ขอขอบคุณ ชาวชุมชนบ้านแม่กระบุงที่ให้การต้อนรับผู้มาเยือน

อีกทั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีสวัสดิ์ และ ฟอร์ดประเทศไทย ที่สนับสนุน ฟอร์ดเรนเจอร์ ให้เป็นพาหนะลุยท่องเที่ยวบ้านแม่กระบุงในครั้งนี้ ติดตามเรื่องราวของบ้านแม่กระบุงได้เพิ่มเติมจากคลิปที่เราเคยนำเสนอ…

คลิปที่ 1–ผู้ใหญ่บ้านชวนเที่ยว…OTOP นวัตวิถีบ้านแม่กระบุง กาญจนบุรี https://fb.watch/aR2gDzyWYe/

คลิปที่ 1–นวดตอกเส้น…ศูนย์สมุนไพรบ้านแม่กระบุง จ.กาญจนบุรี https://fb.watch/aS-9cTtMKb/

คลิปที่ 3–น้ำตกแห่งใหม่..น้ำตกแม่กระบุง อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี นายสุรชัย รุ่งรัตนพงษ์พร ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในโครงการฯ มี 20 ครอบครัว โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่เชิงพาณิชย์ในระบบปิด โดยเกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่สำหรับเลี้ยงจำนวนเล้าละ 4,300 ตัว และทางโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนพื้นที่ในการก่อสร้างฟาร์ม ปัจจุบันมีไข่ไก่ที่ออกจากฟาร์มสู่ตลาดวันละประมาณ 80,000 ฟอง

“รายได้ถือว่ามั่นคง อย่างผมลูกสาวเรียนจบปริญญาตรี 2 คน ในการทำงานภายในฟาร์มนั้นแต่ละวันเกษตรกรจะเข้ามาในฟาร์มดูแลเล้า ประมาณช่วงตีสี่ถึงตีห้า ปัดกวาดเล้า ดูแลเรื่องน้ำดื่มไก่ ตลอดจนการให้อาหาร จากนั้นจะออกจากโรงเรือนส่งบุตรหลานไปโรงเรียน จะเข้ามาที่เล้าไก่อีกครั้งประมาณ 8 โมงเช้า เพื่อเก็บไข่รวบรวมไปไว้ที่โรงคัด และรถขนส่งไข่จะมารับไข่ไก่

ประมาณ 9 โมงเช้าเพื่อนำไปส่งโรงคัดอีกครั้ง ที่นั้นจะคัดแยกขนาดของไข่ไก่ออกมาตามเบอร์ต่างๆ ในการจำหน่ายเกษตรกรจะขายได้ในราคาประกันที่ 2.75 สตางค์ ต่อ 1 ฟอง ถือว่าคุ้มค่ากับใช้จ่ายในการเลี้ยง อย่างช่วงนี้ทางบริษัทจะเพิ่มค่าไฟฟ้าให้แก่เกษตรกร ด้วยการเพิ่มตัวไก่ให้เล้าละอีก 100 ตัว ก็เหมือนว่าเราลดต้นทุนไปได้เยอะ ช่วยค่าน้ำค่าไฟได้และคุ้มทุน เพราะปกติการเลี้ยงไก่ไข่อยู่ที่เล้าละ 4,200 ตัว มารุ่นนี้ทางบริษัทเพิ่มให้เป็น 4,300 ตัว เพิ่มอีก 100 ตัว ก็เป็นผลดีต่อเกษตรกรเพราะต้นทุนเท่าเดิมแต่ปริมาณไก่และไข่ไก่เพิ่มขึ้นทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น” นายสุรชัย กล่าว

ทั้งนี้ไก่ไข่ 1 ตัวจะให้ไข่ประมาณ 300 ฟองต่อการเลี้ยง 1 รุ่น ขณะที่ค่าไฟฟ้าเท่าเดิม แต่รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น และไก่ 1 รุ่นจะปลดรุ่นประมาณ 16 เดือน หากเกษตรกรมีความตั้งใจในการเลี้ยงและดูแลไก่ดี เมื่อถึงระยะปลดไก่จะมีรายได้อีกส่วนหนึ่ง รวมรายได้การเลี้ยงไก่ไข่ต่อรุ่นจะได้ประมาณ 3 – 4 แสนบาทต่อครอบครัว ขณะที่มูลไก่เกษตรกรสามารถเก็บขายได้ในราคากระสอบละ 30 บาท ซึ่งเป็นราคาหน้าฟาร์ม

ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงกลุ่มไก่ไข่ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ก่อนมีโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบพืชเชิงเดี่ยว ผลผลิตหรือรายได้จะไม่แน่นอน เกษตรกรจะยากจน หลังจากมีโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทางโครงการฯ ได้ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ทำการเกษตรอย่างถูกวิธี ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงอาชีพอย่างหลากหลายมากขึ้น

“สมัยก่อนลูกหลานจะไม่ค่อยได้เรียนจนจบปริญญาตรีแต่เดี่ยวนี้เกษตรกรที่ทำฟาร์มไก่ไข่จะมีเงินเพียงพอ สามารถส่งลูกหลานเรียนจนจบปริญญาตรีได้หมด ก็เป็นพระมหากรุณาที่คุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ส่งเสริมเกษตรกรจนมีอาชีพที่มั่นคง และก็ดีใจที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 มาสืบสาน รักษา ต่อยอด เป็นพระราชปณิธาน ของพระมหากษัตริย์ สานต่องานจากรัชกาลที่ 9 ทำให้เกษตรกรมีความอุ่นใจ ที่ทุกพระองค์ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนของพระองค์” นายสุรชัย กล่าว

“วันนี้(9มกราคม2565)เราได้มีโอกาสมาอีกจุดหนึ่งของอำเภอบางสะพานนะครับ แต่ที่น่าสนใจมากๆก็คือตรงนี้ถ้าเรามองก็คือเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับพัฒนาชุมชนในพื้นที่เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่ในพื้นที่เขต 1,000, 2,000, 3,000 ไร่ก็แล้วแต่ มันเป็นฝายทดน้ำมีหน้าที่ยกระดับน้ำเข้าสู่แปลงเกษตรนะครับ จะมีระบบการจัดการน้ำอาจจะเป็นคลองส่งน้ำท่อส่งน้ำ เราเรียกว่าฝายยายฉิมก็สร้างเมื่อปี 2560 นะครับ และเมื่อปี 2560 เกิดอุทกภัยบางสะพาน ฝายนี้กำลังก่อสร้าง ผลจากกระแสน้ำที่มาอย่างรุนแรงของคลองบางสะพานทำให้ฝายนี้ได้รับผลกระทบก็พังไป

ทางกรมชลประทานก็ไม่ทอดทิ้งนะครับ เพราะเรากำลังสร้างอยู่เกือบเปิดใช้งานได้แล้ว แต่พี่น้องยังใช้ไม่ได้แน่ถ้าเราไม่มาซ่อมให้สมบูรณ์ วันนี้ทางผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 14 (นายพิมล สกุลดิษฎี) ก็ได้มีการก่อสร้างพร้อมทีมงานแล้วเสร็จสวยงามก็อยากให้ทางพี่น้องสื่อมวลชนได้มาเยี่ยมชม แล้วก็ทางท่านผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำพี่เล็ก(นายกฤษดา หมวดน้อย ปราชญ์ชาวบ้าน)

ก็อยู่ในพื้นที่แล้วก็เราก็ต้องทำเรื่องของการมีส่วนร่วมภาคประชาชนการจัดสรรปันน้ำให้เป็นธรรมครับ ผมก็เน้นนโยบายของกรมชลประทานที่เราสร้างเสร็จเราก็จะส่งมอบให้กับท้องถิ่น แต่เราต้องดูก่อนนะครับว่าโครงการนั้นอยู่ในขอบเขตของงานพระราชดำริ งานความมั่นคง หรืออุทกภัยอุทกภัยหรือเปล่านะครับ ก็เดี๋ยวจะให้ฟังขั้นตอนการก่อสร้างปัญหาอุปสรรคจากผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 14 เชิญครับ”

นั่นคือเสียงของ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ที่ได้อธิบายจุดเริ่มต้นของฝายทดน้ำบ้านเกาะยายฉิม ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้ส่งมอบงานเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2565 ซึ่งลักษณะของโครงการ ขั้นตอนและปัญหาอุสรรคการก่อสร้าง จะมีรายละเอียดอยู่ในคลิปที่เกษตรก้าวไกลได้LIVEสด (คลิกชมได้ที่ https://fb.watch/b4eGTFShmO/) และในตอนท้ายของคลิปรองอธิบดีกรมชลประทานได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการสร้างฝายทดน้ำของชุมชนต่างๆ ว่าถ้าชุมชนต้องการสร้างจะสามารถเข้าถึงกรมชลประทานได้อย่างไร ขอให้ผู้สนใจคลิกชมตามลิงก์ที่ให้ไว้ก็จะได้ความชัดเจน

พร้อมกันนี้ “เกษตรก้าวไกล” ยังได้นำภาพหนังสือตอบกลับการก่อสร้างโครงการฝายทดน้ำบ้านเกาะยายฉิมและภาพข้อมูลรายละเอียดโครงการมาให้ดูด้วย เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้กับพี่น้องเกษตรกรในชุมชนอื่นๆ ที่ต้องการได้แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอีกไม่นานหลังจากนี้หน้าแล้งก็จะมาเยือนอีกแล้ว

เรื่องราวของฝายทดน้ำเกาะยายฉิมนับว่าเป็นอีกกรณีที่น่าศึกษา เราต้องติดตามกันว่าตัวแทนในชุมชนจะบริหารจัดการใช้น้ำกันอย่างไร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชน “แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อพัฒนาชุมชน” (ตามที่รองอธิบดีกล่าว) กับอีกกรณีหนึ่งคือ ฝายทดน้ำตั้งอยู่ในทำเลที่มีภูมิประเทศสวยงามจะสามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้หรือไม่ หรือแหล่งน้ำก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในด้านใดได้บ้าง…?

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ไปติดตามความก้าวหน้าโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม จังหวัดชุมพร หวังบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชุมพรให้ได้มากที่สุด

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า บริเวณอำเภอเมืองชุมพรมักเกิดน้ำท่วมหลากจากลุ่มน้ำหลักที่สำคัญ 2 สาย ได้แก่ คลองท่าตะเภา และ คลองชุมพร พื้นที่รวมประมาณ 79,500 ไร่ แยกเป็น ลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา 42,000 ไร่ ลุ่มน้ำคลองชุมพร 37,500 ไร่

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวชุมพรเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวชุมพรเป็นอย่างยิ่ง ทรงทราบถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับชาวชุมพร ได้มีพระราชดำริให้เร่งรัดขุดคลองหัววัง – พนังตัก ให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน อีกหลายอย่าง อาทิ 1. พิจารณาขุดคลองหรือวางท่อเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแซะกับต้นคลองละมุ เพื่อชักน้ำจากคลองท่าแซะลงหนองใหญ่ให้ราษฎรบริเวณใกล้เคียงมีน้ำใช้ทำการเกษตร และอุปโภค – บริโภคและในฤดูน้ำหลากสามารถช่วยผันน้ำบางส่วนจากคลองท่าแซะลงแก้มลิง “หนองใหญ่” เพื่อระบายน้ำสู่ทะเลผ่านทางคลองระบายน้ำหัววัง – พนังตักได้อีกด้วย

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้สนองพระราชดำริด้วยการดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัย ประกอบด้วย 15 กิจกรรม ดังนี้ 1. ขุดคลองระบายน้ำหัววัง-พนังตัก และก่อสร้างอาคารประกอบ 2. ประตูระบายน้ำหัววัง 3. ประตูระบายน้ำสามแก้ว (ใหม่) 4. ขุดลอกคลองท่าตะเภาและคลองสาขาในบริเวณลุ่มน้ำ 5. ขุดคลองระบายน้ำบ้านดอนทรายแก้วพร้อมปรับปรุงคันกั้นน้ำและอาคารประกอบ 6. ขุดคลองระบายน้ำท่านางสังข์ – บ้านบางตุ่มพร้อมอาคารประกอบ 7. โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ 8. ขุดลอกคลองละมุเชื่อมกับคลองท่าแซะ 9. ศึกษาและวางแผนระบบเตือนภัยน้ำท่วมเมืองชุมพร 10. คันกั้นน้ำคลองสามแก้วและคลองสาขาพร้อมอาคารประกอบ 11. ขุดลอกคลองชุมพรและคลองสาขา 12. ปรับปรุงคลองระบายน้ำสามแก้วพร้อมอาคารประกอบ 13. ปรับปรุงประตูระบายน้ำพนังตักและอาคารประกอบ 14. ประตูระบายน้ำท่าตะเภา และ 15. ประตูระบายน้ำท่าแซะ (รายละเอียดข่าวเพิ่มเติมคลิกชมได้จากเกษตรก้าวไกลLIVE

ในส่วนของลุ่มน้ำคลองชุมพร เกิดจากต้นน้ำในเขตอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง มีความยาวลำน้ำประมาณ 75 กิโลเมตร สภาพท้องคลองมีความลาดชันสูง คดเคี้ยวและมีขนาดแคบ ทั้งสองฝั่งคลองมีบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่นเป็นชุมชนเมือง ช่วงปลายคลองเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อน้ำทะเลหนุนจะรุกล้ำเข้ามาในลำคลองเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ในขณะที่มีขีดความสามารถในการระบายน้ำได้ประมาณ 140 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เท่านั้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในคลองชุมพรเอ่อล้นตลิ่ง

กรมชลประทาน ได้วางแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองชุมพร โดยการตัดยอดน้ำของคลองชุมพรให้สามารถไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการท่วมขังบริเวณถนนสายเอเชีย 41 (โดยเฉพาะ กม.33-34 ช่วง อ.สวี ที่มักท่วมซ้ำซาก) และบริเวณพื้นที่ตอนล่างในเขตอำเภอเมืองชุมพร พร้อมกับการขุดคลองผันน้ำ เพื่อผันน้ำจากคลองชุมพรผ่านคลองขุดใหม่เชื่อมต่อกับคลองนาคราช และขุดขยายคลองนาคราชให้สามารถระบายน้ำได้ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งขุดลอกคลองชุมพรเดิมให้สามารถระบายน้ำได้ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และขุดขยายคลองชุมพรเดิมช่วงปลายให้สามารถระบายน้ำได้ 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมทั้งก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากคลองผันน้ำ จำนวน 1 แห่ง และก่อสร้างประตูระบายน้ำในคลองชุมพร จำนวน 3 แห่ง

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถระบายน้ำและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างอำเภอเมืองชุมพร และสามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำคลอง เพื่อใช้ประโยชน์ช่วงฤดูแล้ง 6.50 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ 6,875 ไร่ โดยภาพรวมทั้งโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 นอกจากจะช่วยระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมได้แล้ว ยังมีประโยชน์เก็บน้ำไว้ใช้ในภาคเกษตร โดยส่วนใหญ่จะปลูกทุเรียน ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ฯลฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกชมได้จากคลิปเกษตรก้าวไกลLIVE

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงสีข้าวธัญโอสถ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้จัดพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้กับเกษตรกรผู้ประสบปัญหาอุทกภัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ในนามตัวแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และมี รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.อนุชัย ภิญโญภูมิมินทร์ รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวรายงานวัถตุประสงค์ของพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวในวันนี้

โดยมีที่มาจากโครงการปลูกข้าววันแม่ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 89 พรรษา 12 สิงหาคม 2564 ได้ใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ในการเพาะปลูก บนพื้นที่ 13.5 ไร่ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้ดำเนินการเก็บเกี่ยว ในงานเกี่ยวข้าววันพ่อ ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 7,280 กิโลกรัม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นับเป็นความภาคภูมิใจของทีมนักวิจัยที่เป็นผู้คิดค้นและปรับปรุงสายพันธุ์ รวมถึงเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์..

ซี่งผลผลิตที่ได้มหาวิทยาลัยได้นอกจากจะนำมาแจกจ่ายให้กับบุคลากรแล้ว ยังนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ส่วนหนึ่งมอบให้กับเกษตรกรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก ประกอบกับในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมาพื้นที่ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในหลายจังหวัด ประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้นาข้าวเสียหาย เกษตรกรขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเพาะปลูกในปีต่อไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งได้มีการทำงานเชิงบูรณาการเรื่องข้าว ร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโภชนาการสูงทั่วประเทศ เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดี ให้เกิดขึ้นกับเกษตรกรไทยอยู่แล้ว จึงได้ทำการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรเพื่อมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 5 กลุ่มจังหวัด

สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับมอบ ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านเนินสบาย จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มรักษ์ Organic จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มคุรุอินทรีย์ จังหวัดกำแพงเพชร ศูนย์การเรียนรู้ตามรอยพ่อหลวง จังหวัดชัยนาท และ นายประทีป สวัสรังศรี จังหวัดกำแพงเพชร รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 ราย

อนึ่ง ในพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย 5 กลุ่มจังหวัดในครั้งนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้มีการLIVElไปทั่วประเทศ คลิกชมได้ที่ https://fb.watch/b4xJaW4J-e/ และสัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก ประธานพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ https://fb.watch/b4LI0esjsh/ หรือชมพิธีมอบผ่านช่องยูทูป เสียงเกษตรโว้ย จากคลิปข้างล่างนี้

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยบางสะพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ บริเวณคลองลัด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ ส่งผลให้ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำในช่วงที่มีฝนตกหนัก ทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลลงสู่คลองบางสะพาน คลองปัตตามัง-เขาม้าร้อง, คลองแม่รำพึง และคลองย่อยสายต่างๆ ทำให้ระบายน้ำไม่ทัน เนื่องจากลำน้ำเหล่านี้มีสภาพแคบและตื้นเขิน เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นประจำ

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอบางสะพาน กรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำคลองบางสะพานทั้งระบบ ได้แก่ 1.โครงการคลองผันน้ำ (คลองลัด) ยาว 530 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 520 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดำเนินการแล้วเสร็จปี เมื่อปี 2563 2.โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านไทรทอง พร้อมระบบส่งน้ำ ความจุ 13.29 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 62% 3.โครงการประตูระบายน้ำปลายคลองบางสะพาน มีพื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ ระบายน้ำได้ 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 95% 4.โครงการประตูระบายน้ำทุ่งมะพร้าว พื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่ ระบายน้ำได้ 980 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แผนงานดำเนินการปี 2565-2567 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจัดหาที่ดินเพื่อการก่อสร้าง และ 5. โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านคลองลอยตอนล่าง พร้อมระบบส่งน้ำ ความจุ 17.46 ล้านลูกบาศก์เมตร แผนงานดำเนินการปี 2565 -2569 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการก่อสร้างที่ทำการ- บ้านพัก และการจัดหาที่ดินเพื่อการก่อสร้าง

ด้าน นายกฤษดา หมวดน้อย ราษฎรในพื้นที่ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน กล่าวว่า “หลังจากที่ชาวบางสะพานได้ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้มีพระราชดำริให้ กรมชลประทานดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยบางสะพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ปี 2560 มีการขุดลอกปลายคลองไปจนถึงถนนเพชรเกษม ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2570 อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า นับตั้งแต่กรมชลประทานได้ดำเนินการขุดลอกคลองบางสะพาน ทำให้หลายปีที่ผ่านมา รวมถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีฝนตกหนัก แต่น้ำไม่ท่วมเมืองบางสะพานเลย ซึ่งคลองผันน้ำ (คลองลัด) ถือว่าเป็นพระเอก เพราะสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำไม่ท่วมอย่างที่เคยเป็นในอดีต”

อนึ่ง ในการลงพื้นที่ติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยบางสะพานของ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในครั้งนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้มีการLIVEสดไปทั่วประเทศ คลิกชมได้ที่

โคพีพอด เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก อยู่ในกลุ่มครัสเตเชีย (Crustacea) เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำส่วนใหญ่มีขนาดเล็กประมาณ 0.5-2.0 มิลลิเมตร มีความหลากชนิดสูง พบทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ล่า กลุ่มที่กินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร มีความสำคัญคือเป็นอาหารหลักให้กับสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่นปลา กุ้ง เป็นต้น มีทั้งกลุ่มที่อาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม ได้ทั้งแหล่งน้ำถาวร แหล่งน้ำชั่วคราว แหล่งน้ำนิ่งหรือน้ำไหล และในการค้นพบครั้งนี้ เป็นโคพีพอดน้ำจืดที่พบในแอ่งน้ำนิ่งในสระน้ำ และแหล่งน้ำขนาดเล็กในถ้ำ

ดร. กรอร วงษ์กําแหง จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ได้ค้นพบโคพีพอดน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกจำนวน 2 ชนิด ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจีภรณ์ อธิบาย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชายฉัตร บุญญานุสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา โดยโคพีพอดน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบ มีจำนวน 2 ชนิด ดังนี้

1. โคพีพอด ชนิด Metacyclops sakaeratensis sp. nov. พบที่แหล่งน้ำ ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โคพีพอด ชนิดนี้ว่า sakaeratensis ตามถิ่นที่พบ คือ พื้นที่สะแกราช (คำว่า ensis เป็นภาษาละติน แปลว่า pertaining to,” “originating in คือมีจุดกำเนิดมาจาก แสดงถึงพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อาศัยอยู่นั่นเอง)

2. โคพีพอดถ้ำ ชนิด Metacyclops brancelji sp. nov. พบที่ถ้ำระฆังทองและถ้ำภูผาเพชร อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล และถ้ำเขานุ้ย จังหวัดสงขลา โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ชนิดนี้ว่า brancelji เพื่อเป็นเกียรติแก่ Prof. Dr. Anton Brancelj ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาโคพีพอดของโลก จากประเทศสโลวีเนีย ซึ่งท่านมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการศึกษาโคพีพอดถ้ำของประเทศไทย

หลายท่านที่ได้ติดตาม “เกษตรก้าวไกล” คงจะคุ้นๆกับชื่อของสวนปามี98ไปบ้างแล้ว โดยนำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอผ่านทาง YouTube ช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และเพจ Facebook เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน อย่างคลิปล่าสุด ..“ทุเรียนแก่แดด2ปีครึ่งออกดอกแล้ว!! “ปลูกทุเรียนต้องมี8ดี” สวนปามี98เปิดให้ชมแล้ว https://youtu.be/trPuKkk-9z8 .. ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างล้นหลาม

เบื้องหลังการถ่ายทำครั้งนี้ คุณสุเทพ กังเกียรติกุล เจ้าสวนปามี 98 ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี แจ้งมาว่าเวลานี้ที่สวนมีไม้ผลหลายตัวกำลังออกดอก โดยเฉพาะทุเรียนที่ปลูกอายุ 2 ปี 5 เดือน ออกดอกกหลายต้นอยากให้มาดู..เมื่อไปถึงก็พบว่าวันนี้คุณสุเทพได้นัดทีมงานมาพร้อมเพรียง “วันนี้ขนพนักงานมาต้อนรับครับ” เสียงทักทายมาแต่ไกล แต่จริงๆแล้วความตั้งใจก็คือจะให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในผลงานและเตรียมเข้าฉากการถ่ายทำ..

“ถ้าจะบอกว่าปลูกทุเรียนแล้วรวย เขาก็มีให้ดูกันเยอะแล้ว” เราก็เลยคิดกันว่าทำอย่างไรจะสื่อให้แตกต่าง “ถ้าจะปลูกทุเรียนให้รวยจะต้องมีดีอะไรบ้าง” ก็เลยเป็นที่มาว่าปลูกทุเรียนต้องมี 8 ดี ซึ่งเป็นการตกผลึกจากประสบการณ์ของคุณสุเทพ แต่แค่ 8 ดี จะยังมีอะไรอีกบ้างไหม โดยเฉพาะทุเรียนอายุแค่ 2 ปี 5 เดือน ก็เริ่มออกดอกแล้ว จึงเป็นที่มาของ “ทุเรียนแก่แดด” คำว่า “แก่แดด” เป็นคำที่คนไทยเรานิยมใช้เรียกเด็กที่ทำตัวเป็นผู้ใหญ่เกินอายุจริง ทำตัวแก่แรดเกินอายุ หรือเรียกว่า “เด็กแก่แดด” นั่นเอง

เมื่อสรุปเข้าใจตรงกัน การถ่ายทำก็เริ่มขึ้นในช่วงบ่ายๆที่อากาศร้อนเปรี้ยง (แดดเปรี้ยง) ชนิดที่ว่าอากาศร้อนแดดเป็นใจมากๆ ปัญหาอุปสรรคของเราก็คือ แต่ละคนจะต้องท่องบทจำบท “8ดี” ให้ได้ ตรงนี้ก็ซักซ้อมกันพอสมควรกว่าจะลงตัวได้ และก็สรุปตรงกันเมื่อถ่ายทำเสร็จว่าพอใจ 70% ถือว่าให้กำลังใจกับทุกคนที่ได้มีส่วนร่วม ซึ่งบังเอิญว่าวันนี้ยังมีผู้ที่มาเที่ยวชมสวนอีก 2 คนที่เข้ามาในจังหวะที่กำลังจะถ่ายทำก็เลยเป็นดารารับเชิญ..

วันนี้ยังเป็นโอกาสพิเศษที่ “น้องปามี” ได้มาเข้าฉาก ซึ่งอนาคตคุณสุเทพบอกว่าจะเข้ามาดูแลจัดการและเป็นดาราประจำของสวนในโอกาสต่อไป

สำหรับทุเรียนแก่แดด “8 ดีมีให้ทุเรียน รวยรวย” ประกอบด้วย

1. ดินดี ดินจืด ดินร่วน ระบายน้ำดี

2. น้ำดี น้ำจืด ไม่มีสารพิษปะปน

3. อากาศดี อุณหภูมิ 20 – 35 องศา C

4. แดดดี รับแสงแดด 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น

5. ความชุ่มชื้นดี ไม่ชอบร้อนแห้งแล้ง

6. พันธุ์ดี รากมาก ต้นตรงแข็งแรง ไม่มีโรคแมลง

7. สิ่งแวดล้อมดี ใกล้ชุมชนมีน้ำทิ้ง น้ำเค็มไม่ดี

8. จัดการดี มีเงินมากไม่มาดูแล ทุเรียนเหงาตาย

สาระสำคัญของคลิปนี้ คุณสุเทพไม่เพียงแต่จะบอกว่าปลูกทุเรียนต้องมี 8 ดี แต่ยังฝากไปถึงผู้สนใจการปลูกให้มาศึกษาดูงานของจริง โดยทางสวนปามี98 ได้จัดพนักงานไว้คอยต้อนรับทุกวันอังคาร พุธ และพฤหัส โทร.ติดต่อประสานงานได้ที่เบอร์ 098 1909898

ส่วนความตั้งใจของเกษตรก้าวไกล..เราต้องการนำเสนอความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์ของพี่น้องเกษตรกรไทย และที่สวนปามี98 มีความหลากหลายในพืชที่ปลูก ซึ่งเราได้บรรลุข้อตกลงกับเจ้าของสวนว่าจะต้องถ่ายทอดความรู้ออกจากสวนเพื่อให้เป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรให้มากที่สุด ซึ่งข้อตกลงนี้ก็บังเอิญตรงกับความคิดความตั้งใจของสวนที่ต้องการจะยกระดับสวนสู่การเป็น ศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร นั่นเอง

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาผลผลิตตกต่ำ ภัยธรรมชาติ โดยมอบนโยบายให้สาขาเข้าพบลูกค้าทุกรายเพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพและรายได้ พร้อมกำหนดแนวทางบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่การเติมสินเชื่อใหม่ ในการฟื้นฟูอาชีพอย่างยั่งยืน

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน ซึ่ง ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารของรัฐ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ ทั้งเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิตการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือมีรายได้ไม่สอดคล้องกับแผนการชำระหนี้เดิม เพื่อกำหนดกระบวนการการบริหารจัดการหนี้อย่างยั่งยืน

เริ่มจากการมอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้ จากนั้นจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง กลุ่มมีเหตุผิดปกติ เป็นต้น

เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป

นอกจากบรรเทาความเดือดร้อนและลดความกังวลในเรื่องภาระหนี้สินแล้ว ธ.ก.ส. ยังเสริมสภาพคล่องในการลงทุนและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผ่านโครงการชำระดีมีคืน วงเงินงบประมาณ 1,200 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่นำเงินมาชำระหนี้ โดยจะทำการคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรง ร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกินรายละ 1,000 บาท ล่าสุดมีการคืนดอกเบี้ยไปแล้วกว่า 622 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 850,000 ราย และโครงการนาทีทองลดดอกเบี้ยสู้โควิด โดยจะลดดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมถึงเบี้ยปรับสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ระยะเวลาตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2565 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินที่กำหนด โดยมีการช่วยเหลือไปแล้วกว่า 1,110 ล้านบาท

ทั้งนี้ ลูกค้ามีประสบปัญหาในการชำระหนี้หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการการบริหารจัดการหนี้ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนาน ได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วัน ตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีน คือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วัน เมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลา การขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้

สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาล และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทย และสปป.ลาว พร้อมแล้ว รอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในวันที่ 17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรก และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอลงกรณ์ กล่าว

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมาก โดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวจีนที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาว

ทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้วรถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วัน ขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

การเปิดตัวรถไฟขบวนนี้ได้รับความสนใจจากรัฐบาลไทยและลาว หลังจากบรรจุข้าวเหนียวในโรงงานของไทยเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 เสร็จสิ้นพิธีการศุลกากรในไทยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 จากนั้นจึงขนส่งทางถนนไปยังด่านท่านาเล้ง ในลาวเพื่อดำเนินพิธีการศุลกากร เนื่องจากศุลกากรลาวได้ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าทางการเกษตรของไทยซึ่งขนส่งทางรถไฟจากลาวไปยังจีนเป็นครั้งแรก

จึงเกิดปัญหาการกักกันสินค้าระหว่างพิธีการทางศุลกากร สมัครเล่นคาสิโน อย่างไรก็ตาม ด้วยการประสานงานของหลายฝ่ายทั้งไทยและลาว รวมถึงความร่วมมือของ New Land-Sea Corridor Operation Co., Ltd. ด้วยเหตุนี้เอง รถไฟจึงออกเดินทางจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกที่ไทยได้ขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปยังจีนผ่านลาว.