ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา

จ.ชัยนาท ระดับน้ำเหนือเขื่อนวัดได้ 14.71 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่ำกว่าระดับมาตรฐานกักเก็บ 15 เมตร อยู่ 29 ซม. ด้านท้ายเขื่อนวัดได้ 5.65 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่ำกว่าตลิ่ง 10.69 เมตร ทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตั้งแต่ อ.สรรพยาลงไปน้ำอยู่ในระดับต่ำ หลายจุดสามารถเดินข้ามได้และมีสันดอนทรายโผล่กลางแม่น้ำ

นายสุชาติ เจริญศรี ผอ.สำนักงานโครงการชลประทานที่ 12 ชัยนาท เปิดเผยว่า เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำและควบคุมการทำการเพาะปลูกข้าวรอบที่ 3 ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ต้องการให้การทำนารอบที่ 3 ไม่มีเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำนั้น สำนักชลประทานที่ 12 ได้ประกาศขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 12 ชัยนาท หรือฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตามแผนจะสามารถจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกรอบที่ 2 ได้ ประมาณ 2.6 ล้านไร่เศษ แต่ปัจจุบันพบการทำนาเกินจากแผนไปแล้วถึง 1.1 ล้านไร่เศษ ซึ่งจะทำการเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนมีนาคม-กลางเดือนเมษายน โดยขอความร่วมมือไม่ให้มีการทำนารอบที่ 3 โดยเด็ดขาดเพราะจะไม่มีการจัดสรรน้ำให้ เพื่อสงวนไว้สำหรับการเริ่มต้นการเพาะปลูกตามฤดูกาลในเดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งคาดว่าจะสามารถควบคุมการทำนาไม่ให้มีรอบที่ 3 ตามนโยบายของกระทรวงได้

กยท.ลั่นเดินหน้าขายยางต่อหลังราคาร่วงจนต้องเบรกประมูลลอตสุดท้าย 1.2 แสนตันกลางเดือน มี.ค.นี้ออกไป ด้าน “ฉัตรชัย-จินตนา” กำชับเข้มหวั่นผู้ไม่หวังดีกดราคา ให้ทบทวนช่วงเวลาขายยางลอตสุดท้ายใหม่

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้ กยท.ทบทวนการระบายยางในสต๊อกรัฐบาลที่เหลืออยู่ประมาณ 1 แสนตัน จากยางสต๊อกรัฐที่มีทั้งหมดประมาณ 3.1 แสนตัน เพราะเห็นว่าราคายางแกว่งตัวในทิศทางที่ลดลงกับราคาตลาดโลก แต่ส่วนตัวเชื่อว่าการปรับตัวลดลงของราคายางไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากตลาดจีนมีการแกว่งตัวลดลงประมาณวันละ 2-3 บาท/กก. จึงน่าจะเป็นการปรับฐานเพื่อรอการดีดกลับรับช่วงฤดูปิดกรีดที่ยางจะไม่ค่อยออกสู่ตลาดแล้ว

“สต๊อกยางภาครัฐขณะนี้เหลือประมาณ 1 แสนตัน และขายไปแล้ว 2 แสนตัน ขายได้ลอตแรกราคา 69 บาทต่อ กก.ขายลอต 2 ได้ราคาประมาณ 72-73 บาท/กก. รวมประมาณ 14,000 ล้านบาท มีบางส่วนโอนเข้าใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพราะตามระเบียบการบริหารสต๊อกรัฐบาล หากมีการขายยางได้จะต้องคืนเงินแก่เจ้าหนี้ภายใน 7 วันหลังจากมีการส่งมอบยางและจ่ายเงินแล้ว ดังนั้นยางที่เหลือ คาดว่าวันพฤหัสบดีที่ 9 มี.ค.นี้จะนำเรื่องการประมูลยางที่เหลือในสต๊อกรัฐบาลเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสต๊อก และขายทันทีเพื่อให้ทุกขั้นตอนจบไม่เกิน เม.ย.นี้ เพราะช่วงนี้ราคายางขยับขึ้นมาแล้ว พล.อ.ฉัตรชัยไม่ได้เบรกให้ระบายยางในสต๊อก แต่ให้ไปตรวจสอบการเคลื่อนไหวของราคาว่ามีความผิดปกติหรือไม่เท่านั้น”

ขณะที่แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ล่าสุด ในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ พล.อ.ฉัตรชัยได้สอบถามถึงสถานการณ์ยางพารา ซึ่งนายธีธัชชี้แจงว่าอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลการระบายยางที่เหลือและเตรียมระบายลอตสุดท้ายในเดือน มี.ค.นี้ หากระบายยางในสต๊อกหมดก็จะสามารถปิดบัญชีโครงการรัฐและส่งมอบเงินคืน ธ.ก.ส.ได้หมด

ทั้งนี้ในระหว่างการชี้แจงรายละเอียดและความคืบหน้าของการระบายสต๊อกยางพารานั้น นางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วย รมว.เกษตรฯ ได้ให้ข้อมูลว่าได้รับสัญญาณมาจากผู้ส่งออกยางไทย

ว่า เมื่อไทยจะขายยาง 1 แสนตัน ผู้นำเข้ายางพาราในตลาดโลก ได้พยายามกดราคารับซื้อยางพาราจากประเทศผู้ส่งออกให้ต่ำลง ดังนั้น หากสามารถรอดูสถานการณ์ตลาดยางพาราของโลกโดยชะลอการขายยางพาราไทยออกไปประมาณ 2 เดือน น่าจะทำให้สถานการณ์ราคายางพาราดีขึ้นกว่าการรีบขายในเดือนหน้า เช่นเดียวกับ รมว.เกษตรฯ เองก็ระบุว่าได้รับสัญญาณเช่นเดียวกันนี้จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการประชารัฐ ดังนั้น จึงสั่งกำชับให้ กยท.พิจารณาทบทวนช่วงเวลาการขายยางพาราให้เหมาะสมกับสถานการณ์ราคายางในตลาดโลก

“ชุติมา” ดัน อสป. เป็นฮับทูน่า ใช้โมเดลตลาดปลาญี่ปุ่น หวังช่วยแก้ปัญหาไอยูยู หลังอียูส่งหนังสือให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งปรับปรุง อสป.

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ตนได้เตรียมเสนอ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับแผนยกระดับองค์การสะพานปลา (อสป.) เพื่อจะได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการของบประมาณการปรับปรุง หลังแผนพัฒนา อสป. แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2560 ซึ่ง อสป. ท่าเรือ จำนวน 14 แห่งทั่วประเทศ โดยจะยกระดับตลาดสะพานปลากลางเมือง (Fish Market) ที่มีรูปแบบเหมือนตลาดปลา ประเทศญี่ปุ่น มาปรับใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ จะเร่งพัฒนาท่าเทียบเรือประมงของจังหวัดภูเก็ต ให้ขึ้นเป็นศูนย์กลางนำเข้า-ส่งออกทูน่า (Hub Tuna) ของอาเซียน เนื่องจากประเทศในอาเซียนมองว่าไทยมีศักยภาพมากที่สุด และมีการนำเข้า-ส่งออกปลาทูน่าเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

“ไทยถือว่ามีความเข้มแข็งเรื่องอุตสาหกรรมประมง โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้าประมง อันดับ 1 ของโลก อาทิ การเป็นผู้นำส่งออกทูน่าอันดับ 1 ของโลก มีสินค้าประมงสำหรับส่งออกมากกว่าแสนล้านบาทในแต่ละปี จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาท่าเรือและเชื่อมสัมพันธ์กับอาเซียน ยกระดับท่าเรือขององค์การสะพานปลาให้เป็นท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยว ใช้โมเดลเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งองค์การสะพานปลาเป็นกลไกสำคัญของห่วงโซ่การผลิตสินค้าประมง และเป็นกลไกในการแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ซึ่งสหภาพยุโรปได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป และสำนักเกษตรต่างประเทศได้ส่งหนังสือให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งปรับปรุง อสป. ตั้งแต่ปี 2552 เรื่อยมา”

นางสาวชุติมา กล่าวต่อไปว่า องค์การสะพานปลาเป็นกลไกสำคัญที่สุดของระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงเมื่อปลาขึ้นจากเรือประมง โดยขณะนี้ระบบของสหภาพยุโรป หรือ อียู บังคับให้เรือประมงทุกลำต้องมีการตวจสอบสัตว์น้ำหน้าท่าจำแนกชนิดสัตว์ต่างๆ เพื่อให้เข้าสู่ระบบค้าขาย ตลอดจนการจดบันทึกข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ระบบไอที เพื่อบูรณาการข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปสู่การออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (Catch Certificate) เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบสากลได้ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทันที

อย่างไรก็ตาม อสป. ได้ร่วมกับกรมประมงและศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับ โดยนำร่องที่ท่าเทียบเรือจังหวัดสงขลา และขยายผลไปสู่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดระนอง ตามลำดับ โดยหวังว่าอียูจะเห็นว่าไทยได้พยายามยกระดับสู่มาตรฐานสากล เน้นความสะอาด รวดเร็ว ถูกต้อง ในการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำให้กับผู้ส่งออก เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ การนำระบบไอทีมาใช้ จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสัตว์น้ำได้แล้ว ยังสามารถเก็บข้อมูลสัตว์น้ำขึ้นท่า เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณผลจับสัตว์น้ำสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการบริหารจัดการการทำประมงให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ นับเป็นหลักสำคัญในการทำประมงยุคใหม่

กรมชลประทานเร่งรัดก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกะทะ อ.เมือง จ.ภูเก็ต หวังเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำประปาให้เมืองท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เผยงานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 80%

นายประพิศ จันทร์มา ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน เปิดเผยว่า นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน ได้สั่งการ นายณรงค์ ลีนานนท์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ให้เร่งรัดงานก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองกะทะ ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต ขนาดความจุ 4.317 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้แก่พื้นที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ และอยู่ในแผนยุทธศาสตร์น้ำที่สำคัญของรัฐบาล

ทั้งนี้ อายุสัญญาการก่อสร้างกำหนดจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 20 เมษายน 2560 ซึ่งที่ผ่านมามีการขยายอายุสัญญา เนื่องจากมีเหตุสำคัญกระทบต่อการก่อสร้างโดยตรง อาทิ เกิดอุทกภัยในพื้นที่ก่อสร้าง มีการปรับแก้ไขแบบอาคารระบายน้ำล้นให้สอดคล้องกับสภาพธรณีวิทยาฐานราก ซึ่งขณะนี้ผลงานการก่อสร้างก้าวหน้าประมาณ 82%

“มีการประชุมเร่งรัดการก่อสร้าง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีรองอธิบดีฝ่ายก่อสร้างเป็นประธาน และให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน โดยจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับบริษัทผู้รับเหมากำหนดกรอบตัวชี้วัดการทำงานเป็นรายสัปดาห์ ขณะเดียวกัน เร่งรัด ติดตาม และควบคุมการทำงานของบริษัทผู้รับเหมาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ และรายงานผลความคืบหน้าเป็นรายสัปดาห์”

นายประพิศกล่าวว่า จ.ภูเก็ต สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยอย่างมากมาย และมีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี สังเกตได้จากการมีเที่ยวบินปกติและเที่ยวบินเช่าเหมาลำเข้าออกภูเก็ตตลอดเวลา จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับโลก

“น้ำประปาเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต อ่างเก็บน้ำคลองกะทะก่อสร้างขึ้นมา ก็เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนผลิตน้ำประปาในเขต อ.เมืองภูเก็ต โดยตรง” เมื่อวันที่ 12 มีนาคม น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนางวรัญญา ถนอมพันธ์ พาณิชย์จังหวัดระยอง เดินทางไปพบเจ้าของผู้ส่งออกและเจ้าของสวนทุเรียนรายใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์ผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2560 ในพื้นที่จังหวัดระยอง ณ ตลาดผลไม้เขาดิน หมู่ 2 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง โดยมีนายวิทยา ชพานนท์ นายอำเภอแกลง นายประยุทธ พานทอง กำนัน ต.กองดิน นายทรงธรรม ชำนาญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง พร้อมเจ้าของตลาดผลไม้เขาดินและเจ้าของสวนทุเรียนใน อ.แกลง ให้การต้อนรับและเสนอปัญหาเรื่องทุเรียนอ่อน พร้อมเดินทางไปชมสวนทุเรียน ที่หมู่ 7 ต.กองดิน

น.ส.วิบูลย์ลักษณ์กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมามีปัญหาช่วงผลผลิตออก ปีนี้จึงต้องมีการวางแผนในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาด เรื่องปริมาณผลผลิตและมีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร ขณะนี้รัฐบาลมีวิธีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่งจะต้องพูดคุยกับปลัดกระทรวงเกษตรฯ และปลัดกระทรวงมหาดไทย จะมีการบริหารจัดการทุเรียนในภาคตะวันออกอย่างไรบ้างที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เรื่องแรกคือเรื่องการทำสัญญาระหว่างเจ้าของสวนทุเรียนกับล้ง เนื่องจากในปีที่ผ่านมาเราใช้วิธีใครทำสัญญากับใครต้องมาแจ้ง เพื่อที่จะให้ปฏิบัติตามสัญญา

“ปัญหาปีที่แล้วเกิดจากเจ้าของสวนแต่ละสวน สวนหนึ่งมีหลายสัญญา ล้งหนึ่งก็มีหลายสัญญา เพราะฉะนั้นในปีนี้จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจนและตรงกัน พี่น้องเกษตรกรจะได้รับการดูแลการปฏิบัติตามสัญญาที่ชัดเจน จากการลงพื้นที่จะเห็นว่ามีทั้งทำตามสัญญาและขายตามตลาดผลไม้เขาดิน ซึ่งเป็นตลาดกลางที่รับซื้อทุเรียนและผลไม้อื่นๆ นอกจากเรื่องสัญญาแล้ว ก็เป็นเรื่องคุณภาพและเรื่องการตัดทุเรียน เพื่อรักษาชื่อเสียงคุณภาพของลูกค้าเรา” น.ส.วิบูลย์ลักษณ์กล่าว

ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวด้วยว่า กระทรวงพาณิชย์ดูแลเรื่องการทำตลาด ขณะนี้เกษตรกรเริ่มมีการพัฒนาการผลิตตัดดอก แต่งกิ่ง เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดที่ยาวนานขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณผลผลิตที่ออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม คือช่วงระยะเวลาที่ผลผลิตเคยออก 2 เดือน ก็จะกลายเป็น 6 เดือน ดังนั้น ผลผลิตจะทยอยออกสู่ตลาดในปริมาณที่ไม่ทำให้ล้นตลาด ทำให้การดูแลเรื่องราคาเป็นไปตามกลไกของตลาดเอง

พูดถึงไทยแลนด์ 4.0 หลายคนอาจจะงง ว่ามันคืออะไร ทำไมสมัยนี้ อะไรๆ ก็ไทยแลนด์ 4.0 กันจัง

ไปถาม อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้รับคำตอบกลับมาว่า ตัวเลข 4 ในที่นี้เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งกว่าจะมาเป็นไทยแลนด์ 4.0 ก็ต้องผ่าน 1.0, 2.0 และ 3.0 กันมาก่อน โดย 1.0 ก็คือ ยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ ไทยแลนด์ 2.0 ก็คือ ยุคอุตสาหกรรมเบา ในยุคนี้เรามีเครื่องมือเข้ามาช่วย ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น ไทยแลนด์ 3.0 ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก เราผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

คำพูดที่ว่า ต้องช่วยกันนำพาประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 นั่นก็คือ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนนั่นเอง

รัฐมนตรี วท.บอกด้วยว่า เครื่องมือหนึ่งที่จะพาไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ ก็คือ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)” นั่นเอง ซึ่งพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าพัฒนาแล้วได้

เราได้สร้างกลไก หรือเครื่องมือที่เรียกว่า “คลินิกเทคโนโลยี” เพื่อนำเทคโนโลยีที่มาจากผลงานวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดไปยังชุมชนหรือท้องถิ่น มาตั้งแต่ปี 2546 โดยร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 69 จังหวัด ปัจจุบันคลินิกเทคโนโลยีได้กระจายไปตามชุมชนต่างๆ และได้มีการนำ วทน.ไปใช้ประโยชน์ โดยมีผู้รับประโยชน์จากการนำ วทน. ไปใช้ปีละไม่น้อยกว่า 20,000 คน สร้างรายได้หรือลดรายจ่ายได้ปีละ 86-160 ล้านบาท รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลเทคโนโลยีผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์ สื่อสิ่งพิมพ์ และบริการเคลื่อนที่ ปีละไม่น้อยกว่า 800,000 คน และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของหมู่บ้านหรือชุมชนที่นำ วทน.ไปใช้ประโยชน์ผ่านคลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงได้ผลิตรายการโทรทัศน์ “Science Hit วิทยาศาสตร์ทันสมัย ซีซั่นที่ 2” ขึ้น เพื่อแสดงให้คนไทยเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตตลอดจนสร้างงานสร้างรายได้ให้ได้อย่างไร ชมรายการนี้ได้ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 11.30-12.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม Most Channel ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รับชมได้ผ่าน 4 ช่องทาง คือ กล่องรับสัญญาณ PSI ช่อง 246, SUNBOX ช่อง 118, GMMZ ช่อง 207 และ Dynasat ช่อง 104 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

อรรชกาบอกว่า วท.ผลิตรายการนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนไทยโดยเฉพาะชาวบ้านหรือชุมชนต่างๆ ได้เห็นว่า วทน.สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตจริงๆ อย่างเช่นหมู่บ้านที่มีผลงานการพัฒนาที่โดดเด่น คือ หมู่บ้านควายนม จ.เชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านประกอบอาชีพปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาชีพหลัก ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลให้บ้านใหม่ดอนแก้วกลายเป็นหมู่บ้านที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติสูง รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมานาน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จนกระทั่งคลินิกเทคโนโลยีเข้าไปพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยนำ วทน.เข้าไปแก้ปัญหา ทำให้คนในชุมชนรู้จักกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน การเลี้ยงควายนม การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ไม่เบียดเบียนผืนป่า จนปัจจุบันคนในชุมชนแห่งนี้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

สิ่งสำคัญกว่านั้นที่ผู้ชมจะได้เห็นในรายการคือ ความร่วมมือร่วมใจและความเสียสละของคนในชุมชน จนบางหมู่บ้านมีการต่อยอดนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการบริหารจัดการโดยชุมชนเอง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า การเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก็สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

และยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเดินไปสู่การเป็นคนไทยยุค 4.0 ตามที่ตั้งใจเอาไว้ให้ได้อีกด้วย เมื่อวันที่ 13 มีนาคม เวลา 07.00 น. ที่ บ้านหนองขุนทอง หมู่ที่ 1 ต.หนองนางนวล อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี พื้นที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังยังคงกระจายพื้นที่ความเสียหาย ทั้งจากโรคแมลงบั่วระบาดและขาดแคลนน้ำกันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวนาปรังในปีนี้ชาวนาได้ผลผลิตกันน้อยมาก ซึ่งบางรายถึงกับต้องประสบปัญหาขาดทุนจากข้าวที่เสียหาทั้งแปลง

จากการสอบถาม นางชลอ พรมหล่อ อายุ 58 ปี บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 1 บ้านหนองขุนทอง ต.หนองนางนวล เกษตรกรผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปลูกข้าวนาปรัง จนต้องนำควายลงทุ่งกินข้าวกว่า 20 ไร่ทั้งแปลง กล่าวว่า ปีนี้ข้าวเจอกับโรคแมลงบั่ว ต้นข้าวเลยแทบไม่มีออกรวงทั้งแปลง ทำให้ไม่ได้ผลผลิต เลยตัดสินใจใช้ต้นข้าวที่เจอโรคแมลงบั่วนั้นเป็นอาหารควายแทนเพื่อให้เกิดประโยชน์ ประกอบกับปีนี้แล้งไวน้ำใช้ทางการเกษตรขาดแคลนกันถ้วนหน้า ทำให้ชาวนาพากันไม่ได้ผลผลิตกันเกือบทั้งหมด ซึ่งหากรวมพื้นที่ปลูกข้าวติดกับตนและเจอโรคแมลงบั่วเหมือนกันนั้นก็รวมแล้วกว่า 100 ไร่ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ไปแล้วนั้นตนเองก็ไม่รู้จะทำเช่นไร นอกจากทยอยปล่อยให้ควายนั้นลงไปกินแทนหญ้า โดยในส่วนที่มีรวงข้าวออกมานั้นก็อาจจะปล่อยไว้เพื่อเกี่ยวมาทุบรวงเก็บไว้เป็นอาหารให้เป็ดและไก่แทน

หากถามถึงความต้องการให้ความช่วยเหลือนั้น ที่ผ่านมาทางรัฐบาลก็ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรอย่างดี ซึ่งตนนั้นก็ไม่ได้ร้องขออะไร ซึ่งหากพอมีช่องทางให้การช่วยเหลือชาวนาได้ตนก็ยินดี แต่หากครั้งนี้ไม่มีก็เข้าใจเพราะต้องเป็นไปตามระเบียบกฏเกณฑ์ แต่ใจก็ยังมีความหวังว่า นาปีในครั้งหน้าจะมีน้ำเพียงพอให้ชาวนาได้ปลูกข้าวกัน และราคาข้าวนั้นจะมีราคาที่สูงกว่าที่เป็นอยู่นี้ เพื่อให้ชาวนาได้ลืมตาอ้าปากกันได้ นางชลอ กล่าว

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 13 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ยังคงลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 67 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 21% ของความจุเขื่อน ซึ่งทางเขื่อนลำตะคองได้ประกาศงดส่งน้ำช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ทั้งหมดจำนวนกว่า 150,000 ไร่ เนื่องจากปัจจุบันปริมาณเขื่อนลำตะคองเหลืออยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลให้บรรยากาศบริเวณเขื่อนลำตะคองในช่วงนี้ มีฝูงนกจำนวนมากบินลงไปหากินบนพื้นที่ดินที่ตื้นเขินที่โผล่อยู่ภายในเขื่อน ขณะเดียวกันชาวบ้านบริเวณใกล้เขื่อนลำตะคองก็ได้ต้อนวัวควายเดินลงไปหากินหญ้าที่ขึ้นอยู่ตรงบริเวณพื้นที่ดินที่น้ำลดด้วย

ทั้งนี้เขื่อนลำตะคอง เป็นเขื่อนหลักที่ผลิตน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา โดยขณะนี้จังหวัดนครราชสีมาจำเป็นต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อนได้ไม่เกินวันละ 432,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น เพื่อปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองให้เพียงพอไปจนถึงฤดูฝนนี้

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 13 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ยังคงลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่เพียง 67 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 21% ของความจุเขื่อน ซึ่งทางเขื่อนลำตะคองได้ประกาศงดส่งน้ำช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ทั้งหมดจำนวนกว่า 150,000 ไร่ เนื่องจากปัจจุบันปริมาณเขื่อนลำตะคองเหลืออยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลให้บรรยากาศบริเวณเขื่อนลำตะคองในช่วงนี้ มีฝูงนกจำนวนมากบินลงไปหากินบนพื้นที่ดินที่ตื้นเขินที่โผล่อยู่ภายในเขื่อน ขณะเดียวกันชาวบ้านบริเวณใกล้เขื่อนลำตะคองก็ได้ต้อนวัวควายเดินลงไปหากินหญ้าที่ขึ้นอยู่ตรงบริเวณพื้นที่ดินที่น้ำลดด้วย

ทั้งนี้เขื่อนลำตะคอง เป็นเขื่อนหลักที่ผลิตน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา โดยขณะนี้จังหวัดนครราชสีมาจำเป็นต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อนได้ไม่เกินวันละ 432,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น เพื่อปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองให้เพียงพอไปจนถึงฤดูฝนนี้

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากอำเภอแม่สอด weareorganizedchaos.com จังหวัดตากว่า บรรดาควาญช้างบ้านปูเต้อ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด ที่กำลังไปร่วมงานวันช้างไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยอบต.แม่กุ และมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ณ วัดบ้านปูเต้อ ได้อาบน้ำ ใช้รถน้ำของท้องถิ่นฉีดน้ำให้ช้าง เพื่อให้ความชุ่มเย็นก่อน ที่จะนำเข้าไปร่วมงานวันช้างไทย เนื่องมาจากสภาพอากาศเริ่มร้อน จะทำให้ช้างมีปัญหาได้

นายผจญ สุวรรณคำพรรณ อดีตควาญช้างบ้านปูเต้อ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่กุ อ.แม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า สถานการณ์ช้างที่บ้านปูเต้อเริ่มดีขึ้น เมื่อควาญช้าง เริ่มสำนึกถึงลูกหลาน โดยการไม่ยอมขายช้างแล้ว เพราะต้องการเอาช้างไว้ให้ลูกหลาน ซึ่งเชื่อว่า ปีนี้ มีช้าง จำนวน กว่า 30 เชือก ไปร่วมงานวันช้าง แม้ว่า จะมีช้างในหมู่บ้านที่ตายไป 2 เชือกก็ตาม

สำหรับการจัดกิจกรรมช้างปีนี้ มี การสะเดาะเคราะห์ช้าง มัดข้อเท้าช้าง เลี้ยงอาหารช้าง และการแสดงของคน และช้าง ในบริเวณวัด ซึ่งเริ่มมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น นายปฏิพล เกตุรัตนัง ประธานสหกรณ์การเกษตรนาบอน จำกัด จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้สมาชิกทั่วประเทศกำลังล่ารายชื่อ 1 ล้านคน เพื่อนำกลับไปยื่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคมนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้รัฐปรับเอฟไอทีโครงการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ฯสหกรณ์เฟส 2 จำนวน 191 เมกะวัตต์ อยู่ที่ 5.66 บาทต่อหน่วย หลังจาก กพช.ลดลงเหลือ 4.12 บาทต่อหน่วย จนทำให้รายได้สหกรณ์เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกหลานเกษตรกรลดต่ำลง

“เอฟไอทีอัตราใหม่ทางสหกรณ์จะมีรายได้ไม่เกิน 2% จากยอดขายไฟ ขณะที่อัตราเก่าได้ 5% มันต่างกัน ซึ่งทางเอกชนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการบอกว่าถ้าอัตรานี้จ่ายเท่าเดิมเขาก็ขาดทุน ดังนั้น เราจึงต้องไปเรียกร้องให้กำหนดเอฟไอทีอัตราเดิม” นายปฏิพลกล่าว

เมื่อเวลา 19.30 น. วันที่ 13 มีนาคม นายลายทองเหรียญ มีพันธ์ เจ้าของวังช้างอยุธยาแลเพนียด และประธานมูลนิธิพระคชบาล พร้อมกลุ่มคนเลี้ยงช้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำช้าง 60 เชือก เข้าไปในเพนียดหลวงคล้องช้าง ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา เพื่อทำกิจกรรมวันช้างไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี โดยมีพระครูเกษมจันทรวิมล เจ้าอาวาสวัดป้อมรามัญ เกจิชื่อดังเมืองกรุงเก่า ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นได้เลี้ยงโต๊ะจีนเป็นผลไม้จำนวนมาก แก่ช้างทั้ง 60 เชือก โดยมีประชาชนมาร่วมกิจกรรมเลี้ยงโต๊ะจีนช้างจำนวนมาก

ทั้งนี้ นายลายทองเหรียญ เปิดเผยว่า ช้างไทยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ร่วมในการปกบ้านป้องเมืองและกอบกู้แผ่นดินไทยมาในโดยตลอด ถึงวันนี้ช้างในประเทศถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐรุกไล่ จนหมดที่จะยืนบนแผ่นดิน ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เร่งเดินหน้าเพื่อปกป้องสิทธิของช้างและคนเลี้ยงช้างทั่วประเทศ