ขณะนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วประมาณ ร้อยละ 30

ของผลผลิตทั้งหมด (ประมาณ 9,678 ตัน) และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ส่วนราคาของผลผลิตช่วงต้นฤดูกาล (ปลายเดือนธันวาคม 2561 ถึงกลางเดือนมกราคม 2562) เกรดคละเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 10 บาท/กิโลกรัม ราคาใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ พบว่า หอมหัวใหญ่ในปีนี้มีคุณภาพดีกว่าปีที่แล้ว และเป็นพันธุ์ Super Rex ทั้งหมดตรงกับตามความต้องการของตลาดส่งออก คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย โดยราคาหอมหัวใหญ่เกรดส่งออกคละ จะสูงกว่า 15 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ได้จัดเตรียมแนวทางในการบริหารจัดการหอมหัวใหญ่ที่จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินค้าดังกล่าวมีความผันผวน โดยได้สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้แก่สหกรณ์ เพื่อชะลอการจำหน่ายผลผลิตโดยแขวนผลผลิตและเก็บผลผลิตเข้าห้องเย็นบางส่วนในช่วงที่ผลผลิตออกกระจุกตัวมาก และการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านเครือข่ายสหกรณ์ และจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า (Traceability) ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 และจะขยายผลต่อให้เป็นรูปธรรมต่อไป

กรมส่งเสริมสหกรณ์ขยายผลปั้นสหกรณ์สีขาวทั่วประเทศ หลังส่งเสริมใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารสหกรณ์ หวังสร้างความโปร่งใสและป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในการดำเนินงานของสหกรณ์ ส่งผลต่อการยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นจากสมาชิกและหน่วยงานภายนอก ปี 2562 ตั้งเป้าหมายจำนวนสหกรณ์สีขาวเพิ่ม 1,400 แห่ง เปิดรับสหกรณ์ทุกประเภทที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขยายผลโครงการสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นโครงการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 โดยเชิญชวนให้สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีทุนดำเนินงานเกิน 1,000 ล้านบาท ได้นำหลักธรรมาภิบาล 9 ข้อมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารกิจการสหกรณ์ เพื่อสร้างความโปร่งใส ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องทางบัญชี หรือการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์และส่งกระทบถึงตัวสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งหลักธรรมาภิบาล 9 ข้อ ประกอบด้วย หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักการตอบสนอง หลักภาระรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักการมอบอำนาจ หลักนิติธรรม และหลักความเสมอภาค

ทั้งนี้ หลักธรรมาภิบาลจะช่วยให้สหกรณ์ได้รับการยอมรับและความน่าเชื่อถือจากสมาชิกและหน่วยงานภายนอกที่ต้องติดต่อธุรกิจร่วมกับสหกรณ์ จากการประเมินผลโครงการในปีที่ผ่านมาพบว่า มีหลายสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลแล้วมีผลงานในเชิงประจักษ์ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี การดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสหกรณ์อื่นๆ

ขณะเดียวกัน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสหกรณ์ลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด รวมถึงช่วยป้องกันปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สามารถให้บริการจนทำให้สมาชิกมีความเชื่อมั่นและมีส่วนรวมในการดำเนินงานกับสหกรณ์มากขึ้น ซึ่งในปี 2562 กรมได้ขยายผลการดำเนินโครงการสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล จำนวน 1,400 แห่ง ขณะนี้มีสหกรณ์ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว 823 สหกรณ์ และยังเปิดรับสมัครสหกรณ์ทุกประเภทเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม เพื่อให้สหกรณ์ยึดหลักการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด

“ในอนาคตเมื่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2542 มีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นฉบับปี พ.ศ. 2562 และกำลังจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาในอีกไม่นานนี้ โดยได้มีการกำหนดเรื่องธรรมาภิบาลไว้ในกฎหมาย ซึ่งจะต้องออกเป็นกฎกระทรวงให้ถือปฏิบัติ และหากสหกรณ์ที่ดำเนินการตามแนวทางหลักธรรมาภิบาลแล้ว ก็จะเป็นพื้นฐานที่สามารถปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎกระทรวงออกมาหรือตามที่กฎหมายกำหนดได้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงอยากเชิญชวนให้สหกรณ์ที่สนใจมาสมัครเข้าร่วมโครงการ เพราะธรรมาภิบาลจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการดำเนินการของสหกรณ์

ปัจจุบันมีสหกรณ์หลายแห่งเจริญเติบโตขึ้นมาก สหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งมีมูลค่าสินทรัพย์นับหมื่นล้านบาท สหกรณ์การเกษตรบางแห่งมีทุนดำเนินงานและมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็นพันล้านบาทขึ้นไป ดังนั้น สมาชิกที่นำเงินมาฝากหรือถือหุ้นกับสหกรณ์ ก็ต้องการให้สหกรณ์นั้นมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งโครงการสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาลจะมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลให้คำแนะนำแก่สหกรณ์ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

สำนักงาน กพร. และนักส่งเสริมสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ ซึ่งกรมได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายผลโครงการนี้ให้ครอบคลุมสหกรณ์ทุกแห่งทั่วประเทศในอนาคต เพื่อให้สหกรณ์ในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และเชื่อมั่นว่าหลักธรรมาภิบาลจะช่วยสร้างความมั่นคงและประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับสหกรณ์ได้อย่างดี” รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

50 ปีที่ผ่านมา การระบาดของแมลงวันผลไม้ยังไม่รุนแรงเท่าปัจจุบัน ชมพู่ที่ปลูกไว้ข้างบ้านสามารถเก็บกินได้โดยไม่ต้องห่อ ปัจจุบันถ้าไม่ห่อจะไม่ได้กินแม้แต่ผลเดียว เพราะแมลงวันผลไม้จะเข้าทำลายตั้งแต่ผลยังเล็ก ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นจนหมด ปัจจัยที่ทำให้แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทองเป็นแมลงศัตรูสำคัญของผลไม้ในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนตลอดปี พืชต่างๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะไม้ผลเกือบทุกชนิดเป็นพืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ ซึ่งแมลงวันผลไม้ที่สำคัญในบ้านเราคือ Oriental fruit fly (Bactrocera dorsalis Hendel) มีพืชอาศัยมากกว่า 50 ชนิด และ guava fruit fly (Bactrocera correcta Bezzi) มีพืชอาศัยมากกว่า 36 ชนิด พืชอาศัยของแมลงวันผลไม้ทั้งสองชนิดมีทั้งผลไม้ยอดนิยมที่ชาวบ้านชอบปลูกไว้ประจำบ้าน เช่น ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง และผลไม้ในป่าอีกหลายชนิด

ผลไม้เหล่านี้จะทยอยออกดอกติดผลตลอดทั้งปี และกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้แมลงวันผลไม้สามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้ตลอดเวลา โดยไม่จำกัด เพราะมีพืชอาหารต่อเนื่อง ในโครงการการจัดการแมลงวันผลไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยคิดว่าการลดปริมาณประชากรแมลงวันผลไม้ให้ได้ผลดี จะต้องมีการลดหรือกำจัดพืชอาศัย หรือพืชอาหารของแมลงวันผลไม้ให้ได้มากที่สุด ทั้งผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกแบบทิ้งๆ ขว้างๆ ไว้ตามบ้าน และผลไม้ในป่า ถ้าทำได้โอกาสที่จะลดปัญหาแมลงวันผลไม้ก็พอจะมองเห็นแสงสว่างได้บ้าง

2.เขตแพร่กระจายของแมลงวันผลไม้ทั้ง 2 ชนิด พบระบาดอย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทยไม่มีสภาพภูมิอากาศ และสภาพของภูมิประเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยมาจำกัดการแพร่กระจายระบาดของแมลงวันผลไม้ เมื่อมีการกำจัดในพื้นที่หนึ่ง ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งจนดูคล้ายๆ ว่าปริมาณประชากรของแมลงวันผลไม้ทั้งสองชนิดจะลดลงบ้าง แต่ถ้าหยุดรณรงค์ในการป้องกันกำจัดเมื่อใด ประชากรของแมลงวันผลไม้ที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณโดยรอบก็จะเคลื่อนเข้ามา และระบาดรุนแรงได้เหมือนเดิม

แมลงวันผลไม้มีพฤติกรรมการหากินในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในเวลาเช้าไม่ชอบช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง และแสงแดดจัด แมลงวันผลไม้แต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของแมลงวันผลไม้คือ อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง อุณหภูมิมีผลต่ออายุและพัฒนาการของแมลง ขณะที่ความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโต

ความแข็งแรงของไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ส่วนแสงสว่างมีผลต่อการผสมพันธุ์ และการขยายพันธุ์ แมลงวันผลไม้ส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์มากกว่า 1 ครั้ง แมลงวันผลไม้เพศเมียที่ผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้เพศผู้ที่เป็นหมันแล้ว หลังจากนั้นถ้าไปผสมพันธุ์กับเพศผู้ปกติ ก็มีโอกาสที่จะให้ลูกหลานปกติได้ ตัวเต็มวัยแมลงวันผลไม้มีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 3 เดือน เริ่มผสมพันธุ์หลังฟักออกจากดักแด้ประมาณ 10 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้วสามารถวางไข่ได้ทันทีในวันถัดไป และสามารถวางไข่ได้ทุกวัน วันละประมาณ 1 – 50 ฟอง จนกระทั่งสิ้นอายุขัย

การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ทำได้หลายวิธี สามารถนำวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมมาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุมแมลงวันผลไม้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ทุกวิธีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้จะมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันแมลงวันผลไม้ได้อย่างสมบูรณ์ วิธีการหลักๆ มีดังนี้

4.1การห่อผล เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมมากวิธีหนึ่ง การห่อผลนับว่าเป็นวิธีที่สามารถควบคุมการทำลายของแมลงวันผลไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ทั้งหมด ผลไม้ที่เกษตรกรต้องห่อผลเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของแมลงวันผลไม้ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง มะม่วง กระท้อน เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการห่อผล ได้แก่

-ชนิดของวัสดุห่อ อาจแตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้ ชมพู่จะห่อด้วยถุงพลาสติกหูหิ้ว สีขาว เช่นเดียวกับฝรั่งแต่ในฝรั่งจะมีกระดาษพับเป็นหมวกเจ๊กคลุมป้องกันแสงแดดอีกที มะม่วงจะห่อด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล ถ้าต้องการให้มีสีสวยจะใช้ถุงกระดาษสีน้ำตาลและภายในเป็นกระดาษคาร์บอนสีดำ ส่วนกระท้อนจะห่อด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล วัสดุที่เลือกใช้ห่อจะต้องเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาในการห่อ ตั้งแต่เริ่มห่อจนเก็บเกี่ยว จะต้องเหนียวแน่นทนทาน ไม่ทะลุ หรือฉีกขาดก่อนการเก็บเกี่ยว

-อายุที่เหมาะสมของผลไม้แต่ละชนิดที่จะเริ่มห่อ ควรทราบว่าผลไม้แต่ละชนิดควรห่อเมื่อผลมีขนาดเท่าใด คือต้องรู้ว่าผลไม้แต่ละชนิดแมลงวันผลไม้เริ่มเข้าทำลายในระยะไหน การห่อผลขณะที่ผลยังเล็กเกินไปจะมีผลกระทบ ทำให้ผลแคระแกร็นหรือร่วงได้ แต่ถ้าห่อตอนผลโตเกินไป ก็จะไม่ทัน เพราะแมลงวันผลไม้ได้เข้าทำลายและวางไข่ไว้แล้ว เช่น ชมพู่ แมลงวันผลไม้จะเข้าทำลายเมื่ออายุประมาณ 14 วัน ดังนั้น การห่อผลชมพู่จึงควรห่อในระยะนี้ หรือก่อนหน้านี้เล็กน้อย ในฝรั่งควรห่อเมื่อผลอายุประมาณ 8 สัปดาห์ ส่วนมะม่วงต้องห่อก่อนผลอายุ 2 เดือน

-จำนวนผลที่เหมาะสมในการห่อ ผลไม้ที่ติดผลเดี่ยวๆ จะไม่มีปัญหาเท่าใด แต่ก็ต้องพิจารณาขนาดของวัสดุห่อให้เหมาะสม สำหรับผลไม้ที่ติดผลเป็นช่อ เช่น ชมพู่ ถ้ามีจำนวนผลต่อช่อมากเกินไปจะต้องเด็ดออก ปกติการห่อชมพู่จะใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาว ขนาด 8 x 16 นิ้ว ห่อเมื่อผลอายุ 2 สัปดาห์ จำนวนผล 3-4 ผล ต่อช่อ จึงจะให้ผลดี ผลมีขนาดโต สีสวยในระยะเก็บเกี่ยว แมลงวันผลไม้เข้าทำลายไมได้ เพราะถุงไม่ตึง และไม่ฉีกขาด

-ผลกระทบจากการห่อผลในผลไม้บางชนิดที่ใช้วัสดุทึบห่อ เช่น มะม่วง และกระท้อน จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้ามาหลบอาศัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลของแมลงศัตรูบางชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของผลผลิต จะเห็นได้ว่าการห่อผลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จริงๆ เพราะมีปัจจัยต่างๆ มาเกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะผลไม้ที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ติดผลดกเกษตรกรไม่สามารถห่อได้ทั่วถึงทั้งหมด

4.2 การพ่นสารฆ่าแมลง เป็นวิธีทางเลือกหนึ่งสำหรับลดประชากรแมลงวันผลไม้ที่ทางราชการแนะนำคือ สารโพรไท-โอฟอส 50% อีซี อัตรา 75 มิลลิลิตร หรือมาลาไธออน 57% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร หรือไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร หรือแลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีแมลงวันผลไม้ระบาดมากในแปลงผลไม้ สำหรับวิธีนี้ถ้าเป็นแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ จะเห็นผลในการป้องกันกำจัดชัดเจน

แต่แมลงวันผลไม้วิธีการนี้จะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะเป้าหมายในการพ่นสารไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าตัวแมลงวันผลไม้อยู่ที่ไหน ตามพฤติกรรมจะออกหากินในช่วงเวลาเช้าๆ ผลไม้ที่มีอายุและขนาดผลต่างๆ กัน จะมีการทำลายของแมลงวันผลไม้ในระยะต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยระยะไข่ หนอนวัยแรกจนถึงวัยสุดท้าย ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในผล และมีความทนทานต่อ สารฆ่าแมลงแตกต่างกัน เมื่อเป็นหนอนวัยสุดท้ายจะเจาะออก และดีดตัวลงไปเข้าดักแด้ในดิน จะเห็นได้ว่า การพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้จะไม่ค่อยตรงเป้าหมายที่ต้องการกำจัด ในทางตรงกันข้ามอาจไปทำลายศัตรูธรรมชาติพวกตัวห้ำ (แมงมุมชนิดต่างๆ) และตัวเบียน (แตนเบียนชนิดต่างๆ) มากกว่า

4.3 การพ่นด้วยเหยื่อพิษ เหยื่อที่นำมาใช้จะเป็นพวกยีสต์โปรตีน นักวิชาการได้อาศัยหลักพื้นฐานทางชีววิทยา ของแมลงวันผลไม้ที่พบว่า ตัวเต็มวัยของแมลงวันผลไม้หลังจากฟักออกมาจากดักแด้จะต้องการอาหารที่เป็นโปรตีนจำนวนมาก เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ และการวางไข่ และอาหารที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบจะเป็นตัวดึงดูดแมลงวันผลไม้ได้อย่างดี จึงนำยีสต์โปรตีน ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงานอุตสาหกรรมมาผสมกับสารฆ่าแมลง นำไปฉีดพ่นให้แมลงวันผลไม้กิน โดยใช้ยีสต์โปรตีน อัตรา 200 มิลลิกรัม ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไธออน 57% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร พ่นในเวลาเช้าทุก 7 วัน

วิธีการพ่นอาจพ่นเป็นจุดไม่ต้องพ่นคลุมทั้งต้น เช่น ในฝรั่ง จะเดินตามแถวปลูก แล้วพ่นทุกๆ 5 ก้าว ในทรงพุ่มจุดละประมาณ 50 มิลลิลิตร ในช่วงก่อนห่อผล 1 สัปดาห์ ถึงระยะเก็บเกี่ยว แมลงวันผลไม้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่ออกหากินในช่วงเช้าจะมากินเหยื่อพิษที่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ และตายในที่สุด เป็นวิธีการที่สามารถลดปริมาณประชากรแมลงวันผลไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง

ถึงแม้ได้ชื่อว่าอยู่ในพื้นที่เมืองสี่แคว แต่ไพศาลีดูร้อนแล้ง สภาพทั่วไปที่เห็น…เกษตรกรทำพืชไร่ ขึ้นชื่อมากๆ คือ ปลูกอ้อย ส่งโรงงานน้ำตาล ปลูกมันสำปะหลัง

ครอบครัวของ คุณสุธาสินี วันดี ทำพืชไร่มานาน จนกระทั่งเธอเรียนจบทางด้านพืชผัก จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงเริ่มมีปรับแผนการทำเกษตร สิ่งที่เธอทำอยู่ ถึงแม้เริ่มต้นไม่นานนัก แต่หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มสดใส นำมาซึ่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่

คุณนก เล่าว่า เดิมทางบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป

งานเกษตรที่ทำกันคือ นาข้าว อ้อย มันสำปะหลัง มะขามเทศ สิ่งที่ประสบเหมือนกับเกษตรกรที่อื่นคือ ราคาตกต่ำ

“แต่เดิมเป็นคนที่ไม่ชอบเรียนหนังสือ เมื่อจบ ม.ปลาย มีความคิดว่าจะเรียนอะไรดีที่เหมาะสมกับตัวเราเองมากที่สุด ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ตอนแรกก็คิดว่าเรียนไปเถอะ เรียนให้จบๆ ไป อยากให้ครอบครัวภูมิใจบ้าง คนต่างจังหวัดหากบุตรหลานมีการศึกษาสูงๆ นั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดี ช่วงนั้นมีโควต้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้มา เป็นโควต้าเรียนดี หนึ่งในนั้นมีสาขาพืชศาสตร์ เลยตัดสินใจเรียนที่นี่ ด้วยความที่ไม่ชอบเรียนหนังสือ จึงทำให้วันหนึ่งมีความคิดขึ้นมาว่า หากวันหนึ่งต้องไปทำงานประจำ ชีวิตคงไม่ต่างจากการที่ต้องตื่นไปเรียนหนังสืออย่างแน่นอน หากต้องใช้ชีวิตแบบนั้นไปจนเกษียณ คงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ๆ” คุณนก เล่า

หลังเรียนจบ เธอมุ่งกลับบ้านเกิด ลุยงานเกษตรเต็มที่

พ่อแม่ภาคภูมิใจ
พื้นที่สำหรับทำการเกษตรของคุณนก มีความพร้อม พ่อแม่มีเครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง เธอไฟแรงและมีความหวังว่า ต้องประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว

ความนึกคิดกับความจริงต่างกัน แรกๆ สิ่งที่ทำไม่เป็นอย่างที่เรียนมา แต่เธอก็ไม่ท้อ

“ในช่วงปีแรกๆ คือ มีความมั่นใจมากว่ามันต้องดี ต้องได้ นั่นนี่ แบบไม่คิดถึงความล้มเหลวเลยแต่อย่างใด เหมือนคนร้อนวิชา อยากทำอะไรก็ทำ ใส่ไม่ยั้ง สรุปคือ ล้มไม่เป็นท่า เพราะบริหารจัดการอะไรไม่เป็น ตอนนั้นคือถอดใจแล้วเหมือนกัน เพราะความล้มเหลวที่ไม่เป็นท่า ด้วยคำว่าเกษตรมันค้ำคอ ความกดดันและความเครียดทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ…หลังจากนั้นหยุดทุกอย่างไปสักพัก

เลยออกไปเที่ยว ไปหาประสบการณ์ ไปคุยกับนักธุรกิจ ทำไมเขาถึงประสบความสำเร็จ คุยกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ขออนุญาตเอ่ยนาม อาจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ ที่เป็นทั้งนักวิชาการ เป็นครู เป็นคนที่คอยให้คำปรึกษา และคุยกับพี่ๆ ที่ สวทช. ท่านหนึ่ง หลังจากนั้นจึงเงียบไปพักหนึ่ง จึงรวมสติตัวเองใหม่ และเริ่มทำใหม่อีกครั้ง บวกกับครอบครัวที่พร้อมจะเดินไปกับเราเสมอ จึงทำให้ตอนนี้พอผลผลิตออกมา จากที่เคยคัดทิ้งขายไม่ได้ กลายมาเป็นการสร้างมูลค่า อย่าง มะม่วงลูกบิดเบี้ยวขายไม่ได้ นำมาแช่บ๊วยดู สรุปขายได้ ผู้ซื้อตอบรับดี งานจึงพัฒนาขึ้นตามลำดับ” คุณนก เล่า

ช่วงที่เรียนจบใหม่ คุณนกได้ปลูกพืชผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์เจ้าตัวอธิบายว่า อย่างแรก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผสมเปิด สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ การจัดการปลูกที่ดี เพื่อป้องกันการผสมข้ามจากพันธุ์อื่นๆ การจัดการไม่ค่อยยุ่งยากนัก แบบนี้มักรู้จักกันในนาม โอพี (op)

อย่างที่สอง ผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม F1 เป็นการผสมระหว่างต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย โดยเมื่อทำการผสมแล้ว ต้องคลุมด้วยกระดาษไข ป้องกันการผสมปนจากพันธุ์อื่นๆ แล้วทำการมัดไหมพรม หรือคล้องหนังยาง ระบุว่า ดอกนี้ได้รับการผสมแล้ว หากผสมไม่ติดดอกก็จะฝ่อและแห้งลง ถ้าดอกไหนผสมติด ก็จะเจริญเติบโตต่อไป

งานผลิตเมล็ดพันธุ์มีเป็นช่วงๆ ถึงแม้ไม่ได้ทำเป็นหลัก แต่ก็ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงาน แก้วขมิ้น ผลตอบรับดี

เนื่องจาก คุณนก มีญาติอยู่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งติดชายแดนกัมพูชา ประเทศนี้เขาขึ้นชื่อและเป็นต้นกำเนิดของมะม่วงแก้วขมิ้น ทางครอบครัวเห็นว่าน่าสนใจ จึงทดลองปลูก

“มีความสนใจในรสชาติมะม่วงแก้วขมิ้น มะม่วงถือเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตดีแทบทุกพื้นที่ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก จึงเริ่มสั่งต้นพันธุ์เข้ามาปลูก แรกสุดปลูก 2 ไร่ เมื่อมีผลผลิต ทดลองนำไปจำหน่ายดู ปรากฏว่าตอบรับดี จึงขยายพื้นที่ออกไป 30 ไร่ สำหรับที่อำเภอไพศาลี น่าจะเป็นเจ้าแรกๆ ที่นำมาปลูก เริ่มปลูกครั้งแรก ปี 2557 ส่วนแปลงใหญ่ปลูกเมื่อเดือนเมษายน 2561…ต้นพันธุ์ที่นำมา ได้จากการเพาะเมล็ด ยังไม่พบการกลายพันธุ์…บางช่วงน้ำท่วมขัง ต้นก็อยู่ได้ไม่ตาย คงเป็นเพราะทน เป็นต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั่นเอง” บัณฑิตสาวจาก ม.แม่โจ้ เล่าที่มาของการปลูกมะม่วงแก้วขมิ้น

ผลิตมะม่วงนอกฤดูปกติมะม่วงโดยทั่วไป จะออกดอกเดือนพฤศจิกายน มีผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูกาลเช่นนี้ผลผลิตจะถูก คุณนกและครอบครัวได้ผลิตนอกฤดู โดยการราดสาร

เจ้าของสวนมะม่วงบอกว่า เริ่มราดสารเดือนกรกฎาคม หลังราดสาร 3 สัปดาห์ ฉีดพ่นด้วยไธโอยูเรีย และโพแทสเซียมไนเตรต เพื่อทำการดึงดอก ฉีด 2 ครั้ง โดยฉีดห่างกัน 1 สัปดาห์

สารที่ราดคือ สาร “พาโคลบิวทราโซล” เนื่องจากต้นขนาดเล็ก จึงใช้ 200 กรัม ต่อต้น

ผลผลิตจากการราดสาร จะทยอยออกเดือนตุลาคม ช่วงนี้ผลยังไม่แก่ แต่ขายได้เป็นมะม่วงยำ จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตแก่เต็มที่ ขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท ผลผลิตมะม่วงที่เก็บได้ 30-50 กิโลกรัม ต่อต้น เนื่องจากต้นยังเล็กอยู่ เมื่อต้นโตขึ้น ผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับแปรรูปจำหน่ายสร้างมูลค่าเพิ่ม

“ผลผลิตมะม่วงแรกๆ ผลเล็ก จัดเป็นมะม่วงตกเกรด เขารับซื้อในราคาที่ต่ำมาก ส่วนหนึ่งถูกคัดทิ้งไปเลย หลังๆ จึงนำมาแปรรูป ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มะม่วงตกเกรด ขนาด 4-5 ผล ต่อกิโลกรัม ราคาซื้อขาย กิโลกรัมละ 4 บาท เมื่อแปรรูป ขายได้ลูกละ 10 บาท” คุณนก เล่า

งานแปรรูปของที่นี่ คือ ทำมะม่วงแช่บ๊วยมั่นใจในผลผลิต
บัณฑิตสาวจากแม่โจ้เล่าถึงวิธีการแปรรูปว่า นำมะม่วงมาปอกเปลือก แล้วแช่ด้วยน้ำปูนใส เพื่อให้มะม่วงมีความกรอบ ผลผลิตมะม่วงไม่ควรอ่อนหรือแก่เกินไป

ส่วนผสมต่างๆ ประกอบด้วย…บ๊วยดอง 2-3 ช้อนโต๊ะ, หัวน้ำตาล (ดีน้ำตาล) จำนวนเล็กน้อย อย่าใส่มากจะขม,น้ำตาลทรายครึ่งกิโลกรัม, เกลือป่นนิดหน่อย, สีผสมอาหารสีเขียวครึ่งช้อนชา…นำส่วนผสมต่างๆ ผสมในน้ำต้มสุก

นำมะม่วงที่ปอกเปลือกไว้ ใส่ลงไป กลิ้งไปมา นาน 10 นาที แล้วบรรจุใส่ถุง แช่ในตู้เย็น เพิ่มความอร่อย พร้อมที่จะนำออกจำหน่ายได้

“ผลผลิตมะม่วงนอกฤดู นำออกขายตามตลาด ขายดี ผลผลิตที่ได้เกณฑ์มาตรฐาน ก็ขายผลสด แต่หากตกเกรด ก็แปรรูปขาย พืชอื่นที่ปลูกมีฝรั่งพันธุ์กิมจูและแป้นสีทอง เป็นพืชที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตเร็วหลังปลูก ผลผลิตขายกิโลกรัมละ 20-25 บาท หากผลผลิตตกเกรดก็นำมาแช่บ๊วย ทำคล้ายๆ กับมะม่วง” เจ้าของบอก

งานที่ทำเราได้พัฒนาตัวเองบ้านของเราได้พัฒนาไปด้วยพ่อแม่คุณนกยังคงผลิตพืชไร่ คือ อ้อยส่งโรงงานเมื่อลูกสาวสนใจปลูกไม้ยืนต้น พ่อแม่สนับสนุนเต็มที่ ผืนดินบางแปลง จึงมีโรงเรือนปลูกพืช มีสระน้ำ รอบๆ สระน้ำมีพืชพันธุ์ดีใหม่ๆ เช่น มะพร้าวกะทิ จากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ก็มีการนำมาทดลองปลูก

มะม่วงแก้วขมิ้นแปลงใหญ่ ก็โตวันโตคืนผลผลิตฝรั่งก็มีรายได้ต่อเนื่อง

“พยายามปลูกพืชที่ขายเป็นรายได้รายวัน จากนั้นดูว่าขายได้เป็นรายเดือน และขายเป็นฤดูกาล…เรียนแล้วมาทำเกษตร…ตอนนี้ภูมิใจมากค่ะ เลือกไม่ผิดจริงๆ ค่ะที่เรียนเกษตรมา ถึงไม่มีตำแหน่งการงานสวยหรู แต่ทุกวันนี้ได้อยู่กับครอบครัวทุกวัน ไม่ต้องคอยคิดถึงกับข้าวฝีมือแม่…งานที่ทำเราได้พัฒนาตัวเอง บ้านของเราได้พัฒนาไปด้วย”

กรุงเทพฯ – ประเทศไทย (29 มกราคม 2562) – ยันม่าร์ ผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรได้เปิดตัวแทรกเตอร์ รุ่น YM ที่ตอบสนองการทำงานของเกษตรกรได้อย่างยอดเยี่ยม เครื่องยนต์ทรงพลังทำงานง่าย ทั้งงานนาและงานไร่ พร้อมด้วยระบบ SMARTASSIST Remote (SA-R) หรือระบบควบคุมทางไกลอัจฉริยะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัย ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม มีความแม่นยำ

พร้อมเครื่องยนต์ทรงพลังให้กำลังขับเคลื่อนสูง ประหยัดน้ำมัน ระบบเกียร์ซิงโครเมชปรับระดับความเร็วได้ตามความต้องการของการใช้งาน เบาะนั่งขับและที่พักเท้าที่กว้างขวาง ออกแบบมาให้รู้สึกสบายในขณะขับขี่ ทำให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปิดตัวแทรกเตอร์ยันม่าร์ รุ่น YM ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปิดตัวแทรกเตอร์ รุ่น YM ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทย โดยคาดว่าแทรกเตอร์ รุ่น YM นี้ จะสามารถครองตลาดได้ในทั้งปีนี้ และปีต่อๆ ไปอย่างแน่นอน