ก่อนแตกใบอ่อนที่สองใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ต้นละ 2-3 กิโลกรัม

เพื่อให้มีการสะสมอาหารทางใบพร้อมกับทำความสะอาดรอบต้นเพื่อให้น้ำดูดซึมได้สะดวก แล้วใส่ปุ๋ยน้ำเพื่อบำรุงใบสูตร 21-7-7 ให้ผสมในปริมาณ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทรงพุ่มสลับกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร จะทำให้ใบทุเรียนมีความสมบูรณ์ หนา มันเงา

ช่วงระยะดอก ควรดูแลระบบน้ำให้เหมาะสม ถ้าดอกเป็นไข่ปูตาปลาต้องให้น้ำครั้งละ 10-15 นาที เพราะช่วงนั้นในพื้นที่เป็นช่วงหน้าหนาว ลมแรง จะทำให้ดอกแห้ง อีกทั้งพบว่ามีเชื้อราด้วย จึงต้องใส่ยากันเชื้อรา รวมถึงฮอร์โมนเพื่อให้ช่วงเวลาพัฒนาการของดอกมีความสมบูรณ์

คุณพิสิตร์ บอกว่า ช่วงเวลาที่ดอกใกล้บานจะใช้วิธีกดยอดไว้เพื่อไม่ต้องการให้แตกใบอ่อน ต้องการสร้างดอกให้มีความสมบูรณ์และสะสมอาหาร หากปล่อยให้แตกยอดอ่อน จะสร้างปัญหาต่อการออกดอกไปจนถึงการติดผลในช่วงเวลาต่อไป โดยใส่ปุ๋ย สูตร 0-52-34 เพื่อช่วยสะสมอาหารก่อนออกดอก แล้วยังเตรียมพลังงานไว้ใช้ช่วงติดผลในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ให้ใส่ก่อนดอกบานสัก 1 สัปดาห์ แล้วใช้วิธีเดียวกันนี้ในช่วงหางแย้ด้วย ทั้งนี้ จะกดไว้จนผลทุเรียนมีขนาดประมาณ 2 กิโลกรัม แล้วจึงหยุด อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นแนวทางของคุณ พิสิตร์ ซึ่งสวนอื่นอาจมีแนวทางปฏิบัติที่ต่างกัน

สวนทุเรียนคุณพิสิตร์ มีลักษณะพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย เป็นข้อดี เพราะน้ำไม่ขังเวลาฝนตก พันธุ์ทุเรียนที่ปลูกมีหมอนทอง 98 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นทุเรียนโบราณอย่างละเล็กน้อย

แนวทางการปลูกทุเรียนคุณภาพทำให้ทุเรียนทุกต้นและผลผลิตมีความสมบูรณ์ ยิ่งเป็นต้นที่มีอายุมากอัตราการให้ผลมีสูง อย่างถ้าต้นอายุ 25 ปี ที่เป็นรุ่นแรกให้ผลผลิตจำนวนต้นละ 130 ผล ส่วนต้นอายุน้อยลงมาก็ให้ผลผลิต 100 กว่าผล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะ ขนาดของกิ่ง ก้าน และใบ โดยมีน้ำหนักต่อผล เฉลี่ย 3.5-4 กิโลกรัม

ผู้ใหญ่พิสิตร์ บอกว่า คุณภาพทุเรียนที่ปลูกในดินภูเขาไฟจะมีลักษณะเด่นคือ 1. กลิ่นไม่ฉุน 2. เมล็ดลีบ 3. กรอบนอก นุ่มใน เนื้อแห้ง เนื่องจากที่ศรีสะเกษมีปริมาณฝนปานกลาง หน้าแล้งจะยาว ขณะเดียวกันในช่วงที่ออกผลผลิตน้ำฝนก็ไม่มาก ดังนั้น จึงเป็นข้อดีทำให้เนื้อทุเรียนแห้งไม่ฉ่ำน้ำ กรอบด้านนอก และเนื้อด้านในนุ่ม

ส่วนการตลาด ผลผลิตทุเรียนจะแบ่งขาย จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อส่งไปขายประเทศจีน อีกส่วนสำหรับขายที่สวนและทางออนไลน์ ขณะเดียวกันทางจังหวัดได้ทำ MOU กับไปรษณีย์ไทย เพื่อจัดส่งทุเรียนทางออนไลน์ เพื่อช่วยเปิดตลาดให้กับชาวสวนทุเรียนศรีสะเกษอีกช่องทางหนึ่ง

คุณพิสิตร์ เป็นผู้ปลูกทุเรียนที่ทุ่มเท เอาใจใส่ และปฏิบัติตามขั้นตอนวิธี ปลูกตามหลักวิชาการกระทั่งประสบความสำเร็จสามารถปลูกทุเรียนจนได้มาตรฐาน ได้ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพ ถือเป็นสวนต้นแบบและเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนเกษตรกรตำบลน้ำอ้อม ทำให้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดทำเป็นแปลงใหญ่เพื่อยกระดับการปลูกทุเรียนให้มีมาตรฐาน สร้างคุณภาพ ส่งเสริมให้เป็นไม้ผลประจำจังหวัดที่โด่งดัง และคุณพิสิตร์ยังรับหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลน้ำอ้อม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพให้กับสมาชิกและผู้สนใจ

กิจกรรมแปลงใหญ่ปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ชักนำให้ผู้สนใจเข้าร่วมปลูกทุเรียนที่มีคุณภาพ สำหรับกิจกรรมแปลงใหญ่นั้นแม้จะมีเกษตรกรปลูกทุเรียนหลายรายสนใจ แต่ก่อนสมาชิกจะมาเข้าร่วมแปลงใหญ่จะต้องผ่านระบบการคัดเลือกเพื่อขึ้นทะเบียนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐาน กิจกรรมนี้เพิ่งเริ่มทำมาได้ประมาณปีเศษ ตอนนี้มีจำนวนสมาชิก 34 ราย มีพื้นที่ปลูกจำนวน 300 ไร่

“สมาชิกที่เข้าร่วมการจัดทำแปลงใหญ่จะได้รับข้อมูล ความรู้ ตลอดจนอุปกรณ์วัสดุปลูกที่เป็นปุ๋ยยาฮอร์โมน พร้อมกับการส่งเสริมทางการตลาด นอกจากนั้นการปลูกแปลงใหญ่จะต้องควบคุมคุณภาพทุเรียนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ห้ามตัดทุเรียนอ่อนไปขาย แล้วยังได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษาเพื่อกำหนดจุดเช็คอินให้แต่ละสวนจำนวน 34 แห่งเพื่อสะดวกและรวดเร็ว ง่ายต่อการเดินทางมาโดยตรง เพราะแต่ละสวนมีทั้งทุเรียนและผลไม้นานาชนิดไว้บริการเหมือนกัน”

อยากจะเชิญชวนท่านมาเที่ยวและเลือกซื้อทุเรียนภูเขาไฟของจังหวัดศรีสะเกษ ไม่เพียงท่านจะได้ลองลิ้มชิมรสความอร่อยของทุเรียนที่มีความต่างจากแหล่งอื่นแล้ว ท่านยังได้มาเที่ยวสถานที่หลายแห่งของจังหวัดอีก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิสิตร์ ภูโท โทรศัพท์ 089-285-5962

มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเรื่องการปลูกและแปรรูปกัญชาเพื่อการแพทย์ จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบที่พร้อมแบ่งปันองค์ความรู้เรื่องการปลูก การเก็บเกี่ยว และแปรรูปกัญชา

อภัยภูเบศร เผยผลทดลองปลูกกัญชาในโรงเรือนเพาะปลูกพืช (Green house) จำนวน 2 แห่ง เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตและสารสำคัญของกัญชา ระหว่างการปลูกพืชในระบบน้ำ (Hydroponics) กับการปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ พบว่า การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นแนวทางเหมาะสมที่สามารถแบ่งปันความรู้ให้กับเกษตรกรได้ในอนาคต

อภัยภูเบศร ได้ออกแบบโรงเรือนเพาะปลูกพืช (Green house) ให้เหมาะสมกับการปลูกกัญชามากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาความร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแว้ป (Evap) ติดตั้งพัดลมเพื่อลดความร้อน เพิ่มความชื้นให้กับโรงเรือน ในระยะทำวัย

อภัยภูเบศร ปลูกกัญชาสายพันธุ์ Charlotte’s Angel (เชอร์เล็ต แองเจิล) ที่มีลักษณะเด่นคือ ให้สาร CBD สูง (ดอกตัวเมีย) ถึง 15% THC ต่ำแค่ 0.7% เหมาะสำหรับใช้รักษาอาการทั่วไป และปลูกกัญชาสายพันธุ์ โฟโต้พีเรียด : Photoperiod ซึ่งต้นกัญชาสายพันธุ์นี้ เติบโตตามช่วงแสง แสงมากทำใบ แสงน้อยจะเริ่มทำดอก จึงต้องควบคุมปริมาณการให้แสง ในระยะทำวัย เน้นเพิ่มแสงเวลากลางคืนเพื่อยืดอายุ หรือป้องกันการออกดอกของกัญชาก่อนถึงเวลาที่กำหนด

อ้างอิงข้อมูลจากเวทีเสวนาหัวข้อ ‘กัญชา’ ครบวงจรกับอภัยภูเบศร” โดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในงานมหกรรมกัญชง กัญชา 360 องศา จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564

ชื่อสามัญ Balacuya, Malayan Baccaurea

ชื่ออื่นๆ ลูกปุย ลำแข รังแข มะไฟควาย มะแค้ (ปัตตานี) ตัมโปย (มลายู) ลารัก (ชาวเงาะป่าซาไก) ตัมปุยบูลัน (อินโดนีเซีย) หนูรู้สึกน้อยใจกับชีวิตเล็กน้อย ในฐานะสาวบ้านป่าชาวใต้ ที่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะถิ่น เฉพาะจังหวัด จะหันไปพึ่งพาเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่ได้รับการส่งเสริม หรือจัดเป็นพืชพันธุ์เศรษฐกิจ ซ้ำยังถูกจัดเป็นผลไม้ป่า “หายาก เสี่ยงสูญพันธุ์” อีก ยิ่งกลุ้ม กว่าจะได้พบผู้คนก็ต่อเมื่อมีคนเข้าไปเก็บ ไปสอย ในชายป่าออกมาแขวนห้อย เป็นช่อเป็นพวงขายข้างทาง ให้ผู้คนที่ขับรถผ่านไปมาซื้อ ส่วนใหญ่ก็แขวนห้อยพวงคู่กับพวงมะไฟหรือละไม แต่พอใครเห็นพวงที่ห้อยหนูไว้กลับคิดผิด

แล้วนินทาว่า ทำไมร้านนี้จึงเอากระท้อนมาห้อยขาย เห็นไหมเข้าใจผิดหนักไปอีก ทั้งๆ ที่หนูผลเล็กกว่ากระท้อน เพราะมองไกลๆ จะคล้ายๆ กัน ยิ่งช่วงปีนี้วิกฤตหนักไปอีก เมื่อมีประกาศของรัฐขอความร่วมมือลดการเดินทางและกิจการขนส่งคมนาคม ด้วยการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งทำให้หนูไม่ได้เจอผู้คนซะเลย

ชื่อของหนูนอกจากจะแปลกแล้วยังถกเถียงกันว่า น่าจะออกแนวผู้ชาย และบางท้องถิ่นกลับเรียก “มะไฟควาย” หนูจึงหมดอารมณ์จริงๆ จะมีกำลังใจอยู่บ้างที่บางท้องถิ่นเรียก “ลูกปุย หรือ ปุกปุย” และที่ฟังดูดี ก็ที่ชาวเงาะป่าซาไก เรียกว่า “ลารัก” พอพิจารณาความหมายก็ติดลบอีก หนูจึงสับสน และคาใจกับชื่อของตัวเองเหลือเกิน

อย่างไรก็ตาม หนูก็ภูมิใจว่าเป็นสาวชาวใต้ที่คนสนใจหนูหลายจังหวัด เช่น ที่จังหวัดพังงา ในอำเภอท้ายเหมือง ใครผ่านไปที่ตำบลลำภี เคยมีต้นลูกปุยมาก เขาจึงมีชื่อ “บ้านบกปุย” และที่นี่เขาก็แขวนพวงหนูลูกลังแข ห้อยโชว์ไว้ขายข้างทาง น่ารักน่ากินเชียวล่ะ หรือถ้าใครขับรถผ่านเส้นทางสายพังงา-ตะกั่วป่า ก็จะพบพวงห้อยสีส้มอมเหลืองเป็นแนวยาวหลายร้าน ส่วนใหญ่จะมัดไว้ช่อละ 1 กิโลกรัม ราคา 50-60 บาท ตามขนาดผล หรือถ้าใครได้ไปถึงจังหวัดยะลา ที่อำเภอเมืองยะลา ตำบลลำพะยา เขาจัดหนูไว้เป็นผลไม้ประจำถิ่น และปลูกมากที่สุด

แต่เดี๋ยวนี้หนูก็มีญาติกระจายหลายจังหวัด เช่น ตรัง ปัตตานี ภูเก็ต ระนอง หรือถ้าจะตามหาบรรพบุรุษ ก็ทราบว่าโคตรตระกูลอยู่ถึงเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และที่ใกล้ที่สุดก็เป็นมาเลเซีย ในธรรมชาติพบหนูได้ตามป่าพรุ ดินร่วนซุย ที่ราบชายป่าเชิงเขา

หนูเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่สูงใหญ่ได้มากถึง 20 เมตร สกุลเดียวกับมะไฟ แต่ลักษณะต้นคล้ายต้นลองกอง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกดอกเป็นช่อยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกตามกิ่งก้านทั่วไป จึงออกผลเป็นพวง ผลกลม สีเหลืองนวล โตได้ 7-10 เซนติเมตร เปลือกผลหนาแตกตามพู ใต้ชั้นเปลือกสีส้ม มีเนื้อเปลือกชั้นในสีขาวขุ่นห่อหุ้มเนื้อผลของลังแข ซึ่งมีเนื้อปุยคล้ายเนื้อมังคุด หรือเนื้อกระท้อน รสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน แต่ถ้าเป็นผลอ่อนจะเปรี้ยวมาก เมื่อสุกจัดก็จะหวาน เนื้อปุยลื่น บางคนชอบกลืนทั้งเมล็ด ถ้ากัดหรือเคี้ยวเมล็ดแตกจะมีรสขม หลายคนให้นิยามว่าเหมือน “กินมะไฟผสมมังคุด”

ไม่ทราบว่าโชคดีหรือโชคร้าย ที่หนูไม่มีศัตรู แม้เมื่อออกผลก็ไม่ต้องดูแลหุ้มห่อเหมือนกระท้อน รอเก็บผลได้เลย ย้ำเตือนว่า ถ้ากินผลอ่อนก็เปรี้ยวจี๊ดจ๊าดถึงใจ ขับรถหายง่วง แต่เมื่อสุกจัดก็หวานถึงใจเช่นกัน เดี๋ยวนี้เริ่มมีคนนิยมนำเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์ และเสียบยอดก็ได้ผลเร็ว ผลผลิตแต่ละปีได้ 400-500 กิโลกรัมต่อต้น ออกทุกรอบปี แต่ตอนเก็บเกี่ยวต้องระวังผิวผล เปลือกช้ำ ถ้าถลอกโดนอากาศ จะเป็นสีดำกลายเป็นสาวแก้มช้ำ จะเก็บผลสุกจัดต้องรอให้ผิวผลเป็นสีเหลืองอมส้มจนเข้มออกน้ำตาล เมื่อสอยเก็บหนูรวมพวงแล้วอย่าเก็บไว้นานนะคะ รับประทานเลย เป็นผลไม้ประจำถิ่นหายาก ชื่อแปลก แต่ผลสุกรสหวานชื่นใจ ช่วยลดความดันโลหิต และแก้ท้องผูกได้อย่างดีนะจ๊ะ

หนูแอบคิดว่าที่เขารวมมัดจับพวงห้อยขาย จะขัดนโยบายรัฐบาลหรือเปล่า เพราะหนูได้ส่งสโลแกนป้องกันการติดเชื้อ “โควิด-19” ไปที่ทำเนียบสนับสนุนว่า “รวมกันตายหมู่ แยกอยู่ตายเดี่ยว” แต่ใครๆ ซื้อหนูไปหนึ่งพวงแล้วชอบ ขับรถไป กินไป หมดพวงทุกคน ที่-งง-งง-งง ก็คือส่วนใหญ่ “กลืนทั้งเมล็ด” หนูงี้ขนลุก

เข้าไปอึดอัดแทบแย่เลยจ้า..! หนูขอเปลี่ยนความคิดเป็น “รวมกันตายหมู่ แยกกันอยู่รอดแน่ๆ” ดีกว่า? มะพร้าวน้ำหอม ที่วางขายในตลาด พอจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เกษตรกรเริ่มจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยคุณสมบัติจะเป็นมะพร้าวที่มีเนื้ออ่อน น้ำหอมบริสุทธิ์ เมื่อบริโภคจะทำให้ได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยบำรุงสมองและเสริมร่างกายให้แข็งแรง

มะพร้าวน้ำหอม เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ให้ผลผลิตตอบแทนต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี การปลูกในเชิงการค้าจะให้ผลตอบแทนคุ้มทุนหรือไม่ วันนี้ได้นำแนวทางการปลูกและการผลิตมะพร้าวน้ำหอม หอมหวานตรึงใจผู้บริโภค พืชเศรษฐกิจสำคัญเชิงการค้า จากผู้รู้มาบอกเล่าสู่กัน

ผศ. ประสงค์ ทองยงค์ หรือ อาจารย์ประสงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เล่าให้ฟังว่า ในวัยเด็กได้ช่วยคุณพ่อที่มีอาชีพทำสวนมะพร้าว จึงมีความผูกพันกับมะพร้าวมาต่อเนื่อง เมื่อเรียนจบได้ไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเมื่อเกษียนก็ได้มาสานงานปลูกสร้างสวนมะพร้าวต่อจากคุณพ่อ ถึงวันนี้ได้เสริมสร้างประสบการณ์มากว่า 55 ปี

มะพร้าวมี 2 กลุ่ม คือ มะพร้าวน้ำหอม หรือ มะพร้าวอ่อนน้ำหอม และ มะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอมปลูกได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน ในที่ลุ่มภาคกลางมักจะนิยมปลูกในระบบสวนด้วยการยกร่องแปลงปลูกให้สูง ระหว่างแปลงปลูก จัดให้มีร่องน้ำ การปลูกมะพร้าว ในระยะ 1-2 ปี ควรปลูกพืชอายุสั้นเป็นพืชแซม เช่น กล้วย มะละกอ หรือปลูกพืชผักชนิดต่างๆ เพื่อนำผลผลิตมาเป็นอาหารและขายเป็นรายได้เสริม ส่วนในที่ดอนมีแหล่งน้ำและมีฝนตกสม่ำเสมอ เช่น ภาคใต้ มักนิยมปลูกในระบบไร่ และก็มีการปลูกพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด หรือสับปะรด เป็นพืชแซม

วิธีการปลูกพืชแซมเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการผสมผสานใส่ปุ๋ยและให้น้ำเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเสริมรายได้เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต และเมื่อต้นมะพร้าวอายุ 2 ปีขึ้นไป ก็จะหยุดปลูกพืชแซม เพราะเป็นช่วงที่ใกล้จะเริ่มเก็บผลมะพร้าวน้ำหอมไปขายได้แล้ว

การปลูก วิธีปลูกให้ขุดหลุมปลูกกว้างยาวและลึก ด้านละ 50-75 เซนติเมตร สำหรับในที่ดอนขุดหลุมปลูกควรกว้างยาวและลึก ด้านละ 1 เมตร นำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือใบไม้แห้งผุกับดินบนที่ตากแห้งใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่รองก้นหลุมปลูกให้เต็มหลุม วางต้นพันธุ์เสมอกับปากหลุมปลูกในกรณีที่ปลูกบนที่ลุ่ม และวางต้นพันธุ์ปลูกต่ำกว่าปากหลุมในกรณีปลูกบนที่ดอน ปักไม้หลักผูกยึดกับต้นพันธุ์ป้องกันการโค่นล้ม เกลี่ยดินกลบ ควรปลูกให้ระยะระหว่างต้นและแถวห่างกัน 6-7 เมตร หรือปลูกเป็นลักษณะสามเหลี่ยมด้านเท่าก็ได้

การใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกมะพร้าวน้ำหอมได้ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือมูลสัตว์เพื่อช่วยในการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพและใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ใส่ 1 กิโลกรัม ต่อต้น โดยหว่านรอบทรงต้น เมื่อต้นมะพร้าวเข้าปีที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรเดิม 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ในปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21-2 (เพิ่มแมกนีเซียม 200 กรัม) ใส่ 3 กิโลกรัม ต่อต้น ควรใส่ปุ๋ยอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อปีคือ ต้นฤดูฝนหรือเดือนพฤษภาคมและปลายฤดูฝนหรือในเดือนตุลาคมก็จะเจริญเติบโตได้ดี

การให้น้ำ ในที่ลุ่มปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบระบบยกร่องสวน จะให้ได้รับน้ำพร้อมกับพืชผักและไม้ผลอายุสั้น รากมะพร้าวจะแผ่ลงริมร่องสวนดูดซับน้ำ ทำให้ต้นเจริญเติบโตดีและได้ผลดก ส่วนการปลูกในที่ดอน หรือในฤดูแล้งหรือฝนไม่ตกต้องให้น้ำสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อยหรือได้รับน้ำพอเพียง จะช่วยให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี

การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติดูแลรักษาที่ดี เมื่อต้นมะพร้าวน้ำหอมอายุ 2 ปีครึ่ง หรือนับตั้งแต่ออกช่อดอกหรือจั่นได้ 190-200 วัน ก็จะพัฒนาเป็นผลอ่อน มีน้ำหวานหอม เนื้ออ่อนนุ่ม และมีกะลาที่แข็งทนทานต่อการขนส่ง ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยว ในรอบ 1 ปีจะตัดเก็บมะพร้าว 12-15 ครั้ง ในทุก 20 วัน จะตัดเก็บมะพร้าว 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ทะลาย ทะลายละ 10-30 ผล

ในช่วงอายุ 3-10 ปี ต้นมะพร้าวน้ำหอมจะยังเตี้ยอยู่ การตัดเก็บจะใช้วิธีเดินตัดทีละทะลาย เมื่อต้นมะพร้าวอายุ 10 ปีขึ้นไป ลักษณะต้นจะสูงขึ้น วิธีการตัดเก็บได้ใช้มีดตะขอผูกติดปลายกับไม้ไผ่ แล้วนำขึ้นไปเกี่ยวตัดครั้งละทะลายที่มีไม้ค้ำทะลายไว้ก่อนแล้ว จากนั้นจึงนำลงมา ก็จะได้ผิวผลมะพร้าวที่สวยงามและเก็บได้นาน 7 วัน จัดมะพร้าวใส่ในรถเข็นหรือรถสาลี่ลากจูงออกจากสวนไปเก็บไว้ที่โรงเรือน เพื่อเตรียมขนส่งไปยังโรงงานแปรรูปหรือตลาดท้องถิ่น

ตลาด ผลผลิตมะพร้าวจะมีพ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าในท้องถิ่นมารับซื้อถึงในสวน เพื่อนำไปขายที่ตลาดในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียง ราคาซื้อขาย 200-500 บาท ต่อทะลาย ส่วนพ่อค้ารายย่อยจะนำมะพร้าวน้ำหอมไปเปิดท้ายรถกระบะเล็ก ขาย 25-35 บาท ต่อผล หรือจัดน้ำและเนื้อมะพร้าวน้ำหอมใส่แก้วหรือใส่ถุงวางขายเพื่อบริการผู้กิน

อาจารย์ประสงค์ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ปลูกมะพร้าวน้ำหอมในเชิงการค้าจะคุ้มทุนหรือไม่? นั้น ต้องรู้จักเลือกพื้นที่ปลูกเหมาะสม พันธุ์มะพร้าวดีมีคุณภาพ วิธีการปลูก ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุน การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่ดีก็จะช่วยให้ได้ผลมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญคือ เป็นการยกระดับรายได้ของเกษตรกรได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มั่นคง

ด้วยคุณสมบัติของน้ำมะพร้าวน้ำหอมที่สะอาดบริสุทธิ์ มีวิตามินและเกลือแร่ การดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมทุกวันหรือบ่อยๆ จะช่วยบำรุงสมองและทำให้สุขภาพแข็งแรง ผู้ที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมควรยึดปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือปลูกพอกินพอใช้และเหลือขายเสริมรายได้ เป็นหนึ่งวิถีการดำรงชีพที่พอเพียงและมั่นคงได้

โดยสรุปจากเรื่อง มะพร้าวน้ำหอม หอมหวานตรึงใจผู้บริโภค พืชเศรษฐกิจสำคัญเชิงการค้า เป็นพืชที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ที่สำคัญประการหนึ่งคือ ควรตรวจดูคุณสมบัติของดินในพื้นที่ปลูกมีความเหมาะสมเพียงใด เพื่อความมั่นใจให้เก็บตัวอย่างดินใส่ถุงส่งให้หมอดินในชุมชนหรือส่งตรงไปยังกรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ ให้ตรวจวิเคราะห์ดินว่ามีธาตุอาหารใดบ้าง เพื่อจะได้จัดการใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถูกอัตราส่วนและตรงกับระยะเวลา เพื่อให้ต้นมะพร้าวน้ำหอมเจริญเติบโต ลดต้นทุนการผลิตและให้ผลผลิตคุณภาพดี คุณภาพชีวิตผู้ปลูกมั่นคง

ท่านที่สนใจมองหาอาชีพทางเลือกใหม่ หรือจะชมสวนมะพร้าวน้ำหอมสายพันธุ์ราชบุรี 1, 2, 3 สอบถามเพิ่มได้ที่ ผศ. ประสงค์ ทองยงค์ ที่ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี โทร. 081-836-6228 ก็ได้ครับ

หากใครเป็นคอกาแฟ คงจะคุ้นชินกับชื่อเสียงของ “กาแฟเทพเสด็จ” ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งติดอันดับ 1 ใน 9 ดอย สุดยอดแหล่งกาแฟที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ กาแฟเทพเสด็จโดดเด่นในเรื่องรสชาติและความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ สร้างชื่อเสียงโด่งดังไกลถึงระดับโลก อยากเชิญชวนคนไทยดื่มด่ำกับรสชาติที่กลมกล่อม ละมุน และกลิ่นหอมที่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวกับกาแฟเทพเสด็จ เชื่อว่าหากใครได้ลิ้มลองรสชาติสักครั้ง จะรู้สึกติดใจและหลงใหลเสน่ห์กาแฟเทพเสด็จเต็มหัวใจกันเลยทีเดียว

กาแฟเทพเสด็จ เกิดขึ้นมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่านเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการหลวงป่าเมี่ยง ต่อมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านเสด็จมาติดตามงาน 2 ครั้ง ชาวบ้านที่นั่นจึงเกิดความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ขอพระราชทานนามชื่อว่า ตำบลเทพเสด็จ และเป็นที่มาของกาแฟเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จนปัจจุบัน

กาแฟเทพเสด็จปลูกบนพื้นที่สูง cykno.com ป่าต้นน้ำสูงจากระดับน้ำทะเล 1,100-1,500 เมตร มีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี ต้นกาแฟปลูกในร่มเงาต้นชาเหมี่ยงและป่าไม้ธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าเรียกว่า ดอกก่อ ประกอบกับในพื้นที่มีการเลี้ยงผึ้งโก๋นหรือผึ้งโพรง จากภูมิปัญญาชาวบ้านทำให้ไม่มีแมลงมารบกวนต้นกาแฟ รวมถึงผึ้งช่วยผสมเกสรทั้งดอกกาแฟและดอกต้นก่อ ที่มีอยู่ในพื้นที่ประมาณ 50% จึงทำให้กาแฟที่ปลูกมีรสชาติกลมกล่อมและหอมกลิ่นดอกไม้ป่า ทำให้แบรนด์กาแฟเทพเสด็จ (Thepsadej Coffee) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ลำดับที่ 11 อาเซียน กาแฟเทพเสด็จ นับเป็นกาแฟแห่งการอนุรักษ์คู่ป่า เพราะดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งก่อเกิดอาชีพและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรในพื้นที่

คุณโขง หรือ คุณสุวรรณ เทโวขัติ โทร. 089-261-7833 ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดบ้านแม่ตอน เจ้าของแบรนด์กาแฟเทพเสด็จ กล่าวว่า ชาวบ้านในพื้นที่ได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดแม่ตอน เพื่อร่วมกันผลิตและแปรรูปกาแฟอาราบิก้าเพื่อให้ได้ผลผลิตกาแฟสารและกาแฟคั่วที่มีคุณภาพสูง ที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้า เช่น มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) มาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Geographical Indication) การันตีคุณภาพสินค้าและตอกย้ำความเข้มแข็งของกลุ่มได้อย่างดี

ปี 2564 ทางกลุ่มได้ร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด งบประมาณจำนวน 3,000,000 บาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต โดยใช้นวัตกรรมนำเทคโนโลยีมาใช้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นการต่อยอดส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันสร้างอำนาจต่อรองในการจัดหาปัจจัยการผลิต ส่งเสริมคุณภาพและการตลาด รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

จากงบประมาณที่ได้รับ ทางกลุ่มได้จัดซื้อเครื่องสีกาแฟกะลาพร้อมชุดตะแกรงร่อน, เครื่องคัดแยกสีพร้อมอุปกรณ์ (Color Sorter), เครื่องชงกาแฟพร้อมชุดอุปกรณ์ และเครื่องบดกาแฟ มาใช้ดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม ปัจจุบัน ทางกลุ่มมีประมาณ 34 ราย พื้นที่ปลูกกาแฟรวมประมาณเกือบ 500 ไร่ ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ 500 ตันต่อปี เป็นกาแฟออร์แกนิกที่มีมาตรฐานรองรับ มีการดูแลตั้งแต่การปลูกและดูแลตั้งแต่ต้นจนไปถึงกระบวนการคั่วที่เหมาะสม มีขั้นตอนการผลิตที่พิถีพิถัน

ทางกลุ่มพิถีพิถันการปลูกกาแฟ เริ่มตั้งแต่กระบวนการเพาะต้นกล้าเมล็ดกาแฟ เพื่อลดต้นทุนการผลิต หลังปลูกมีการดูแลใส่ปุ๋ยพร้อมตัดแต่งกิ่ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี โดยทั่วไปต้นกาแฟเริ่มออกผลิดอกตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม เมล็ดกาแฟเริ่มทยอยสุกพร้อมเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน เกษตรกรจะเลือกเก็บผลแก่ที่สุก แก่เต็มที่ หลังจากนั้นนำมาลอยน้ำแยกสิ่งเจือปน คัดเมล็ดกาแฟที่เสียออกไป นำเมล็ดกาแฟคุณภาพดีที่จมน้ำมาลอกเปลือกด้วยเครื่องลอกเปลือกภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นหมักเมล็ดกาแฟในถังน้ำเปล่า ในระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ก่อนนำมาแช่น้ำอีกครั้งในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนล้างทำความสะอาด นำเมล็ดกาแฟขึ้นตาก ก่อนนำเมล็ดกาแฟมาคั่วให้ได้คุณภาพที่ต้องการคือ ระดับคั่วอ่อน คั่วกลาง และคั่วเข้ม จนได้ผลิตภัณฑ์กาแฟที่พร้อมจำหน่ายในท้องตลาด