ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกง่าย ตลาดต้องการมากเป็นพืชเศรษฐกิจที่มี

ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย ทุกวันนี้ประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ผลิตได้น้อย บางปีจึงต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาใช้ในประเทศ

ปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ลูกผสม ที่มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหมและเก็บเกี่ยว ที่สำคัญให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้

สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมที่จำหน่ายในท้องตลาด มักให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เลย เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น

ในแต่ละปีการผลิตเกษตรกรจะเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 2 ครั้ง ข้าวโพดรุ่นแรก เริ่มปลูกในช่วงฤดูฝน ประมาณช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ยังคงมีฝนตกมาก ทำให้ผลผลิตข้าวโพดมีความชื้นสูง อันเป็นสาเหตุสาคัญที่ทำให้เกิดเชื้อรา และสารแอลฟลาท็อกซิล การเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นสอง ปริมาณผลผลิตไม่มาก นิยมปลูกในเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งปีถัดไป (มีนาคม-เมษายน)

คุณกัณฑิมา อยู่เพ็ชร อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 10/1 ม.7 ต.ช่องสาริกา อ.ช่องสาริกา จ.ลพบุรี เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวเธอปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึงปัจจุบันยาวนานนับ 20 ปี สาเหตุที่เลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัว เพราะแหล่งที่ดินทำกินในพื้นที่ตำบลช่องสาริกา มีสภาพเป็นที่ดอน ไม่เอื้อต่อการทำนา แต่เหมาะต่อการปลูกพืชไร่มากกว่า เธอจึงตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะพืชไร่ชนิดนี้ปลูกดูแลง่าย

เธอมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 260 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเธอเอง และที่ดินเช่า ในท้องถิ่นแห่งนี้ สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ปีละ 2 รุ่น ผลผลิตรุ่นแรกจะเริ่มปลูกประมาณช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคมของทุกปี เกษตรกรจะคอยสังเกตว่า หากฝนตกลงมาเมื่อไร ก็จะลงมือปลูกทันที ส่วนผลผลิตรุ่น 2 จะลงมือปลูกอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมเท่านั้น หากฝนมาล่าช้ากว่าปกติ เกษตรกรก็จะหันไปปลูกทานตะวันแทน

ปัจจุบัน คุณกัณฑิ มาเลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ซีพี 801 เพราะมีขนาดฝักใหญ่ ยืนต้นดี ปลูกถี่ได้ อายุเก็บเกี่ยวฝักสด ประมาณ 110 วัน หากเก็บฝักแห้งจะใช้เวลาปลูก ประมาณ 120 วัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะเด่นคือ ความสูงต้นปานกลาง ตำแหน่งฝักต่ำ ลำต้นแข็งแรง ระบบรากและการยืนต้นดี ให้ผลผลิตฝักดี่ยว ขนาดใหญ่แต่แกนเล็ก เมล็ดลึก เปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง เปลือกหุ้มฝักมิด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,500-2,000 ก.ก./ไร่

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ซีพี 801 เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ราบ ที่เนิน สภาพดินสมบูรณ์ ปริมาณน้ำฝนปานกลาง เมื่อปลูกในระยะห่าง 70×20 ซม. หลุมละ 1 ต้น ไม่ควร 12,000 ต้น/ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดต่อไร่ให้สูงขึ้นได้ เมื่อดูแลจัดการแปลงอย่างเหมาะสม เริ่มจากช่วงรองพื้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีหมอดิน สูตร 10-10-5 พร้อมหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ในอัตรา 20-30 ก.ก./ไร่ เพื่อบำรุงให้ธาตุอาหารหลัก รองและเสริม สำหรับช่วยบำรุงระบบราก บำรุงลำต้นให้เติบโตเร็ว ใบเขียวนาน

ช่วงที่ทำรุ่น ใส่ปุ๋ยเคมีหมอดิน สูตร 27-12-6 ในอัตรา 30–35 ก.ก./ไร่ เพื่อช่วยบำรุงลำต้น ใบ ให้ต้นข้าวโพดมีฝักใหญ่ น้ำหนักดี เมล็ดติดเต็มฝัก สำหรับช่วงออกดอกหัว หากพบว่า ต้นข้าวโพดไม่สมบูรณ์ หรือกระทบแล้ง เกษตรกรจะได้รับคำแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมอดิน สูตร 46-0-0 ในอัตรา 10 ก.ก./ไร่ เพื่อช่วยให้ดอกสมบูรณ์ ติดเมล็ดดี และให้ผลผลิตสูง

ด้าน คุณนงคราญ บุญอยู่ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 35 ม.1 ต.ชอนสารเดช อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี เปิดเผยว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลตอบแทนดีกว่าพืชไร่ชนิดอื่น ครอบครัวเธอจึงตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาอย่างต่อเนื่อง เธอเลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ซีพี 301 ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ต้นเตี้ย เก็บเกี่ยวไว ความชื้นต่ำ เมล็ดสีสวย ขายผลผลิตได้ราคาดี ขายฝักสดได้ ในระยะ 90-95 วัน

ข้อดีของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ซีพี 301 ที่โดนใจเกษตรกร นั่นก็คือ ต้นเตี้ย ปลูกถี่ได้ ลำต้นและระบบรากแข็งแรง ฝักเดี่ยว เมล็ดลึก ขนาดฝักสม่ำเสมอทั้งแปลง เปลือกหุ้มมิด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,200-1,900 ก.ก./ไร่ เติบโตได้ดีในสภาพที่ราบ ที่ต่ำ สภาพดินสมบูรณ์ปานกลาง ปริมาณน้ำฝนดี ปลูกในระยะห่าง 70×20 ซม. หลุมละ 1 ต้น ไม่ควร 12,000 ต้น/ไร่

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นนโยบายสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อให้เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรของชุมชน และเป็นที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการเกษตร ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงจากการใช้ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรที่มากเกินความจำเป็น การบริหารจัดการด้านการเกษตรที่ผิดวิธี เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การระบาดของโรค-แมลง และพื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อยและมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบกับปัญหาการขาดทุน เกิดหนี้สิน และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบ

ในการนี้สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา ได้คัดเลือกไร่นาสวนผสมของ คุณขวัญชัย แตงทอง บ้านเลขที่ 25 บ้านทับใต้ หมู่ที่ 9 ตำบลสามง่ามท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็น ศพก. อำเภอหันคา

คุณขวัญชัย วิทยากรเกษตรกร วัย 51 ปี กล่าวว่า การทำนาในระยะแรกทำเหมือนเกษตรกรทั่วไป มีการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมี และมีการเผาฟาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ไปเข้ารับการอบรม เรื่อง “การควบคุมศัตรูข้าวด้วยวิธีผสมผสาน” จากสำนักงานเกษตรอำเภอหันคา ได้นำความรู้จากการเข้ารับการอบรมมาปรับใช้ในการทำการเกษตรของตนเองและได้ปฏิบัติเรื่อยมา และได้เรียนรู้และรับความรู้จากแหล่งต่างๆ นำความรู้มาปรับใช้ในการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ต่อมามีการเปิดโรงเรียนเกษตรกรในหมู่บ้านให้เกษตรกรได้เข้าไปเรียนรู้

การเข้าไปเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกร เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตั้งแต่การเริ่มปลูก จนกระทั่งการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว หลังจากได้เรียนรู้ในขณะที่ทำนาก็ได้เปลี่ยนมาทำและใช้น้ำหมักชีวภาพ การไม่เผาในพื้นที่การเกษตรด้วยการไถกลบตอซังและฟางข้าว การหมักฟางทำให้ลดต้นทุนเรื่องค่าใช้จ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีทุกชนิด ซึ่งในช่วงแรกผลผลิตจะลดลงเป็นอย่างมาก ต้องใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช พบว่าไม่มีศัตรูพืชเข้ามาทำลายถึงขั้นสร้างความเสียหาย อาจมีบ้างแต่ปล่อยให้ธรรมชาติควบคุมกันเอง ทำให้ต้นทุนในการทำนาลดลงมีต้นทุนน้อยกว่าวิธีที่เกษตรกรทั่วไปปฏิบัติ ไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท ต่อไร่ ขณะที่ผลผลิตใกล้เคียงกัน คือผลผลิตข้าวไร่ละประมาณ 85-100 ถัง ต่อไร่

ในเรื่องการทำนาปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่เร่งรีบจนข้าวรีบเมล็ดไม่เต็ม เนื่องจากใช้การเผาตอซังและฟางข้าว เพื่อหวังจะได้ทำนาให้ทันตามความต้องการ จนที่นาขาดความอุดมสมบูรณ์ สร้างปัญหาอีกหลายอย่างให้แก้ไข ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตข้าวสูง การแก้ปัญหาในหลายอย่างที่เกิดขึ้นด้วยการทำนาแบบไม่เผาฟาง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพ ใช้ระบบป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM.) การบริหารจัดการศัตรูพืช และใช้แรงงานในครัวเรือน ส่งผลให้เป็นที่สนใจของเกษตรกรข้างเคียง (หลังจากไม่ได้ให้ความสนใจในช่วงแรก) ในการทำนาแบบไม่เผาฟาง และการใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ เช่น เร่งโต เร่งดอก และฮอร์โมนไข่เพื่อเร่งดอก เป็นต้น อีกทั้งสารสกัดสมุนไพรป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช สมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อราจานด่วน เพื่อทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราบิวเวอเรีย เมธาไรเซียม และเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อป้องกันกำจัดโรคจากเชื้อรา

ผลที่ได้รับ

จากการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกร เกิดกลุ่มเกษตรกรอย่างเข้มแข็ง ด้วยการสร้างเครือข่ายของ ศพก. จัดตั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนบ้านทับใต้ (ศดปช.) มีสมาชิกจำนวน 124 คน ซึ่งได้รับการประเมินชนะการประกวดระดับเขต 1 จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 1 ชัยนาท ในปี 2561 การพัฒนา ศพก. ได้เน้นหนักในการสร้างจุดเรียนรู้ทำไร่นาสวนผสมยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรับปรุงให้สถานที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ และปัจจัยบางส่วนจากหน่วยงานราชการที่จัดทำจุดสาธิตทั้งสิ้น 12 จุด มีเพื่อนเกษตรกรที่ดำเนินกิจกรรมการเกษตรและประสบผลสำเร็จ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ในสาขาต่างๆ ร่วมเป็นวิทยากรใน ศพก. สามารถเรียนรู้ได้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา เช่น เรื่องของน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตพืช การผลิตสัตว์บก สัตว์น้ำ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพรและสารชีวภัณฑ์ อีกทั้งการจัดทำบัญชี เป็นต้น

การเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้เพื่อนเกษตรกรได้เรียนรู้การทำการเกษตรอย่างมีความสุข ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษอย่างมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน มีองค์ความรู้หลากหลายที่จะให้บริการ ถ้าเพื่อนเกษตรกรสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้หรือเข้าศึกษาดูงาน เกษตรกรบอก “ยินดีต้อนรับครับผม”

คุณเกษม ไตรพิจารณ์ เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวย้ำเสมอให้ทุกอำเภอพัฒนา ศพก. ว่า ขอให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต ให้เป็นศูนย์กลางให้เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบ ในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม

และนำองค์ความรู้ที่ได้รับจาก ศพก. ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งยังเป็นจุดที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการเกษตรต่างๆ กับเกษตรกร อีกทั้งยังใช้เป็นจุดนัดพบในการพบปะพูดคุยของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และเกษตรกรกับเกษตรกรด้วยกันเอง เป็นประจำ

จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หลายๆ คนมีรายได้ที่ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย จึงได้มีการยึดอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้เพียงพอไม่เกิดหนี้สิน และที่สำคัญยังมีเก็บเพื่อไว้ใช้จ่ายในอนาคตอีกด้วย อย่างเช่นมนุษย์เงินเดือนยุคนี้หาเวลาว่างหลังเลิกงานมาทำอาชีพเสริมในแบบที่รักและถนัด ก็สามารถทำรายได้เสริมโดยที่งานหลักไม่เสียอีกด้วย

งานทางด้านการเกษตร ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางเลือกที่หลายๆ คนให้ความสนใจ เพราะสามารถใช้เวลาช่วงเช้าและเย็นมาทำได้ จึงเหมือนเป็นการสร้างเวลาว่างให้มีประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการทำเกษตรสมัยนี้ไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพียงแต่นำพื้นที่ที่มีอยู่มาปรับใช้ ก็สามารถมีรายได้เช่นกัน

คุณชื่นกมล เนตรสังข์ อยู่บ้านเลขที่ 56/5 หมู่ที่ 1 ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการปลูกพืชและไม้ยืนต้นต่างๆ รอบบริเวณบ้านในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ มีผลผลิตให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี จนเกิดเป็นรายได้เสริมที่เธอเป็นผู้ลงแรงเองทั้งหมด

คุณชื่นกมล เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้นประกอบอาชีพมาหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ หรือดำเนินธุรกิจในรูปแบบอื่นๆ ก็ทำมาหมด แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจทำให้กิจการที่ทำมีรายได้ยังไม่สอดคล้องกับการลงทุน จึงได้หยุดและมองหาแนวทางการทำอย่างอื่น ที่สามารถมีเวลาอยู่กับบ้านและเกิดรายได้ไปพร้อมๆ กัน

“ช่วงนั้นต้องบอกเลยว่า ทำอาชีพมาหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นรถนำเที่ยว หรืองานด้านไหนก็ลงทุนทำมาหมดแล้ว คราวนี้พอทุกอย่างดำเนินไปได้ไม่ดี ด้วยสภาวะเศรษฐกิจ ก็เลยหยุดและมามองวิธีการใหม่ๆ พอมาดูบริเวณรอบบ้าน เราเองก็มีหาซื้อพันธุ์มะนาว กล้วย ไม้ผลอื่นๆ มาปลูกอยู่บ้าง พอเห็นว่าเนื้อที่รอบบ้านยังพอมีพื้นที่ว่างอีกเยอะ น่าจะทำเกษตรแบบผสมผสาน มีพืชหลายๆ อย่าง ก็เลยหาพันธุ์ไม้มาปลูกรอบบ้าน เรียนรู้เอง อาศัยอ่านหนังสือบ้าง ลองผิดลองถูก ดูแลเอง ใช้เวลาไม่นานก็มีผลผลิตหมุนเวียนให้เก็บได้ตลอดปี จึงเกิดเป็นรายได้ที่มีเงินทุกสัปดาห์” คุณชื่นกมล เล่าถึงที่มา

โดยหลักการทำสวนผสมผสานในพื้นที่ 2 ไร่ นั้น คุณชื่นกมล บอกว่า ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยาก เพียงแต่มีการจัดการแบ่งโซนการปลูกที่ชัดเจน อย่างเช่นมะนาวก็ให้อยู่ในพื้นที่ปลูกเดียวกัน พร้อมทั้งมีการหาปุ๋ยคอกเข้ามาใส่เพื่อเป็นการบำรุงต้น ส่วนไม้ผลจะปลูกในแนวที่สามารถดูแลได้ง่าย ทำให้รอบบ้านของเธอมีต้นไม้ที่ทำเงินรายล้อมไปทั่ว

ส่วนพื้นที่ที่อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน จะปลูกอัญชันที่ทำร้านเกาะไว้ให้อย่างดี ซึ่งดอกอัญชันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยจะเก็บดอกในตอนเช้ามาตากให้แห้ง สามารถขายได้กิโลกรัมละ 100-200 บาท เป็นอีกหนึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้

“อย่างเราปลูกพืชผลรอบบ้าน ไม่ต้องมีต้นทุนอะไรที่สูงเลย น้ำที่ใช้ก็ได้จากแม่น้ำท่าจีน เพราะบ้านอยู่ติดกับแม่น้ำ ส่วนการใส่ปุ๋ยก็ให้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก การดูแลในเรื่องของโรคและแมลง จะเน้นนำสารชีวภัณฑ์เข้ามาใช้ ก็ทำให้ในเรื่องของสุขภาพเราไม่เกิดอันตราย ได้ทำอยู่กับบ้านก็ถือว่ามีความสุข เช้ามาก็มาลงมือทำ สายแดดร้อนก็ไปทำอย่างอื่น ตกเย็นก็มาทำได้อีก อยู่กับบ้านและมีรายได้แบบนี้ไปด้วย ก็ถือว่ามีความสุขตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” คุณชื่นกมล บอก

ในเรื่องของการทำตลาดเพื่อขายผลผลิตนั้น คุณชื่นกมล บอกว่า จะติดต่อส่งให้กับแม่ค้าตลาดเช้า และร้านอาหารต่างๆ ที่ต้องการใช้ผลผลิตจากสวนของเธอ โดยผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเป็นหลักจะเป็นมะนาวที่สามารถเก็บขายได้ทุกสัปดาห์ ซึ่งราคาขายก็อยู่ที่กลไกตลาด บางช่วงมะนาวมีน้อยราคาสามารถสูงขึ้นไปถึงผลละ 3 บาท แต่ถ้าช่วงไหนที่ผลผลิตมีจำนวนมากราคาก็จะตกลงมา

โดยมะนาวเฉลี่ยส่งขายอยู่ที่ 1,000-2,000 ผล ต่อรอบเก็บ ในช่วงที่ราคาตกก็ยังถือว่าขายได้กำไร เพราะเธอส่งขายลูกค้าโดยตรง และที่สำคัญในเรื่องของการผลิตทำเองทุกขั้นตอน จึงทำให้ประหยัดเรื่องต้นทุน

ส่วนผลผลิต กล้วย มะละกอ ฝรั่ง และอื่นๆ เมื่อมีผลผลิตออกมาก็สามารถนำไปขายยังตลาดนัดที่อยู่ในชุมชน สร้างเป็นรายได้ตามราคาตลาดอีกด้วย

“ตอนนี้ทำในเรื่องของการเกษตรผสมผสาน แบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำมาเกือบ 3 ปี ต้องบอกเลยว่ามีความสุข ได้มีเวลาอยู่กับบ้าน และก็ไปทำงานอื่นๆ กิจกรรมอื่นเกิดรายได้ด้วย อย่างสวนเราก็ใช้เวลาช่วงเช้ากับเย็นมาทำเท่านั้น มันก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้เสริม ช่วงไหนต้องมีตัดแต่งกิ่ง แม่ก็จะมาช่วยบ้าง ถอนวัชพืชบ้าง ก็ทำให้ทุกคนมีกิจกรรมที่ทำกันในครอบครัว ก็ถือว่าได้มีกิจกรรมทำด้วยกัน มีเวลาดูแลซึ่งกันและกัน ทำให้ไม่ต้องไปทำงานที่ไหนไกล และมีรายได้แม้อยู่กับบ้านก็ตาม” คุณชื่นกมล บอก

สำหรับท่านใดที่มีพื้นที่ว่างอยู่รอบบ้านและอยากที่จะทำงานทางด้านเกษตร คุณชื่นกมล แนะนำว่า สิ่งที่ต้องมีก่อนคือในเรื่องของใจรัก เพราะหากไม่มีใจรักใจชอบบางครั้งอาจทำได้ไม่สำเร็จเท่าที่ควร เพราะพืชบางอย่างต้องมีการดูแลเอาใจใส่ บางครั้งไม่จำเป็นต้องปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ถ้าชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ก็อาจจะเลือกสัตว์เลี้ยงที่ชอบเกิดเป็นรายได้เสริมได้เช่นกัน ดังนั้น การหาอาชีพเสริมควรทำจากสิ่งที่ชอบ ก็จะทำให้ผลของสิ่งที่ทำออกมาได้ดี ไม่เพียงแต่มีความสุข ยังมีรายได้อีกหนึ่งช่องทางที่นอกเหนือจากงานประจำไปพร้อมๆ กัน

สองสามี – ภรรยา ที่ชอบค้าขายและความท้าทาย เงินเดือนรวมกันเฉียดแสน ตัดสินใจโบกมือลาชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองกรุง ออกเดินทางตามความฝัน ด้วยการปักหมุดสร้างสวนไผ่แห่งความสุข 9 ไร่ ที่จังหวัดอุดรธานี เก็บหน่อไม้ขายวันละ 30 กิโลกรัม ขายกิ่งพันธุ์ร่วมด้วย รายได้เดือนละ 75,000 บาท ชีวิตแฮปปี้ ได้อยู่กับลูกชาย 2 คน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ แถมได้กินหลากเมนูอร่อยๆ ทำจากหน่อไม้ตลอดทั้งปี

คุณเพ็ญศิริ ลลิตวิภาส หรือ คุณโบว์ ภรรยาคุณสมเจตน์ หรือ คุณสิงห์ สองสามีภรรยาเจ้าของสวนไผ่ ณ บ้านทุ่ง ที่จังหวัดอุดรธานี เล่าว่า ฝ่ายสามีเคยทำงานด้านคอมพิวเตอร์ 14 ปี รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระบบเซิร์ฟเวอร์ ณ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เงินเดือนราว 60,000 บาท ส่วนตัวเองจบบัญชี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทำธุรกิจส่วนตัว ขายงานศิลปะตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ระบายสี และกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน รวมรายได้ 2 คน ต่อเดือนก็เกือบ 1 แสนบาท

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะดี แต่ภรรยาในวัย 37 ปี บอกว่า ไม่ได้ชื่นชอบวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ตรงกันข้ามวางแผนบั้นปลายชีวิตไว้ว่า อยากมีครอบครัวที่อบอุ่น อยากเลี้ยงลูกเอง และที่สำคัญอยากประกอบอาชีพอิสระ นี่คือ แรงบันดาลใจ ที่ทั้งคู่ผันตัวมาเป็นเกษตรกร

ทั้งคุณโบว์ และคุณสิงห์ ช่วงที่ทำงาน ทั้งคู่นำเงินเก็บค่อยๆ UFABET ซื้อที่ดินสะสมเรื่อยมา ที่ ต.บ้านขาว อ.เมือง จ.อุดรธานี ราว 10 ปี มีที่ดิน 80 ไร่ ตอนแรกยังไม่ได้ปลูกไผ่ แต่ปลูกอ้อย 50 ไร่ ลงทุนเกือบ 6 แสนบาท ปลูกนาน 4 ปี ขาดทุนสะสม 4 แสนบาท หนที่สุด ทั้งคู่เลิกปลูกอ้อย หันมาปลูกไผ่แทน

“ตอนแรกที่ตัดสินใจปลูกอ้อยเพราะเห็นว่าคนแถวบ้านปลูกอ้อยขายได้ราคาดี เลยจ้างคนมาปลูกบ้าง แต่ปรากฏว่าขาดทุน ปี พ.ศ. 2553 เลยมาดูแลเอง และลดพื้นที่ปลูกอ้อยจาก 50 ไร่ เหลือเพียง 17 ไร่ ก็เริ่มมีกำไรไร่ละ 4,000 บาท”

ดูเหมือนว่าการปลูก “อ้อย” จะไปได้ดี แต่คุณโบว์ บอกว่า “อ้อย” ทำรายได้ให้เพียงปีละครั้ง เลยคิดจะปกลูกพืชอย่างอื่นที่สามารถทำเงินได้ตลอดทั้งปี และคนอีสานชอบทาน นั่นคือ “หน่อไม้”

“ดิฉันศึกษาหาข้อมูลด้านเกษตร ดูตามอินเตอร์เน็ต ดูในเฟซบุ๊ค ไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งเมื่อประมาณปี 54 เริ่มปลูกไผ่ เพราะได้ต้นพันธุ์ไผ่กิมซุงมาฟรี ตรงนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรอย่างจริงจัง”

สำหรับชนิดไผ่ที่คุณโบว์ปลูก อาทิ ไผ่กิมซุง ไผ่บงหวานเพชรผึ้ง ไผ่สารวิน พื้นที่ปลูกทั้งหมดเกือบ 9 ไร่ ต้นทุนต่อไร่ ราว 1-2 หมื่นบาท พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกไผ่ได้ 100 – 200 ต้น ดูแลไม่ถึงปี สามารถเก็บหน่อยขายได้

รายละเอียดไผ่แต่ละสายพันธุ์ เจ้าของสวน อธิบายคร่าวๆ ว่า ไผ่กิมซุง กินน้ำเยอะ ใบเยอะ ใบหนา ต้องการน้ำเยอะ ฉะนั้นจะเก็บขายช่วงฤดูฝน ไผ่สายพันธุ์นี้รสชาติออกขม ต้องต้มน้ำทิ้งก่อนจะขาย ขายราคากิโลกรัมละ 20 บาท ไผ่สาละวิน กินน้ำน้อย รสชาติออกขม ต้องต้มน้ำร้อนก่อนขาย 30 นาที เมนูเด็ดทำซุบหน่อไม้ แกงส้ม แกงเปรอะ หน่อไม้ดอง ราคาขายกิโลกรัมละ 50 บาท ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง นิยมทานสด ไม่ขม ปรุงได้หลายเมนู อาทิ ส้มตำไผ่บงหวาน ขายกิโลกรัมละ 80-100บาท

สวนไผ่แห่งความสุขนี้ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2557 รายได้แต่ละเดือน 70,000-75,000 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายหน่อไม้และขายกิ่งพันธุ์ไผ่ เฉลี่ยเก็บหน่อไม้ขายวันละ 30 กิโลกรัม ขายต้นพันธุ์ราคา ต้นละ 100 – 300 บาท หากปลูกไผ่เต็มพื้นที่มากกว่านี้ จะมีรายได้เพิ่มอีก

“ทุกวันนี้ครอบครัวมีความสุข ได้อยู่กับลูก ได้เลี้ยงลูกเอง เป้าหมายต่อไป ตั้งใจจะขยายพื้นที่ปลูกไผ่บงหวานเพิ่มขึ้น เพิ่มกิจกรรมในสวนไผ่ ทำเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตร เน้นแนะนำความรู้การเกษตรจริง ทำได้จริง ขายได้จริง”

ไปอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หวนให้คิดถึง “ส้มจุก” ที่เรียกกันติดปากว่า “ส้มจุกจะนะ” ผลไม้ที่จัดว่าเป็นผลไม้โบราณไปแล้ว เพราะหาซื้อรับประทานยาก ไม่ได้มีวางขายตามแผงผลไม้ทั่วไป หากจะซื้อรับประทานให้ได้ก็น่าจะต้องเดินทางไปให้ถึงสวน ในพื้นที่อำเภอจะนะ เพราะผลผลิตที่ออกมาในแต่ละขั้ว ถูกจับจองเกือบหมดตั้งแต่ยังไม่ถึงแผงค้าเสียด้วยซ้ำ และหากเดินทางไปถึงสวน ก็อาจจะต้องรอคิว เพราะแม้แต่คนในพื้นที่เองก็เป็นหนึ่งในลูกค้าเข้าคิวซื้อส้มจุกจะนะด้วยเหมือนกัน