คณะทำงานเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ลงพื้นที่ อุดรธานี

ติดตามผลการดำเนินงาน พร้อมลุยขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ อย่างเข้มข้น คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ลงพื้นที่ตรวจเข้ม ผลการดำเนินงาน จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนครเดินหน้าขับเคลื่อนทุกภาคส่วนตามนโยบาย “สานพลังประชารัฐ” มุ่งผลักดันเศรษฐกิจฐานราก ให้เข้มแข็ง อย่างยั่งยืน นำโดย คุณอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ และคณะกรรมการเศรษฐกิจ นำโดย คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน พร้อมด้วย คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด คุณประวิช สุขุม เลขานุการร่วมภาคเอกชน และคณะทำงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.อุดรธานี เพื่อประชุมหารือและรับฟังการนำเสนอแผนการดำเนินงานจากตัวแทน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด ในพื้นที่ 12 จังหวัดโดยมี คุณสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้การต้อนรับ และร่วมรับฟังข้อเสนอ ณ ห้องประชุม โรมแรมเซ็นทารา

โดยได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ก้าวหน้าและสำเร็จเพื่อให้เห็นผลที่เกิดในชุมชนต่างๆ ได้แก่ เกษตร แปรรูปและท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 12 จังหวัดของภาคอีสานตอนบน พร้อมทั้งประชุมร่วมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ จ.อุดรธานี โดยได้ดำเนินงานมาแล้ว 1 ปี สิ่งที่ต้องการให้เกิดมากที่สุด คือ การดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง โดยบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นรูปแบบการทำงานที่ถูกออกแบบมาให้ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชน ทำงานร่วมกัน จึงไม่มีสูตรสำเร็จในการทำงาน แต่มีเป้าหมายหลัก คือ การสร้างรายได้ให้ชุมชนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย

การทำงานให้สำเร็จนั้นจะประกอบด้วยคีย์เวิร์ด 3 คำสำคัญ คือ 1. ชุมชนเป็นตัวตั้ง คัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อมก่อน 2. เอกชนร่วมขับเคลื่อน คือบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ฯ เป็นรูปแบบบริษัทจำกัด ที่เข้ามาขับเคลื่อน โดยบริษัทฯ ต้องทำกำไร เพียงแต่กำไรจะไม่ปันผล เพราะต้องนำกำไรนี้ไปช่วยเหลือชุมชน และ 3.รัฐบาลสนับสนุน มีคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบาย สานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) จะคอยเป็นแบ็คอัพช่วยเหลือ ในการขับเคลื่อน

คุณธนัชชัย สามเสน ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า “3 กลุ่มงานของ จ.อุดรธานีเริ่มจากส่วนของ

การเกษตร ศักยภาพอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ มีกลุ่มที่ทำข้าวอินทรีย์อยู่ประมาณ 300 กลุ่ม มีประมาณ 25 กลุ่มที่จะได้รับการรับรองจากวิชาการเกษตรที่เหลือก็เป็น GPS ยังติดอยู่ในเรื่องเอกสารสิทธ์ไม่มีโฉนดที่ดินทางจังหวัดก็ไปทำตามแผนของทางจังหวัดเองการเกษตรยังมีเรื่องของมะม่วงน้ำดอกไม้ของหนองบัวซอทางเรามีการนำส่งออก เพราะมะม่วงมีคุณภาพที่ได้รับมาตรฐานขอเสียของทางเกษตรเองคือผู้ที่มารับชื้อคัดเลือกขนาดมะม่วงเองซึ้งทางเกษตรเห็นว่ายังเป็นเรื่องการเสียเปรียบต่อผู้ชื้อเองทางบริษัทเลยไปช่วยของเรื่องตลาดโดยตรงและช่วยในเรื่องมะม่วงแปรรูปสำหรับมะม่วงที่ตกเกรด

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน จุดเด่นก็ยังคงอยู่ที่บ้านชียงซึ้งส่วนหนึ่งก็ช่วยตัวเองได้ดีทางเราก็เข้าไปมีส่วนช่วยโดยบ.ไทยเบฟ และทศภาคมีส่วนเข้ามาจัดอีเว้นเผื่อให้บ้านเชียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นและมีแหล่งท่องเที่ยวที่ใหม่คือสะพานหินท่าลี่กุมพวาปีซึ้งเป็นทางพื้นที่ทางทรนีวิทยาที่มีอายุเป็นร้อยล้านปีมีจุดท่องเที่ยวหลายจุดอยู่บนนั้นชุมชนเองมีเอกลักษณ์ในเรื่องอาหารการกิน และที่ผ่านมาอุดรธานี มีการจดทะเบียนตั้งแต่ 29 เมษายนที่ธรรมเนียมรัฐบาลเป็น 5 บริษัทนำร่องที่เริ่มต้นในความเข้าใจของส่วนอาจจะยังมีไม่มากเราใช้เวลาเรียนรู้มาสักระยะหนึ่งและมีการลงพื้นที่มาตลอดเพื่อรู้ปัญหาของคนในชุมชน”

จากนั้น คณะทำงานฯได้กำหนดเดินทางลงพื้นที่ต่อยัง จ.สกลนคร ในวันที่ 23 เมษายน 2560 เพื่อรับฟังสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ จ.สกลนคร โดย นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธาน คสป.จังหวัด สรุปผลการดำเนินงาน ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮัง พร้อมลงพื้นที่ดูของจริงที่กลุ่มป่าเศรษฐกิจครอบครัว ที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเพื่ออนุรักษ์ไว้ด้วยความภาคภูมิใจ สามารถลดรายจ่ายและสร้างรายได้ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มเครือข่าย อีกทั้งยังกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและเครือข่าย เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในระดับครอบครัวและระดับประเทศ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เศรษฐกิจพอเพียง” และวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกพริกบ้านหนองหอย และแปลงเกษตร ปราชญ์เกษตรนางบังอร ไชยเสนา ตำบลเชียงเครือ อ.เมืองสกลนคร เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการเกษตรและการแปรรูป หลังจากนั้นได้เดินทางจากแปลงเกษตรไปยังกลุ่มสกลเฮ็ด ต.ธาตุเชิงชุม โดยจะมีผู้นำกลุ่มผู้แทนสกลเฮ็ดนำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน แนวทางการขับเคลื่อน อุปสรรค และแนวทางการขับเคลื่อนในการจัดการปัญหา

คุณขวัญตา บุญโต หนึ่งในสมาชิกกลุ่มข้าวจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า “ข้าวผลิตจากข้าวนาอินทรีย์ปลอดสารเคมีต่างๆ ทางเราเองขึ้นชื่อว่าเป็นกลุ่มฟื้นฟูอนุรักษ์พันธ์ข้าวเป็นพันธ์พื้นเมืองมีอยู่เป็น 100 สายพันธ์ มีทางศูนย์วิจัยข้าวจากสกลนครมาให้ความรู้ด้านวิชาการและยังมาช่วยผสมสายพันธุ์พื้นเมืองขึ้นมาอีก ทางเราทำมา 3 ปีแล้ว พันธุ์ข้าวจะส่งขายภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงเช่น จ.ยโสธร จ.มหาสารคาม จ.เลย เป็นต้น ตอนนี้เรามีเครือข่ายจากจ.มหาสารคามที่มาให้ความรู้เราครั้งแรกโดยการปลูกข้าวทำแปลงนาแบบปาณีต

ซึ้งเราจะใช้ต้นกล้าเพียงต้นเดียวปักนำ โดยทางเราจะมีนักเรียนเข้ามาช่วยในการดำนาของกลุ่ม วิธีเพาะต้นกล้าคือการเพาะในผ้าพลาสติกแล้วก็จะค่อยๆ ถอนต้นกล้าที่ละต้นวิธีปลูกก็คือการใช้วิธีขลึงเชือกที่แปลงนาให้มีเส้นตรงเวลานำต้นกล้าลงไปปลูกก็จะเป็นแถวตรงเรียงกันสวยงาม คนที่เป็นสมาชิกของทางกลุ่มเรา ก็จะใช้วิธีการเดียวกับเรา นาของเราจะต้องถูกล้อมล้อมด้วยป่า เพราะว่าระบบนิเวศที่ถูกล้อมรอบด้วยป่ามันจะปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ ก่อนที่จะไปบรรจุเราก็มีการตรวจสอบก่อนว่าข้าวเราปลอดสารเคมีจริงๆ ถึงจะไปดำเนินขั้นต่อไป นอกจากนี้ จะมีส่วนของจมูกข้าวที่หักออกจากเมล็ดข้าวหรือที่เราเรียกว่าปลายข้าวเรานำมาแปลรูปเป็นสบู่ น้ำข้าวจะทำให้ผิวเรานุ่มขึ้น กลุ่มเราที่ผลิตเราใช้ตั้งแต่หน้ายันทั่วร่างกายสบู่น้ำข้าวจะมาแต่ละสายพันธุ์ของข้าว”

คุณลัดดาวรรณ ครุธตำคำ เกษตรกรปลูกพริก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกพริกบ้านหนองหอยใหม่ กล่าวว่า “ทางเรามองว่าเรื่องของพริก มีการส่งพริกไปขายทางเครื่องบินทางประชารัฐเองก็ได้รวบรวมเกษตรกรให้ได้มาก เผื่อที่จะมีการขายช่องทางให้เกษตรกรมากขึ้น ในเรื่องของรายรับรายได้จะมีแนวโน้มว่าสูงขึ้นอีกแน่นอน ในส่วนของการขยายผลไปส่วนอื่นๆก็อยู่ในโครงการที่กำหนดไว้มีการขยายผลไปทางสหกรณ์การเกษตรอีกด้วยในพื้นที่ปลูกพริกมีประมาณ100ไร่ ก่อนหน้าที่ยังไม่มีโครงการประชารัฐทางเกษตรกรเองก็มีปัญหาที่ไม่มีที่ส่งออกพริก ในส่วนของประชารัฐเองก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเพิ่มช่องทางการส่งออกให้ชาวบ้านมีรายได้ที่มากขึ้นกว่าเดิม ในการปลูกพริกเองก็จะต้องใช้สารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ เครือข่ายที่เป็นส่วนกลางของประชารัฐก็ช่วยหาวิธีแก้ไขในเรื่องสารพิษ เพื่อที่จะทำพริกที่ปลอดสารเคมี”

คุณธนะสรรค์ ศริวาลย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า“ในปัจจุบันสภาบันสมุนไพรแห่งประเทศไทยได้คัดเลือกให้จังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดต้นแบบที่ใช้สมุนไพร ทางสาธารณสุขจังหวัดก็เปรียบเสมือนเป็นเลขาของทีมที่เข้ามามีส่วนร่วมของประชารัฐตัวสมุนไพรทางจังหวัดสกลนครด้วยพื้นฐานแล้วเป็นจังหวัดที่มีป่าเยอะ ทางชาวบ้านเองก็ได้รู้จักการนำเอาสมุนไพรมาใช้ ได้2ทางคือ นำมาจากแห่งธรรมชาติและอีกทางหนึ่งก็คือปลูกเอง การปลูกเองก็จะเป็นสมุนไพรระยะสั้นส่วนใหญ่ ทางเราก็ได้มีการพัฒนามาตั้งแต่ต้นทาง

กลางทางและต้นทาง ต้นทางก็คือสร้างสหกรสมุนไพรของจังหวัดสกลนครขึ้นซึ้งสหกรเองเป็นการขับเคลื่อนในการเก็บเกี่ยวพร้อมอนุรักษ์ นโยบายของภาครัฐอยากส่งเสริมให้สมุนไพรมีรายได้ที่สูงไม่ว่าจะเรื่องเวสสำอางที่ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรมาช่วยเรื่องความสวยความงามได้เข้ามามีบทบาทสมุนไพรมากขึ้น จังหวัดสกลนครจะโด่งดังเรื่องคราม หลังที่ได้ร่วมโครงการประชารัฐก็ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น รายได้เราเห็นชัดเจนอยู่แล้วในอีกส่วนก็จะเห็นว่ามีสมาชิกมาเข้าร่วมโครงการอย่างมาก ในการร่วมโครงการประชารัฐครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักหน่วยงานเพิ่มมากขึ้นทำให้เราได้แลกเปลี่ยนแนวความคิดกัน”

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนใน 3 กลุ่มงาน เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่ จะมี KPI หรือตัวชี้วัด ที่จะประเมินผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เน้นที่ประชาชนที่ประสบปัญหาความยากจน เพื่อเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย เน้นให้ความสำคัญมาโดยตลอดการดำเนินงานทั้งหมดนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่า พลังประชารัฐนั้นยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญโดยที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา และเสริมสร้าง พัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความเข้มแข็งของชุมชน อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของทั้งประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตลอดไป

เปิดฉากฤดูเที่ยวสวนผลไม้ตะวันออกสุดคึกคัก 46 สวนผลไม้ระยอง จันทบุรี ตราด ร่วมโครงการ นักท่องเที่ยวแห่จองคิวแน่นเดือนพฤษภาฯ ททท.แนะนักท่องเที่ยวจองล่วงหน้า งดวอล์กอิน สวนเล็กงดกินไม่อั้น หันปรับเงื่อนไขคิดเป็นอิ่มละ 150-350 บาท ขณะที่สวนใหญ่ขยับราคาหัวละ 450 บาท เปิด 46 สวนผลไม้รายได้พุ่ง 20%

นางสาวกนกกิตติกา กฤตย์วุฒิกร ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานระยอง (ระยอง จันทบุรี) เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวจังหวัดระยอง-จันทบุรี ยังคงจัดงานเปิดสวนผลไม้ท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้มีสวนผลไม้ที่เข้าร่วม คือ จังหวัดระยอง 19 สวน จังหวัดจันทบุรี 16 สวน บางสวนเริ่มเปิดแล้ว แต่ส่วนมากจะเปิดให้เข้าในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งแต่ละสวนมีเงื่อนไขแตกต่างกัน บางสวนทำเป็นบุฟเฟต์ บางสวนให้เข้าชมปกติ แต่สามารถซื้อผลผลิตภายในสวนได้ ค่าใช้จ่ายมีตั้งแต่หัวละ 300-450 บาท อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีปัญหาว่าบางสวนมีนักท่องเที่ยวทะลักถึงวันละ 3-4 พันคนดังนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องเช็กข้อมูลจากสวน และจองล่วงหน้า เพื่อการเตรียมพร้อมในการรองรับ

ข้อมูล ททท.ระยองระบุว่า โดยช่วงปี 2559 (เมษายน- กรกฎาคม 2559) จังหวัดระยอง มีจำนวนนักท่องเที่ยว 208,400 คน รายได้จากการเข้าสวนผลไม้ประมาณ 62 ล้านบาท จังหวัดจันทบุรี มีจำนวนนักท่องเที่ยว 50,000 คน รายได้ 15 ล้านบาท ส่วนช่วงฤดูผลไม้ปี 2560 มีกระแสตอบรับดี คาดว่าจะจำนวนนักท่องเที่ยว และรายได้จะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20%

ด้านนางสาววรรณประภา สุขสมบูรณ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราดกล่าวว่า ททท.ตราดสนับสนุนกิจกรรม “ตราด..อร่อยทุกไร่ชิมไปทุกสวน” ปีนี้เป็นปีที่ 3 จัดขึ้นระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน โดยในปีนี้มีสวนเข้าร่วม 11 สวน เป็นสวนเกาะช้าง 3 สวน และบนฝั่ง 8 สวน มีไฮไลต์ คือ ทุเรียนชะนีเกาะช้าง สำหรับค่าเข้าสวนจังหวัดตราดมีข้อตกลงร่วมกันในราคาหัวละ 150 บาท โดยเจ้าของสวนจะจัดตะกร้าผลไม้ให้คนละ 1 ใบ เป็นผลไม้ผสมทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด หรือ ลองกอง และหากใครต้องการซื้อเพิ่มสามารถเลือกซื้อผลไม้คุณภาพกลับบ้านได้ในราคาถูกกว่าแผงข้างทางแน่นอน คาดว่าช่วงฤดูผลไม้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน รายได้การท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นถึง 500 ล้านบาท จากปี 2559 ที่มีรายได้ 200 ล้านบาท

นางนงลักษณ์ มณีรัตน์ ประธานชมรมสวนผลไม้เพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ตนและชาวสวน 4-5 สวน ได้รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนรักษ์เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ เปิดรับนักท่องเที่ยวมานาน 12 ปีแล้ว ปัจจุบันผลไม้มีราคาแพงขึ้น จึงเปลี่ยนการขายจากคำว่าบุฟเฟต์ เป็น อิ่มละ 300-350 บาทแทน เนื่องจากทุเรียนแต่ละลูกมีต้นทุนสูง ตั้งแต่ปลูกจนถึงตัดมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ที่ผ่านมาบางสวนเจอนักท่องเที่ยวไปถล่มเราก็สงสาร โดยปีนี้จะมีผลไม้ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด รับรองได้ว่าคนที่มาต้องประทับใจ เพราะทุเรียนที่คัดไว้เป็นทุเรียนคุณภาพรสชาติดี แต่มีเงื่อนไขว่านักท่องเที่ยวต้องโทรมาจองก่อนล่วงหน้า รับได้ไม่เกินวันละ 200 คน เพราะต้องเตรียมทุเรียนก่อน ไม่ใช่ตัดแล้วกินได้เลย แต่ต้องใช้เวลาบ่ม 3-4 คืนและ นอกจากจะได้กินผลไม้อร่อยแล้ว เราจะพาชมสวนและบรรยาย และสามารถซื้อผลไม้กลับบ้านได้

นายธิร ลาภพิเชฐ ผู้ดูแลสวนทิพย์ธารา ต.บ่อเวฬุ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า เริ่มเปิดให้บริการบุฟเฟต์ผลไม้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ยาวต่อเนื่อง 90 วัน โดยนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจต้องโทรศัพท์จองล่วงหน้า ไม่รับนักท่องเที่ยวแบบวอล์กอิน ซึ่งขณะนี้มียอดจองเข้ามาจำนวนมาก จนถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เพียง 100-150 คน/วัน คิดราคา 450 บาท/คน สามารถกินได้ไม่จำกัดปริมาณและเวลา โดยปีนี้ราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 50 บาท เนื่องจากผลผลิตมีราคาสูงขึ้น

ทั้งนี้จุดเด่นของที่สวนภูทิพย์ธาราคือ เป็นสวนผลไม้อินทรีย์ และกำลังจะทำเรื่องให้เป็นสวนออร์แกนิก รวมถึงไฮไลต์ คือ สละพันธุ์สุมาลี ที่ได้รับรางวัลผลชนะเลิศการประกวดผลไม้ สละพันธุ์สุมาลี งานจันทบุรี มหานครผลไม้ ประจำปี 2559 นอกจากจะเปิดให้บริการบุฟเฟต์แล้ว ยังเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ในการทำสวนเป็นเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ให้ความรู้ในการดูแลสวนผลไม้ การสาธิตการทำสวน สอนการทำปุ๋ยหมักใช้เอง เป็นต้น

นายขจร พฤฒิสุขนิรันดร์ เจ้าของสวนบ้านเรา ต.กระแสบน อ.แกลง จ.ระยอง เปิดเผยว่า จุดเด่นของเราอยู่ที่คุณภาพผลไม้ที่นำมาบริการเป็นเกรดพรีเมี่ยม นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจจะต้องโทรศัพท์เข้ามาจองเท่านั้น คิดราคา 400 บาท/คน ซึ่งเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่คิดราคาอยู่ที่ 350 บาท เนื่องจากผลผลิตมีราคาสูงขึ้น ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ดีมานด์และซัพพลายของตลาด ขณะนี้มีนักท่องเที่ยวโทร.เข้ามาจำนวนมาก โดยกว่า 90% เป็นชาวไทย และอีก 10% เป็นชาวต่างชาติ

นอกจากบุฟเฟต์ผลไม้แล้ว สวนบ้านเราจะมีบริการรถรางนำเที่ยวชมสวนด้วย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 100 ไร่ และจะมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับทุเรียนสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่เรามีกว่า 100 สายพันธุ์ ขณะเดียวกันได้ขายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะต้องสั่งจองล่วงหน้า โดยจะกำหนดการสั่งซื้อครั้งละ10 กิโลกรัม บวกค่าขนส่งด้วยบริษัทขนส่งเคอร์รี่อีก 250 บาท ขณะนี้ราคาทุเรียนพันธุ์พวงมณีราคา 150 บาท/กก. ส่วนพันธุ์หมอนทองยังไม่มีผลผลิตออกมา

ไฮไลต์ตราดกินชะนีเกาะช้าง

นายไพฑูรย์ วานิชศรี เจ้าของสวนไพฑูรย์ อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวว่า สวนเปิดรองรับนักท่องเที่ยวมาเป็นปีที่ 7 แล้ว ปีนี้ผลไม้มีปริมาณมากกว่าปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวเริ่มทยอยมาตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนแล้ว และจะปิดสวนเดือนมิถุนายน สนนราคาอิ่มละ 150 บาท ทุเรียนที่ให้ชิมเป็นหมอนทองราคาตลาดในขณะนี้ 70-80 บาท หากใครจะซื้อกลับบ้านยังมีพันธุ์อื่น ๆ จำหน่ายในราคาถูกกว่าแผงค้าริมทางด้วยเช่น พวงมณี 80 บาท/กิโลกรัม ชะนี 50-60บาท นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางวอล์กอินเข้ามาได้ทุกวัน ได้ทั้งคนไทย ต่างประเทศ หรือชาวจีน หากเป็นหมู่คณะควรประสานกับททท.มาก่อน โดยปีที่ผ่านมาเปิดรับเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ มีนักท่องเที่ยวประมาณ 3,000 คน ปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10%

ด้านนายพงษ์ศักดิ์ เอมดวง เกษตรจังหวัดตราด กล่าวว่า ผลไม้ของจังหวัดตราดมีจุดเด่นที่ความอร่อยและมีคุณภาพ หากนักท่องเที่ยวเข้ามาชิมในสวนจะสัมผัสได้ถึงความสด หอมหวาน หากเป็นทุเรียนเนื้อจะเหนียว หวานมัน ไม่เละหรือมีกลิ่นฉุน ซึ่งหลายสวนเป็นสวนอินทรีย์ และเป็นสวนมาตรฐาน GAP ส่งออก เช่น สวนคุณไพฑูรย์ วานิชศรี สวนผลอำไพ และอีกหลายสวนที่ส่งผลไม้ขึ้นห้างโมเดิร์นเทรด เดอะมอลล์ โลตัส นอกจากนี้ทุเรียนชะนีเกาะช้างที่เลื่องชื่อที่ต้องมากินที่เกาะช้างที่มีคุณประโยชน์ด้านสุขภาพ มีวิตามินอี สารไอโอดีนกำลังได้รับความนิยมมาก หาซื้อได้ในราคากิโลกรัมละ 200-250 บาท

“เอสที เฟอร์ทิลิตี้” รับอานิสงส์เทรนด์รักสุขภาพ-สังคมสูงวัย ดันยอดขายปุ๋ยอินทรีย์พุ่ง พร้อมทุ่ม 60 ล้าน ขอ BOI ขยายโรงงาน 60,000 ตัน ต่อปี

นายสมบัติ สุขมะณี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสที เฟอร์ทิลิตี้ จำกัด ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์เคมีสำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เทรนด์ความต้องการบริโภคของประชาชนที่เน้นดูแลสุขภาพและการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ส่งผลดีทำให้แต่ละปีผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปี 2560 บริษัทได้เตรียมเงินลงทุนไว้ประมาณ 50-60 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจาก 20,000 ตัน ต่อปี เป็น 60,000 ตัน ต่อปี ทั้งนี้ ตามแผนที่วางไว้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เรื่องมาตรการทางด้านภาษี เพื่อขยายโรงงานผลิตในพื้นที่โรงงานเดิมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม

ส่วนแผนการลงทุนในต่างประเทศได้เริ่มเข้าไปทำตลาดที่กัมพูชา กลางปี 2559 โดยบริษัทได้รับใบอนุญาตผลิต 21 ลิขสิทธิ์ และที่เมียนมา เข้าไปทำตลาดปลายปี 2559 ได้รับใบอนุญาตผลิต 1 ลิขสิทธิ์ ร่วมกับพาร์ตเนอร์ 1 ราย ทั้งนี้ บริษัทยังไม่พร้อมที่จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตต่างประเทศ เนื่องจากตลาดแต่ละแห่งยังมีความต้องการไม่สูงมาก ขณะเดียวกันเวลาศึกษาเก็บข้อมูล แต่หากมีออเดอร์ให้กับแบรนด์รายใหญ่ปริมาณมากกว่า 10,000 ตัน นับว่าน่าสนใจ สำหรับประเทศลาว ถือเป็นเป้าหมายอีกแห่งที่เตรียมเปิดตลาด คาดว่าภายใน 3 ปี สัดส่วนการส่งออกในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 30% จากปัจจุบัน 10-15% จะทำให้มีรายได้รวมทั้งหมดถึง 400 ล้านบาท จากปัจจุบันประมาณ 100 ล้านบาท

“การมีกลุ่มลูกค้าหลากหลายและหลายตลาด คือการกระจายความเสี่ยง เช่น ปุ๋ย เราปรับสูตรตามพืชแต่ละกลุ่มเป้าหมาย มีทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น การผลิตปุ๋ยที่ใช้กับหลายพืช ทำให้เมื่อเกิดวิกฤตอย่างภัยแล้ง น้ำท่วม พืชบางชนิดได้รับผลกระทบ แต่เราไม่ได้รับผลกระทบหรือเสียตลาดยอดขายไปในตอนนั้นไป เพราะเรามีปุ๋ยตัวที่ขายให้กับพืชชนิดอื่นด้วย เช่นเดียวกันกับการมีตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ วันใดที่ประเทศหนึ่งเกิดปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี เรามีอีกประเทศหนึ่งสร้างรายได้ให้เราได้อยู่ ดังนั้น นักธุรกิจหลายคนควรเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยการบริหารแบบนี้ จะทำให้ธุรกิจเราอยู่รอดได้”

ปัจจุบัน บริษัทเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEM) elhogarprovegan.org ป้อนให้กับเทรนด์เดอร์ ประมาณ 20 แบรนด์ ในประเทศไทย เช่น ตรานิลเพชร ปริมาณเติบโตจากการใช้จริงเฉลี่ยโดยเฉพาะกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ 8-9 ล้านตัน/ปี สามารถส่งสินค้าออกขายต่างประเทศในแถบอาเซียนได้เกือบทั้งหมด เป็นผลมาจากการที่บริษัทมีผลิตภัณฑ์แตกต่างจากคู่แข่ง ความได้เปรียบที่ตนเป็นนักวิชาการเกษตรอยู่แล้ว รวมถึงเคยทำงานกับ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิควิชาการหลายด้านจากต่างประเทศ จากนั้นนำมาพัฒนากับสินค้าและการดำเนินธุรกิจของบริษัทเองรวมไปถึงการที่บริษัทได้ผ่านการอบรมกับทางบีโอไอ ในโครงการอบรมหลักสูตรสร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ทำให้สามารถวิเคราะห์ตลาดปัจจุบัน เทรนด์อนาคต และความต้องการของลูกค้าได้ ปัจจุบัน จึงมีศักยภาพที่จะส่งสินค้าออกขายต่างประเทศในสัดส่วนถึง 10-15% ขายในประเทศประมาณ 85% ขณะที่มูลค่าตลาดปุ๋ย 50,000-60,000 ล้านบาท

“เราไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ เพราะเทรนด์การทานอาหารปลอดภัยมากขึ้น เติบโตตลอดเวลาจากความต้องการที่มากขึ้น และคนยังมีกำลังซื้อ ซึ่งเราเห็นเทรนด์คนรักสุขภาพมา 15 ปีแล้ว ภาครัฐเริ่มปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับสารอาหาร องค์ประกอบในปุ๋ยเมื่อปี 2550 เราจึงปรับสูตรการผสมและเน้นมาที่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นโมเดลธุรกิจเพื่อแนะนำให้ทั้งผู้บริโภค ผู้ปลูกหันมาใส่ใจเรื่องการปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำคือการปลูก ปัญหาตอนนี้เกษตรกรขาดความรู้ ยังใช้ปุ๋ยเคมีในพืชที่ปลูกเพื่อบริโภคหลายชนิดสัดส่วนถึง 90% และใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียง 10% เท่านั้น”

ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบในประเทศ โดยเฉพาะควบคุมการใช้สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบตั้งแต่การปลูก เพื่อตระหนักถึงสินค้าที่ปลอดภัยในการบริโภค และป้องกันไม่ให้ถูกหลายประเทศใช้มาตรการกีดกันทางการค้า เพราะพบสินค้าส่งออกไทยปนเปื้อนสารเคมีซึ่งเป็นการปกป้องพลเมืองในประเทศ

ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวในพิธีเปิดงาน “สจล.เอ็นจิเนียริ่ง โปรเจ็กต์ เดย์ 1017” เปิดตัวนวัตกรรมจากนัประดิษฐ์รุ่นใหม่ จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เพื่อสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา ว่า อนาคตของเยาวชนและประเทศไทยจะก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้ ต้องมีบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ พัฒนาตนเอง มีการเสริมสร้างศักยภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ภาคส่วนการศึกษาถือเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของการบ่มเพาะและพัฒนาบุคลากร เมกเกอร์ หรือนักประดิษฐ์ และสตาร์ตอัพผู้ประกอบการ อันเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ

“ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีหลายโครงการที่ สจล.ได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจัดทำขึ้น อาทิ โครงการสตาร์ตอัพนักศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมปั้นสตาร์ตอัพสายเลือดใหม่เข้าสู่ภาคธุรกิจดิจิตอล เป็นต้น สำหรับการจัดงานครั้งนี้ก็นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการส่งเสริมเมกเกอร์คนรุ่นใหม่เพื่อเสริมพลังทัพสตาร์ตอัพของประเทศไทยในอนาคตด้วยนวัตกรรม” อธิการบดี สจล.กล่าว

ด้าน รศ.ดร. คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า การพัฒนาคนเป็นหัวใจสำคัญของการต่อยอดไอเดียและเทคโนโลยีมาเป็นนวัตกรรม การจัดงาน สจล.เอ็นจิเนียริ่ง โปรเจ็กต์ เดย์ 2017 ก็เพื่อให้เป็นเวทีแสดงผลงานของเมกเกอร์นักศึกษาคนรุ่นใหม่ จากไอเดียสร้างสรรค์ ผสมผสานงานวิจัย การพัฒนา เทคโนโลยีและดิจิตอล สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตและธุรกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่

“กิจกรรมครั้งนี้จัดเพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยี เสริมสร้างความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ ความชำนาญด้านเทคโนโลยีวิศวกรรม ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้แข่งขันได้และมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ทั้งเปิดโอกาสให้เมกเกอร์เจ้าของนวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนมาพบปะกัน อันจะเป็นลู่ทางความร่วมมือและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป” รศ.ดร. คมสัน กล่าว