลง