ข้อดีของ น้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนน้ำยาซักฟอก CMC

จากเปลือกทุเรียน เมื่อทดลองนำไปใช้งาน ก็เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เพราะมีข้อดีมากมาย ได้แก่

สารลดความตึงผิว เป็นสารทำให้วัสดุเปียกน้ำได้ง่าย ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาเป็นอนุภาคเล็กๆ แล้วสารจะล้อมรอบสิ่งสกปรกเล็กๆ เอาไว้ในสารลดความตึงผิว
ฟอสเฟต สารนี้ช่วยรักษาสภาพน้ำให้เป็นเบสและปรับสภาพน้ำกระด้างให้กลายเป็นน้ำอ่อน
ซิลิเกต ช่วยทำหน้าที่ป้องกันสนิมของชิ้นส่วนอะลูมิเนียม และยังช่วยยึดสิ่งสกปรกเอาไว้ไม่ให้กลับไปจับเสื้อผ้า
สารเพิ่มความสดใส (optical brightening agents) ช่วยดูดแสงอัลตราไวโอเลตไว้ ทำให้เกิดการเรืองแสงสะท้อนเข้าตา ผ้าดูขาวสะอาด ได้แก่ ผงฟอกนวล
4.1 สารเพิ่มฟอง (suds booster) เป็นสารที่จะทำให้เกิดฟองกับน้ำได้ดี สำหรับน้ำยาซักฟอกซักด้วยมือ

4.2 โซเดียมคาบอกซีเมทิลเซลลูโลส มีประมาณ ร้อยละ 0.5-1 สารนี้ป้องกันการเกิดตะกอนในสารซักฟอก และเมื่อทดลองนำเปลือกทุเรียนหมอนทองมาผ่านกระบวนการต่างๆ จนถึงกระบวนการผลิตน้ำยาซักฟอกและทดลองใช้จริงโดยผู้ใช้ในชุมชน ผลการทดสอบพบว่า “…ประสิทธิภาพการขจัดคราบของน้ำยาซักฟอกจากเปลือกทุเรียนนี้ สามารถขจัดคราบสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อ โคลน ลิปสติก และคราบกาแฟบนเสื้อผ้าได้ดีกว่า

ถ้าวัดกันตัวต่อตัวเปรียบเทียบกับน้ำยาซักฟอกที่ใช้ส่วนผสมแบบเดียวกัน แต่ใช้สาร CMC ที่มาจากท้องตลาด แต่ทั้งนี้ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์ซักฟอกยี่ห้อดังต่างๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต เพราะมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน” นางสาวญาณิศา ด้วงคำจันทร์ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ให้ข้อมูลสรุป

ด้าน นางชุติมา โชคกนกวัฒนา ครูที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า “…เปลือกทุเรียนมีเซลลูโลส ที่เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ ซีเอ็มซี (carboxymethyl cellulose, CMC) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ชีวภาพ ซึ่งคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ ซีเอ็มซี มีบทบาทถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย อาทิ อุตสาหกรรมซักฟอก สี กาว สิ่งทอ กระดาษ เซรามิก เครื่องสำอาง อาหารและยา เนื่องจากไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ละลายน้ำได้ดี ในขณะที่สารลดแรงตึงผิวบางชนิดที่เข้มข้น หรือมาจากการปล่อยน้ำซักผ้าหรือน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิวที่เข้มข้นเป็นส่วนประกอบลงในแม่น้ำลำคลอง อาจส่งผลต่อทัศนียภาพและกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจว่าสาร ซีเอ็มซี จากเปลือกทุเรียนธรรมชาตินี้จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมหรือคุณค่าทางเศรษฐกิจได้เพียงใด จากบทบาทที่ ซีเอ็มซี มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมาย…”

หากผู้อ่านท่านใดสนใจผลงานนวัตกรรมดังกล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางชุติมา โชคกนกวัฒนา ครูที่ปรึกษาโครงการ คุณบุญลือ สุขเกษม อยู่บ้านเลขที่ 5/2 หมู่ที่ 2 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เกษตรกรเจ้าของสวนบุญบันดาล สวนที่โด่งดังและถือเป็นมืออาชีพเรื่องการทำไม้ผลแปลกมานาน

คุณบุญลือ เล่าว่า “สวนเรามีไม้ผลแปลกๆ ที่ทำชื่อเสียงอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น มะม่วงบุญบันดาล ทับทิมแดงมารวย ที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย ส้มโอแดงเวียดนาม มะกอกยักษ์อินโด ลำไยสีชมพู และอื่นๆ”

ล่าสุด คุณบุญลือ มีไม้ใหม่คาดว่าจะตีตลาดได้ คือ “มะไฟพันธุ์ทองสยาม” จุดเด่นคือ รสชาติหวาน ลูกใหญ่ ปลูกง่าย ติดผลดก ออกลูกทะวาย ผิดจากมะไฟทั่วไป

มะไฟหวานพันธุ์ทองสยาม เป็นมะไฟสายพันธุ์ไทยแท้ๆ ค้นพบโดย คุณบุญลือ นำเมล็ดจากจังหวัดระยองมาเพาะ ปรากฏว่าเมื่อผลผลิตออกมา ลองเก็บมาชิมพบว่า มะไฟสายพันธุ์นี้ ลูกใหญ่ รสชาติหวาน วัดได้ 19-20 บริกซ์ เป็นพันธุ์ที่กลายจากเมล็ดแล้วคัดมา ซึ่งต่างจากมะไฟทั่วไปที่มีรสเปรี้ยวนำ มีรสชาติหวานเล็กน้อย และมีขนาดผลเล็ก

เกษตรกรส่วนใหญ่โค่นทิ้ง แต่ สวนบุญบันดาล มองเห็นโอกาสทำเงิน

ปัจจุบัน สวนบุญบันดาล ปลูกมะไฟทองสยามไว้มากกว่า 300 ต้น ซึ่งต้นแม่มีอายุกว่า 7 ปี โดยทั่วไปหากพูดถึงมะไฟคนจะต้องเบ้หน้า เพราะมะไฟขึ้นชื่อเรื่องความเปรี้ยว ไม่เป็นที่นิยมของตลาด จึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่โค่นทิ้งไปปลูกพืชอย่างอื่นกันหมด แต่คุณบุญลือคิดว่า มะไฟพันธุ์ทองสยาม มีข้อดีต่างไปจากมะไฟพันธุ์ทั่วไป จึงคิดว่าในอนาคตจะกลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจทำเงินให้ตัวเองได้

“คนไม่นิยมปลูก แต่ผมปลูก เพราะผมคิดว่าต่อไปนี้คนจะรู้จักมะไฟน้อย คนโค่นทิ้งกันหมด ถ้าพูดถึงมะไฟจะนึกถึงแค่ความเปรี้ยวอย่างเดียว จะไม่มีใครพูดถึงความหวานเลย ผมจึงหันมาพัฒนามะไฟ เพราะมะไฟปลูกดูแลจัดการง่าย และมะไฟของเราหวาน คิดว่าน่าจะเปิดตลาดได้”

“พิสูจน์ได้จากลูกค้าที่เคยมาเยี่ยมชมที่สวน บางรายสามีมาเห็นต้นมะไฟของผมแล้วจะซื้อไปปลูก แต่ภรรยาไม่ให้ซื้อเพราะคิดว่าจะเปรี้ยว แต่เมื่อภรรยาได้ชิมผลเท่านั้นแหละ ภรรยาเอ่ยปากขอซื้อต้นพันธุ์ก่อนสามีซะอีก”

มะไฟทองสยาม รสชาติหวาน ลูกใหญ่ ปลูกง่าย ออกลูกทะวาย

มะไฟ เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย

มะไฟทองสยาม ออกผลทะวาย 1 ปี ออกลูก 3 ครั้ง ให้ผลดก 60-70 กิโลกรัม ต่อต้น ถ้าเป็นพันธุ์ทั่วไป จะออกลูกเพียงปีละครั้ง เป็นพันธุ์เบา ปลูกนาน 2 ปี ให้ผลผลิต หรือท่านใดอยากจะซื้อไปลองปลูกแต่มีพื้นที่จำกัด ท่านสามารถปลูกในกระถางได้ ไม่มีปัญหา

วิธีปลูก

“มะไฟ เป็นพืชที่ดูแลง่าย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง โรคยังไม่เคยเจอ ที่เจอคือ หนอนกินใบธรรมดา มะไฟปลูกระบบชิดได้ เพราะมะไฟออกลูกใต้ต้น โคนต้น ไม่ใช่ออกที่ยอด ถ้าออกที่ยอดต้องใช้แสงเยอะ”

ขุดหลุม…50×50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 3×3 เมตร

การปลูก…ปลูกแค่เสมอหลุม จะไม่ปลูกต่ำกว่าหลุมมาก เพราะไม้จะไม่โต ปลูกเสร็จให้รดน้ำ ที่สวนจะไม่รองก้นหลุม เพราะรากอยู่ในถุงรากจะน้อยอยู่ พืชไม่ต้องการกินอะไรมาก แค่ดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยให้บ้างนิดๆ หน่อยๆ

ปุ๋ย…ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ตัดแต่งกิ่ง แต่มะไฟตัดแต่งมากก็ไม่ดี เพราะมะไฟออกลูกตามโคนต้น และกิ่ง เพราะฉะนั้นเวลาตัดแต่งต้องเน้นให้กิ่งเยอะนิดนึง ให้เล็มกิ่งที่เล็กเพื่อให้ต้นโปร่ง หลังเก็บเกี่ยวเสร็จให้ใส่ปุ๋ยมูลนกกระทาฟื้นฟูต้น

ระบบน้ำ…เป็นระบบสายยาง วาล์วปีกผีเสื้อ เมื่อเริ่มแทงช่อ เริ่มมีปุ่ม ให้เริ่มพรมน้ำเพื่อให้แตกช่อได้เต็มที่ ช่วงระยะออกดอกต้องเริ่มให้น้ำเลย ให้ปริมาณพอสมควร แต่ช่วงระยะเริ่มผสมติดแล้วให้น้ำเต็มที่ มะไฟต้องการน้ำ งดน้ำไม่ได้ ถ้าให้น้ำน้อยเกินไปมะไฟจะฝ่อไม่มีเมล็ด หากปลูกต้นเดียวให้ตักรด

แนะนำสำหรับท่านที่ซื้อไปปลูกในกระถาง

สำหรับทางบ้านที่ซื้อไปปลูก สามารถปลูกในกระถางไซซ์ 25-30 นิ้ว ใส่ดินตามปกติเหมือนปลูกพืชทั่วไป เวลารดน้ำให้ดูที่กระถาง ถ้ากระถางยังเปียกอยู่ก็ไม่ต้องรด ถ้าปลูกลงดินไม่ต้องกำหนดว่า 3 หรือ 5 วัน จะรดหนึ่งครั้ง ให้ดูที่ดิน ถ้าดินยังชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรด ดินแห้งค่อยรดใหม่

มะไฟทองสยาม อนาคตการตลาดสดใส

ปัจจุบัน มะไฟทองสยาม ยังไม่มีการจำหน่ายผล ถ้าอยากลองชิมหรือสนใจกิ่งพันธุ์ต้องเดินทางไปที่ สวนบุญบันดาลเท่านั้น แต่ภายในปีหน้าคาดว่าจะมีจำหน่ายตามท้องตลาดบ้าง สาเหตุเนื่องจากรสชาติที่นิ่ง และได้เรียนรู้สังเกตการณ์มานานกว่า 10 ปี จึงมั่นใจว่า มะไฟทองสยาม น่าจะเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค และคาดว่าจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตาในอนาคต

กำหนดการวางขาย คุณบุญลือ คาดว่าจะวางตลาดปีหน้า ปีนี้ความพร้อมค่อนข้างเยอะ ทั้งเรื่องรสชาติ และความชอบของลูกค้าที่เคยมาที่สวน ราคาขายจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50-80 บาท ถือว่าไม่แพงสำหรับมะไฟสายพันธุ์ใหม่ ข้อดีมีหลายอย่าง เป็นพันธุ์เบา ออกลูกง่าย รสชาติดี การดูแลถือว่าน้อยมาก ติดลูกสม่ำเสมอ

ราคาต้นพันธุ์ เริ่มต้นที่ 200-500 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของต้น

ขนาดผลใหญ่กว่าเหรีญ 10 บาท ชั่งขาย 18-20 ผล ได้ 1 กิโลกรัม

สำหรับท่านที่สนใจกิ่งพันธุ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คุณบุญลือ สุขเกษม โทร. (086) 618-1453 และ (084) 77264-43 หรือหากไม่สะดวกเดินทางไปชิมที่สวน เชิญท่านมาที่งานเกษตรมหัศจรรย์

ระหว่าง วันที่ 24-27 พฤษภาคม 2561 บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน กำหนดจัดงานเกษตรมหัศจรรย์ขึ้นที่ สกายฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ในงาน คุณบุญลือ สุขเกษม จะมีกิ่งพันธุ์และผลมะไฟทองสยามมาให้ท่านได้ชิม ได้ซื้อ จึงขอเชิญชวนไปชมและซื้อหาผลผลิตในวันและเวลาดังกล่าว

เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นำโดย คุณฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปะชัย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน และ รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ปรึกษาศึกษาความต้องการสินค้าเกษตร และจับคู่เจรจาธุรกิจ โครงการส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตร ได้จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้นำเข้าผลไม้อินเดีย จำนวน 12 บริษัท กับผู้ประกอบการของไทยในจังหวัดตราด จันทบุรี และภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง 12-13 บริษัท ที่โรงแรมบ้านปูรีสอร์ท อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ในงานนี้ ทีมคณะวิจัย ของ ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ คือ ดร. สุรีพร ณรงค์วงศ์วัฒนา และ คุณศุทธหทัย โภชนากรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้สาธิตการใช้ “เครื่องวิเคราะห์ ความอ่อน-แก่ของทุเรียน”…นวัตกรรมใหม่ในวงการธุรกิจตลาดทุเรียนที่น่าสนใจ

ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ อาจารย์หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Near Infrared (NIR) Technology ประจำภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน กล่าวถึงที่มาของการคิดประดิษฐ์ “เครื่องวิเคราะห์ ความอ่อน-แก่ของทุเรียน” ว่า ปัญหาทุเรียนอ่อนที่ทำลายตลาดการค้าทุเรียนของไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะการตัดทุเรียนที่เปอร์เซ็นต์ของเนื้อแป้งหรือค่าน้ำหนักเนื้อแห้ง (Dry Matter,DM) ไม่ได้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.33-2556 ซึ่งได้กำหนดค่าคุณภาพทุเรียนแก่ที่เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยว เช่น พันธุ์หมอนทอง ไม่ต่ำกว่า 32% ชะนี และพวงมณี 30% กระดุม 27% อย่างไรก็ตาม การจะทราบค่าน้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ต้องผ่าผลและนำเอาเนื้อทุเรียนมาอบแห้ง นานถึง 48 ชั่วโมง และยังเป็นการทำลายผล นำไปซื้อ-ขาย ต่อไม่ได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ และทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการ Near Infrared (NIR) Technology จึงได้คิดค้นและพัฒนา “เครื่องวิเคราะห์ ความอ่อน-แก่ของทุเรียน” โดยใช้หลักการทำงานของเทคโนโลยีอินฟราเรดย่านใกล้ (NIR Technology) ซึ่งจะวัดค่าการดูดกลืนของพลังงานแสงของทุเรียน โดยองค์ประกอบภายในของทุเรียน เช่น แป้ง น้ำตาล สามารถดูดกลืนแสงอินฟราเรดย่านใกล้ในตำแหน่งความยาวคลื่นจำเพาะและปริมาณที่ดูดกลืนจะสะท้อนถึงปริมาณองค์ประกอบที่มีอยู่ภายในตัวอย่าง ซึ่งหลักการทำงานทำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพทุเรียนได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายตัวอย่าง และได้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ต่างจากค่าวิเคราะห์ด้วยวิธีอบอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

ดร. สุรีพร ณรงค์วงศ์วัฒนา ทีมวิจัยกล่าวเพิ่มเติมขณะสาธิตวิธีการใช้เครื่องวิเคราะห์ความอ่อน-แก่ทุเรียนว่า ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สามารถใช้งานได้ยาวนาน 8 ชั่วโมง พกพาได้สะดวก วิธีการใช้งานง่ายมาก เพียงนำหัววัดของเครื่องแนบที่ผิวของทุเรียนให้สนิท บริเวณร่องหนาม ในตำแหน่งที่ต้องการวัด จากนั้นกดปุ่มวัด แสงจากเครื่องจะผ่านเปลือกเข้าไปในผลทุเรียน เครื่องจะประมวลผลและแสดงค่าน้ำหนักเนื้อแห้งบนหน้าจออย่างรวดเร็วภายใน 3 วินาที แต่การใช้งานมีข้อควรระมัดระวังที่อาจจะทำให้ค่าเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอาจจะมีปัญหาสภาพภูมิอากาศ ผลทุเรียนเปียกชื้น รูปทรงผลผิดปกติ ปลายหัววัดไม่สามารถแนบกับเปลือกได้

ทางด้าน คุณฉัตรชัย ศักดิ์ศิลปะชัย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เครื่องมือนี้ทางกรมการค้าภายในได้สนับสนุนงบประมาณในการวิจัยเครื่องต้นแบบ ต่อไปจะสนับสนุนให้พัฒนาเครื่องมือ ให้สามารถตรวจสอบได้หลายสายพันธุ์ เพราะงานวิจัยยังทดลองกับสายพันธุ์หมอนทองเท่านั้น เนื่องจากมีปริมาณส่งออกต่างประเทศมาก ซึ่งจะส่งผลให้การซื้อขายทุเรียนในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ เป็นการยกระดับมาตรฐานทุเรียน ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนไทย และพัฒนาเครื่องมือให้มีน้ำหนักเบาขึ้นจากเครื่องต้นแบบ น้ำหนัก 2 กิโลกรัม และประหยัดต้นทุนการประดิษฐ์จากงบประมาณในการวิจัย จำนวน 300,000 บาท อาจจะประมาณ 50,000-60,000 บาท ต่อจากนั้นจะนำไปจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของกรมการค้าภายใน สำหรับภาคเอกชนที่สนใจพัฒนาเชิงธุรกิจพาณิชย์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ e-mail fengror@ku.ac.th

เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของงานวิจัยนวัตกรรมที่สร้างสรรค์และนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง ระหว่าง วันที่ 24-27 พฤษภาคม 2561 นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จะจัดงานเกษตรมหัศจรรย์ขึ้น ที่สกายฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ในงานมีพันธุ์ทุเรียนมาแสดง กว่า 100 พันธุ์ พร้อมทั้ง “เครื่องวิเคราะห์ ความอ่อน-แก่ของทุเรียน” ก็จะนำมาสาธิตในงานด้วย

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยเน้นให้มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในชุมชน เพื่อให้เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรของชุมชนและเป็นที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการด้านการเกษตร ประกอบกับในสภาวะปัจจุบันสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรของเกาตรกรมีปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับปัญหาโรคและแมลง และพื้นที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อยและมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบกับการแก้ปัญหาการขาดทุน เกิดหนี้สิน และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. ขึ้น มีอยู่จำนวนกว่า 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนที่เกิดจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้ และเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในการประเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

กรมการข้าว เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรยนรู้ในพื้นที่ชุมชน ที่สามารถให้ความรู้ในเรื่องวิชาการ เทคโนโลยี การป้องกันโรค ตลอดไปจนถึงเรื่องของการเก็บเกี่ยว พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และค่ยให้ความช่วยเหลือต่างๆ ให้กับเกษตรกรผู้ทำนาได้อย่างถูกต้องและเท่าทัน

ดารณี สุวรรณโพธิ์ศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว กล่าวว่า การทำนาของเกษตรกรไทยในช่วงฤดูกาลหลักของแต่ละปี กรมการข้าว ได้มีการมุ่งเน้นให้เกษตรกรได้มีการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพและลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงด้วยกรรมวิธีต่างๆ ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง(smart farmer) ปี 2561เพื่อให้มีเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆ เพื่อให้การผลิตข้าวมีประสิทธิภาพและได้ราคา เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ เครื่องจักรกลทางการเกษตร การตรวจรับรอง GAP ข้าว โดยทั้งหมดนี้ได้คัดเลือกเกษตรกรผู้ลงมือทำนานจริงมาเป็นตัวแทนอบรมเพื่อนำวิธีการต่างๆ ไปสู่เพื่อนๆ เกษตรกรรายอื่นๆ อไป

คุณจันทร์ พรมรังกา ประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านนาป่าน ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน กลุ่มที่เขาได้ทำการดูแลอยู่นั้นนำวิธีการลดต้นทุนมาใช้เพื่อผลิตข้าว โดยทางศูนย์ข้าวชุมชนบ้านนาป่านได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อนำมาคัดเลือกให้เป็นเมล็ดพันธืที่ดีมีคุณภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจับแพร่ ซึ่งพันธุ์ข้าวเมล็ดที่ทำการคัดแยกอยู่ คือ พันธุ์ กข 6 พันธุ์ กข 10 สันป่าตอง 1 พันธุ์เหล่านี้เป็นข้าวที่เกษตรกรในจังหวัดน่านนิยมปลูก ซึ่งการทำนาของเกษตรกรในพื้นที่นี้จะเน้นทำด้วยวิธีดำต้องใช้เมล็ดพันธุ์ถึง15-20 กิโลกรัมต่อไร่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนการทำนาแบบใหม่ๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในการผลิต

“การทำงานแบบสมัยก่อนนั้น ค่อนข้างที่จะใช้เมล็ดพันธุ์มาก เราก็ได้เรียนรู้และมีการจัดการที่ดีเพิ่มขึ้น เพราะที่นี่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเอง เราจึงได้รู้ถึงวิธีการต่างๆ เพื่อให้ข้าวที่ผลิตสามารถมีคุณภาพและประหยัดต้นทุน จากที่เคยใช้วิธีทำนาดำใช้เมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ พอเปลี่ยนมาใช้แบบนาโยน สามารถลดต้นทุนลงใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 4 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น จึงสามารถลดต้นทุนได้มากในเรื่องของการทนา” คุณจันทร์ กล่าว

จากการเรียนรู้วิธีการต่างๆ จึงทำให้ชาวบ้านที่อยู่ภายในกลุ่มนี้หันมาผลิตข้าวแบบนาโยนมากขึ้น และมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี พร้อมทั้งยังมีการพัฒนาคิดค้นสูตรทำปุ๋ยหมักขึ้นใช้ภายในกลุ่มเอง จึงสามารถลดต้นยทุนทางการผลิตได้อีกหนึ่งช่องทาง

จึงนับได้ว่าการทำเกษตรกรรมของไทยนั้น ได้มีวิทยาการและองค์ความรู้มากมายเข้ามาชวย จึงสามารถทำให้เกษตรกรไทย สามารถพัฒนาองค์ความรู้และเรียนรู้การปรับเปลี่ยนได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำองค์ความรู้มาช่วยเสริมสร้างและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพื่อที่จะมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

“ศรีสัชนาลัย” เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย นอกจากมีเกษตรกรผลิตส้มเขียวหวานสีทองที่มีคุณภาพ สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด ยังมีเกษตรกรปลูกทุเรียนพื้นบ้านมาหลายชั่วอายุคน ไม่น้อยกว่า 80 ปี และเริ่มมีการพัฒนาผลิตทุเรียนคุณภาพดี เปลี่ยนยอดเป็นทุเรียนหมอนทอง ลงแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ ปลูกกันมาเมื่อเกือบ 40 ปี มาแล้ว จุดประกายความคิดมาจากทุเรียนพื้นบ้าน เรียกกันว่า ทุเรียนจระเข้ ที่มีอายุของต้น 220 ปี หลายท่านคงเคยได้ยินชื่อทุเรียนนี้กันมาบ้าง นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เคยนำมาตีพิมพ์ครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2553 จากต้นทุเรียนจระเข้ได้ก่อเกิดแนวคิดให้แก่เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์ดี จนเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและมีเงินไหลเข้าชุมชน จาก 1 แปลง ขยายพื้นที่เป็นวงกว้าง มาถึง ปี พ.ศ. 2561 มีการปลูกทุเรียนกันทั้งหมู่บ้าน ทั้งตำบล มากกว่า 500 ครัวเรือน

กล่าวโดยภาพรวมแล้ว ในปัจจุบัน ทุเรียน ได้กลายมาเป็นผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงทีเดียว และมีแนวโน้มที่จะขยายการส่งออกมากขึ้น ทั้งยังถูกกำหนดให้เป็นพืชที่ต้องเพิ่มคุณภาพการผลิตเพื่อการส่งออก

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านฉบับนี้ ได้นำสาระดีๆ เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนคุณภาพ จากอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จัก และอาจติดต่อพูดคุยกับเกษตรกร ซึ่งเป็นแปลงปลูกของเกษตรกรที่ผมไปดูและสัมภาษณ์มาครับ

คุญบุญเรือง ธิวงค์ษา อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 7 บ้านห้วยตม ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โทรศัพท์ (098) 556-5829 มีตำแหน่งเป็นสมาชิกเครือข่ายสภาเกษตรกร ตำบลบ้านตึก เขตอำเภอศรีสัชนาลัย ภรรยาชื่อ คุณมนฤทัย ธิวงค์ษา

เบื้องหลังการทำสวนทุเรียน เคยล้มลุกคลุกคลานมาก่อน

คุณบุญเรือง เล่าให้ฟังว่า ตนเองมีสวนทุเรียน 3 แปลง รวมเนื้อที่ 29 ไร่ ทุเรียนที่ปลูกมีอายุต่างกัน จำนวน 750 ต้น ร้อยละ 99 เป็นสายพันธุ์หมอนทอง ร้อยละ 1 เป็นหลง-หลิน ลับแล เริ่มปลูกทุเรียนอย่างจริงจัง ก็ช่วงปี พ.ศ. 2546 แต่ก่อนหน้านั้นราวๆ ปี พ.ศ. 2522 มีเกษตรกรในชุมชนปลูกทุเรียนกันมาก่อน เป็นต้นทุเรียนจากการเพาะเมล็ดทุเรียนพื้นบ้าน เพราะเขาเห็นว่าเกษตรกรที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปลูกกันแล้วได้ผลดี ก็ทดลองปลูกกันต่อมาก็เริ่มมีการนำยอดทุเรียนหมอนทองมาเปลี่ยนยอด เห็นว่าเจริญงอกงามดีได้ผลผลิต ตนจึงมั่นใจว่าพื้นที่ดินบริเวณนี้ปลูกทุเรียนได้ จึงตัดสินใจลงทุนซื้อกล้าพันธุ์ทุเรียนหมอนทองจากจังหวัดจันทบุรี จำนวน 100 ต้น นำมาปลูกในพื้นที่ของตน แต่ไม่ได้ผล ต้นทุเรียนอยู่รอดปลอดภัยมาได้เพียง 4 ต้น และการเติบโตก็ช้า จึงมีข้อสันนิษฐานถึงความไม่เหมาะสมว่า ปัญหานั้นไม่เป็นที่พื้นที่ ก็เป็นที่กล้าพันธุ์ หรือเป็นที่วิธีการปลูกไม่ถูกต้อง

“เหลือ 4 ต้น ก็ 4 ต้น…ก็ยังดี คิดใหม่ ทำตามเขาทีนี้ก็ใช้วิธีนำเมล็ดทุเรียนพื้นบ้านฝังลงในดิน พอแตกต้นอ่อนออกมา หนูก็กัดกินใบจนหมด แต่…ก็ไม่ท้อ ไปถามเพื่อนบ้านก็แนะนำว่า เพาะเมล็ดในถุงชำ เพื่อใช้เป็นต้นตอ ก็ทำตาม จนเมื่อต้นทุเรียนมีอายุได้ 1 ปีเศษ ต้นจะสูงประมาณ 80 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงในแปลงปลูก จนอายุได้ 2 ปี หรือลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถึง 1 นิ้วครึ่ง จึงเปลี่ยนยอดด้วยการเสียบยอด ใช้ยอดทุเรียนหมอนทอง” คุณบุญเรือง กล่าว

คุณบุญเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า สมัครสโบเบ็ต การนำยอดกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองมาเสียบยอดกับต้นตอทุเรียนพื้นบ้าน ก็ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการดูว่ายอดเช่นไรจึงนำมาใช้ได้ ก็ให้ดูว่าที่ปลายยอดต้องมีใบแก่ แต่ยังไม่แตกยอดอ่อน และระหว่างกิ่งกับก้านใบมียอดแหลมๆ ประมาณว่าเป็นเม็ดข้าวสารที่ยังไม่แตกยอด

ส่วนวิธีการเสียบยอดนั้น คุณบุญเรือง อธิบายว่าให้ดูลำต้นของต้นตอว่ามีขนาดพอเหมาะหรือยัง ถ้าต้นตอพอเปิดแผลเป็นรูปตัว T ได้ ก็ลงมือทำ เมื่อเสียบแล้วก็ใช้เทปพลาสติกใสพันรอบรอยแผลและพันขึ้นไปถึงยอดกิ่งพันธุ์หมอนทอง เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และรอเวลา 20 วัน ถ้ามีการแตกยอดออกมา อย่างนี้แผลติดกันแน่ๆ ก็แกะพลาสติกที่พันยอดพันธุ์หมอนทองอยู่ แต่ให้รักษาบริเวณที่พันรอยแผลไว้ ถ้าพ้นเวลาแล้ว ยังไม่มีการพัฒนาก็รอถึง 30 วัน ถ้าไม่แตกยอดแสดงว่าไม่เป็นผลสำเร็จ

การปลูกและการดูแล ต้นทุเรียน ช่วงอายุ 1-5 ปี

ความรู้เรื่องการปลูก ดูแล ต้นทุเรียนแต่ละช่วงอายุสามารถศึกษาค้นคว้าได้จากหลายแหล่ง จากสื่อต่างๆ หนังสือเกษตร แต่ที่สวนของคุณบุญเรือง เป็นพื้นที่เฉพาะเป็นที่ลาดเชิงเขา ไม่ได้ดำเนินการตามหลักวิชาการเกษตรมากนัก แต่ก็เห็นการเติบโตของต้นทุเรียนเป็นไปด้วยดี รูปทรงหรือทรงพุ่มสวยงามดี

คุณบุญเรือง ได้เล่าย้อนหลังไปถึงการปลูกต้นทุเรียนว่า พื้นที่ที่ปลูกไม่ได้เป็นพื้นที่ราบ แต่เป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา ตอนที่ลงมือปลูกไม่ได้กะระยะห่างระหว่างต้นตามหลักวิชาการ จึงต้องคิดต่างจากเกษตรกรคนอื่นๆ โดยปลูกสลับกันคล้ายรูป X ตามแนวลาดเอียงของพื้นที่ เพื่อไม่ให้ต้นบังกัน แสงแดดส่องถึงทั่วทุกต้น ตัดปัญหาเรื่องต้นทุเรียนแข่งกันสูงเพื่อแย่งกันรับแสงแดด และให้อยู่ร่วมกันกับป่าไม้ตามธรรมชาติได้

คุณบุญเรือง กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่แปลงปลูกทุเรียนของตนเป็นดินภูเขา เป็นพื้นที่เฉพาะจริงๆ เนื้อดินออกไปทางสีน้ำตาลแดง เนื้อดินเก็บความชื้นได้ดี การระบายน้ำดี เมื่อนำเครื่องมือตรวจหาค่า pH ดิน ได้ค่า 6.2 ซึ่งดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียนจะมีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH), (pH ย่อมาจาก Positive potential of the Hydrogen ions) ประมาณ 5.5-6.5 หน่วย pH โดยที่ยังไม่ได้มีการปรับสภาพดินแต่อย่างใด ถ้าเป็นสภาพอากาศอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส จึงน่าจะมีความเหมาะสมกับการปลูกทุเรียน