ก.เกษตร เข้มสั่งตรวจ100%ยางส่งออก สกัดราคาผันผวน

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภายหลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศเรื่องกำหนดปริมาณจัดสรรเนื้อยางสำหรับการส่งออก พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 มกราคม 2561 โดยจัดสรรปริมาณเนื้อยางสำหรับการส่งออกให้กับบริษัทผู้ส่งออกแต่ละรายจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 นั้น กรมฯได้มอบหมายให้ด่านตรวจพืช เช่น ด่านตรวจสุไหงโกลก ด่านตรวจพืชสะเดา ด่านตรวจพืชหนองคาย ด่านตรวจพืชเชียงของ และด่านตรวจพืชเชียงแสน คุมเข้มส่งออกยางพารา

และประสานศุลกากรสร้างจุดตรวจร่วม สั่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ 100% ทุกตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมติดตามการส่งออกอย่างใกล้ชิด โดยออกใบผ่านด่านศุลกากรในการส่งยางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้แก่บริษัทผู้ส่งออกตามปริมาณการจัดสรรเนื้อยางสำหรับการส่งออกที่แต่ละบริษัทได้รับ ซึ่งหากครบตามปริมาณที่ได้รับการจัดสรรแล้วจะไม่ออกใบผ่านด่านศุลกากรการส่งยางออกไปนอกราชอาณาจักร ให้แก่บริษัทผู้ส่งออกอีก

ในกรณีกลุ่มบริษัทที่เป็นเครือเดียวกันใช้โควตาที่ได้รับการจัดสรรแทนกันได้ แต่ต้องมีชื่อผู้ถือหุ้นตามหนังสือบริคนธ์สนธิเป็นเจ้าของเดียวกัน และต้องแจ้งให้กองการยาง กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบก่อน เพื่อควบคุมยอดจัดสรรไม่ให้ส่งออกเกินปริมาณที่ได้รับการจัดสรร ส่วนบริษัทที่โควตาหมดจะไปนำโควตาของบริษัทอื่นมาส่งออกไม่ได้ โดยกรมวิชาการเกษตรจะไม่ออกใบผ่านด่านให้โดยเด็ดขาด

ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้เป็นอีกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ราคายางที่ผิดปกติและมีความผันผวน โดยเฉพาะประเทศไทย ที่เป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก โดยนำข้อตกลงดังกล่าวมาดำเนินการอย่างเคร่งครัด ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพาราของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 โดยกรมวิชาการเกษตรดูแลและควบคุมปริมาณการส่งออกยางของประเทศไทยออกนอกราชอาณาจักร และตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดปริมาณจัดสรรเนื้อยางแห้งสำหรับการส่งออก พ.ศ.2561 โดยการตรวจเข้มตามมาตรการดังกล่าวนี้ ได้ดำเนินการในพื้นที่ที่มีการส่งออกยางพาราทั่วประเทศ

บิ๊กตู่ประชุมรัฐบาลดิจิทัล เห็นชอบตั้ง 4 อนุกรรมการใหม่ สั่ง 3 เดือน เลิกขอสำเนาเอกสาร ลดภาระของประชาชน

วันที่ 9 มีนาคม 2561 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยได้ให้แนวทางขับเคลื่อนประเทศ ทั้งที่เป็นส่วนราชการ ภาคธุรกิจ ประชาชน ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านการบูรณาการการทำงานและมีการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน และต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีการกำหนดโรดแมปที่ชัดเจนในแต่ละขั้น การใช้ดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการตรวจสอบและสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการที่รวดเร็ว อำนวยความสะดวก และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และภาคส่วนต่างๆ มากขึ้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ได้แก่ 1) อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้านการบริการประชาชน เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้วยดิจิทัล เพื่อให้เกิดเป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) 2) อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรภายในองค์กรภาครัฐ

3) อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้านการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนและตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายประเทศ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกระดับและทุกมิติ 4) อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้านความมั่นคงปลอดภัยในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐที่มีความมั่นคงปลอดภัย

ที่ประชุมได้กำชับให้แต่ละชุดทำงานอย่างรวดเร็วและได้รับผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้หารือข้อกฎหมายกับวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง โดยมาตรการเร่งด่วนที่ดำเนินการได้ทันทีและจะเห็นผลใน 3 เดือน จะมีระบบที่สามารถวิเคราะห์และแสดงความสัมพันธ์และความซ้ำซ้อนของนโยบายต่างๆ และใน 3 เดือน ภาครัฐจะเลิกเรียกสำเนาเอกสารจากประชาชนเมื่อต้องมีการติดต่อหน่วยงานรัฐ เพื่อลดภาระประชาชน อาทิ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น

ใน 1 ปี จะมีระบบบริหารทรัพยากรภายในองค์กรภาครัฐให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งประเทศ และมีมาตรฐานการเชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐกับภาครัฐและเอกชนที่มีความมั่นคงปลอดภัยทั้งรัฐบาล

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เนื่องจากแต่ละกระทรวงมีการทำงานบริหารเป็นของตนเอง ขอให้คณะกรรมการชุดนี้ เป็นคณะกรรมการกลางในการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลที่ไม่ใช่ชั้นความลับหรือข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งจำแนกรูปแบบการทำงานที่สร้างความโปร่งใสอย่างแท้จริง ให้มีการศึกษารูปแบบและแนวทางจากต่างประเทศประกอบด้วย โดยคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ลดภาระทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของประชาชนด้วยระบบดิจิทัลเป็นหลัก และให้มีช่องทางการสื่อสาร การเชื่อมต่อให้ประชาชนและสาธารณชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง

แกนนำชาวสวนยางในภาคใต้ตอนล่าง มีมติคัดค้านการให้เอกชนเข้ามาเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา หรือ Cess พร้อมร่วมเดินทางชุมนุมกับเครือข่าย 14 จังหวัดภาคใต้ ที่ จ.ตรัง 14 มีนาคม ขับไล่ผู้บริหาร กยท.

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม รายงานข่าวจาก จ.สงขลาแจ้งว่า ในการประชุมร่วมกันของแกนนำเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีมติคัดค้านมติคณะกรรมการบริหารการยางแห่งประเทศไทย หรือบอร์ด กยท. ในการให้บริษัทเอกชนเข้ามาเป็นผู้จัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา (Cess) และเตรียมเดินทางเข้าร่วมในการชุมนุมแสดงพลังขับไล่ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางฯ ร่วมกับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรและชาวสวนยางในภาคใต้ ในวันที่ 14 มีนาคมนี้ ที่ จ.ตรัง

โดยนายสมพงษ์ ราชสุวรรณ รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ตอนล่าง เปิดเผยว่า ทางแกนนำเครือข่ายพร้อมที่จะขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกับเครือข่ายทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ โดยในส่วนของภาคใต้ตอนล่างไม่เห็นด้วยกับการให้บริษัทเอกชนเข้ามาจัดเก็บเงิน Cess เพราะทำให้เงินรั่วไหลไปยังบริษัทเอกชนโดยไม่มีความจำเป็น หากคิดแล้วถ้าให้เอกชนจัดเก็บเงิน Cess ร้อยละ 5 จากเงินที่ได้จากการส่งออกจำนวน 8,600 ล้านบาท จะมีเงินที่เอกชนได้จากการจัดเก็บถึง 430 ล้านบาท

ซึ่งเป็นเงินที่ควรจะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาต่างๆ ให้ชาวสวนยางทั่วประเทศ จึงเห็นควรที่จะระดมกำลังร่วมเดินทางไปแสดงพลังขับไล่ผู้บริหาร กยท.ทั้ง 2 คน ที่ จ.ตรัง ในวันที่ 14 มีนาคมนี้

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางมาตรวจราชการที่กรมชลประทาน

โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง นายมนัส กำเนิดมณี รองอธิบดีฝ่ายบริหาร ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมชลประทานให้การต้อนรับ

พร้อมบรรยายสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาของกรมชลประทาน และแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กรมชลประทานและนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ ชั้น 3 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้กับกรมชลประทาน ดังนี้ 1. การบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลากหลายทดแทนการปลูกข้าวนาปรังเพราะใช้น้ำน้อยกว่า

3. เร่งรัดการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งในส่วนนี้อธิบดีกรมชลประทานรายงานเพิ่มเติมว่ากรมชลประทานได้จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศตามพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 10 อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ อธิบดีกรมชลประทานยังได้รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมทั่วประเทศ ว่าปริมาณน้ำในเขตชลประทานเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการรักษาระบบนิเวศ ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรต้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้ใช้น้ำอย่างประหยัด

ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมชลประทานเตรียมแผนการช่วยเหลือ กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำจำนวน 2,365 เครื่อง โดยจะกระจายไปยังสำนักงานชลประทานต่างๆ ทั่วประเทศ 1,702 เครื่อง และสำรองไว้ที่ส่วนกลาง 663 เครื่อง นอกจากนี้ยังได้เตรียมรถยนต์บรรทุกน้ำอีก 242 คัน กระจายไปยังพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภัยแล้งอีกด้วย

เมื่อวันที่ 10 มีนาคมพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานพิธีเปิดโครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” พร้อมทั้งนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายวิทยา วานิช ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน ประชาชน นักเรียน ชมรมจักรยานจังหวัดอุบลาชธานี ชาวบ้านที่อยู่รอบพื้นที่ดังกล่าวกว่า 1,200 คนเข้าร่วมงาน ณ สวนพฤกษศาสตร์ดงฟ้าห่วน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์จำนวน 103 ไร่หรือคิดเป็น 32% ซึ่งมีความคิดเห็นว่าเราจะต้องเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้น และทางทส.ได้รับนโยบายจากรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าไว้เป็นเงินออม เพื่อทำให้ป่าไม้เพิ่มขึ้นและมีป่าไม้หมุนเวียน

ขณะเดียวกันก็ได้มีโครงการป่าในเมืองไว้เป็นพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ ออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพและพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อสนองต่อนโยบายของพอเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นการปลูกป่าตามแนวพระราชบัญญัติของในหลวงรัชกาลที่ 9

ในวันนี้เปิดโครงการฯอย่างเป็นทางการและป่าแห่งนี้ต้อนรับทุกคนโดยไม่มีการแบ่งชนชั้น เพื่อเป็นการลดความเลื่อมล้ำของคนไทย ถือเป็นเกียรติและโอกาสที่ได้รับมอบหมายใหเดูแลพื้นที่ป่าเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทย สุดท้ายขอฝากพี่น้องและหน่วยงานราชการได้ร่วมกันดูแลรักษาป่าให้คงไว้สืบไป

นายธัญญา กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้กำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวจำนวน 35 แห่ง ต่อมาได้พิจารณาเพิ่มเติมจำนวนอีก 16 แห่ง ทำให้มีพื้นที่ที่จะดำเนินการทั้งสิ้น 51 แห่ง ประกอบด้วยสวนพฤกษศาสตร์ สวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษามหาราชินี สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี สวนรุกขชาติ วนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า และศูนย์วิจัยกีฎวิทยาป่าไม้ ได้เปิดตัวโครงการไปแล้ว 8 แห่ง เหลืออีก 43 แห่ง ซึ่งจะดำเนินการเปิดทุกที่ให้แล้วเสร็จในเร็วๆนี้

นายธัญญา กล่าวต่อว่า การเปิดโครงการป่าในเมืองดงฟ้าห่วน “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย”จัดให้มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมป่าไม้ และองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมป์ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมประกอบด้วย

1. สวนพฤกษศาสตร์ดงฟ้าห่วน (กรมอุทยานแห่งชาติฯ) 2.สถานีวนวัฒน์วิจัยอุบลราชธานี (กรมป่าไม้) 3. สวนสัตว์อุบลราชธานี (องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมป์) ซึ่งการเชื่อมโยงกัน ของพื้นที่นั้น เชื่อว่าจะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สร้างการเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจแก่สังคมและชุมชนรอบโครงการ อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสมและสร้างความร่วมมือแบบประชารัฐ พัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

“ขณะที่สวนพฤกษศาสตร์ดงฟ้าห่วน จ.อุบลราชธานี อยู่ในพื้นที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) มีพื้นที่รวม 1,540 ไร่ อยู่กลางเมืองอุบลราชธานี พื้นที่มีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ ภายในมีความร่มรื่น ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เส้นทางจักรยาน พื้นที่ออกกำลังกาย เหมาะที่จะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจตลอดจนมีห้องน้ำสะอาดพร้อมให้บริการ จึงอยากเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน มาเยี่ยมชมและใช้บริการในสถานที่ให้มากขึ้น ซึ่งพื้นที่นี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นป่าในเมืองของชาวจังหวัดอุบลราชธานี” นายธัญญา กล่าว

นายวิทยา กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ได้แก่ พิธีปล่อยขบวนจักรยานแรลลี่ครอบครัว ปล่อยขบวนปั่นจักรยานวิบาก “อุ่นไอรัก ณ ป่าดงฟ้าห่วน” กิจกรรมค่ายลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด สาธิตให้ความรู้การจัดสวนถาด สวนแก้ว จากวิทยาลัยการเกษตรหนองขอนอุบลราชธานี สาธิตการปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตรจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สาธิตตลาดประชารัฐดงฟ้าห่วนและฟังดนตรีในสวน และชมอาคารนิทรรศการพฤกษศาสตร์ป่าไม้ ทั้งนี้ในแต่ละกิจกรรมจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งผู้ที่มาร่วมงานหากสนใจสามารถไปชมกันได้

เราคุ้นเคยกันแต่ภาพคนตาบอด ที่มี “สุนัขช่วยนำทาง” แต่ โมฮัมเหม็ด ซาลิม พาเทล หนุ่มวัย 23 ปีที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับสายตา ที่ทำให้ต้องตกอยู่ในสภาพคนตาบอด อีกไม่นานนี้ กำลังจะเป็นชายตาบอดคนแรกในอังกฤษ ที่ได้ “ม้าช่วยนำทาง” เนื่องจากพาเทลไม่สามารถจะใช้สุนัขช่วยนำทางเหมือนคนตาบอดทั่วไปได้ เหตุเพราะเขาเป็นคนที่กลัวสุนัขมากๆ

เดอะ เทเลกราฟ สื่อดังเจ้าหนึ่งของอังกฤษรายงานว่า ภายในเวลาอีก 2 ปี พาเทลจะได้รับมอบ “ดิ๊กบี” ม้าแคระ มาเป็นผู้ช่วยนำทาง เวลาที่พาเทลต้องเดินทางออกจากบ้านไปไหน-มาไหนตามถนนแถวบ้านในเมืองแบล็คเบิร์น มณฑลแลงคาเชียร์ ประเทศอังกฤษ

ทั้งนี้ ดิ๊กบี เป็นม้าแคระอเมริกัน อายุ 8 เดือน ซึ่งอยู่ภายใต้การฝึกของ เคที สมิธ ครูฝึกจากศูนย์บำบัดเคแอล โพนี่ เธอราปีจากเมืองนอร์ธทอลเลอร์ตัน ในนอร์ธ ยอร์คเชียร์ ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกดิ๊กบี 2 ปีเพื่อให้ ดิ๊กบี สามารถช่วยเหลือ ช่วยนำทางแก่พาเทลได้เหมือนที่สุนัขนำทางทั่วไปสามารถช่วยเหลือคนตาบอด

พาเทลเผยความรู้สึกว่า “ผมเป็นคนรักม้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งรู้สึกดี ที่ได้เห็นม้าสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการทางสายตา ตอนนี้ดิ๊กบีจำเป็นต้องทำความคุ้นเคยกับการไปๆ มาๆ ที่เมืองแบล็คเบิร์น ผมยังคิดด้วยว่า ผมจะหาเวลาว่างลองพาดิ๊กบีออกไปเดิน ไปทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่ผมทำ เผื่อจะมีคนต้องการเข้ามาดูดิ๊กบี ต้องการเข้ามาสัมผัสตัวมัน”

ระหว่างนี้เคที สมิธ จะพาดิ๊กบีไปๆ มาๆระหว่างศูนย์บำบัดฯที่เมืองนอร์ธทอลเลอร์ตัน กับเมืองแบล็คเบิร์น เพื่อให้ดิ๊กบีได้ทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และทำความคุ้นเคยกับพาเทล

ด้วยความที่ม้ามีอายุยืนยาวกว่าสุนัข โดยม้าส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยราว 45-50 ปี ทำให้มีบางคนเห็นว่า ม้าน่าจะเหมาะกับการอยู่เป็นเพื่อนผู้มีความพิการทางสายตา โดยเคที กล่าวว่าในการใช้สุนัขช่วยนำทางแก่คนตาบอดแต่ละราย “คุณอาจจะต้องใช้สุนัขโดยเฉลี่ยถึง 2 หรือ 3 ตัวเนื่องจากสุนัขมีอายุสั้นกว่าม้า แล้วเวลาสุนัขตาย คุณยังต้องคิดถึงเรื่องความรู้สึกผูกพันกับพวกสุนัขเหล่านั้นอีก อีกอย่างเรายังมีคนที่แพ้ขนสุนัข คนที่กลัวสุนัข หรือด้วยเหตุผลทางสุขภาพอะไรอื่นๆ ดังนั้นม้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนเหล่านั้น”

ทั้งนี้สมิธยังเล่าด้วยว่า ขณะนี้ดิ๊กบีผ่านการฝึกให้ใส่ผ้าอ้อม และฝึกให้อึเป็นที่เป็นทางก่อนจะถูกส่งให้มาอยู่เป็นม้านำทางให้ พาเทลในวันข้างหน้า แต่ถึงวันนี้ พาเทลก็เล่าว่า ถึงแม้เขาจะเคยพบกับดิ๊กบีแค่ครั้งเดียว ก่อนที่พวกเขาทั้งสองจะจบการฝึกครั้งสุดท้ายในเมืองแบล็คเบิร์น แต่ดิ๊กบีก็มีทีท่าว่าจะจำเขาได้แล้ว

“มันจะเอาคอมาถูที่ขาของผม และยืนอยู่ข้างๆ ผม ซึ่งเป็นสัญญาณอย่างหนึ่ง ผมยังทึ่งในความอารมณ์ดีของดิ๊กบี ทั้งที่เขามีอายุแค่ 8 เดือนเท่านั้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ในพื้นที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบ 3 หมู่บ้านที่มีพื้นที่การเพาะปลูกทางการเกษตร 1,000 ไร่ กำลังรับผลกระทบเป็นวงกว้างจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด แดดที่แรงส่งผลทำให้พืชผลทางการเกษตรแม้จะเป็นพืชที่ทนแดดได้นานเช่น สวนข้าวโพด สวนแตงโม และนาข้าว พร้อมกับสวนพืชผักสวนครัวที่ปลูกขายรับผลกระทบขาดน้ำ

น้ำไม่เพียงพอต่อการนำไปรดใช้ในสวนเกษตรรวมทั้งสภาพพื้นที่เป็นที่สูงน้ำจากสายน้ำคลองละงู จึงไม่สามารถไหลผ่านเข้ามาได้ และสภาพอากาศที่ร้อนจัดบางจุดน้ำเริ่มแห้งขอด จึงได้มีการทำจุดกักเก็บน้ำไว้ใช้ในขณะนี้

ขณะที่พี่น้องตัวแทนชาวเกษตรกรในพื้นที่ 3 หมู่บ้านออกมาร้องทุกข์ผ่านสื่อมวลชน โดยมีนายรอเชด ขวัญกวา อายุ 54 ปี ชาวเกษตรกรรับผลกระทบ และ นายสมหมาย เกียวสกุล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลกำแพง กล่าวว่า ตอนนี้น้ำเริ่มขาดแคลนเพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลกระทบหลายอย่างตอนนี้เรื่องพืชผลทางการเกษตรที่เราต้องส่งขายต้องเจอแดดแรง น้ำไม่เพียงพอวอนขอให้หน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบวางแผนจัดการเรื่องน้ำให้ได้ใช้เพียงพอด้วย

ซึ่งตอนนี้ก็ต้องลำเลียงท่อพีวีซีขนาดใหญ่เพื่อนำมาวางเป็นท่อๆติดกันเพื่อที่สูบน้ำเข้าสวนของเกษตรกรและพื้นที่ไร่นาที่กำลังจะขาดน้ำ โดยจะดึงน้ำมาใช้เป็นช่วงๆเพราะน้ำแห้งและขาดแคลน

นางสำลี ลัคนาวงศ์ นายก อบต.กำแพง กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.กำแพง ลงพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อสูบน้ำจากคลองละงูเข้าสู่ห้วยลำดาตู หลังจากได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 3 ตัวเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำเพียงพอทำการเกษตรตลอดฤดูกาลช่วงหน้าแล้งนี้

ซึ่งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1 ควนไสน หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย และหมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่ จำนวนกว่า 100 ครัวเรือน ให้มีน้ำเพียงพอในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งเกษตรกรได้มีน้ำเพียงพอในการทำการเพาะปลูกพืชผักต่างๆ ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

นิวเชียงแสนกรุ๊ปเปิดท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 เป็นท่าเรือท่องเที่ยว ทุ่ม 35-40 ล้าน ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตั้งเป้าปี2561 นักท่องเที่ยวจีนทะลัก 2 หมื่นคน เตรียมจับมือเมืองต้นผึ้ง สปป.ลาว-ท่าขี้เหล็ก เมียนมา เชื่อมโยงท่องเที่ยว หวังอนาคตเป็นท่าเรือนานาชาติ-จำหน่ายสินค้าปลอดภาษี

นายภาสกร บุญญลักษม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ปี 2554 กรมเจ้าท่าได้ก่อสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ขึ้น เป็นท่าเรือพาณิชย์ ซึ่งในปี 2556 มอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการ แต่ยังไม่ชัดเจน และปี 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน จ.เชียงราย เป็นผู้ดูแล และเทศบาลได้ตั้งคณะกรรมการบริหารขึ้นมา โดยให้บริษัท นิว เชียงแสน กรุ๊ป จำกัด เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการบริหารท่าเรือ ขณะที่จังหวัดมีนโยบายให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ เนื่องจากเชียงรายมีภูมิประเทศเหมาะกับการท่องเที่ยว รวมถึงมีพื้นที่ติดกับ สปป.ลาว 155 กม. และเมียนมา 153 กม.

ปัจจุบัน จ.เชียงราย นอกจากการจราจรทางบก ทางอากาศที่มีเที่ยวบินมากกว่า 50-60 เที่ยวบิน/วันแล้ว ล่าสุดมีทางเรือ คือ ท่าเรือเทศบาลเวียงเชียงแสน (ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1) อ.เชียงแสน ที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.เชียงราย และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนได้อย่างดี ในอนาคตอาจจะยกระดับเป็นท่าเรือนานาชาติ และมีการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี ขณะนี้ คณะกรรมการบริหารท่าเรือกำลังเสนอแผนให้กรมธนารักษ์ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบแผน จากนั้นจะหาแหล่งเงินทุน เพื่อพัฒนาพื้นที่ท่าเรือและพื้นที่รอบข้างให้เป็นแลนด์มาร์กของ อ.เชียงแสน ต่อไป

นายคงเก่ง ประชากริช ประธานบริหาร บริษัท นิว เชียงแสน กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้ดัดแปลงท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 เป็นท่าเรือท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในละแวกสามเหลี่ยมทองคำ และต่อไปจะขยายเป็นสี่เหลี่ยมทองคำ รวมถึงประเทศจีน ซึ่งท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนือ โดยทุ่มงบฯ 35-40 ล้านบาท ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ ดำเนินการร้านอาหารท่าเรือ จัดตั้งศูนย์โอท็อปให้กับประชาชนในพื้นที่ และทำโป๊ะเรือสำหรับเรือขนาดเล็กวิ่งข้ามฝั่ง ปัจจุบันเรือที่เข้ามาจะมีการเก็บค่าระวางจอดเรือ 900 บาท โดยไม่จำกัดเวลา ส่วนใหญ่เป็นเรือขนาดใหญ่ จอดเพียง 2-3 วันเท่านั้น

ขณะนี้ได้มีการประสานกับเมืองต้นผึ้ง สปป.ลาว และท่าขี้เหล็ก เมียนมา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสามประเทศ เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขณะที่อนาคตจะประชาสัมพันธ์ให้มีคนไทยล่องเรือไปเที่ยว โดยจะสิ้นสุดจะที่ท่าเรือกวนเหล่ยและจิ่งหง ประเทศจีน ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง

หรือจะเป็นการท่องเที่ยวระยะสั้น เช่น สปป.ลาว เมียนมาตั้งเป้าว่าภายในปี 2561 จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาถึง 20,000 คน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งข้อมูลของ ททท.ระบุว่าที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาโดยทางเรือเพียง 2,000 คนต่อปี โดยในช่วงที่ 2 เดือนที่มีการเปิดท่าเรือแห่งนี้ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วกว่า 2,000 คน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนยูนนาน ที่ซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวจากเอเย่นต์ชาวไทยทั้งในพื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ และขากลับเดินทางกลับโดยรถยนต์ผ่านอาร์สามเอ

รายงานเพิ่มเติมว่า ท่าเรือเทศบาลเวียงเชียงแสน เป็นท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนือ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง อยู่ในเขตพื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ ฝั่งตรงข้ามเป็นพื้นที่ สปป.ลาว

การส่งเสริมไม้เศรษฐกิจในประเทศไทย เป็นโครงการระยะยาวที่กรมป่าไม้กำลังเร่งผลักดันเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไปพร้อม ๆ กัน ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร ระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2579

ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกกำหนดไว้ตั้งแต่กลางปี 2560 เป้าหมายคือการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 26 ล้านไร่ ด้วยการจัดทำโครงการปลูกไม้เศรษฐกิจแบ่งเป็นปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ป่า ได้แก่ พื้นที่บุกรุกปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน รวมถึงป่าสงวนเสื่อมโทรม 8.7 ล้านไร่