ครูภูมิปัญญาเกษตร สมุทรสงคราม สร้างคุณภาพส้มโอขาวใหญ่

ชูแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติช่วยให้จังหวัดสมุทรสงครามมีผลไม้อร่อยอย่าง ส้มโอขาวใหญ่ ชมพู่ ลิ้นจี่ มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาลต่างๆ แถมจังหวัดนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจหลายแห่ง

ตลอดถึงยังคงสภาพความเป็นสวนผลไม้ที่มีบรรยากาศร่มรื่นสามารถเดินทางสัญจรชมสวนต่างๆ ได้ไม่ยาก จึงมักเป็นที่นิยมของคนทั่วไปในการขับขี่จักรยานหรือเดินทางมาพักผ่อนตามโฮมสเตย์ในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงเกษตรกันมากมาย

คุณสมทรง แสงตะวัน อยู่บ้านเลขที่ 9/3 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางพลับหันมาปลูกส้มโอขาวใหญ่เชิงการค้ากันแบบมีคุณภาพตามแนวทางอินทรีย์ พร้อมไปกับการรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วดึงนักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้ให้ทุกครัวเรือน

ความจริง ส้มโอ เป็นไม้ผลท้องถิ่น ที่รุ่นพ่อ-แม่ ปลูกกันมาก่อน สมัยนั้นชาวบ้านปลูกส้มโอกันหลายพันธุ์ สำหรับขาวใหญ่ไม่นิยมปลูก เนื่องจากให้ผลผลิตน้อย แต่สำหรับคุณสมทรงกลับมองว่า ขาวใหญ่ เป็นพันธุ์ส้มโอที่มีคุณลักษณะเด่นหลายอย่างควรอนุรักษ์ไว้ ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับการปลูกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่มาตั้งแต่ ปี 2520

คุณสมทรง เล่าว่า ที่ดินที่ปลูกส้มโออยู่ตอนนี้ซื้อมาจากการเป็นสวนมะพร้าวเก่า แล้วมีส้มโอขาวใหญ่อยู่ในแปลงจำนวน 3 ต้น เมื่อคุณสมทรงเห็นว่าต้นส้มโอมีสภาพสมบูรณ์จึงขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่ง จำนวน 300 กิ่ง แล้วแบ่งปลูกในพื้นที่ 7 ไร่ โดยใช้ระยะปลูก 6 คูณ 6 เมตร แบบยกร่องสวน ใช้น้ำจากธรรมชาติหล่อเลี้ยงผสมกับการจัดระบบน้ำขึ้น-ลง ทางธรรมชาติ การดูแลต้นส้มโอจะเน้นใส่ปุ๋ยคอกแล้วใช้กระบวนการทางอินทรีย์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักและน้ำชีวภาพ ก่อนถึงช่วงมีดอกจะใส่ปุ๋ยคอก ต้นละ 1-2 กิโลกรัม แล้วเพิ่มจำนวนมากขึ้นเมื่อต้นโตขึ้นเรื่อยๆ จนเวลา 3 ปี จึงเริ่มมีดอก

ภายหลังที่ คุณสมทรง มีโอกาสได้ไปอบรมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทำให้เขามองว่าแนวทางนี้จะช่วยสร้างคุณภาพส้มโอและขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุน จากนั้นจึงกลับมาชักชวนชาวบ้านในพื้นที่เพื่อตั้งกลุ่มปลูกส้มโอขาวใหญ่จำนวน 57 คน ในชุมชนตำบลบางพรม มีพื้นที่รวม 300 กว่าไร่ และถือเป็นกลุ่มแรกของจังหวัดสมุทรสงครามที่ปลูกส้มโอขาวใหญ่

แนวทางการพัฒนาวิธีปลูกส้มโอขาวใหญ่จนมีคุณภาพนั้น คุณสมทรง เผยว่า อย่างแรกเมื่อนำต้นพันธุ์ปลูกลงดินไม่จำเป็นต้องลึกเหมือนอย่างคนสมัยก่อนปลูก เนื่องจากรากของต้นพันธุ์จากกิ่งตอนจะเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นแล้วกลบดินให้นูนเป็นก้นกระทะ นำเลนในร่องตักขึ้นมาสาดบนคันปลูกทุกปี ก็ทำให้เป็นการพอกพูนเนื้อดินให้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันในเลนจะมีธาตุอาหารสมบูรณ์มาก ช่วยในการเจริญเติบโตเป็นอย่างดี

“ลักษณะการปลูกแบบกระทะคว่ำ คือขุดหลุมวางต้นแล้วกลบดินให้นูนสูงคล้ายก้นกระทะ เพราะเท่าที่สังเกตวิธีปลูกแบบเดิมจะขุดหลุมลึกมาก รากต้องใช้เวลาการเจริญเติบโตเพื่อหาอาหาร จึงส่งผลให้ได้ผลผลิตจำนวนน้อยจึงเข้าใจว่า ส้มโอพันธุ์นี้ไม่มีคุณภาพ เลยหันไปปลูกพันธุ์อื่น อย่าง ขาวจีน ขาวแป้น ขาวพวง”

คุณสมทรง ถือเป็นเกษตรกรชาวสวนสมุทรสงครามที่สามารถกำหนดผลผลิตส้มโอนอกฤดูกาลได้ ด้วยการแกล้งต้นส้มโอโดยงดให้น้ำส้มโอ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อปล่อยให้ต้นขาดน้ำ พอต้นส้มโอดูทรุดโทรมเหี่ยวเฉา ดินแห้งแตก ใบเหลืองร่วงสัก 30-40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นค่อยปล่อยน้ำเข้าไปในร่องให้เต็ม รดน้ำทุกวัน เกิดรากอ่อน แตกใบอ่อน แล้วมีดอก โดยใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 8 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตขาย

“วิธีนี้ทำมาแล้วไม่เคยพลาด ถือว่าเป็นการควบคุมเพื่อให้มีผลผลิตตรงกับความต้องการของตลาด อันจะนำมาสู่ราคาขายที่สูงกว่าในช่วงปกติหลายเท่า ซึ่งแต่เดิมส้มโอพันธุ์นี้มีลูกน้อย โดยให้ผลผลิตเพียงปีละ 25 ผล ต่อต้น แต่ภายหลังเมื่อปลูกอย่างจริงจังด้วยการบริหารจัดการวิธีปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ใช้เวลาเพียง 3 ปีสามารถติดดอกให้ผลดกมาก พอทำได้เช่นนี้ก็มีชาวบ้านสนใจจำนวนมาก จึงชวนกันตั้งเป็นกลุ่มเพื่อสร้างผลผลิตป้อนตลาด”

คุณสมทรง ชี้ว่า ต้นส้มโออายุ 5 ปีขึ้นไป จะเก็บผลไว้ไม่เกินต้นละ 80 ผล ผลใดที่ไม่สมบูรณ์จะตัดออก แล้วนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าอย่างอื่นโดยไม่มีการทิ้งให้เสียเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการนำผลส้มโอไปเผาเป็นถ่าน ใช้สำหรับดูดกลิ่น หรือทำส้มโอแช่อิ่ม ฯลฯ แล้วหากเสียหายมากก็จะนำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ

ไม่เพียงเท่านั้นชาวสวนส้มโอรายนี้ยังสร้างความหวานให้ผลผลิตด้วยการนำขี้แดดนาเกลือมาใส่ คุณสมทรง เล่าว่า ขี้แดดนาเกลือ เป็นผลมาจากเมื่อชาวบ้านที่ต้องการทำนาเกลือในพื้นที่จะจัดการขูดผิวที่เป็นขี้นาเกลือออกเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้พร้อมกับการเริ่มทำนาเกลือรอบใหม่

ฉะนั้น สิ่งที่ขูดออกเป็นตะกอนจากน้ำทะเลที่สะสมไว้แล้วตกผลึก ซึ่งชาวบ้านมักนำขี้แดดนาเกลือไปทิ้ง คุณสมทรง มองว่า ขี้แดดนาเกลือเหล่านี้เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่ดีของพืช จึงนำไปใส่ที่โคนต้นส้มโอ จากนั้นเมื่อได้ผลผลิต พบว่า รสชาติส้มโอมีความหวาน แล้วได้ส่งเข้าประกวด ได้รางวัล เลยทำให้เป็นที่สนใจจากชาวบ้านในชุมชนหันมาใช้วิธีเดียวกัน

สำหรับขี้แดดนาเกลือจะใส่กับต้นส้มโอในช่วงเดือนที่ 6 ก่อนเก็บผลผลิต 2 เดือน จะใส่ต้นละ 2 กิโลกรัม รอบชายพุ่ม รดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จนถึงเดือนที่ 8 แล้วจึงเก็บผลผลิต ก็จะพบว่าส้มโอมีรสชาติหวานชื่นใจ ไม่แห้ง ไม่เป็นข้าวสาร เนื้อจะล่อนจากเปลือกได้ง่าย

นอกจากนั้น ยังต่อยอดนำขี้แดดนาเกลือไปใช้กับผลไม้ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แก้วมังกร ฝรั่ง ชมพู่ มะพร้าวน้ำหอม ส่วนทางภาคใต้นำไปใส่ปาล์ม ดังนั้น จากสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งขว้างกลับกลายมาเป็นของที่มีมูลค่าขายได้

ลิ้นจี่ เป็นไม้ผลอีกชนิดที่ชาวสมุทรสงครามปลูกกันไว้เป็นเวลาหลายสิบปี ในอดีตถือว่าลิ้นจี่ในจังหวัดนี้ได้รับความนิยม เพราะมีความหวานที่พอเหมาะ ล่อน เนื้อมาก

คุณสมทรง ปลูกลิ้นจี่มานานกว่า 30 ปี เป็นพันธุ์ค่อม ปลูกไว้จำนวนกว่า 300 ต้น แต่ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาลิ้นจี่ประสบปัญหาทางธรรมชาติ จึงไม่มีผลผลิตเลย จึงทำให้ต้องตัดทิ้งออกเป็นส่วนใหญ่แล้วปลูกไม้ผลชนิดอื่นแทน อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 เพิ่งมาติดผล ทำให้ชาวบ้านที่ยังเก็บต้นลิ้นจี่ไว้พอมีรายได้

ลักษณะการปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่แถวนี้ จะปลูกต้นไม่ห่างกันมาก ทำให้ทรงพุ่มชนกัน ต่างกับทางภาคเหนือที่มีพื้นที่มาก ปลูกห่างกันได้ อีกทั้งทางภาคเหนือยังตัดแต่งทรงพุ่มให้เตี้ยเพื่อทำงานได้สะดวก

ในช่วงลิ้นจี่ผสมเกสรจะมีบริษัทขนลังผึ้งมาปล่อยเพื่อช่วยผสมเกสร โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะทางบริษัทจะได้ประโยชน์ในเรื่องน้ำผึ้ง ส่วนเจ้าของสวนได้ประโยชน์เรื่องการผสมเกสร

คุณสมทรง ชี้ว่า ถ้าปีนี้ (2561) ลิ้นจี่ ที่สมุทรสงคราม ยังไม่ติดดอกออกผลอีก สงสัยชาวบ้านคงโค่นทิ้งกันอีกมาก จะเหลือก็เพียงส่วนน้อย อาจเหลือแค่ตำนานด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นกังวลว่า ในปีหน้า (2562) จะได้ผลผลิตแบบนี้อีกไหม เนื่องจากสภาพอากาศไม่แน่นอน ทั้งนี้หลายหน่วยงานกำลังเร่งระดมความคิดช่วยกันหาวิธีเพิ่มผลผลิตลิ้นจี่โดยไม่พึ่งพาธรรมชาติ อย่างบางแห่งแนะนำให้รัดกิ่ง ควั่นกิ่ง เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยง เพื่อช่วยให้เร่งการแตกใบอ่อน แต่ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือไม่เพราะจากประสบการณ์ดูเหมือนว่าลิ้นจี่ผูกติดกับอากาศเย็นที่เป็นปัจจัยสำคัญเท่านั้น

คุณสมทรง นำภูมิปัญญาด้านเกษตรมาผสมผสานกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของท้องถิ่น เพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมเกษตรด้านต่างๆ แล้วเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตชาวสวน ด้วยการสร้างเป็นโฮมสเตย์ในบ้านพักตัวเอง มีห้องพักกว่า 10 ห้อง รองรับลูกค้า จำนวน 100 กว่าคน ขณะเดียวกันยังชักชวนบ้านหลังอื่นในชุมชนเดียวกันที่สนใจจัดทำเป็นโฮมสเตย์ รวมกว่า 14 ราย สามารถรองรับลูกค้าได้กว่า 300 คน

ในช่วงนี้กำลังก้าวสู่เทศกาลผลไม้ หลายคนใช้วันหยุดพักผ่อนเดินทางไปชิมผลไม้ยังจังหวัดต่างๆ ที่ต่างทยอยออกผลผลิตมาให้นักท่องเที่ยวได้ชิมกันอย่างถูกใจ หากใครสนใจเดินทางไปจังหวัดสมุทรสงคราม อย่าลืมแวะเวียนเข้าไปชิมผลไม้ในสวนของชาวบ้าน แล้วยังสามารถพักแรมเพื่อดื่มด่ำบรรยากาศสวนผลไม้ที่เป็นธรรมชาติในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย

ไร่ บี.เอ็น. (B.N.)… นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่นี่จำหน่ายพืชผัก ผลไม้ นานาชนิดตามฤดูกาลแล้ว ยังมีจุดเด่นสำคัญอีกอย่างคือ รวบรวมสายพันธุ์ลิ้นจี่ คุณภาพดีของประเทศจีน เช่น พันธุ์กุ๊ยบิ และพันธุ์ลิ้นจี่ที่ทางไร่ได้พัฒนาขึ้นมาเองให้มีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมกับท้องถิ่น ได้แก่ พันธุ์ป้าชิด พันธุ์ป้าอี๊ด พันธุ์ลุงเจิด ซึ่งมีลักษณะผลโต เนื้อแห้งหนา รสหวานหอม เมล็ดส่วนใหญ่ลีบเล็ก โดยมีผลผลิตให้ชิมระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณโจ้ หรือ คุณจุลพงษ์ คุ้นวงศ์ “ผู้จัดการไร่ บี.เอ็น. และน้องสาว คือ คุณชลธิชากร คุ้นวงศ์ ซึ่งรับผิดชอบด้านการตลาดของไร่บี.เอ็น. เล่าให้ฟังว่า “คุณบรรเจิด คุ้นวงศ์” คุณพ่อของพวกเขาได้เข้ามาบุกเบิกทำไร่บี.เอ็น. เมื่อปี 2512 โดยปลูกไม้ผลหลายชนิด เช่น ส้ม มะม่วง อะโวกาโด พลับ ลำไย น้อยหน่าออสเตรเลีย

คุณบรรเจิด สนใจปลูกลิ้นจี่ จึงได้นำเข้าพันธุ์ลิ้นจี่คุณภาพดีจากจีน เข้ามาปลูก เช่น พันธุ์กุ๊ยบิ พันธุ์จุดบิจี๊ ควบคู่กับการพัฒนาสายพันธุ์ลิ้นจี่จากการเพาะเมล็ด จนประสบความสำเร็จได้ “ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2” ซึ่งเป็นชื่อของคุณแม่ของคุณโจ้ ลิ้นจี่พันธุ์นี้ มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับปลูกเชิงเกษตรอุตสาหกรรม เพราะให้ผลผลิตคุณภาพดี และติดผลง่ายกว่าลิ้นจี่พันธุ์อื่นๆ

ทางไร่ บี.เอ็น. วางแผนขยายพื้นที่การปลูกลิ้นจี่ป้าชิด เพื่อส่งออกไปขายตลาดญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นตลาดผู้ซื้อรายใหญ่ เพราะมั่นใจว่า คุณภาพลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิดสู้กับลิ้นจี่จีนได้อย่างสบาย แถมยังได้เปรียบในเรื่องช่วงการขายอีกต่างหาก เพราะลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิดมีผลผลิตออกก่อนลิ้นจี่จีนถึง 1 เดือน (มิถุนายน-กรกฎาคม) ขณะที่ลิ้นจี่จีนมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ของทุกปี

จุดเด่นของ ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด

ลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิดเริ่มเป็นที่รู้จักในท้องตลาดตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน เนื่องจากมีลักษณะเด่นที่โดนใจผู้บริโภคทั่วไปนั่นคือ ผลโต มีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อแห้งหนา มีเมล็ดเล็กลีบเป็นจำนวนมาก ทางไร่จะคัดผลผลิตออกขายใน 2 เกรด คือ เกรดพรีเมียร์ เน้นคัดผลสวย เมล็ดลีบเล็ก และตัดก้านสั้น และสินค้าเกรดเอ คัดผลสวย มีก้าน เมล็ดขนาดปกติแต่มีรสชาติอร่อยเหมือนเกรดพรีเมียร์

หากใครได้เดินช็อปปิ้งในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น Gourmet Market และ Home Fresh Mart อาจจะเห็นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด บรรจุในเข่งไม้ไผ่วางขาย ติดยี่ห้อไร่บี.เอ็น.มาบ้างแล้ว จุดเด่นในเรื่องรสชาติความอร่อยของลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ซื้อทั้งคนไทยและต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ เรียกว่า คุณภาพของลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด สู้กับลิ้นจี่จีนได้อย่างสบายๆ ทำให้สินค้าชนิดนี้ขายดิบขายดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วไป จนผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

ดูแลสวนแบบ “เกษตรอุตสาหกรรม”

เนื้อที่ 60 ไร่ บริเวณด้านหน้าไร่ บี.เอ็น. ปลูกต้นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิด 2 และพันธุ์ป้าอี๊ด ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่มีผลผลิต ทางไร่จะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่สนใจซื้อลิ้นจี่เข้ามาเก็บผลผลิตจากต้นได้อย่างสนุกสนาน สำหรับลิ้นจี่พันธุ์ป้าอี๊ด มีลักษณะเด่นในเรื่อง ผลกลมโต หนามแหลม รสหวาน เนื้อสวยใส เมล็ดลีบเล็ก ด้านรสชาติ ลิ้นจี่พันธุ์นี้ มีรสชาติอร่อยไม่แพ้พันธุ์กุ้ยบี ซึ่งเป็นลิ้นจี่พันธุ์ดีที่สุดของจีน แต่จุดอ่อนสำคัญของลิ้นจี่พันธุ์ป้าอี๊ดคือ ติดผลยาก หากอากาศไม่หนาวเย็นเพียงพอ

ไร่บี.เอ็น. เน้นดูแลจัดการสวนในเชิงเกษตรอุตสาหกรรม โดยนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ดำเนินงาน เช่น ใช้รถตัดหญ้า รถพ่นยา ให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำผ่านระบบสปริงเกลอร์ เปิดให้น้ำทุกๆ 4 วัน การดูแลสวนลิ้นจี่ในรูปแบบนี้ จึงสะดวก รวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปลูกต้นลิ้นจี่ในระบบชิด

เดิมไร่บี.เอ็น. ปลูกต้นลิ้นจี่ในระยะห่าง 8X8 เมตร ต่อมา คุณโจ้ได้พัฒนาการปลูกลิ้นจี่ใหม่ในระบบชิด เช่นเดียวกับการปลูกลิ้นจี่ของจีน โดยทดลองปลูกลิ้นจี่ ในระยะห่าง 3X3.50 เมตร จำนวน 150 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อต้นลิ้นจี่อายุ 1.6 ปี จะดูแลควบคุมทรงต้นไม่ให้สูงเกิน 2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสวน ซึ่งต้นลิ้นจี่ที่ปลูกในระบบชิด สามารถผลิดอกออกผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ ทางไร่บี.เอ็น.ยังได้ประยุกต์เทคนิคการควั่นกิ่งจากจีน มาใช้ในช่วงที่ต้นลิ้นจี่ติดผล สามารถลดปัญหาผลร่วง และช่วยให้ต้นลิ้นจี่มีรสชาติดีขึ้น

ลิ้นจี่ต้นเตี้ย ดูแลง่าย

แปลงปลูกลิ้นจี่ ที่เดินชมในครั้งนี้ ปลูกต้นลิ้นจี่พันธุ์ป้าชิดไว้หลายรุ่น ต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่ 10- 40 ปี สำหรับต้นลิ้นจี่ที่มีอายุมากถึง 40 ปี แต่มีลำต้นเตี้ย เพียงแค่ 3 เมตรกว่า เมื่อเทียบกับต้นลิ้นจี่ในสวนทั่วไป ที่มักมีความสูงประมาณ 7-8 เมตร เพราะต้นลิ้นจี่ในไร่บี.เอ็น. ผ่านการทำสาวมาแล้วนั่นเอง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลต้นลิ้นจี่แบบเดิมลงได้ถึง 80%

คุณโจ้ บอกว่า ได้เรียนรู้เทคนิคการทำสาวลิ้นจี่ให้มีลักษณะต้นเตี้ยลง จาก “พ่อหลวงมนัส” เจ้าของสวนลิ้นจี่ศรินทิพย์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เทคนิคการทำสาวต้นลิ้นจี่ จะเน้นตัดแต่งกิ่งอย่างหนักหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในแต่ละปี กิ่งที่ความสูงเกิน 3 เมตร จะตัดออกทั้งหมด เพื่อให้ต้นลิ้นจี่สามารถรับแสงแดดได้ง่ายขึ้น

หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ต้นลิ้นจี่จะแตกกิ่งออกมาเป็นจำนวนมากจะต้องคัดเลือกตัดแต่งทิ้งอีกรอบ สำหรับกิ่งที่แตกออกด้านข้างจะเก็บไว้ตลอด แต่กิ่งน้ำค้าง หรือ กิ่งกระโดง ที่อยู่สันกิ่ง ตรงกลางทรงพุ่ม คุณโจ้จ ะเก็บไว้ในช่วงแรกไม่เกิน 2 ปี จึงค่อยตัดกิ่งออก เพื่อให้ลำต้นแบกน้ำหนักกิ่งน้อยลง เทคนิคการตัดแต่งกิ่งดังกล่าว ช่วยให้ต้นลิ้นจี่ติดผลทั้งในทรงพุ่มและที่ปลายทรงพุ่ม ผลผลิตที่อยู่ภายในทรงพุ่มจะมีคุณภาพที่ดีกว่าปลายทรงพุ่มด้วยซ้ำไป

เทคนิคการดูแลตัดแต่งให้ลิ้นจี่ให้มีลำต้นที่เตี้ยลง ช่วยให้ต้นลิ้นจี่เติบโตได้ดีขึ้นด้วย เพราะต้นลิ้นจี่ สามารถดูดกินน้ำและแร่ธาตุได้ดีกว่าเดิม ให้ผลผลิตเร็วขึ้น และมีคุณภาพดีเป็นการตอบแทนแล้ว ยังช่วยให้คนงานดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาและแรงงานไปพร้อมๆ กัน

เทคนิคใหม่ในการค้ำกิ่ง

ต้นลิ้นจี่อายุ 40 ปี ที่ผ่านการทำสาว จนมีลักษณะต้นเตี้ย เมื่อเวลาติดผล พวงลิ้นจี่จะห้อยติดถึงดินเลย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดี จึงต้องเสียเวลาค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ และหลังสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเสียเวลาเก็บไม้ไผ่ มิฉะนั้นจะตัดหญ้าไม่ได้ ดังนั้น การค้ำไม้ไผ่เป็นเรื่องที่เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละปี

คุณโจ้ จึงใช้วิธีฝังเสาปูนตรงกลางต้นลิ้นจี่ และติดสายสลิงเพื่อโยงดึงกิ่ง แทนการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่เหมือนในอดีต เทคนิคการค้ำกิ่งแบบใหม่ของคุณโจ้ ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้ผลลัพท์ที่ดีมาก เพราะจ่ายค่าเสาปูนแค่ต้นละพันกว่าบาทเท่านั้น แต่มีอายุการใช้งานได้นานหลายสิบปี ช่วยประหยัดเวลาการทำงานและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ก้อนโต ไอเดียนี้น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้ผลอื่นๆ ได้เช่นกัน

หากใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนข้อมูลการปลูกลิ้นจี่ สามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมสวนลิ้นจี่ ของไร่บี.เอ็น. (B.N.) ได้ที่ ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดให้ชมทุกวัน

ขณะที่คนทำสวน ทำนา บ้านเรากลัวปลิงนักหนา เพราะมันดูดเลือดเราช้าๆ แบบไม่รู้ตัว แล้วเวลามันดูดเลือดก็ไม่ค่อยหยุดง่าย เพราะในน้ำลายมันมีสารบางอย่างไม่ให้เลือดเราแข็งตัว เราจึงกลัวนักหนาว่าเลือดจะหมดร่างเรา ไหนจะข่าวว่ามันกระดืบเข้าไปในอวัยวะภายในเราได้ แล้วไปดูดเลือดข้างในเรา มีคนเคยตายเพราะปลิงเข้าไปอยู่ในสมอง

ทุกอย่างล้วนน่ากลัว ใช่ไหมล่ะ? ฉันเคยเจอปลิงดูดครั้งใหญ่ที่เกาะชวาตะวันตกของอินโดนีเซีย จำได้ว่ากลัวมาก เพราะกำลังเดินป่าและจะต้องเดินอีกหลายชั่วโมง ไม่รู้จะทำให้เลือดหยุดยังไง (ใครที่แนะนำว่า ให้เอายาสูบมาโปะ อย่าลืมว่าอุทยานแห่งชาติส่วนใหญ่เขาไม่ให้สูบบุหรี่นะจ๊ะ แล้วจะให้ใครหนีบยาสูบไปให้ฉัน)

แต่สัตว์ที่เรากลัวนักหนานี่กลับเป็นที่ต้องการในหลายประเทศทั่วโลก มันเป็นสินค้าขายดี ราคาแพง ตัวขนาดโตเต็มที่ ขายตัวละ 10 เหรียญสหรัฐ

300 กว่าบาท โอ้! แม่เจ้า… พูดว่าทางการแพทย์ก็คงเข้าใจได้ง่ายว่า เพราะอะไรมันถึงแพง ยามเผชิญกับความเจ็บป่วย เรารู้ว่าเรายอมกรีดเลือดตัวเองเพื่อหาทางรักษาตัวเองและคนที่เรารักให้หาย ขายไร่ขายนาก็ยอม อะไรที่เกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บจึงไม่เคยถูกเลย

การรักษาของปลิงใช้การดูดเลือดเพื่อปรับความดันกระแสเลือด และหลั่งสารบางอย่างในน้ำลายที่เขาว่ามีคุณต่อการรักษาหลายโรค เขาว่ารักษาได้มากมาย ตั้งแต่ความดันโลหิตสูง การมีบุตรยาก ไมเกรน เส้นเลือดอุดตัน ติดเชื้อ ไซนัส ฮอร์โมนไม่ปกติ กระทั่งอาการนกเขาไม่ขันในผู้ชาย และลดริ้วรอยในผู้หญิง

มันไม่ได้รักษาโรคใดๆ โดยตรง แต่มันดูดเอาพิษ เอาสารที่ทำให้เกิดโรคออกไปจากตัวเรา และทำให้กระแสเลือดไหลเวียนดีขึ้น เมื่อเลือดดี อื่นใดในหล้านี้ล้วนดี เขาว่างั้น

ว่ากันว่าผู้หญิงรัสเซียและโปแลนด์สมัยก่อนเก่า จะมีปลิงดูดเลือดติดอยู่บนหัวบนหน้าเป็นปกติ เจ้าตัวก็ทำกับข้าวเลี้ยงลูกเลี้ยงเต้าไปไม่ตื่นเต้น

แต่ละปีมีคนไข้ใช้วิธีนี้รักษาหลายหมื่นคน มีคลินิกปลิงกระจายอยู่ทั่วไป กระทั่งในอเมริกา อังกฤษ กับหลายประเทศในยุโรปก็มี จัดเป็นแพทย์ทางเลือกทางหนึ่ง

อย่าว่าแต่ปลิงเลยคุณ ฉันเคยได้ยินว่าเขาเอาหนอนมารักษาแผลเปื่อยเน่าในคน โดยให้มันกัดกินเนื้อเยื่อที่เน่าเปื่อย เคยเห็นรูปที่เขารักษา เห็นแขนเน่าๆ มีหนอนยั้วเยี้ย แล้วฉันจะอ้วก แต่เขาก็ว่าของเขาได้ผลนะ

ที่รัสเซีย เขามีศูนย์การแพทย์โดยใช้ปลิงนานาชาติ (International Medical Leech Center) ทีเดียวนะคุณ มีมาหลายสิบปีแล้วด้วย สถาบันนี่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลิงส่งไปคลินิกทั่วประเทศ ปีละ 3 ล้านตัว

ที่จริงการรักษาโดยใช้ปลิงนี่เขาย้อนได้เป็นพันๆ ปีแหละ ขณะที่ประเทศอื่นอาจหวาดกลัวขยะแขยง รัสเซียกับประเทศใกล้เคียงอย่างโปแลนด์และอื่นๆ ใช้ปลิงในการรักษาโรคต่อเนื่องมาไม่เคยหยุด

คนเลี้ยงปลิงทั้งหมดเป็นผู้หญิง เขาว่าการเลี้ยงปลิงก็เหมือนเลี้ยงลูก ต้องใช้สัญชาตญาณความรักและการเอาใจใส่ของแม่

ฟังดูเคลิ้ม แต่นึกภาพไม่ออกจริงๆ ว่า จะรักมันเข้าไปได้ไง

เขาว่าสาเหตุหนึ่งที่การรักษาโดยใช้ปลิงยังได้รับความนิยม เพราะการรักษาโดยแพทย์แผนใหม่ยังคงมีราคาแพง และแพทย์เองก็ขาดแคลน คนไข้จำนวนมากที่ต้องรักษาระยะยาว เลยหันมาหาปลิง เรียนรู้วิธีการใช้ปลิงรักษา เสร็จแล้วก็ปล่อยปลิงดูดเลือดตัวเองตามจุดที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ส่วนใหญ่ฉันเห็นดูดกันบนหน้าตาลามเลยไปถึงหัวโน่น ดูแล้วขนหัวลุกแทน

ปลิง เป็นสัตว์ชิล มันอยู่โดยไม่ต้องกินอาหารเลยเป็นปี เขาบอกว่า ที่จริงแล้วหากเราปล่อยให้ปลิงดูดเลือดจนอิ่ม ตัวมันจะเป่งอ้วน แล้วมันจะหลุดออกจากตัวเราเอง ประมาณว่าอิ่มจนจุกประคองตนไว้ไม่ไหวนั่นกระมั่ง

ตอนนี้เขามีสถาบันสอนผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาด้วยปลิง ยังไม่ให้เรียกว่าหมอนะ แต่ก็เปิดรักษาได้ถูกกฎหมาย

ความเชื่อเรื่องปลิงรักษาโรคนี้ ถูกแพทย์และนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตีโต้ว่าเวอร์วัง แต่ยอมรับในประเด็นเรื่องการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียน ด้วยเหตุผลเรื่องกระตุ้นเลือดไหลเวียนประการเดียวนี่แหละ ที่ทำให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายอมรับการรักษาด้วยปลิง ในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลิงบอกว่า ปลิงไม่ชอบดูดเลือดคนที่ใช้เครื่องประทินผิว พูดง่ายๆ มันเกลียดกลิ่นหอม ต่อให้มันหิวขนาดไหน มันจะเบือนหน้าหนีคนที่ใช้น้ำหอมหรือสบู่ที่มีกลิ่นติดตัว

ฉันจึงจะทำตัวหอมกรุ่นตลอดไป กระจองงอง กระจองงอง เจ้าข้าเอ้ย…สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ฝากตีฆ้องป่าวประกาศว่า เปิดฤดูการขายผลไม้แสนอร่อยของจังหวัดอุตรดิตถ์เริ่มแล้ว ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน ใครที่ชื่นชอบบริโภคทุเรียนหลงลับแล และหลินลับแล ก็ห้ามพลาดงานนี้ แวะชิมและเลือกซื้อทุเรียนได้อย่างจุใจแล้ว ก็อย่าลืมซื้อมังคุด ลองกอง ลางสาด สับปะรดห้วยมุ่น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบแห้ง ติดมือกลับบ้านไปฝากญาติพี่น้องที่บ้านกันด้วยเน้อ

หลงลับแล-หลินลับแล คุณอุดมศักดิ์ คำมูล เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทุเรียน เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตผลไม้คุณภาพได้มาตรฐาน ควบคู่กับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเฉพาะการเปิดสวนผลไม้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยว เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตชาวสวนผลไม้ ที่มีคุณภาพจากสวนโดยตรง ควรพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว และสร้างเครือข่ายสวนผลไม้เพื่อเปิดบริการให้แก่นักท่องเที่ยว ได้รู้จักกับทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์

ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวในภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกทุเรียนรวมทั้งสิ้น 40,005 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 32,190 ไร่ ผลผลิตรวม 48,933 ตัน จะออกสู่ตลาดในเดือนพฤษภาคม 10% เดือนมิถุนายน 25% เดือนกรกฎาคม 30% เดือนสิงหาคม 20% เดือนกันยายน 15% เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 84.0% พันธุ์พื้นเมือง 11.2% พันธุ์หลงลับแล 4.7% พันธุ์หลินลับแล 0.2% ในช่วงต้นฤดูทุเรียนจะมีราคาดีมาก

สำหรับปีนี้ ทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล ไม้ผลสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลผลิตทยอยเข้าสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมไปจนถึงสิงหาคม ปัจจุบัน ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 2,485 ไร่ ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ 1,750 ไร่ ให้ผลผลิต 2,275 ตัน โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย ผลละ 1.5 -2 กิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ย กิโลกรัมละ 400-450 บาท ขณะที่ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล มีพื้นที่ปลูก 400 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 120 ไร่ ได้ผลผลิต 108 ตัน โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย ผลละ 1.5-2 กิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ย กิโลกรัมละ 600-700 บาท

คุณอุดมศักดิ์ กล่าวว่า ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล เว็บจีคลับ และพันธุ์หลินลับแล ถือเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพดี ได้รับการรับรองพันธุ์ และประกาศเป็นสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI.) มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว เป็นของดีที่มีประวัติเรื่องราวการพัฒนามาอย่างยาวนาน จนเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียง มีราคา และคุณค่าที่งดงามต่อความรู้สึกของผู้ผลิต ผู้บริโภค และประชาชนทั่วไป มีความภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยและหนึ่งเดียวในโลก

วิธีเลือกซื้อทุเรียนสุกแก่พร้อมกิน

โดยทั่วไปชาวสวนทุเรียนมักจะใช้วิธีนับอายุผลทุเรียน ตั้งแต่ดอกบาน จนถึงวันเก็บเกี่ยว เพื่อเก็บผลผลิตออกขาย สำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จะใช้เวลาดูแล ประมาณ 120-135 วัน พันธุ์กระดุม 90-100 วัน พันธุ์ชะนี 105-110 วัน ทั้งนี้ชาวสวนทุเรียนบางรายจะใช้วิธีสังเกตอายุเก็บเกี่ยวโดยปล่อยให้ผลทุเรียนร่วง เพราะโดยปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในต้นเดียวกัน จะบานไม่พร้อมกัน แต่จะแตกต่างกันไม่เกิน 10 วัน เมื่อมีผลแก่สุกและร่วง จะเป็นสัญญาณว่า ทุเรียนบนต้นนั้นเริ่มแก่ สามารถเก็บเกี่ยวมาให้กินได้นั่นเอง

เนื่องจากปีนี้ ราคาทุเรียนค่อนข้างแพง ทำให้เกษตรกรหรือพ่อค้าหลายรายแอบตัดทุเรียนอ่อนออกมาขายทำกำไร ทำให้ลูกค้าซื้อทุเรียนอ่อนไปรู้สึกผิดหวัง เพราะกินไม่ได้ หรือไม่ได้กิน เสียทั้งความรู้สึก เสียเวลา และทิ้งเงินไปอย่างน่าเสียดาย

หากใครไม่อยากเจอเหตุการณ์น่าช้ำใจแบบนี้ คุณอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ มีข้อแนะนำวิธีการเลือกซื้อทุเรียนสุกแก่พร้อมกิน โดยมีข้อสังเกตทุเรียนแก่ดังนี้

สังเกตก้านผลทุเรียน จะแข็ง มีสีเข้มขึ้น สัมผัสรู้สึกสากมือ บริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน ถ้าจับก้านผลแกว่ง จะรู้สึกก้านผลมีสปริงมากขึ้น
สังเกตหนาม ปลายหนามจะแห้ง สีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย หนามกางออก ร่องหนามห่าง เมื่อบีบหนามเข้าหากัน จะรู้สึกมีสปริง
สังเกตรอยแยกระหว่างพู เมื่อทุเรียนแก่จัด จะเห็นรอยแยกบนพูชัดเจน ยกเว้น ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว
ใช้วิธีเคาะเปลือกผล ทุเรียนแก่จัดเสียงจะดังโปร่งๆ หนัก-เบาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์
ใช้วิธีชิมปลิง เมื่อตัดขั้วผล หรือปลิงของผลทุเรียนที่แก่จัด จะพบว่ามีน้ำใส ไม่ข้นเหนียวเหมือนทุเรียนอ่อน เมื่อชิมดูจะมีรสหวาน
ดูความสุกแก่จากสีเนื้อทุเรียน โดยจะเปลี่ยนจากเนื้อสีขาวเป็นสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองเข้ม ตามลักษณะของแต่ละพันธุ์ และความแก่
ใช้วิธีนักเลง 5 ด. คือ “ดู” สังเกตสภาพผลทั่วไป “ดม” กลิ่นหอมทุเรียน “ดูด” การชิมน้ำใสๆ ที่ปลิงขั้วผล “ดีด”นิ้วดีดหรือไม้เคาะฟังเสียงแน่นหรือโปร่ง ที่ชัดที่สุดคือ “แด…” แกะกินเนื้อดูก็รู้ว่าสุกแก่กินได้ หรือไม่ได้ หากนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ไปใช้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้ทุเรียนที่เนื้อสุกแก่พอดี นำกลับไปกินที่บ้านด้วยความเอร็ดอร่อยอย่างแน่นอน