ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยกับเจ้ากระทิงที่เขาแผงม้า ว่า มีรูปร่างใหญ่

สวยงาม มีขนยาวสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ยกเว้นบริเวณหน้าผาก ที่บางตัวมีขนสีขาวเทา บางตัวมีขนสีเหลืองทอง ส่วนที่ขาทั้งสี่จะมีขนสีขาวเหมือนกับใส่ถุงเท้า โดยกระทิงจะมีเขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่เพศผู้จะมีตัวขนาดใหญ่กว่า

วันนี้(26 พ.ย.64)พวกเรามากันเกือบ 20 ชีวิต ภายใต้การนำของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่พาสื่อมวลชนเยี่ยมชมเกษตรกรลูกค้าที่ทำฟาร์มเกษตร ซึ่งในวันนี้เราได้ไปเยี่ยมชมสวนสับปะรดสีบ้านพระอังคารวังน้ำเขียว ที่สวยงามมากๆ เจ้าของเป็นสารวัตรวังน้ำเขียว https://fb.watch/9yAMSTjpKg/ และตามด้วยแปลงปลูกกัญชารักจังเมล่อนฟาร์มที่พลิกจากปลูกเมล่อนมาปลูกกัญชา https://fb.watch/9yDx9Q7X28/ ต่อด้วยการมาเก็บภาพการแพ็คกิ้งผักของศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริวังน้ำเขียว พร้อมพาไปชมแปลงปลูกของเกษตรกรในเครือข่าย และปิดท้ายวันด้วยการมาดูกระทิงดังกล่าวแล้ว

ขอบอกว่าฤดูกาลท่องเที่ยววังน้ำเขียวเริ่มต้นขึ้นแล้ว นักท่องเที่ยวท่านใดที่หันรีหันขวางไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดีก็ขอแนะนำให้ไปเที่ยววังน้ำเขียวสัก 2 วัน 1 คืน (ตามโปรแกรมที่มาครั้งนี้) และอย่าลืมในโปรแกรมนั้นขอให้บรรจุแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรเข้าไปด้วย เพราะว่าได้คุยกับ คุณสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.ที่นำคณะไปครั้งนี้ บอกว่าทางภาครัฐหมายมั่นปั้นมือมากว่าจะทำให้การท่องเที่ยวเกิดความคึกคักแบบไทยเที่ยวไทยหลังโควิดคลายตัวและเปิดประเทศ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร มีหลายที่ที่น่าสนใจ รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรที่ขายตามร้านค้าหรือริมทาง ถ้าช่วยกันอุดหนุนเศรษฐกิจไทยก็จะคึกคัก..ถ้าเกษตรกรไทยอยู่ได้ประเทศไทยก็อยู่รอด โดยธ.ก.ส.พร้อมเคียงข้างเกษตรกรไทย

“ธ.ก.ส.หวังเชื่อมโยงฟาร์มเกษตรต่างๆ ค้นหาฟาร์มที่เป็นต้นแบบเพื่อสร้างเกษตรกรไทยให้เป็นผู้ประกอบการ..การพาสื่อมวลชนลงพื้นที่วังน้ำเขียวในครั้งนี้ จึงอยากจะสื่อออกไปว่า ธ.ก.ส.มีความพร้อมมากๆ อยากเชิญชวนเกษตรกรและชุมชนต่างๆทั่วประเทศ มาร่วมกันสร้างให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งธุรกิจชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะน้องๆที่เป็นทายาทเกษตรกร และแรงงานที่จะกลับคืนถิ่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด เรามีสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ โดยธ.ก.ส.มีความพร้อมที่จะสนับสนุนทุกรูปแบบทั้งด้านเงินทุนที่มีเมนูต่างๆให้เลือกมากมาย และนอกจากการเติมทุนเรายังมีการเติมความรู้ การแปรรูปเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการตลาด การซื้อขายออนไลน์ เราพร้อมที่จะเดินเคียงข้างกับเกษตรกรไทยทุกคน” รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวย้ำ

อนึ่ง ในการเดินทางมาเยี่ยมชมเกษตรกรลูกค้าธ.ก.ส.ในครั้งนี้ ยังมี คุณอรุพงษ์ เพชรสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน (สพส.) ซึ่งได้บอกกล่าวให้ฟังว่า ธ.ก.ส.มุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะยกระดับอาชีพเกษตรกรให้เกิดการพัฒนาต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะการสร้างชุมชนท่องเที่ยวถือเป็นภารกิจสำคัญที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และอยากฝากไปถึงเกษตรกรที่มีความประสงค์จะทำชุมชนท่องเที่ยวหรือทำฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงการเชื่อมโยงตลาด การสร้างแบรนด์สินค้าเกษตร ขอให้เดินขึ้นไปหาธ.ก.ส.สาขาในอำเภอหรือในจังหวัดนั้นๆได้โดยตรง โดยจะมีคำตอบให้กับเกษตรกรไทยทุกคน

สำหรับการลงพื้นที่เยี่ยมชมฟาร์มเกษตรครั้งนี้ ทาง ธ.ก.ส.พื้นที่ได้มาอำนวยความสะดวกและพาเยี่ยมชม ซึ่งประกอบด้วย คุณวิจิตร ศรีสมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คุณประยงค์ มุ่งยุทธกลาง ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดนครราขสีมา และคุณวันชัย บำรุงเกาะ ผู้จัดการธ.ก.ส.สาขาวังน้ำเขียว

มาวังน้ำเขียวเที่ยวนี้ทำให้ได้รู้ว่าที่นี่มีสวนไม้ประดับ “สับปะรดสี” ใหญ่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ชื่อว่า “สวนสับปะรดสี บ้านพระอังคาร” ตั้งอยู่ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สวนแห่งนี้เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของ พ.ต.ต.นิรันทร์ ถวัลย์ภูวนาถ สวป.สภ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่ใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม ด้วยการเพาะพันธุ์สับปะรดสีขายสร้างรายได้งาม พร้อมเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจแวะเวียนมาไม่ขาดสาย

โดยสวนแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)

พ.ต.ต.นิรันทร์ เล่าว่า ตนเองนั้นเป็นคนชอบปลูกต้นไม้และศึกษาต้นไม้ต่างๆ จนมาสดุดตากับสับปะรดสี ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ประดับชนิดหนึ่งที่มีความหลากหลายในสายพันธุ์และสีสันสดใสสวยงาม อีกทั้งสับปะรดสีเป็นไม้ที่ดูแลง่าย ทนต่อสภาพแล้งได้เป็นอย่างดี จึงมองว่าสับปะรดสีน่าจะเป็นพันธุ์ไม้หนึ่งที่สามารถเพราะขายเป็นธุระกิจได้ในอนาคต โดยได้เริ่มต้นปลูกและลงทุนปลูกอย่างจริงจังเมื่อไม่กี่ปีมานี้

“อันดับแรกเกิดจากความชอบก่อน พอชอบก็มาศึกษาอย่างจริงจัง จากนั้นเปิดเป็นสวนเป็นร้านขึ้นมา พอคนมาเห็นเขาถ่ายรูปไปลงโซเชียลหรือส่งให้เพื่อน ทุกคนที่มาเหมือนเป็นนักข่าวให้เรา แล้วทีนี้คนสนใจเขาก็มาเที่ยวมาซื้อกัน”

กลุ่มลูกค้านอกจากจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวที่สวนแล้ว ยังมีกลุ่มที่มาเรียนรู้ มาศึกษาดูงาน และซื้อกลับไปปลูกหรือไปขยายพันธุ์ และอีกกลุ่มจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ทั่วประเทศที่เขาเองไม่สามารถจะทำแปลงปลูกให้มีขนาดใหญ่ได้ แต่เอาสินค้าของเราไปขาย ซึ่งก็ถือว่าได้สร้างงานสร้างอาชีพให้กับเขาได้ โดยลูกค้าที่ซื้อผ่านออนไลน์ถือเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นทุกวัน แต่ก่อนจะทำอาชีพปลูกไม้ดอกไม้ประดับจะต้องอาศัยทำเล ต้องมีร้านของตัวเอง แต่ตอนนี้ไม่จำเป็นแล้วสามารถเอาไปขายได้เลย แต่เราต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งคือส่งออกไปต่างประเทศ โดยลูกค้ารายใหญ่จะอยู่ที่มาเลเซีย และเวียดนาม โดยที่เวียดนามเป็นนักจัดสวนรายใหญ่ และสับปะรดสีเหมาะแก่การขนส่งทางไกลแค่ล้างรากให้สะอาดผึ่งให้แห้งก็ห่อและบรรจุลงกล่องได้

สำหรับการลงทุนนั้นพ.ต.ต.นิรันทร์ เปิดเผยว่า ครั้งแรกได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จำนวน 5 แสนบาท ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกจาก 1 ไร่ เป็น 3 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก 8 แสนบาท ซึ่งรายได้ถือว่าอยู่ได้อย่างน้อยก็พอเลี้ยงลูกน้องได้

“ผมอยากฝากไปยังผู้ที่สนใจอยากทำเป็นอาชีพ ขอให้ทำอย่างจริงจัง อย่างผมนั้นเกิดขึ้นจากความชอบก็สะสมพันธุ์สับปะรดสีเรื่อยมา จนปัจจุบันมีประมาณ 50 สายพันธุ์ พันธุ์ที่ขายดี(พันธุ์ตลาด)ก็มีไม่กี่สายพันธุ์ แต่เราจำเป็นต้องมีความหลายหลาย ซึ่งจริงๆก็ยังมีพันธุ์มากกว่านี้ เราต้องมีโรงเรือน แต่ก็ไม่ต้องสร้างแบบโครงสร้างเหล็กเหมือนกับผมตอนแรก เราสามารถทำเป็นลวดสลิง ซึ่งจะลดต้นทุนได้มากกว่า โดยทางสวนของผมพร้อมให้ความร่วมมือกับผู้ที่ต้องการสร้างงานสร้างอาชีพด้วยสับปะรดสีทุกคน”

“สุดท้ายอยากฝากขอบคุณธ.ก.ส.ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ข้าราชการชั้นผู้น้อยในการทำอาชีพเสริม เพราะว่าข้าราชการสมัยนี้รายได้ไม่มาก ถ้าไม่มีอาชีพเสริมนี้ก็ลำบากเหมือนกัน ธ.ก.ส.ให้เงินมาก้อนหนึ่งเราก็ทำเล็กๆก่อน ขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ก็จะมีพันธุ์มากขึ้นและแบ่งขายได้ และเมื่อปีที่แล้วเขาก็ให้มาอีกก้อนหนึ่งเพื่อขยายกิจการ ก็ทำให้เลี้ยงตัวเลี้ยงลูกน้องได้”

“ใครที่ไม่มีเงินทุน..ผมก็บอกว่าไม่ต้องติดขัด ขอให้ทำให้จริงและก็ให้ไปหาไปติดต่อธ.ก.ส.เขามีบริการด้านการเงินมากมาย และขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ช้า ทันต่อความต้องการของเราเลยครับ” พ.ต.ต.นิรันทร์ กล่าวย้ำ

อนึ่ง ในการมาเยี่ยมชมสวนสับปะรดสี บ้านพระอังคารครั้งนี้ ทางทีมงานธ.ก.ส. ซึ่งนำโดย นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ นายอรุพงษ์ เพชรสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน (สพส.) และทีมงานสำนักประชาสัมพันธ์ (สปส.) นำคณะสื่อมวลชนจากหลายสำนักมาทำข่าว โดยมี นายวิจิตร ศรีสมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พร้อมด้วย ผอจ.นครราชสีมา ผู้บริหาร และพนักงาน ธ.ก.ส. สาขาวังน้ำเขียวให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2564

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ที่นำสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมเกษตรกรลูกค้าในครั้งนี้ นอกจากสวนสับปะรดสีบ้านพระอังคารแล้ว ยังมีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักจังฟาร์มวังน้ำเขียว ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล่อนและกัญชา และสหกรณ์กสิกรรมไร้สารพิษวังน้ำเขียว จำหน่ายผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์

โดยการนำทีมสื่อมวลชนลงพื้นที่ครั้งนี้ นอกจากการช่วยนำเสนอข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่เกษตรกรแล้ว จะเป็นเสมือนเป็นการส่งสัญญานว่า ธ.ก.ส.ห่วงใยผู้ประกอบการด้านการเกษตร รวมไปถึงเกษตรกรไทยทุกคน และสิ่งที่ผู้บริหารได้ย้ำตลอดเวลาในการเดินทางทางไปแต่ละจุดที่ไปเยี่ยมชมคือ พร้อมสนับสนุนและเดินเคียงข้างเกษตรกรตลอดไป

วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ มอบหมายให้ พลอากาศโท ชัยนาท ผลกิจ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถขนข้าว โครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” ณ กรมขนส่งทหารอากาศ ดอนเมือง โดยมี พลอากาศตรี ธีรพล สนแจ้ง เจ้ากรมขนส่งทหารอากาศ ร่วมพิธี

สำหรับขบวนรถดังกล่าว ประกอบด้วย รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ จำนวน ๗ คัน และรถยนต์โดยสารปรับอากาศขนาดใหญ่ จำนวน ๑ คัน ซึ่งกองทัพอากาศให้การสนับสนุนการรับ-ส่งเกษตรกร พร้อมข้าว จำนวน ๕๐ ตัน ประกอบด้วย ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และข้าวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ จากศาลากลาง จังหวัดยโสธร ถึงปลายทางสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) เพื่อนำมาจำหน่ายในโครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศ กับ เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรจังหวัดยโสธร ในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร

โดยกองทัพอากาศได้สนับสนุนพื้นที่ของสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) เป็นสถานที่จำหน่ายข้าวและผลผลิตทางการเกษตร สนับสนุนอาคารที่พักนักกีฬา ๕ ชั้น เป็นสถานที่พักให้แก่เกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนยานพาหนะในการขนส่งสินค้าจากต้นทางมายังพื้นที่จำหน่าย

ทั้งนี้ กองทัพอากาศตระหนักดีว่า ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากข้าวและสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่สนใจร่วมอุดหนุนข้าวและสินค้าเกษตรจากโครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องเกษตรกร ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ – ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๐.๐๐ นาฬิกา ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)

ช่วงบ่ายๆจนเกือบค่ำของวันที่ 2 ธ.ค.64 พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรจากจังหวัดยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ที่นำข้าวสารและสินค้าเกษตรมาจำหน่ายในโครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” โดยผู้บัญชาการทหารอากาศได้เดินชมสินค้า พูดคุยกับเกษตรกรแต่ละกลุ่ม แต่ละบูธที่นำข้าวมาจำหน่ายอย่างกันเอง และอุดหนุนข้าวอย่างทั่วถึง จนเงินในกระเป๋าที่เตรียมมาไม่พอ ต้องให้ผู้ติดตามจดบัญชีไว้ สร้างความปลาบปลื้มใจแก่ชาวนาเป็นยิ่งนัก

ตามที่ได้รับทราบว่า เกษตรกรประสบปัญหาน้ำท่วมข้าว ทำให้การเก็บเกี่ยวข้าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำโดยเฉพาะข้าว ทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้เกิดปัญหาในการจำหน่ายข้าวสารออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวให้กำลังใจชาวนาที่มาออกร้านจำหน่ายข้าว พร้อมทั้งบอกว่ากองทัพอากาศยินดีสนับสนุน ทัพฟ้าพร้อมช่วยชาวนาทุกคน

ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เชิญชวนประชาชนที่สนใจ ร่วมอุดหนุนข้าวและสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรที่เป็นคนกลุ่มใหญ่และผู้ผลิตที่สำคัญ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีกำลังใจในการสร้างผลผลิตทางการเกษตรให้แก่คนไทยต่อไป

สำหรับโครงการ “ทัพฟ้า ช่วยชาวนา” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 ธ.ค.2564 เวลา 10.00 – 20.00 นาฬิกา ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) โดยมีข้าวและสินค้าเกษตรวางจำหน่าย ในราคาพิเศษ ซึ่งชาวนาทุกคนได้พร้อมใจกันขายข้าวในราคาพิเศษแบบที่ว่าจะขายให้หมดไม่ต้องนำกลับบ้าน

ราคาข้าวที่จำหน่าย เช่น ข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 30 บาท (แต่ละร้านจะอยู่ในราคาเท่ากัน-เท่าที่ได้เดินสำรวจ-ซึ่งถือว่าราคาพถูกกว่าตามตลาดทั่วไปเป็นอย่างมาก) ข้าวเหนียวก่ำ กิโลกรัมละ 50 บาท ข้าวเหนียวขาว กิโลกรัมละ 26 บาท ข้าวเหนียวขาวปลอดสาร กิโลกรัมละ 35 บาท ข้าวกล้องมะลิแดงอินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องหอมนิลอินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่อินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวกล้องผสม 5 สายพันธุ์อินทรีย์ แพ็คสุญญากาศ กิโลกรัมละ 70 บาท ฯลฯ

3 ธันวาคม 2564 – เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ได้ประกาศดำเนินโครงการ “ซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ให้กลุ่มธุรกิจในเครือซีพี ปลูกต้นสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ เพื่อสกัดเป็นยาสมุนไพรแคปซูล 30 ล้านเม็ด เร่งแจกจ่ายให้ประชาชนเพื่อใช้เสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรคในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระลอกที่ผ่านมา โดยมุ่งแจกจ่ายไปที่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและมอบให้หน่วยงาน องค์กรพันธมิตร และกลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ ร่วมแจกจ่ายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ

ในการนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร ที่เริ่มตั้งแต่ลงกล้าเพาะปลูกต้นฟ้าทะลายโจร ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมเป็นต้นมา โดยจัดพื้นที่แปลงปลูกจำนวน 100 ไร่ ที่ศูนย์วิจัยแสลงพัน และฟาร์มคำพราน จ.สระบุรี เพื่อผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแจกฟรี 30 ล้านแคปซูล ขณะนี้กระบวนการปลูกจนถึงการผลิตยาสมุนไพรดำเนินการเสร็จสิ้น พร้อมแจกจ่ายอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งโครงการนี้จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด “ร้อยเรียงความดีซีพี 100 ปี”

ที่ต้องการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงยาสมุนไพรไทยเพื่อใช้เสริมภูมิคุ้มกันป้องกันโรค และเพื่อร่วมแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม โดยตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาเครือซีพีได้เริ่มทยอยนำร่องแจกจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนคลองเตย และชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน และล่าสุดในวันที่ 2 ธันวาคม ได้ส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอย่างเป็นทางการให้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งต่อไปยังจังหวัดชายแดนใต้ และอีกส่วนหนึ่งแจกในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้มอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกระจายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรไปยังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป

นายธนินท์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะทยอยส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรไปยังองค์กรพันธมิตร โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา มูลนิธิและกลุ่มจิตอาสา เพื่อร่วมแจกจ่ายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ตลอดจนกลุ่มธุรกิจในเครือฯ อาทิ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด ที่มีสาขาและโรงงานในจังหวัดต่าง ๆ ร่วมผนึกกำลังลงพื้นที่กระจายการแจกจ่ายสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในพื้นที่ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย

“เครือซีพียึดมั่นในหลักปรัชญาสามประโยชน์ มุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และประชาชนมาเป็นลำดับแรก ก่อนจะเป็นของบริษัท ในฐานะที่ซีพีเป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินธุรกิจมา 100 ปี ในประเทศไทย พร้อมนำศักยภาพจากทุกกลุ่มธุรกิจช่วยประเทศ โดยเฉพาะในยามวิกฤต จึงได้จัดตั้งโครงการ ซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจรขึ้น แม้ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเปิดประเทศแล้ว แต่ทุกคนยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ควบคุมโรคเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อตัวเอง และช่วยแบ่งเบาภารกิจด้านสาธารณสุขของประเทศ และต้องขอบคุณพันธมิตรทุกภาคส่วนที่มาร่วมแรงร่วมใจช่วยส่งต่อยาฟ้าทะลายใจรให้คนในสังคม เพราะหากเรามีร่างกายและกำลังใจที่แข็งแกร่งแล้ว ย่อมผ่านวิกฤตนี้ไปได้” นายธนินท์ กล่าว

ล่าสุด เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แทนเครือซีพี ในการส่งมอบ ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ให้แก่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 20,000 กระปุก โดยมี นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์และการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้รับมอบ และ นายสายัณห์ หงษา ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เป็นผู้แทนเครือฯ ส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร จำนวน 10,000 กระปุก ให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับมอบ

นายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า โครงการ “ซีพีปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” ได้ส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 20,000 กระปุก เพื่อส่งต่อความห่วงใยไปสู่พี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ผ่านโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งยังเป็นพื้นที่สีแดงเข้มของการแพร่ระบาดโควิด-19ในขณะนี้ และมอบอีกส่วนหนึ่งให้กับผู้เข้าร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 ธันวาคมนี้ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี

นอกจากนี้ในส่วนของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟจะได้ร่วมผนึกกำลังให้โรงงานและหน่วยงานในกลุ่มซีพีเอฟส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้กับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ทำการแจกจ่ายสมุนไพรฟ้าทะลายโจรต่อไปให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางและประชาชนในพื้นที่ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ ส่งมอบให้แก่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ โดยจังหวัดสงขลา ส่งมอบแก่ รพ.สต.น้ำน้อย รพ.สต.บ้านท่าจีน รพ.สต.บ้านพรุ รพ.รัตภูมิ รพ.สต.ตลิ่งชัน รพ.จะนะ เทศบาลบ้านไร่ และเทศบาลควนลัง ในส่วนของจังหวัดปัตตานี มอบให้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นอกจากนี้ยังได้ส่งมอบไปยัง สาธารณสุขจังหวัดยะลา สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งจะมีการส่งมอบไปยังประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

นายสายัณห์ หงษา ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด กล่าวว่า เครือซีพีได้ส่งมอบยาฟ้าทะลายโจรจำนวน 10,000 กระปุก ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทุ่มเทการทำงานและเผชิญกับภารกิจที่ต้องเสียสละเพื่อปกป้องคนไทยให้มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงในช่วงที่ประเทศกำลังอยู่ในสถานการณ์โควิด-19

ด้าน นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในยามที่ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตเช่นนี้ ขอขอบคุณซีพีและบริษัทในเครือ ในฐานะภาคเอกชนที่มีความห่วงใยส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งแม้ขณะนี้อัตราของผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจะลดลง แต่ยังจำเป็นที่บุคลากรด่านหน้าจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายตลอดเวลาเพื่อเตรียมตัวต่อทุกสถานการณ์ ทั้งนี้เครือซีพีได้ให้การสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกำลังใจสำคัญให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่พร้อมจะใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพในการร่วมมือกับคนไทยทั้งประเทศฝ่าวิกฤตโควิด-19 ให้ได้ในที่สุด

นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ยังต้องคอยเฝ้าระวัง เพราะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในยุโรป ประกอบกับยังพบพื้นที่แพร่ระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการที่ได้รับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 20,000 กระปุกจากเครือซีพีในครั้งนี้ จะนำไปกระจายแจกจ่ายให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)

และประชาชนในพื้นที่จังหวัดชาดแดนใต้ 10,000 กระปุก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมบูรณาการงานเพื่อลงไปขับเคลื่อนกับภาคประชาสังคมและประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้จะนำยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอีกส่วนหนึ่งร่วมแจกจ่ายให้ประชาชนในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติในช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ต่อไป ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือจากภาคเอกชนในการช่วยภารกิจด้านสาธารณสุขช่วยสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาของการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

สำหรับยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร โครงการ “ซีพี ปันปลูก ฟ้าทะลายโจร” มีสรรพคุณช่วยป้องกันไข้หวัดสร้างภูมิคุ้มกัน โดยแปลงปลูกทั้ง 100 ไร่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) จาก กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งการบรรจุแคปซูลยังได้รับรองมาตรฐานจาก GMP PIC/S ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญของโรงงานผลิตยา โดยได้ดำเนินการผลิตตามพ.ร.บ.ยาสมุนไพร และผ่านการรับรองการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพรกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่มีข้อกำหนดด้านปริมาณสารสำคัญ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) ในวัตถุดิบอย่างเคร่งครัด เพื่อผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 30 ล้านแคปซูล เร่งแจกจ่ายให้ประชาชนคนไทยทั่วทุกภูมิภาค ได้สร้างภูมิคุ้มกัน มีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้เครือซีพีจะมีการส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกฟ้าทะลายโจรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอีกด้วย

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาสมาคมฯ ร่วมประชุมหารือกับกับ ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านการพัฒนาเมืองใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับสวนยางพารา ร่วมประชุมกับ นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินและรับรองโครงการ และเจ้าหน้าที่ เพื่อหารือการจัดเตรียมการทำข้อเสนอในการศึกษาและประเมินการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แบบสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ภาคป่าไม้และภาคการเกษตร

สรุปประเด็นจากที่ประชุม ดังนี้
1) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) นำเสนอโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งเป็นกลไกที่ อบก. พัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยความสมัครใจ

โครงการ T-VER แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน 2) พลังงานทดแทน 3) การจัดการของเสีย 4) การจัดการในภาคขนส่ง 5) การปลูกป่า/ต้นไม้ 6) การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูป่า 7) การเกษตร โดยนำเสนอภาคป่าไม้ และภาคการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาโครงการ การขึ้นทะเบียนโครงการ และการขอรับรองคาร์บอนเครดิต พร้อมทั้งแนวคิดการคำนวณและหลักเกณฑ์การพิจารณา (ระเบียบวิธีการคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก) และมีการนำเสนอรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาฯ สำหรับการปลูกพืชเกษตรยืนต้น ดังนี้
• ลักษณะกิจกรรมที่เข้าข่าย :

เป็นพื้นที่สำหรับการปลูกพืชเกษตรยืนต้น ที่มีการปลูก ดูแล และจัดการอย่างถูกวิธี
เป็นพื้นที่การเกษตรที่ปรับการใช้ปุย และ/หรือ สารปรับปรุงดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เป็นการปลูกพืชเกษตรยืนต้น ที่มีรูปแบบการปลูกเป็นสวนเชิงเดี่ยว หรือเป็นสวนผสม
เป็นรูปแบบการปลูกพืชเกษตรยืนต้นที่ต้องมีบำรุงรักษาอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาผลผลิตให้ได้อย่างต่อเนื่อง
เงื่อนไขของกิจกรรม :

มีหนังสือแสดงสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมาย
เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเหมาะสมกับเขตการใช้ที่ดิน
ไม่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อดินถล่ม
มีข้อมูลการใช้ปุ๋ย และ/หรือ สารปรับปรุงดินย้อนหลังในพื้นที่โครงการหรือข้อมูลอ้างอิงจากพื้นที่ใกล้เคียง ไม่น้อยกว่า 3 ปี
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลการใช้ปุ๋ยใน ข้อ 4. สามารถใช้ข้อมูลอ้างอิงจากหน่วยงานราชการ ค่าจากงานวิจัย หรือ ค่าอ้างอิงที่ อบก. ให้การยอมรับ
ไม่เป็นพื้นที่ที่มีการตัดพืชเกษตรยืนต้นออกก่อนครบอายุรอบการผลิต/รอบตัดฟัน เพื่อทำการปลูกพืซเกษตรยืนต้นรอบใหม่
2)ความเห็นที่ปรึกษา : ความเห็นและข้อสังเกตต่อแนวทางการดำเนินโครงการ T-VER 3 ประเด็น คือ 2.1) สกพอ. สนใจเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนโครงการ T-VER ภาคการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ อีอีซี มีพื้นที่ ทางการเกษตร เช่น สวนผลไม้ สวนยางพารา สำหรับโครงการ T-VER ภาคป่าไม้ มี อบก. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแล้ว

สำหรับพื้นที่เกษตรที่เป็นสวนยางพารามีข้อสรุปร่วมกันว่าอบก.จะจัดทำหลักเกณฑ์ การประเมินคาร์บอนเครดิตในพื้นที่สวนยาง โดยอิงจากหลักเกณฑ์สากลที่ใช้อยู่ในหลายๆ ประเทศ แล้วต่อจากนั้น จะได้นำมาหารือกันอีกครั้งระหว่าง ฝ่าย อบก. ฝ่าย EEC และ ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไป นับว่าเป็นข่าวดีของชาวสวนยางเมื่อได้ต้นแบบการดำเนินการดังกล่าวเป็น Pilot Project แล้วในอนาคตก็จะได้นำไปขยายผลในพื้นที่สวนยางทั่วประเทศจำนวน 30 ล้านไร่ ต่อไป

ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากที่ผ่านมา ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุม คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานท่านให้ความสำคัญกับการกักเก็บคาร์บอนเครดิต สำหรับพื้นที่สวนยางพารา ซึ่งมีประมาณ 30 ล้านไร่ คาดการณ์จะได้คาร์บอนเครดิต 51,240 ล้านตัน คิดเป็นรายได้ให้กับชาวสวนยางถึง 49,190 ล้านบาท ต่อมาดร.อุทัยได้เสนอเป็นหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ผลคือนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบท) นัดหารือกับ ดร.อุทัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการดำเนินงาน

วิธีการ ข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาอุปสรรค ในการประเมินการกักคาร์บอนเครดิตในพื้นที่สวนยาง ซึ่งได้มีการประชุม เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบ Conference ระหว่าง ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ และผู้แทนองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยมีข้อสรุปว่าควรจัดทำ Pilot Project นำร่องพื้นที่สวนยางในพื้นที่ EEC จังหวัด ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ที่เข้าเงื่อนไข มีประมาณ 1.5 ล้านไร่ เนื่องด้วยเหตุผล ในเขต EEC มีกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต หากมีการ Matching กันในการซื้อขายได้จริง ก็จะขยายผลไปยังพื้นที่สวนยางทั่วประเทศที่มีประมาณ 30 ล้านไร่ เมื่อมีความชัดเจน ที่มุ่งเป้าไปที่พื้นที่สวนยางในเขต EEC เป็นผลให้ผู้บริหารโครงการ EEC เห็นด้วยในครั้งนี้ จึงเกิดการผลักดับขับเคลื่อนร่วมกันในวันนี้ขึ้น

บริษัท เวิลด์ เมดดิคัล ท้วริซึม อัลไลแอนซ์ จำกัด สล็อตออนไลน์ (World Medical Tourism Alliance หรือ WMTA) ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “World Medical Tourism Alliance & ตราสัญลักษณ์ 1st Cannabis” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ณ ห้องอโนมา 1 ชั้น 3 โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ โดยมี นายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ (อดีตผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม และประธานกรรมการและกรรมการอิสระ) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีและ รองศาสตราจารย์ ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมเป็นเกียรติในงาน