ข้อดีของการเสียบยอดในโรงเรือน ความเสียหายจะน้อยกว่านอก

แต่ต้องอาศัยความชำนาญ ใช้เวลาการเพาะน้อยกว่าการปลูกเมล็ดยอดหรือต้นใหม่ที่นำมาเสียบยอดจะตั้งตัวได้เร็วกว่าการปักชำ ทาบกิ่ง เพราะต้นตอมีรากแก้วที่หาอาหารได้แล้ว ผิดกับการปักชำที่ต้องรอรากงอก 2-3 สัปดาห์ จึงจะสามารถหาอาหารเองได้ รากแก้วเปรียบเสมือนเสาเข็มของบ้าน ทำให้ต้นไม้แข็งแรง เมื่อเจอลมพายุต้นไม้จะไม่ล้มง่าย

ข้อเสียของการเสียบยอดในโรงเรือน ต้องใช้พื้นที่เยอะ

จะได้ต้นพันธุ์ที่เล็กกว่าการทาบกิ่ง การทาบกิ่งต้นจะใหญ่ ลูกค้ามาเห็นจะชอบต้นใหญ่มากกว่า ทั้งที่ต้นเล็กที่เกิดจากการเสียบยอดมีความแข็งแรงกว่า
ปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ… โรคแมลงเป็นโรคระบาดเหมือนพืชทั่วไป มีมาเป็นฤดู หากแปลงไหนที่เป็นหนักจริงๆ จำเป็นต้องใช้สารเคมีเข้ามาช่วย แต่ถ้าแปลงไหนที่ไม่หนัก ส่วนใหญ่ก็จะใช้สารอินทรีย์เข้ามากำจัดแทน

ผลิตต้นพันธุ์ไม้ผลขาย
ปีละ 1 ล้านต้น ทำได้ยังไง?
พันธุ์ไม้ทั้งหมดที่เพาะขายปัจจุบัน เจ้าของบอกว่า หากจำแนกเป็นชนิด มีประมาณ 12 ชนิด แต่ละชนิดก็จะแยกสายพันธุ์ออกได้ประมาณเกือบ 100 สายพันธุ์ พูดง่ายๆ ว่า ที่นี่มีต้นพันธุ์ไม้ผลขายเกือบทุกชนิด ส่วนในเรื่องการดูแลและการวางแผนการเพาะขยายพันธุ์อย่างไร ให้ทำได้มากถึง 100,000 ต้น ต่อเดือน 1 ล้านต้น ต่อปี มีเทคนิค ดังนี้

รวมกลุ่มชาวบ้านเข้ามาทำ มีการสอนเทคนิคต่างๆ ให้กับชาวบ้านทำมาส่ง
ทางสวนมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ทั้งหมด เตรียมดินปลูก ระบบน้ำ และอื่นๆ สมาชิกกลุ่มลงแรง
ทางสวนมีการจัดเตรียมหายอดพันธุ์ไว้ให้ สมาชิกกลุ่มมีหน้าที่ไปตัดแล้วนำมาเสียบยอดเอง
มีลูกไร่ข้างนอกทำส่ง ทางลูกไร่รับผิดชอบเอง เสียบยอด เปลี่ยนยอด เลี้ยงดู รวมทั้งการอนุบาลต้นกล้า
ในส่วนแปลงของตนเองตอนนี้มีไม่เยอะ ประมาณ 40 ไร่ ใช้คนงานในการช่วยเสียบยอดพันธุ์ 5 ครอบครัว ออกวัสดุอุปกรณ์ให้ทุกอย่าง คนงานลงแรงทำ ส่วนแบ่งที่เจ้าของสวนกับคนงานได้เท่ากันคนละครึ่ง ถามว่า คุ้มไหม เพราะเจ้าของสวนต้องออกค่าวัสดุปลูก ค่าน้ำ ค่าไฟ ตอบเลยว่าคุ้ม เพราะเจ้าของสวนไม่ต้องแบกรับค่าแรง การอนุบาลดูแลคนงานรับผิดชอบทั้งหมด

“ธุรกิจนี้นับเป็นอะไรที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เราอาศัยแรงงานจากเขา เขาอาศัยการตลาดจากเรา เพราะลำพังให้เราทำคนเดียวไม่มีทางทำไหว อย่างมากก็ทำได้ไม่เกิน 1 แสนต้น ต่อปี ถือว่าได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย” คุณเบญ กล่าวถึงแนวทางการทำธุรกิจขยายพันธุ์ไม้

ฤดูการขาย 5 เดือน
ต่อ 800,000-900,000 ต้น
เจ้าของบอกว่า ฤดูการขายที่ขายดีที่สุดคือ ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ยอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 800,000-900,000 ต้น ต่อปี คิดกำไร ต้นละ 10-15 เปอร์เซ็นต์ มีต้นเสียต้นตายไปบ้าง หรือบางปีอาจจะขายได้มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย และความนิยมปลูกพืชแต่ละปีแตกต่างกันไป ตัวอย่างปีที่แล้วทุเรียนขายดีมาก แต่มะม่วงขายไม่ได้เลยก็มี เพราะเกษตรกรไทยเป็นเกษตรกรแฟชั่น เห็นพืชชนิดไหนราคาดีก็โค่นอันนั้นมาปลูกอันนี้ ก็จะวนเวียนไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ตลาดต้นพันธุ์ไม่ตาย ขายได้เรื่อยๆ อยู่ที่ว่าแต่ละปีคนจะมานิยมซื้ออะไรไปปลูก

ราคาขายไม่แพง เริ่มต้นที่ ต้นละ 6-100 บาท ราคา 6 บาท คือต้นกล้าเพาะเมล็ดอายุน้อย ราคา 100 บาท เลี้ยงแล้วประมาณ 1 ปี ขายราคาเดียวตลอดทั้งปี ไม่มีการปรับราคาขึ้นลงตามตลาด เพราะช่วงที่ราคาลงก็เป็นช่วงโลซีซั่นของตลาดต้นพันธุ์ และก็เป็นเวลาที่กำลังเลี้ยงต้นพันธุ์พอดี ต้นยังโตไม่ได้ไซซ์ที่จะขายได้อยู่แล้ว

“อาชีพทำการเกษตรถือว่ามีกำไรดี และถ้าเป็นการขยายต้นพันธุ์ขายก็มีข้อได้เปรียบกว่าการขายผลตรงที่การตลาดมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะการเพาะต้นพันธุ์ขายถ้าขายไม่ได้ต้นก็ไม่เสีย เจ้าของสวนสามารถเลี้ยงเก็บไว้ขายปีหน้าได้ เลี้ยงไปพอต้นโตก็ได้ราคาใหม่อีก จะเลี้ยง 2 ปี 4 ปี ก็ไม่เสียหาย ความสะดวกในการดูแลมีมากกว่า ไม่ต้องตามใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดินตามเวลา การขยายต้นพันธุ์อย่างมากก็รดน้ำ วันละ 2 ครั้ง วิธีการรดใช้ระบบสปริงเกลอร์ เดินเปิดวาล์วไปก็ง่ายกว่า” คุณเบญ บอก

การตลาด… อยู่ทางภาคเหนือและภาคอีสานเป็นส่วนมาก ความนิยมของลูกค้าจะหันมานิยมเป็นไม้เสียบยอดกันมากเพราะว่าปัจจุบันภัยธรรมชาติเริ่มรุนแรงขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องซื้อกิ่งพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ ต้นพันธุ์ที่เกิดจากการเสียบยอดจึงเหมาะกับสภาพอากาศในปัจจุบัน ต้นแข็งแรง มีรากแก้ว ไม่ล้มง่าย และต้นโตเร็ว

การสั่งซื้อสินค้าและการจัดส่ง …สมัยนี้เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาก้าวไกล การติดต่อซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลน์ สะดวก รวดเร็ว รูปแบบการจัดส่งก็ง่าย หากอยู่ไกลลูกค้าจะจัดหารถคิวมารับสินค้าที่ร้านเอง ทางร้านมีหน้าที่จัดส่งของให้ตามออเดอร์เท่านั้น หรือถ้าลูกค้าท่านใดหารถคิวไม่ได้ ทางร้านยินดีหามาบริการให้แต่ค่าใช้จ่ายลูกค้าต้องเป็นคนรับผิดชอบเองทั้งหมด

อนาคตธุรกิจขยายพันธุ์ไม้ยังอยู่ได้สบาย
ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ได้เข้ามาอยู่ในวงการธุรกิจขยายพันธุ์ไม้ ต้องบอกว่า ดีมาตลอด ยอดขายคงที่ มีต่ำมีสูงกว่าเดิมบ้างเป็นบางปี อาชีพเกษตรกรรมยังคงเป็นอาชีพที่มั่นคงอยู่ จึงอยากฝากถึงเพื่อนๆ และเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีที่ทางอยู่ที่บ้านให้ลองกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเองดู แต่อาจจะต้องอาศัยความมีใจรักสักหน่อย เพราะค่อนข้างเป็นอาชีพที่เหนื่อย หนัก และร้อนมาก แต่ผมว่าถ้าทำได้อาชีพเกษตรกรรมจะเป็นอาชีพที่ยั่งยืน และสร้างความสุขให้ได้อย่างแน่นอน คุณเบญ กล่าวทิ้งท้าย

นักวิจัยถอดบทเรียน “ปลูกพริกพื้นที่น้อย เหลือเงินมาก” หนุนโครงการพริกแปลงใหญ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่ ถือเป็นตัวอย่างที่นำนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาลมาดำเนินการและได้ผลดีเพราะมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจดำเนินงานบนฐานงานวิจัย “พริกปลอดภัย” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานรัฐสนับสนุนต่อเนื่อง

หลังจากประสบความสำเร็จในการทำโครงการ “พริกปลอดภัย” ที่จังหวัดชัยภูมิในปี 2553 อาจารย์วีระ ภาคอุทัย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประเมินภาพรวมทั้งจังหวัดพบว่า มีมูลค่าการขายพริกประมาณ 900 ล้านบาท มูลค่าจ้างเก็บพริกประมาณ 300 ล้านบาท ทำให้มีการขยายผลโครงการไปยังพื้นที่อื่นๆ เช่น พริกผลใหญ่และพริกใหญ่พันธุ์ลูกผสม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ และพริกพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งประสบปัญหาโรคและแมลงอย่างมาก ทั้งโรคกุ้งแห้ง ยอดเน่า รากเน่าโคนเน่า เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงวันทองพริก หรือแมลงวันพริกและหนอนเจาะผล เป็นต้น ส่งผลให้ผลผลิตน้อยและราคาพริกที่เกษตรกรขายได้มีราคาตกต่ำ

นักวิจัยระบุว่า ปัญหาหลักเกิดจากเมล็ดที่เก็บไว้เองมีเชื้อรา ทำให้เกิดโรคกุ้งแห้งติดอยู่ การปลูกพริกหลังฤดูกาลปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวนาปีแล้วไม่มีการไถเตรียมดินแล้วคลุมแปลงด้วยฟางหรือเปลือกข้าวโพดก่อนปลูกพริกและปลูกถี่เกินไป เพื่อให้ต้นพริกพยุงต้นป้องกันต้นพริกล้ม แปลงปลูกพริกอยู่ติดกันหรือปลูกพริกแน่น ไม่ได้วางแผนปลูกร่วมกัน หรือไม่ได้เก็บพริกที่เป็นโรคและแมลงออกจากสวน ให้น้ำแบบสายยางติดฝักบัวพ่นฝอยตลอดทำให้การแพร่กระจายของโรคกุ้งแห้งเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดินเป็นกรด (ค่าพีเอชน้อยกว่า 6.0) ทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยและเกิดโรคจากเชื้อราได้ง่าย

อาจารย์วีระและคณะวิจัยจึงได้วิเคราะห์ปัญหาและจัดประชุมร่วมกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่เกษตร เพื่อให้รู้สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขป้องกัน กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การคัดเลือกเกษตรกรที่อยากทำวิจัยร่วมกับโครงการ โดยการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เน้นการป้องกัน ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพริก โดยนำประสบการณ์จากจังหวัดชัยภูมิมาปรับใช้

จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ พบว่า ปีการเพาะปลูก 2561/2562 พริกใหญ่มีผลผลิตเฉลี่ย 3,496.52 กิโลกรัม ต่อไร่ กำไรต่อไร่สูงกว่าไร่ละ 7,676.48 บาท ซึ่งงานวิจัยได้มีส่วนช่วยสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่ อำเภอหนองม่วงไข่ มีเกษตรกรได้ใบรับรอง GAP ตามนโยบายของรัฐจำนวน 68 ราย ขณะที่ตลาดพริกเริ่มปรับตัว นอกจากส่งโรงงานซอสพริกแล้วยังขยายการส่งพริกสดผ่านพ่อค้าส่งออกตลาดต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ต่อยอดงานวิจัยด้วยการจัดตั้งโรงคัดและบรรจุตามมาตรฐาน GMP และโรงอบพริก ส่วนผลผลิตพริกแดงสด บ้านนาฝ่า ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เฉลี่ยไร่ละ 2.5 ตัน มีรายได้ประมาณไร่ละ 30,000 บาท ทำให้ได้บทเรียน “ปลูกพริกพื้นที่น้อย เหลือเงินมาก ปลูกพริกพื้นที่มาก ไม่เหลือเงินเลย” โดยเงินที่ได้จากการขายพริกใช้เป็นทุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เงินทุนทำการเกษตร ใช้หนี้ ธ.ก.ส. หากเหลือจะเก็บออม ทั้งนี้ พริกที่แพร่และน่านส่วนใหญ่ส่งโรงงานซอสพริกที่ลำพูน อยุธยา และสมุทรปราการ

นักวิจัยกล่าวว่า ในปี 2560 มีมูลค่าการนำเข้าพริกแห้งประมาณ 4,800 ล้านบาท ส่วนมากมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกพริกสดลดลงจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาพริกแห้งนำเข้าถูกกว่าเพื่อใช้ทำพริกป่นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และมีการนำเข้ามาเก็บในห้องเย็นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้พริกสดราคาตก ปัจจุบันไทยนำเข้าพริกสดจากประเทศจีนจำนวนมาก ส่วนพริกแดงเด็ดก้านส่งโรงงานซอสพริกในประเทศไทยส่วนมากปลูกในจังหวัดสุโขทัย แพร่ น่าน และเชียงใหม่

จากการสอบถามข้อมูลจากเลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ในปี 2561 พบว่ามีการส่งเสริมให้ปลูกพริกแปลงใหญ่ในอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ จำนวนสมาชิก 118 คน พื้นที่ปลูกพริก 234 ไร่ วงเงินกู้ ธ.ก.ส. ตั้งไว้ที่ 5 ล้านบาท แต่กู้จริงเพียง 1.15 ล้านบาท เสียดอกเบี้ย 48 บาท ซึ่งปกติเกษตรกรจะไม่ถอนเงินออกมาหมดทีเดียว แต่จะกู้เป็นงวด รวม 8 งวด ซื้อพริกได้ประมาณ 148 ตัน เพื่อส่งโรงงานซอสพริก และซื้อพริกแดงเด็ดก้านจากสมาชิกประมาณกิโลกรัมละ 12 บาท ขายพริกราคาที่โรงงานซอสพริกประมาณกิโลกรัมละ 14 บาท มีกำไรเบื้องต้นประมาณ 16,406 บาท ซึ่งถือว่ายังมีกำไรยังไม่มาก เพราะทำปีแรก ขณะที่การจัดการต่างๆ ยังมีปัญหา โดยเฉพาะการหาที่ส่งพริกให้โรงงานและค่าขนส่ง แต่มีข้อสังเกตว่าเมื่อมีวิสาหกิจชุมชนพริกแปลงใหญ่เข้ามาซื้อพริก ทำให้ราคาพริกที่พ่อค้าในพื้นที่รับซื้อราคาไม่ตกเหมือนทุกปี

โครงการพริกแปลงใหญ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวจึงถือว่าเป็นตัวอย่างที่นำนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาลมาทำแล้วได้ผล ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดแพร่ให้ความสนใจมากขึ้น ผลของความสำเร็จที่ได้เกิดจากการเลือกพืชที่มีผลกำไรสูงคือ พริก มีเกษตรกรเข้าร่วมมากพอ มีฐานงานวิจัยพริกปลอดภัยสนับสนุน มีการรวมเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และมีหน่วยงานรัฐหรือจังหวัดให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ส่วนเกษตรกรอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยพริกปลอดภัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ปลูกพริกขี้หนูผลใหญ่ ซึ่งนักวิจัยได้ขอพันธุ์จาก ดร.สิริกุล วะสี ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานโรงกุ้งแห้งที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรปลูกพริกระบบปลอดภัยตามที่อบรมและใช้สารชีวภัณฑ์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น ปลูกพริก 800 ต้น ให้น้ำระบบน้ำหยดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 เก็บพริกขายส่งตลาดเองทั้งพริกเขียว พริกแดง และพริกแห้ง เดือนตุลาคม 2562 มีรายได้ 27,000 บาท ส่วนปี 2563 พริกสวย ดก โรคน้อย เพราะอากาศเย็น ราคาพริกสูงกว่าปีที่แล้ว 4-5 บาท ต่อกิโลกรัม โดยเกษตรกรได้ใบรับรอง GAP พริกจากกรมวิชาการเกษตร หากขยายเกษตรกรไปทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมแล้วเชื่อมโยงเครือข่ายระบบเกษตรปลอดภัยจะทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในแต่ละจังหวัด

ช่วงนี้ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มเข้าสู่ระยะพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงหิมพานต์เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน และมีแดดจัดในเวลากลางวัน ให้สังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากผลอ่อน ทำให้เมล็ดและผลปลอมไม่เจริญ แคระแกร็น เมล็ดลีบหรืออาจทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นได้

กรณีที่มีเพลี้ยแป้งปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะเป็นกระจุกที่ลำต้น และอยู่ร่วมกันกับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ของต้นมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งมดอาศัยน้ำหวานจากเพลี้ยแป้งที่ถ่ายออกมา

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจผลอ่อนมะม่วงหิมพานต์อย่างสม่ำเสมอ หากพบกลุ่มเพลี้ยแป้งเป็นปุยสีขาวเกิดขึ้น ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงพิริมิฟอส–เมทิล 50% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นป้องกันกำจัด 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เพราะตัวอ่อนเพลี้ยแป้งหลบอยู่ใต้ท้องตัวเต็มวัยเพศเมียอาจยังไม่ตายจากการพ่นครั้งแรก หลีกเลี่ยง การพ่นสารฆ่าแมลงในระยะดอกบาน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร

ไม้ผลที่เกษตรกรไทยนำเข้าจากไต้หวันมีหลายชนิดหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ผลไต้หวันหลายชนิดสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย เนื่องจากไม้ผลส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน เริ่มต้นจาก มะม่วงไต้หวัน เป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมอย่างมากมีหลายสายพันธุ์ ชมพู่ไต้หวัน ได้รับความนิยมไม่ต่างกัน แต่ชมพู่บางสายพันธุ์ก็มีลักษณะภายนอกดูดี แต่รสชาติไม่ดี ส่วนฝรั่งไต้หวันนั้นแม้ถูกนำเข้ามาเพียงไม่กี่สายพันธุ์ แต่ก็เข้ามายึดพื้นที่ปลูกแทนฝรั่งพันธุ์ดั้งเดิมของไทยไปเกือบหมด โดยเฉพาะฝรั่ง กิมจู (เจินจู) เป็นพันธุ์ที่ชาวสวนฝรั่งนิยมปลูกกันมากในขณะนี้

น้อยหน่าไต้หวัน มีผลใหญ่เนื้อหวานถูกนำเข้ามาไม่กี่สายพันธุ์ แต่ที่รู้จักกันคือ พันธุ์ ต้ามู่ มีตาที่ใหญ่ เนื้อหนาและหวานมาก ปลูกได้ 1 ปี ให้ผล ขนุนเริ่มมีการนำเข้ามาแต่คงสู้ของไทยไม่ได้ แก้วมังกรถูกนำเข้ามาบ้าง ส่วนทับทิมยักษ์ไต้หวันนั้นไม่ประสบความสำเร็จออกดอกแล้วร่วง ยังไม่เคยติดผล มีไม้ผลไต้หวันอีกหลายชนิดที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับไม้ดอกและพืชผักหลายชนิด ขณะเดียวกันทางไต้หวันได้นำพันธุ์ไม้ผลหลายชนิดจากไทยกลับไปเช่นกัน

ฝรั่ง ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ฝรั่งจึงไม่ใช่ผลไม้พื้นเมืองของไต้หวันและประเทศไทย ฝรั่งถูกนำเข้ายังจีนผืนแผ่นดินใหญ่ไม่น้อยกว่า 300 ปี โดยฝรั่งนักเดินเรือชาวยุโรป นำมันเข้ามายังเมืองหนานหยาง (Nanyang) อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเฮ่อหนาน จากนั้นจึงนำต่อเข้าที่ไต้หวัน หรือบางทีชาวยุโรปนำมันเข้าในไต้หวันก็ได้ เมื่อศตวรรษที่ 16 หรืออาจเป็นไปได้ที่นำมาจากจีนผืนแผ่นดินใหญ่ ในศตวรรษที่ 17 ดังนั้น จึงได้มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 3 ทาง ถึงต้นทางของฝรั่งในไต้หวัน ว่า

ในประเทศไทย เชื่อว่ามีการนำฝรั่งเข้ามาไม่น้อยกว่า 300 ปี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวโปตุเกสที่เข้ามาทำการค้า นับเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ที่ไต้หวันได้นำต้นพันธุ์ฝรั่งผลใหญ่จากไทยไป เพื่อใช้เป็นสายพันธุ์หนึ่งในการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี เนื่องจากฝรั่งพันธุ์ไทยมีลักษณะเด่นที่มีผลใหญ่ ส่วนรสชาตินั้นยังไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชอบของชาวไต้หวันสักเท่าไร จึงใช้แต่ขนาดของผลที่มีผลใหญ่เป็นจุดเด่นในการปรับปรุงพัฒนารสชาติและลักษณะของเนื้อผลต่อไป ใช้เวลาพัฒนาไม่นานก็ได้สายพันธุ์ใหม่ออกมาหลายสายพันธุ์

ในเวลาต่อมาฝรั่งไต้หวันบางสายพันธุ์ก็ได้รับความนิยมจากชาวสวนฝรั่งไทย ชาวสวนฝรั่งได้เปลี่ยนจากฝรั่งสายพันธุ์ไทยเป็นฝรั่งสายพันธุ์ไต้หวันจำนวนมาก ซึ่งนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้นทั้งพื้นที่ปลูก ดังเช่น ฝรั่งเจินจู ฝรั่งสุ่ยมี่ และ ฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดง เป็นสายพันธุ์ใหม่กำลังจะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ปลูก ขณะเดียวกันที่ไต้หวันได้พัฒนาสายพันธุ์ใหม่ตามออกมาล่าสุดอีก แต่ยังไม่เข้ามาประเทศไทย สายพันธุ์ฝรั่งใหม่ๆ จึงเป็นที่หมายตาของนักค้ากิ่งพันธุ์ไม้ผลของไทยจ้องมองอยู่

เคยถามพ่อค้าขายกิ่งพันธุ์ไม้ผลรายหนึ่งว่า “ทำไม ที่ร้านจึงเลือกขายแต่ฝรั่งเป็นส่วนใหญ่ ไม้ผลอย่างอื่นที่นิยมกันไม่ขายบ้างหรือ” เขาให้เหตุผลว่า ทางร้านเน้นฝรั่งเป็นส่วนมาก ก็เพราะฝรั่งเป็นไม้ผลที่ให้ผลเร็ว อายุไม่ถึงปีก็ออกผลให้ได้รับประทานแล้ว ต่างจากผลไม้อื่นที่ต้องรอหลายปีถึงจะออกผล มะม่วง อย่างน้อย 3 ปี จึงออกผล ทั้งกิ่งพันธุ์ฝรั่งยังสามารถแยกความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ได้ง่ายขณะที่ยังไม่มีผล

ที่สังเกตได้เพราะแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะรูปทรงของใบต่างกัน เช่น ใบเรียบ ใบหยักเป็นคลื่น ใบใหญ่ ใบแหลม สีใบไม่ค่อยเหมือนกัน บางสายพันธุ์มียอดอ่อนสีแดงหรือกิ่งอ่อนสีแดงหรือมีขอบใบสีแดง เป็นต้น ทำให้แยกออกได้ง่ายและเมื่อนำเมล็ดฝรั่งมาเพาะภายใน 1 ปี จะได้ต้นที่มีลักษณะดีและไม่ดี คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีเป็นพันธุ์ใหม่ได้ ส่วนลูกค้าเมื่อซื้อกิ่งฝรั่งไปภายใน 1 ปี ก็พิสูจน์ได้ว่า ต้นที่ได้มาตรงตามสายพันธุ์หรือไม่ ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทางร้านได้ทางหนึ่ง

ฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดงไต้หวัน หรือฝรั่งมีเมล็ดน้อยไส้แดงไต้หวัน เป็นชื่อภาษาไทยที่ตั้งและเรียกกันเอง เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกและยังได้ตั้งชื่อเรียกกันอีกหลายชื่อ เช่น ฝรั่งแป้นไต้หวันไส้แดง ฝรั่งแป้นไส้แดงไร้เมล็ด ฝรั่งแป้นไร้เมล็ดไส้แดงไต้หวัน ฝรั่งไส้แดงไร้เมล็ดไต้หวัน และ ฝรั่งไร้เมล็ดกลิ่นสตรอเบอรี่ หรือ ฝรั่งกลิ่นสตรอเบอรี่ เป็นต้น ถ้าแปลให้ได้ตามความหมายเดิม จะต้องเรียกว่า “ฝรั่งไร้เมล็ดไส้สีทับทิม” เนื่องจากชื่อเรียกภาษาจีนอ่านยากและยาว ไม่เหมือนกับฝรั่งอื่นที่เรียกชื่อง่าย มีชื่อ 2-3 พยางค์ อย่างเช่น ฝรั่งเจินจู ที่ออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2533, ฝรั่งสุ่ยจิง ออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2531, ฝรั่งไทนง เบอร์ 1 ออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2549, ฝรั่งตี้หวาง หรือฝรั่งจักรพรรดิ ออกสู่ตลาดมานานแล้วเช่นกัน ส่วนฝรั่งสุ่ยมี่ออกสู่ตลาดได้ราว 10 ปี ไต้หวันยังคงพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งอย่างไม่หยุดยั้งและมีสายพันธุ์ใหม่ปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง

ฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดง สายพันธุ์ใหม่ล่าสุดในประเทศไทยขณะนี้ มีชื่อในภาษาจีนว่า “เช่าซือหงเป่าสือป้าล่า” หรือ เช่าสือหงเป่าฉี, หรือ เส้าจือหงเป่าสือ (ซึ่งไม่มั่นใจว่าออกเสียงถูกหรือไม่) คำว่า ป้าล่า (芭樂) เป็นชื่อเรียกฝรั่ง ชาวจีนแคะ (hakka) เรียกฝรั่งว่า ป้าล่า (Bala) เช่นเดียวกับบรรพบุรุษชาวไต้หวัน ที่เรียก ฝรั่ง ว่า ป้าล่า แต่ฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดงก็ยังไม่ได้จัดว่าเป็นพันธุ์ใหม่ล่าสุดของไต้หวัน เพราะมีพันธุ์ที่ใหม่กว่าออกมาแล้ว ชื่อพันธุ์ เฝิ่นหงมี (น้ำผึ้งสีชมพู) ยังไม่เข้ามาในไทย แต่ก็ถือว่าฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดงเป็นสายพันธุ์ใหม่สุดที่เข้ามาในประเทศไทย

ในกลุ่มของฝรั่งไส้แดง (มีเมล็ด) สมัครยูฟ่าเบท ของไต้หวันมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ไม่โดดเด่น ฝรั่งไส้แดงของไต้หวันที่ชื่อว่าฝรั่งแตงโม (ซีกั่ว) หรือพันธุ์หงเหร่อซีกั่ว เป็นไส้แดงที่มีผลใหญ่รูปหยดน้ำแต่มีเมล็ดมาก เมื่อผ่าซีกเป็นกลีบแล้วหั่นขวางเป็นชิ้น 3 เหลี่ยม จะเหมือนชิ้นแตงโม เพราะมีผิวสีเขียว เนื้อติดผิวสีขาว ส่วนไส้ในสีแดง จึงไม่ต่างจากแตงโม ฝรั่งพันธุ์หงซิน อีกพันธุ์หนึ่งมีเนื้อในสีชมพูแดง

นอกจากนั้น มีฝรั่งผิวแดงเนื้อสีม่วงแดงปรับปรุงพันธุ์โดยคนไทย ได้ถูกไต้หวันซื้อสิทธิบัตรไปเช่นกัน ฝรั่งผิวสีชมพู (Carmine Guava) “หยานจื่อหงฟานสือหลิว” คำว่า ฟานสือหลิว ในภาษาจีนกลาง หมายถึง ฝรั่ง ส่วนทางไต้หวันเรียกฝรั่งว่า ป้าล่า (芭樂) ถ้าชื่อฝรั่งลงท้ายด้วยป้าล่าเป็นพันธุ์ของไต้หวัน ฝรั่งผิวสีชมพูเป็นพันธุ์ของจีนแผ่นดินใหญ่ ผลมีผิวสีชมพูสวยแต่ผลเล็กขนาดฝรั่งขี้นก นับเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 200 ปี ที่ฝรั่งผิวสีชมพู (Carmine Guava) ถูกนำเข้าไปยังกว่างโจว เรียกต้าถังฟานสือหลิว (Datang guava) รู้จักกันชื่อ ฝรั่งขี้ไก่ (Chicken feces fruit) เรียกคล้ายกับฝรั่งขี้นกของเรา

คนไทยใช่ว่าไร้ความสามารถในการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่ง อย่างเช่น คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ สวนวังชมภู จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์ฝรั่งออกมาได้หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะฝรั่งผิวสีแดงหรือฝรั่งแดง เช่น พันธุ์ทับทิมสยาม (ชื่อเหมือนกับพันธุ์ส้มโอ) ฝรั่งผิวสีแดงของไต้หวันอาจจะเป็นฝรั่งของ คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ ก็ได้ ไม่นานหลังจากมีการนำเมล็ดฝรั่งจากไต้หวันไปเพาะ ได้เกิดฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะแตกต่าง มีไส้สีแดง เช่น สามสีกรอบ ฮ่องเต้ไส้แดง กิมจูไส้แดง เพชรชมพู ชมพูพันทิพย์ กลมสาลี่ไส้แดง เป็นต้น

ที่สวนลุงเล็ก (คุณเสน่ห์ สมสถิตย์) อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ได้สั่งกิ่งฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดงพันธุ์นี้เข้ามาหลายกิ่ง เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2558 ลุงเล็กได้ปลูกไว้ในสวน 7 ต้น เจริญเติบโตได้เร็วมาก อายุได้ปีกว่าสูงท่วมหัวประมาณ 3 เมตร เก็บผลมารับประทานได้หลายรุ่น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดงไต้หวัน มีข้อสังเกตได้ ดังนี้

ลำต้น ลำต้นของฝรั่งไร้เมล็ดไส้แดงไต้หวัน เจริญเติบโตสูงได้เร็วมาก มีทรงพุ่มสูงโปร่ง ผิวของลำต้นเรียบและลอกหลุดออกได้ มีสีเขียวหรือเขียวปนน้ำตาล แตกกิ่งออกข้างห่างๆ กัน กิ่งก้านแข็งแรง ต้องการแสงแดดเต็มที่ทั้งวันจะดี ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง

ใบ เป็นใบเดียวเรียงตรงกันข้าม รูปใบรี ปลายใบและโคนใบมน หลังใบมีผิวใบสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบบิดเล็กน้อยเป็นคลื่น ผิวด้านบนส่วนที่รับแสง (หลังใบ) ส่วนด้านที่อยู่ข้างล่างที่ไม่ได้รับแสง (ท้องใบ) มีขนอ่อนนุ่ม เส้นกลางใบเด่นชัดเป็นร่อง เส้นแขนงชัดเจนจนใบเป็นลอน ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้นๆ ใบใหญ่หนาและแข็ง แตกต่างจากใบฝรั่งทั่วไป เห็นความแตกต่างได้อย่างเด่นชัด ใบมีขนาดใหญ่ ยาว 17-19 เซนติเมตร กว้าง 10-11 เซนติเมตร