ขณะนี้ สถาบันวิจัยพืชสวน ได้จัดทำโครงการวิจัยเพิ่มผลิต

โดยสร้างแปลงแม่พันธุ์ในพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรเพื่อเพิ่มการผลิตต้นพันธุ์มะพร้าวพันธุ์ดีให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรและกรมวิชาการเกษตรได้มีนโยบายในการกระจายต้นกล้าพันธุ์ดีสำหรับให้เกษตรกรนำไปปลูกในพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวเดิมและพื้นที่ปลูกใหม่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และสตูล โดยร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา และภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการปลูกมะพร้าวพันธุ์ไทยที่ผลิตจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรไปแล้ว ประมาณ 10,000 ต้น

แนวทางที่สอง… ต้องใช้เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตประชากรมะพร้าว คือ การใส่ปุ๋ย ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องการใส่ปุ๋ยมะพร้าว หรือใส่แต่ใส่น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของต้นมะพร้าว รอคอยแต่เก็บผลอย่างเดียว

คุณวิไลวรรณ บอกว่า นอกจากจะปลูกมะพร้าวพันธุ์ดี สภาพแวดล้อมดีแล้ว ความอุดมสมบูรณ์ของดินยังเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตมะพร้าว การใส่ปุ๋ยตามความต้องการธาตุอาหารของพืชจะช่วยให้พืชนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธาตุไนโตรเจน และธาตุโพแทสเซียม เป็นธาตุหลักที่มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตมะพร้าว ในขณะที่ธาตุคลอไรด์และจุลธาตุมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงและการพัฒนาการเจริญเติบโตทางลำต้นและผล การใส่ปุ๋ยเคมีเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีปริมาณธาตุอาหารสูง พืชสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง เมื่อใส่ลงในดินที่มีความชื้นเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยขาดการปรับปรุงบำรุงดิน อาจเป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมคุณภาพได้ เช่น พีเอช (pH) ในดินลดลง ดินเป็นกรด เนื่องจากปุ๋ยบางชนิด เป็นปุ๋ยก่อกรด และดินอาจมีค่าความเค็มเพิ่มขึ้น ดังนั้น การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดีขึ้น จุลินทรีย์ในดินสามารถทำงานได้ดีขึ้น

ในการที่จะเพิ่มผลผลิตมะพร้าว เกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 จำนวน 4 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ร่วมกับปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี โดยแบ่งใส่สองครั้ง คือ ต้นฤดูฝน กับปลายฤดูฝน ซึ่งดินยังมีความชื้นอยู่ เกษตรกรบางสวนใส่ปุ๋ยเพียงปีละครั้ง ซึ่งไม่เพียงพอที่จะให้ผลผลิตมะพร้าวมากตามที่เราต้องการ

ใส่ปุ๋ยอย่างไร มะพร้าวจะได้รับอาหารเต็มที่

คุณวิไลวรรณ แนะนำว่า การใส่ปุ๋ยควรจะใส่ห่างจากโคนต้นมะพร้าว ประมาณ 1.5 เมตร หรือใส่ระยะครึ่งหนึ่งของความยาวของใบมะพร้าว ซึ่งยาวประมาณ 4 เมตร ไม่ควรใส่ชิดโคนต้น เนื่องจากปลายรากมะพร้าวที่จะดูดปุ๋ยจะอยู่ที่ระยะห่างจากโคนต้น 1.5 เมตร หรือขุดร่องรอบต้นมะพร้าวระยะห่างจากโคนต้น 1.5 เมตร แล้วโรยปุ๋ยลงในร่องไปรอบโคนต้น แต่ต้องไม่ลืมว่าต้องใส่ปุ๋ยในช่วงที่ดินมีความชื้นอยู่ คือใส่ในช่วงต้นฝนและปลายฝน

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสวนมะพร้าว

การที่จะทำสวนมะพร้าว ควรเลือกพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200-1,500 มิลลิเมตร ต่อปี และฝนทิ้งช่วงไม่ควรนานเกิน 3 เดือน

โชคดีของเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินที่ปลูกมะพร้าวเป็นดินที่มีธาตุโพแทสเซียม และพื้นที่ปลูกมะพร้าวห่างจากทะเล ประมาณ 50 กิโลเมตร จากชายฝั่งจึงได้อิทธิพลจากไอน้ำเค็ม ทำให้ได้ผลผลิตมะพร้าวดี แม้จะมีปัญหาเรื่องน้ำ สวนมะพร้าวแถบนี้ต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว และเกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่มีการให้น้ำกับสวนมะพร้าว

ในระยะปี 2561-2562 สภาพดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกน้อยกว่าปกติ มีช่วงแล้งเป็นเวลายาวนาน เพราะฉะนั้น ปีใดที่มีปริมาณน้ำฝน 2,000 มิลลิเมตร ปีนั้นเกษตรกรได้ผลผลิตมะพร้าวดีมาก ดังนั้น น้ำจึงมีความสำคัญต่อการให้ผลผลิตของมะพร้าว เนื่องจากน้ำหรือความชื้น น้ำช่วยให้รากพืชดูดและลำเลียงแร่ธาตุและสารอาหารภายในลำต้น ช่วยปรับอุณหภูมิ ช่วยให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปได้ ถ้าพืชขาดน้ำจะมีการเหี่ยวเฉา

จากการที่สถาบันวิจัยพืชสวนทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าว โดยศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรคัดเลือกแปลงมะพร้าวของเกษตรกรเป็นแปลงต้นแบบในแต่ละพื้นที่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และให้ความรู้และสาธิตเกี่ยวกับการจัดการสวนมะพร้าว ทำให้เกษตรกรได้รับความรู้แล้วว่า มะพร้าว ควรจะมีการให้น้ำในช่วงแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขาดฝน หรือฝนทิ้งช่วงประมาณ 3 เดือน และรักษาความชื้นดิน จึงมีเกษตรกรบางรายที่ขุดบ่อเก็บกักน้ำและสูบน้ำขึ้นมารดต้นมะพร้าวช่วงหน้าแล้ง

คุณวิไลวรรณ บอกว่า ประเทศไทยพบช่วงแล้งติดต่อกันสองปี งานวิจัยมะพร้าวได้ศึกษาวิจัยแปลงที่ให้น้ำและไม่ให้น้ำ พบว่า แปลงที่ไม่ให้น้ำ ใบมะพร้าวจะแห้งและหักพับลงมา ส่วนแปลงที่ให้น้ำ ใบมะพร้าวจะเหี่ยวแต่ก็ฟื้นตัวได้เร็ว มะพร้าวควรจะได้น้ำ 600 ลิตร ต่อสัปดาห์ หรือ 90 ลิตร ต่อวัน เวลาที่ให้น้ำก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ควรจะให้น้ำต้นมะพร้าวในช่วงเวลาเช้า-ช่วงสาย ซึ่งต้นมะพร้าวจะได้นำน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะพร้าวได้ผลผลิตดี ไม่ควรรอฝนอย่างเดียว ควรมีการให้น้ำบ้าง เมื่อให้น้ำแล้วก็ควรหาวัสดุมาคลุมโคนต้นมะพร้าว เช่น เปลือกมะพร้าว กะลามะพร้าว หรือใบมะพร้าว ที่อยู่ในสวนนำมาสับและคลุมโคนต้นไว้ ก็จะรักษาความชุ่มชื้นในดิน ป้องกันความชื้นในดินไม่ให้ระเหยออกมาด้วย การคลุมพื้นที่รอบโคนต้นมะพร้าวนี้เกษตรกรในประเทศศรีลังกาได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจัง เพราะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากสถาบันวิจัยมะพร้าวถึงข้อดีของการคลุมพื้นที่รอบโคนต้นมะพร้าว อีกประการหนึ่ง คือ เมื่อมีความชื้น รากมะพร้าวที่เป็นรากฝอย รากหาอาหาร จะขึ้นมาข้างบน เมื่อใส่ปุ๋ยในช่วงฤดูฝน รากเหล่านี้จะช่วยดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีการจัดการสวนมะพร้าวยังครอบคลุมไปถึงการคลุมวัสดุรอบโคนต้นมะพร้าว หากเกษตรกรใช้วัสดุคลุมต้นอย่างไม่มีเทคนิค หรืออย่างไม่ระมัดระวังแล้ว อาจเสี่ยงกับปัญหาหรือก่อให้เกิดศัตรูมะพร้าวประเภทด้วงเข้ามาวางไข่ที่วัสดุคลุมโคนต้นได้ ซึ่งในตอนต่อไปจะกล่าวกันถึงเรื่องนี้

สนใจปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร. 02-579-0583 และที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เลขที่ 70 หมู่ที่ 2 ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 86130 โทร. 077-556-073 โทรสาร ทุ่งกุลาร้องไห้ มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล 2.1 ล้านไร่ ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลราร้องไห้อยู่ในพื้นที่ อำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย รวมพื้นที่ 9.7 แสนไร่ คุณอุทัย และคุณสมคิด สาวแก้ว สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 118 ม.7 บ้านทุ่งทรายทอง ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45130 โทร.080-1819903 ประสบความสำเร็จในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

ทีมงานจากสำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางผ่านทุ่งนาที่เวิ้งว้าง กว้างใหญ่ไพศาล น้ำมันรถยนต์เต็มถัง เครื่องยนต์ดี ยางดี หมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันมาก เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีคุณหลวงเกตุ บุญอรัญ เป็น ผญบ. เจ้าของบ้านให้การต้อนรับดีมากๆ พร้อมบอกว่าตนเองทำนาปีละครั้ง นาข้าว 100 ไร่ เป็นพื้นที่ สปก.4-01 นาอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ฤดูแล้งดินเค็มส่าเกลือระเหิดจากใต้พื้นพสุธา ต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีคือต้นยูคาลิปตัส ตนเองเป็นสายเลือดของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” น้อมนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่พื้นที่นาข้าวหลังบ้านพัก 3 ไร่ โดยการส่งเสริมของ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยการขุดบ่อขนาด 1 ไร่ ลึก 3-4 เมตร สร้างเรือนนอนพักผ่อน 1 หลัง กระชังเลี้ยงกบขนาด 1,000 ตัว โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 20 ตัว ไข่ได้วันละ 15-17 ฟอง โรงเรือนไก่เนื้อ 50-100 ตัว ทำบนบ่อเลี้ยงปลา เพราะได้อยู่อย่างเกื้อกูล อาหารร่วงหล่นลงน้ำ มูลไก่ ปลากินเป็นอาหาร

ปลาที่เลี้ยง มีปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน 15,000 ตัว เจริญเติบโตดีมากๆขนาด 1-2 ตัวต่อกิโลกรัม รอบสระน้ำปลูกไม้ผล มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ จำนวน 30-40 ตัน มะนาวในวงบ่อ 30 ต้น

คุณอุทัย กล่าวว่า พื้นที่อีกส่วนแบ่งทำโรงเรือนเลี้ยงโคขุน จำนวน 23 ตัว เก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงวัว ได้ปุ๋ยคอก อยู่อย่างเกื้อกูลจริงๆ ที่ลุ่มหลังสวนปลูกพืชผักสวนครัว ผักกาดขาวปลี เขียวปลี คะน้า กวางตุ้ง หอม ข่า ตะไคร้ แซมด้วยมะละกอ

พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แห้งแล้ง มองไกลมีสีเขียวที่หลังบ้านคุณอุทัยเท่านั้น เป็นแหล่งอาหารของครอบครัว เกิดรายได้รายวัน จากการผัก ขายไข่ไก่ ไก่เนื้อ ขายปลา ขายกบ วันละ 200-300 บาท รายได้รายปี ขายข้าว ปีละ 1 ครั้ง กว่า 500,000 บาท ขายวัว 120,000 บาท มูลวัวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีของนาข้าว ขายได้ไม่น้อย

คุณอุทัยบอกว่า ตนเองมีความสุขอย่างมาก ลูกสาว ลูกชายกลับมาบ้าน นอนพักที่ศาลากลางน้ำ เป็นชีวิตชาวทุ่งกุลาสดใส แล้ววันนี้ อำเภอสุวรรณภูมิมี 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องปฏิบัติการเชิงรุก ร่วมกับ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(ศบ.กต.)ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) แปลงใหญ่ เรื่องข้าว คือ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการ และด้านการตลาด การผลิต “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” นักส่งเสริมการเกษตร มืออาชีพต้องทำได้

ข้าวโพดหวาน อีกหนึ่งพืชทางเลือกสร้างรายได้เสริมที่น่าสนใจให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากข้าวโพดหวานเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ในอัตราเฉลี่ย 438 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 72-74 วัน สร้างรายได้หมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี

คุณสมบัติ รักอู หรือ พี่บัติ อยู่หมู่ที่ 7 บ้านหนองไผ่ล้อม อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานสร้างรายได้เสริมจากการทำไร่อ้อย เนื่องจากอ้อยเป็นพืชที่สร้างรายได้เป็นรายปี รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงหันมาเลือกปลูกข้าวโพดหวานเป็นพืชสร้างรายได้เสริม มีข้อดีหลายข้อ คือ
1. ใช้น้ำน้อย
2. ปลูกได้ตลอดทั้งปี
3. สร้างรายได้หมุนเวียนได้ตลอด

ปลูกข้าวโพดหวานลูกผสมจัมโบ้สวีท
ลงทุนน้อย สร้างรายได้ดี
พี่บัติ บอกว่า ตนเป็นเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเป็นอาชีพหลัก แต่ช่วงหลังมานี้รายได้ไม่ดีเท่าที่ควร เงินขาดมือ จึงหันมาปลูกข้าวโพดหวานเป็นพืชทางเลือกสร้างรายได้เสริม โดยพันธุ์ที่เลือกปลูกคือ ข้าวโพดหวานลูกผสม จัมโบ้สวีท จุดเด่นคือ ต้นแข็งแรง ฝักใหญ่ ทนแล้ง ปลูกง่าย เมล็ดเต่งเรียงแถวสวย รสชาติหวานกรอบ แม่ค้าชอบ จึงเลือกปลูกสายพันธุ์นี้ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นพืชที่สร้างรายได้เสริมระหว่างรอเงินอ้อยได้เป็นอย่างดี

วิธีการปลูก มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การเตรียมดิน การปลูกข้าวโพดหวานจำเป็นต้องมีการเตรียมดิน ในส่วนของการเตรียมดินจะใส่ปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1.5-2 ตัน ต่อไร่ แล้วไถดะเพื่อกลบดินให้ลึก 10-12 นิ้ว จากนั้นตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลง เชื้อโรค และวัชพืชที่อยู่ในดิน

วิธีการปลูก ข้าวโพดหวานมีอยู่ 2 แบบ คือแบบแถวเดี่ยว และแบบแถวคู่ ที่ไร่จะปลูกแบบแถวเดี่ยว เว้นระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 75 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยหยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 1-2 เมล็ด ซึ่งอัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน จะอยู่ที่ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อไร่
หลังจากหยอดเมล็ดเสร็จ จากนั้นอีก 3 วัน ต้นก็จะขึ้นเป็นเดือยงอกขึ้นมา ต้องหมั่นดูแลรดน้ำ พอใบที่สองขึ้นแล้วกำลังจะเกิดใบที่สามก็ให้รดน้ำอีกครั้ง เมื่อขึ้นได้ครบ 7 วัน ก็จะเริ่มฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราและกำจัดหนอนผสมกัน พ่นทุกๆ 5-7 วัน จนต้นอายุครบ 25 วัน ต้นจะแข็งแรงแล้วหยุดพ่น

ปุ๋ย ต้องให้อายุได้ 25 วัน ถึงจะใส่ได้ สูตรที่ใส่ จะเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ 1 รอบการปลูกใส่ปุ๋ยเพียง 2 ครั้ง ก็พอแล้ว
ระยะการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว พันธุ์จัมโบ้สวีท ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 72-74 วัน เก็บเกี่ยวได้ ถ้าหากไม่พักดิน 1 ปี ปลูกได้ 4 ครั้ง แต่ถ้าจะให้ดีควรพักเพื่อปรับปรุงบำรุงดินจะดีกว่า

เทคนิคการดูแลให้ได้ผลผลิตดี
1. โรคสำคัญการปลูกข้าวโพด คือ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ที่สวนก็จะเจอบ้างแต่เพียงเล็กน้อย วิธีแก้ คือการขยันหมั่นตรวจแปลง ดูแลกำจัดหนอนในระยะ 20 วันแรก
2. การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ทนโรค จะช่วยทั้งประหยัดต้นทุนและได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ
3. การให้น้ำ อย่าขาด ข้าวโพดเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยก็จริง แต่ก็ไม่ควรขาดน้ำ ทุก 2-3 วันครั้ง
4. สภาพอากาศต้องไม่ร้อนหรือมีฝนมากเกินไป ถ้าอากาศดีสม่ำเสมอ โรคเชื้อราหรือแมลงแทบจะไม่เกิดเลย
5. สลับแปลงปลูก อย่าปลูกพืชซ้ำหรือพันธุ์ซ้ำๆ ตัวอย่างที่ไร่จะปลูกข้าวโพดหวานจัมโบ้สวีท สลับกับข้าวโพดข้าวเหนียว ขาว ม่วง เพื่อหนีเชื้อโรค และโรคแมลง

ผลผลิตต่อไร่ เฉลี่ยประมาณ 2,400 กิโลกรัม ต่อไร่
ต้นทุนการปลูก ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน รวมแล้วต้นทุนประมาณ 4,500 บาท ต่อไร่ ถือเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ดีกว่าอ้อยมาก
รายได้ แบ่งปลูกเป็นรอบ เพื่อให้มีรายได้เข้ามาทุกๆ 20 วัน ปลูก 3 ไร่ สร้างรายได้ประมาณ 50,000 บาท ต่อครั้ง วิธีการขายจะต่างจากที่อื่นทั่วไป จะไม่ชั่งขายเป็นกิโลกรัม แต่ที่นี่จะนับขายเป็นฝัก แบ่งราคาตามไซซ์ มีตั้งแต่ไซซ์เอ ไซซ์บี ไซซ์ซี และขนาดเล็ก ส่วนนี้จะใส่ถุงขายเป็นกิโลกรัม ซึ่งผลผลิตข้าวโพดหวานของที่ไร่ส่วนใหญ่จะได้เป็นไซซ์เอ กับไซซ์บี ราคาไซซ์เอจะอยู่ที่ ฝักละ 5 บาท ไซซ์บี ราคาฝักละ 4 บาท ส่วนไซซ์อื่นๆ ราคาจะลดลงมาเป็นลำดับ
ตลาด ส่งสี่มุมเมืองที่เดียว จากประสบการณ์ที่เริ่มปลูกข้าวโพดพันธุ์นี้มาปีกว่าๆ ผลตอบรับจากแม่ค้าถือว่าดีมากแม่ค้าชอบ ขายง่าย เพราะข้าวโพดของที่ไร่ฝักใหญ่เสมอกัน สีเหลืองสด เมล็ดเรียงแถวสวย รสชาติหวานกำลังดี เปลือกไม่หนาเกินไป สีเงา เหมาะกับตลาดขายฝักสดมากๆ

ฝากถึงเกษตรกร
“อยากฝากถึงเกษตรกรที่เน้นปลูกแต่เฉพาะพืชเชิงเดี่ยว อยากให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ หันมาลองปลูกพืชอย่างอื่นเสริมสร้างรายได้ ด้วยจะหวังรอแต่รายได้จากพืชหลักทางเดียวท่าทางจะไม่ดี เศรษฐกิจแบบนี้จะอยู่ยาก เพราะนอกจากต้องรอรายได้เพียงอย่างเดียวแล้ว ราคาพืชผลทางการเกษตรก็ไม่แน่นอน มีแต่จะต่ำลงๆ จึงอยากให้ทุกคนหันมาลองปลูกพืชเสริม เพื่อสร้างช่องทางเพิ่มรายได้กันดู อย่างน้อยก็ทำให้มีรายได้เป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์เข้ามา เวลาลูกเปิดเทอมก็ไม่ต้องมีปัญหาไปกู้หนี้ยืมสิ้นคนอื่นเขามา อย่างพี่เคยเจอมาหมดแล้ว แต่เมื่อเริ่มปลูกข้าวโพดหวานเป็นอาชีพเสริม ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น มีเงินใช้ไม่ขาดมือ ให้ทุกคนเริ่มจากพื้นที่เล็กๆ ก่อน ไม่จำเป็นต้องปลูกข้าวโพดหวานอย่างเดียว แต่ให้เลือกปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตัวเอง” พี่สมบัติ กล่าวทิ้งท้าย

ใครจะตกใจไม่ว่ากัน ครั้งแรกที่ฉันได้ยินคนเรียกชื่อ สวนพิซซ่า หรือ Pizza Farm ฉันก็ตกใจ

จะล้อเล่นหรือไง? ใครเขาทำสวนพิซซ่ากัน? พิซซ่ามันต้องทำในห้องครัว ต้องทำในเตาอบ ต้องทำในร้านขายพิซซ่า? ตอนอยู่ที่เมืองแมดิสัน รัฐวิสคอนซิน อเมริกา ฉันชอบไปเที่ยวสวนแอปเปิ้ลประเภทที่เขาปล่อยให้เดินไปดู แล้วให้เก็บเอง สวนพวกนี้จะอยู่นอกเมือง ขับรถออกไปราว 1 ชั่วโมง

เขาจะเก็บค่าเข้าชมสวนเท่านั้นเท่านี้ แล้วเอาถุงพลาสติกให้เราไปถุงหนึ่ง จากนั้นเราอยากเก็บเท่าไรก็เก็บ จะเด็ดกินเดี๋ยวนั้นเลยก็ได้ เพราะเขาบอกว่า แอปเปิ้ล ของเขาไม่มีสารเคมี และเมืองก็ไม่ค่อยมีฝุ่น ดังนั้น การเก็บแอปเปิ้ลจากต้นแล้วเอาเข้าปากเลยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

แต่ฉันยังไม่ได้บอกใช่ไหมว่า นอกจากจะมีสวนแอปเปิ้ล ไร่ฟักทอง ให้เดินเก็บตามสบายแบบนี้แล้ว เขายังมีสวนพิซซ่าด้วย สวนพิซซ่า ไม่ได้ปลูกพิซซ่า แต่ปลูกส่วนผสมที่เอามาทำพิซซ่า ซึ่งก็คือบรรดาพืชผักสมุนไพรนานาที่เขาใส่ลงไปในพิซซ่า ถ้าเอาตามมาตรฐานดั้งเดิมของฝรั่ง ก็จะมี มะเขือเทศ แตงกวา ไทม์ โรสแมรี่ พาร์สลีย์ เซช พริกหวาน หอม ซึ่งบรรดาสวนพิซซ่า หรือ Pizza Farm เหล่านี้ก็คือ สวนที่เขาปลูกสมุนไพรพวกนี่ส่งขายให้กับร้านอาหารน้อยใหญ่ เพื่อนำไปทำพิซซ่า เขาทำกันมาเนิ่นนานหลายสิบปี แต่ละสวนใหญ่หลายสิบไร่

และก็ด้วยอารมณ์เดียวกับเจ้าของสวนแอปเปิ้ลเปิดให้คนเข้าชม สมัครเแทงบอล และเก็บแอปเปิ้ลกินเอง เจ้าของสวนพืชผักสมุนไพรเหล่านี้ก็ดัดแปลงสวนของตัวเองที่เดิมปลูกสมุนไพรพืชผักขายส่งอย่างเดียว มาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหย่อนใจ โดยให้คนเข้ามาเที่ยวชมดูสวน ชมบรรดาพืชผักสมุนไพรที่ปลูก

จากนั้นก็เปิดโอกาสให้สามารถสั่งพืชผักสมุนไพรสดๆ เหล่านั้นมาปรุงเป็นพิซซ่ากินกันสดๆ ในสวน

และก็เช่นเดียวกับสวนแอปเปิ้ลที่มักจะขายขนมที่ปรุงขึ้นจากแอปเปิ้ล ตามผลิตผลที่เก็บได้ในแต่ละช่วง เช่นอาทิตย์นี้เก็บแอปเปิ้ลพันธุ์ที่เหมาะกับการทำพาย เขาก็จะมีพายแอปเปิ้ลขาย ช่วงไหนแอปเปิ้ลที่ทำน้ำแอปเปิ้ลอร่อยออกมา เขาก็จะมีน้ำแอปเปิ้ลขาย หรือจะมีแยมแอปเปิ้ลขาย ว่าไปตามผลผลิตที่เขาเก็บได้

สวนพิซซ่านี้ก็เช่นเดียวกัน แต่ละวันเขาจะมีบอกว่า วันนี้เขาเก็บอะไรได้มาก อะไรที่มันสุกได้ที่กำลังดี เขาจะเอามาทำพิซซ่าให้กิน ถ้าอันไหนยังไม่พร้อมให้กิน เขาก็ไม่เอาขึ้นกระดานบอกเรา เราจะสั่งพิซซ่า เราก็ต้องดูว่าวันนี้เขามีอะไร แล้วสั่งตามนั้น

ลืมไปว่า สวนพิซซ่านี่ เขาไม่แค่ปลูกผัก แต่เขาทำชีสของเขาเอง เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ ทำนม ทำชีสเอง บางสวนทำแป้งพิซซ่าเอง เรียกว่า from farm, to table ของแท้ บางสวนไปกันใหญ่ ขนาดปลูกป่าเอาไม้ทำฟืนเตาอบพิซซ่าของตัวเองด้วยก็มี เรียกว่าทุกอณูของพิซซ่ามาจากฟาร์มนั้นโดยแท้

คนก็ชอบสิ กรี๊ดกร๊าดกับความสดใหม่ ความที่อะไรๆ ก็มาจากฟาร์มนี่มากทีเดียว สุดสัปดาห์นี่ลูกเต้าเฝ้ารอจะได้ไปเที่ยวไปกินพิซซ่าสดจากสวนกันน่าดู ฟาร์มพิซซ่าเหล่านี้ จะไม่บริการโต๊ะตั่งอะไรให้เรานะ เขาจะบอกให้เราเอาผ้า เอาเก้าอี้ ใส่รถไปนั่งกิน เอากระดาษ เอาแก้ว อะไรไปเอง เขาแค่ทำพิซซ่าให้แล้วก็เอาใส่จานหรือกล่องมาเสิร์ฟ แต่ก็มีบางแห่งทำร้านให้นั่งเป็นเรื่องเป็นราว อันนี้แล้วแต่อารมณ์เจ้าของฟาร์มเขา แต่ฉันว่านั่งกินกับพื้นใต้ต้นไม้เลิศหรูที่สุดแล้ว

รัฐวิสคอนซิน ที่ฉันอยู่เป็นรัฐเกษตรกรรม ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่า Corn Belt หรือกลุ่มรัฐที่ปลูกข้าวโพดเป็นหลัก และยังถูกเรียกเป็น The Dairy State of America หรือรัฐแห่งนมเนยของอเมริกา ดังนั้น เรื่องความอุดมสมบูรณ์ทางอาหารจึงไม่น้อยหน้าใคร