ของการคัดเลือกสายพันธุ์ เบื้องต้นกระท่อมที่พบในประเทศไทย

3 สายพันธุ์ คือ 1. ก้านเขียว 2. ก้านแดงหางกั้ง และ 3. ก้านแดง มักพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ ซึ่งจากการที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กระท่อมทั้ง 3 สายพันธุ์นี้จะมีสารสำคัญที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงรสชาติของใบที่มีไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ และสำหรับท่านที่จะนำไปทำในเชิงอุตสาหกรรมน่าจะต้องมีการเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อนำไปแปรรูป

ส่วนท่านใดที่คิดจะปลูก วิธีของการขยายพันธุ์หลายท่านก็คงทราบกันดีว่าถ้าเป็นการปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง การติดตา หรือการทาบกิ่ง เขาเรียกว่าเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ข้อดีคือ จะได้ผลตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ กิ่งที่ได้ ใบที่ได้ก็จะได้ตามต้นแม่ ไม่มีผิดเพี้ยน และหากถ้าใครสนใจอยากปลูกจึงแนะนำว่าให้ทำการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศก็จะได้สายพันธุ์ที่แท้ แต่ว่าการขยายพันธุ์วิธีนี้อาจจะยังมีไม่มากนัก สืบเนื่องจากมีข้อจำกัดตอนที่ต้นแม่พันธุ์ในพื้นที่โดนปราบปรามไปจนเกือบหมด

“ต่อมาการขยายพันธุ์ประเภทที่ 2 คือการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือการเพาะเมล็ด วิธีการเพาะ ชาวบ้านในพื้นที่เขาบอกว่าไม่ยาก มีข้อดีคือทำได้ง่ายและได้ปริมาณมาก แต่ข้อเสียคือมีโอกาสที่จะเกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย มีความผิดเพี้ยนไปจากพันธุ์เดิม หรือลักษณะที่ไม่พึงประสงค์อาจจะเพิ่มมากขึ้น และในส่วนของการดูแลอาจจะมีศัตรูพืช ซึ่งตรงนี้ก็น่าเป็นห่วงสำหรับผู้ที่จะปลูกเพื่อการค้า เพราะเมื่อมีศัตรูพืชเกิดขึ้นก็ต้องมีในเรื่องของสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งนี้แหละเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากันต่อในอนาคตว่าจะมีวิธีการบริหารจัดการให้เกิดเป็นพืชปลอดภัยเหมือนกับพืชผักชนิดอื่นได้อย่างไร” คุณนิพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย

งานสัมมนาส่งท้ายปีโดยเทคโนโลยีชาวบ้าน ที่จะฉายภาพการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม-เกษตรไทย
🗓22 ธ.ค. นี้ ตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ร่วมชมการฉายภาพถนนเศรษฐกิจสายใหม่จากภาครัฐ-เอกชน ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ “อนาคตกระท่อม กับการปลดล็อกสู่พืชเศรษฐกิจ” ตีแผ่ทุกข้อกฎหมาย
อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ เพื่อการเดินทางบนเส้นทางเศรษฐกิจสายใหม่อย่างมั่นใจ! แถมงานนี้ชมฟรี!
Live Streaming Facebook : เทคโนโลยีชาวบ้าน, ข่าวสด, มติชนออนไลน์, เส้นทางเศรษฐี
Youtube : matichon tv
พิกัดการเดินทางมายังสถานที่จัดงาน ห้องประชุม บริษัท ข่าวสด จำกัด (ติดกับโถงต้อนรับ) ต้องนำผลการฉีดวัคซีนที่ตรงกับข้อมูลในระบบลงทะเบียนข้างต้น มาแสดงที่หน้างาน*
**สงวนสิทธิ์ที่นั่งชมหน้างานสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้าชมล่วงหน้าและได้รับการติดต่อกลับจากทีมงานเพื่อยืนยันสิทธ์เท่านั้น**

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร มีข้อแนะนำ 5 ประการในการบำรุงดูแลสวนมะพร้าวที่ออกผลแล้วให้ติดผลดกสม่ำเสมอ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เกษตรกรควรไถพรวนระหว่างแถวมะพร้าวไม่ให้ลึกเกินกว่า 20 เซนติเมตร ไถแถวเว้นแถวให้ห่างจากต้นข้างละ 2 เมตร ไถสลับกันทุก 2 ปี ตอนปลายฤดูแล้งรากที่อยู่ผิวดินจะแห้งไม่ดูดอาหาร เมื่อถูกตัดก็จะแตกใหม่เมื่อฝนตก

2. การขุดคูระบายน้ำและการรดน้ำในฤดูแล้ง

หากมีฝนตกมากและหากปลูกมะพร้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงแปลงปลูก เกษตรกรควรขุดคูระบายน้ำออก อย่าให้มีน้ำขังในแปลง ถ้าฝนแล้งนานก็จะกระทบต่อการผลิดอกออกผล ดังนั้น เมื่อถึงฤดูแล้ง หากพื้นที่ใดพอจะหาน้ำรดให้ต้นมะพร้าวได้ก็จะช่วยให้ต้นมะพร้าวงามดี ออกผลดกไม่เหี่ยวเฉา น้ำที่รดต้นควรใช้น้ำจืด แต่น้ำทะเลก็สามารถใช้รดต้นมะพร้าวได้

3. การควบคุมวัชพืชในสวนมะพร้าว

หากใครปลูกมะพร้าวในพื้นที่แล้งนาน ควรคอยถางหญ้าให้เตียน หรือใช้จอบขุดหมุนตีดินบนหน้าดิน อย่าให้ลึกกว่า 10 เซนติเมตร หรือใช้จานพรวนระหว่างแถวมะพร้าวส่วนบริเวณที่ฝนตกต้องเก็บหญ้าหรือพืชคลุมไว้แต่ไม่ให้ขึ้นรกมาก ควรตัดหญ้าหรือใช้จานพรวนลาก แต่ไม่กดให้ลึกมากเพื่อให้พืชคลุมดินหรือหญ้านั้นราบลงไปบ้างหรือการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ในมะพร้าวต้นเล็กให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ไม่ทำลายใบมะพร้าว แต่จะช่วยให้มะพร้าวเจริญเติบโตดี ส่วนแปลงปลูกมะพร้าวที่ตกผลแล้วไม่แนะนำให้ใช้สารกำจัดวัชพืช

4. พืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมในสวนมะพร้าว สามารถช่วยควบคุมวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน นอกจากนั้น พืชคลุมยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารและช่วยปรับปรุงดินในสวนมะพร้าว โดยเฉพาะพืชคลุมที่เป็นพืชตระกูลถั่ว จะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน พืชคลุมที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ เพอราเรีย เซ็นโตรซีมา และคาโลโปโกเนียม

ปุ๋ยอินทรีย์มีอยู่หลายชนิด ทั้งปุ๋ยคอกประเภท ปุ๋ยมูลวัว มูลไก่ มูลหมู มูลแพะ เป็นต้น รวมทั้งปุ๋ยหมักประเภทต่างๆ และปุ๋ยพืชสด เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วระหว่างแถวมะพร้าว เช่น โสน คาโลโปโกเนียม เมื่อต้นมะพร้าวเริ่มออกดอก ตัดเอาไปใส่ในร่อง ในกรณีที่ขุดดินเป็นร่องรอบโคนต้นหรือคลุมต้นมะพร้าว ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดช่วยทำให้ดินร่วนซุย เหมาะสาหรับการไชชอนของราก

นอกจากนั้น ธาตุอาหารที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุยังช่วยทำให้แบคทีเรียในดินทำงานได้ดี ซึ่งแบคทีเรียจะช่วยเปลี่ยนธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ให้มาอยู่ในรูปธาตุที่พืชดูดไปเป็นอาหารได้ การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินจึงเป็นประโยชน์ต่อต้นมะพร้าวมาก การเพิ่มอินทรียวัตถุทำได้ดังนี้ ใส่ปุ๋ยคอก ขี้ควาย ขี้ไก่ ปุ๋ยหมัก ฝังกาบมะพร้าวหรือจะปลูกพืชคลุมแล้วไถกลบ หรือเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้ วัสดุเหล่านี้นำมาใช้เป็นปุ๋ยได้โดยคำนวณปริมาณธาตุอาหารให้เท่ากับที่แนะนำไว้คือ ให้มีปริมาณไนโตรเจน 520 กรัม ฟอสฟอริกแอซิด 520 กรัม โพแทสเซียม 840 กรัม

แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละประมาณ 40 กิโลกรัม ถ้าใส่ต้นมะพร้าวใหญ่มีวิธีใส่ให้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 หว่านลงไปบนดินแล้วพรวนกลบหรือใช้จอบหมุนพรวนให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร โดยให้ใส่ต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม

วิธีที่ 2 ใส่ในรางซึ่งขุดระหว่างต้นมะพร้าวหรือรอบต้นมะพร้าว แล้วใส่ปุ๋ยลงไปกลบ ปุ๋ยที่ใส่ควรใช้ปุ๋ยพืชสด การใส่ปุ๋ยควรใส่ตอนต้นฤดูฝน โดยทั่วไป การใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยขยะ ควรใส่ในรางหรือขุดรอบต้น ห่างต้นละประมาณ 2 เมตร แล้วใส่ปุ๋ยลงไปแล้วกลบ การขุดรางบริเวณรอบต้นอย่าขุดให้ลึกจนตัดรากมากนัก อาจขุดเป็นหลุมแล้วใส่ก็ได้

เกษตรกรควรนำกาบมะพร้าวใส่หลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร แล้วกลบ การฝังกาบมะพร้าวช่วยทำให้มะพร้าวออกผลดกขึ้น และช่วยสงวนความชื้นไว้ในดินในฤดูแล้ง กาบมะพร้าวนอกจากจะใช้ฝังดินแล้วยังนำมาเผาเป็นเถ้าถ่านซึ่งมีธาตุโพแทสเซียมถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

การใส่ปุ๋ยเคมี

ก่อนใส่ปุ๋ยให้กับต้นมะพร้าว เกษตรกรควรทราบว่าในปัจจุบันบริเวณที่ปลูกมะพร้าวขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง วิธีการตรวจสอบที่สะดวกและได้ผลดีคือ เก็บเอาใบมะพร้าวไปตรวจวิเคราะห์ โดยใช้ใบมะพร้าวใบที่ 14 ผลการวิเคราะห์ใบเป็นเปอร์เซ็นต์ของธาตุต่างๆ คือ N, P, K, Ca, Mg นำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานซึ่งเรียกว่า ระดับวิกฤต (Critical level) ซึ่งระดับมาตรฐานของธาตุอาหารในใบมะพร้าวใบที่ 14 ประกอบด้วย N 18, P 0.12, K 0.8-1.0, Ca 0.35, Mg 0.35, Na 0.30 ทั้งนี้ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารเพียงพอ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ความต้องการธาตุอาหารของมะพร้าว ธาตุ N, P, K, Ca, Mg และ S พบมากในส่วนของใบและผล ซึ่งธาตุดังกล่าวจำเป็นสำหรับมะพร้าวในการสร้างใบและผล พบว่า มะพร้าว 1 ไร่ จะดูดธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย N 9 กิโลกรัม, P 4.4 กิโลกรัม, K 5.68 กิโลกรัม, Ca 7.68 กิโลกรัม และ Mg 3.56 กิโลกรัม

พืชกระท่อม (kratom) เป็นพืชวงค์เดียวกับกาแฟ พืชกระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกต้นสีเทา ลำต้นของกระท่อมมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านน้อย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม เส้นใบเป็นสีแดง เรียก ชนิดก้านแดง เส้นใบเป็นสีเขียว เรียก ชนิดก้านเขียว บางชนิดอาจมีปลายใบเป็นหยัก เรียก ชนิดหางกั้ง หรือยักษ์ใหญ่

ต้นกระท่อม สามารถพบได้ทั่วไปในป่าธรรมชาติตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนจนถึงตอนล่าง พืชกระท่อมจัดเป็นประจำถิ่นของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาบสมุทรมลายู มาเลเซียเกาะบอร์เนียว สุมาตรา นิวกินี และฟิลิปปินส์ พืชกระท่อมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ เมล็ดที่มีปีกบาง จะสามารถปลิวไปได้ไกลตามแรงลม และสามารถแขวนลอยไปกับน้ำได้ง่าย จึงพบต้นกระท่อมได้ตามริมลำธาร โดยเฉพาะดินชื้นแฉะ

เนื่องจากพืชกระท่อมจัดเป็นพืชเสพติดให้โทษจึงไม่มีการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมเพาะต้นกล้าจากเมล็ดจนได้ต้นกล้าสูง 15-20 เซนติเมตร ย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นที่เหมาะสม และสามารถใช้วิธีการติดตา ทาบกิ่ง กับต้นตอที่มีความแข็งแรง รวมไปถึงการติดตากับต้นกระท่อมขี้หมูที่โตไวกว่า

มีรายงานวิจัยของประเทศมาเลเซีย เรื่อง การขยายพันธุ์พืชกระท่อมโดยวิธีการปักชำ โดยใช้ต้นกล้าอายุ 2 ปี จากนั้นตัดกิ่งที่มีตาข้าง (ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 8) ปักในกระบะดิน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่งราก สภาวะเลี้ยงคือ ที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8

กระท่อมมีคุณประโยชน์ในฐานะเป็นพืชสมุนไพรที่มีตำรายาโบราณและตำราแพทย์แผนปัจจุบันรองรับมากมาย และมีโอกาสลงทุนปลูกต้นกระท่อมในเชิงป่าเศรษฐกิจ เนื่องจากกระท่อมเป็นไม้โตเร็ว มีความเหมาะสมในการแปรรูปเป็นเครื่องเรือนหรือเพื่อใช้ในการก่อสร้างได้ในอนาคต

ส่วนทิศทางการสร้างรายได้หลังที่มีการ “ปลดล็อกพืชกระท่อม” ควรจะเป็นไปในรูปแบบไหน สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกควรเตรียมตัวอย่างไร สามารถหาคำตอบได้พร้อมกันในวันที่ 22 ธ.ค. นี้ ตั้งแต่ 13.30 น. เป็นต้นไป ร่วมชมการฉายภาพถนนเศรษฐกิจสายใหม่จากภาครัฐ-เอกชน ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ “อนาคตกระท่อม กับการปลดล็อกสู่พืชเศรษฐกิจ”

งานสัมมนาส่งท้ายปีโดยเทคโนโลยีชาวบ้าน ที่จะฉายภาพการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม-เกษตรไทย

22 ธ.ค. นี้ ตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ร่วมชมการฉายภาพถนนเศรษฐกิจสายใหม่จากภาครัฐ-เอกชน ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ “อนาคตกระท่อม กับการปลดล็อกสู่พืชเศรษฐกิจ” ต้องนำผลการฉีดวัคซีนที่ตรงกับข้อมูลในระบบลงทะเบียนข้างต้น มาแสดงที่หน้างาน*

**สงวนสิทธิ์ที่นั่งชมหน้างานสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้าชมล่วงหน้าและได้รับการติดต่อกลับจากทีมงานเพื่อยืนยันสิทธิ์ท่านั้น**

#เทคโนโลยีชาวบ้าน #สัมมนาเชิงวิชาการ

#อนาคตกระท่อมกับการปลดล็อกสู่พืชเศรษฐกิจ

#กระท่อม #พืชเศรษฐกิจ

#อุตสาหกรรม #เกษตรกร ภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วง 1-2 ปีนี้ ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ อาชีพ รายได้ของคนไทยจำนวนมาก นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความตั้งใจช่วยเหลือสังคมไทยฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกันใน 2 รูปแบบ คือ โครงการ “ครัวปันอิ่ม” แจกอาหาร 2 ล้านกล่อง และโครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ ผลิต 30 ล้านแคปซูล แจกฟรีแก่คนไทยเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาสมุนไพร เสริมภูมิคุ้มกัน

แปลงปลูกฟ้าทะลายโจร เริ่มปลูกตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2564 มีการควบคุมการผลิตมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการบริหารจัดการ ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ยาสมุนไพร อย่างเคร่งครัด โดยมีการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ได้ปริมาณสารสำคัญ คือ Andrographolide ในวัตถุดิบอย่างเคร่งครัด และใช้ห้องแล็บมาตรฐานที่ได้รับการรับรองคุณภาพยาสมุนไพร เพื่อให้สมุนไพรปันปลูก แต่ละ 1 แคปซูล 400 มิลลิกรัม มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ไม่ต่ำกว่า 4 มิลลิกรัม

ฟ้าทะลายโจรที่ผ่านการเก็บเกี่ยวป้อนเข้าสู่กระบวนการอบลดความชื้นด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นส่งมอบวัตถุดิบให้บริษัทพันธมิตร 4 แห่ง คือ บริษัท แสงสว่างตราค้างคาว บริษัท พนาพัฒน์ เฮลท์แคร์ จำกัด บมจ.โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) และบริษัท โชคชัยเฮิร์บ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสมุนไพรที่ได้รับมาตรฐาน GMP PIC/S และผ่านการฉายรังสีแกมมาทุกแคปซูล เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรชื่อ “ปันปลูก” 1 กระปุก จำนวน 75 แคปซูล (ใช้ผงฟ้าทะลายโจร 30 กรัม) มีอายุเก็บได้ยาวนานขึ้น ก่อนส่งมอบให้กับพี่น้องประชาชน

ฟ้าทะลายโจรแปลงใหญ่

โครงการปันปลูก-ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ ใช้จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่เพาะปลูก โดยแบ่งเป็น 2 โซน แปลงแรกเนื้อที่ 30 ไร่ ตั้งอยู่ที่ฟาร์มแสลงพัน บน และอีกแปลงเนื้อที่ 70 ไร่ อยู่ที่ฟาร์มคำพราน ทางซีพีได้รวบรวมต้นกล้าฟ้าทะลายโจร จำนวน 1 ล้านต้น มาจาก 6 แหล่ง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครปฐม (กำแพงแสน) จังหวัดปราจีนบุรี (บ้านดงบัง) จังหวัดสุโขทัย (สวรรคโลก) จังหวัดกาญจนบุรี (ไทรโยค) และจังหวัดอุบลราชธานี

“ทางเครือซีพีได้รวบรวมสายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรจาก 6 แหล่งทั่วประเทศแล้ว ยังมีฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตร คือ สายพันธุ์พิจิตร 4-4 และพันธุ์พิษณุโลก 5-4 ซึ่งมีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สูงมาปลูกในโครงการนี้ด้วย นอกจากนี้ เครือซีพี ได้ยื่นขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร นำเข้าพันธุ์ฟ้าทะลายโจรจากประเทศอินเดียเข้ามาปลูกเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ไทยเพื่อค้นหาฟ้าทะลายโจรที่ให้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สูงที่สุด สำหรับกระจายให้แก่ประชาชนในอนาคต” ดร.ศฎาวุฒิ กุลมณี รองกรรมการผู้จัดการบริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร กล่าว

กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือซีพี ผู้ดำเนินโครงการปันปลูก ฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ ตั้งใจศึกษาวิจัยเรื่องสายพันธุ์ฟ้าทะลายโจร และใช้เทคโนโลยีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ ใช้ข้อมูลความชื้นในดิน ร่วมกับสถานีวัดปริมาณน้ำฝน เพื่อให้พืชได้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม การปลูกแบบแถวยกร่อง มีทั้งแบบร่องเดี่ยวและร่องคู่ ได้ผลผลิตประมาณ 2 ตันต่อไร่

“ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชสมุนไพรที่ sensitive ต่อสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาอย่างมาก ดังนั้น จึงต้องมีเทคโนโลยีการปลูกดูแลที่เหมาะสม ตั้งแต่การเลือกดินปลูก ปริมาณน้ำที่พืชต้องการ ขั้นตอนการเพาะปลูกที่เหมาะสม วิธีการจัดการแปลง อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ปริมาณสารสำคัญสูง การปลูกฟ้าทะลายโจรในปี 2564 ถือเป็นผลผลิตรุ่นแรก ยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน จึงต้องวางแผนปลูกฟ้าทะลายโจรอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ชัดเจนก่อนถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้สู่เกษตรกรที่สนใจต่อไป” ดร.ศฎาวุฒิ กล่าว

การเตรียมดิน เริ่มไถพรวนให้ดินร่วน หากวัชพืชมีมากให้ไถพรวน 2 ครั้ง คือไถเปิดหน้าดิน และตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วไถพรวนดินให้ร่วน ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์

การปลูก โดยใช้วิธีการเพาะกล้าและย้ายปลูก (อายุกล้าประมาณ 40-50 วัน) ขุดหลุมกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 8-12 เซนติเมตร ปลูกเป็นแถว ระยะห่างระหว่างต้น 20-30 เซนติเมตร และระหว่างแถว 70-75 เซนติเมตร 1 ไร่ ปลูกต้นฟ้าทะลายโจรเฉลี่ย 9,000-10,000 ต้น

การให้น้ำ หากแดดจัดให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังจาก 2 เดือน ให้น้ำตามความเหมาะสม ที่นี่ใช้ระบบชลประทานขนาดใหญ่ คือ ระบบ Center piyot irrigation ระบบ Linear inigation และระบบน้ำพุ่ง

การกำจัดวัชพืช ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ส่วนการใส่ปุ๋ย รองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 500 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 30 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมี

การเก็บเกี่ยว สามารถเก็บเกี่ยวอายุ 60 วัน หลังปลูกกล้า สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 รอบต่อปี ใช้วิธีตัดต้นและการเก็บเมล็ด สำหรับการเก็บเกี่ยวระยะเริ่มออกดอก-ระยะดอกบาน 50% วิธีเก็บเกี่ยวคือ ตัดทั้งต้นเหนือดิน ประมาณ 5-10 เซนติเมตร จะได้ผลผลิตต้นสด 2,000 กิโลกรัมต่อไร่

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว นำไปคัดแยกสิ่งปนปลอม เช่น วัชพืชที่ปะปนมา และล้างน้ำให้สะอาด ตัดต้นฟ้าทะลายโจรเป็นท่อน ยาว 3-5 เซนติเมตร ก่อนนำไปอบลดความชื้นในโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ และอบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40-45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

เน้นการเกษตรปลอดภัย ที่นี่ดูแลจัดการแปลงปลูกฟ้าทะลายโจร โดยยึดหลักการทำเกษตรปลอดภัย ไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช ดูแลการผลิตให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ดูแลควบคุมคุณภาพน้ำ ดูแลตรวจสอบไม่มีสารพิษหรือโลหะหนักในพื้นที่แปลงเพาะปลูก มีการจดบันทึกข้อมูลการปลูกดูแลทุกขั้นตอน เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิต

“คาดว่า เชื้อไวรัสโควิดจะยังอยู่กับโลกใบนี้ตลอดไป นอกจากใช้ฟ้าทะลายโจรในการดูแลรักษาสุขภาพแล้ว เครือซีพียังมองเห็นความสำคัญและคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรสำหรับดูแลสุขภาพคนไทย เช่น กระชายขาว กระชายดำ บัวบก ขิง ฯลฯ จึงมุ่งศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรต่างๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต” ดร.ศฎาวุฒิ กล่าวในที่สุด

ในระยะนี้การทำเกษตรค่อนข้างได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ที่ทำอาชีพอื่นมาสนใจทำอาชีพทางการเกษตรมากขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนการทำให้ดูทันสมัย พร้อมทั้งมีการทำการตลาดที่สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า จึงทำให้สามารถทำการตลาดชนิดที่ว่าแม้ขายออนไลน์ก็มีการจัดส่งอย่างเป็นระบบสินค้าไม่เสียหาย จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยส่งเสริมการขายในเวลานี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

คุณอรัญญา บุญมีมาพาสุข โบรกเกอร์สาวคนเก่ง ได้มีการปรับเปลี่ยนจากสาวออฟฟิศหันมาทำการเกษตรอย่างจริงจัง ชนิดที่ว่าทำแล้วต้องไม่มีตกเทรนด์ ต้องไม่ลำบาก ให้ทุกคนได้เห็นว่าการทำเกษตรนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แม้ไม่ได้เรียนเกษตรแต่ก็สามารถประสบผลสำเร็จได้เช่นกัน โดยเธอได้ทดลองปลูกเมล่อน และนำมาสร้างเป็นอาชีพในเวลาต่อมาชนิดที่ว่าขายดิบขายดีกันเลยทีเดียว

คุณอรัญญา เล่าให้ฟังว่า UFABET เดิมทีครอบครัวทำเกี่ยวกับการเกษตรมาก่อนแล้ว แต่ต่อเมื่อมีโอกาสจึงได้นึกถึงการปลูกพืชแบบแนวใหม่ เพื่อที่จะช่วยให้ทุกคนได้เห็นว่าการทำเกษตรนั้นไม่ได้ยากแบบสมัยก่อน จึงได้เลือกศึกษาการปลูกเมล่อนญี่ปุ่น เพราะเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ จึงทำให้ได้ไปศึกษาการปลูกอย่างเป็นระบบ และนำมาปฏิบัติจริงอยู่สักพัก จากนั้นจึงมาลงทุนทำโรงเรือนและสร้างป็นสินค้าที่ขายดีในเวลานี้

“ช่วงที่เราศึกษาเราจะเห็นว่า เมล่อนญี่ปุ่นเป็นอะไรที่ยังขายได้ เพราะว่ารสชาติดี และช่วงที่เรามาศึกษาช่วงโควิด-19 เราจะเห็นว่าเขาเน้นขายออนไลน์กัน และตลาดออนไลน์ก็น่าจะไปได้ เพราะเมล่อนสามารถขายตลาดออนไลน์ได้ดี โดยเราจะเน้นสายพันธุ์ญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเราจะเน้นการขายด้วยการวาดลวดลายเป็น เพื่อที่จะทำให้มีความน่าสนใจ และลูกค้าสามารถมาสั่งเพื่อมอบเป็นสินค้า มอบให้กันในช่วงวันพิเศษต่างๆ ได้” คุณอรัญญา บอก

สำหรับการปลูกเมล่อนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คุณอรัญญา บอกว่า จะนำเมล็ดมาแช่น้ำอย่างน้อย 1 คืน จากนั้นนำมาเพาะลงในถาดปลูก ประมาณ 7 วัน ก็จะได้เป็นต้นกล้าเล็กๆ เมื่อเห็นมีใบแท้ขึ้นมีประมาณ 3 ใบ จึงย้ายลงไปปลูกในวัสดุปลูกที่อยู่ภายในโรงเรือน ซึ่งภายในโรงเรือนนั้นมีการทำโรงเรือนอย่างเป็นระบบ ทั้งตาข่ายป้องกันแมลงและพลาสติกใสกรองแสงที่ช่วยให้เมล่อนเจริญเติบโตได้ดี

เมื่อนำต้นอ่อนลงไปปลูกในโรงเรือนแล้ว จากนั้นจะให้น้ำผ่านทางระบบน้ำหยดที่มาพร้อมปุ๋ยเลย ให้ในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น โดยระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 30 เซนติเมตร หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 15 วัน ต้นเมล่อนก็จะเริ่มมีดอกออกมาให้ผสมเกสรได้ โดยเกสรตัวผู้จะออกมาก่อนเกสรตัวเมีย ซึ่งเวลาที่ผสมเกสรที่ดีที่สุดจะเป็นช่วงเช้า ประมาณ 05.00 น. เมื่อผสมติดเมล่อนก็จะเริ่มออกมาเห็นผลลูกเท่าไข่ไก่ ซึ่งในระยะนี้ต้องให้น้ำพร้อมปุ๋ยอย่างจริงจัง วันละ 6 ครั้ง ดูแลต่อไปอีกประมาณ 45 วัน หลังจากนั้นเมล่อนก็จะได้ขนาดผลที่พร้อมจะตัดขายได้

“เมล่อนเราจะไว้ 1 ต้น 1 ผล เพื่อให้ได้ลูกที่สมบูรณ์ที่สุด ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคแมลงนั้น เราก็จะป้องกันในเรื่องของเชื้อราเป็นหลัก เพราะช่วงที่เราให้น้ำ วัสดุปลูกอาจจะมีปัญหาได้ เพราะฉะนั้นในเรื่องของการป้องกันเชื้อรานั้นสำคัญ ส่วนในเรื่องของแมลงต่างๆ ไม่ค่อยเกิดปัญหา เพราะว่าเรามีตาข่ายป้องกัน จึงทำให้สามารถที่จะกันแมลงพวกนี้ได้ดี” คุณอรัญญา บอก