ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทีมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอแนวทาง

เพิ่มเติมให้กับนโยบายภาครัฐในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นโครงการแผนบูรณาการข้อที่ 20 ของแผนบูรณาการ 25 โครงการที่ภาครัฐจะต้องเร่งดำเนินการในปี 2560 วิศว จุฬาฯ เสริมทีมวิจัยสกว.แนะทางออก การบริหารจัดการน้ำในปี 2560 ข้อเสนอแนะของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ต้องการให้มีการทำโครงการนำร่อง ซึ่งหากยังบุณราการไม่ได้ควรเลือกการทำงานของกรม/กอง ในกระทรวงเดียวกัน เพราะมีเรื่องงบประมาณผูกพันเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากมีการข้ามหน่วยงานเกิดขึ้น จะเกิดความยากในการจัดการทำงบประมาณเรื่องน้ำ และ ควรมีตัวชี้วัดทางด้านการเกษตรมาใช้ เนื่องจากมีความทันสมัยกว่า รวมทั้งแต่ละจังหวัดมีพืชเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ควรเลือกพืชที่สนใจมาศึกษา โดยเชื่อมโยงกับทรัพยากรน้ำ ในฐานะปัจจัยการผลิตหลัก

นอกจากนี้ ควรกำหนดบทบาท และ ความสำคัญของพืชเศรษฐกิจ เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญเป้าหมายการทำแผนแบบแบบบูรณาการ และ พัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสม รวมถึงผลที่จะได้รับ ทั้งเชิงเศรษกิจ และ สังคม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้เสนอแนวทางออกเรื่อง “แนวคิดงบประมาณ” ในการบริหารจัดการน้ำ จากเดิมงบประมาณจะเป็นตัวหนึ่งที่ครอบยุทธศาสตร์ประเทศ และ นำมาสู่เป้าหมาย,ตัวชี้วัด และ นำไปสู่การใช้เงินจริงไปยังกระทรวงและทบวงต่างๆ แต่ข้อเสนอระบบแผน งบประมาณรูปแบบใหม่ ให้เริ่มจากยุทศาสตร์ประเทศ ไปสู่ยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด , นำมาสู่เป้าหมายและตัวชี้วัด จากนั้นนำเงินงบประมาณลงไปสู่กระทรวงและกรมต่างๆ

ที่สำคัญในการพัฒนางบประมาณทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร จะต้องดำเนินไปแบบเชื่อมโยงสู่การบูรณาการ เริ่มจากระบบของ “น้ำ” ที่ประกอบไปด้วย แหล่งน้ำ , ระบบชลประทาน,การรักษานิเวศ, ป้องกันน้ำท่วม และ ผลักดันน้ำเค็ม โดยวิธีการบริหารจัดการน้ำในระบบเหล่านี้ จะต้องเชื่อมโยงและสู่การบูรณาการไปยังภาคการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าว, พืชไร่ , พืชสวน ,ปศุสัตว์ และ สัตว์น้ำ

เหตุผลที่นำข้อเสนอแนะของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นมาเป็นหัวข้อแรก เนื่องจากหากพูดถึงการบริหารจัดการน้ำนั้น ทุกคนก็จะนึกถึงเรื่องของเขื่อน และ การชลประทาน แต่ในส่วนเชิงนโยบายของภาครัฐนั้น เรื่องการบริหารจัดการน้ำกลายเป็นเรื่องนามธรรมไป เนื่องจากที่ผ่านมาหลักในการบริหารและจัดสรรงบประมาณต่างๆนั้น ในภาคเกษตรกรรมแทบจะไม่ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เท่าใดนัก เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องนำข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาให้เห็นชัดเจนนั่นเอง

“น้ำ” คือ ชีวิต เชื่อมโยงพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ ภาคการเกษตรได้ น้ำ คือ ชีวิต นี่คือคำสโลแกนที่เรารู้กันอย่างทั่วถึง นั่นหมายความว่า น้ำ มีความสำคัญกับทุกชีวิต เป็นผู้ให้ชีวิตแก่เราในการดำรงอยู่ แต่การบริหารจัดการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ การรัมมือกับปัญหาน้ำที่น้อยเกินไปจนเกิดภัยแล้ง และ น้ำที่มากเกินไป จนเกิดภัยน้ำท่วม ยังเป็นโจทย์ที่นักวิจัยในเมืองไทยต้องค้นคว้าหาคำตอบ ผ่านการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมมา

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังระบุว่า ความเชื่อมโยงของน้ำและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยนั้น ประกอบด้วยความเชื่อมโยงของน้ำและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ,น้ำเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และ ภัยพิบัติด้านน้ำกับความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

สำหรับ “น้ำ” เพื่อการพัฒนาเศรษ๘กิจและสังคมของประเทศไทยมีความสำคัญอย่างไร ทาง รศ.ดร.สุจริต ได้แยกย่อยข้อมูลออกมาอย่างชัดเจนว่า รายได้มวลรวมของประเทศไทย (GDP) ปี 2559 มี 11,054,927 ล้านบาท แบ่งเป็นจีดดีพีที่มาจากภาคการเกษตรมากที่สุด 62% รองลงมา คือ จีดีที่มาจากภาคบริการ 56% และ จีดีพีที่มาจากภาคอุตสาหกรรม 25% ขณะที่ย้อนไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ส่งผลให้จีดีพีของประเทศไทย หายไป 30% หรือมีจำนวนเงินที่จะนำมาใช้พัฒนาประเทศหายไปราว 1.4 ล้านล้านบาท

เพราะฉะนั้น งานวิจัยที่ รศ.ดร.สุจริต และ คณะวิศวกรรม จุฬาฯทำการวิจัยอยู่นั้นสะท้อนให้เห็นว่า สภาพน้ำมีผลต่อการเติบโตและความเสียหายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ รวมไปถึงโครงการการใช้น้ำมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจากภาคการเกษตร และ อุตสาหกรรม ไปสู่การบริการมากขึ้น รวมถึงการแปรปรวนของสภาพอากาศส่งผลต่อปริมาณน้ำและความเสียหายแบบฉับพลัน

จึงมีประเด็นเสนอแนะการจัดการน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งมีการศึกษาจากประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดเมื่อปี 2554 ด้วยพบว่า วันนี้ประเทศไทยมีการวิจัยเพื่อหามาตรการล่วงหน้าในการบริหารน้ำในเขื่อน มีการดำเนินการในลักษณะวิจัย และ มีความเข้าใจในสมดุลน้ำที่มีอยู่ รวมถึงภาวะการขาดแคลนในสภาพปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาทางเลือกในการแก้ไข ,บรรเทาปัญหาจากการจัดการ และ นวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ

เทคโนโลยีมาช่วยเรื่องการบริหารจัดการน้ำได้ เรื่องนี้ “เกษตรกร” ต้องเงี่ยหูฟังนักวิจัย

การบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดในอดีตเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ทำให้วันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะข้อมูลด้านการวิจัย เพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์ให้เกิดการพัฒนา โดย รศ.ดร.สุจริต เสนอแนวคิดการจัดการน้ำในกระแสโลกและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยระบุว่า แนวโน้มการจัดการน้ำในกระแสโลกใหม่ๆ วันนี้จะมีการพูดคุยและเน้นเรื่องความมั่นคงด้านน้ำ (Water security), สิทธิในน้ำ (Water right) , การกำหนดราคาน้ำ (Water pricing) ,กฎหมายน้ำ (Water act) และ กลไกระดับนานาชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (International System for climate change issue)

ที่สำคัญยังการมีการเน้นการพูดถึงเรื่อง “เทคโนโลยีการติดตามและคาดการณ์น้ำท่วมและภัยแล้ง” ด้วยระบบติดตามและคาดการณ์ ,เทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลฝนสังเกตการณ์แบบ near real-time และ เทคโนโลยีด้านแบบจำลอง นอกจากนี้ยังต้องเน้นเครือข่ายความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการน้ำข้อมูลจากต่างประเทศมาเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งภาวะภัยแล้งและน้ำท่วม

รศ.ดร.สุจริตเน้นว่า หลายพื้นที่มีการใช้ภูมิปัญหาชาวบ้านในการบริหารจัดการน้ำได้เป็นอย่างดี และ บางพื้นที่เกษตรกรรมหากมีการแก้ไขเรื่องน้ำ จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้น อย่างเช่น พื้นที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร มีปัญหาเรื่องน้ำในช่วงฤดูแล้ง ต้องเพิ่มปริมาณน้ำ และ แก้ปัญหาน้ำแล้งให้ได้ ขณะที่บางพื้นที่มีการใช้น้ำด้านการบริการอย่างเต็มที่แล้ว อาทิ เชียงใหม่ และ ภูเก็ต

“น้ำไม่ใช่ทางออกสุดท้าย (out put) ที่น้ำจะเกิดประโยชน์ แต่เอาท์พุดสุดท้ายคือ ภาคการเกษตร อันนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังค้นคว้าวิจัยข้อมูลว่า ถ้ากรมชลประทานมีพื้นที่ 40 ล้านไร่ต้องบริหารจัดการภาคการเกษตร และบริหารจัดการน้ำเป็นตัวแปรสำคัญ รัฐต้องเดินหน้ายังไง นี่เป็นสิ่งที่เรากำลังหาทางอยู่” รศ.ดร.สุจริต เล่าให้ผู้ร่วมฟังเวทีสาธารณะด้านนโยบายน้ำฟังอย่างเป็นกันเอง

เพราะฉะนั้น เรื่องการบริหารจัดการ “น้ำ” ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายทั้งกับนักวิจัยของไทยเอง และ ภาครัฐ ที่วันนี้หากยังไม่สามารถมีความสามัคคีในการทำงาน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล นำข้อมูลจากทุกแหล่งมาสังเคราะห์ร่วมกันได้แล้ว ก็จะต้องเดินหน้าตามคำแนะนำของนักวิจัยจากคณะวิศวกรรม จุฬาฯ คือ ต้องหาความร่วมมือกันในกระทรวง ทบวง และ กรมของตัวเองให้เข้มแข็งให้ได้ก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการนำเงินงบประมาณด้านการบริหารจัดการน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

ชาติสูงสุด เพราะสุดท้ายแล้วปลายทางของการบริหารจัดการน้ำที่ใช้กันมากที่สุด คือ ภาคกการเกษตร และ ตัวขับเคลื่อนจีดีพีของประเทศมากที่สุดก็คือ ภาคการเกษตร

เพราะฉะนั้นหากยังรอเวลาให้ภาคอื่นมีสัดส่วนใช้น้ำมากกว่าแล้วค่อยแก้ปัญหา และ มัวทะเลาะกันอยู่ การใช้งบประมาณในการบริหารจัดการน้ำก็จะเป็นเหมือน “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” จับเนื้อน้ำพริกกินไม่ได้เลยทีเดียว

ต้องติดตามกันต่อไปว่า ในการจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำครั้งต่อไปในปี 2561 นั้น ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ สกว. จะมีข้อมูลด้านใดที่เป็นประโยชน์มาเปิดเผยให้เป็นโอกาสที่ดีในการสะสมข้อมูลของเกษตรกร เพื่อเป็นฐานในการเรียมปรับตัว รับมือกับสภาวะการณ์ทั้งจากธรรมชาติ และการบริหารจัดการน้ำในเชิงโนโยบายภาครัฐ

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ด้านสินค้าพืช ปศุสัตว์และสินค้าประมง โดยให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยการรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย 5 ด้าน การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด มีการรวมกันเป็นกลุ่ม มีการเชื่อมโยงกับตลาดเพื่อบริหารจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของสินค้า แก้ปัญหาเรื่องสินค้าล้นตลาด และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

คุณชาตรี บุญนาค ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ได้รับนโยบายจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร คุณสมชาย ชาญณรงค์กุล ได้มอบให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ดำเนินการขับเคลื่อนในเรื่องของงานนโยบายทั้งหมดโดยเฉพาะในเรื่องของแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

ส่วนในเรื่องของแปลงใหญ่นั้น จะเกี่ยวข้องกับ ศพก. โดยเกษตรกรข้างเคียงจะได้เข้ามาเรียนรู้ แล้วนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองต่อไป โดยศูนย์จะมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงไปสู่แปลงใหญ่ โดยแปลงใหญ่จะรวบรวมสมาชิกที่มาเรียนรู้ ที่ ศพก. แล้วมาเป็นสมาชิกแปลงใหญ่ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ส่วนนโยบายหลักของแปลงใหญ่นั้น ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้รับผิดชอบ Single Command หรือ SC แปลงใหญ่กับ ศพก. จึงได้รับมาดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้ขยายแปลงใหญ่ออกไปจำนวนมากขึ้น ตามแนวทางที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ไว้ใน 5 ด้านด้วยกัน คือ

1. ต้องให้การรวมกลุ่มมีความเข้มแข็ง แล้วการลดต้นทุนการผลิตต้องลดลง เป้าหมายในภาพรวมก็คือ 20%
2. เน้นเรื่องการเพิ่มผลผลิต อีก 20% จากเดิมที่เกษตรกรทำได้ โดยนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี เข้าไปเติมเต็มให้กับเกษตรกร
3. ให้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะในแปลงใหญ่นั้น ในปี 2560 นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการในเรื่องการจัดทำ GAP ทุกรายที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ โดยร่วมกับกรมวิชาการเกษตรในการประเมิน เมื่อได้ GAP แล้วรายใดที่สามารถทำเป็นอินทรีย์ได้ ก็ให้พัฒนาไปสู่มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่อไป
4. ดำเนินการเรื่องการบริหารจัดการ ให้มีความเข้มแข็งในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งเป็นหัวใจของเรื่องแปลงใหญ่ ในการบริหารจัดการให้เกิดความเข้มแข็ง และ
5. เรื่องของตลาดต้องเป็นตลาดนำการผลิต โดยให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่มาประชุมร่วมกัน แล้วดำเนินการให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้ตอบสนองตลาด ภายใต้แนวนโยบายของประชารัฐ คือทั้งภาคเกษตรกร ภาคประชาชน และองค์กรเอกชน และภาคราชการ เข้ามาดำเนินการร่วมกัน
“คุณสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้แนวทางในการดำเนินการแปลงใหญ่อย่างเป็นรูปธรรมว่า การดำเนินงานในแปลงใหญ่นั้น เกษตรกรมีความเข้มแข็งแล้วหรือยัง แล้วรายใดที่สามารถมาเป็นผู้จัดการแทนเกษตรอำเภอได้ ก็ขอให้ดำเนินการ โดยที่ทางเกษตรอำเภอไม่ได้ทอดทิ้งยังคงมาเป็นพี่เลี้ยงและเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากเกษตรกรยังไม่เข้มแข็งก็ให้เกษตรอำเภอเป็นผู้จัดการแปลงอยู่ แต่ต้องฝึกเกษตรกรขึ้นมาเป็นผู้จัดการแปลงให้ได้” คุณชาตรี กล่าว

สำหรับพื้นที่แปลงใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออก 9 จังหวัด ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี มี 18 แปลง ฉะเชิงเทรา 14 แปลง ชลบุรี 15 แปลง ตราด 13 แปลง นครนายก 6 แปลง ปราจีนบุรี 14 แปลง ระยอง 11 แปลง สระแก้ว 18 แปลง และสมุทรปราการ 10 แปลง รวม 119 แปลง

กรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดตัวศูนย์ใหม่ “ศูนย์วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางการเงินสหกรณ์” เพื่อช่วยวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ทางการเงินสหกรณ์ พร้อมทั้งเป็นเครื่องมือช่วยป้องกันความเสี่ยง มีระบบช่วยเตือนภัยและสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินสหกรณ์ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางการเงินสหกรณ์ เพื่อดำเนินงานด้านการเงินสหกรณ์ โดยวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางการเงินสหกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และศึกษาวิจัยเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในการปฏิรูประบบการบริหารจัดการ และกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน อีกทั้งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาให้สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ภายใต้ระบบกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ

โดยศูนย์วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางการเงินนี้ จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินสหกรณ์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ตามอำนาจหน้าที่ดังนี้ 1.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาเพื่อกำหนดระบบข้อมูล ระบบรายงานและระบบประเมินผลทางการเงินของสหกรณ์ 2.ศึกษา วิเคราะห์และพัฒนาตัวชี้วัดทางการเงินสหกรณ์ อัตราส่วนมาตรฐานทางการเงินสหกรณ์ ระบบเสถียรภาพทางการเงินสหกรณ์ ระบบเตือนภัยทางการเงินสหกรณ์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางการเงินสหกรณ์ 3.รวบรวมรายงานข้อมูลทางการเงินสหกรณ์

ตามแบบรายงานที่กำหนด พร้อมจัดทำข้อมูลแนวโน้ม การคาดการณ์ภาวะด้านการเงินของสหกรณ์ รายงานสถิติการเงิน รายงานสารสนเทศทางการเงินของสหกรณ์ รายงานเตือนภัยทางการเงินเพื่อเฝ้าระวังการเงินของสหกรณ์ รายงานความเสี่ยงทางการเงินของสหกรณ์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเมื่อเกิดผลกระทบขึ้นแล้ว ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาและแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางด้านความเสี่ยงทางการเงินแต่ละด้าน และ5.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ศูนย์ฯที่เปิดใหม่นี้ จะอยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวด้วยว่า กระบวนการทำงานในระยะเริ่มต้นศูนย์ฯ จะเริ่มให้สหกรณ์กลุ่มเป้าหมายที่มีสินทรัพย์มากกว่า 5,000 ล้านบาทรายงานเข้ามาก่อน เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านต่างๆ พร้อมทั้งเก็บปัญหาและอุปสรรค ในการรายงานข้อมูลของสหกรณ์เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสหกรณ์ออมทรัพย์ในอนาคต ขณะเดียวกันยังเป็นการนำร่องการวิเคราะห์สหกรณ์ตามหลักเกณฑ์ใหม่ในการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 เช่น CAMELS และ BASEL I เพื่อประเมินว่าสหกรณ์จะได้รับผลกระทบเพียงใด และควรใช้เวลาในการปรับตัว พร้อมทั้งแจ้งผลการวิเคราะห์เพื่อเตือนภัยทางการเงินแก่สหกรณ์และดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ยังกล่าวต่ออีกด้วยว่า ทางศูนย์ฯ ได้มีการประสานงานและขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลของสหกรณ์มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการออกแบบรายงานเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ของสหกรณ์ ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด เพื่อที่ศูนย์ฯ จะได้สามารถเข้าไปดำเนินงานแนะนำได้ตรงจุดมากขึ้นและลดความเสี่ยงในการดำเนินงานของสหกรณ์ ซึ่งทำให้สมาชิกมั่นใจได้ว่าสหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ทางศูนย์ยังได้มีการร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ (MIS) เพื่อให้ข้อมูลที่สหกรณ์รายงานมีความถูกต้อง และสามารถนำไปวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ รวมไปถึงการร่วมมือกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในการใช้ข้อมูลทางบัญชีร่วมกัน เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการทำงานให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการประเมินสถานการณ์ของสหกรณ์ได้

วันที่ 7 เมษายน 2560 เมื่อเวลา 8.00 น. ที่ห้องประชุมบูรพา ศ่าลากลางจังหวัดสระแก้ว พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ ได้เดินทางไปรับฟังการบรรยายสรุป ความเสียหายจากภัยแล้ง ความคืบหน้าการปรับเปลี่ยนจากการทำนา ไปเป็นการปลูกพืชที่ เหมาะสมกับพื้นที่ ในพื้นที่ 3 อำเภอ ที่ประกาศเป็นเขตภัยแล้ง คือ โคกสูง อรัญประเทศ และ วัฒนานคร โดยใช้Agi-Map จากหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตร จากนั้นจึงเดินทางลงพื้นที่ดูการปลูกอ้อย ในตำบลหนองสังข์ อ. อรัญประเทศ มอบเงินช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบภัยแล้ง บันทึกแทบรายการ เดินหน้าประเทศไทย และ เดินทางต่อไปยัง ต. หนองม่วง อ. โคกสูง เพื่อดูการเลี้ยงโค แบบ ประณีต ก่อนจะเดินทางกลับ

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวภายหลังรับฟังการบรรยายสรุปว่า ที่ตนต้องเดินทางไปยังจังหวัดสระแก้ว เนื่องจากเป็นจังหวัดแรกของประเทศ ที่ประกาศเป็นเขตภัยแล้ง ใน3 อำเภอ 13 ตำบล 85 หมู่บ้าน ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ เฉพาะหน้า คือการมอบเงินช่วยเหลือให้ชาวบ้าน ตามระเบียบของทางราชการ ส่วนในระยะยาว คือการแก้ปัญหาแหล่งน้ำ ซึ่งดูจะอยากลำบากเพราะใน 3 อำเภอนั้นขาดแหล่งน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็ต้องพยายามทำ ด้วยการกระจายน้ำไปให้ครอบคลุมพื้นที่ พร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ปรับเปลี่ยนจากการปลูกช้าว ไปปลูกพืชอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อย หรือ การเลี้ยงปศุสัตว์ แต่ทั้งนี้จะต้องให้ชาวบ้านเปรับเปลี่ยนไปด้วยความสมัครใจ โดยทางราชการต้องหาพื้นที่ ทำนำร่อง เป็นแบบอย่างให้ชาวบ้านเห็นก่อน

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ตนสนใจแนวทางที่กรมปศุสัตสว์เสนอ คือการเปลี่ยนการทำนาไปเลี้ยงโค โดยเอาพื้นที่นารวมกันไปปลูกหญ้าเนเปียแปลงใหญ่และพัฒนาการเลี้ยงโค ของจังหวัด ให้เป็นเมือง “โคบาลบูรพา” ซึ่งสามารถทำได้ไม่แพ้ภาคอีสาน จะทำให้เกษตรกรมีรายได้กว่ากว่าปลูกพืชอื่นหลายเท่า โดยให้ทางจังหวัดทำโครงการ เสนอโครงการไปยังรัฐบาล ส่วนในพื้นที่ ต้องทำงานร่วมกัน โดยใช้ ระบบบซิงเกิลคอมแมน ให้คิดร่วมกัน ทำร่วมกัน

“ให้กำหนดโครงการใน 3 ปีแรก ว่าจังหวัดจะทำอย่างไร ระหว่างการปรับเปลี่ยน จะต้องคิดหาวิธีทำอย่างไร ให้ชาวบ้านมีรายได้และนำพื้นที่ที่เหลือจากการเลี้ยงโค ไปทำเกษตรที่เหมาะสม โดยเอา Agi map เข้าไปจัดการ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังคงต้องปลูกข้าวทำนา เพื่อเอาไว้กินเอง คือ กินเท่าไรให้ปลูกเท่านั้น ” พล.เอก ฉัตรชัย กล่าว

นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล capfundonline.com อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า สถานการณ์ปริมาณน้ำ ในเขื่อนหลักของประเทศไทยมีปริมาณน้ำในระดับน้อย และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำใช้การรวม 17,458 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักส่วนใหญ่อยู่ในภาวะน้ำน้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้งแล้ว 1 จังหวัด 3 อำเภอ 85 หมู่บ้าน ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

จึงได้เตรียมมาตรการความพร้อมรับมือภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2560 อย่างเข้มแข็ง ในภาพรวมของทั้งประเทศ ประกอบด้วย ภารกิจการจัดหาน้ำบาดาลเพื่ออุปโภคบริโภค ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 1,500 แห่ง โดยการเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 1 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเชื่อมต่อกับระบบประปาเดิมของหมู่บ้าน คาดว่าประชาชนในพื้นที่เป้าหมายจะมีน้ำบาดาลใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 33 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ประชาชนได้รับประโยชน์ 225,000 ครัวเรือน ปัจจุบันผลการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้วเสร็จ จำนวน 413 แห่ง

นายสุพจน์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 688 แห่ง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 จำนวนนักเรียนและบุคลากร 300 รายขึ้นไป และ แบบ 100 รายขึ้นไป โดยการเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 1 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและก่อสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก คาดว่านักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน รวมถึงประชาชนใกล้เคียงจะมีน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 15 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ประชาชนได้รับประโยชน์ 61,600 ครัวเรือน

ปัจจุบันผลการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้วเสร็จ จำนวน 438 แห่ง ภารกิจการจัดหาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง จำนวน 1,700 แห่ง สำหรับพื้นที่ 100 ไร่ เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 2 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ก่อสร้างระบบกระจายน้ำ พร้อมติดตั้งหอถังสูงขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่ 30 – 50 ไร่ เจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 1 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบเทอร์ไบน์ เดินเครื่องด้วยเครื่องยนต์ต้นกำลังพร้อมวางท่อส่งน้ำพลาสติก และ สำหรับพื้นที่ 80 ไร่ เจาะบ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าโดยใช้ระบบไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อสร้างระบบกระจายน้ำ พร้อมติดตั้งหอถังสูงขนาด 20 ลูกบาศก์เมตร คาดว่าเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายจะมีน้ำบาดาลเพื่อการเพาะปลูก จำนวน 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี พื้นที่ได้รับประโยชน์ 57,500 ไร่ ปัจจุบันผลการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้วเสร็จ จำนวน 469 บ่อ