คณะกรรมการของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง ศูนย์จัดการ

ดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ทุกอำเภอมีการจัดตั้ง และดำเนินการศูนย์จัดการดินและชุมชน อำเภอละ 1 ศูนย์ ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 7 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 34 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่รวม 241 ไร่ สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้กว่า 90,037.60 บาท จากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในสวนยางพารา

นอกจากนี้ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง ยังช่วยจัดหาและบริการจำหน่ายปัจจัยการผลิต ทำให้เกษตรกรสมาชิกสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด จากที่ใช้วิธีการติดต่อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิต โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จัดซื้อจัดหาแม่ปุ๋ยเคมี และจำหน่ายปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ และคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืน

นายกฤตภาส กล่าวอีกว่า ศดปช.ตำบลท่าช้าง ยึดโมเดลการต่อยอดธุรกิจจากโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ย (One stop Service) มีการถ่ายทอดความความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกรทั้งเกษตรกรในพื้นที่ และต่างพื้นที่ และจากการที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น Young Smart Farmer และเข้ามาช่วยพัฒนาศูนย์ฯ ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิต และการตลาด ทั้งตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง Facebook ศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา, กลุ่มไลน์ ศดปช. ระดับจังหวัด และ Line offcial ศดปช. ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าทั้งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ยังใช้เทคนิคการตลาดด้วยการสร้างเครือข่ายในกลุ่มแปลงใหญ่เกษตร ทำให้ขยายตลาดได้มากขึ้น รวมทั้งคิดค้นปรับปรุงสูตรปุ๋ยใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

“ทั้งนี้ในอนาคตทางศูนย์ฯ มีแผนส่งเสริมเกษตรกรในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋อินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และวางแผนการในการพัฒนาผลิตปุ๋ยทางใบ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ให้ได้ใช้ปุ๋ยทางใบที่มีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าท้องตลาด เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และเพิ่มรายได้ให้กับทางศูนย์ฯ ต่อไป” นายกฤตภาส กล่าว

โลตัส พร้อมรับเทรนด์ใหม่ลูกค้าและเศรษฐกิจฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ชูความเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก New SMART Retail ที่ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อออฟไลน์และออนไลน์อย่างไร้รอยต่อ เดินหน้าเสริมแกร่งช่องทางค้าปลีก omni-channel เปิดสาขาภายใต้ค็อนเซ็ปต์ใหม่ มุ่งสู่การเป็น Everyday SMART Community Center และ Food Destination พร้อมปูพรมบริการออนไลน์ช้อปปิ้งจากเครือข่ายส่งสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่ครอบคลุมที่สุดในประเทศไทย ทั้งส่งสินค้าแบบ on-demand และ ส่งสินค้าในวันถัดไป จาก 2,300 สาขาทั่วประเทศ และยังยกระดับแผนกอาหารสด เพิ่มสินค้าใหม่ สินค้าพรีเมี่ยม สินค้านำเข้า สินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น ในขณะที่ยังคงราคาที่คุ้มค่า ช่วยลูกค้าประหยัดทุกวัน

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีของกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ของเรา ทำให้ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เราได้ปูพื้นฐานที่มั่นคงเพื่อยกระดับความเป็นผู้นำ New SMART Retail ของเราที่ไปอีกขั้น เราทุ่มเทนำเทคโนโลยีที่ทรงพลังมาเชื่อมต่อสาขาของเราประมาณ 2,300 แห่งทั่วประเทศกับแพลทฟอร์มออนไลน์ และใช้ big data

ในการส่งมอบประสบการณ์และความคุ้มค่าที่ตรงใจลูกค้าแบบชาญฉลาด (intelligent personalization) ซึ่งเรามีกรอบกลยุทธ์ทั้งหมด 4 ด้าน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า และเสริมความเป็นผู้นำค้าปลีกของโลตัสให้แข็งแกร่ง ได้แก่ 1) Inspiring fresh & food destination การเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ 2) SMART life solutions เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ลูกค้าและมอบประสบการณ์ omni-channel ที่ไร้รอยต่อ 3) Personalized value that goes beyond price ความคุ้มค่าที่มากกว่าราคาประหยัด พร้อมสิทธิพิเศษที่รู้ใจลูกค้า และ 4) Everyday sustainability แพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร”

ในช่วงครึ่งปีแรก โลตัส ได้เปิดสาขาใหม่ 39 แห่ง โดยได้เปิดตัวคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละพื้นที่ อาทิ SMART Urban Supermarket, Open Air Mall และ SMART F&B Heaven โดยทั้งหมดชูความเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ (Inspiring Fresh & Food Destination) และการเป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ทของชุมชนทุกวัน (Everyday SMART Community Center) ซึ่งจากเสียงตอบรับที่ดีของลูกค้าต่อคอนเซ็ปต์ใหม่ๆเหล่านี้ เราจะนำไปพัฒนาและต่อยอดเพื่อใช้ในสาขาอื่น ๆ ในครึ่งปีหลัง ซึ่งโลตัส มีแผนงานในการเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีกประมาณ 70-80 สาขา รวมถึง โลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์ สาขา flagship ที่จะเปิดในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

นอกจากนั้น ในส่วนของพื้นที่เช่า โลตัส มุ่งเน้นการเพิ่มทางเลือกในด้านอาหารให้กับลูกค้า โดยได้เพิ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบ และร้านดังในท้องถิ่น อีกกว่า 1,300 รายในครึ่งปีแรกและมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนเป็น 5,800 ร้านภายในสิ้นปีนี้

ในส่วนของซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกอาหารสดเป็นแผนกที่โลตัสให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และได้เดินหน้ายกระดับแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดหาสินค้าจากแหล่งที่ดีที่สุดทั้งในไทยและต่างประเทศ การยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า การเพิ่มสินค้าใหม่ที่มีความหลากหลาย อาทิ ผลไม้อัตลักษณ์คัดเกรด อาหารสดพรีเมี่ยมและอาหารสดนำเข้า รวมไปถึงการจัดเรียงสินค้าในสาขาที่จะทำให้ประสบการณ์การเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าดีขึ้นกว่าเดิม โดยทั้งหมดยังคงต้องมีราคาที่เอื้อมถึงได้เพื่อช่วยลูกค้าและประชาชนประหยัดค่าครองชีพในทุก ๆ วัน

SMART life solutions: เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ลูกค้า และมอบประสบการณ์ omni-channel ที่ไร้รอยต่อ

ในเดือนมีนาคม 2565 โลตัส ได้เปิดตัว Lotus’s SMART App แอปพลิเคชั่นค้าปลีกรายแรก ที่รวมแพลทฟอร์ม e-commerce และโปรแกรมขอบคุณลูกค้า MyLotus’s เข้าไว้ด้วยกัน โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นไปแล้วกว่า 4.5 ล้านราย และยอดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เติบโตขึ้นกว่า 400% ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดสามารถเชื่อมต่อสาขาของโลตัสประมาณ 2,300 แห่งทั่วประเทศกับออนไลน์แพลทฟอร์ม ทำให้ปัจจุบัน โลตัส สามารถขยายบริการออนไลน์ช้อปปิ้งไปได้ในทุกจังหวัดที่โลตัสมีสาขาตั้งอยู่ และสามารถจัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคได้แบบ on-demand จากร้านโลตัส โก เฟรช ที่อยู่ใกล้ชุมชน และแบบ next-day จากไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขา สต็อคสินค้าของแต่ละสาขาที่ถูกอัพเดทแบบ real-time ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีอยู่ในสาขาที่ใกล้บ้านที่สุด

Lotus’s SMART App ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายสาขาของ โลตัส ทำให้โลตัส เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีจุดกระจายสินค้าที่ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย สามารถจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมอย่างยิ่งในการตอบรับการเติบโตของเทรนด์ออนไลน์ช้อปปิ้งต่อไปในอนาคต

Personalized value that goes beyond price: ความคุ้มค่าที่มากกว่าราคาประหยัด มอบสิทธิพิเศษที่รู้ใจลูกค้าแต่ละราย

โปรแกรมขอบคุณลูกค้า MyLotus’s (มายโลตัส) คือเครื่องมือสำคัญในการส่งมอบความคุ้มค่าที่ตรงใจลูกค้าแต่ละราย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ใช้ในการประมวล big data ของลูกค้าช่วยให้โลตัส สามารถออกแบบส่วนลดและสิทธิพิเศษที่เหมาะสมกับความต้องการและพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้าแต่ละรายได้ นอกจากนี้ แอปพลิเคชั่น Lotus’s SMART App ช่วยให้การสะสมและแลก MyLotus’s coins ของลูกค้าเป็นไปได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะซื้อสินค้าในสาขาหรือออนไลน์ก็ตาม

นอกจากนั้น แคมเปญ “ราคามายโลตัส” ที่เปิดตัวในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยกระดับความคุ้มค่าด้วยสินค้าราคาที่ดีที่สุดของโลตัส จากการร่วมมือกับพันธมิตรคู่ค้าแบรนด์ดังกว่า 50 แบรนด์ ทำให้โลตัส สามารถมอบราคาสินค้าลดพิเศษกว่า 500 รายการ ให้สมาชิกมายโลตัสได้ สำหรับครึ่งปีหลัง แคมเปญ “ราคามายโลตัส” จะมีการหมุนเวียนสินค้ารายการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของลูกค้าต่อไป

Everyday sustainability: แพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร

โลตัส มุ่งมั่นในการเป็นแพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ผ่านการจำหน่ายสินค้าในสาขาและช่องทางออนไลน์ของโลตัส หรือการดำเนินธุรกิจในพื้นที่มอลล์ของโลตัส นอกจากการสนับสนุนช่องทางการขายแล้ว โลตัส ยังเดินหน้าพัฒนาศักยภาพรอบด้านที่จะทำให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร เติบโตได้อย่างมั่นคง ในครึ่งปีที่ผ่านมา โลตัส ได้สนับสนุนผู้ประกอบการ SME ไปแล้วกว่า 2,500 ราย ทั้งผ่านกิจกรรมจับคู่เจรจาทางธุรกิจ (Business Matching) ที่จัดขึ้นทุกเดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเสนอสินค้าและรับคำแนะนำจากทีมจัดซื้อเพื่อวางจำหน่ายในสาขาของโลตัส และมีการจัดสัมมนาอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ สนับสนุนพื้นที่ทดลองขายฟรี และส่วนลดค่าเช่าพื้นที่ขายในศูนย์การค้า

แผนงานในครึ่งปีหลัง จะยังคงเน้นการจับคู่ธุรกิจเพื่อรับซื้อสินค้า SME เพิ่มเติม การพัฒนาศักยภาพผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ การรับซื้อผักและผลไม้ตรงจากเกษตรกร โดยเฉพาะผลไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI (Geographic Indications หรือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) นอกจากนั้น เรายังได้ร่วมกับ CP Origin ในการพัฒนาดิจิทัลแพลทฟอร์มที่จะช่วยผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านสาขาของโลตัส โดยสามารถเช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้าในระยะสั้น เริ่มต้นเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น โดยแพลทฟอร์มดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสะดวก ง่าย และคล่องตัว ให้กับผู้ประกอบการเลือกพื้นที่และสัญญาเช่าที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจตนเอง

“ด้วยปัจจัยบวก อาทิ นักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อจากภาครัฐ ผมเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะเริ่มฟื้นตัว ซึ่ง โลตัส ก็มีความพร้อมในการรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งที่เราได้ปูเอาไว้ในครึ่งปีแรก และเราจะใช้ความเป็นผู้นำ New SMART Retail ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด” นายสมพงษ์ กล่าวสรุป

กรมวิชาการเกษตร ใช้เทคโนโลยีพัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยแบบแม่นยำกึ่งอัตโนมัติโรยตามแนวปลายทรงพุ่มสวนทุเรียน โชว์ความสามารถการทำงานเฉลี่ย 6.28 ไร่/ชั่วโมง เปรียบทียบวิธีการใส่ปุ๋ยด้วยแรงงานคน 1.6 ไร่/ชั่วโมง ชูเครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติแม่นยำใส่ปุ๋ยได้ตามความต้องการของทุเรียน ลดต้นทุนทั้งปุ๋ยและแรงงาน ช่วยเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากกว่าจ้างหว่านด้วยมือถึง 20 เท่า

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศ จากข้อมูลการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 14 กรกฎาคม 2565 ไทยส่งออกทุเรียนผลสดแล้วปริมาณรวม 648,572 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 68,973 ล้านบาท ด้วยสถานการณ์การส่งออกทุเรียนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีราคาผลผลิตดีกว่าไม้ผลอื่น ทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรีปรับพื้นที่เพื่อปลูกทุเรียนมากขึ้น มีพื้นที่ปลูกใหม่และปรับรูปแบบการปลูกเป็นแบบยกร่อง หรือ พูนโคน รวมทั้งมีการปรับระยะปลูกเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้นมีอายุมากกว่า 10 ปี ให้ผลผลิตได้หลายครั้ง ขั้นตอนการดูแลบำรุงรักษาจึงเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับพืชประเภทนี้ ปัจจุบันเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับการดูแลบำรุงรักษาที่ใช้งานสำหรับทุเรียนยังขาดแคลน โดยเฉพาะในขั้นตอนการใส่ปุ๋ยที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งเครื่องจักรกลเกษตรที่มีความแม่นยำจะช่วยให้สามารถใส่ปุ๋ยได้ตามความต้องการของทุเรียนและลดต้นทุนด้านแรงงานและต้นทุนปุ๋ย คณะนักวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม จึงได้คิดค้นนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยแบบแม่นยำ โดยใช้รถแทรกเตอร์ขนาด 27 แรงม้าเป็นต้นกำลัง เพื่อใช้งานใส่ปุ๋ยในสวนทุเรียนที่มีระยะปลูกเหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เป็นต้นแบบที่ใช้ไมโครคอลโทลเลอร์ควบคุมการทำงานของชุดใส่ปุ๋ยแบบจานเหวี่ยง และใช้เซนเซอร์แบบอัลตร้าโซนิค ควบคุมตำแหน่งที่ต้องการใส่ปุ๋ย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติมีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 6.28 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 0.14 ลิตรต่อไร่ อัตราปุ๋ย 12.6 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับทุเรียนอายุ 5 ปี ที่ความเร็วรอบจานหว่าน 300 รอบต่อนาที การกระจายตัวของปุ๋ยมีระยะห่างจากตัวรถแทรกเตอร์ 1.2 เมตร ความยาวตามแนวการวิ่งของรถแทรกเตอร์ 3.5 เมตร กว้าง 2 เมตร จากการวิเคราะห์ต้นทุนในการใช้งานต้นแบบเครื่องใส่ปุ๋ยราคา 50,000 บาท รถแทรกเตอร์ขนาด 27 แรงม้า 300,000 บาท แทรกเตอร์สามารถใช้งานใส่ปุ๋ยและพ่นสาร แบ่งสัดส่วนการใช้งานเป็น 50% อายุการใช้งานรถแทรกเตอร์ 10 ปี อายุการใช้งานเครื่องใส่ปุ๋ย 8 ปี ความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 6.28 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 0.14 ลิตรต่อไร่ จุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องใส่ปุ๋ยพ่วงรถแทรกเตอร์ 354 ไร่ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 2.32 ปี เปรียบทียบกับวิธีการใส่ปุ๋ยด้วยแรงงานคน ความสามารถในการทำงาน 1.6 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราค่าจ้างแรงงานในการใส่ปุ๋ยวันละ 300 บาท จะเห็นได้ว่า การลงทุนใช้เครื่องจักรกลเกษตร สามารถทำงานได้เร็วขึ้น 3.9 เท่า เกษตรกรมีรายได้ต่อปีมากกว่าการรับจ้างหว่านด้วยมือถึง 20 เท่า

ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี ได้มีการเผยแพร่เครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติโดยร่วมจัดนิทรรศการในงานพืชสวนก้าวหน้าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี พร้อมกับได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการปลูกทุเรียนในเขตจังหวัดจันทบุรีที่มีสภาพแปลงและรูปแบบการปลูกที่เหมาะสมต่อการใช้เครื่องจักรกลเกษตร ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 039-609-652

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชวภาพ หรือ สพภ.BEDO ชูธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน คือ กลยุทธสำคัญ สร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ” ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ส่งผลทำให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน (Community Biodiversity Bank หรือ Community BioBank) เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของฐานทรัพยากร ที่กำหนดเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี จะเกิด “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” ทั้งประเทศและนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนในทุกตำบล

ธนาคารความหลากหลาย คือ แหล่งเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชน ที่มีการดูแลรักษาและบริหารจัดการในการดูแลรักษาและการนำไปใช้ประโยชน์โดยตัวของชุมชนเอง เปรียบได้กับการที่ชุมชนมีธนาคาร แต่ธนาคารนั้นจะทำหน้าที่รับฝาก-ถอนทรัพยากรชีวภาพสำหรับชุมชน สมาชิกและชุมชนสามารถนำสิ่งที่ฝากดูแลนั้นออกมาใช้หรือทำประโยชน์ได้โดยต้องได้รับการอนุญาตหรือเห็นชอบจากชุมชนร่วมกัน

หลักการสำคัญของ BEDO ในการทำงานในโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนนั้น เน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ทดลองปฏิบัติให้เห็นตัวอย่างจริง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่นๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดในรูปแบบของตัวเอง อย่างเช่นโครงการจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมอนุรักษ์ ที่ BEDO คิดกลับ –หัวท้ายจากปกติการถ่ายทอดความรู้เรื่องธนาคารของเบโด้ เน้นให้ชุมชนลงมือทำจริงตั้งแต่ การสำรวจ การบันทึก การถ่ายภาพง่ายๆ ไปจนถึงการดูแลรักษาเงินหรือต้นไม้ของตัวเองให้คงอยู่เพื่อการขยายพันธุ์ เป็นแหล่งในการพัฒนาวิจัยความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ เกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน นำไปสู่การปกป้อง คุ้มครอง และเกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สำคัญที่สุดคือเครือข่ายและการสนับสนุนด้านต่างๆที่เหมาะสมร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นและ อปท เจ้าของพื้นที่เป็นตน

วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ แนวคิด Community BioBank จังหวัดเชียงใหม่

วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คือ ชุมชนต้นแบบ แนวคิดของ Community BioBank การอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ชุมชนยังมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้น

วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด

บ้านเมืองกื้ด มีความโดดเด่น ทั้งความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม BEDO เล็งเห็นถึงสิ่งสำคัญเหล่านี้ที่ชุมชนมีอยู่ จึงเข้ามาสนับสนุนงบประมาณจัดทำแหล่งเรียนรู้ทั้งตำบลกื๊ดช้างโดยกลุ่มกิจการเศรษฐกิจชุมชน (ศช) ต่อมา bedo ก็ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิง ข่า และสมุนไพรท้องถิ่น เก็บรักษาไว้ในแปลงธนาคารฯ อีกส่วนหนึ่งคือทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการศึกษาสารออกฤทธิ์และการยืนยันชนิดพันธุ์ของพืชเด่นในชุมชน คือ ไผ่จืด จนกลายมาเป็นโอกาสในชุมชนกับการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น และในปี พ.ศ. 2564 ได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อดำเนินงานจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน รวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิงข่า ว่าน และสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชนตำบลกื้ดช้าง

ทีมนักสำรวจ เดอะแก็งค์ของชุมชนบ้านเมืองกื้ด คือหัวใจสำคัญ ช่วยให้ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนชุมชนตำบลกื้ดช้างให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยความหลากหลาย ทั้งอายุ เพศ และวัยที่แตกต่างกันของเดอะแกงค์ หรือทีมนักสำรวจนั้น กลับส่งผลดีให้กับชุมชน เพราะนั่นคือการถ่ายทอดองค์ความรู้ จากรุ่นสู่รุ่น ผู้ใหญ่ก็สามารถปลูกฝังข้อมูลภูมิปัญญาต่างๆของคนรุ่นใหญ่ ส่งต่อให้รุ่นลูกหลาน และลูกหลานก็สามารถช่วยเรื่องเทคโนโลยีใหม่และสอนคนเฒ่าคนแก่ให้ทันสมัยได้ สิ่งเหล่านี้สำคัญมากเพราะจะนำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ให้คงอยู่ตลอดไปในชุมชนนี้

ผลงานของเดอะแก็งค์ พบว่าในพื้นที่ป่าห้วยกุ๊บกั๊บของตำบล กื้ดช้าง มีพืชเฉพาะถิ่นที่จะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ระดับความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่เป็นป่าเบญจพรรณที่สูง 165 ชนิดพันธ์ และ มีการรวบรวมและจัดประเภทพืชพันธุ์ จำนวน 20 แปลงภายในชุมชน ปัจจุบันมี 3 แปลงจาก 20 แปลงได้ จัดให้เป็นแปลงต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ฯ และเส้นทางท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ประกอบด้วย 1) เป็นพืชพันธุ์ที่หายาก เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ 2) เป็นพืชหายาก ใช้ประโยชน์ได้ มีการใช้ในตำรับยาสมุนไพร และ3) เป็นพืชที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

มรภ.สงขลา ประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีม Singora Heritage ชนะเลิศ ถ่ายทอดเรื่องราวได้ยอดเยี่ยม สร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบลุ่มน้ำ-ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เตรียมเสนอยูเนสโกปี พ.ศ.2566 ขับเคลื่อน จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้เปิดเผยระหว่างเป็นประธานเปิดการประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เมื่อวันที่ 9 ส.ค.6 ว่าการประกวดครั้งนี้ ทางมรภ.สงขลา มีความพร้อมเป็นอย่างดียิ่ง เนื่องจากได้เปิดการสอนในวิชาคหกรรมศาสตร์และอาคารปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ที่ใช้จัดการแข่งขันครั้งนี้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดียิ่ง โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม ประกอบด้วย ทีม Singora Heritage ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอน-คูเต่า ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีม The Hybrid Histarian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม และทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลาง บางแก้ว คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ เชฟสมพร อินทสุวรรณ สมาคมพ่อครัวไทยภูเก็ต และ นายพรศักดิ์ พงศาปาน (ลุงพร สอนอาชีพ) ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาอาหารภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และถ่ายทอดเรื่องราวอาหารของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารพื้นถิ่นลุ่มน้ำฯ นำไปสู่การผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

สำหรับเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ใช้ในการประกวด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กับข้าว 2. ของแนมหรือเครื่องจิ้ม ที่รับประทานร่วมกับกับข้าวในสำรับ 3. ของหวาน โดยใช้วัตถุดิบจากทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ปลากะพง กุ้งแชบ๊วย และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ได้แก่ ไข่ครอบ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารของทางภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และข้าวช่อขิง ข้าวพันธุ์โบราณของภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนประกอบหลักในเมนูอาหาร

ผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Singora Heritage (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉู่ฉี่ปลากะพง ยำสาหร่ายผมนาง น้ำชุบหยำผักสด บัวลอยไข่ครอบ และน้ำชาช่อขิง) รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล รางวัลรองชนะเลิศ ทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลางบางแก้ว (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แกงส้มปลากะพงลูกเขาคัน ยำปลาแมวสมุนไพรพื้นบ้าน ทอดมันกุ้งน้ำจิ้มรสเด็ด และบัวลอยมะพร้าวอ่อน) รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอม-คูเต่า และ ทีม The Hybrid Histarian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม

ดร.บรรจง กล่าวว่า มรภ.สงขลา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยมีแผนที่จะเสนอต่อองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2566 หาก จ.สงขลา ผ่านการพิจารณาและได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จะส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นโดยเฉพาะเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้มาเยือน ซึ่ง จ.สงขลา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งผลให้อาหารของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไข่ครอบ กุ้งหวาน หรือแม้แต่ขนมต่างๆ ที่เกิดจากการหลอมรวมวัฒนธรรมของไทยพุทธ ไทยมุสลิม จนเกิดเมนูอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคของผู้คนที่มาเยือน

ดร.บรรจง กล่าวอีกว่า ผู้คนในภาคใต้มักกล่าวถึงรสชาติอาหารที่มีความอร่อยว่า “กินดี กินหรอย” ซึ่งสะท้อนว่าอาหารมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การมีอาหารบริโภคที่เหมาะสมและพอเพียง จึงเป็นเครื่องชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชนอีกด้วย รวมไปถึงการบ่งชี้ประโยชน์หรือคุณค่าทางโภชนาการที่มนุษย์แต่ละคนสมควรได้รับ อันเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ หากแต่ในขณะเดียวกันอาหารยังเป็นเครื่องแสดงถึงพลัง ศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคมที่แต่ละแห่งมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน

สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบ สีสัน วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ กลิ่น ความนิยมของผู้คน คุณค่าทางโภชนาการ อาหารบางอย่างยังเกี่ยวข้องกับชนชั้น เพศ ภาวะสุขภาพ และพิธีกรรมความเชื่อ ปัจจัยเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมของการบริโภค อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาและและเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชากรในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ

สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเกษตรสัญจร ปากช่อง-เขาใหญ่ ชมพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจในการปลูกเชิงการค้า ทั้งกัญชา อะโวกาโด อินทผลัม วันเสาร์ที่ 20 ส.ค.65 นี้ ทริปนี้ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

จุดที่ 1 ชมแปลงปลูกกัญชา กัญชง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปางอโศก ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่นี่ถือเป็นกลุ่มที่ปลูกกัญชาและพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์กัญชาเชิงการค้ารายแรกๆของประเทศ แปลงปลูกกัญชามีทั้งแปลงปลูกในโรงเรือนและกลางแจ้ง ผลผลิตกัญชานำมาวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์กัญชามากกว่า 10 ชนิด ที่ได้ขึ้นทะเบียน อย.อย่างถูกต้องและมีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ไปดูแปลงปลูกจริงพร้อมเทคนิคการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ พร้อมทั้งชมการแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์กัญชาเชิงการค้าที่ประสบความสำเร็จจริงๆ

จุดที่ 2 ชมแปลงอินทผลัมผลสด ที่ อ.เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ชมแปลงปลูกอินทผลัมเชิงการค้าพร้อมทั้งชิมผลผลิตอินทผลัมเกรดพรีเมี่ยม สุดอร่อยที่จะทำให้คุณประทับใจอย่างแน่นอน ช่วงนี้ถือเป็นช่วงปลายฤดูของอินทผลัมแล้ว หลังจากนี้คุณจะชมและชิมอินทผลัมอีกครั้งในปีหน้าเลย ไปหาคำตอบจากแปลงปลูกจริงว่า อินทผลัมยังน่าปลูกไหม

จุดที่ 3 ชมแปลงปลูกอะโวกาโดเชิงการค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอะโวกาโดวังน้ำเขียวและบริบูรณ์ฟาร์ม ที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่นี่นอกจากจะชมแปลงปลูกและชิมอะโวกาโดหลากหลายสายพันธุ์อย่างเต็มอิ่มแล้ว ยังจะได้ชมการแปรรูปอะโวกาโดเชิงการค้าสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะน้ำมันอะโวกาโดที่มากคุณค่า

กำหนดการเดินทาง

7.00 น. นัดพบ ม.เกษตร บางเขน

9.00-10.00 น. ชมแปลงกัญชาเชิงการค้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปางอโศก ที่ กลางดง

11.00-12.00 น. ชมและชิมอินทผลัม เขาใหญ่

12.00-13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน ร้านร่มไม้ ชายน้ำ ปากช่อง

14.00-16.00 น. ชมแปลงอะโวกาโดและการแปรรูปอะโวกาโดเชิงการค้า บริบูรณ์ฟาร์มและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอะโวกาโดวังน้ำเขียว

18.30 น.ถึง ม.เกษตร บางเขน

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ 1,500 บาท เดินทางโดยรถตู้ สามารถจอดรถไว้ที่ ม.เกษตร บางเขนได้

ธ.ก.ส. จับมือ กทม. GClub หนุนคนเมืองปลูกต้นไม้เทิดพระเกียรติ 90 พรรษา พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดผลกระทบจากปัญหามลพิษในเมืองหลวง จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในสวนรถไฟ พร้อมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมการกุศล “จ้าง วาน ข้า” รวมถึงให้ ธ.ก.ส. สาขาในเขตกรุงเทพฯ แจกจ่ายกล้าพันธุ์ไม้มีค่าฟรี! ให้กับประชาชนที่สนใจร่วมปลูกต้นไม้กว่า 1,000 ต้น