ขอให้เกษตรกรชาวสวนยางทุกท่าน ไว้วางใจใน กยท. แม้ว่า

เราจะเป็นองค์กรใหม่ ที่เพิ่งหลอมรวมกัน แต่เรามีความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง ล่าสุด กยท.ได้มีการผลักดันค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง พ.ศ.2560 ได้แก่ การให้กู้ยืมเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับประกอบอาชีพการทำสวนยางทั้งเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางในการแปรรูปพัฒนา

รวบรวมผลผลิต การจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ประสบภัย ธรรมชาติ และอื่นๆ การส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ในการรวมกลุ่ม และประกอบกิจกรรมต่างๆ นำไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมมีผลบังคับใช้ทันที เกษตรกรชาวสวนยางสามารถยื่นคำขอได้แล้วทั่วประเทศ รวมถึงสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางเช่นกัน” นายธีรวัฒน์ กล่าวย้ำ

ด้านนายจำนัล เหมือนดำ เลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาล (ครม.ส่วนหน้า) เปิดเผยว่า ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ก่อให้เกิดโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมแห่งความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน ประกอบด้วย อำเภอเบตง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอหนองจิก ซึ่งจะเชื่อมโยงภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการพาณิชย์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยทั้งในเรื่อง การคมนาคม เศรษฐกิจ สังคม โดยมุ่งเน้นเข้าสู่การพัฒนายุคใหม่ ไทยแลนด์ 4.0 ภายในปี 2560-2562 โดยมีผู้แทนพิเศษของรัฐบาลจากหน่วยงานต่างๆ

มาเป็นคณะกรรมการ 7 กลุ่มภารกิจงาน ประกอบด้วย 1. งานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2.งานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 3. งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ/เรื่องสิทธิมนุษยชน 4.งานการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 5. งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน 6. งานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และการขับเคลื่อนนโยบาย 7. งานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการอยู่ร่วมกัน เข้าใจกันและไม่แตกแยกกัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน จึงจะทำให้ความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคนดีขึ้น

นายจำนัล กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่สำคัญของภาคเกษตรกรไทยที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตและราคาที่ตามมา และเป็นที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน นั่นคือ ค่านิยม ทัศนคติเดิมของเกษตรกร ประกอบกับระบบราชการไทยที่ค่อนข้างล้มเหลวในการส่งเสริมแบบให้ฟรี เน้นปริมาณแจกจ่ายให้เยอะแต่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ ทำให้ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดอาจมีคุณภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่สามารถผลิตผลผลิตออกมาให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น การรับแจกเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานออกมาจำหน่ายสู่ท้องตลาด แนวทางการส่งเสริมให้ภาคเกษตรรวมกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชีพการทำสวนยาง นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาอาชีพแล้ว ยังสร้างความเข้มแข็งและเกิดอำนาจต่อรองจากผู้ซื้อได้ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องผลักดันให้เกษตรกรรวมกลุ่มให้มาก

สภาพอากาศในระยะนี้ กลางวันจะร้อนจัด และกลางคืนจะหนาว กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกคะน้าเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยอ่อนและหนอนใยผัก สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของคะน้า

สำหรับเพลี้ยอ่อน จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน และใบแก่ ทำให้ส่วนยอดและใบหงิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มจำนวนมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะมีสีเหลือง หากพบให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีโทเฟนพร็อกซ์ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ในส่วนของหนอนใยผัก มักพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่บนใบและใต้ใบพืชเป็นฟองเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก ส่วนใหญ่จะพบไข่ที่ใต้ใบพืช หนอนมีตัวเรียวยาว หัวแหลม ท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็นสองแฉก เมื่อถูกตัวหนอนจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวเองขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนจะเข้าทำลายกัดกินผิวใบ ทำให้ใบผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห จากนั้นหนอนจะชักใยบางๆ คลุมตัวไว้ติดอยู่กับใบพืชเพื่อเข้าดักแด้

นอกจากนี้ ให้เกษตรกรใช้วิธีป้องกันกำจัดหนอนใยผักแบบผสมผสาน คือ การใช้วิธีกล การใช้ชีววิธี การใช้วิธีเขตกรรม และการใช้สารเคมี สำหรับวิธีกล แบบใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องสีเหลืองทาด้วยกาวเหนียว ให้ติดตั้งกับดัก อัตรา 80 กับดัก ต่อไร่ โดยเฉลี่ยจับผีเสื้อหนอนใยผักได้ 16 ตัว ต่อวัน ต่อกับดัก และเปลี่ยนกับดักทุก 7-10 วันครั้ง จะสามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า 50% แบบใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง ให้ปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อน ขนาด 16 mesh (256 ช่อง ต่อตารางนิ้ว) จะสามารถป้องกันหนอนใยผักและหนอนผีเสื้อชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดมิดชิดตลอดเวลา เพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้

การใช้ชีววิธี ให้เกษตรกรใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเยนซิส อัตรา 100-200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ไม่ควรใช้ในแหล่งปลูกผักภาคกลาง ในช่วงที่ระบาดมากพิจารณาการใช้อัตราสูงและช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้น หรือพ่นสลับกับสารเคมี วิธีเขตกรรม ให้ไถพรวนดินตากแดด หรือทำลายซากพืชอาหาร หรือปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อลดการขยายพันธุ์และลดการระบาดอย่างต่อเนื่อง การใช้สารเคมี ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 60-80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลเฟนไพเรด 16% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

ควรพ่นสารสลับชนิดกัน และไม่พ่นสารชนิดเดียวเกิน 2-3 ครั้ง ต่อฤดู หากระบาดลดลงให้ใช้สารเคมีสลับกับการใช้ชีววิธี เนื่องจากหนอนใยผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารเคมีได้รวดเร็วและหลายชนิด ให้เกษตรกรพิจารณาเลือกใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตให้เกิดความเสียหายได้ตามความเหมาะสม

นายวุฒินันท์ ศักดิ์กระโทก เกษตรอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า เกษตรกรอำเภอครบุรี เริ่มหันมาปลูกพืชทุเรียนทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างมันสำปะหลังและอ้อย ทำให้มีความหลากหลายทางผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น โดยเริ่มปลูกกว่า 50 ราย พื้นที่ประมาณ 200 ไร่ และทยอยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน 3 ตำบล คือ ตำบลสระว่านพระยา ตำบลลำเพียก และตำบลโคกกระชาย ทั้งนี้ เริ่มให้ผลผลิตออกจำหน่ายระหว่างเพือนพฤษภาคม-สิงหาคม คาดว่าปีนี้ให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 6 ตัน

“ที่ผ่านมามีนายหน้าเข้ามาเหมาซื้อแบบยกสวนไปจำหน่ายต่างพื้นที่ ทำให้คนนครราชสีมาแทบไม่ได้ลิ้มรสชาติ ล่าสุดมีคนโคราชจำนวนมากติดต่อให้ผมช่วยสั่งจองทุเรียนครบุรี จึงรณรงค์ให้ชาวสวนเปิดโอกาสนำผลผลิตออกวางจำหน่ายในตลาดจังหวัดนครราชสีมาบ้าง ประชาชนรับรู้ว่าครบุรีปลูกทุเรียนได้ผลดี มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ เชื่อว่าจะเป็นตลาดทางเลือกใหม่ ทำให้ทุเรียนครบุรีเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และมีราคาสูงขึ้น”

สุรินทร์-ชาวบ้านชายแดนพากันเข้าป่าตระเวนเก็บผลไม้ป่าตามฤดูกาลที่กำลังออกผลสร้างรายได้ ตุมกุยหรือลูกยางสุก และปรุ หรือ มังคุดป่า ก่อนเข้าสู่ฤดูการทำนาปี

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงต้นฤดูฝน ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว ผลไม้ป่าตามฤดูกาลนานาชนิดกำลังผลิดอกออกผล ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลกาบเชิง จึงได้ถือโอกาสพากันออกตระเวนหาเก็บผลไม้ป่าตามฤดูกาล อาทิ ลูกยางสุก หรือที่เรียกเป็นภาษาเขมรพื้นบ้านสุรินทร์ว่า ตุมกุย และมังคุดป่า หรือที่เรียกเป็นภาษาเขมรพื้นบ้านสุรินทร์ว่าปรุ ก่อนจะนำมาวางขายตามเพิงข้างทาง บนถนนสายสุรินทร์-ช่องจอม โดยเฉพาะที่บริเวณข้างทางตรงข้ามโรงพยาบาลกาบเชิง ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พบว่ามีชาวบ้านนำผลไม้ป่ามาวางขายกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านจะพากันไปเก็บผลไม้ตั้งแต่เช้ามืดของทุกวัน ในพื้นที่ป่าชายแดนที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ เพื่อนำวางขายให้กับประชาชนนักท่องเที่ยวที่สัญจรผ่านไปมา ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น ขายในราคาตั้งแต่พวงละหรือถุงละ 20 – 60 บาท สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดี ครอบครัวละ 400 – 800 บาทต่อวัน บางคนขยันหามาได้มาก สามารถสร้างรายได้ถึงวันละพันกว่าบาทกันเลยทีเดียว

สำหรับลูกยางป่า หรือภาษาเขมรพื้นบ้านเรียกว่า “ตุมกุย” เมื่อผลสุกจะสีเหลืองอร่าม และมีลักษณะผลคล้ายกับผลลองกอง เปลือกบาง เนื้อแน่น รสชาติออกหวานอมเปรี้ยว โดยผู้คนที่แวะเวียนมาซื้อต่างถูกใจในรสชาติเป็นอย่างมาก พร้อมซื้อกลับไปรับประทานที่บ้าน ถือได้ว่าเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ โดยขายราคาไม่แพงมากนัก ตามขนาดของแต่ละพวง มีตั้งแต่ราคา 40-60 บาท ส่วนที่ใส่ถ้วยไว้ขายราคาถ้วยละ 20 บาท

ส่วนลูกมังคุดป่า ภาษาเขมรพื้นบ้านเรียกว่าปรุ หรือบางพื้นที่เรียกว่า แพรปรูก (พะ-แร-ปรูก)เป็นลูกคล้ายกันกับมังคุดทั่วไปมีขนาดเล็กกว่า แต่เมื่อสุกเปลือกจะออกสีเหลืองแสด เปลือกแข็ง แต่เมื่อใช้มีดปาดเปลือกออกมา ข้างในจะเป็นเนื้อสีขาวขุ่น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ซึ่งก็กลายเป็นผลไม้ป่าตามฤดูกาลที่เป็นที่ชื่นชอบและนิยมอีกอย่างหนึ่ง โดยชาวบ้านจะเก็บมาใส่ถ้วยขายถ้วยละ 20 บาท

นางอทิตยาภรณ์ เอ็นดู ชาวบ้านใหม่พาชื่น ม. 20 ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ แม่ค้าขายลูกยาง บอกว่า ลูกย่างป่า หรือภาษาเขมรพื้นบ้านเรียกว่า “ตุมกุย” ลักษณะต้นเป็นเถาวัลย์ขึ้นอยู่ในป่าตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เกาะตามต้นไม้ใหญ่ จะออกผลช่วงเดือนเมษายนเข้าต้นพฤษภาคมนี้ หรือช่วงหน้าแล้ง วันหนึ่งถ้าลูกยางออกเยอะ ตนเก็บมาขายมีรายได้วันละประมาณ 700-800 บาท ถ้าเก็บได้น้อยก็จะขายได้ 300-400 บาท ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมของผู้คนที่สัญจรไปมาแวะซื้อนำไปบริโภค

นางสายใจ ทองสะโคม อายุ 43 ปี ชาวบ้านตาเกาว์พัฒนา ม.13 ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ แม่ค้าขายผลไม้ป่า กล่าวว่า ตนขายทั้งลูกยางป่าหรือตุมกุย และ มังคุดป่า ซึ่งภาษาเขมรพื้นบ้านเรียกว่าปรุ หรือแพรปรูก (พะ-แร-ปรูก) ปีนี้จะออกมาก ต้นจะคล้ายกับมังคุดบ้าน ลูกก็จะเหมือนกัน รสชาติจะไม่หวานมากเหมือนมังคุดบ้าน เพราะเป็นผลไม้ป่า โดยจะใส่ตะกร้าขายตะกร้าละ 20 บาท ไม่แพง โดยจะไปเก็บมาจากป่าใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชาในพื้นที่ฝั่งบ้านเรา ซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากในช่วงนี้ โดยจะมีลูกยางป่า และมังคุดป่า พอช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ก็จะมีเห็ดป่าและลูกลำดวน รวมไปถึงเงาะป่า ซึ่งผลไม้ป่าจะออกมาเป็นช่วงๆ ตามฤดูกาล ทำให้ชาวบ้านพอมีรายได้ ซึ่งหากออกไปเก็บเร็วและขยันเก็บได้มากก็จะขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท แต่ที่ขายได้ทุกวันวันละ 400-800 บาทต่อวัน ก็พออยู่ได้ ก็ยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวหรือผู้คนที่ผ่านไปมาได้แวะชิมและซื้อผลไม้ป่าตามฤดูกาล ซึ่งจะมีขายอยู่ริมทางตรงข้ามโรงพยาบาลกาบเชิงทุกวัน

นพ.เจษฎา โชคดํารงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้บางจังหวัดมีเทศกาลและงานบุญต่างๆ ซึ่งอาจมีการจัดเลี้ยงหรือทำอาหารรับประทานร่วมกัน ดังนั้น จึงควรระวังเรื่องการบริโภคอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ชำแหละกันเองในหมู่บ้าน และนำมากินดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ หลู้หมูดิบ หมูกระทะปิ้งย่างไม่สุก จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุก ที่สำคัญควรงดนำอาหารดิบไปถวายพระสงฆ์ เพราะเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส และอาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2560 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 89 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ 45-54 ปี และ 55-64 ปี ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือภาคเหนือ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกเป็นจังหวัดในภาคเหนือทั้งหมด ได้แก่ อุตรดิตถ์ น่าน นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และพิจิตร นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยเกือบทั้งหมดหรือคิดเป็นร้อยละ 90 อยู่ในภาคเหนือ (50 ราย) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (30 ราย)สำหรับข้อมูลในปี 2559 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 300 ราย เสียชีวิต 16 ราย โดยพบผู้ป่วยในภาคเหนือสูงถึง 210 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด

นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า โรคไข้หูดับเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในกระแสเลือดของหมูที่กำลังป่วย โรคนี้สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1.การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องในหมู และเลือดของหมูที่เป็นโรค โดยติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา 2.การกินหมูดิบๆ หรือสุกๆดิบๆ ทั้งเนื้อ เครื่องใน และเลือด ซึ่งเชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจ อักเสบ และที่สำคัญคือทำให้ประสาทหูทั้ง 2 ข้างอักเสบและเสื่อมจนหูหนวก

หากประชาชนมีอาการป่วยหลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือหลังกินอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมู เลือดดิบๆ หรือปรุงสุกๆ ดิบๆ ให้รีบพบแพทย์ทันทีและต้องบอกประวัติการกินหมูดิบให้ทราบด้วย เพราะหากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดอัตราการหูหนวกและเสียชีวิตได้ เนื่องจากโรคนี้รักษาหายและมียารักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

นายมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2/2560 เพื่อพิจารณาอนุมัติเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้สหกรณ์ต่างๆ ใช้เป็นทุนหมุนเวียนทางธุรกิจเพื่อบริการสมาชิก โดยมีนายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสุรนารี สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า เพื่อให้สหกรณ์มีทุนหมุนเวียนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมถึงการสนับสนุนแหล่งทุนในการดำเนินธุรกิจให้กับสหกรณ์ ที่ประชุมจึงได้พิจารณาและอนุมัติเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ รวมทั้งสิ้น 20,320,000 บาท โดยแบ่งเป็น โครงการพิเศษ จำนวน 3 สหกรณ์ จำนวน 6,750,000 บาท ประกอบด้วย 1. สหกรณ์การเกษตรประชาพัฒนา จำกัด จำนวน 450,000 บาท เพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ยืม ตามโครงการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสหกรณ์ 2. สหกรณ์บริการเทศบาลตำบลหินดาด จำกัด จำนวน 300,000 บาท เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมประกอบอาชีพเกษตรกรรม 3. สหกรณ์การเกษตรพิมาย จำกัด จำนวน 3,000,000 บาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการซื้อสินค้ามาจำหน่าย ตามโครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ระดับภาค (CDC)

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการอนุมัติ ตามโครงการปกติ มีจำนวน 5 สหกรณ์ จำนวนเงิน 13,570,000 บาท ประกอบด้วย 1. สหกรณ์การเกษตรพิมาย จำกัด จำนวน 3,000,000 บาท เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายกระจายพันธุ์ดีให้สมาชิกผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่าย ตามโครงการส่งเสริมการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีแก่เกษตรกรในสถาบันเกษตรกรปี 2560 2.สหกรณ์การเกษตรท่าช้างสามัคคี จำกัด จำนวน 5,000,000 บาท เพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพทำนา 3.สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินลำทะเมนชัย จำกัด จำนวน 3,000,000 บาท เพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพปลูกมันสำปะหลังและทำนา 4.สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินชุมพวงหนึ่ง จำกัด จำนวน 700,000 บาท เพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพปลูกมันสำปะหลัง 5.สหกรณ์โคนมด่านขุนทด จำกัด จำนวน 1,370,000 บาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในธุรกิจจัดหาสินค้าจำหน่ายในการจัดซื้ออาหารสัตว์ ยารักษาสัตว์ และวัสดุ-อุปกรณ์โคนม 6.สหกรณ์การเกษตรหนองเข้ – พูนทรัพย์ จำกัด จำนวน 3,500,000 บาท ให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพปลูกมันสำปะหลัง

นายอนันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประชุมพิจารณาเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ตามโครงการดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯอย่างรอบคอบ และจะได้มีคณะติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้สหกรณ์สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์และช่วยเหลือสมาชิกได้ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้สหกรณ์มีทุนเพียงพอไว้บริการสมาชิก ช่วยส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทั้งในด้านการผลิตและการตลาดต่อไป

สิ่งที่ทำให้คนเรา “แก่เร็ว” คือความเจ็บป่วย modernmagazin.com โดยเฉพาะการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก “อนุมูลอิสระ” ที่มากเกินไปในร่างกาย หากแต่ข้อมูลความเข้าใจเรื่องอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระยังมีอยู่อย่างจำกัดและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดการประชุมวิชาการในหัวข้อ “การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพในร้านยา” ครั้งที่ 3 โดยยกงานวิจัยล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับ “สารต้านอนุมูลอิสระ” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ โดยมีใจความสำคัญดังนี้

ตามธรรมชาตินั้นร่างกายมนุษย์สร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาเอง และมีสารต้านอนุมูลอิสระรักษาสมดุลไม่ให้มีอนุมูลอิสระส่วนเกิน หากแต่ปัจจัยภายนอกอย่างการสูบบุหรี่ การสัมผัสรังสี โลหะหนัก และมลภาวะเป็นเวลานานๆ รวมถึงความเครียด และการรับประทานอาหารผิดๆ เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระมากผิดปกติ เกิดเป็นความไม่สมดุลที่เรียกว่า oxidative stress ซึ่งเป็นตัวทำลายเซลล์ดีๆ ของร่างกาย และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ มากมาย ทั้งความแก่ โรคข้อต่างๆ ต้อกระจก หลอดเลือดแข็ง ภาวะอักเสบต่างๆ รวมถึงมะเร็ง

เมื่อร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระมาให้เพียงพออีกต่อไป จึงจำเป็นที่คนเราจะต้องปรับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยร่างกายต่อสู้อนุมูลอิสระ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีสารหรือสารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า สารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกาย และหารับประทานง่ายมากสำหรับคนไทย ได้แก่

วิตามิน อี มีคุณสมบัติช่วยชะลอปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ พบมากที่สุดในน้ำมันพืช (ที่ไม่โดนความร้อน เช่น น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดคำฝอย) ปริมาณที่แนะนำต่อวันในหญิงและชาย คือ 15 มิลลิกรัม และควรรับประทานหลังอาหารจึงจะได้ประโยชน์มากที่สุด

วิตามิน ซี มีส่วนช่วยให้ป้องกันหรือช่วยชะลอการเกิด “ออกซิเดชัน” ซึ่งเป็นตัวทำให้เซลล์แก่เร็ว ป่วยง่าย พบได้จาก ฝรั่ง มะละกอดิบ (เมนูส้มตำ) โดยปริมาณที่แนะนำต่อวัน คือ (ชาย) 90 และ (หญิง) 75 มิลลิกรัม ควรรับประทานจากอาหารสด เพราะวิตามินซี สลายตัวเร็ว

สังกะสี (Zinc) ช่วยกระตุ้นและควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในหอยนางรม และเนื้อสัตว์ โดยภาวะที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีได้มากที่สุด คือ การรับประทานร่วมกับอาหารประเภทโปรตีน และไม่ควรรับประทานร่วมกับชาและกาแฟ ดังนั้นผู้ที่รับประทานมังสวิรัติจึงมีโอกาสขาดแร่ธาตุนี้มากกว่าคนอื่น ปริมาณที่แนะนำต่อวัน คือ (ชาย) 13 และ (หญิง) 7 มิลลิกรัม

การประชุมวิชาการในครั้งนี้ยังได้ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัทในเครือเวลเนสซิตี้กรุ๊ป มาให้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับทฤษฎีความแก่และการชะลอความแก่เพื่อเพิ่มอายุวัฒนะให้แก่ตนเอง โดยได้ให้เคล็ดลับ “โกงความแก่” ไว้ 10 ข้อดังนี้