“ขมิ้นชัน” ไม่ใช่ยารักษาโรคแต่ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรเครื่องเทศ

ที่ใส่ในอาหารในชีวิตประจำวัน โดยนำมาปรุงแต่งและใช้ประกอบอาหารซึ่งพบมากทางภาคใต้ จะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง สำหรับคนใต้ขมิ้นชันเป็นเครื่องเทศที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีแล้ว ยังเป็นสมุนไพรปรุงรส และช่วยสมานแผลได้อีกด้วย

คนใต้ส่วนใหญ่จะใช้เหง้าใต้ดินของขมิ้น (หัวขมิ้น) มาผสมในเครื่องแกงต่างๆ รวมทั้งใช้ปรุงอาหารใต้เกือบทุกเมนู ส่วนใบของขมิ้นจะนำมาเป็นผักเหนาะและส่วนผสมของข้าวยำปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่ออีกด้วย นับว่าเป็นความชาญฉลาดของคนใต้ที่คิดหาวิธีกินขมิ้นโดยประยุกต์เข้ากับอาหารได้เป็นอย่างดีซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาทางด้านโภชนาการ และเวชการของคนใต้ที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ขมิ้น มีด้วยกัน 7 สายพันธุ์ แต่เมืองไทยพบ 4 สายพันธุ์ คือ

ขมิ้นอ้อย คนโบราณใช้ช่วยขับลม แก้ท้องร่วง มีสารรสฝาดทำให้แผลหายเร็ว แก้ฟกบวม เป็นสายพันธุ์เดียวที่พบในญี่ปุ่น ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมใช้บำรุงตับ
ขมิ้นขาว (หัวม่วง = คนใต้) นิยมกินกับน้ำพริก
ขมิ้นดำ คนโบราณนิยมนำมาทำน้ำมันหอมระเหย
ขมิ้นชัน มีสรรพคุณโดดเด่น ได้รับความสนใจจากวงการแพทย์ มีหลายหน่วยงานศึกษา “ขมิ้นชัน” ในเชิงการแพทย์ จนขมิ้นชันได้รับการขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย
“ขมิ้นชัน” มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่น เช่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้หมิ้น หมิ้น (ใต้) ตายอ (กะเหรียง- กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน) ชื่อสามัญ : Turmeric, Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma Longa L.

“ขมิ้นชัน” เป็นไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะตัว ในขมิ้นชันมีสารสำคัญ 2 ชนิด คือ กลุ่มที่เป็นสารให้สี คือ เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoid) พบประมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งร้อยละ 50-60 ของเคอร์คูมินอยด์ที่พบ เป็นเคอร์คิวมิน (curcumin)โมโนเดสเมท็อกซีเคอร์คูมิน (monodes methoxy curcumin) และบิสเดลเมท็อกซเคอร์คูมิน (bis- desmethoxy curcumin) ส่วนสารสำคัญอีกกลุ่ม คือ น้ำมันหอมระเหย ที่ประกอบด้วย โมโนเทอร์พีนอยด์ (monoterpenoin) และเซสควิเทอร์พีนอยด์ (sesquiterpenoids)

“ขมิ้นชัน” มีชื่อเสียงทางสรรพคุณยามากขึ้นเรื่อยๆ โดยสารสีเหลืองส้มในขมิ้นนั้น พบว่ามีคุณค่าต่อสุขภาพมนุษย์ สำหรับขมิ้นชันที่ปลูกในภาคใต้ถือว่าดีที่สุดในโลก เพราะมีสารเคอร์คิวมินและน้ำมันขมิ้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการปลูกขมิ้นทั้งหมด สารเคอร์คิวมินที่พบในขมิ้นชันนั้นเชื่อว่ามีฤทธิ์แอนติออกซิเดชั่นอย่างแรง และสามารถจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงของเซลล์ต่างๆ ได้

การกินขมิ้นชัน ควรเลือกที่ได้คุณภาพ คือ ต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้และ ต้องไม่เก็บไว้นานเกินไปจนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องเก็บให้พ้นแสง เพราะแสงจะมีปฏิกิริยากับสารสำคัญอย่างเคอร์คิวมิน หากจะกินขมิ้นเป็นประจำก็ควรปลูกและดูแลเองโดยนำแง่งขมิ้นชันมาปลูกรดน้ำพอชุ่ม วันละ 1-2 ครั้ง ก็สามารถปลูกขมิ้นไว้กินได้แล้ว และยังสามารถควบคุมคุณภาพได้ แถมประหยัดเงินในกระเป๋าอีกด้วย แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ควรเลือกแหล่งซื้อที่ไว้ใจได้

ปัจจุบันขมิ้นชันแคปซูล เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและเป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐาน สามารถที่จะเบิกค่ายาจากระบบสุขภาพต่างๆ ได้ อีกทั้งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ขมิ้นชันสามารถขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านได้แล้ว ดังนั้นจึงสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณขมิ้นชัน

“ขมิ้นชัน” มีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว และยังเชื่อว่าน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณต้านโรคร้ายที่เกิดจากอนุมูลอิสระอย่างมะเร็งได้ และการรับประทานขมิ้นพร้อมกับอาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ ช่วยกำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็งได้ “ขมิ้นชัน” ไม่มีพิษเฉียบพลันจึงมีความปลอดภัยสูง การกินอาหารที่ใส่ขมิ้นจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์

“ขมิ้นชัน” เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด รักษาโรคทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้อาการปวดตามข้อ- เข่า และยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา แต่ ก็มีข้อระวังเช่นกัน คือ ไม่ควรรับประทานมากหรือติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด สตรีมีครรภ์อ่อนๆไม่ควรกินขมิ้นชันในปริมาณมาก อาจจะทำให้แท้งได้ หากกินขมิ้นชันแล้วเกิดอาการแพ้ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดหัว ควรหยุดรับประทานทันที

ปัจจุบัน มีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้นตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม รวมทั้งมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะ ข้อจำกัดของการกินขมิ้นชัน ผลงานวิจัยพบว่า การกินขมิ้นชัน ช่วยลดการจุกเสียดและปวดชะงักมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาลดกรดอะลั่มมิลด์ พบว่าขมิ้นชันมีอัตราการแก้ปวดท้องได้ดีกว่า

การนำ “ขมิ้นชัน” มาใช้ในตำรับยา และตำรับอาหาร เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้บ่มเพาะมาแต่อดีต ถ้าเราศึกษาภูมิปัญญาของไทยตามความเชื่อเข้าใจเรื่องอาหาร และยาสมุนไพรโอกาสที่จะเกิดโรคนั้นมีน้อย เพราะในอาหารก็คือยา ยาก็คืออาหาร การเข้าใจเรื่องประโยชน์ของอาหารและยาสมุนไพร โดยเฉพาะเรื่องสรรพคุณ เราก็จะได้ประโยชน์จากอาหารนั้น

“ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรที่คนไทยกินเป็นประจำอยู่แล้ว ถ้าเราตระหนักถึงคุณค่าของขมิ้นชันในมิติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ควรส่งเสริมการกินขมิ้นชันเพื่อสุขภาพให้มากขึ้น หากขมิ้นชันเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีทุกบ้าน จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมหาศาล โดยเกษตรกรทั่วประเทศ จะมีรายได้จากการปลูก การขาย การผลิตเป็นยา การจำหน่ายขมิ้นชัน เป็นการสร้างงานอีกจำนวนมาก สมุนไพรไทยนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาไทย ถ้าเรานิยมวัฒนธรรมต่างชาติมากเท่าไร เราก็ยิ่งพึ่งตนเองได้น้อย และสูญเสียทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ผลไม้แปลกที่น่ามหัศจรรย์ยังมีอีกมากมาย ที่ยังไม่ถูกค้นพบหรือยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ประเทศบราซิลเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ นอกจากคนในพื้นที่จะนิยมปลูกพืชและต้นไม้ไว้ใช้สอยบริเวณบ้าน ยังนิยมทำการเกษตรอีกด้วย และยังขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีผลไม้แปลกๆ มากมาย ที่หาได้ยากในประเทศอื่นๆ

องุ่นบราซิลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ชมพู่ มีความสูงอยู่ที่ 10-15 เมตร เป็นไม้โตช้า ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ลักษณะใบเดี่ยว ใบอ่อนเป็นสีแดง ใบแก่แล้วเป็นสีเขียว ดอก เป็นดอกช่อสีขาวคล้ายชมพู่ ผลมีลักษณะคล้ายองุ่น ทรงกลม ออกเป็นกระจุกแน่นตามลำต้น และกิ่งก้าน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีม่วงเกือบดำ ลักษณะคล้ายผลตะขบไทย มีเมล็ดอยู่ข้างใน

ผลสุกเมื่อเก็บแล้วก่อนทานต้องฉีกเปลือกออกก่อน เพราะเปลือกมีความหนาและเหนียว เนื้อด้านในจะเป็นปุยสีขาวคล้ายเนื้อกระท้อน และที่มันได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมาก เป็นเพราะลูกองุ่นบราซิลจะให้รสชาติถึง 7 รสชาติในลูกเดียว ขึ้นอยู่กับวันที่ทาน ตั้งแต่ลูกองุ่นที่ห่ามจัด ไปจนถึงผลที่สุกเต็มที่

วันแรกที่เพิ่งเด็ดลูกองุ่นออกมาจากต้น เป็นลูกที่ยังห่ามไม่สุกมาก รสชาติจะคล้ายฝรั่ง, วันที่ 2 รสชาติจะคล้ายมังคุด, วันที่ 3 รสชาติคล้ายลิ้นจี่, วันที่ 4 รสชาติจะคล้ายเสาวรส, วันที่ 5 รสชาติคล้ายน้อยหน่า, วันที่ 6-8 รสชาติคล้ายองุ่นที่สุด, วันที่ 9 คือวันที่องุ่นบราซิลมีรสชาติดีที่สุด มีความเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมมากที่สุด นับได้ว่าเป็นผลไม้ที่เสริมจินตนาการของผู้ที่ได้ทานเป็นอย่างมาก

ผลสุกสามารถใช้แปรรูปเป็นน้ำผลไม้ วิสกี้ ไวน์ แชมเปญ และแยม แต่ส่วนมากนิยมทานสด หาซื้อได้ตามท้องตลาดในประเทศบราซิล องุ่นบราซิลยังพบสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็งในผลสุกอีกด้วย

คุณจิ๊บ เกษตรกรปลูกผลไม้แปลก บ้านไร่พึ่งสวน กล่าวว่า จริงๆ แล้ว องุ่นบราซิลปลูกกันเกือบทุกบ้าน เหมือนเป็นไม้ผลคู่บ้านที่ชาวบ้านในหมู่บ้านนิยมปลูก เพราะเกิดมาก็เห็นต้นองุ่นบราซิลแล้ว (หมู่บ้านพังงอน ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี) องุ่นบราซิลเป็นผลไม้แปลกอีกหนึ่งชนิดที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกัน แต่เมื่อปีที่แล้วจนถึงปีนี้ ด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับตลาดออนไลน์เป็นหลัก ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง องุ่นบราซิลจึงเป็นที่รู้จักอย่างมากในช่วงเวลานี้ จากเดิมทีปลูกเป็นไม้ผลคู่บ้านเอาไว้ทาน แต่ตอนนี้สามารถสร้างรายได้งามๆ เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่น่าสนใจ

คุณจิ๊บ กล่าวว่า องุ่นบราซิลถือเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ทนทานอย่างมาก การเพาะต้นกล้านิยมใช้เมล็ดพันธุ์ เนื่องจากการตอนกิ่งค่อนข้างยากพอสมควร เพราะองุ่นบราซิลลำต้นไม่มีเปลือกไม้หนาๆ ห่อหุ้ม ทำให้การตอนกิ่งยากยิ่งขึ้น เช่น ตอนกิ่ง 100 ต้น แต่ประสบความสำเร็จเพียง 3 ต้น เพื่อลดความเสี่ยงและได้ผลผลิตอย่างแน่นอนจึงนิยมเพาะพันธุ์ด้วยเมล็ด

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ต้นกล้าองุ่นบราซิลด้วยเมล็ด จำเป็นต้องใช้ดินทรายในการเพาะ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์องุ่นบราซิลชื่นชอบให้น้ำไหลผ่านแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงทำให้เมล็ดพันธุ์องุ่นบราซิลเจริญเติบโตได้ดีในดินทราย ใส่ดินทรายลงถุงเพาะครึ่งถุง จากนั้นใส่เมล็ดพันธุ์ลงไปและใส่ดินทรายให้เต็มถุง นำไปวางไว้ที่แปลงเพาะ มีแดดรำไร ไม่แดดจัด

การรดน้ำต้นกล้าต้องรดน้ำทุกวันให้แฉะ เพราะเนื่องจากดินทรายไม่อุ้มน้ำ แต่ต้นกล้าก็ยังจำเป็นต้องได้รับน้ำที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต เมื่อต้นกล้ามีอายุ 3-4 เดือน จะให้อาหารเสริมทางดินเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นกล้าเข้าสู่ 4 เดือน จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอัตราการตายมีสูง หากดูแลผ่านเดือนที่ 4 ไปได้ ต้นสมบูรณ์แข็งแรงดี ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้

การเพาะต้นกล้าองุ่นบราซิลค่อนข้างยาก ต้นจะอ่อนแอมาก อัตราการตายสูง และจะสูงมากเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4 ดังนั้น ผู้ที่กำลังเพาะต้นกล้าองุ่นบราซิลจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด คอยสังเกต ดิน น้ำ แสงแดด สภาพอากาศรอบข้าง และการให้อาหารเสริมทางดินเพื่อให้ต้นสมบูรณ์ที่สุด

เมื่อต้นกล้าที่สมบูรณ์ลงแปลงปลูกแล้ว หลังจากนี้จะทนทานมาก ถือเป็นไม้อีกชนิดที่ทน แข็งแรง และตายยาก องุ่นบราซิลเป็นพืชที่โตช้า 4-5 ปี จึงจะสามารถให้ผลผลิตได้ และจะเติบโตให้ผลผลิตดีหากมีน้ำไหลผ่านสม่ำเสมอหรือรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ องุ่นบราซิลไม่ชอบแดดที่ร้อนจัดจึงจำเป็นต้องมีไม้พี่เลี้ยงที่คอยให้ร่มเงา

ปกติแล้วจะออกดอกปีละ 1 ครั้ง และให้ผลผลิต แต่หากดูแลดีๆ ก็สามารถออกดอกและให้ผลผลิตได้ 3 ครั้ง ใน 1 ปี คุณจิ๊บ กล่าวว่า ปัจจุบัน องุ่นบราซิลที่ทางสวนขายสามารถขายได้ กิโลกรัมละ 60 บาท ถือว่าเป็นราคาที่สูง เพราะต้นองุ่นบราซิลไม่มีค่าใช้จ่ายมากมายในการดูแล เพราะทนทานต่อโรคอย่างมาก เพียงแค่หมั่นรดน้ำ และเป็นพืชอายุยืนที่สามารถให้ผลผลิตได้อีกนาน

สำหรับท่านใดที่สนใจ ผลผลิตองุ่นบราซิล ต้นกล้าองุ่นบราซิล ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณแพวพันธ์ คงสุนารัตน์ หรือ คุณจิ๊บ อายุ 37 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 1213 ถนนกองวัคซีน ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 099-401-1991 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก บ้านไร่พึ่งสวน

ช่วงเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน หากใครยังไม่มีแผนท่องเที่ยวที่ไหน อยากชวนไปท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร ในแหล่งวิจัยพืชสวน 24 แห่งทั่วไทยของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวธรรมชาติที่ได้รับความรู้ ความสุข เพลิดเพลิน เสมือนการพักผ่อนที่ได้รับการลับสมองไปในตัว

กรมวิชาการเกษตร มีศูนย์วิจัยตั้งอยู่ในแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ศูนย์วิจัยฯ ทุกแห่งมีภารกิจสำคัญด้านการศึกษาวิจัย พัฒนาแปลงการผลิตพืช ขยายพันธุ์ การอารักขาพืช การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร แปลงต้นแบบการผลิตพืชทฤษฎีใหม่ แปลงรวบรวมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช เรียกว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรอย่างครบวงจร

ดร.ชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในแต่ละปีมีเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสนใจเข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยทั่วประเทศกว่าแสนราย เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบครบวงจรที่สนุกได้ความรู้ นำไปพัฒนาต่อยอดพัฒนาอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตรได้ตลอดทั้งปี โดยศูนย์วิจัยฯ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ เช่น ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง) จัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ (Countdown) ในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จัดกิจกรรมตามรอยกาแฟ แลดอกนางพญาเสือโคร่ง ช่วงเดือนมกราคม 2566 ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ จัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีอะโวกาโด ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้น

1. ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

สัมผัสทัศนียภาพที่สวยงามและความหลากหลายของพรรณไม้ดอกไม้ประดับ ไม้เมืองหนาวนานาชนิด กล้วยไม้หายาก ชมทุ่งดอกปทุมา กระเจียว ศูนย์เรียนรู้แปลงต้นแบบการผลิตพืชตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” สนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การผลิตชาเขียวกู่หลาน การเพาะเห็ด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีหมุนเวียนตามฤดูกาล

2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย แหล่งท่องเที่ยวทางเกษตรบนยอดดอยที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เป็นที่ศึกษาดูงานการผลิตพันธุ์พืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง อาทิ มะคาเดเมีย ชาจีน ชาอัสสัม ไม้ผลเมือง เช่น สาลี่ ท้อ บ๊วย การผลิตกาแฟแบบครบวงจร พร้อมสัมผัสวิถีชาวเขาท่ามกลางอากาศเย็นสบายตลอดปี ชมไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว สวยสดใส แปลกตา พร้อมชง ชิม ชาพันธุ์ดี

3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ เป็นแหล่งศึกษาวิจัยพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน รวบรวมและปรับปรุงพันธุ์พืช เช่น ลิ้นจี่ มันฝรั่ง ชา กาแฟ หน้าวัว มะคาเดเมีย พืชผัก ชมแปลงสาธิตการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สนุกกับกิจกรรม walk rally และการเดินป่าชมทัศนียภาพความงามของขุนเขาที่โอบล้อมรอบอำเภอฝาง

4. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

เป็นศูนย์วิจัยพัฒนาพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่รวบรวมไว้มากที่สุดของประเทศไทย เป็นแหล่งวิจัยทดสอบและพัฒนาพันธุ์พืชจากต่างประเทศ เช่น มะคาเดเมีย กาแฟอาราบิก้า ไม้ผลเมืองหนาว อาทิ พีช เน็คทารีน บ๊วย พลับ ชมสีสันของไม้เมืองหนาว และดอกนางพญาเสือโคร่งบานสะพรั่งทั้งดอยขุนวาง ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

5. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่จอนหลวง)

ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศแห่งขุนเขา อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สัมผัสกับความงดงามไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลเมืองหนาวหลากหลายชนิด เป็นศูนย์วิจัยและขยายพันธุ์พืชบนที่สูง เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร สามารถชมทะเลหมอก ดูพระอาทิตย์ตก พร้อมจิบชา-กาแฟ ในบรรยากาศอันน่าประทับใจ

6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน

ชมไม้ดอกเมืองหนาว แปลงรวบรวมพันธุ์มะคาเดเมีย ไม้ผลและพืชผัก ชมศูนย์เรียนรู้แปลงต้นแบบการผลิตพืชตามแนวพระราชดำริ “เกษตรทฤษฎีใหม่” การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เอื้องแซะตามพระราชเสาวนีย์ ชมการแปรรูปและชิมกาแฟอาราบิก้า บรรยากาศสวยงามสงบติดลำน้ำปาย ล่องเรือชมธรรมชาติและทัศนียภาพริมน้ำปาย และภายในศูนย์วิจัยฯ ได้ตลอดทั้งปี

7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่

ตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติห้วยเปิ้ล เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืช มีการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ให้ท่องเที่ยวในด้านต่างๆ เช่น ศึกษาพันธุกรรมและการขยายพันธุ์พืช การเพาะเห็ด สาธิตการแปรรูปผลผลิตการเกษตรและไวน์ผลไม้ที่หมุนเวียนตามฤดูกาล ชมทุ่งดอกกระเจียวในเดือนสิงหาคม-กันยายน และสวนส้มเขียวหวานในเดือน พฤศจิกายน

8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก

บนพื้นที่เกือบ 3,000 ไร่ ณ ดอยมูเซอ สวยงามด้วยภูมิทัศน์ธรรมชาติ แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับ แปลงไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ อะโวกาโด มะคาเดเมีย มะเดื่อฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ ชมแปลงกาแฟอาราบิก้า พร้อมสาธิตการเก็บเกี่ยวและแปรรูปกาแฟ สัมผัสวิถีชีวิตชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ สัมผัสอากาศที่เย็นสบายในทุกฤดู

9. ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

เป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืชสวน เช่น ไม้ผลพื้นเมือง ได้แก่ มะตาด มะดัน มะไฟ และไม้ผลอื่นๆ เช่น มะปราง มะยงชิด กระท้อน แปลงวิจัยและพัฒนาด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตพืช เช่น มะม่วง ส้มโอ กล้วย และรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์กล้วยแปลกๆ ไว้จำนวนมาก รวมทั้งเป็นศูนย์ขยายพันธุ์พืชสวนที่สำคัญ เช่น มะม่วง และรวบรวมพันธุ์กล้วยแปลกๆ ไว้จำนวนมาก สามารถเข้ามาท่องเที่ยว ศึกษาหาความรู้ พร้อมชม ชิม ซื้อผลผลิตได้ตามฤดูกาล

10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย

ชมแปลงงานทดลอง งานทดสอบ และงานวิจัยพืชเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่าง อาทิ แปลงงานวิจัยกล้วยตานี งานวิจัยละมุด แปลงผลิตพันธุ์พืช แปลงตัวอย่างระบบเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” จังหวัดสุโขทัย แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ครบวงจร พิพิธภัณฑ์โรงหีบฝ้ายและเครื่องมือการเกษตรของภาคเหนือตอนล่าง

11. สถานีทดลองพืชสวนร่มเกล้า สวพ.2

ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก เป็นแหล่งเรียนรู้แปลงต้นแบบการปลูกพืชผสมผสานและพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ เช่น มะคาเดเมีย อะโวกาโด หน้าวัว ฟักข้าว มะนาว แปลงต้นแบบการผลิตพืช เช่น มะพร้าว กาแฟ ไผ่ ชมสีสันของไม้ดอกและผลผลิตตามฤดูกาล ได้แก่ ไม้ดอกเมืองหนาว สตรอเบอร์รี่

12. ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

เขาค้อ ดินแดนแห่งขุนเขา “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” replicascamisetasfutbol2018.com นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมในศูนย์วิจัยฯ ได้ตลอดทั้งปี ชมแปลงปลูกพืชผักเมืองหนาว สตรอเบอร์รี่ มะคาเดเมีย กาแฟอาราบิก้า อะโวกาโด พลับ บ๊วย ไม้ดอกไม้ประดับ สัมผัสบรรยากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ตามสโลแกน “พักเขาค้อ 1 คืน อายุยืน 1 ปี”

13. ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย

สัมผัสธรรมชาติท่ามกลางบรรยากาศทิวทัศน์ภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ชมสีสัน ความงามของไม้ดอกไม้ประดับ ความหลากหลายของไม้ผลเมืองหนาว พืชผักสมุนไพร ท่องเที่ยวงานเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาวนานาพรรณ เทศกาลกินผักเมือง สตรอเบอร์รี่ มะคาเดเมีย แปลงสาธิตเรียนรู้การปลูกพืชบนที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

14. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย

ตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำโขง ภายในศูนย์วิจัยปลูกรวบรวมอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่หลากหลาย เช่น ไม้ผลพื้นบ้าน ผักพื้นบ้าน สมุนไพร นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมและศึกษาความรู้ศูนย์วิจัยฯ ยังอยู่ใกล้จุดชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค เพียง 2 กิโลเมตร

15. ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

เป็นแหล่งศึกษาด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตพืชสวนสำคัญหลายชนิด เช่น มะม่วงหิมพานต์ มะละกอ มะขามเปรี้ยว หอมแดง พริก มะเขือเทศ ฟักทอง แปลงรวบรวมพันธุ์มะม่วงมากกว่า 100 สายพันธุ์ พืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านมากกว่า 500 ชนิด มีกิจกรรมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การผลิตกาแฟครบวงจร บัว พืชชุ่มน้ำและผักพื้นเมือง ในกิจกรรมเส้นทางเดิน-ปั่นจักรยาน และมีจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชผัก ต้นพันธุ์ไม้ผลหลายชนิด

16. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตพืชเศรษฐกิจของภาคตะวันออก การผลิตตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงต้นแบบเทคโนโลยี การผลิตเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมเส้นทางจักรยานและเส้นทางเดินชมศึกษาธรรมชาติและแหล่งน้ำธรรมชาติคลองทุ่งเพล

17. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ชมแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้ผลเขตร้อน เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง เป็นแหล่งศึกษาวิจัยด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิต เช่น การผลิตเงาะนอกฤดู แปลงอนุรักษ์ทุเรียนพันธุ์โบราณและทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่กว่า 500 สายพันธุ์ แปลงรวบรวมกล้วยไม้ป่าในภาคตะวันออก แปลงพืชสมุนไพรหลากชนิด ชม ชิม ซื้อผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีคุณภาพ