ของเกษตรกรชาวสวนจังหวัดนครปฐมที่ใช้แล้วได้ผลดี

ที่อยากนำมาบอกต่อ คือ เมื่อต้นมะม่วงออกดอก ในเวลายามเช้า เกษตรกรจะปีนขึ้นบนต้นมะม่วงไปเขย่าต้นและกิ่งเบาๆ เพื่อให้ละอองเกสรตัวผู้ปลิวฟุ้งกระจายจากส่วนยอดไปทั่วทรงพุ่ม เปิดโอกาสให้มีการผสมเกสรมากขึ้น ช่วงนี้ควรลดการใช้สารเคมีในสวนลง เพื่อเพิ่มจำนวนแมลงภู่ ผึ้ง มิ้ม ชันโรง ให้บินมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสรไปพร้อมกัน

“ แมลงวันหัวเขียว ”เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยผสมเกสรได้ อาศัยเทคนิคเพิ่มปริมาณแมลงวันหัวเขียว โดยนำเศษเนื้อหรือเศษปลาที่มีกลิ่นคาวจัดมาแขวนไว้ใต้ทรงพุ่มของต้นมะม่วง ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงแมลงวันหัวเขียวจะยกขบวนมาตอมเศษเนื้อและเศษปลาดังกล่าว แมลงวันตอมจนพอใจแล้วจะบินไปกินน้ำหวานที่เกสรเพศเมีย จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง เป็นการช่วยผสมเกสรให้ดอกมะม่วงเป็นอย่างดี น้ำหวานจากดอกมะม่วง หรือไม้ดอกชนิดต่างๆ จะทำหน้าที่ช่วยพัฒนารังไข่ของแมลงทุกชนิดให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้การผสมพันธุ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่วงที่ต้นมะม่วงติดดอก ต้องระวัง “โรคแอนแทรกโนส ”เป็นกรณีพิเศษ โรคแอนแทรกโนส เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง หากเข้าทำลายในระยะออกดอก จะมีจุดสีแดงเกิดขึ้นที่ก้านดอกก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ทำให้ดอกหรือผลอ่อนฝ่อและร่วง ช่วงการระบาดมักเกิดขึ้นในฤดูฝนที่มีความชื้นสูง

วิธีป้องกัน “โรคแอนแทรกโนส ” คือ ต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ลมพัดผ่าน แสงแดดส่องเข้าไปในทรงพุ่มได้ การระบาดรุนแรงให้ใช้แมนโคเซบ 80 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 40-50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ และ งดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 7 วัน หรือใช้เบโนมิล 50 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 6-12 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ และต้องงดการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 14 วัน ส่วนแมลงที่ทำให้ผลมะม่วงร่วง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง แมลงชนิดนี้มีขนาดลำตัวยาว 1-2 มิลลิเมตร อาศัยอยู่บนต้นมะม่วงเป็นกลุ่ม ที่โคนก้านช่อดอกและก้านใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ก้านช่อดอก ทำให้ติดผลน้อย หรือไม่ติดผลเลยก็พบได้ ระบาดตั้งแต่ระยะแทงช่อจนกระทั่งติดผล มูลที่เพลี้ยขับถ่ายออกมามีรสหวาน กลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อราที่ปลิวอยู่ในอากาศ เกิดมีราสีดำขึ้นปกคลุมผิวใบ ทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงด้อยลง วิธีลดความรุนแรงของราดำให้ฉีดพ่นน้ำสะอาดล้างในยามเช้า นับว่าได้ผลดี

หากต้นมะม่วงโชคร้าย เจอ “เพลี้ยจักจั่นมะม่วง” ควรแก้ไขโดยใช้วิธีสุมไฟรมควันไล่ วิธีนี้ต้องทำบ่อยๆ หากเจอการระบาดรุนแรง ควรใช้แลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่ว 1-2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ การระบาดของเพลี้ยจักจั่นจะหมดไปและให้งดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อยเป็นเวลา 8 วัน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ดร.สุขุม อัศน์เวศ อดีตคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะนำเคล็ดลับ การเก็บผลมะม่วงให้มีรสหวานแหลมและไม่เฝื่อน โดยใช้กรรไกร ตัดขั้วให้มีความยาว 5-10 เซนติเมตร ป้องกันยางไหลเปื้อนผลมะม่วง อย่าให้ผลมีรอยตำหนิ นำผลวางลงในตะกร้าที่มีวัสดุรองพื้น รีบนำเข้าโรงเรือนที่มีร่มเงา จากนั้นตัดขั้วผลให้เหลือความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร นำไปวางคว่ำลงบนตระกร้าเพื่อให้ยางไหลออกจากผลจนหมดใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังยางแห้งแล้วให้นำผลมะม่วงไปล้างน้ำให้สะอาด นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง ผลมะม่วงที่ได้จะมีรสหวานแหลม ทั้งชนิดรับประทานผลสดและชนิดรับประทานผลสุก ใครชิมรสชาติแล้วต้องติดใจทุกราย

ขอแสดงความยินดีย้อนหลังกับผู้ประกอบการภายใต้การสนับสนุนของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้รับรางวัล จากงาน Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย ประจำปี 2017 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

รางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7innovation Awards 2017 ด้านเศรษฐกิจ ประเภทนักประดิษฐ์ มีผู้รับรางวัล จำนวน 3 ราย ได้แก่

รศ.ดร. นันทกาญจน์ มุรศิต บจก. วอนนาเทค ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ สเปรย์พ่นเคลือบรองเท้าผ้าใบสีขาว SmartWhite”
คุณพิชัย จงไพรัตน์ บจก. สยามคลาสสิค เวลล์เนส ผลงาน “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเห็ดถังเช่าสีทอง”
คุณอับดุลเลาะ เจ๊ะอุบง บจก. เจบีโกล เบเกอรี่ (ประเทศไทย) ผลงาน “ผลิตภัณฑ์โรตีแช่แข็ง” ส่วนรางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7innovation Awards 2017 ด้านสังคม ประเภทนักประดิษฐ์ ตกเป็นของ “คุณมนต์ชัย แซ่ว่อง” บจก. ไทยแอดวานซ์ อะกรีเทค เจ้าของผลิตภัณฑ์ “ชุดปลูกพืชแนวตั้ง”

เสน่ห์ “ชุดปลูกพืชแนวตั้ง” โดนใจผู้ซื้อ

จุดเด่นนวัตกรรม “ผลิตภัณฑ์กระถางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แนวตั้ง” อยู่ที่รูปแบบการเพิ่มผลผลิตการเพาะปลูกในพื้นที่จำกัด ประหยัดพื้นที่ได้มากกว่าการปลูกแนวนอนถึง 3 เท่า ใช้คนทำงานน้อย ผลผลิตมีคุณภาพสูงและดูแลง่ายกว่า มีระบบการปั๊มน้ำขึ้นให้ถึงชั้นบนสุด แล้วปล่อยไหลลงมาในแต่ละชั้น ทำให้เพิ่มปริมาณอากาศในน้ำและการจัดเรียงโมเลกุลของน้ำ ผลิตจากพลาสติก Food Grade ทำให้มั่นใจว่าไม่มีสารพิษจากพลาสติกตกค้างเข้าไปในพืชผัก ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผ่านการจดอนุสิทธิบัตรและจดความคุ้มครองระหว่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ได้เปิดตัวเข้าสู่ตลาดเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว พบว่า ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อทั้งในประเทศและตลาดส่งออกได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฯลฯ ในปี 2559 สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 3.3 ล้านบาท โดยยอดขายส่วนใหญ่มาจากตลาดส่งออกถึง 90% ส่วนอีก 10% เป็นยอดขายในประเทศ

ปัจจัยบวกที่นวัตกรรมชิ้นนี้โดดใจผู้ซื้อมากที่สุด ก็คือ “ชุดปลูกพืชแนวตั้ง” ช่วยเพิ่มผลผลิตการเพาะปลูกพืชได้ในพื้นที่จำกัด สร้างโอกาสให้ผู้อาศัยในคอนโดมิเนียม หรือตึกสูงในเมือง สามารถปลูกพืชผักรับประทานเองได้ ที่สำคัญยังเป็นผักปลอดสารพิษที่สะอาดและปลอดภัยอีกต่างหาก

คุณมนต์ชัย เป็นคนชอบรับประทานผักมากๆ และตั้งใจปลูกผักสำหรับบริโภคในครัวเรือนด้วยตัวเอง เขาลงทุนซื้ออุปกรณ์ปลูกผักไร้ดิน หรือการปลูกผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) บนหลังคาตึก เนื่องจากครอบครัวของเขาทำธุรกิจด้านพลาสติกอยู่แล้ว จึงเกิดความสงสัยว่า อุปกรณ์การปลูกผักไร้ดินทำมาจากพลาสติกทั่วไป ไม่ใช่พลาสติกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม จะมีปัญหาสารเคมีตกค้างปนเปื้อนผักที่ปลูกไว้หรือไม่

เพื่อคลายข้อสงสัยดังกล่าว เขาได้จัดส่งตัวอย่างผักที่ปลูกไปให้ อาจารย์ปฐมพงษ์ วงศ์เลี้ยง นักวิชาการกลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ช่วยตรวจสอบ ก็ได้ข้อสรุปว่า ผักที่ปลูกมีสารพิษปนเปื้อนอย่างที่เขากลัวจริงๆ สารพิษดังกล่าว มาจากการใช้พลาสติกผิดประเภท เมื่อท่อพลาสติกถูกแสงแดด ทำให้เสื่อมสภาพ ปลดปล่อยสารพิษปะปนกับน้ำและปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกผัก เมื่อนำผักไปทำอาหาร ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษประเภทกรดอะซีติก และไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายตามไปด้วย นอกจากนี้ เอกชนบางรายได้ใช้กระเบื้องลอนคู่แทน ท่อ พีวีซี ในการปลูกผักไร้ดิน ทำให้มีสารประกอบของแร่ใยหินปนเปื้อนเข้าสู่ผักด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากเช่นกัน

จากปัญหาที่พบเจอ ทำให้คุณมนต์ชัยเกิดแรงบันดาลใจที่จะใช้อุปกรณ์ชุดปลูกผักที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยศึกษาด้วยตัวเองควบคู่กับพัฒนาระบบร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2557 จนได้ชุดปลูกพืชแนวตั้งที่ผลิตจากเม็ดพลาสติก Food Grade ผสมสารยูวี มีฉนวนกันความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิน้ำ รวมทั้งผสมสารกันแสง ทำให้ไม่มีตะไคร่จับภายในท่อ ลดการหมักหมมที่ทำให้เกิดเชื้อโรค เนื้อพลาสติก Food Grade ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำปุ๋ยและสามารถใช้งานได้ประมาณ 4-5 ปี หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการดูแลรักษา ชุดปลูกผักไร้ดินแนวตั้ง แบ่งเป็นชั้นๆ มีตั้งแต่ 4-7 ชั้น แต่ละชั้นมีช่องปลูก 4-5 ช่อง มีเสาแกนพลาสติกอยู่ตรงกลาง ภายในเป็นท่อสแตนเลส ทำหน้าที่ปั๊มน้ำผสมปุ๋ยจากถังเก็บส่วนล่างขึ้นบน โดยวางระบบให้น้ำจากถังเก็บด้านล่างสูบขึ้นมาด้วย ปั๊มขึ้นไปตามท่อด้านบน ปล่อยน้ำให้ไหลลงมาสู่ถาดปลูกด้านบนสุดก่อน จึงค่อยไหลลงมาสู่ถาดปลูกด้านล่างตามลำดับ สุดท้ายน้ำจะถูกดูดไหลไปรวมกันที่ถังเก็บเช่นเดิม ทำให้อุณหภูมิน้ำเย็นกว่าน้ำที่อยู่ในแนวราบ ช่วยให้พืชได้รับน้ำและธาตุอาหารอย่างเหมาะสม แล้วยังเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำมากขึ้นด้วย ทำให้ระบบรากพืชแข็งแรง ไม่มีปัญหาโรครากเน่า

ชุดปลูกแนวตั้ง การปลูกผักแนวตั้ง พืชสามารถจะดูดซึมสารอาหารจากน้ำปุ๋ยได้เต็มที่และเติบโตได้รวดเร็ว เฉลี่ย 15-20 วัน ต่อ 1 รอบการปลูก ขณะที่การปลูกผักไร้ดินแนวราบ โดยทั่วไปจะใช้ปลูกดูแลเฉลี่ย 40-45 วัน ต่อ 1 รอบการปลูก

คุณมนต์ชัย ได้นำผักที่ปลูกในชุดปลูกพืชแนวตั้งของเขาไปให้อาจารย์ปฐมพงษ์ตรวจสอบอีกครั้ง ก็ไม่พบสารพิษปนเปื้อน ผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัล STI AWARDS 2015 ระดับภาคใต้ คุณมนต์ชัย ตัดสินใจผลิตชุดปลูกพืชแนวตั้งออกจำหน่ายใน 2 รูปแบบ ได้แก่

แบบ I-stack มีช่องปลูก 4 ช่อง เหมาะกับปลูกพืชอายุสั้น
แบบ star-stack มีช่องปลูก 5 ช่อง เหมาะกับปลูกพืชอายุยาว ราคาจำหน่ายโดยเฉลี่ย ประมาณ 3,000-4,300 บาท
สามารถปลูกได้ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ สตรอเบอรี่ ผักสลัด ผักสวนครัว ประเภทผักบุ้งจีน ผักกาดหอม ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง กะเพรา เป็นต้น

ภายหลังเปิดทดลองขาย ปรากฏว่า ผลงานชิ้นนี้ขายดิบขายดี เป็นที่สนใจของผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะนวัตกรรมชิ้นนี้สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตคนเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งพักอาศัยในตึกสูง คอนโดมิเนียม ที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่การใช้สอย เนื่องจากชุดปลูกแนวตั้งใช้พื้นที่น้อย แต่สามารถปลูกผักได้มากกว่าการปลูกแนวนอน

ชุดปลูกพืชแนวตั้ง ช่วยประหยัดพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกพืชหรือผัก สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณระเบียงห้อง หรือบริเวณหน้าบ้าน สามารถปลูกผักได้หลายชนิด ถ้าปลูกผักแนวตั้งในระดับอุตสาหกรรมก็จะได้ผลผลิตที่มากกว่าการปลูกแบบทั่วไป ชุดปลูกพืชแนวตั้งชนิดนี้สามารถประกอบได้ด้วยตัวเอง เก็บง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกได้หลายระบบ โดยใช้น้ำและใช้ดิน สามารถปลูกได้ทั้งดอกไม้ ผักสลัด หรือผักสวนครัว ผักที่ได้มีความสะอาดและปลอดภัย เพราะปลูกด้วยตัวเอง การร่วมกันปลูกผักภายในครอบครัวสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้น ชุดปลูกพืชแนวตั้งของคุณมนต์ชัย นับเป็น “นวัตกรรมเพื่อธุรกิจ” เหมาะสำหรับปลูกผักเชิงการค้า ในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่ด้วย โดยทั่วไปการปลูกผักไร้ดิน ที่ใช้อุปกรณ์เพาะปลูกแนวนอน มักมีต้นทุนเฉลี่ย ไร่ละ 3-4 ล้านบาท แต่การปลูกโดยใช้อุปกรณ์ชุดปลูกพืชแนวตั้ง รวมกับระบบโรงเรือน EVAP (Evaporative Cooling Greenhouse) จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าประมาณ 50% แต่ให้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะได้ผลผลิตในปริมาณมาก ที่สำคัญสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาสั้นๆ เพียงแค่ปีเศษเท่านั้น

เปิดศูนย์เรียนรู้การปลูกผักไร้ดิน ที่หาดใหญ่

ปัจจุบัน คุณมนต์ชัย ได้ทำฟาร์มปลูกพืชไร้ดินในแนวตั้งไฮโดรโปนิกส์ ชื่อว่า “Urban Vertical Hydroponics Farming” เนื้อที่ 1 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 228/1 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ฟาร์มแห่งนี้ได้นำอุปกรณ์การปลูกพืชแนวตั้ง มาปลูกพืชอายุสั้น เช่น ผักกาดหอม ผักสลัด ผักกาดขาว ผักฮ่องเต้ ฯลฯ และปลูกพืชอายุยาว อายุ 1 ปี เช่น มะเขือเทศเชอร์รี่ ฯลฯ โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่อาศัยสารชีวภาพช่วยดูแลกำจัดแมลงแทน ในอนาคตเตรียมพัฒนาพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการปลูกพืชไร้ดินให้กับเยาวชนและประชาชน เพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับผู้สนใจทั่วไป

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมชิ้นนี้ได้ที่ บริษัท ไทย แอดวานซ์ อะกรี เทค จำกัด เลขที่ 84/56-57 หมู่ที่ 7 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เบอร์โทร. (089) 492-2470, (085) 585-3331 เฟซบุ๊ก verticalhydroponic หรือ Line ID : thaiadvanceagritech ตั้งแต่ เวลา 08.00-17.00 น. ได้ทุกวัน

ชื่นมื่นกันทุกฝ่ายสำหรับงานมะยงชิด-มะปรางหวาน ของดีนครนายก ซึ่งจัดขึ้นเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำเอาบรรดาชาวสวนปลื้มกันยกใหญ่ เพราะขายดี ไม่ว่าจะเป็นผลหรือกิ่งพันธุ์ ขณะที่ปีนี้ผลผลิตก็ออกมาเยอะกว่าปีก่อน อีกทั้งได้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์แล้ว ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของมะปรางหวาน มะยงชิด นครนายกดีเพิ่มขึ้นไปอีก นอกเหนือจากจุดเด่นในเรื่องรสชาติหวานและขนาดใหญ่ของผล

พร้อมกันนั้นยังมีเรื่องน่าดีใจอีกอย่าง เพราะได้มีการค้นพบวิธีการที่จะทำให้เจ้าผลไม้ลูกสีเหลืองทองนี้ออกดอกออกช่อติดผลเยอะๆ ด้วย เรื่องนี้ ร.ต.ต. อำนวย หงษ์ทอง หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ดาบนวย” นายกสมาคมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก จะเป็นผู้เฉลยให้ฟัง ซึ่งตำรวจวัยเกษียณ อายุ 63 ปี รายนี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะปรางมะยงชิดขั้นเทพทีเดียว เพราะปลูกมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเป็นเจ้าของ “สวนนพรัตน์” ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เกือบ 50 ไร่ รวมกับอีกแปลงที่อยู่ตำบลสาลิกา อำเภอเมือง ถือเป็นเกษตรกรยุคแรกๆ ที่เริ่มปลูกมะปรางในจังหวัดนครนายก ซึ่งมีไม่กี่ราย

เทคนิคติดหลอดไฟพบโดยบังเอิญ

ดาบนวย เล่าว่า ปีนี้มะปรางและมะยงชิดจะยังคงมีขายไปจนถึงเดือนเมษายน เพราะช่วงปลายมีนาคมบางสวนลูกยังเขียวอยู่ อย่างที่สวนนพรัตน์คาดว่าจะมีผลผลิตขายได้ถึง 10 ตัน แต่เป็นช่วงปลายฤดู ไม่แน่ใจว่าขนาดลูกจะใหญ่เท่าชุดแรกหรือไม่ สาเหตุที่ทำให้มะปรางติดลูกดกปีนี้เพราะได้เรียนรู้เทคนิคบางอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญ

“เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หลอดไฟ ขนาด 40 วัตต์ ที่ติดไว้แถวโต๊ะม้าหินอ่อน เปิดตั้งแต่ 6 โมงเย็น จนถึงเช้า มีแสงสว่างไปถูกกิ่งพันธุ์ต้นมะปรางที่ตั้งทิ้งไว้ 10 กว่าต้น ทำให้ออกช่อ 1-2 กิ่ง ทั้งๆ ที่ช่อดอกจะออกตอนช่วงหน้าหนาว แต่ตอนนั้นเป็นหน้าฝน ปกติถ้าไม่หนาวมะปรางจะไม่ออกช่อ อุณหภูมิจะต้องต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นอุณหภูมิจะขยับขึ้นมา 22-24 องศา หลังจากหนาวแล้วก็มาอุ่น มะปรางถึงจะแทงช่อ”

อีกเหตุการณ์หนึ่งคือ ช่วงปลายปี 2559 ลูกน้อง แขวนกิ่งต้นมะปรางไว้ที่แผงขายของ ตั้งแต่ 6 โมงเย็น ถึง 3 ทุ่ม และช่วง ตี 4-6 โมงเช้า พอถึงหน้าฝน ยังไม่เข้าสู่ฤดูหนาว ปรากฏว่ามะปรางออกช่อเดียวอยู่ต้นเดียว และออกเฉพาะกิ่งที่ถูกแสงไฟ ทำให้รู้ว่า การออกช่อแบบนี้ผิดธรรมชาติ

จากนั้น ดาบนวย จึงเริ่มทดลองครั้งแรก จำนวน 20 ต้น โดยใส่ไฟตรงกลางต้นใหญ่ แต่ออกช่อไม่เยอะ มีอยู่ 8-9 ต้น ที่ออกช่อเต็มต้น และเริ่มทำอีกประมาณ 40 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 8×8 เมตร โดยสลับแถวกัน ใช้เปิดไฟในบางแถว บางแถวไม่ใช้ไฟ ปรากฏว่าในส่วนมะปรางที่ใช้แสงไฟจะออกช่อทุกต้น ในขณะที่แถวมะปรางที่ไม่ใช้ไฟไม่ออกช่อ

ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจว่า วิธีการใช้แสงไฟได้ผล ต่อมาทำอีกรุ่น ห่างกันประมาณไม่เกิน 7 วัน ใช้จำนวนหลอดไฟ 40 หลอด ในจำนวนมะปราง 20 ต้น ใช้ต้นละ 2 หลอด เพื่อให้แสงไฟส่องสว่างอย่างทั่วถึง และติดนานเป็นเดือน ส่งผลให้ออกช่อติดดีมาก ติดเกือบจะทุกกิ่ง

“วิธีติดดวงไฟ เพื่อให้มะปรางออกช่อดอก เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ และผมก็ได้ลองผิดลองถูก ทดลองอีก 3-4 รุ่น อย่างล่าสุด ทำเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ติดช่อแล้ว แต่ดูแล้วไม่น่าจะดี เพราะอากาศร้อนมาก ทำได้ 10 กว่าต้นที่ออกช่อ จากการสังเกต ปกติช่อดอกช่อหนึ่งจะออกลูก 2-3 ลูก แต่พอใส่ไฟ ทำให้ออกลูกติดผลเป็น 10 ลูกเยอะมากเกิน 3 เท่า ของการออกลูกปกติ ตอนแรกคิดว่าไม่น่าอยู่รอด แต่แม้จะร่วงก็ยังเยอะอยู่ ร่วงประมาณครึ่งหนึ่ง ได้ผลดกมาก กิ่งย้อยลงมา”

สำหรับรสชาตินั้น ดาบนวย ระบุว่า เท่าที่ชิมใช้ได้ และผิวสะอาดใส โรคหนอนและแมลงแทบจะไม่ค่อยมี

ปกติมะปรางมะยงชิด จะออกช่อหน้าหนาว พอแทงช่อแล้ว นับไปอีก 75 วัน จะเก็บผลได้ บวกลบไม่เกิน 5 วัน ถ้าหน้าหนาวจะเป็น 80 วัน หากอากาศร้อนลดลงไปเหลือ 70 วัน เพราะหน้าร้อนลูกจะสุกเร็ว ส่วนหน้าหนาวลูกจะสุกช้า

ทำนอกฤดูเหมือนมะม่วงไม่ได้

ดาบนวย เล่าว่า ช่วงหลายปีมานี้ ทั้งมะปรางและมะยงชิดที่นครนายกไม่ค่อยติดลูก จึงได้ไปปรึกษาขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากอากาศแปรปรวน นอกจากนี้ ยังเคยทดลองเพื่อให้ออกนอกฤดูแบบมะม่วงแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้

เดิมนั้นสวนของดาบนวยปลูกมะปราง 30% ปลูกมะยงชิด 70% รวมพันกว่าต้น ต่อมาเจอปัญหาไม่ค่อยออกลูกเลยโค่นมะยงชิดปลูกมะปรางแทน เพื่อให้ได้ 50% เท่ากัน โดยปลูกมะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์และมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้า

นายกสมาคมชาวสวนมะปรางฯ บอกว่า ได้แนะนำให้สมาชิกของสมาคมใช้หลอดไฟติดตรงต้นมะปรางเพื่อให้ออกลูกดก หลายรายทดลองไปทำก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ซึ่งเทคนิคนี้เป็นประโยชน์มากในการจัดงาน งานมะยงชิด-มะปรางหวาน ของจังหวัดนครนายก ในปีต่อๆ ไป เพราะสามารถกำหนดการจัดงานล่วงหน้าได้เป็นปี ตนเองมั่นใจว่า 90% ใช้ได้ผล นอกนั้นขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ

อย่างเช่น กำหนดจัดงาน ช่วง วันที่ 10 มีนาคม ก็ให้นับย้อนหลังไป ประมาณ 80 วัน แล้วเปิดไฟพร้อมกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตในช่วงเดียวกัน

ดาบนวย แนะนำว่า ควรจะทำเป็นรุ่นๆ เพื่อให้ดูแลได้ง่าย และมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปกติเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ฝนหมดแล้ว ก็ให้เริ่มติดหลอดไฟรุ่นแรก 100 ต้น ห่างอีก 1 เดือน ก็ทำอีก 100 ต้น โดยให้ติดประมาณ 25-30 วัน เน้นให้ทุกกิ่งได้รับแสงไฟอย่างทั่วถึง บางต้นอาจจะต้องติดมากกว่า 1 หลอด ซึ่งแม้จะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้น แต่หากคำนวณกับจำนวนมะปรางที่ติดลูกและขายได้แล้ว ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะเสียค่าไฟหลักหลายพันบาท ขณะที่จะขายมะปรางมะยงชิดได้หลักหลายแสนบาท

สำหรับนครนายกนั้น ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งใหญ่ในการปลูกมะปราง-มะยงชิดหวาน ที่มีคุณภาพ โดยมีพื้นที่ปลูก 8,000 ไร่ แต่ละปีมีผลผลิตประมาณ 1,500-2,000 ตัน มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท ในส่วนขนาดลูกใหญ่สุด (เท่าไข่ไก่ เบอร์ 0) ไม่เกิน 13 ลูก ต่อกิโลกรัม ขายได้ในราคา กิโลกรัมละ 250-300 บาท บางปีขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 400-450 บาท ในปีที่มีปัญหาแล้งจัด ส่วนเบอร์รองลงมาประมาณ 10 ลูก ขายกิโลกรัมละ 200 บาท นอกจากนั้นราคากิโลกรัมละ 100-150 บาท ส่วนกิ่งพันธุ์ทั้งมะปรางและมะยงชิด ราคากิ่งละ 200-300 บาท ความสูงประมาIเมตรเศษๆ

เตือน 7-10 วัน อันตราย ช่วงแทงช่อ

ทั้งนี้ มะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรที่นครนายกนิยมปลูกกัน เพราะมะปรางหวานพันธุ์นี้มีจุดเด่น คือ ออกลูกง่าย ใช้เวลาปลูกเพียง 2 ปีเท่านั้น มีรสชาติหวาน และมีผลใหญ่เท่ากับมะยงชิด น้ำหนักเฉลี่ย ประมาณ 10-12 ลูก ต่อกิโลกรัม ทั้งยังมีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี ขณะที่มะปรางพันธุ์ทั่วไปจะออกลูกช่วง 3-5 ปี

ดาบนวย แจกแจงว่า GClub แม้จะติดหลอดไฟที่ต้นมะปรางเพื่อให้ออกช่อและออกลูกดกนั้น แต่ในการดูแลรักษาก็ต้องใส่ใจเหมือนเดิม ซึ่งมะปรางและมะยงชิดนับเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้ดีและไม่ต้องดูแลมากเหมือนผลไม้อื่นๆ

กรณีผู้ซื้อกิ่งพันธุ์ที่ทาบกิ่งไปปลูก ปกติจะออกช่อประมาณ 3 ปี เขาแนะนำว่า ควรขุดหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร ก็พอ จากนั้นใช้ดินผสมกับขี้วัวและแกลบฝังกลบหลุม ถัดมาอีก 3 เดือน ให้ปุ๋ยอีกรอบ หรือถ้าจะใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ ซึ่งไม่ควรให้ปุ๋ยมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นเฉาตาย และถ้าแดดร้อนเกินไปจะทำให้ใบแห้งไหม้

ในเรื่องการรดน้ำนั้น ดาบนวย กล่าวว่า หากให้น้ำมากเกินไปจะแฉะ แต่ช่วงปีแรกในการปลูก ต้องให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้องดูดินอย่าให้แห้ง พอผ่านไปถึงปี 2 ปี 3 ถึง 7 วัน ก็ให้น้ำสักครั้ง แต่ช่วงปลูกใหม่ๆ ต้องคอยหมั่นดูแล โดยเฉพาะช่วงแตกใบอ่อน ซึ่งอาจจะแตกได้ทั้งหน้าฝนและหน้าแล้ง อาจจะเจอแมลงหรือหนอนมากินใบอ่อน ทำให้ใบโกร๋นและเติบโตช้า